โดย ชนาธิป สุกใส
มหาวิทยาลัยสยาม
ศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย: สิ่งที่ควรต้องจัดระเบียบ
เริ่มต้นด้วยคำถามที่ง่าย ๆ ที่ว่า การเตรียมความพร้อมรับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ของประเทศในปี 2015 ภาคส่วนใดควรมีบทบาทสำคัญที่สุดในการเป็นคลังสมองของชาติ (National Think Tank) ให้ความรู้และถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องอาเซียนศึกษาแก่สังคม เชื่อว่าคำตอบส่วนใหญ่คงเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ “ภาคการศึกษา”
ภาคการศึกษา (Academic Sector) ถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญยิ่งต่อการหล่อหลอมความคิด ปูพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่มีการศึกษา เป็นแกนหลักเสริมสร้างให้คนในสังคมมีความรู้ มีความเข้าใจเรื่องอาเซียนอย่างถ่องแท้มากขึ้น เป็นศูนย์กลาง (Hub) กระจายข้อมูลต่าง ๆ สู่ทุกภาคส่วนของประเทศ ตลอดจนบ่มเพาะให้คนไทยเป็นพลเมืองที่ดีของอาเซียน (ASEAN Good Citizens) สามารถนำพาประเทศเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในอีก 2 ปีข้างหน้า

photo from Bangkokopost
ในประเด็นด้านการศึกษา ประเทศไทยมีการเตรียมการด้านการศึกษาเพื่อรับกับประชาคมอาเซียนได้ค่อนข้างดี มีการกำหนดยุทธศาสตร์หลัก (Grand Strategy) ของชาติเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สะท้อนได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการที่หลากหลาย การยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างความเป็นเอกภาพในสังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลกโดยเฉพาะประชาคมอาเซียน
อย่างไรก็ดี ความตื่นตระหนก (Panic) และความไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษาไทยก็ฉายภาพได้ชัดไม่แพ้กับสิ่งที่ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติข้างต้นฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อถกเถียงในสังคมวงกว้างเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทยเมื่อถูกหยิบยกเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามที่ World Economic Forum (WEF) ได้นำเสนอในรายงาน Global Information Technology Report 2013 โดยสื่อต่าง ๆ ได้ประโคมข่าวนี้อย่างครึกโครม จนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องออกมาแสดงความคิดเห็น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และจากบทความของผู้เขียนที่ได้เขียนรับใช้ก่อนหน้านี้
ในภาพรวม สถาบันการศึกษาทุกระดับส่วนใหญ่มีการแปลงวิสัยทัศน์จากภาครัฐสู่กิจกรรมภาคปฏิบัติ (Translate visions into actions) ที่หลากหลาย ขอเน้นตัวหนา ๆ ในที่นี้ว่า “ทุกระดับ” มีการจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “ศูนย์อาเซียนศึกษา” “ศูนย์ประชาคมอาเซียนศึกษา” “ศูนย์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนศึกษา” “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนศึกษา” “ศูนย์ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน” และศูนย์อื่น ๆ ในชื่อและบริบทที่ใกล้เคียงกันในลักษณะนี้มากมาย
ผู้เขียนขออธิบายการเกิดขึ้นและการเพิ่มจำนวนของศูนย์อาเซียนอย่างต่อเนื่องของประเทศ ณ ห้วงเวลานี้ว่าเป็น “ปรากฎการณ์ (Phenomenon) ศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย” คำนี้อาจจะไม่ค่อยมีผู้ใดกล่าวขานกันมากนัก เนื่องจากดูอย่างผิวเผินแล้วจะพบว่าเป็นสิ่งที่ดีและไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ที่สำคัญใคร ๆ เขาก็ทำกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษาทุกระดับ
หากจะวิเคาระห์ว่าดีหรือไม่นั้น แน่นอนคำตอบก็ต้องตอบว่า “ดี” แทบจะร้อยเปอร์เซ็น เพราะการเตรียมความพร้อมผ่านการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจด้านอาเซียนแบบนี้ จะใช้ชื่อว่าอะไรนั้นก็สุดแล้วแต่หน่วยงานนั้น ๆ จะรังสรรค์ขึ้นมา แต่ก็ต้องชื่มชมอย่างจริงใจว่าเป็นการตื่นตัวในเชิงบวก (Pro-active)
ศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย
ผู้เขียนได้พยามค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนของศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งศูนย์อื่น ๆ ที่มีการใช้ชื่อในลักษณะเดียวกันนี้จากหลายแหล่ง ทั้งจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ตลอดจนใช้ความเป็นอาจารย์เป็นใบเบิกทางค้นหาข้อมูลนี้ในแวดวงวิชาการด้วยกันเอง แต่ก็ยังไม่ได้ข้อมูลที่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานหลัก หรือแม่งานในการหลักรวบรวมข้อมูลด้านศูนย์อาเซียนศึกษาของประเทศ
แหล่งข้อมูลสำคัญอีกแหล่งที่ผู้เขียนค้นคว้าก็คือ แหล่งข้อมูลจากอาจารย์ใหญ่ Google ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยใช้คำสำคัญ (Keyword) ว่า “ศูนย์อาเซียนศึกษาของไทย” ค้นหาใน Google ปรากฎว่าพบลิงก์ (Link) ที่เกี่ยวข้องมีกว่า 6 ล้านลิงก์ (แต่ก็ไม่ตรงเสียทีเดียว) ข้อมูลของ Google ได้ไล่เรียงตั้งแต่การจัดตั้งศูนย์อาเซียนในระดับอนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนศูนย์ฝึกอบรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจาก Google ที่ค้นหาได้ก็ยังมีความกระจัดกระจาย และเมื่อกดลิงก์เข้าไปแล้วพบว่า แต่ละหน่วยงานทำในรูปแบบเฉพาะของตัวเอง ไม่มีศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษาในนามของประเทศไทยอย่างแท้จริง ดังนั้น การค้นหาข้อมูลจึงมีความติดขัดพอสมควร และไม่สามารถค้นพบคำตอบที่ชัดเจนว่าปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนศูนย์อาเซียนศึกษาและศูนย์ที่เกี่ยวข้องเป็นอยู่เท่าใด
อนึ่ง สิ่งที่ศูนย์อาเซียนต่าง ๆ ข้างต้นมีเหมือนกันก็คือ “พิธีเปิด” แต่เมื่อผู้เขียนพยามเจาะลึกค้นคว้าในรายละเอียดเกี่ยวกับแผนงาน แผนกิจกรรม หรือการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนจริง ๆ ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์นั้น ๆ กลับไม่ปรากฎข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด มีเพียงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนและภาพพิธีเปิดเท่านั้น
จากประเด็นนี้เองก็นำไปสู่การปรากฎขึ้นของเครื่องหมายคำถามตัวโตในใจของผู้เขียนว่า
1. เรากำลังเตรียมความพร้อมเชิงสัญลักษณ์ (Symbol) มากกว่าสารัตถะ (Substance) หรือไม่?
2. จำนวนของศูนย์อาเซียนที่กำลังก่อตัวเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมไทยหากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมจากส่วนกลางหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างปัญหาในอนาคต
ข้อเท็จจริงของการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาภายในสถาบันการศึกษา
ในเชิงอุดมคติ (Idealistic) ศูนย์อาเซียนศึกษาจะถูกวาดภาพให้เป็นศูนย์กลางเพื่อความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ด้านอาเซียนศึกษาประจำสถาบันการศึกษา เป็นคลังสมองด้านข้อมูล เป็นที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้หลากมิติด้านอาเซียน มีพันธกิจหลักเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและติดอาวุธทางปัญญาแก่นิสิตนักศึกษา บุคลากรภายในสถาบัน ตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณที่ตั้งของสถาบันการศึกษานั้น ๆ
อย่างไรก็ดี การที่จะดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงอุดมคตินั้น สถาบันการศึกษาต้องมีการวางแผนการดำเนินงานของศูนย์อย่างเป็นระบบ มีความเข้มข้นด้านวิชาการ สามารถวัดและประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ มีการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดประชุมสัมมนาด้านอาเซียน การให้บริการทางวิชาการ (Academic Services) สื่อสิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนการเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาด้านอาเซียนแก่หน่วยงานภายนอกหรือผู้ที่สนใจ
แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ๆ พบว่า ศูนย์อาเซียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมากจะถูกจัดตั้งขึ้นตามกระแสนิยม (Fad) มากกว่าความจำเป็นที่แท้จริง เนื่องจากกระแสการเตรียมพร้อมรับประชาคมอาเซียนของสังคมไทยนั้นต้องยอมรับว่า เป็นกระแสที่มาแรงและกลายเป็นกระแสหลัก (Main Stream) ของแวดวงการศึกษาไปแล้ว สถาบันการศึกษาใดไม่มีศูนย์อาเซียน หรือแม้กระทั่งมุมหนังสืออาเซียน (ASEAN Corner) ภายในห้องสมุดของสถาบัน ก็สามารถอนุมาน (Infer) ได้ว่า สถาบันนั้น ๆ ไม่ทันกระแส ล้าหลัง และไม่มีการปรับตัว
ทั้งที่ความเป็นจริง หากจะถามว่าศูนย์อาเซียนที่เกิดขึ้นนั้นมีกิจกรรมทางวิชาการหรืองานวิจัยที่มีนัยยะสำคัญสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดได้หรือไม่ ต้องตอบว่าหาได้ค่อนข้างยากจากศูนย์อาเซียนส่วนใหญ่
ดังนั้น จำนวนของศูนย์อาเซียนศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในทุกพื้นที่จึงเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการตลาด (Marketing Symbol) โดยอัตโนมัติ ตลอดจนเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสถาบันในเชิงบวก เป็นนางกวักดึงดูดให้คนมาสมัครเป็นนักศึกษาของตน มากกว่าสิ่งที่ศูนย์อาเซียนศึกษาพึงจะเป็น นั่นก็คือสัญลักษณ์ความเป็นเลิศทางวิชาการตามอุดมคติที่ได้กล่าวข้างต้น

ภาพจาก men.mthai.com
ข้อพิจารณาเพื่อการจัดระเบียบและการบริหารจัดการ
1. กระทรวงศึกษาธิการในฐานะเป็นหน่วยงานหลักด้านการศึกษาของประเทศ ควรมีนโยบายหรือการจัดระเบียบกำหนดให้การจัดตั้งศูนย์อาเซียนของสถาบันการศึกษามีลักษณะการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกันนี้อาจจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติ (Practical Approaches) ที่ชัดเจนกำกับไว้อีกชั้นหนึ่งด้วย
เช่น ต้องมีบทความหรือผลงานวิจัยอย่างน้อย 2-3 ชิ้นต่อภาคการศึกษา มีการกำหนดจำนวนของการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นการประชุมหรือการสัมมนาทางวิชาการอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อภาคการศึกษา
สามารถบ่งชี้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายและจำนวนของผู้เข้าร่วมเป็นอย่างไร และมีการรายงานผลย้อนกลับ (Feedback) มาที่กระทรวงศึกษาธิการ อันจะมีส่วนในการประเมินและวัดคุณภาพการศึกษาสถาบันการศึกษานั้น ๆ นี่คือสิ่งที่ศูนย์อาเซียนศึกษาทุกแห่งควรพึงกระทำ ไม่ใช่เน้นหนักในรูปภาพที่มีแขกผู้ใหญ่มาเปิดศูนย์หรือเปิดงานเท่านั้น
2. สถาบันการศึกษาควรมีแผนงานสำหรับศูนย์อาเซียนของตนที่ชัดเจน เนื่องจากภาระงานของศูนย์อาเซียนอาจจะไปทับซ้อนหรือคาบเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักอยู่แล้ว เช่น การจัดกิจกรรม ASEAN Day การจัดนิทรรศการอาเซียน (ASEAN Exhibition) ภายในสถาบัน หรือแม้กระทั่งการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของนักศึกษาภายในสถาบันการศึกษา ซึ่งภาระงานเหล่านี้จากเดิมเป็นของสำนักกิจการนักศึกษาหรือสโมสรกิจกรรมนักศึกษา หรือหากเป็นภาระงานที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) คณะบริหารธุรกิจก็กลายจะเป็นแม่งานโดยปริยายอยู่แล้ว
หรือหากศูนย์อาเซียนบางแห่งเน้นหนักการศึกษาเกี่ยวกับภาษาประเทศของเพื่อนบ้าน ก็มีความจำเป็นที่จะต้องแยกภาระงานส่วนนี้ออกมาให้ชัดเจนจากเดิมที่คณะศิลปศาสตร์หรือภาษาศาสตร์ดูแลรับผิดชอบอยู่ เช่นนี้แล้วจะทำให้ความเป็นวิชาการที่แท้จริงของศูนย์อาเซียนมีภาพที่เด่นชัดขึ้นและสามารถวัดผลเชิงรูปธรรมได้
3. หลังจากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2015 แล้ว บทบาทของศูนย์อาเซียนภายในสถาบันควรจะมีทิศทาง (Direction) อย่างไร สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคิดล่วงหน้าไว้ เนื่องจากศูนย์อาเซียนไม่ใช่ภาคธุรกิจที่หากไม่มีกิจกรรมหรือกำไรแล้วก็สามารถยุบทิ้งได้ อนึ่ง การจัดตั้งศูนย์ในลักษณะนี้ (ไม่เพียงแค่ศูนย์อาเซียนเท่านั้น)
สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะจัดตั้งโดยถาวรและไม่มีการยุบยกเลิก แต่การมีอยู่ของศูนย์อาเซียนศึกษาในอนาคตนี้ ควรมีอยู่อย่างมีคุณค่าและมีกิจกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่ามีอยู่เพียงชื่อโดยมิได้สร้างมูลค่าเพิ่มใด ๆ ให้กับสถาบันการศึกษาเลย ดังนั้น บทบาทของศูนย์อาเซียนหลังปี 2015 จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องพิจารณาและวางวิสัยทัศน์ไว้ล่วงหน้าด้วยในเวลาเดียวกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอชื่นชมสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีความพยามจัดตั้งศูนย์อาเซียนขึ้นภายนสถาบันของตนเพื่อเป็นแหล่งกระจายข้อมูลด้านอาเซียน และเพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงค์ความพร้อมสำหรับการก้าวสู่การเข้าเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ควรมีการจัดระเบียบ ควรมีความเป็นเอกภาพมากกว่านี้ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินการในลักษณะของผักชีโรยหน้า คือ “มีเพราะว่าตามกระแส หรือมีเพราะมีเขามีกัน”
จึงขอส่งผ่านข้อพิจารณาข้างต้นเป็นประเด็นถกเถียงเพื่อต่อยอดและขยายผลทางความคิด เพื่อให้การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาของประเทศไทยมีทิศทาง มีความมั่นคง และสามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านอาเซียนศึกษาของประเทศได้อย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยสยาม
ศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย: สิ่งที่ควรต้องจัดระเบียบ
เริ่มต้นด้วยคำถามที่ง่าย ๆ ที่ว่า การเตรียมความพร้อมรับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ของประเทศในปี 2015 ภาคส่วนใดควรมีบทบาทสำคัญที่สุดในการเป็นคลังสมองของชาติ (National Think Tank) ให้ความรู้และถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องอาเซียนศึกษาแก่สังคม เชื่อว่าคำตอบส่วนใหญ่คงเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ “ภาคการศึกษา”
ภาคการศึกษา (Academic Sector) ถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญยิ่งต่อการหล่อหลอมความคิด ปูพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่มีการศึกษา เป็นแกนหลักเสริมสร้างให้คนในสังคมมีความรู้ มีความเข้าใจเรื่องอาเซียนอย่างถ่องแท้มากขึ้น เป็นศูนย์กลาง (Hub) กระจายข้อมูลต่าง ๆ สู่ทุกภาคส่วนของประเทศ ตลอดจนบ่มเพาะให้คนไทยเป็นพลเมืองที่ดีของอาเซียน (ASEAN Good Citizens) สามารถนำพาประเทศเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในอีก 2 ปีข้างหน้า
photo from Bangkokopost
ในประเด็นด้านการศึกษา ประเทศไทยมีการเตรียมการด้านการศึกษาเพื่อรับกับประชาคมอาเซียนได้ค่อนข้างดี มีการกำหนดยุทธศาสตร์หลัก (Grand Strategy) ของชาติเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สะท้อนได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการที่หลากหลาย การยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างความเป็นเอกภาพในสังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลกโดยเฉพาะประชาคมอาเซียน
อย่างไรก็ดี ความตื่นตระหนก (Panic) และความไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษาไทยก็ฉายภาพได้ชัดไม่แพ้กับสิ่งที่ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติข้างต้นฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อถกเถียงในสังคมวงกว้างเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทยเมื่อถูกหยิบยกเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามที่ World Economic Forum (WEF) ได้นำเสนอในรายงาน Global Information Technology Report 2013 โดยสื่อต่าง ๆ ได้ประโคมข่าวนี้อย่างครึกโครม จนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องออกมาแสดงความคิดเห็น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และจากบทความของผู้เขียนที่ได้เขียนรับใช้ก่อนหน้านี้
