ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เสนอ โดยให้ใช้งบกลางในรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 21,248.95 ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรชาวสวนยางในอัตราไร่ละ 2,520 บาท ไม่เกินรายละ 25 ไร่ เป็นเวลา 7 เดือน ซึ่งก็จะทำให้เกษตรกรชาว สวนยางได้รับความช่วยเหลือประมาณ 12 บาท/กก. เมื่อรวมกับราคายางในปัจจุบันที่ประมาณ 80 บาท/กก.แล้ว ก็เท่า กับราคาที่รัฐบาลรับปากไว้ที่ 90 บาท/กก. หรืออาจจะสูงกว่าถ้าราคายางในตลาดมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก
การแก้ปัญหาในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหา ในลักษณะพบกันครึ่งทางระหว่างรัฐบาลกับเกษตรกรชาวสวน ยางแล้ว ยังเป็นความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคา สินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ด้วยการไม่เข้าไปประกันราคาหรือรับจำนำผลิตภัณฑ์ในราคาสูงกว่าราคาตลาดอย่างที่เคยทำมาในอดีต เพราะรัฐบาลได้รับบทเรียนจากการรับจำนำข้าวในราคาสูงกว่าตลาดมาก จนกระทั่งเป็นปัญหาทำให้รัฐบาลแก้ไม่ตกมาจนทุกวันนี้
ความจริงแล้วการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถจำหน่าย พืชผลได้ในราคาดี มีรายได้สูง เป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของรัฐบาล และเป็นนโยบายที่รัฐบาลทุกรัฐบาลในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวกับการอยู่ดีกินดีและความมั่นคงด้านอาหารของคนในประเทศ
เพียงแต่แนวทางในการสนับสนุนหรืออุดหนุนเกษตรกรในประเทศต่างๆ นั้นมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่วัฒนธรรม สภาพทางภูมิศาสตร์และดินฟ้าอากาศของแต่ละประเทศ ตลอดจนความสำคัญของพืชผลทางการเกษตรที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
ที่สำคัญคือวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการ อุดหนุนเกษตรกรของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ยืนอยู่บนขาของ ตัวเองได้ และส่งเสริมให้อาชีพเกษตรกรมีการพัฒนาไปอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเรื่องอย่างนี้มีการพูดถึงอยู่ตลอดเวลาในบ้านเราทุกครั้ง ที่มีปัญหาเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เช่น การเพิ่มพื้นที่ ชลประทาน การปรับปรุงพันธุ์พืช การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร การจัดรูปที่ดิน และล่าสุดมีการพูดถึงการจัดโซนนิ่งทางการเกษตร แต่พูดมาหลายสิบปีแล้ว ก็ยังไม่เห็นว่าการเกษตรของเราจะก้าวหน้าไปถึงไหน
จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่เราจะได้ยินว่า ประเทศไทยเป็น ประเทศผู้ (เคย) ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งออกยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ปรากฏว่าผลผลิตต่อไร่ของเราต่ำกว่าประเทศอื่น และต้นทุนของเราสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน
ในเมื่อเป็นเช่นนี้เราจะไปแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างไร ใน ภาวะปกติหรือในภาวะที่ตลาดมีความต้องการสูง ตลาดเป็นของผู้ขาย ก็ไม่เป็นไร ผลิตออกมาเท่าไรก็ขายหมด ราคาแพงเท่าไรก็ขายได้
แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจซบเซาอย่างเช่นในปัจจุบัน ตลาดเป็น ของผู้ซื้อ ราคาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าเราขาด ความสามารถในการแข่งขัน เราก็ขายไม่ได้
ยิ่งเรามีนโยบายกินตัวเองด้วยการเรียกร้องให้มีการประกัน ราคาพืชผลให้สูงจนเกินไป ก็จะยิ่งซ้ำเติมทำให้ราคาตลาดปรับลด ลงไปอีก เพราะเขารู้ว่าในเมื่อรัฐต้องรับซื้อ (จำนำ) ในราคาสูง รัฐ ก็จะมีสต็อกมากและขายไม่ออก ในที่สุดก็ต้องระบายออกมาในราคาถูกๆ
