โดย : นงนภัส ไม้พานิชย์
ประภัสร์. การันตี ร.ฟ.ท.พร้อมเปิดประมูลงานก่อสร้างล็อตแรก รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.16 แสนล้าน ลั่นประมูลพร้อมกันทุกโครงการ
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงินประมาณ 1.2 ล้านบาท ในส่วนของร.ฟ.ท.จะมีแผนงานรวม 28 โครงการ
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่า โครงการก่อสร้างที่สามารถดำเนินการได้ก่อนคือโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 โครงการ วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท 2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท
เช็คศักยภาพผู้รับเหมาก่อนรับงาน
ทั้งนี้ หากว่า ร.ฟ.ท.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และเริ่มงานก่อสร้างภายในต้นปี 2557 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี ซึ่งร.ฟ.ท.จะแบ่งงานก่อสร้างเป็นหลายสัญญา และแบ่งสัญญาตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วขึ้น และจะประกวดราคาพร้อมกันทั้ง 5 โครงการ หากทยอยก่อสร้างจะเสร็จไม่ทันตามแผน 7 ปี
"การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนปกติ รวมทั้งขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประกวดราคาพร้อมกันเพราะต้องการให้งานเสร็จและเปิดใช้พร้อมกัน และในการประกวดราคาจะตรวจสอบความพร้อมและความสามารถของผู้รับเหมาว่าสามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้หรือไม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะตรวจสอบงานในมือของผู้รับเหมา โดยจะตรวจสอบทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และจำนวนบุคลากรว่ามีความสามารถรับงานได้เท่าใด หากบุคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอจะไม่ได้รับการคัดเลือก"
นอกจากนั้น ในระยะแรกนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการอีก 4 โครงการ คือ 1.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว 2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น 3.โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
อีก 2 ปีเริ่มประมูลโครงการเฟส 2
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการในระยะถัดไป คือ โครงการก่อสร้างทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ 1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. 2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. 3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม. 4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. 5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ 6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.
"คาดว่าโครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทางนี้ จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงสามารถประกวดราคาได้ เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่อนข้างนาน แต่ทุกโครงการจะใช้พื้นที่เขตทางของรถไฟ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน"
เสนอตัวรับผิดชอบไฮสปีด 4 เส้นทาง
สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ระยอง ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะออกแบบไปถึงจังหวัดตราด แต่ในระยะแรกจะก่อสร้างถึงจังหวัดระยอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมเรื่องแนวเส้นทาง เบื้องต้นจะผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม หลังจากนั้นจะเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะก่อสร้างเสร็จก่อนเส้นทางอื่น เพราะไม่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สามารถใช้พื้นที่เขตทางรถไฟก่อสร้างได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดย ร.ฟ.ท.เสนอเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง เพราะมั่นใจว่าพนักงานมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการได้ แต่ขอเพียงโอกาสในการดำเนินโครงการ เพราะว่าไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานใดรู้เรื่องรถไฟดีกว่า ร.ฟ.ท. ที่ผ่านมาสังคมอาจมองว่าร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
"การที่ ร.ฟ.ท.ขาดการลงทุนและขาดการพัฒนาระบบรางมาเป็นเวลานาน ขณะที่ค่าโดยสารถูกกำหนดไว้ในอัตราต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ร.ฟ.ท. ไม่มีกำไร และถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ ร.ฟ.ท. ต้องเป็นเช่นนี้"
ส่วนแนวทางการใช้วิธีบาร์เตอร์เทรดในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อว่ารัฐบาลมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการบาร์เตอร์เทรดมาก่อนหน้านี้แล้ว และคงไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่ผ่านมาแน่นอน ขณะที่การดำเนินงานดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของ ร.ฟ.ท. ต้องล่าช้า เพราะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ
แนะแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการก่อสร้างทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ 1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. 2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. และ 3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.
นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบรถไฟในเมือง ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และโครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
"ในการดำเนินโครงการภายในพ.ร.บ.กู้เงินนั้น ผมมีแนวคิดให้รัฐบาลแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหนี้สินจากการกู้เงินมาลงทุนเหมือนในอดีต ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด หรืออาจให้ ร.ฟ.ท.นำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการมาลงบัญชีเป็นรายได้ เพื่อชดเชยภาระหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////
ประภัสร์. การันตี ร.ฟ.ท.พร้อมเปิดประมูลงานก่อสร้างล็อตแรก รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.16 แสนล้าน ลั่นประมูลพร้อมกันทุกโครงการ
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงินประมาณ 1.2 ล้านบาท ในส่วนของร.ฟ.ท.จะมีแผนงานรวม 28 โครงการ
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่า โครงการก่อสร้างที่สามารถดำเนินการได้ก่อนคือโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 โครงการ วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท 2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท
เช็คศักยภาพผู้รับเหมาก่อนรับงาน
ทั้งนี้ หากว่า ร.ฟ.ท.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และเริ่มงานก่อสร้างภายในต้นปี 2557 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี ซึ่งร.ฟ.ท.จะแบ่งงานก่อสร้างเป็นหลายสัญญา และแบ่งสัญญาตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วขึ้น และจะประกวดราคาพร้อมกันทั้ง 5 โครงการ หากทยอยก่อสร้างจะเสร็จไม่ทันตามแผน 7 ปี
"การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนปกติ รวมทั้งขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประกวดราคาพร้อมกันเพราะต้องการให้งานเสร็จและเปิดใช้พร้อมกัน และในการประกวดราคาจะตรวจสอบความพร้อมและความสามารถของผู้รับเหมาว่าสามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้หรือไม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะตรวจสอบงานในมือของผู้รับเหมา โดยจะตรวจสอบทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และจำนวนบุคลากรว่ามีความสามารถรับงานได้เท่าใด หากบุคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอจะไม่ได้รับการคัดเลือก"
นอกจากนั้น ในระยะแรกนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการอีก 4 โครงการ คือ 1.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว 2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น 3.โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
อีก 2 ปีเริ่มประมูลโครงการเฟส 2
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการในระยะถัดไป คือ โครงการก่อสร้างทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ 1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. 2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. 3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม. 4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. 5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ 6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.
"คาดว่าโครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทางนี้ จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงสามารถประกวดราคาได้ เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่อนข้างนาน แต่ทุกโครงการจะใช้พื้นที่เขตทางของรถไฟ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน"
เสนอตัวรับผิดชอบไฮสปีด 4 เส้นทาง
สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ระยอง ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะออกแบบไปถึงจังหวัดตราด แต่ในระยะแรกจะก่อสร้างถึงจังหวัดระยอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมเรื่องแนวเส้นทาง เบื้องต้นจะผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม หลังจากนั้นจะเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะก่อสร้างเสร็จก่อนเส้นทางอื่น เพราะไม่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สามารถใช้พื้นที่เขตทางรถไฟก่อสร้างได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดย ร.ฟ.ท.เสนอเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง เพราะมั่นใจว่าพนักงานมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการได้ แต่ขอเพียงโอกาสในการดำเนินโครงการ เพราะว่าไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานใดรู้เรื่องรถไฟดีกว่า ร.ฟ.ท. ที่ผ่านมาสังคมอาจมองว่าร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
"การที่ ร.ฟ.ท.ขาดการลงทุนและขาดการพัฒนาระบบรางมาเป็นเวลานาน ขณะที่ค่าโดยสารถูกกำหนดไว้ในอัตราต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ร.ฟ.ท. ไม่มีกำไร และถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ ร.ฟ.ท. ต้องเป็นเช่นนี้"
ส่วนแนวทางการใช้วิธีบาร์เตอร์เทรดในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อว่ารัฐบาลมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการบาร์เตอร์เทรดมาก่อนหน้านี้แล้ว และคงไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่ผ่านมาแน่นอน ขณะที่การดำเนินงานดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของ ร.ฟ.ท. ต้องล่าช้า เพราะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ
แนะแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการก่อสร้างทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ 1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. 2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. และ 3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.
นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบรถไฟในเมือง ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และโครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
"ในการดำเนินโครงการภายในพ.ร.บ.กู้เงินนั้น ผมมีแนวคิดให้รัฐบาลแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหนี้สินจากการกู้เงินมาลงทุนเหมือนในอดีต ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด หรืออาจให้ ร.ฟ.ท.นำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการมาลงบัญชีเป็นรายได้ เพื่อชดเชยภาระหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น