ตำรวจเขาชื่นชม “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในวันที่ไปเป็นประธานในพิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้กับตำรวจตั้งแต่รอง ผบ.ตร.ถึงผู้กำกับการที่เกษียณอายุราชการประจำปี 2553 จำนวน 193 คนที่สโมสรตำรวจเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว แทน “มาร์คไขสือ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกันถ้วนหน้า
ก็ “เทพเทือก” นั้นเขานักการเมืองที่ปากกัดตีนถีบดั้นด้นมาจากกำนันลูกกำนันกว่าจะได้มาเป็นรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีก็เหนื่อยหนักหนาสาหัส ไม่ใช่พวกเทพอุ้มสมบุญหล่นทับจนมองไม่เห็นหัวคนเหมือนบางคนซะที่ไหน
เจอหน้านายตำรวจที่จะมอบประกาศเกียรติคุณให้เป็นต้องยกมือไหว้ก่อน
ผิดกับบางคน ที่เห็นหัวข้าราชการเหมือนหัวหลักหัวตอ
ช่างใหญ่คับฟ้าจริงๆ นะพ่อเจ้าประคุณ!!
....................................................................................
จากรุกมาเป็นรับ??
จากปฏิบัติการเชิงรุกไม่ว่าจะเป็นการขอคืนพื้นที่หรือการกระชับพื้นที่
ช่วงนี้ ศอฉ.อันโด่งดังต้องกลับมาเป็นฝ่ายตั้งรับบ้าง
โดนรุกหนักจากคณะกรรมการตรวจสอบชุดต่างๆ จนวันๆ แทบไม่ต้องทำอะไรนอกจากมาคอยชี้แจง
ฝึกๆ ชี้แจงไว้บ้างก็ดี ชี้แจงยามบุญมามีบุญบังอะไรๆ ก็สะดวก
ยามหมดบุญ บุญไม่คอยมาบังชี้แจงไม่ดีมีหวังพังได้ง่ายๆ เหมือนกันนะ???
........................................................................
ไอ้ปรื๊ดทำเหตุ??
ไม่กี่วันก่อนผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลก็ไปตรวจพบอาวุธมากมายใต้ฐานพระในวัดปทุมวนาราม
เหมาะเหม็งกับช่วงที่กลุ่มคนเสื้อแดงมาชุมนุมพอดิบพอดี
การชุมนุมก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีเหตุ
ตามแผนประทุษกรรม..น่าจะเป็น “ไอ้ปรื๊ด” แน่ที่นำอาวุธมาซุกซ่อนไว้
ทำนองเดียวกับพวกเล่นไพ่รอตำรวจอย่างนั้นแหละ
นอกจากจะไม่ได้ใช้อาวุธทำอะไรแล้ว ยังมาเสียอาวุธให้ถูกยึดไปเปล่าๆ เสียอีก
ไอ้ปรื๊ดหนอไอ้ปรื๊ด!! เห็นทีความปรองดองของคนในชาติ...จะเป็นชาติหน้าเสียแล้วกระมัง!!
..............................................................................................................................................
ระวังเก้าอี้ ส.ร.1 หล่นทับ??
ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ก็ตัดสินใจส่ง “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สุราษฎร์ธานี
แถมให้สละเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงไม่ให้ติดก้นตอนไปหาเสียงให้คนเขาครหาว่าเอาเปรียบอีกต่างหาก
สละเก้าอี้หรือไม่สละเก้าอี้ยังไงๆ “เทพเทือก” ก็นอนมาแน่
เป็น ส.ส.งวดนี้ดีไม่ดีบุญอาจหล่นทับจนขาเท้าบวมก็ได้
ก็เป็น ส.ส.พอเหมาะพอเจาะกับช่วงจะมีการตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์พอดิบพอดี
หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์มีหวัง “มาร์คไขสือ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นเทวดาตกสวรรค์แน่
คนจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต้องมาจาก ส.ส.
มากบารมีแถมคอนเน็กชั่นเยอะแบบ “เทพเทือก” ดีไม่ดีขาเท้าอาจบวมเอาดื้อๆ
ไม่มีอะไรมาก ก็แค่เก้าอี้ ส.ร. 1 มันหล่นทับเท่านั้นแหละ??
................................................................................
ปากกล้าขาสั่น??
แค่พญาชาละวันเมืองพิจิตร พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีมือประสานสิบทิศขยับหางแค่นั้นแหละ...เสียงเชียร์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนกลางก็ดังกระหึ่ม
เพื่อไม่ให้เสียเหลี่ยมคครูทางการเมืองคนในพรรคประชาธิปัตย์บางคนพากันชู นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ่วงด้วย นายหัวชวน หลีกภัย ให้ลอยเด่นเป็นอะไหล่ของ “มาร์คไขสือ” ขึ้นมาเป็นทางเลือก
แถมพรรคประชาธิปัตย์ยังมีมติส่ง “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ คนมากบารมีลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อให้ได้เป็น ส.ส.ซึ่งเป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งของผู้ที่จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกต่างหาก
ที่บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบนั้นก็คงเป็นเรื่องของคนปากกล้าขาสั่น
เห็นทีฝันจะเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะมืดมนเสียแล้วล่ะ??
