--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาอุปสรรค : จีน-อาเซียน !!?

การเดินทางของผู้นำจีนมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดสัปดาห์ที่แล้ว น่าสนใจมาก และเห็นการก้าวรุก ทางการทูตและการต่างประเทศ ที่ได้จังหวะได้โอกาส สวยงาม ในการสร้างความมั่นใจที่ดียิ่งขึ้นของอาเซียนต่อจีน

โอกาสและจังหวะที่ดีนี้เกิดโดยเหตุที่ประธานาธิบดี โอบามาเอง งดการเดินทางมาประชุมเอเปคที่อินโดนีเซียและ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่บรูไนกับเยี่ยมเยือนพันธมิตรบางประเทศของตน ทั้งในเอเชียตะวันออก และในอาเซียน

ขณะที่ประธานาธิบดีของจีน นาย หลี สี่ผิง และนายกรัฐมนตรีของจีน นาย ลี่ เข่อเจี้ยง มาเยือนอาเซียนหลายประเทศ เริ่มแต่นาย หลี สี่ผิง ไปประชุมและเยือนอินโดนีเซีย กับประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่บรูไน เขายังไปเยือนมาเลเซียอีกด้วย

ในขณะที่นาย ลี่ เข่อเจี้ยง นั้นมาเยือนประเทศไทยเป็น การเฉพาะ นี่ต้องนับเป็นการวางยุทธศาสตร์ทางการทูตของจีน ที่น่าสนใจ ในการเป็นมหาอำนาจและการสร้างเขตอิทธิพลของ จีนโดยรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และโดยเฉพาะในอาเซียน ซึ่งกำลังรวมตัวเป็นประชาคมเติบใหญ่กล้าแข็งไปพร้อมกันกับจีน

ความสำคัญของการไปเยือนอินโดนีเซียนั้น สำคัญต่อ จีนมากในการวางสถานะความสัมพันธ์ของจีนกับอาเซียนในอนาคตไม่น้อยเลย และมองได้ว่าการไปอินโดนีเซีย กับมาเลเซีย คราวนี้มีเจตนาสำคัญส่วนหนึ่งที่จีนเองต้องการเยียวยาบาดแผล ทางใจที่เคยมีกับอินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่อดีตการเมืองในสองประเทศนี้

คงไม่ลืมกันว่า อดีตของอินโดนีเซียในช่วงที่รับเอกราชและ อิสรภาพมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น โดยเฉพาะในช่วงที่ ซูการ์โนเป็นผู้นำอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การแทรกซึมและคุกคาม ของขบวนการคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียอย่างรุนแรงมากในประวัติศาสตร์การเมืองของอินโดนีเซีย

ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่คุกคามอินโดนีเซียขณะนั้น ซึมลึกลงถึง ทุกระดับหมู่บ้าน (คล้ายลักษณะของการสร้างหมู่บ้านแดงในไทย ขณะนี้) และยังก้าวรุกทางการเมืองอย่างมีอิทธิพลสูงยิ่ง และดูเหมือน จะครอบงำซูการ์โนขณะนั้นชนิดเกือบยึดประเทศเอาไว้ได้ หากไม่ เกิดเหตุการณ์ที่ในที่สุด นายพล ซูฮาร์โต ปฏิวัติขับไล่และล้มล้าง อิทธิพลของคอมมิวนิสต์ที่มีจีนหนุนหลังลงได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1963

ตั้งแต่ปีค.ศ.1965 ที่นายพล ซูฮาร์โต เป็นผู้นำของอินโดนีเซียมาจนถึงการก้าวลงจากอำนาจในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1998 นั้น เขาสยบลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศลงได้อย่างราบคาบทีเดียว ด้วยการนำเอา "ระเบียบใหม่" (New Order) มาใช้ถอนรากถอนโคนทั้งซูการ์โนและกระบวนการลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป

33 ปีขอวงการครองอำนาจของซูฮาร์โต เป็นช่วงที่อินโดนีเซียไม่เคยไว้วางใจจีนเลย เพราะด้วยเหตุในประวัติศาสตร์ที่บาดหมางทางใจกันตลอดมา การล้มล้างลัทธิคอมมิวนิสต์ในเหตุการณ์ 30 กันยายน 1965 มีผู้คนในอินโดนีเซียล้มตายไปถึงกว่าห้าแสน คน และจากนั้นอินโดนีเซียระแวงกลัวจีนมาตลอด เพิ่งจะมารื้อฟื้นความสัมพันธ์ปกติอีกครั้งเมื่อปีค.ศ.1990 นี้เอง