ในภาพรวม สถาบันการศึกษาทุกระดับส่วนใหญ่มีการแปลงวิสัยทัศน์จากภาครัฐสู่กิจกรรมภาคปฏิบัติ (Translate visions into actions) ที่หลากหลาย ขอเน้นตัวหนา ๆ ในที่นี้ว่า “ทุกระดับ” มีการจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “ศูนย์อาเซียนศึกษา” “ศูนย์ประชาคมอาเซียนศึกษา” “ศูนย์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนศึกษา” “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนศึกษา” “ศูนย์ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน” และศูนย์อื่น ๆ ในชื่อและบริบทที่ใกล้เคียงกันในลักษณะนี้มากมาย
ผู้เขียนขออธิบายการเกิดขึ้นและการเพิ่มจำนวนของศูนย์อาเซียนอย่างต่อเนื่องของประเทศ ณ ห้วงเวลานี้ว่าเป็น “ปรากฎการณ์ (Phenomenon) ศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย” คำนี้อาจจะไม่ค่อยมีผู้ใดกล่าวขานกันมากนัก เนื่องจากดูอย่างผิวเผินแล้วจะพบว่าเป็นสิ่งที่ดีและไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ที่สำคัญใคร ๆ เขาก็ทำกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษาทุกระดับ
หากจะวิเคาระห์ว่าดีหรือไม่นั้น แน่นอนคำตอบก็ต้องตอบว่า “ดี” แทบจะร้อยเปอร์เซ็น เพราะการเตรียมความพร้อมผ่านการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจด้านอาเซียนแบบนี้ จะใช้ชื่อว่าอะไรนั้นก็สุดแล้วแต่หน่วยงานนั้น ๆ จะรังสรรค์ขึ้นมา แต่ก็ต้องชื่มชมอย่างจริงใจว่าเป็นการตื่นตัวในเชิงบวก (Pro-active)
ศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย
ผู้เขียนได้พยามค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนของศูนย์อาเซียนศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งศูนย์อื่น ๆ ที่มีการใช้ชื่อในลักษณะเดียวกันนี้จากหลายแหล่ง ทั้งจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ตลอดจนใช้ความเป็นอาจารย์เป็นใบเบิกทางค้นหาข้อมูลนี้ในแวดวงวิชาการด้วยกันเอง แต่ก็ยังไม่ได้ข้อมูลที่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานหลัก หรือแม่งานในการหลักรวบรวมข้อมูลด้านศูนย์อาเซียนศึกษาของประเทศ
แหล่งข้อมูลสำคัญอีกแหล่งที่ผู้เขียนค้นคว้าก็คือ แหล่งข้อมูลจากอาจารย์ใหญ่ Google ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยใช้คำสำคัญ (Keyword) ว่า “ศูนย์อาเซียนศึกษาของไทย” ค้นหาใน Google ปรากฎว่าพบลิงก์ (Link) ที่เกี่ยวข้องมีกว่า 6 ล้านลิงก์ (แต่ก็ไม่ตรงเสียทีเดียว) ข้อมูลของ Google ได้ไล่เรียงตั้งแต่การจัดตั้งศูนย์อาเซียนในระดับอนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนศูนย์ฝึกอบรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจาก Google ที่ค้นหาได้ก็ยังมีความกระจัดกระจาย และเมื่อกดลิงก์เข้าไปแล้วพบว่า แต่ละหน่วยงานทำในรูปแบบเฉพาะของตัวเอง ไม่มีศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษาในนามของประเทศไทยอย่างแท้จริง ดังนั้น การค้นหาข้อมูลจึงมีความติดขัดพอสมควร และไม่สามารถค้นพบคำตอบที่ชัดเจนว่าปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนศูนย์อาเซียนศึกษาและศูนย์ที่เกี่ยวข้องเป็นอยู่เท่าใด
อนึ่ง สิ่งที่ศูนย์อาเซียนต่าง ๆ ข้างต้นมีเหมือนกันก็คือ “พิธีเปิด” แต่เมื่อผู้เขียนพยามเจาะลึกค้นคว้าในรายละเอียดเกี่ยวกับแผนงาน แผนกิจกรรม หรือการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนจริง ๆ ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์นั้น ๆ กลับไม่ปรากฎข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด มีเพียงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนและภาพพิธีเปิดเท่านั้น
จากประเด็นนี้เองก็นำไปสู่การปรากฎขึ้นของเครื่องหมายคำถามตัวโตในใจของผู้เขียนว่า
1. เรากำลังเตรียมความพร้อมเชิงสัญลักษณ์ (Symbol) มากกว่าสารัตถะ (Substance) หรือไม่?