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยใต้ฟ้า
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553
หน้ากระดานเรียงหนึ่ง กดปุ่ม อภิวัฒน์ประเทศ
รู้ทัน ‘เอฟทีเอ’พลิกวิกฤติโกยหมื่นล้านบาท
“FTA” หรือ “FREE TRADE AREA” หรือที่ในภาษาไทยนิยามว่า “การเปิดการค้าเสรี” ซึ่งศัพท์คำนี้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมาอย่างเนิ่นนานมาก แล้ว แต่ที่ผ่านมามักจะบังเกิดมุมมองใน ทางลบกับเงื่อนไขในการเปิดเอฟทีเอ “หน้ากระดานเรียงหนึ่ง กดปุ่มอภิวัฒน์ ประเทศ” ฉบับนี้ จึงขออนุญาตนำเสนอ มุมมองในด้านสว่างของการเปิดเอฟทีเอ
อันเป็นมุมมองของนักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งได้ให้ความเห็นผ่านผลการศึกษาเรื่อง “การเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ : โอกาสหมื่นล้านของผู้ประกอบการ” ในระหว่างการสัมมนาหัวข้อ “อุตสาหกรรมไทย ได้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีหรือไม่? เพียงไร?” โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยร่วมกันจัด เมื่อไม่นานมานี้
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ
“ในปี 2552 FTA ต่างๆ ที่มีผลบังคับ ใช้แล้วจำนวน 5 ฉบับ อันได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และโครงการเก็บเกี่ยว ล่วงหน้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) ทำให้ภาคส่งออก ไทยและภาคนำเข้าไทยประหยัดภาษีศุลกากร ได้ 7.2 หมื่นล้านบาท และ 3.3 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ โดยความตกลง AFTA เป็นความตกลงที่ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ ได้มากที่สุด”
“เมื่อพิจารณาในรายสาขาทั้งในภาค ส่งออกและภาคนำเข้า ผู้ประกอบการในกลุ่มยานยนต์และกลุ่มอาหารเป็นผู้ประกอบการที่ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงสูงที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งและสองตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่า ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากพบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างน้อย 2 ด้าน”
“ด้านแรกคือปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการเจรจา FTA เช่น สินค้าอยู่นอกรายการลดภาษีหรืออยู่ในรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหว สินค้าได้รับแต้มต่อ ด้านภาษีศุลกากรไม่จูงใจพอเมื่อเทียบกับต้นทุนในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ภายใต้ FTA สินค้าไม่ผ่านกฎว่าด้วยแหล่ง กำเนิดสินค้า และด้านที่สองคือปัญหาและ อุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินการตาม FTA เช่น ผู้ประกอบการขาดความตระหนักถึงประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ประกอบการไม่ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษีภายใต้ FTA และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ผู้ประกอบการขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขอ ใช้ประโยชน์ ผู้ประกอบการเข้าใจผิดหรือเกิดความสับสนเกี่ยวกับการเปิดเผยต้นทุน การผลิตสินค้า”
“หากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้รับการแก้ไข ผลประโยชน์ที่ภาคเอกชนไทยจะได้รับจาก FTA จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก มาก โดยหากทำให้อัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงขึ้นเต็มร้อยละ 100 โดยที่ยังไม่ได้ เจรจาเพื่อขยายความครอบคลุมและแต้ม ต่อ ประโยชน์ที่ภาคส่งออกไทยและภาคนำเข้าไทยจะได้รับจากการประหยัดภาษีศุลกากรจะเพิ่มขึ้นอีก 5.9 หมื่นล้านบาท และ 2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ”
สุนทร ตันมันทอง นักวิจัยสถาบันทีดีอาร์ไอ
“นอกเหนือจากการลดภาษีศุลกากร แล้ว FTA ที่ผ่านมาของไทยที่บรรจุโครงการความร่วมมือไว้ด้วยก็คือ JTEPA ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่าง ไทยกับญี่ปุ่นให้ใกล้ชิดมากขึ้นอีกทางหนึ่ง หลังจาก JTEPA มีผลใช้บังคับมากว่าสามปี โครงการความร่วมมือหลายโครงการมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมทุกปี เช่น โครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น”
“จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ เช่น การส่งเสริมการตลาด ของสินค้าอาหาร สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ไทยในญี่ปุ่น และการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยังมีบางโครงการที่ยังไม่คืบหน้าเท่าใดนัก เช่น โครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ (AHRDIP) ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้จะทำให้ไทยมีระบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านยานยนต์ ที่ได้มาตรฐานเพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคง สำหรับเป้าหมายการเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย”
เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ
“จากผลการศึกษาที่ได้จากแบบจำลองทางเศรษฐมิติ FTA ทุกฉบับมีผลต่อการเพิ่มการส่งออกและการนำเข้าของ ไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในภาพรวมและในรายอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เช่น การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งการนำเข้าอาหาร เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น”
และนี่คือมุมมองในอีกมิติอันเกี่ยว เนื่องมาจากการเปิดการค้าเสรี ที่ถึง ณ บรรทัดนี้ ก็พอจะสรุปได้สั้นๆ คือ หากปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันเอฟทีเอ ข้อกังวล ต่างๆ นานา ที่มีการตั้งสมมติฐานอย่าง กว้างขวาง ก็พร้อมจะเปลี่ยนเป็นเม็ดเงิน เข้าสู่ประเทศและกระเป๋าผู้ประกอบการ
ที่มา.สยามธุรกิจ
**************************************************
“FTA” หรือ “FREE TRADE AREA” หรือที่ในภาษาไทยนิยามว่า “การเปิดการค้าเสรี” ซึ่งศัพท์คำนี้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมาอย่างเนิ่นนานมาก แล้ว แต่ที่ผ่านมามักจะบังเกิดมุมมองใน ทางลบกับเงื่อนไขในการเปิดเอฟทีเอ “หน้ากระดานเรียงหนึ่ง กดปุ่มอภิวัฒน์ ประเทศ” ฉบับนี้ จึงขออนุญาตนำเสนอ มุมมองในด้านสว่างของการเปิดเอฟทีเอ
อันเป็นมุมมองของนักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งได้ให้ความเห็นผ่านผลการศึกษาเรื่อง “การเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ : โอกาสหมื่นล้านของผู้ประกอบการ” ในระหว่างการสัมมนาหัวข้อ “อุตสาหกรรมไทย ได้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีหรือไม่? เพียงไร?” โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยร่วมกันจัด เมื่อไม่นานมานี้
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ
“ในปี 2552 FTA ต่างๆ ที่มีผลบังคับ ใช้แล้วจำนวน 5 ฉบับ อันได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และโครงการเก็บเกี่ยว ล่วงหน้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) ทำให้ภาคส่งออก ไทยและภาคนำเข้าไทยประหยัดภาษีศุลกากร ได้ 7.2 หมื่นล้านบาท และ 3.3 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ โดยความตกลง AFTA เป็นความตกลงที่ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ ได้มากที่สุด”
“เมื่อพิจารณาในรายสาขาทั้งในภาค ส่งออกและภาคนำเข้า ผู้ประกอบการในกลุ่มยานยนต์และกลุ่มอาหารเป็นผู้ประกอบการที่ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงสูงที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งและสองตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่า ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากพบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างน้อย 2 ด้าน”
“ด้านแรกคือปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการเจรจา FTA เช่น สินค้าอยู่นอกรายการลดภาษีหรืออยู่ในรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหว สินค้าได้รับแต้มต่อ ด้านภาษีศุลกากรไม่จูงใจพอเมื่อเทียบกับต้นทุนในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ภายใต้ FTA สินค้าไม่ผ่านกฎว่าด้วยแหล่ง กำเนิดสินค้า และด้านที่สองคือปัญหาและ อุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินการตาม FTA เช่น ผู้ประกอบการขาดความตระหนักถึงประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ประกอบการไม่ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษีภายใต้ FTA และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ผู้ประกอบการขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขอ ใช้ประโยชน์ ผู้ประกอบการเข้าใจผิดหรือเกิดความสับสนเกี่ยวกับการเปิดเผยต้นทุน การผลิตสินค้า”
“หากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้รับการแก้ไข ผลประโยชน์ที่ภาคเอกชนไทยจะได้รับจาก FTA จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก มาก โดยหากทำให้อัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงขึ้นเต็มร้อยละ 100 โดยที่ยังไม่ได้ เจรจาเพื่อขยายความครอบคลุมและแต้ม ต่อ ประโยชน์ที่ภาคส่งออกไทยและภาคนำเข้าไทยจะได้รับจากการประหยัดภาษีศุลกากรจะเพิ่มขึ้นอีก 5.9 หมื่นล้านบาท และ 2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ”
สุนทร ตันมันทอง นักวิจัยสถาบันทีดีอาร์ไอ