จุดนี้เองที่ทำให้มองเห็นการเดินทางของผู้นำจีนคราวนี้ มีนัยสำคัญทางการเมืองในการวางสถานะของจีนกับอินโดนีเซีย และ กับอาเซียนในอนาคต ความที่ทั้งจีนและอินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่ด้วยจำนวนประชากรด้วยกันทั้งคู่ และจีนจัดว่าเป็น "พี่เอื้อย" ของอาเซียน จีนเจาะอาเซียนหมู่เกาะจากอินโดนีเซียนี่เอง

ในส่วนของมาเลเซียความสัมพันธ์ของสองประเทศของมาเลเซียกับจีนก็หาได้ราบรื่นไว้เนื้อเชื่อใจกันมานักหนาไม่ และก็มีเหตุบาดหมางทางใจในประวัติศาสตร์ทางการเมืองไม่ต่างกับอินโดนีเซีย ถ้ายังไม่ลืมเหตุการณ์ลุกฮือของชนเชื้อชาติจีนในมาเลเซีย ในปีค.ศ.1696 นั้น หลายหมื่นคนในมาเลเซียสังเวยชีวิตในเหตุการณ์นั้นเช่นกัน

ว่าโดยทั่วไปแล้ว ความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศในกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่นั้นไม่ได้สมบูรณ์อะไรนักหนา ด้วยนโยบายแพร่ ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ของจีน นับแต่จีนเป็นคอมมิวนิสต์สมบูรณ์ ครบมาแต่ปีค.ศ.1949 นั้น การปิดล้อมป้องกัน และการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในประเทศต่างๆ ทางแถบนี้นั้น เป็นกำแพงขวางกั้นสำคัญของการมีความสัมพันธ์ต่อกัน จนเมื่อภูมิ-ทัศน์ทางการเมือง หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วนี่เอง

แม้กระนั้น เหตุบาดหมางของบางประเทศในอาเซียนกับจีน ก็ยังเป็นจุดสะดุดในความสัมพันธ์ต่อกันบางระดับ เพราะด้วยความ ขัดแย้งในการเรียกร้องสิทธิครอบครองเหนือบางหมู่เกาะในเขตทะเลจีนใต้ ระหว่างจีน กับ สี่ประเทศในอาเซียนที่มี บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กับเวียดนาม นั่นเอง เป็นคู่กรณีต่อกัน

กรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้จึงดูเป็นเป้าหมายหลัก ต่อการสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงที่จีนต้องการแสดงให้ อาเซียนวางใจในการแก้ปัญหาต่อกัน เพราะฉะนั้นก็จะเห็นสิ่ง แสดงออกในการเดินทางของ สี จิ้นผิง ทั้งในการประชุมอาเซียน ที่บรูไน ในการเยือนอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตอกย้ำความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกับอาเซียนอย่างสันติ แม้จะยุ่งยากกับปัญหาทะเลจีนใต้อย่างไรก็ตาม

โยงใยที่ร้อยรัดเข้ามาในอาเซียนจากจีนนั้น นอกจากมอง ยุทธศาสตร์การทูตการต่างประเทศของจีนต่ออาเซียนในหมู่เกาะโอบล้อมเข้ามายังอาเซียนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ที่มีประเทศ ไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญแล้ว เห็นได้ชัดจากการแยกมาเยือน ไทยของนายกรัฐมนตรี หลี เข่อเจี้ยง และอย่างที่ได้เห็นกันแล้วว่าได้มีการตกลงความร่วมมือต่อกันถึง 6 ฉบับ กับการที่จีนจะให้ความสนใจช่วยเหลือไทย

ผลอันกว้างไกลกับการเยือนไทยนี้ มองเห็นถึงการเชื่อมโยงจีนกับอาเซียนเข้ามาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาจีนด้านใต้และตะวันตกที่มียูนนานเป็นศูนย์กลาง เปิดทางการพัฒนาของจีนแถบนั้น เข้าสู่อาเซียนและศูนย์กลางอาเซียนที่ไทยเป็นสำคัญ จีนโอบล้อมอาเซียน ได้อย่างเนียนเหลือเกิน

แม้กระนั้นจีนก็ยังเป็นตัวการสำคัญที่อาเซียนจะยังต้อง ระมัดระวังท่าทีในความสัมพันธ์ที่จะมีต่อกันต่อไป เพราะในที่สุดเราก็ยังเห็นกันว่า จีนเป็นคู่กรณีโต้แย้งกับอาเซียนสำคัญ สองเรื่องที่แย่งผลประโยชน์ต่อกัน 1) คือเรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ 2) คือความขัดแย้งแย่งน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งจีนไม่เคยยอมให้ด้วยดีกับอาเซียนเลย

ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น