แค่โยนก้อนหินถามทางเสนอแนวคิดห้ามรถยนต์อายุใช้งานเกิน 7-10 ปี เข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็โดนรุมคัดค้านหนัก ทำให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ต้องออกโรงชี้แจงว่าเป็นเพียงนำเสนอทางเลือกแก้ไขปัญหาการจราจรที่กำลังวิกฤต แต่ที่จะนำร่องปฏิบัติ คือ การจับ ปรับ ข้อหาจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดบางจุดในถนนสายหลัก 10 สาย ประกอบด้วย ถนนลาดพร้าว พระราม 4 รัชดาภิเษก พหลโยธิน วิภาวดีรังสิต สาทรเหนือ เพชรบุรี และรามคำแหง เริ่มตั้งแต่ 21 ตุลาคมนี้ ซึ่งกระแสการตอบรับของสาธารณชนมีมากกว่า
ที่ผ่านมามีความพยายามหลายต่อหลายครั้ง จะแก้วิกฤตจราจรย่านใจกลางเมือง ด้วยการจำกัดปริมาณรถ แต่ไม่อาจต้านเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีตามมา เลยมักจบลงคล้าย ๆ กัน คือ เงียบหายไปกับสายลม เช่น จะให้รถทะเบียนเลขคู่กับเลขคี่สลับวิ่ง ซึ่งถูกจุดประกายนับครั้งไม่ถ้วน สุดท้ายก็ไม่สามารถผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ ไม่ต่างไปจากครั้งนี้ที่ไม่ทันนับหนึ่งก็ต้องถอยตั้งหลัก
แม้ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องตรงกันปัญหาการจราจรใน กทม.ขณะนี้หนักเลยจุดวิกฤตไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปริมาณรถเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า สาเหตุที่การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโครงการรถยนต์คันแรกที่ออกสู่ถนนมากขึ้น โดยสถิติจำนวนรถยนต์จดทะเบียนปี 2555 มีรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกใน กทม.มากถึง 244,172 คัน ขณะเดียวกันจำนวนรถยนต์ใน กทม.เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยสิ้นปี 2555 มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรวม 2,975,548 คัน รถจักรยานยนต์ 2,845,973 คัน และรถอื่น ๆ รวม 7,381,714 คัน ส่งผลให้ถนน
ทั้งสายหลักสายรองซึ่งแม้จะมีความยาวรวม 5,400 กิโลเมตรไม่พอรองรับ ประกอบหลายสายถูกปิดกั้นช่องทางจราจรก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทำให้ปัญหารถติดที่หนักหนาสาหัสอยู่แล้ววิกฤตหนักยิ่งขึ้น
ถือเป็นเรื่องดีที่ ผบ.ตร.ในฐานะผู้รักษากฎหมายพยายามหาทางแก้ โดยนำระเบียบข้อกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักมาจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่เคารพกฎหมาย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร กทม. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ฯลฯ ก็ปฏิบัติหน้าที่หย่อนยานไม่เข้มงวด กลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ และปัญหาการจราจร
ดังนั้น หากปรับรื้อใหญ่คุมเข้มการใช้รถใช้ถนน โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน ควบคู่กับการรณรงค์ให้คนทุกเพศทุกวัยมีวินัยการจราจร น่าจะช่วยแก้การจราจรที่วิกฤตให้บรรเทาลงได้บ้าง
ขณะเดียวกัน อาจต้องยกเครื่องการบริหารจัดการโครงข่ายเส้นทางคมนาคมทั้งระบบ โดยนำสถิติข้อมูล ตลอดจนเทคนิคทางด้านวิศวกรรมการจราจรมาปรับใช้ พร้อมเร่งปรับปรุงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองรับการเดินทางของประชาชน เพื่อลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยแก้รถติด ลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดมลพิษ รวมทั้งประหยัดการนำเข้าพลังงาน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยากจะเกิดผลในทางปฏิบัติได้ ถ้าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีนโยบายที่ชัดเจน และลงมือปฏิบัติตั้งแต่วันนี้
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-------------------------------------
ที่ผ่านมามีความพยายามหลายต่อหลายครั้ง จะแก้วิกฤตจราจรย่านใจกลางเมือง ด้วยการจำกัดปริมาณรถ แต่ไม่อาจต้านเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีตามมา เลยมักจบลงคล้าย ๆ กัน คือ เงียบหายไปกับสายลม เช่น จะให้รถทะเบียนเลขคู่กับเลขคี่สลับวิ่ง ซึ่งถูกจุดประกายนับครั้งไม่ถ้วน สุดท้ายก็ไม่สามารถผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ ไม่ต่างไปจากครั้งนี้ที่ไม่ทันนับหนึ่งก็ต้องถอยตั้งหลัก
แม้ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องตรงกันปัญหาการจราจรใน กทม.ขณะนี้หนักเลยจุดวิกฤตไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปริมาณรถเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า สาเหตุที่การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโครงการรถยนต์คันแรกที่ออกสู่ถนนมากขึ้น โดยสถิติจำนวนรถยนต์จดทะเบียนปี 2555 มีรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกใน กทม.มากถึง 244,172 คัน ขณะเดียวกันจำนวนรถยนต์ใน กทม.เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยสิ้นปี 2555 มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรวม 2,975,548 คัน รถจักรยานยนต์ 2,845,973 คัน และรถอื่น ๆ รวม 7,381,714 คัน ส่งผลให้ถนน
ทั้งสายหลักสายรองซึ่งแม้จะมีความยาวรวม 5,400 กิโลเมตรไม่พอรองรับ ประกอบหลายสายถูกปิดกั้นช่องทางจราจรก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทำให้ปัญหารถติดที่หนักหนาสาหัสอยู่แล้ววิกฤตหนักยิ่งขึ้น
ถือเป็นเรื่องดีที่ ผบ.ตร.ในฐานะผู้รักษากฎหมายพยายามหาทางแก้ โดยนำระเบียบข้อกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักมาจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่เคารพกฎหมาย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร กทม. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ฯลฯ ก็ปฏิบัติหน้าที่หย่อนยานไม่เข้มงวด กลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ และปัญหาการจราจร
ดังนั้น หากปรับรื้อใหญ่คุมเข้มการใช้รถใช้ถนน โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน ควบคู่กับการรณรงค์ให้คนทุกเพศทุกวัยมีวินัยการจราจร น่าจะช่วยแก้การจราจรที่วิกฤตให้บรรเทาลงได้บ้าง
ขณะเดียวกัน อาจต้องยกเครื่องการบริหารจัดการโครงข่ายเส้นทางคมนาคมทั้งระบบ โดยนำสถิติข้อมูล ตลอดจนเทคนิคทางด้านวิศวกรรมการจราจรมาปรับใช้ พร้อมเร่งปรับปรุงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองรับการเดินทางของประชาชน เพื่อลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยแก้รถติด ลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดมลพิษ รวมทั้งประหยัดการนำเข้าพลังงาน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยากจะเกิดผลในทางปฏิบัติได้ ถ้าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีนโยบายที่ชัดเจน และลงมือปฏิบัติตั้งแต่วันนี้
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น