--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เผยคดีคตส.สั่งฟ้อง ทักษิณ ซุกหุ้นและยึดทรัพย์4.6หมื่นล้าน ไม่มีความผิด

กมธ.พิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเสร็จแล้ว เผยคดีคตส.สั่งฟ้อง"ทักษิณ"ซุกหุ้นและยึดทรัพย์4.6หมื่นล้าน ไม่มีความผิด

ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือของประชาชน (กมธ.นิรโทษกรรม) ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการฯ ช่วงบ่าย หลังจากที่มีมติแก้ไขถ้อยคำมาตรา 3 แล้วได้เข้าสู่การพิจารณาเนื้อหาของมาตรา 4 ที่ระบุให้ระงับการดำเนินคดี การสอบสวน รวมถึงการพิจารณาที่อยู่ในการพิจารณาของกระบวนการ รวมถึงให้คนที่ต้องคำพิพากษา ให้ถือว่าไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดและหากอยู่ระหว่างการรับโทษให้ถือว่าการลงโทษสิ้นสุด

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะเลขานุการกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอปรับเพิ่มถ้อยคำโดยกำหนดให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ให้เหตุผลประกอบว่าเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยที่ประชุมได้มีการซักถาม โดยนายแก้วสรร อติโพธิ กรรมาธิการฯ ระบุว่าการบัญญัติถ้อยคำดังกล่าวหรือผลของมาตรา 4 นั้นจะเข้าข่ายที่ทำให้คดีที่คตส. ได้ดำเนินการและมีการสั่งฟ้อง จนคดีมีการสิ้นสุดแล้ว จะได้รับผลกระทบหรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อแปลตามมาตรา 3 ที่ผ่านมา จะพบว่าคดีที่คตส.ดำเนินการ เช่น คดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ จำนวน 4.6 หมื่นล้าน ก็จะถือว่าไม่มีความผิด และหากไม่มีความผิดต้องมีการคืนเงินให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ

ทั้งนี้นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ อธิบดีกรมบังคับคดี ฐานะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า แม้ว่าการยึดทรัพย์จะเป็นคดีอาญา แต่กรณีที่ให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินต้องพิจารณาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆประกอบ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดกรรมาธิการฯ พรรคเพื่อไทยเสนอปิดอภิปรายและลงมติ ผลคือมติเสียงข้างมากมีมติให้แก้ไขโดยใช้ถ้อยคำตามที่นายชวลิต เสนอ

จากนั้น ที่ประชุมได้เข้าสู่การพิจารณารายละเอียดมาตรา 5 ว่าด้วยการระงับสิทธิ์ผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรมจะดำเนินการเรียกร้องสิทธิ์หรือประโยชน์ใดๆ โดยนายอภิสิทธิ์ ได้ซักถามว่าในกรณีผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรมจะเข้าข่ายได้รับการเยียวยาตามนโยบายของทางรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีการเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมทาการเมืองด้วยหรือไม่ โดยนายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ฐานะกรรมาธิการฯ กล่าวต้องพิจารณาตามคุณสมบัติ แต่เข้าใจว่ากรณีดังกล่าว ต้องมีการลงทะเบียนเหมือนกับการลงทะเบียนเกษตรกรที่เข้าโครงการหรือการเยียวยากับรัฐ

อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ฐานะกรรมาธิการฯ เสนอให้เพิ่มถ้อยคำ ที่ว่า อันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง และมีการเสนอให้ลงมติ ผลปรากฎว่ามติเสียงข้างมาก 15 เสียงเห็นด้วยให้ปรับแก้ถ้อยคำเพิ่มเติมตามนายประเสริฐ

ต่อจากนั้นที่ประชุมเข้าสู่การพิจารณามาตรา 6 ว่าด้วยการตัดสิทธิ์ที่หน่วยงานรัฐ จะไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับบุคคลที่ได้รับการนิรโทษกรรม เว้นแต่เอกชน โดยที่ประชุมได้ซักถามถึงกรณีที่มีการเผาศาลากลางจังหวัด จำนวน 4 แห่งอาทิ จ.มุกดาหาร และมีการสั่งจำคุกบุคคลที่เผาแล้ว ทั้งนี้ในงบประมาณ พ.ศ.2557 รัฐบาลได้ขออนุมัติงบจำนวน 600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ประเด็นดังกล่าวอัยการสามารถเรียกค่าเสียทางแพ่งคืนจากผู้เผาได้หรือไม่ โดยนายวิศิษฎ์ ชี้แจงว่าหากเป็นไปตามมาตรา 6 รัฐไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ นอกจากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้เสนอถ้อยคำเพื่อแก้ไข โดยมีสาระสำคัญ คือเปิดโอกาสให้หน่วยงานรัฐหรือบุคคลเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง กับผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรม แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากกรรมาธิการฯ ท้ายสุดได้มีการลงมติ พบว่าเสียงข้างมาก 18 เสียงให้คงไว้ตามร่างเดิม

จากนั้นนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะกรรมาธิการฯ ได้ขอเพิ่มมาตรา 6 ตามที่นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง อีก 3ทับได้แก่ 6/1 ผู้ที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ต้องยอมรับว่าตนได้ละเมิดกฎหมาย และมีการทำทัณฑ์บนว่าจะไม่เข้าร่วมการชุมุนมุที่ละเมิดกฎหมายอีก, 6/2 ผู้ได้รับการนิรโทษกรรมต้องเปิดเผยข้อมูลความจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง, 6/3 รัฐบาลและหน่วยานที่รัฐได้รับมอบหมายจะต้งอทำความเข้าใจกับประชาชนว่าพระราชบัญัตินี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปรองดองเท่านั้น แต่มติที่ประชุม 19เสียง ไม่เห็นควรให้เติมข้อความดังกล่าว

และเมื่อเวลา 16.45 น. นายสามารถ ได้ระบุว่าสำหรับกรรมาธิการฯ ที่สงวนความเห็นให้เสนอความเป็นเป็นเอกสารต่อเจ้าหน้าที และสำหรับส.ส.ที่เสนอคำแปรญัตติ ขอนัดให้มาชี้แจงต่อกรรมาธิการฯในวันที่ 30 - 31 ต.ค. นี้ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. จากนั้นได้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น