โดย. ศรี อินทปันตี
วันที่ ๑๔ ตุลาคมได้เวียนมาบรรจบครบรอบ ๔๐ ปี โดยมีการจัดงานเฉลิมฉลองทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของประชาชนชาวไทย
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นวันที่นิสิตนักศึกษาประชาชน ผนึกกำลังต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตย จิตวัญญาณดังกล่าวมิอาจมองข้ามและปฏิเสธได้
แม้ว่าวันที่ ๑๔ ตุลาคมจะมิได้นำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง หากมันเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนขั้วอำนาจจากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบเผด็จการซ่อนรูป ที่ระบอบอำนาจเก่าสามารถยึดคืนไปได้จากฝ่ายทหาร
และดังนั้น มันจึงนำมาซึ่งการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน ทั้งในวันที่ ๖ ตุลาคม๒๕๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕ และเมษา-พฤษภา ๒๕๕๓ เพื่อปกปักรักษาผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองการปกครองของพวกเขาไว้อย่างถึงที่สุด
๔๐ ปีที่ผ่านไปจึงมิได้ทำให้ความขัดแย้งหลักที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยเปลี่ยนไปเป็นอื่น แม้ว่าห้วงเวลาดังกล่าวจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “โลกาภิวัฒน์” ก็ตามที
โดยระบอบอำนาจเก่าได้มีการพัฒนาเป็นกลุ่มทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เติบใหญ่และมั่งคั่งกว่ากลุ่มทุนเกิดใหม่อย่างเทียบกันไม่ติด ยิ่งใหญ่ทั้งในแง่สินทรัพย์และตลาดหุ้น
ดังนั้น ความคิดเห็นที่ว่า...ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนเก่ากับกลุ่มทุนใหม่จึงไม่ถูกต้อง เพราะความขัดแย้งนั้นเป็นแค่ความขัดแย้งรอง
โดยความขัดแย้งหลักยังเป็นความขัดแย้งระหว่างระบอบเผด็จดั้งเดิมกับประชาชนที่ประสพการณ์จากการต่อสู้ผ่านการถูกปราบปรามและจากโลกในระบบที่เรียกว่า “โลกาภิวัฒน์” ทำให้ประชาชน “ตาสว่าง” มองเห็นว่า ใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรู และใครเป็นผู้กดขี่ที่แท้จริงอย่างแจ่มชัด
งานวันที่ระลึก ๑๔ ตุลาคมปีนี้ ได้มีการปาฐกถาและการจัดสัมนาเกี่ยวกับสิทธิประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง อันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ประชาชนได้เรียนรู้ถึงข้อมูล แนวคิดทั้งในแนวทางการต่อสู้และและความเป็นจริงเกี่ยวกับระบอบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่มีการพัฒนาไปอย่างกว้างไกลพร้อมๆกับกาลเวลาที่ผ่านเลยไป
ได้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคประชาชนและฝ่ายชนชั้นปกครอง ได้รับรู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในชนบท ชนชั้นกลางในเมืองเป็นอย่างไร และปัญญาทั้งชั้นล่าง ชั้นกลางและชั้นสูงเป็นประการใด
ทั้งหมดล้วนให้กำลังใจแก่ประชาชนที่จะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////
วันที่ ๑๔ ตุลาคมได้เวียนมาบรรจบครบรอบ ๔๐ ปี โดยมีการจัดงานเฉลิมฉลองทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของประชาชนชาวไทย
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นวันที่นิสิตนักศึกษาประชาชน ผนึกกำลังต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตย จิตวัญญาณดังกล่าวมิอาจมองข้ามและปฏิเสธได้
แม้ว่าวันที่ ๑๔ ตุลาคมจะมิได้นำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง หากมันเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนขั้วอำนาจจากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบเผด็จการซ่อนรูป ที่ระบอบอำนาจเก่าสามารถยึดคืนไปได้จากฝ่ายทหาร
และดังนั้น มันจึงนำมาซึ่งการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน ทั้งในวันที่ ๖ ตุลาคม๒๕๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕ และเมษา-พฤษภา ๒๕๕๓ เพื่อปกปักรักษาผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองการปกครองของพวกเขาไว้อย่างถึงที่สุด
๔๐ ปีที่ผ่านไปจึงมิได้ทำให้ความขัดแย้งหลักที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยเปลี่ยนไปเป็นอื่น แม้ว่าห้วงเวลาดังกล่าวจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “โลกาภิวัฒน์” ก็ตามที
โดยระบอบอำนาจเก่าได้มีการพัฒนาเป็นกลุ่มทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เติบใหญ่และมั่งคั่งกว่ากลุ่มทุนเกิดใหม่อย่างเทียบกันไม่ติด ยิ่งใหญ่ทั้งในแง่สินทรัพย์และตลาดหุ้น
ดังนั้น ความคิดเห็นที่ว่า...ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนเก่ากับกลุ่มทุนใหม่จึงไม่ถูกต้อง เพราะความขัดแย้งนั้นเป็นแค่ความขัดแย้งรอง
โดยความขัดแย้งหลักยังเป็นความขัดแย้งระหว่างระบอบเผด็จดั้งเดิมกับประชาชนที่ประสพการณ์จากการต่อสู้ผ่านการถูกปราบปรามและจากโลกในระบบที่เรียกว่า “โลกาภิวัฒน์” ทำให้ประชาชน “ตาสว่าง” มองเห็นว่า ใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรู และใครเป็นผู้กดขี่ที่แท้จริงอย่างแจ่มชัด
งานวันที่ระลึก ๑๔ ตุลาคมปีนี้ ได้มีการปาฐกถาและการจัดสัมนาเกี่ยวกับสิทธิประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง อันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ประชาชนได้เรียนรู้ถึงข้อมูล แนวคิดทั้งในแนวทางการต่อสู้และและความเป็นจริงเกี่ยวกับระบอบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่มีการพัฒนาไปอย่างกว้างไกลพร้อมๆกับกาลเวลาที่ผ่านเลยไป
ได้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคประชาชนและฝ่ายชนชั้นปกครอง ได้รับรู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในชนบท ชนชั้นกลางในเมืองเป็นอย่างไร และปัญญาทั้งชั้นล่าง ชั้นกลางและชั้นสูงเป็นประการใด
ทั้งหมดล้วนให้กำลังใจแก่ประชาชนที่จะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น