แนวคิดและทฤษฎีด้านประชาคมความมั่นคงเสียที เกรงว่าจะเป็นข้อเขียนเชิงวิชาการมากไป คุยไปคุยมาจะน่าเบื่อแต่ที่นำเสนอแนวคิดต่างๆ มานี้ ก็เพื่อให้เข้าใจเป็นพื้นฐานกันว่า การรวมตัวเป็นอาเซียนและที่จะเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะเสาหลักที่ว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนนั้น มีฐานของความคิดของบรรดานักทฤษฎีรัฐศาสตร์เหล่านี้มาอย่างไร
ประมวลแนวคิดเหล่านี้แล้ว บางทีเราจะเห็นว่าลักษณะ ของอาเซียนนั้นเป็น "กลุ่มอำนาจด้านความมั่นคง" (Security regime) เป็นการอธิบาย การจัดตั้งทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในระหว่างรัฐด้วยกัน ในอันที่จะ "ธำรงไว้ซึ่งอธิปไตยในสภาพการดำรงสันติภาพในกลุ่มเดียวกันกับรัฐอื่นๆ ของกลุ่ม"
งานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนบางเรื่องนั้น มีรูปแบบตามแนวคิดนี้ งานเหล่านี้จึงถูกมองว่า บทบาท ของอาเซียน คือการเป็นหน่วยงานในการประสานนโยบาย เป็น องค์ประชุมปรึกษาหารือในการเปิดเสรีทางการค้า เป็นหน่วยงานที่ใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน และเป็นเวทีของการรวบรวมพลังแห่งการต่อรองในเรื่องความร่วมมือพัฒนา และการเข้าถึงตลาดในต่างประเทศ หรือสร้างความมั่นคงผลิตสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สมาชิกสามารถส่งสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานออกสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น
จะเห็นว่า กฎระเบียบของภูมิภาคนั้นขยายตัวเติบโตขึ้นจาก การที่ต้องพึ่งพาต่อกันมากขึ้น โดยผ่านการบีบเค้นทางการค้า การ ลงทุน และโดยความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ แต่อาเซียน ก็ยังเป็นพาหะเริ่มแรกที่ทำให้สมาชิกของอาเซียนต่างพากันแสวงหาผลประโยชน์แห่งชาติกันเอง
ภูมิภาคนิยมจึงยังคงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์กันเองให้มากที่สุด โดยที่ไม่มีเรื่องของอธิปไตยมากัดกร่อน หรือมีผลก่อรูปแก่อัตลักษณ์โดยตรงของอาเซียน
กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือว่า เหตุผลสำคัญสำหรับความสำเร็จ หรือล้มเหลว น่าจะดูได้จากกระบวนการหล่อหลอมของสังคม (Socialization process) ที่มีคุณภาพและจากกฎจรรยาบรรณที่กำกับไว้ในอาเซียน
ว่าไปแล้ว แนวทรรศนะนี้เป็นแนวคิดของพวก Construc tionist ซึ่งอนุมานว่า ผลประโยชน์แห่งรัฐ และอัตลักษณ์นั้น มาจากการปฏิบัติของสังคม และไม่ใช่แต่เพียงภาพฉาบฉวยเท่านั้น ความเป็นสถาบันช่วยให้เกิดการจัดตั้งอย่างสำคัญจากภายใน ที่รัฐต่างๆ จะพัฒนาข้อปฏิบัติทางสังคม และทำให้เป็นที่เข้าใจ และ ยอมรับร่วมกัน และขยายให้เป็นที่ยอมรับกับที่แห่งอื่นๆ ต่อไป
อาเซียนไม่ใช่องค์กรที่หลอมออกมาในสภาพวัสดุ เช่น ดุลแห่งอำนาจหรือผลพลอยได้ทางวัตถุ เช่น การคาดหวังต่อผล อันเกิดจากการพึ่งพากันในทางเศรษฐกิจ กรอบงานในปฏิสัมพันธ์ และการหลอมรวมของสังคมในตัวเองนั้น กลายเป็นปัจจัยหลักสำคัญอันมีผลต่อผลประโยชน์ และอัตลักษณ์ของชาติสมาชิก
แนวคิดเรื่องประชาคมความมั่นคง ย่อมเป็นที่เข้าใจกันดีใน ทางสังคมวิทยา ซึ่งช่วยให้เราวิเคราะห์อาเซียนได้ในฐานะของความเป็นสถาบันในระดับภูมิภาค ซึ่งทั้งกำกับกฎเกณฑ์ต่างๆ และนำมาซึ่งผลประโยชน์ และนโยบายของรัฐสมาชิก ในเรื่องของสงครามสันติภาพ และความร่วมมือ
บทบาทของอาเซียนในเรื่องระเบียบของภูมิภาคสามารถศึกษา และประเมินผลได้โดยดูจาก
1.เรื่องอันเป็นกระบวนการของกฎจรรยาบรรณ และกระบวนการหล่อหลอมของสังคม และความริเริ่มในการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา ว่าได้สร้างรูปแบบทัศนคติและพฤติกรรมของรัฐ สมาชิก เกี่ยวกับความขัดแย้ง และกฎระเบียบของภูมิภาค
2.ในเรื่องซึ่งนำไปสู่พัฒนาการความเข้าใจร่วมกัน ความคาดหวังและประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณสันติภาพร่วมกัน
