--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

หน้ากระดานเรียงหนึ่ง กดปุ่ม อภิวัฒน์ประเทศ

รู้ทัน ‘เอฟทีเอ’พลิกวิกฤติโกยหมื่นล้านบาท

“FTA” หรือ “FREE TRADE AREA” หรือที่ในภาษาไทยนิยามว่า “การเปิดการค้าเสรี” ซึ่งศัพท์คำนี้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมาอย่างเนิ่นนานมาก แล้ว แต่ที่ผ่านมามักจะบังเกิดมุมมองใน ทางลบกับเงื่อนไขในการเปิดเอฟทีเอ “หน้ากระดานเรียงหนึ่ง กดปุ่มอภิวัฒน์ ประเทศ” ฉบับนี้ จึงขออนุญาตนำเสนอ มุมมองในด้านสว่างของการเปิดเอฟทีเอ

อันเป็นมุมมองของนักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งได้ให้ความเห็นผ่านผลการศึกษาเรื่อง “การเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ : โอกาสหมื่นล้านของผู้ประกอบการ” ในระหว่างการสัมมนาหัวข้อ “อุตสาหกรรมไทย ได้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีหรือไม่? เพียงไร?” โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยร่วมกันจัด เมื่อไม่นานมานี้

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ

“ในปี 2552 FTA ต่างๆ ที่มีผลบังคับ ใช้แล้วจำนวน 5 ฉบับ อันได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และโครงการเก็บเกี่ยว ล่วงหน้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) ทำให้ภาคส่งออก ไทยและภาคนำเข้าไทยประหยัดภาษีศุลกากร ได้ 7.2 หมื่นล้านบาท และ 3.3 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ โดยความตกลง AFTA เป็นความตกลงที่ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ ได้มากที่สุด”

“เมื่อพิจารณาในรายสาขาทั้งในภาค ส่งออกและภาคนำเข้า ผู้ประกอบการในกลุ่มยานยนต์และกลุ่มอาหารเป็นผู้ประกอบการที่ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงสูงที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งและสองตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่า ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากพบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างน้อย 2 ด้าน”

“ด้านแรกคือปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการเจรจา FTA เช่น สินค้าอยู่นอกรายการลดภาษีหรืออยู่ในรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหว สินค้าได้รับแต้มต่อ ด้านภาษีศุลกากรไม่จูงใจพอเมื่อเทียบกับต้นทุนในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ภายใต้ FTA สินค้าไม่ผ่านกฎว่าด้วยแหล่ง กำเนิดสินค้า และด้านที่สองคือปัญหาและ อุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินการตาม FTA เช่น ผู้ประกอบการขาดความตระหนักถึงประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ประกอบการไม่ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษีภายใต้ FTA และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ผู้ประกอบการขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขอ ใช้ประโยชน์ ผู้ประกอบการเข้าใจผิดหรือเกิดความสับสนเกี่ยวกับการเปิดเผยต้นทุน การผลิตสินค้า”

“หากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้รับการแก้ไข ผลประโยชน์ที่ภาคเอกชนไทยจะได้รับจาก FTA จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก มาก โดยหากทำให้อัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงขึ้นเต็มร้อยละ 100 โดยที่ยังไม่ได้ เจรจาเพื่อขยายความครอบคลุมและแต้ม ต่อ ประโยชน์ที่ภาคส่งออกไทยและภาคนำเข้าไทยจะได้รับจากการประหยัดภาษีศุลกากรจะเพิ่มขึ้นอีก 5.9 หมื่นล้านบาท และ 2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ”

สุนทร ตันมันทอง นักวิจัยสถาบันทีดีอาร์ไอ

“นอกเหนือจากการลดภาษีศุลกากร แล้ว FTA ที่ผ่านมาของไทยที่บรรจุโครงการความร่วมมือไว้ด้วยก็คือ JTEPA ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่าง ไทยกับญี่ปุ่นให้ใกล้ชิดมากขึ้นอีกทางหนึ่ง หลังจาก JTEPA มีผลใช้บังคับมากว่าสามปี โครงการความร่วมมือหลายโครงการมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมทุกปี เช่น โครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น”

“จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ เช่น การส่งเสริมการตลาด ของสินค้าอาหาร สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ไทยในญี่ปุ่น และการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยังมีบางโครงการที่ยังไม่คืบหน้าเท่าใดนัก เช่น โครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ (AHRDIP) ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้จะทำให้ไทยมีระบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านยานยนต์ ที่ได้มาตรฐานเพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคง สำหรับเป้าหมายการเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย”

เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ

“จากผลการศึกษาที่ได้จากแบบจำลองทางเศรษฐมิติ FTA ทุกฉบับมีผลต่อการเพิ่มการส่งออกและการนำเข้าของ ไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในภาพรวมและในรายอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เช่น การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งการนำเข้าอาหาร เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น”

และนี่คือมุมมองในอีกมิติอันเกี่ยว เนื่องมาจากการเปิดการค้าเสรี ที่ถึง ณ บรรทัดนี้ ก็พอจะสรุปได้สั้นๆ คือ หากปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันเอฟทีเอ ข้อกังวล ต่างๆ นานา ที่มีการตั้งสมมติฐานอย่าง กว้างขวาง ก็พร้อมจะเปลี่ยนเป็นเม็ดเงิน เข้าสู่ประเทศและกระเป๋าผู้ประกอบการ

ที่มา.สยามธุรกิจ
**************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น