ในกรณีประกันราคาหรือประกันส่วนต่างราคาก็เช่นเดียวกัน เมื่อพ่อค้ารู้ว่ารัฐบาลประกันราคาสูง เขาก็จะตั้งราคารับซื้อต่ำ เพื่อ ให้เกษตรกรไปเรียกร้องส่วนต่างเอาจากรัฐบาล จึงไม่มีทางที่ราคา ตลาดจะสูงขึ้นจากมาตรการประกันราคาของรัฐบาล นอกจากราคา ในตลาดโลกจะสูงขึ้นเอง (ซึ่งไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาลไหนทั้งสิ้น)
อีกประการหนึ่งการแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาสินค้าทางการเกษตรให้สูงกว่าราคาในตลาดโลกนั้น ยังเป็นการทำลายอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตรที่ใช้สินค้าทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบเพื่อเพิ่มมูลค่าอีกด้วย
ลองคิดคดูก็แล้วกันว่าถ้าเราเป็นนักลงทุน อยากตั้งโรงงาน ผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ เราจะอยากไปลงทุนที่ไหน ที่ประเทศไทยที่มีการเรียกร้องให้ประกันราคายางที่ 100 บาท/กก. หรือที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่ราคายางอยู่ที่ 80 บาท/กก. และขึ้นลงตามราคาตลาดโลก
ดังนั้น การแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาสินค้าทางการ เกษตรให้สูงกว่าราคาในตลาดโลก จึงเป็นนโยบายที่สวนทางกับนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้พืชผลทางการเกษตรมาต่อยอดเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยสิ้นเชิง
คำถามก็คือ ถ้าอย่างนั้นเราก็ควรปล่อยให้ราคาสินค้าทางการ เกษตรเป็นไปตามยถากรรมไม่ควรไปอุดหนุนหรือแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเลยใช่หรือไม่
คำตอบคือไม่ใช่ครับ แต่การอุดหนุนหรือแทรกแซงราคาสินค้าทางการเกษตรนั้นต้องทำอย่างรอบคอบ และด้วยวัตถุประสงค์สองข้อด้วยกันคือ
1.เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยนัยนี้หมายความว่า การช่วยเหลือหรือการอุดหนุนใดๆ ที่เป็นลักษณะหว่านแห คือช่วยไปหมดทุกคนไม่ว่ารายใหญ่ รายย่อย คนมี คนจน ย่อมเป็นการอุดหนุนที่ผิดวัตถุประสงค์นี้
2.การอุดหนุนหรือการแทรกแซงราคานั้นต้องเป็นลักษณะชั่วคราว และเป็นไปเพื่อการบรรเทาผลกระทบจากการ ที่ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการชดเชย รายได้ที่ขาดหายไปในยามปกติของเกษตรกร รัฐบาลต้องให้เกษตรกรเรียนรู้และพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงในการประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งย่อมต้องมีความเสี่ยงเหมือนกับผู้ประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ เช่นกัน
ว่ากันที่จริงแล้วการแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาสินค้า ทางการเกษตรให้สูงกว่าราคาในตลาดโลกนั้น มันก็ไม่ต่างอะไรกับการแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาพลังงานให้ต่ำกว่า ราคาในตลาดโลกเลยแม้แต่น้อยและหลักการในการแทรกแซงหรืออุดหนุนราคาก็ต้องใช้หลักการเดียวกันนั่นเอง
โดยในเรื่องของพลังงานนั้น เราก็เริ่มเห็นการปรับโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป เพื่อลดการอุดหนุนในลักษณะหน้ากระดาน (across the board) คือทุกคนได้รับการอุดหนุนให้ใช้ก๊าซในราคาถูกหมด ไม่ว่าคนรวยหรือคนจน แต่ต่อไปนี้คนที่ช่วยตัวเองได้ มีรายได้สูง ก็ต้องจ่ายแพงขึ้น แต่รัฐจะไปช่วยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย หรือผู้ประกอบการรายย่อยเท่านั้น ให้ได้ใช้ก๊าซในราคาเดิม ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องในการให้การอุดหนุน คือให้กับผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเท่านั้น
ผมคิดว่าถ้าเราเดินในแนวทางที่ถูกต้องอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ต้องห่วงว่านโยบายประชานิยมจะพาเราลงเหวหรือเข้ารกเข้าพงอย่างที่หลายคนวิตกกัน
สำคัญแต่ว่าที่ผิดพลาดไปแล้ว จะกล้ายอมรับแล้วแก้ไขให้มันถูกต้องหรือไม่...