“นอกเหนือจากการลดภาษีศุลกากร แล้ว FTA ที่ผ่านมาของไทยที่บรรจุโครงการความร่วมมือไว้ด้วยก็คือ JTEPA ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่าง ไทยกับญี่ปุ่นให้ใกล้ชิดมากขึ้นอีกทางหนึ่ง หลังจาก JTEPA มีผลใช้บังคับมากว่าสามปี โครงการความร่วมมือหลายโครงการมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมทุกปี เช่น โครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น”
“จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ เช่น การส่งเสริมการตลาด ของสินค้าอาหาร สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ไทยในญี่ปุ่น และการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยังมีบางโครงการที่ยังไม่คืบหน้าเท่าใดนัก เช่น โครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ (AHRDIP) ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้จะทำให้ไทยมีระบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านยานยนต์ ที่ได้มาตรฐานเพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคง สำหรับเป้าหมายการเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย”
เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ
“จากผลการศึกษาที่ได้จากแบบจำลองทางเศรษฐมิติ FTA ทุกฉบับมีผลต่อการเพิ่มการส่งออกและการนำเข้าของ ไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในภาพรวมและในรายอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เช่น การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งการนำเข้าอาหาร เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น”
และนี่คือมุมมองในอีกมิติอันเกี่ยว เนื่องมาจากการเปิดการค้าเสรี ที่ถึง ณ บรรทัดนี้ ก็พอจะสรุปได้สั้นๆ คือ หากปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันเอฟทีเอ ข้อกังวล ต่างๆ นานา ที่มีการตั้งสมมติฐานอย่าง กว้างขวาง ก็พร้อมจะเปลี่ยนเป็นเม็ดเงิน เข้าสู่ประเทศและกระเป๋าผู้ประกอบการ
ที่มา.สยามธุรกิจ
**************************************************
งมเจอ RPG ที่สระบุรี13ลูก-พลเรือนมอบตัว 1
"อัศวิน"ร่วมสอบปากคำ"จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี"สารภาพทิ้งRPG13ลูกที่สวนพฤษศาสตร์สระบุรี ตำรวจงมได้ครบ "ถาวร รักบุญ"เข้ามอบตัวสภ.บรรพตพิสัย
พล.ต.ท..อัศวิน ขวญเมือง ผช.ผบ.ตร. ได้ส่งทีมงานนำโดย พ.ต.อ.นันทชาติ ศุภงคล หัวทีมสอบสวนลงพื้นที่สอบสวน จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี สังกัดศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธจังหวัดลพบุรี ผู้ต้องหาร่วมกันขโมยอาวุธสงคราม ประกอบด้วย กระสุนเอ็ม 60 จำนวนมาก และจรวดอาร์พีจี 39 ลูก ออกจากแผนก 2 กองคลังแสง กรมสรรพวุธทหารบกจังหวัดลพบุรี
พ.ต.อ.นันทชาติ กล่าวว่าหลังจากวันนี้ จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี เข้ามอบตัวกับ สภ.เมืองลพบุรี และทีมสอบสวนได้สอบสวนหลายชั่วโมง ผู้ต้องหารับสารภาพนำระเบิดอาร์พีจีจำนวน 13 ลูกทิ้งในน้ำสวนพฤษศาสตร์ ต.พุแค อ.หน้าพระลาน จ.สระบุรี ริมถนนสายลพบุรี-สระบุรี ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 123 ทางตำรวจจึงลงไปค้นหากู้ระเบิดอาร์พีจีในน้ำใต้โพรงกอไผ่ขึ้นมาพร้อมตรวจสอบหมายเลขการผลิต ซึ่งปรากฏเป็นชุดเดียวกับที่ยึดได้ก่อนนี้ และเป็นลูกระเบิดอาร์พีจีชุดเดียวกับหายจากคลังแสงลพบุรี
"จากการสอบสวนและติดตามของกลางหายไปจากคลังแสงลพบุรี สามารถยึดคืนลูกระเบิดอาร์พีจีแล้ว 29 ลูกจากทั้งหมด 39 ลูก คาดว่าน่าจะติดตามของกลางทั้งหมดคืนมาได้ในเร็ว ๆ นี้" พ.ต.อ.นันทชาติ ระบุ
งมเจอลูกระเบิด RPG ทิ้งสระบุรี 13 ลูก
ด้าน พล.ต.ต.กิตติ รุ่งเรืองวงษ์ ผบก.ภ.จว.สระบุรี เปิดเผยจากการสอบปากคำ จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี ทราบว่าได้นำลูกระเบิดยิง PG2 จำนวน 13 ลูก ซื้อจาก จ.ส.อ.เสมา คชเพต เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 ทิ้งบริเวณร่องน้ำสวนพฤกษศาสตร์(ภาคกลาง) สวนสวรรค์พุแค หมู่ 1 ต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี จึงให้คนงมหาจนพบ 13 นัดดังกล่าว ประกอบด้วย ลูกระเบิดยิง PG2 เลขงาน 38-74-22 จำนวน 11 ลูก ลูกระเบิดยิง PG2 เลขงาน 39-74-22 จำนวน 2 ลูก รวมเป็น 13 ลูกดังกล่าว จึงได้นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลพบุรี
"ถาวร รักบุญ"มอบตัว รับหาคีมตัดเหล็ก-ขนอาวุธ
รายงานระบุว่า ความคืบหน้าคดีขโมยอาวุธสงครามหลายรายการออกจากแผนกที่ 2 กองคลังแสง กรมสรรพวุธ กองทัพบก ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และสามารถจับกุมผู้ต้องหาไปแล้ว 4 คน อีก 1 คนยังหลบหนีคือ นายถาวร หรือโก้ รักบุญ อายุ 35 ปี อยู่ตำบลเขาพระงาม ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดลพบุรี
ล่าสุด พลตำรวจโทสุรสีห์ สุนทรสารฑูล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 ได้แถลงข่าวว่านายถาวร ได้ติดต่อขอมอบตัวกับตำรวจ สภ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ พร้อมกับรับสารภาพว่า ถูกชักชวนให้มาขโมยอาวุธในกองคลังแสง ครั้งแรกได้ค่าจ้าง 5 พันบาท ครั้งที่สองล่าสุดได้ค่าจ้าง 1,000 บาท โดยเป็นคนจัดหาคีมตัดเหล็กให้นายเอก(ไม่ทราบชื่อจริง) ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้า โดยไปยืมคีมจากนายเป็ด(ไม่ทราบชื่อจริง)
นายถาวรมีหน้าที่ขนอาวุธออกมาขึ้นรถ ส่วนอาวุธนำออกมาแล้วไม่รู้ไปไว้ที่ไหน หลังจากรับเงินค่าจ้างก็กลับบ้านตามปกติ ต่อมาดูข่าวรู้ว่านายเอกกับพวกถูกจับกุมได้ จึงหนีออกมาจากจังหวัดลพบุรีและมาหลบซ่อนตัวที่หอพัก ยิ้มเจริญ อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. และติดตามข่าวตลอดเวลาจนเกิดอาการเครียด กลัวจะถูกวิสามัญฆาตกรรม ประกอบกับเป็นห่วงครอบครัวลูกยังเล็กอยู่ จึงตัดสินใจเข้ามอบตัว จากนั้น สภ.เมืองลพบุรี มารับตัวไปดำเนินคดี
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
**************************************************************
พล.ต.ท..อัศวิน ขวญเมือง ผช.ผบ.ตร. ได้ส่งทีมงานนำโดย พ.ต.อ.นันทชาติ ศุภงคล หัวทีมสอบสวนลงพื้นที่สอบสวน จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี สังกัดศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธจังหวัดลพบุรี ผู้ต้องหาร่วมกันขโมยอาวุธสงคราม ประกอบด้วย กระสุนเอ็ม 60 จำนวนมาก และจรวดอาร์พีจี 39 ลูก ออกจากแผนก 2 กองคลังแสง กรมสรรพวุธทหารบกจังหวัดลพบุรี
พ.ต.อ.นันทชาติ กล่าวว่าหลังจากวันนี้ จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี เข้ามอบตัวกับ สภ.เมืองลพบุรี และทีมสอบสวนได้สอบสวนหลายชั่วโมง ผู้ต้องหารับสารภาพนำระเบิดอาร์พีจีจำนวน 13 ลูกทิ้งในน้ำสวนพฤษศาสตร์ ต.พุแค อ.หน้าพระลาน จ.สระบุรี ริมถนนสายลพบุรี-สระบุรี ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 123 ทางตำรวจจึงลงไปค้นหากู้ระเบิดอาร์พีจีในน้ำใต้โพรงกอไผ่ขึ้นมาพร้อมตรวจสอบหมายเลขการผลิต ซึ่งปรากฏเป็นชุดเดียวกับที่ยึดได้ก่อนนี้ และเป็นลูกระเบิดอาร์พีจีชุดเดียวกับหายจากคลังแสงลพบุรี
"จากการสอบสวนและติดตามของกลางหายไปจากคลังแสงลพบุรี สามารถยึดคืนลูกระเบิดอาร์พีจีแล้ว 29 ลูกจากทั้งหมด 39 ลูก คาดว่าน่าจะติดตามของกลางทั้งหมดคืนมาได้ในเร็ว ๆ นี้" พ.ต.อ.นันทชาติ ระบุ
งมเจอลูกระเบิด RPG ทิ้งสระบุรี 13 ลูก
ด้าน พล.ต.ต.กิตติ รุ่งเรืองวงษ์ ผบก.ภ.จว.สระบุรี เปิดเผยจากการสอบปากคำ จ.ส.อ.ประวิท เชิงคีรี ทราบว่าได้นำลูกระเบิดยิง PG2 จำนวน 13 ลูก ซื้อจาก จ.ส.อ.เสมา คชเพต เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 ทิ้งบริเวณร่องน้ำสวนพฤกษศาสตร์(ภาคกลาง) สวนสวรรค์พุแค หมู่ 1 ต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี จึงให้คนงมหาจนพบ 13 นัดดังกล่าว ประกอบด้วย ลูกระเบิดยิง PG2 เลขงาน 38-74-22 จำนวน 11 ลูก ลูกระเบิดยิง PG2 เลขงาน 39-74-22 จำนวน 2 ลูก รวมเป็น 13 ลูกดังกล่าว จึงได้นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลพบุรี
"ถาวร รักบุญ"มอบตัว รับหาคีมตัดเหล็ก-ขนอาวุธ
รายงานระบุว่า ความคืบหน้าคดีขโมยอาวุธสงครามหลายรายการออกจากแผนกที่ 2 กองคลังแสง กรมสรรพวุธ กองทัพบก ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และสามารถจับกุมผู้ต้องหาไปแล้ว 4 คน อีก 1 คนยังหลบหนีคือ นายถาวร หรือโก้ รักบุญ อายุ 35 ปี อยู่ตำบลเขาพระงาม ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดลพบุรี
ล่าสุด พลตำรวจโทสุรสีห์ สุนทรสารฑูล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 ได้แถลงข่าวว่านายถาวร ได้ติดต่อขอมอบตัวกับตำรวจ สภ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ พร้อมกับรับสารภาพว่า ถูกชักชวนให้มาขโมยอาวุธในกองคลังแสง ครั้งแรกได้ค่าจ้าง 5 พันบาท ครั้งที่สองล่าสุดได้ค่าจ้าง 1,000 บาท โดยเป็นคนจัดหาคีมตัดเหล็กให้นายเอก(ไม่ทราบชื่อจริง) ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้า โดยไปยืมคีมจากนายเป็ด(ไม่ทราบชื่อจริง)
นายถาวรมีหน้าที่ขนอาวุธออกมาขึ้นรถ ส่วนอาวุธนำออกมาแล้วไม่รู้ไปไว้ที่ไหน หลังจากรับเงินค่าจ้างก็กลับบ้านตามปกติ ต่อมาดูข่าวรู้ว่านายเอกกับพวกถูกจับกุมได้ จึงหนีออกมาจากจังหวัดลพบุรีและมาหลบซ่อนตัวที่หอพัก ยิ้มเจริญ อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. และติดตามข่าวตลอดเวลาจนเกิดอาการเครียด กลัวจะถูกวิสามัญฆาตกรรม ประกอบกับเป็นห่วงครอบครัวลูกยังเล็กอยู่ จึงตัดสินใจเข้ามอบตัว จากนั้น สภ.เมืองลพบุรี มารับตัวไปดำเนินคดี
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
**************************************************************
“สรรเสริญ” โต้ ตาย 91 ศพ เป็นการบิดเบือน
ฟังคลิปเสียง วินาที ที่19-21. และนาที ที่ 1.14-1.25 .