2. จำนวนของศูนย์อาเซียนที่กำลังก่อตัวเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมไทยหากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมจากส่วนกลางหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างปัญหาในอนาคต
ข้อเท็จจริงของการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาภายในสถาบันการศึกษา
ในเชิงอุดมคติ (Idealistic) ศูนย์อาเซียนศึกษาจะถูกวาดภาพให้เป็นศูนย์กลางเพื่อความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ด้านอาเซียนศึกษาประจำสถาบันการศึกษา เป็นคลังสมองด้านข้อมูล เป็นที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้หลากมิติด้านอาเซียน มีพันธกิจหลักเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและติดอาวุธทางปัญญาแก่นิสิตนักศึกษา บุคลากรภายในสถาบัน ตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณที่ตั้งของสถาบันการศึกษานั้น ๆ
อย่างไรก็ดี การที่จะดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงอุดมคตินั้น สถาบันการศึกษาต้องมีการวางแผนการดำเนินงานของศูนย์อย่างเป็นระบบ มีความเข้มข้นด้านวิชาการ สามารถวัดและประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ มีการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดประชุมสัมมนาด้านอาเซียน การให้บริการทางวิชาการ (Academic Services) สื่อสิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนการเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาด้านอาเซียนแก่หน่วยงานภายนอกหรือผู้ที่สนใจ
แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ๆ พบว่า ศูนย์อาเซียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมากจะถูกจัดตั้งขึ้นตามกระแสนิยม (Fad) มากกว่าความจำเป็นที่แท้จริง เนื่องจากกระแสการเตรียมพร้อมรับประชาคมอาเซียนของสังคมไทยนั้นต้องยอมรับว่า เป็นกระแสที่มาแรงและกลายเป็นกระแสหลัก (Main Stream) ของแวดวงการศึกษาไปแล้ว สถาบันการศึกษาใดไม่มีศูนย์อาเซียน หรือแม้กระทั่งมุมหนังสืออาเซียน (ASEAN Corner) ภายในห้องสมุดของสถาบัน ก็สามารถอนุมาน (Infer) ได้ว่า สถาบันนั้น ๆ ไม่ทันกระแส ล้าหลัง และไม่มีการปรับตัว
ทั้งที่ความเป็นจริง หากจะถามว่าศูนย์อาเซียนที่เกิดขึ้นนั้นมีกิจกรรมทางวิชาการหรืองานวิจัยที่มีนัยยะสำคัญสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดได้หรือไม่ ต้องตอบว่าหาได้ค่อนข้างยากจากศูนย์อาเซียนส่วนใหญ่
ดังนั้น จำนวนของศูนย์อาเซียนศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในทุกพื้นที่จึงเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการตลาด (Marketing Symbol) โดยอัตโนมัติ ตลอดจนเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสถาบันในเชิงบวก เป็นนางกวักดึงดูดให้คนมาสมัครเป็นนักศึกษาของตน มากกว่าสิ่งที่ศูนย์อาเซียนศึกษาพึงจะเป็น นั่นก็คือสัญลักษณ์ความเป็นเลิศทางวิชาการตามอุดมคติที่ได้กล่าวข้างต้น
ภาพจาก men.mthai.com
ข้อพิจารณาเพื่อการจัดระเบียบและการบริหารจัดการ
1. กระทรวงศึกษาธิการในฐานะเป็นหน่วยงานหลักด้านการศึกษาของประเทศ ควรมีนโยบายหรือการจัดระเบียบกำหนดให้การจัดตั้งศูนย์อาเซียนของสถาบันการศึกษามีลักษณะการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกันนี้อาจจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติ (Practical Approaches) ที่ชัดเจนกำกับไว้อีกชั้นหนึ่งด้วย