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------------------
การแก้ปัญหาในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหา ในลักษณะพบกันครึ่งทางระหว่างรัฐบาลกับเกษตรกรชาวสวน ยางแล้ว ยังเป็นความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคา สินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ด้วยการไม่เข้าไปประกันราคาหรือรับจำนำผลิตภัณฑ์ในราคาสูงกว่าราคาตลาดอย่างที่เคยทำมาในอดีต เพราะรัฐบาลได้รับบทเรียนจากการรับจำนำข้าวในราคาสูงกว่าตลาดมาก จนกระทั่งเป็นปัญหาทำให้รัฐบาลแก้ไม่ตกมาจนทุกวันนี้
ความจริงแล้วการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถจำหน่าย พืชผลได้ในราคาดี มีรายได้สูง เป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของรัฐบาล และเป็นนโยบายที่รัฐบาลทุกรัฐบาลในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวกับการอยู่ดีกินดีและความมั่นคงด้านอาหารของคนในประเทศ
เพียงแต่แนวทางในการสนับสนุนหรืออุดหนุนเกษตรกรในประเทศต่างๆ นั้นมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่วัฒนธรรม สภาพทางภูมิศาสตร์และดินฟ้าอากาศของแต่ละประเทศ ตลอดจนความสำคัญของพืชผลทางการเกษตรที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
ที่สำคัญคือวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการ อุดหนุนเกษตรกรของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ยืนอยู่บนขาของ ตัวเองได้ และส่งเสริมให้อาชีพเกษตรกรมีการพัฒนาไปอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเรื่องอย่างนี้มีการพูดถึงอยู่ตลอดเวลาในบ้านเราทุกครั้ง ที่มีปัญหาเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เช่น การเพิ่มพื้นที่ ชลประทาน การปรับปรุงพันธุ์พืช การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร การจัดรูปที่ดิน และล่าสุดมีการพูดถึงการจัดโซนนิ่งทางการเกษตร แต่พูดมาหลายสิบปีแล้ว ก็ยังไม่เห็นว่าการเกษตรของเราจะก้าวหน้าไปถึงไหน
จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่เราจะได้ยินว่า ประเทศไทยเป็น ประเทศผู้ (เคย) ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งออกยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ปรากฏว่าผลผลิตต่อไร่ของเราต่ำกว่าประเทศอื่น และต้นทุนของเราสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน
ในเมื่อเป็นเช่นนี้เราจะไปแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างไร ใน ภาวะปกติหรือในภาวะที่ตลาดมีความต้องการสูง ตลาดเป็นของผู้ขาย ก็ไม่เป็นไร ผลิตออกมาเท่าไรก็ขายหมด ราคาแพงเท่าไรก็ขายได้
แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจซบเซาอย่างเช่นในปัจจุบัน ตลาดเป็น ของผู้ซื้อ ราคาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าเราขาด ความสามารถในการแข่งขัน เราก็ขายไม่ได้
ยิ่งเรามีนโยบายกินตัวเองด้วยการเรียกร้องให้มีการประกัน ราคาพืชผลให้สูงจนเกินไป ก็จะยิ่งซ้ำเติมทำให้ราคาตลาดปรับลด ลงไปอีก เพราะเขารู้ว่าในเมื่อรัฐต้องรับซื้อ (จำนำ) ในราคาสูง รัฐ ก็จะมีสต็อกมากและขายไม่ออก ในที่สุดก็ต้องระบายออกมาในราคาถูกๆ
ในกรณีประกันราคาหรือประกันส่วนต่างราคาก็เช่นเดียวกัน เมื่อพ่อค้ารู้ว่ารัฐบาลประกันราคาสูง เขาก็จะตั้งราคารับซื้อต่ำ เพื่อ ให้เกษตรกรไปเรียกร้องส่วนต่างเอาจากรัฐบาล จึงไม่มีทางที่ราคา ตลาดจะสูงขึ้นจากมาตรการประกันราคาของรัฐบาล นอกจากราคา ในตลาดโลกจะสูงขึ้นเอง (ซึ่งไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาลไหนทั้งสิ้น)