แจงมีผู้เสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระ แต่มีความพยายามนำมาผูกเป็นประโยคให้สั้น เพื่อให้เกิดความสนใจ ปัดเรื่องมีสไนเปอร์ แจงพื้นที่พบศพทั้งหมดอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ชุมนุม ฟังแค่บางกลุ่มจะสับสน ยัน ศอฉ. ยึดหลักกฎหมาย หลักสากล ปฏิบัติตามคำสั่งศาล มีความเหมาะสม หลีกเลี่ยงความรุนแรง คิดเสมอว่าเป็นคนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างทางการเมือง ด้าน “พล.ท.ดาวพงษ์” เข้าพบ “สมชาย หอมละออ” แจงข้อมูลสลายชุมนุม
“พล.ท.ดาวพงษ์” เข้าพบอนุกรรมการสอบฯ “สมชาย หอมละออ”
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ฉบับวันที่ 28 ก.ย. 53 รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสมชาย หอมละออ ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นช่วงเดือนเม.ย.-พ .ค.2553 พร้อมด้วย พล.ท. พีระพงษ์ มานะกิจ คณะอนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการอยู่ในชุดของนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เดินทางเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายผู้ชุมนุมเสื้อแดง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อนุพงษ์ ติดภารกิจไปอำลาหน่วยในกองทัพภาคที่ 4 โดยลงไปตรวจเยี่ยมและอำลาตำแหน่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่ผบ.ทบ. ร่วมคณะไปด้วย จึงมอบหมายให้ พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ. ทบ. เป็นผู้ชี้แจงแทน ขณะเดียวกัน ยังมี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วยผบ.ตร. พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. และพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมชี้แจงด้วย

นายสมชาย เปิดเผยภายหลังเข้ารับฟังข้อมูลว่า ผลการประชุมน่าพอใจ แต่การหารือมีเวลาน้อย โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อธิบายภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงาน ศอฉ.ว่าดำเนินการอย่างไร และข้อมูลที่ศอฉ.รับรู้มีอะไรบ้าง ในช่วงชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยข้อมูลที่ ศอฉ.นำมาเปิดเผย เป็นข้อมูลที่เคยถูกสื่อนำเสนอมาแล้ว แต่เรียบเรียงให้เกิดความเข้าใจ และการหารือจะมีอีกครั้งในช่วงกลางเดือนต.ค. แต่ครั้งหน้าคณะกรรมการจะขอเวลาหารือมากขึ้น เพราะศอฉ.ยังไม่ได้ตอบคำถาม และยังมีข้อมูลจำนวนมากที่สลับซับซ้อน จึงยังไม่สามารถสรุปได้ในขณะนี้ ยังต้องหารือมากกว่า 1 ครั้ง รวมถึงการขอข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เพื่อมาประกอบด้วย

ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า พล.ท.ดาว์พงษ์ พูดถึงนโยบายชี้แจงการปฏิบัติกำลังพลเจ้าหน้าที่ช่วงกระชับพื้นที่ และอธิบายเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบริเวณสี่แยกคอกวัว และแยกราชประสงค์ อย่าง ไรก็ตาม คณะกรรมการส่งเจ้าหน้าที่ไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องช่วงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. เพื่อเก็บข้อมูลอีกทางหนึ่ง และประมวลเป็นข้อมูล เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราไม่สามารถรับฟังความข้างเดียวได้ โดยวันที่ 30 ก.ย.นี้ คณะกรรมการเชิญแกนนำนปช.เข้าให้ข้อมูลที่ศูนย์ราชการ แจ้ง วัฒนะ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจะนำข้อมูลรายงานฉบับเฉพาะกาลให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบความคืบหน้าในเดือนม.ค.ต่อไป คาดว่าไม่น่ามีปัญหารวบรวมข้อมูลแต่อย่างใด
ด้าน พล.ท.พีระพงษ์ หนึ่งในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า เป็นการเข้ารับฟังข้อมูลครั้งแรกจากศอฉ. โดยพล.ท.ดาว์พงษ์ เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดในภาพรวม บรรยากาศเป็นไปด้วยดี เน้นรับฟังข้อมูลวิธีคิด การวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์แก้ไขเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมทั้งรับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังชี้แจงถึงนโยบายการปฏิบัติงาน การจัดกำลัง ตั้งแต่ช่วงไม่มีเหตุรุนแรง จนถึงการกระชับพื้นที่ โดยศอฉ.พร้อมตอบทุกคำถามและข้อสงสัย ไม่ได้ปิดบังข้อมูล ทำให้คณะอนุกรรมการทราบว่า การทำงานของศอฉ.ยึดหลักกฎหมาย และตั้งใจแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลาย

หนึ่งในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวต่อว่า ศอฉ.มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมามาก จึงประ สานขอรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ และตำรวจ เบื้องต้นจะนัดกันอีกครั้งวัน ที่ 14-15 ต.ค.นี้ การชี้แจงของศอฉ.ให้คณะอนุกรรมการทราบในวันนี้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยคณะอนุกรรมการจะนำข้อมูลที่ได้ ไปตั้งคำถามในประเด็นอื่นๆ กับ ศอฉ.ในครั้งต่อไป รวมทั้งจะรับฟังข้อมูลจากหลายฝ่ายที่อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุม และสื่อมวลชนด้วย

สรรเสริญแุถลง คนตาย 91 ศพเป็นการบิดเบือน เพราะเสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระ
ส่วน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ศอฉ.ได้ชี้แจงกับคณะอนุกรรมการได้ทราบข้อเท็จทั้งหมด สิ่งที่เราได้ตรวจสอบหน่วยกำลัง ฝ่ายอำนวยการ และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ อย่างไร และไล่ลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามของคนบางกลุ่มนำเสนอให้สังคมได้เห็นว่า จำนวนคนตายทั้ง 91 ศพ อยู่ในห้วงและเวลาที่มีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเหตุการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 19 พ.ค. ที่มีคนเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งที่ไม่เป็นความจริง ในวันกระชับวงล้อม 19 พ.ค.ที่ผ่านมา มีคนตายไม่เยอะ การไปบิดเบือนว่ามีคนตายถึง 91 ศพ เป็นสิ่งที่ไม่จริง เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ต่างกรรมต่างวาระกัน เพียงแต่เวลานี้มีความพยายามนำมาผูกเป็นประโยคให้สั้น เพื่อให้เกิดความสนใจ

