โดย.นพคุณ ศิลาเณร
ทุกความพยายามของกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาเพื่อล้มการ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนล้วนล้มเหลว ไม่เป็นท่า
ความหวังสูงสุดของ ส.ว.สรรหาหรือพวกลากตั้งฝากไว้กับศาลรัฐธรรมนูญ แต่การตัดสิน "ยกคำร้อง" ข้อหา "ขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 (1)" และปราศจากคำสั่งให้ชะลอการทูลเกล้าฯ
ไม่เพียงเท่านั้น ความอยากเล่นงาน รัฐบาล ด้วยการยื้อกฎหมายงบประมาณปี 2557 ว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน "ไม่ขัด" ย่อมทำให้ ส.ว.กลุ่มนี้หมด หนทางตีรวนการเมืองไปเรื่อยๆ
นั่นสะท้อนถึงเวลาจวนเจียน "ปิดฉาก" ส.ว.ลากตั้งใกล้เข้ามาทุกขณะ
สิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ คงเป็นเพียงข้อกล่าวหา "ล้มการปกครอง" ตามมาตรา 68 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ไว้พิจารณา แต่ต้องคาบเกี่ยวกับเงื่อนเวลาการลงพระปรมาภิไธยด้วย
ระหว่างขั้นตอนลงพระปรมาภิไธย กับการตัดสินตามมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญจึงเต็มไปด้วยอาการลุ้นทั้ง ส.ว.ลากตั้งและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ยื่นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน มาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 ที่กำหนดไว้ภายใน 20 วัน
ขั้นตอนนี้ ต้องรอด้วยความระทึก เพราะทุกความเป็นไป ย่อมเกิดเป็นจริงได้เสมอ
นับตั้งแต่ปี 2475 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 18 ฉบับ ในจำนวนนี้กำหนดให้มี ส.ว.เพียง 9 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญ 2489, 2490, 2492, 2511, 2517, 2521, 2534, 2540 และ รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับของกลุ่มยึดอำนาจ เมื่อกันยายน 2549 ผลักดันให้เกิดขึ้น
หากลงในรายละเอียดแล้ว ทั้ง 9 ฉบับเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.นั้น มาจากการ เลือกตั้งเพียง 3 ฉบับเท่านั้น คือ รัฐ-ธรรมนูญ 2489, 2540 และฉบับ 2550 (มีทั้งการเลือกตั้งและสรรหา) นอกนั้นล้วนมาจากการลากตั้งทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว.ที่โดดเด่นที่สุดคือ รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนด ให้มี ส.ว.จำนวน 200 คน แต่ใช้ได้เพียง 9 ปี ก็ถูกคณะทหารยึดอำนาจฉีกทิ้งเมื่อปี 2549
แล้วคลอดรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับ ปัจจุบันขึ้น และกำหนดให้ ส.ว.มาจากการ เลือกตั้งอีกครั้งแต่ไม่ทั้งหมด โดยผสมส่วน ระหว่างการเลือกตั้งกับลากตั้งในสัดส่วน เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนจำนวน 76 คน และลากตั้งอีก 74 คน รวมเป็น 150 คน
ในปัจจุบัน ส.ว.ลากตั้งมาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา ประกอบ ด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานกรรมการการเลือกตั้ง, ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน, ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธาน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาศาลฎีกา และตัวแทนตุลาการศาลปกครอง สูงสุด
นั่นแปลความว่า รัฐธรรมนูญให้อำนาจคน 7 คน แต่งตั้ง ส.ว. 74 คน ดูเหมือนจงใจที่จะเป็นปรปักษ์กับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศที่เลือกตั้ง ส.ว. 76 คน
ความน่าสนใจของ ส.ว.ลากตั้งปัจจุบันคือ มีที่มาจากอดีตตำรวจ 6 คน อดีตทหาร 11 คน อดีตข้าราชการพลเรือน 18 คน รวมจำนวนอดีตข้าราชการทั้งหมด ถึง 35 คน นอกจากนี้ มีนักกฎหมายถึง 11 คน
แสดงว่ามีการลากตั้งแบบ "กระจุก" ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คน มีกระบวนการเลือกพวกมากกว่าเน้น "ความหลากหลาย" จากกลุ่มอาชีพ
โปรดสังเกตว่า ส.ว.ลากตั้งเกิดจากการเลือกของคน 7 คน ที่ "ไม่ถูกใจ" รัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย
ย่อมทำให้ ส.ว.ลากตั้งกลายเป็น "ปรปักษ์" ทางการเมืองอย่างน่ารำคาญ เพราะงัดข้อหาตีรวนให้ศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานรัฐบาลได้ทุกเรื่อง
ด้วยเหตุนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ไม่เพียงแต่มีมิติ "ความเท่าเทียมทางการเมือง" เท่านั้น แต่มีเป้าหมาย "ล้ม" อำนาจกลุ่มอภิสิทธิ์ชนทั้ง 7 คนอย่างสำคัญด้วย
เมื่อปัญหามาจากเหตุ ย่อมต้องแก้ที่ ต้นเหตุ เพื่อล้างสิ่งปฏิกูลของเหตุให้สิ้นซาก
ส.ว.ลากตั้งขึ้นชื่อว่า เป็นปรปักษ์กับ พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลนั้น รวมตัวกันใน "กลุ่ม 40 ส.ว." แกนนำโดดเด่นล้วนเป็นคนหน้าเดิมๆ ประกอบด้วย นายไพบูลย์ นิติตะวัน, พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ, นายสมชาย แสวงการ, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายประสาร มฤคพิทักษ์, นายวันชัย สอนศิริ และ ส.ว. เลือกตั้ง รสนา โตสิตระกูล เข้ามาเป็นพวกด้วย
ส.ว.กลุ่มนี้เริ่มแสดงบทบาท "ปรปักษ์" กับรัฐบาล มาตั้งแต่พรรคพลังประชาชน แล้วเรื่อยมาถึงรัฐบาลจากพรรค เพื่อไทย โดยมีเบ้าหลอมอารมณ์ปรปักษ์อยู่ที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในรหัส ล้มระบอบทักษิณ
ผลงานของ ส.ว.ลากตั้งกลุ่มนี้ปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551 เริ่มจากปฏิบัติ การเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช แล้วยื่นวินิจฉัยกรณีจัดรายการ ชิมไปบ่นไปเพื่อถอดถอนนายสมัครพ้นจากนายกรัฐมนตรี
เมื่อ ส.ว.ลากตั้งกำหนดบทบาทอยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลแล้ว พวกเขาจึงสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แล้วเรียกร้อง ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกหรือยุบสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์การสลายม็อบพันธมิตรฯ รุนแรงในวันที่ 7 ตุลาคม 2551
มาถึงรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย ส.ว.พวกนี้ยังคงบทบาทต้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ อย่างเข้มข้น พวกเขาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จนศาลรัฐธรรมนูญ มีคำแนะนำให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ไว้กระทั่งปัจจุบัน
ในสถานการณ์ต้านรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ พรรคประชาธิปัตย์ได้จับมือกลุ่ม 40 ส.ว. สร้างความตื่นตระหนกอีกครั้ง ด้วย การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อล้มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. จากการเลือกตั้งว่า อาจขัดมาตรา 154 และฝ่าฝืนมาตรา 68 ซึ่งเป็นการล้มการปกครอง
โอกาสของ ส.ว.ลากตั้งกับพรรคประชาธิปัตย์ที่จะล้มรัฐบาลริบหรี่อย่างยิ่ง ความหวังเดียวที่เหลืออยู่ขณะนี้คือ ลุ้นให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินข้อหาฝ่าฝืนมาตรา 68 ออกมาด้านบวกกับพวกเขา แต่เป็นเพียงความปรารถนาเล็กๆ ที่พอจะคว้ามา ปลอบใจได้
เพราะความอยากในอำนาจของกลุ่ม ส.ว.ลากตั้งกว่า 7 ปีที่ผ่านมานั้น ทำให้ประชาชนตาสว่างกับการทำหน้าที่อย่างแจ่มแจ้ง โพลของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เมื่อ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมาระบุว่า ประชาชนร้อยละ 59.2 ต้องการให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง
นั่นเท่ากับสะท้อนว่า ส.ว.ลากตั้งไม่พึงประสงค์ของประชาชนในยุค 2556 ราวกับเป็น "สิ่งปฏิกูล" ที่ต้องถูกทำลายทิ้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 ขณะ นี้อยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯ ย่อมเป็นกระบวน ล้างปฏิกูลนี้ให้เส้นทางประชาธิปไตยประชาชนสะอาดหมดจน
ที่สำคัญคือ สัญญาณบ่งบอกถึงการเริ่มต้นเก็บกวาดอำนาจของคน 7 คน ในชื่อ "องค์กรอิสระ" นั่นเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------------------
ทุกความพยายามของกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาเพื่อล้มการ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนล้วนล้มเหลว ไม่เป็นท่า
ความหวังสูงสุดของ ส.ว.สรรหาหรือพวกลากตั้งฝากไว้กับศาลรัฐธรรมนูญ แต่การตัดสิน "ยกคำร้อง" ข้อหา "ขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 (1)" และปราศจากคำสั่งให้ชะลอการทูลเกล้าฯ
ไม่เพียงเท่านั้น ความอยากเล่นงาน รัฐบาล ด้วยการยื้อกฎหมายงบประมาณปี 2557 ว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน "ไม่ขัด" ย่อมทำให้ ส.ว.กลุ่มนี้หมด หนทางตีรวนการเมืองไปเรื่อยๆ
นั่นสะท้อนถึงเวลาจวนเจียน "ปิดฉาก" ส.ว.ลากตั้งใกล้เข้ามาทุกขณะ
สิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ คงเป็นเพียงข้อกล่าวหา "ล้มการปกครอง" ตามมาตรา 68 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ไว้พิจารณา แต่ต้องคาบเกี่ยวกับเงื่อนเวลาการลงพระปรมาภิไธยด้วย
ระหว่างขั้นตอนลงพระปรมาภิไธย กับการตัดสินตามมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญจึงเต็มไปด้วยอาการลุ้นทั้ง ส.ว.ลากตั้งและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ยื่นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน มาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 ที่กำหนดไว้ภายใน 20 วัน
ขั้นตอนนี้ ต้องรอด้วยความระทึก เพราะทุกความเป็นไป ย่อมเกิดเป็นจริงได้เสมอ
นับตั้งแต่ปี 2475 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 18 ฉบับ ในจำนวนนี้กำหนดให้มี ส.ว.เพียง 9 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญ 2489, 2490, 2492, 2511, 2517, 2521, 2534, 2540 และ รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับของกลุ่มยึดอำนาจ เมื่อกันยายน 2549 ผลักดันให้เกิดขึ้น
หากลงในรายละเอียดแล้ว ทั้ง 9 ฉบับเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.นั้น มาจากการ เลือกตั้งเพียง 3 ฉบับเท่านั้น คือ รัฐ-ธรรมนูญ 2489, 2540 และฉบับ 2550 (มีทั้งการเลือกตั้งและสรรหา) นอกนั้นล้วนมาจากการลากตั้งทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว.ที่โดดเด่นที่สุดคือ รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนด ให้มี ส.ว.จำนวน 200 คน แต่ใช้ได้เพียง 9 ปี ก็ถูกคณะทหารยึดอำนาจฉีกทิ้งเมื่อปี 2549
แล้วคลอดรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับ ปัจจุบันขึ้น และกำหนดให้ ส.ว.มาจากการ เลือกตั้งอีกครั้งแต่ไม่ทั้งหมด โดยผสมส่วน ระหว่างการเลือกตั้งกับลากตั้งในสัดส่วน เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนจำนวน 76 คน และลากตั้งอีก 74 คน รวมเป็น 150 คน
ในปัจจุบัน ส.ว.ลากตั้งมาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา ประกอบ ด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานกรรมการการเลือกตั้ง, ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน, ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธาน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาศาลฎีกา และตัวแทนตุลาการศาลปกครอง สูงสุด
นั่นแปลความว่า รัฐธรรมนูญให้อำนาจคน 7 คน แต่งตั้ง ส.ว. 74 คน ดูเหมือนจงใจที่จะเป็นปรปักษ์กับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศที่เลือกตั้ง ส.ว. 76 คน
ความน่าสนใจของ ส.ว.ลากตั้งปัจจุบันคือ มีที่มาจากอดีตตำรวจ 6 คน อดีตทหาร 11 คน อดีตข้าราชการพลเรือน 18 คน รวมจำนวนอดีตข้าราชการทั้งหมด ถึง 35 คน นอกจากนี้ มีนักกฎหมายถึง 11 คน
แสดงว่ามีการลากตั้งแบบ "กระจุก" ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คน มีกระบวนการเลือกพวกมากกว่าเน้น "ความหลากหลาย" จากกลุ่มอาชีพ
โปรดสังเกตว่า ส.ว.ลากตั้งเกิดจากการเลือกของคน 7 คน ที่ "ไม่ถูกใจ" รัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย
ย่อมทำให้ ส.ว.ลากตั้งกลายเป็น "ปรปักษ์" ทางการเมืองอย่างน่ารำคาญ เพราะงัดข้อหาตีรวนให้ศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานรัฐบาลได้ทุกเรื่อง
ด้วยเหตุนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ไม่เพียงแต่มีมิติ "ความเท่าเทียมทางการเมือง" เท่านั้น แต่มีเป้าหมาย "ล้ม" อำนาจกลุ่มอภิสิทธิ์ชนทั้ง 7 คนอย่างสำคัญด้วย
เมื่อปัญหามาจากเหตุ ย่อมต้องแก้ที่ ต้นเหตุ เพื่อล้างสิ่งปฏิกูลของเหตุให้สิ้นซาก
ส.ว.ลากตั้งขึ้นชื่อว่า เป็นปรปักษ์กับ พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลนั้น รวมตัวกันใน "กลุ่ม 40 ส.ว." แกนนำโดดเด่นล้วนเป็นคนหน้าเดิมๆ ประกอบด้วย นายไพบูลย์ นิติตะวัน, พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ, นายสมชาย แสวงการ, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายประสาร มฤคพิทักษ์, นายวันชัย สอนศิริ และ ส.ว. เลือกตั้ง รสนา โตสิตระกูล เข้ามาเป็นพวกด้วย
ส.ว.กลุ่มนี้เริ่มแสดงบทบาท "ปรปักษ์" กับรัฐบาล มาตั้งแต่พรรคพลังประชาชน แล้วเรื่อยมาถึงรัฐบาลจากพรรค เพื่อไทย โดยมีเบ้าหลอมอารมณ์ปรปักษ์อยู่ที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในรหัส ล้มระบอบทักษิณ
ผลงานของ ส.ว.ลากตั้งกลุ่มนี้ปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551 เริ่มจากปฏิบัติ การเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช แล้วยื่นวินิจฉัยกรณีจัดรายการ ชิมไปบ่นไปเพื่อถอดถอนนายสมัครพ้นจากนายกรัฐมนตรี
เมื่อ ส.ว.ลากตั้งกำหนดบทบาทอยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลแล้ว พวกเขาจึงสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แล้วเรียกร้อง ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกหรือยุบสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์การสลายม็อบพันธมิตรฯ รุนแรงในวันที่ 7 ตุลาคม 2551
มาถึงรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย ส.ว.พวกนี้ยังคงบทบาทต้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ อย่างเข้มข้น พวกเขาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จนศาลรัฐธรรมนูญ มีคำแนะนำให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ไว้กระทั่งปัจจุบัน
ในสถานการณ์ต้านรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ พรรคประชาธิปัตย์ได้จับมือกลุ่ม 40 ส.ว. สร้างความตื่นตระหนกอีกครั้ง ด้วย การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อล้มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. จากการเลือกตั้งว่า อาจขัดมาตรา 154 และฝ่าฝืนมาตรา 68 ซึ่งเป็นการล้มการปกครอง
โอกาสของ ส.ว.ลากตั้งกับพรรคประชาธิปัตย์ที่จะล้มรัฐบาลริบหรี่อย่างยิ่ง ความหวังเดียวที่เหลืออยู่ขณะนี้คือ ลุ้นให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินข้อหาฝ่าฝืนมาตรา 68 ออกมาด้านบวกกับพวกเขา แต่เป็นเพียงความปรารถนาเล็กๆ ที่พอจะคว้ามา ปลอบใจได้
เพราะความอยากในอำนาจของกลุ่ม ส.ว.ลากตั้งกว่า 7 ปีที่ผ่านมานั้น ทำให้ประชาชนตาสว่างกับการทำหน้าที่อย่างแจ่มแจ้ง โพลของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เมื่อ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมาระบุว่า ประชาชนร้อยละ 59.2 ต้องการให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง
นั่นเท่ากับสะท้อนว่า ส.ว.ลากตั้งไม่พึงประสงค์ของประชาชนในยุค 2556 ราวกับเป็น "สิ่งปฏิกูล" ที่ต้องถูกทำลายทิ้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 ขณะ นี้อยู่ในขั้นตอนทูลเกล้าฯ ย่อมเป็นกระบวน ล้างปฏิกูลนี้ให้เส้นทางประชาธิปไตยประชาชนสะอาดหมดจน
ที่สำคัญคือ สัญญาณบ่งบอกถึงการเริ่มต้นเก็บกวาดอำนาจของคน 7 คน ในชื่อ "องค์กรอิสระ" นั่นเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น