จะเห็นได้ว่า อาเซียนก็พยายามปฏิรูปตัวเอง เมื่ออาเซียนล่วงมาจนมีอายุกว่า 40 ปีของการก่อตั้ง อาเซียนก็ดำเนินการริเริ่มเรื่องที่เป็นวิสัยทัศน์ ในหลายเรื่องด้วยกัน รวมถึงเรื่องของการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยสามเสาหลักสำคัญในปี ค.ศ.2020 ซึ่งต่อมาปรับเปลี่ยนเวลาของการเป็นประชาคมอาเซียนมาเริ่มต้นในปี ค.ศ.2015
สามเสาหลักของอาเซียนที่ว่านี้ คือ เสาหลักเรื่องประ-ชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ และประชาคมอาเซียนด้านวัฒนธรรม
ว่าโดยประชาคมความมั่นคงของอาเซียนนั้น เกิดจากแรงบันดาลใจของนักวิชาการที่คิดแนวทางของด๊อยซ์ (Deut chian) นี่เอง ส่วนกฎบัตรอาเซียนนั้น (ASEAN Charter) จัด ว่าเป็นธรรมนูญสำหรับอาเซียน ที่จะทำให้การรวมตัวเป็นประ-ชาคมอาเซียน มีลักษณะที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางนิติบัญญัติ ซึ่งอาเซียนยอมรับนำมาเป็นกฎบัตรของอาเซียนในปี ค.ศ.2007
เพราะฉะนั้นหากมองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมุมกว้าง อาเซียนก็ใช้แต่ความพยายามอย่างต่อเนื่อง ที่จะดึงเอาจีนเข้ามารวมกลุ่มด้วยเพียงเท่านั้น แต่ยังพยายามดึงเอาอินเดียเข้ามาด้วยเช่นกัน
ซึ่งหากมองในมุมนี้ ก็จะเห็นว่าอาเซียนในตัวเองนั้น ก็ช่วยพัฒนากระบวนการใหม่ของภูมิภาคนิยมเอเชียตะวันออกขึ้นมาด้วย
การปรับเปลี่ยนแนวคิดต่างๆ กับการพูดถึงอาเซียนในช่วงสิบปีเศษของการจัดตั้งอาเซียนขึ้นมานั้น ถือให้เกิดคำถามหลายคำถามตามมา เช่น
- อาเซียนจะก่อตั้งอยู่ได้อย่างไรต่อไป จากที่เริ่มต้นกันมาอย่างหลวมๆ เบาะแว้ง แก่งแย่งกันเองตลอดมา
- จะอธิบายอย่างไรกับบทบาทของอาเซียน ในการจัดระเบียบของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อะไรคือสิ่งที่จะอธิบายความตกต่ำของอาเซียน ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงทศวรรษที่ 1980 กับ 1990
- วิถีอาเซียน (ASEAN WAY) ในอดีต ที่เคยสร้างความ น่าเชื่อถือให้กับอาเซียนนั้น เป็นสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้น (Myth) หรือความเป็นจริง (Reality)
- ความริเริ่มใหม่ๆ ของอาเซียนในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เช่น เรื่อง การสร้างประชาคมอาเซียน และเรื่องกฎบัตรอาเซียนนั้น มีความ หมายถึงการพลิกฟื้นอาเซียนขึ้นมาใหม่อีกครั้งหรือเปล่า
คำตอบต่อคำถามข้างต้นนี้ ในหมู่นักวิชาการด้วยกันแล้ว มีเรื่องต้องถกเถียงกันอีกมากทีเดียว นักทฤษฎีในฝ่ายที่มองความเป็นจริง จะนำเอาสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในภูมิทัศน์ทางการ เมืองของอาเซียน มาใช้อธิบายอาเซียนในความหมายที่จะตั้งคำถามถึงสมรรถนะของอาเซียน ต่อการกำหนดรูปแบบระเบียบของภูมิภาค
นักวิชาการในกลุ่มนี้ มองบทบาทและการดำรงอยู่ของอาเซียนนั้นว่า ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูปแบบโดยระบบดุลอำนาจของภูมิภาค ที่กำหนดโดยกองทัพของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค
หัวใจสำคัญอันเป็นแบบฉบับในสมมติฐานของกลุ่มนักวิชาการฝ่ายความเป็นจริงก็คือว่า บรรดารัฐเล็กรัฐน้อย และรัฐอ่อนแอทั้งหลายในระบบระหว่างประเทศนั้นล้วนขาดสมรรถนะต่อ การแสดงบทบาทในการจัดการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับระเบียบ ต่างๆ ของนานาชาติ เพราะฉะนั้นจึงต้องขึ้นอยู่กับการพึ่งพาในทรัพยากรและความเป็นผู้นำของชาติมหาอำนาจ
นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกกลุ่มที่ยึดแนวคิดเรื่อง ความเป็นสถาบันคือกลุ่ม Institutions เป็นกลุ่มที่มองในแง่ของความเป็นอาเซียนแตกต่างกันออกไป โดยมองว่า อาเซียนมีสมรรถนะในการจัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งในระหว่างอาเซียน ด้วยกันเองได้ และยังสร้างมูลฐานระเบียบของภูมิภาคอย่างเข้มแข็งขึ้นมาได้
มองในแง่ทฤษฎีแล้ว จะเห็นว่าแนวทรรศนะของกลุ่มนี้ ยกย่องแนวคิดอื่นๆ กว้างขวางทีเดียว คือรวมเอานักทฤษฎีในกลุ่ม Liberal Institutionalizm ซึ่งก็รวมกลุ่ม Neo Liberal Institutions รวมถึงทฤษฎีผู้ทรงอำนาจปกครอง Regione theory
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วแนวทรรศนะของกลุ่ม Libe ral Institutions ก็ดูจะไม่ค่อยสัมพันธ์กับการอธิบายถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องทางการเมือง และเรื่องความมั่นคง
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า ทฤษฎีความร่วมมือของพวกเสรี นิยม ใหม่ ยังอนุมานเอาสภาพภูมิหลังเข้ามาไว้ในแนวคิดของตน เช่น คุณค่าร่วมในความเป็นเสรีประชาธิปไตย สภาพแวดล้อม ภายในประเทศ และการพึ่งพาร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จในความเป็นภูมิภาคนิยม
แนวทรรศนะของพวกเสรีนิยมใหม่ รวมถึงนักทฤษฎีผู้ทรงอำนาจปกครองไม่ได้รับการยอมรับความเชื่อในรูปแบบของพวกนักทฤษฎีในแนวบูรณาการ (Integration model) เกี่ยวกับอธิปไตยของสถาบัน
ในกรณีของอาเซียนนั้น บางเจ้าทฤษฎี มองการโผล่ขึ้น มาของอาเซียนว่าเป็นกลุ่มอำนาจด้านความมั่นคง และ เศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่งปล่อยให้รัฐสมาชิกแต่ละรัฐ คง ไว้ซึ่งอธิปไตยและแสวงหาผลประโยชน์ของชาติของแต่ ละประเทศและของแต่ละรัฐไปกันเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------
สามเสาหลักของอาเซียนที่ว่านี้ คือ เสาหลักเรื่องประ-ชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ และประชาคมอาเซียนด้านวัฒนธรรม
ว่าโดยประชาคมความมั่นคงของอาเซียนนั้น เกิดจากแรงบันดาลใจของนักวิชาการที่คิดแนวทางของด๊อยซ์ (Deut chian) นี่เอง ส่วนกฎบัตรอาเซียนนั้น (ASEAN Charter) จัด ว่าเป็นธรรมนูญสำหรับอาเซียน ที่จะทำให้การรวมตัวเป็นประ-ชาคมอาเซียน มีลักษณะที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางนิติบัญญัติ ซึ่งอาเซียนยอมรับนำมาเป็นกฎบัตรของอาเซียนในปี ค.ศ.2007
เพราะฉะนั้นหากมองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมุมกว้าง อาเซียนก็ใช้แต่ความพยายามอย่างต่อเนื่อง ที่จะดึงเอาจีนเข้ามารวมกลุ่มด้วยเพียงเท่านั้น แต่ยังพยายามดึงเอาอินเดียเข้ามาด้วยเช่นกัน
ซึ่งหากมองในมุมนี้ ก็จะเห็นว่าอาเซียนในตัวเองนั้น ก็ช่วยพัฒนากระบวนการใหม่ของภูมิภาคนิยมเอเชียตะวันออกขึ้นมาด้วย
การปรับเปลี่ยนแนวคิดต่างๆ กับการพูดถึงอาเซียนในช่วงสิบปีเศษของการจัดตั้งอาเซียนขึ้นมานั้น ถือให้เกิดคำถามหลายคำถามตามมา เช่น
- อาเซียนจะก่อตั้งอยู่ได้อย่างไรต่อไป จากที่เริ่มต้นกันมาอย่างหลวมๆ เบาะแว้ง แก่งแย่งกันเองตลอดมา
- จะอธิบายอย่างไรกับบทบาทของอาเซียน ในการจัดระเบียบของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อะไรคือสิ่งที่จะอธิบายความตกต่ำของอาเซียน ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงทศวรรษที่ 1980 กับ 1990