ทั้งหมดนี้คือประมวลแนวคิด ข้อถกเถียง โต้แย้ง และคำวิพากษ์วิจารณ์ต่ออาเซียน ทั้งที่เป็นสมาคมอาเซียน ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา และที่จะพัฒนาสู่การบูรณาการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะกรณีการเป็นประชาคมความมั่นคงของอาเซียนที่อยู่ในกระบวนการที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ว่าโดยเฉพาะเสาหลักเรื่องประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นนี้ ก็ด้วยความมุ่งหวังว่า จะทำให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนมีพัฒนา การมากยิ่งขึ้น โดยเป็นหลักประกันต่อประชาชน และประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่อย่างสันติระหว่างกันกับโลกภายนอกในบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรม และการมีความปรองดองต่อกัน
หลักการสำคัญของเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงนั้น ยึดหลักความเป็นประชาธิปไตย นิติธรรม ธรรมาภิบาล ความเคารพ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานภายใต้กฎบัตรอาเซียน
ในแนวทางดังกล่าวนี้ จะทำให้อาเซียนเป็นตัวเชื่อมต่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการติดต่อ และมีความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสร้างบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์ และกลไกร่วมกันในการบรรลุเป้าหมายอาเซียนในด้านการเมืองและความมั่นคง
การแยกเสาหลักเฉพาะด้านการเมืองและความมั่นคงนี้ ก็เพื่อประโยชน์และส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค มีจุดประสงค์ส่งเสริมความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและมิตรประเทศ
กล่าวโดยรวมแล้ว ในเสาหลักเรื่องการเมืองและความ มั่นคงของประชาคมอาเซียนนี้ เราต้องดูลักษณะมิติสามด้าน คือ มิติที่เกี่ยวกับความขัดแย้งกันเองของรัฐสมาชิกอาเซียน และความขัดแย้งกับรัฐนอกภูมิภาค มิติต่อมา คือ มิติที่เป็นเครื่องมือกลไกในการแก้ไขความขัดแย้งที่อาเซียนพัฒนาขึ้น รวมถึงกลไกแก้ไขข้อขัดแย้งจากนอกภูมิภาค เช่นอนุญาโต ตุลาการ ศาลโลก หรือกฎหมายทะเลของสหประชาชาติ เป็นต้น
มิติสุดท้ายคือแนวคิดยุติความขัดแย้ง ไม่ใช้กำลังต่อ กัน สร้างสันติภาพร่วมกัน จนถึงในที่สุดพัฒนาร่วมกัน เพื่อ เติบโตไปด้วยกันและเพื่อความมั่นคงตามเจตนารมณ์ของการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////
ประมวลแนวคิดเหล่านี้แล้ว บางทีเราจะเห็นว่าลักษณะ ของอาเซียนนั้นเป็น "กลุ่มอำนาจด้านความมั่นคง" (Security regime) เป็นการอธิบาย การจัดตั้งทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในระหว่างรัฐด้วยกัน ในอันที่จะ "ธำรงไว้ซึ่งอธิปไตยในสภาพการดำรงสันติภาพในกลุ่มเดียวกันกับรัฐอื่นๆ ของกลุ่ม"
งานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนบางเรื่องนั้น มีรูปแบบตามแนวคิดนี้ งานเหล่านี้จึงถูกมองว่า บทบาท ของอาเซียน คือการเป็นหน่วยงานในการประสานนโยบาย เป็น องค์ประชุมปรึกษาหารือในการเปิดเสรีทางการค้า เป็นหน่วยงานที่ใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน และเป็นเวทีของการรวบรวมพลังแห่งการต่อรองในเรื่องความร่วมมือพัฒนา และการเข้าถึงตลาดในต่างประเทศ หรือสร้างความมั่นคงผลิตสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สมาชิกสามารถส่งสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานออกสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น
จะเห็นว่า กฎระเบียบของภูมิภาคนั้นขยายตัวเติบโตขึ้นจาก การที่ต้องพึ่งพาต่อกันมากขึ้น โดยผ่านการบีบเค้นทางการค้า การ ลงทุน และโดยความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ แต่อาเซียน ก็ยังเป็นพาหะเริ่มแรกที่ทำให้สมาชิกของอาเซียนต่างพากันแสวงหาผลประโยชน์แห่งชาติกันเอง
ภูมิภาคนิยมจึงยังคงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์กันเองให้มากที่สุด โดยที่ไม่มีเรื่องของอธิปไตยมากัดกร่อน หรือมีผลก่อรูปแก่อัตลักษณ์โดยตรงของอาเซียน
กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือว่า เหตุผลสำคัญสำหรับความสำเร็จ หรือล้มเหลว น่าจะดูได้จากกระบวนการหล่อหลอมของสังคม (Socialization process) ที่มีคุณภาพและจากกฎจรรยาบรรณที่กำกับไว้ในอาเซียน