โฆษกศอฉ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศอฉ.ยังชี้แจงกรณีที่มีคนบางกลุ่มบิดเบือนข้อมูล ว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารแอบยิงประชาชนที่มาร่วมชุมนุม โดยเฉพาะการใช้อาวุธสงคราม และสไนเปอร์ แต่ ศอฉ.ชี้แจงให้เห็นรายละเอียดรวมถึงสถานที่พบศพว่าอยู่ตรงไหนบ้าง อีกทั้งพื้นที่ที่พบศพ เกือบทั้งหมดก็อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเราพยายามให้ข้อมูลข้อเท็จจริง หากไปฟังแค่บางกลุ่มจะเกิดความสับสนได้ ยืนยันว่า ศอฉ. ปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามกฎหมายและหลักสากล การปฏิบัติไปตามข้อกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล บนพื้นที่ความเหมาะสม หลีกเลี่ยงความรุนแรง คิดเสมอว่าประชาชนที่มาชุมนุมเป็นคนไทยด้วยกัน เพียงแค่คิดเห็นแตกต่างกันทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีทหารคนไหนคิดทำลายประชาชน
(ใครกันแน่ที่บิดเบือนความจริง เพราะที่นี่มีคนตาย)
ที่มา Unrest in Bangkok
*************************************************************************
“พล.ท.ดาวพงษ์” เข้าพบอนุกรรมการสอบฯ “สมชาย หอมละออ”
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ฉบับวันที่ 28 ก.ย. 53 รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสมชาย หอมละออ ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นช่วงเดือนเม.ย.-พ .ค.2553 พร้อมด้วย พล.ท. พีระพงษ์ มานะกิจ คณะอนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการอยู่ในชุดของนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เดินทางเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายผู้ชุมนุมเสื้อแดง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อนุพงษ์ ติดภารกิจไปอำลาหน่วยในกองทัพภาคที่ 4 โดยลงไปตรวจเยี่ยมและอำลาตำแหน่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่ผบ.ทบ. ร่วมคณะไปด้วย จึงมอบหมายให้ พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ. ทบ. เป็นผู้ชี้แจงแทน ขณะเดียวกัน ยังมี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วยผบ.ตร. พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. และพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมชี้แจงด้วย
นายสมชาย เปิดเผยภายหลังเข้ารับฟังข้อมูลว่า ผลการประชุมน่าพอใจ แต่การหารือมีเวลาน้อย โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อธิบายภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงาน ศอฉ.ว่าดำเนินการอย่างไร และข้อมูลที่ศอฉ.รับรู้มีอะไรบ้าง ในช่วงชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยข้อมูลที่ ศอฉ.นำมาเปิดเผย เป็นข้อมูลที่เคยถูกสื่อนำเสนอมาแล้ว แต่เรียบเรียงให้เกิดความเข้าใจ และการหารือจะมีอีกครั้งในช่วงกลางเดือนต.ค. แต่ครั้งหน้าคณะกรรมการจะขอเวลาหารือมากขึ้น เพราะศอฉ.ยังไม่ได้ตอบคำถาม และยังมีข้อมูลจำนวนมากที่สลับซับซ้อน จึงยังไม่สามารถสรุปได้ในขณะนี้ ยังต้องหารือมากกว่า 1 ครั้ง รวมถึงการขอข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เพื่อมาประกอบด้วย
ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า พล.ท.ดาว์พงษ์ พูดถึงนโยบายชี้แจงการปฏิบัติกำลังพลเจ้าหน้าที่ช่วงกระชับพื้นที่ และอธิบายเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบริเวณสี่แยกคอกวัว และแยกราชประสงค์ อย่าง ไรก็ตาม คณะกรรมการส่งเจ้าหน้าที่ไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องช่วงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. เพื่อเก็บข้อมูลอีกทางหนึ่ง และประมวลเป็นข้อมูล เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราไม่สามารถรับฟังความข้างเดียวได้ โดยวันที่ 30 ก.ย.นี้ คณะกรรมการเชิญแกนนำนปช.เข้าให้ข้อมูลที่ศูนย์ราชการ แจ้ง วัฒนะ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจะนำข้อมูลรายงานฉบับเฉพาะกาลให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบความคืบหน้าในเดือนม.ค.ต่อไป คาดว่าไม่น่ามีปัญหารวบรวมข้อมูลแต่อย่างใด
ด้าน พล.ท.พีระพงษ์ หนึ่งในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า เป็นการเข้ารับฟังข้อมูลครั้งแรกจากศอฉ. โดยพล.ท.ดาว์พงษ์ เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดในภาพรวม บรรยากาศเป็นไปด้วยดี เน้นรับฟังข้อมูลวิธีคิด การวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์แก้ไขเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมทั้งรับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังชี้แจงถึงนโยบายการปฏิบัติงาน การจัดกำลัง ตั้งแต่ช่วงไม่มีเหตุรุนแรง จนถึงการกระชับพื้นที่ โดยศอฉ.พร้อมตอบทุกคำถามและข้อสงสัย ไม่ได้ปิดบังข้อมูล ทำให้คณะอนุกรรมการทราบว่า การทำงานของศอฉ.ยึดหลักกฎหมาย และตั้งใจแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลาย
หนึ่งในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวต่อว่า ศอฉ.มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมามาก จึงประ สานขอรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ และตำรวจ เบื้องต้นจะนัดกันอีกครั้งวัน ที่ 14-15 ต.ค.นี้ การชี้แจงของศอฉ.ให้คณะอนุกรรมการทราบในวันนี้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยคณะอนุกรรมการจะนำข้อมูลที่ได้ ไปตั้งคำถามในประเด็นอื่นๆ กับ ศอฉ.ในครั้งต่อไป รวมทั้งจะรับฟังข้อมูลจากหลายฝ่ายที่อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุม และสื่อมวลชนด้วย
สรรเสริญแุถลง คนตาย 91 ศพเป็นการบิดเบือน เพราะเสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระ
ส่วน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ศอฉ.ได้ชี้แจงกับคณะอนุกรรมการได้ทราบข้อเท็จทั้งหมด สิ่งที่เราได้ตรวจสอบหน่วยกำลัง ฝ่ายอำนวยการ และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ อย่างไร และไล่ลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามของคนบางกลุ่มนำเสนอให้สังคมได้เห็นว่า จำนวนคนตายทั้ง 91 ศพ อยู่ในห้วงและเวลาที่มีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเหตุการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 19 พ.ค. ที่มีคนเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งที่ไม่เป็นความจริง ในวันกระชับวงล้อม 19 พ.ค.ที่ผ่านมา มีคนตายไม่เยอะ การไปบิดเบือนว่ามีคนตายถึง 91 ศพ เป็นสิ่งที่ไม่จริง เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ต่างกรรมต่างวาระกัน เพียงแต่เวลานี้มีความพยายามนำมาผูกเป็นประโยคให้สั้น เพื่อให้เกิดความสนใจ
