--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปลดล็อก ข้าวไทย เปิดทางตลาดจีน !!?

กระแสข่าวที่ดังที่สุดข่าวหนึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือข้อเสนอของ หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีนที่กล่าวกับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยว่าจะซื้อข้าวไทยเพิ่มอีกปีละ 1 ล้านตัน เป็นเวลา 5 ปี

ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า 1 ล้านตัน ในความหมายของนายหลี่ เค่อเฉียง หมายความว่า 5 ปีซื้อ 1 ล้านตัน (ปีละ 2 แสนตัน) หรือซื้อปีละ 1 ล้านตัน กันแน่ แต่ไม่ว่าจะซื้อเท่าไหร่ ความหมายในเชิงบวกคือ จีนจะซื้อข้าวไทยเพิ่มขึ้น

"สยามธุรกิจ" เคยรายงานก่อนหน้านี้ว่า ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ประธาน ผู้แทนการค้าไทย ได้เคยเดินทางไปเจรจาเรื่องการขายข้าวของไทยในประเทศจีน โดยการเจาะผ่านมณฑลใน ภาคตะวันตก อาทิ มณฑลเสฉวน มณฑล ยูนนาน โดยมองว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า จีนตะวันตกจะยิ่งใหญ่ เทียบเคียงภาคตะวันออก ซึ่งในอดีตภูมิภาคโซนนี้ไม่ได้รับการพัฒนาเหมือนเมืองในโซนตะวันออก เช่น เซี่ยงไฮ้ กวางโจว กวาง ตุ้ง เนื่องจากไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ปัจจุบันรัฐบาลจีนหันมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้ ตัดแม่น้ำสายใหม่ สร้างเขื่อน ขนาดใหญ่ให้เรือน้ำหนักหมื่นตันจอดได้ ทำให้ปัจจุบันหลายเมืองในภูมิภาคตะวันตก เริ่มมีต่างชาติเข้าไปลงทุน อาทิ เมืองเฉิงตู เมืองซีอาน เมืองฉงชิ่ง เป็นต้น

"ผมไปเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน พบ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จะเรียกว่าพลิกผันในชั่วข้ามคืนก็ได้ อีก 3-4 ปีข้างหน้าจีนตะวันตกจะยิ่งใหญ่เทียบเคียงภาค ตะวันออก สวนแพนด้าในเฉิงตูจะถูกเปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรม และย้าย สวนแพนด้าไกลออกไปอีก 100 กิโลเมตร นี่คือตลาดใหม่ของไทย" ดร.โอฬาร กล่าว

"สยามธุรกิจ" ได้มีโอกาสคุยกับแหล่งข่าวระดับสูงในคณะผู้แทนการค้าไทย ในประเด็นที่นายกรัฐมนตรีจีนจะซื้อข้าวไทยเพิ่มอีก 1 ล้านตัน ยืนยันว่าส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการเจรจาของคณะผู้แทนการค้าไทยนั่นเอง

โดยการซื้อข้าวระหว่างไทยกับจีนจะออกมาหลายรูปแบบ ทั้งแบบจีทูจีคือรัฐบาลจีนซื้อตรงกับรัฐบาลไทย หรือ เอกชนจีนซื้อผ่านรัฐบาลไทย หรือ เอกชน จีนซื้อกับเอกชนไทยโดยตรง

ซึ่งต้องยอมรับว่าในอดีตการซื้อขาย ข้าวระหว่างไทยกับจีนไม่ค่อยสะดวกนัก ทำให้สัดส่วนการนำเข้าข้าวสารของจีนใน ช่วงที่ผ่านมา ปรากฏว่าข้าวจากเวียดนาม นำโด่งเป็นอันดับ 1 โดยมีสัดส่วนการนำเข้ามากถึง 66.7% ตามด้วยปากีสถาน 25% และประเทศไทย 7.6%  ทั้งที่คนจีนนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิของไทย แต่ทำไมสัดส่วนการนำเข้าข้าวจากไทยจึงน้อยกว่า เวียดนามหลายเท่าตัว

แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า สาเหตุที่ในอดีตจีนนำเข้าข้าวไทยค่อนข้างน้อยเนื่องจากรัฐบาลจีนจัดโควตาให้พ่อค้านำเข้าเพียงไม่กี่ราย โดยจะประจำการอยู่ในมณฑลใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ กวางโจว พ่อค้าจากมณฑลอื่นจะนำเข้าต้องผ่านโควตาจากพ่อค้ากลุ่มนี้

กลายเป็น "ผู้กุมอำนาจ" แห่งวงการข้าวจีน

และที่สำคัญยังมีการปลอมปนข้าว โดยการนำข้าวหอมมะลิไทยไปปนกับข้าวเวียดนามและข้าวของจีนแล้วใส่ชื่อว่า "จัสมินไรซ์" จนข้าวหอมมะลิไทยสูญเสียรสชาติจากต้นตำรับ

"คณะผู้แทนการค้าไทยได้เจรจากับรัฐบาลจีน ขอให้พ่อค้าในมณฑลเล็กๆ โดย เฉพาะมณฑลในฝั่งตะวันตกสามารถซื้อข้าวจากไทยได้โดยตรง เช่น พ่อค้าในเมือง เฉิงตู มณฑลเสฉวน ที่นำเข้าข้าวหอมมะลิของไทยประมาณ 3 พันตันต่อปี ก็เจรจากับรัฐบาลจีนขอเพิ่มโควตาเป็นหนึ่ง แสนตัน และขอให้พ่อค้าในท้องถิ่นนำเข้าจากไทยได้โดยตรง โดยไม่ต้องซื้อผ่านพ่อค้ากวางโจว ซึ่งนอกจากจะสะดวกขึ้นแล้ว ยังไม่ต้องเสี่ยงกับการปลอมปน" แหล่งข่าวกล่าว

ข้อมูลข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จีน เปิดเผยว่าปี 2012 จีน นำเข้าข้าวคุณภาพดีจากต่างประเทศ 2.6 ล้านตัน ซึ่งเป็นสถิติการนำเข้าข้าว สารสูงที่สุดในประวัติการณ์ เปรียบเทียบ จากปี 2011 คือนำเข้าที่ 5.7 แสนตัน โดยจำนวนข้าวทั้งหมดที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศ แบ่งออกเป็นข้าวจากเวียดนาม 66.7% ปากีสถาน 25% และประเทศไทย 7.6%  ปริมาณนำเข้าข้าว จากทั้งสามประเทศคิดเป็น 99.3% ของ การนำเข้าทั้งหมด

สำหรับราคาจำหน่ายข้าวหอมมะลิในเมืองจีนถือว่าสูงมาก ยกตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง 5 กิโลกรัม เมือง ไทยขายราคา 180-220 บาท แต่ที่ประเทศจีนขายในราคาถุงละ 450-550 บาท เพราะฉะนั้นจึงอย่าแปลกใจหากจะเห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมา ท่องเที่ยวในเมืองไทย เฮโลซื้อเป็นของฝากญาติพี่น้องในเมืองจีน เพราะนอก จากราคาจะถูกกว่าในเมืองจีนแล้ว รสชาติยังอร่อยกว่าข้าวหอมมะลิที่ขายในจีน โดยแหล่งช็อปปิ้งยอดนิยมคือคิง พาวเวอร์ ซอยรางน้ำ ซึ่งมีทัวร์จีนไปลง วันละ 4-5 พันคนต่อวัน ซื้อข้าวหอมมะลิคนละ 4-5 ถุง ล่าสุดเริ่มขยับขยาย ไปในห้างดิสเคาต์สโตร์ เช่น บิ๊กซี โลตัส ย่านบางนา ซึ่งทางห้างมีการจัดเคาน์เตอร์ข้าวสารรองรับอย่างดี เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวจีนช็อปอย่างจุใจ ถือเป็น อีกตลาดที่ช่วยกระจายข้าวสารไทยในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น