ว่าไปแล้ว แนวทรรศนะนี้เป็นแนวคิดของพวก Construc tionist ซึ่งอนุมานว่า ผลประโยชน์แห่งรัฐ และอัตลักษณ์นั้น มาจากการปฏิบัติของสังคม และไม่ใช่แต่เพียงภาพฉาบฉวยเท่านั้น ความเป็นสถาบันช่วยให้เกิดการจัดตั้งอย่างสำคัญจากภายใน ที่รัฐต่างๆ จะพัฒนาข้อปฏิบัติทางสังคม และทำให้เป็นที่เข้าใจ และ ยอมรับร่วมกัน และขยายให้เป็นที่ยอมรับกับที่แห่งอื่นๆ ต่อไป
อาเซียนไม่ใช่องค์กรที่หลอมออกมาในสภาพวัสดุ เช่น ดุลแห่งอำนาจหรือผลพลอยได้ทางวัตถุ เช่น การคาดหวังต่อผล อันเกิดจากการพึ่งพากันในทางเศรษฐกิจ กรอบงานในปฏิสัมพันธ์ และการหลอมรวมของสังคมในตัวเองนั้น กลายเป็นปัจจัยหลักสำคัญอันมีผลต่อผลประโยชน์ และอัตลักษณ์ของชาติสมาชิก
แนวคิดเรื่องประชาคมความมั่นคง ย่อมเป็นที่เข้าใจกันดีใน ทางสังคมวิทยา ซึ่งช่วยให้เราวิเคราะห์อาเซียนได้ในฐานะของความเป็นสถาบันในระดับภูมิภาค ซึ่งทั้งกำกับกฎเกณฑ์ต่างๆ และนำมาซึ่งผลประโยชน์ และนโยบายของรัฐสมาชิก ในเรื่องของสงครามสันติภาพ และความร่วมมือ
บทบาทของอาเซียนในเรื่องระเบียบของภูมิภาคสามารถศึกษา และประเมินผลได้โดยดูจาก
1.เรื่องอันเป็นกระบวนการของกฎจรรยาบรรณ และกระบวนการหล่อหลอมของสังคม และความริเริ่มในการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา ว่าได้สร้างรูปแบบทัศนคติและพฤติกรรมของรัฐ สมาชิก เกี่ยวกับความขัดแย้ง และกฎระเบียบของภูมิภาค
2.ในเรื่องซึ่งนำไปสู่พัฒนาการความเข้าใจร่วมกัน ความคาดหวังและประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณสันติภาพร่วมกัน
ทั้งหมดนี้คือประมวลแนวคิด ข้อถกเถียง โต้แย้ง และคำวิพากษ์วิจารณ์ต่ออาเซียน ทั้งที่เป็นสมาคมอาเซียน ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา และที่จะพัฒนาสู่การบูรณาการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะกรณีการเป็นประชาคมความมั่นคงของอาเซียนที่อยู่ในกระบวนการที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ว่าโดยเฉพาะเสาหลักเรื่องประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นนี้ ก็ด้วยความมุ่งหวังว่า จะทำให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนมีพัฒนา การมากยิ่งขึ้น โดยเป็นหลักประกันต่อประชาชน และประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่อย่างสันติระหว่างกันกับโลกภายนอกในบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรม และการมีความปรองดองต่อกัน
หลักการสำคัญของเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงนั้น ยึดหลักความเป็นประชาธิปไตย นิติธรรม ธรรมาภิบาล ความเคารพ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานภายใต้กฎบัตรอาเซียน
ในแนวทางดังกล่าวนี้ จะทำให้อาเซียนเป็นตัวเชื่อมต่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการติดต่อ และมีความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสร้างบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์ และกลไกร่วมกันในการบรรลุเป้าหมายอาเซียนในด้านการเมืองและความมั่นคง
การแยกเสาหลักเฉพาะด้านการเมืองและความมั่นคงนี้ ก็เพื่อประโยชน์และส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค มีจุดประสงค์ส่งเสริมความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและมิตรประเทศ
กล่าวโดยรวมแล้ว ในเสาหลักเรื่องการเมืองและความ มั่นคงของประชาคมอาเซียนนี้ เราต้องดูลักษณะมิติสามด้าน คือ มิติที่เกี่ยวกับความขัดแย้งกันเองของรัฐสมาชิกอาเซียน และความขัดแย้งกับรัฐนอกภูมิภาค มิติต่อมา คือ มิติที่เป็นเครื่องมือกลไกในการแก้ไขความขัดแย้งที่อาเซียนพัฒนาขึ้น รวมถึงกลไกแก้ไขข้อขัดแย้งจากนอกภูมิภาค เช่นอนุญาโต ตุลาการ ศาลโลก หรือกฎหมายทะเลของสหประชาชาติ เป็นต้น
มิติสุดท้ายคือแนวคิดยุติความขัดแย้ง ไม่ใช้กำลังต่อ กัน สร้างสันติภาพร่วมกัน จนถึงในที่สุดพัฒนาร่วมกัน เพื่อ เติบโตไปด้วยกันและเพื่อความมั่นคงตามเจตนารมณ์ของการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น