--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สับขาหลอกหรือกดดัน !!??

คงติดตามค้นหาความจริงกรณีที่นายกฯ  ยังไม่นำเอาร่างแก้ไขรธน.ขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งที่ก่อนนี้มีการยืนยันค่อนข้างชัดเจน ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่าเป็นเกมสับขาหลอกหรือเป็นเพราะสภาวะที่กดดันกันแน่

ต้อนรับคุณผู้ชมเข้ามาในช่วงเวลาของรายการเจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึกประจำวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2556

เรายังคงติดตามค้นหาความจริงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่นำเอาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว.ขึ้นทูลเกล้าทูกระหม่อม ทั้งที่ก่อนนี้มีการยืนยันค่อนข้างจะชัดเจนว่ามีการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าไปแล้ว

เพราะฉะนั้นจึงเกิดข้อคำถามว่าสาเหตุที่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้มีการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้านั้นเป็นเพราะเป็นเกมสับขาหลอกหรือเป็นเพราะสภาวะที่กดดันกันแน่

หลังจากที่รัฐสภาลงมติวาระ3 แก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว.เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน หลังจากนั้นนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนากยกรัฐมนตรีก็ออกมาเปิดเผยว่าน่าที่จะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯในวันที่ 1 ตุลาคม

หลังจากนั้นวันที่ 1 ต.ค.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ประเด็นที่มาของ ส.ว. ว่า ในเบื้องต้นฝ่ายเลขาธิการ ครม.ได้รับเรื่องจากทางรัฐสภาแล้ว โดยฝ่ายเลขาฯครม. ได้ร่วมตรวจสอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญแล้ว ดำเนินการเรียบร้อย
       
ผู้สื่อข่าวถามว่า หมายความว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการนำขึ้นทูลเกล้าฯใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “ใช่ ทางฝ่ายเลขาครม.ได้ตรวจสอบทุกอย่างถูกต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นก็ต้องทำตามหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ ในการนำเสนอ”

2 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกมาย้ำอีกครั้งว่ากระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาและได้มีหนังสือแจ้งมาว่ารัฐสภาผ่านความเห็นชอบวาระ 3 ซึ่งถือเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ในส่วนของรัฐบาลโดยฝ่ายเลขานุการ ครม.ก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวต้องตรวจสอบ อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเองก็ได้ดำเนินการตรวจสอบในข้อกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ตนในฐานะนายกรัฐมนตรีก็มีหน้าที่นำเสนอตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ โดยไม่สามารถไปยึดตามหลักอื่นได้ ตนก็ต้องยึดหลักตามข้อกฎหมาย ในส่วนของความเห็นนั้นก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้นรัฐบาลก็ต้องยึดตามหลักของข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ซึ่งขั้นตอนต่างๆถือว่าเสร็จสมบูรณ์

นายกรัฐมนตรีพยายามอธิบายว่า อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติคืออำนาจของประชาชนและรัฐสภา อำนาจของฝ่ายบริหารก็ต้องแยกกัน และตนเองก็มีหน้าที่ทำตามของรัฐธรรมนูญเท่านั้น

ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามเอกสาร ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา ของ ส.ว.แล้ว หลังจากเลขาธิการคณะกรรมการฤษฎีกา และเลขาธิการคณะรัฐมมนตรี  ได้จัดทำเอกสารและตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนของเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประสานกับสำนักพระราชวัง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ลงพระปรมาภิไธย

แต่ปรากฎว่าในวันที่ 3 ตุลาคม นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ได้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในวาระ 3 นำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยระบุว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับสำนักราชเลขาธิการ

ขณะที่ นายพงษ์เทพ เทพกาจนา รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ สว.ขึ้นทูลเกล้า เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย พร้อมระบุว่า นายอำพล กิตติอำพล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง พร้อมทั้งย้ำด้วยว่า กระแสข่าวดังกล่าวเป็นเพียงแค่ข่าวลือ รวมถึงได้ปฏิเสธกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการสอดไส้ เนื้อเพิ่มเติมโดยที่ รัฐสภาไม่รับทราบ

พิจารณาจากลำดับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะพบเห็นได้ถึงความผิดปกติอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นการค้นหาคำตอบถึงอาการลังเลของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ก็ต้องมาดูว่าเกิดจากแผนสับขาหลอกหรือเป็นเพราะแรงกดดันทางการเมืองกันแน่

พิจารณาจากรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 มาตรา ๑๕๐ ที่ระบุว่าร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภาเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

การนับ  20 วันตามบทบัญญัตินั้นเป็นการเริ่มต้นนับตั้งแต่ที่สภาส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาให้นายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะชะลอการนำขึ้นทูลเกล้าแบบไม่มีเงื่อนไขจริงๆ ก็ไม่ควรให้สภารีบส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาให้นายกรัฐมนตรีตั้งแต่แรก

เพราะฉะนั้นเมื่อมีการส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว แต่ปรากฏว่าสถานการณ์หลังจากนั้นมีกลุ่มต่างๆออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในลักษณะกดดันให้นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในการกระทำที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท วึ่งอาจเป็นคำตอบสุดท้ายที่ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจยังไม่นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า

อย่างไรก็ตามหากนายกรัฐมนตรีตัดสินใจนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าแล้ว ตามบทบัญญัติ มาตรา ๑๕๑ ระบุว่าร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน

ที่มา.ทีนิวส์
--------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น