อีกประการหนึ่งการแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาสินค้าทางการเกษตรให้สูงกว่าราคาในตลาดโลกนั้น ยังเป็นการทำลายอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตรที่ใช้สินค้าทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบเพื่อเพิ่มมูลค่าอีกด้วย
ลองคิดคดูก็แล้วกันว่าถ้าเราเป็นนักลงทุน อยากตั้งโรงงาน ผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ เราจะอยากไปลงทุนที่ไหน ที่ประเทศไทยที่มีการเรียกร้องให้ประกันราคายางที่ 100 บาท/กก. หรือที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่ราคายางอยู่ที่ 80 บาท/กก. และขึ้นลงตามราคาตลาดโลก
ดังนั้น การแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาสินค้าทางการ เกษตรให้สูงกว่าราคาในตลาดโลก จึงเป็นนโยบายที่สวนทางกับนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้พืชผลทางการเกษตรมาต่อยอดเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยสิ้นเชิง
คำถามก็คือ ถ้าอย่างนั้นเราก็ควรปล่อยให้ราคาสินค้าทางการ เกษตรเป็นไปตามยถากรรมไม่ควรไปอุดหนุนหรือแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเลยใช่หรือไม่
คำตอบคือไม่ใช่ครับ แต่การอุดหนุนหรือแทรกแซงราคาสินค้าทางการเกษตรนั้นต้องทำอย่างรอบคอบ และด้วยวัตถุประสงค์สองข้อด้วยกันคือ
1.เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยนัยนี้หมายความว่า การช่วยเหลือหรือการอุดหนุนใดๆ ที่เป็นลักษณะหว่านแห คือช่วยไปหมดทุกคนไม่ว่ารายใหญ่ รายย่อย คนมี คนจน ย่อมเป็นการอุดหนุนที่ผิดวัตถุประสงค์นี้
2.การอุดหนุนหรือการแทรกแซงราคานั้นต้องเป็นลักษณะชั่วคราว และเป็นไปเพื่อการบรรเทาผลกระทบจากการ ที่ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการชดเชย รายได้ที่ขาดหายไปในยามปกติของเกษตรกร รัฐบาลต้องให้เกษตรกรเรียนรู้และพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงในการประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งย่อมต้องมีความเสี่ยงเหมือนกับผู้ประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ เช่นกัน
ว่ากันที่จริงแล้วการแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาสินค้า ทางการเกษตรให้สูงกว่าราคาในตลาดโลกนั้น มันก็ไม่ต่างอะไรกับการแทรกแซงหรือการอุดหนุนราคาพลังงานให้ต่ำกว่า ราคาในตลาดโลกเลยแม้แต่น้อยและหลักการในการแทรกแซงหรืออุดหนุนราคาก็ต้องใช้หลักการเดียวกันนั่นเอง
โดยในเรื่องของพลังงานนั้น เราก็เริ่มเห็นการปรับโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป เพื่อลดการอุดหนุนในลักษณะหน้ากระดาน (across the board) คือทุกคนได้รับการอุดหนุนให้ใช้ก๊าซในราคาถูกหมด ไม่ว่าคนรวยหรือคนจน แต่ต่อไปนี้คนที่ช่วยตัวเองได้ มีรายได้สูง ก็ต้องจ่ายแพงขึ้น แต่รัฐจะไปช่วยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย หรือผู้ประกอบการรายย่อยเท่านั้น ให้ได้ใช้ก๊าซในราคาเดิม ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องในการให้การอุดหนุน คือให้กับผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเท่านั้น
ผมคิดว่าถ้าเราเดินในแนวทางที่ถูกต้องอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ต้องห่วงว่านโยบายประชานิยมจะพาเราลงเหวหรือเข้ารกเข้าพงอย่างที่หลายคนวิตกกัน
สำคัญแต่ว่าที่ผิดพลาดไปแล้ว จะกล้ายอมรับแล้วแก้ไขให้มันถูกต้องหรือไม่...
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น