เช่น ต้องมีบทความหรือผลงานวิจัยอย่างน้อย 2-3 ชิ้นต่อภาคการศึกษา มีการกำหนดจำนวนของการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นการประชุมหรือการสัมมนาทางวิชาการอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อภาคการศึกษา
สามารถบ่งชี้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายและจำนวนของผู้เข้าร่วมเป็นอย่างไร และมีการรายงานผลย้อนกลับ (Feedback) มาที่กระทรวงศึกษาธิการ อันจะมีส่วนในการประเมินและวัดคุณภาพการศึกษาสถาบันการศึกษานั้น ๆ นี่คือสิ่งที่ศูนย์อาเซียนศึกษาทุกแห่งควรพึงกระทำ ไม่ใช่เน้นหนักในรูปภาพที่มีแขกผู้ใหญ่มาเปิดศูนย์หรือเปิดงานเท่านั้น
2. สถาบันการศึกษาควรมีแผนงานสำหรับศูนย์อาเซียนของตนที่ชัดเจน เนื่องจากภาระงานของศูนย์อาเซียนอาจจะไปทับซ้อนหรือคาบเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักอยู่แล้ว เช่น การจัดกิจกรรม ASEAN Day การจัดนิทรรศการอาเซียน (ASEAN Exhibition) ภายในสถาบัน หรือแม้กระทั่งการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของนักศึกษาภายในสถาบันการศึกษา ซึ่งภาระงานเหล่านี้จากเดิมเป็นของสำนักกิจการนักศึกษาหรือสโมสรกิจกรรมนักศึกษา หรือหากเป็นภาระงานที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) คณะบริหารธุรกิจก็กลายจะเป็นแม่งานโดยปริยายอยู่แล้ว
หรือหากศูนย์อาเซียนบางแห่งเน้นหนักการศึกษาเกี่ยวกับภาษาประเทศของเพื่อนบ้าน ก็มีความจำเป็นที่จะต้องแยกภาระงานส่วนนี้ออกมาให้ชัดเจนจากเดิมที่คณะศิลปศาสตร์หรือภาษาศาสตร์ดูแลรับผิดชอบอยู่ เช่นนี้แล้วจะทำให้ความเป็นวิชาการที่แท้จริงของศูนย์อาเซียนมีภาพที่เด่นชัดขึ้นและสามารถวัดผลเชิงรูปธรรมได้
3. หลังจากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2015 แล้ว บทบาทของศูนย์อาเซียนภายในสถาบันควรจะมีทิศทาง (Direction) อย่างไร สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคิดล่วงหน้าไว้ เนื่องจากศูนย์อาเซียนไม่ใช่ภาคธุรกิจที่หากไม่มีกิจกรรมหรือกำไรแล้วก็สามารถยุบทิ้งได้ อนึ่ง การจัดตั้งศูนย์ในลักษณะนี้ (ไม่เพียงแค่ศูนย์อาเซียนเท่านั้น)
สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะจัดตั้งโดยถาวรและไม่มีการยุบยกเลิก แต่การมีอยู่ของศูนย์อาเซียนศึกษาในอนาคตนี้ ควรมีอยู่อย่างมีคุณค่าและมีกิจกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่ามีอยู่เพียงชื่อโดยมิได้สร้างมูลค่าเพิ่มใด ๆ ให้กับสถาบันการศึกษาเลย ดังนั้น บทบาทของศูนย์อาเซียนหลังปี 2015 จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องพิจารณาและวางวิสัยทัศน์ไว้ล่วงหน้าด้วยในเวลาเดียวกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอชื่นชมสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีความพยามจัดตั้งศูนย์อาเซียนขึ้นภายนสถาบันของตนเพื่อเป็นแหล่งกระจายข้อมูลด้านอาเซียน และเพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงค์ความพร้อมสำหรับการก้าวสู่การเข้าเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ควรมีการจัดระเบียบ ควรมีความเป็นเอกภาพมากกว่านี้ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินการในลักษณะของผักชีโรยหน้า คือ “มีเพราะว่าตามกระแส หรือมีเพราะมีเขามีกัน”
จึงขอส่งผ่านข้อพิจารณาข้างต้นเป็นประเด็นถกเถียงเพื่อต่อยอดและขยายผลทางความคิด เพื่อให้การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาของประเทศไทยมีทิศทาง มีความมั่นคง และสามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านอาเซียนศึกษาของประเทศได้อย่างแท้จริง
ที่มา.Siam Intelligence Unit
-------------------------------------------------