- วิถีอาเซียน (ASEAN WAY) ในอดีต ที่เคยสร้างความ น่าเชื่อถือให้กับอาเซียนนั้น เป็นสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้น (Myth) หรือความเป็นจริง (Reality)
- ความริเริ่มใหม่ๆ ของอาเซียนในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เช่น เรื่อง การสร้างประชาคมอาเซียน และเรื่องกฎบัตรอาเซียนนั้น มีความ หมายถึงการพลิกฟื้นอาเซียนขึ้นมาใหม่อีกครั้งหรือเปล่า
คำตอบต่อคำถามข้างต้นนี้ ในหมู่นักวิชาการด้วยกันแล้ว มีเรื่องต้องถกเถียงกันอีกมากทีเดียว นักทฤษฎีในฝ่ายที่มองความเป็นจริง จะนำเอาสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในภูมิทัศน์ทางการ เมืองของอาเซียน มาใช้อธิบายอาเซียนในความหมายที่จะตั้งคำถามถึงสมรรถนะของอาเซียน ต่อการกำหนดรูปแบบระเบียบของภูมิภาค
นักวิชาการในกลุ่มนี้ มองบทบาทและการดำรงอยู่ของอาเซียนนั้นว่า ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูปแบบโดยระบบดุลอำนาจของภูมิภาค ที่กำหนดโดยกองทัพของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค
หัวใจสำคัญอันเป็นแบบฉบับในสมมติฐานของกลุ่มนักวิชาการฝ่ายความเป็นจริงก็คือว่า บรรดารัฐเล็กรัฐน้อย และรัฐอ่อนแอทั้งหลายในระบบระหว่างประเทศนั้นล้วนขาดสมรรถนะต่อ การแสดงบทบาทในการจัดการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับระเบียบ ต่างๆ ของนานาชาติ เพราะฉะนั้นจึงต้องขึ้นอยู่กับการพึ่งพาในทรัพยากรและความเป็นผู้นำของชาติมหาอำนาจ
นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกกลุ่มที่ยึดแนวคิดเรื่อง ความเป็นสถาบันคือกลุ่ม Institutions เป็นกลุ่มที่มองในแง่ของความเป็นอาเซียนแตกต่างกันออกไป โดยมองว่า อาเซียนมีสมรรถนะในการจัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งในระหว่างอาเซียน ด้วยกันเองได้ และยังสร้างมูลฐานระเบียบของภูมิภาคอย่างเข้มแข็งขึ้นมาได้
มองในแง่ทฤษฎีแล้ว จะเห็นว่าแนวทรรศนะของกลุ่มนี้ ยกย่องแนวคิดอื่นๆ กว้างขวางทีเดียว คือรวมเอานักทฤษฎีในกลุ่ม Liberal Institutionalizm ซึ่งก็รวมกลุ่ม Neo Liberal Institutions รวมถึงทฤษฎีผู้ทรงอำนาจปกครอง Regione theory
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วแนวทรรศนะของกลุ่ม Libe ral Institutions ก็ดูจะไม่ค่อยสัมพันธ์กับการอธิบายถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องทางการเมือง และเรื่องความมั่นคง
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า ทฤษฎีความร่วมมือของพวกเสรี นิยม ใหม่ ยังอนุมานเอาสภาพภูมิหลังเข้ามาไว้ในแนวคิดของตน เช่น คุณค่าร่วมในความเป็นเสรีประชาธิปไตย สภาพแวดล้อม ภายในประเทศ และการพึ่งพาร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จในความเป็นภูมิภาคนิยม
แนวทรรศนะของพวกเสรีนิยมใหม่ รวมถึงนักทฤษฎีผู้ทรงอำนาจปกครองไม่ได้รับการยอมรับความเชื่อในรูปแบบของพวกนักทฤษฎีในแนวบูรณาการ (Integration model) เกี่ยวกับอธิปไตยของสถาบัน
ในกรณีของอาเซียนนั้น บางเจ้าทฤษฎี มองการโผล่ขึ้น มาของอาเซียนว่าเป็นกลุ่มอำนาจด้านความมั่นคง และ เศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่งปล่อยให้รัฐสมาชิกแต่ละรัฐ คง ไว้ซึ่งอธิปไตยและแสวงหาผลประโยชน์ของชาติของแต่ ละประเทศและของแต่ละรัฐไปกันเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น