โฆษกศอฉ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศอฉ.ยังชี้แจงกรณีที่มีคนบางกลุ่มบิดเบือนข้อมูล ว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารแอบยิงประชาชนที่มาร่วมชุมนุม โดยเฉพาะการใช้อาวุธสงคราม และสไนเปอร์ แต่ ศอฉ.ชี้แจงให้เห็นรายละเอียดรวมถึงสถานที่พบศพว่าอยู่ตรงไหนบ้าง อีกทั้งพื้นที่ที่พบศพ เกือบทั้งหมดก็อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเราพยายามให้ข้อมูลข้อเท็จจริง หากไปฟังแค่บางกลุ่มจะเกิดความสับสนได้ ยืนยันว่า ศอฉ. ปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามกฎหมายและหลักสากล การปฏิบัติไปตามข้อกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล บนพื้นที่ความเหมาะสม หลีกเลี่ยงความรุนแรง คิดเสมอว่าประชาชนที่มาชุมนุมเป็นคนไทยด้วยกัน เพียงแค่คิดเห็นแตกต่างกันทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีทหารคนไหนคิดทำลายประชาชน
(ใครกันแน่ที่บิดเบือนความจริง เพราะที่นี่มีคนตาย)
ที่มา Unrest in Bangkok
*************************************************************************
รัฐประหาร = อัตวินิบาตกรรม
นิธิ เอียวศรีวงศ์
การชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้
จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด
คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน
ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร
ท่าทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ก็ต้องสร้าง สมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง
แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง
เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ดังที่กล่าวมา เป็นต้น
การตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือนพฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย"ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง
แต่ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า
อันที่จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำ ไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวางก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่ กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว
พรรคทายาทของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย(คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสพ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน
ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย
และเพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้า มาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก
ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้
ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ ในตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินแต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก
สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้
นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไปยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ
ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปีกว่าในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วยและเริ่มวิตกว่าการนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่นนี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า
นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุนเพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้
ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความ อ่อนแอของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)
ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน
ควรกล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า,ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ,คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก
และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร
เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก,ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง"ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ
รัฐประหารอาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้ารัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ
รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย
ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน
ที่มา.มติชน
****************************************************************
การชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้
จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด
คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน
ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร
ท่าทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ก็ต้องสร้าง สมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง
แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง
เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ดังที่กล่าวมา เป็นต้น
การตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือนพฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย"ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง
แต่ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า
อันที่จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำ ไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวางก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่ กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว
พรรคทายาทของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย(คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสพ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน
ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย
และเพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้า มาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก
ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้
ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ ในตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินแต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก
สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้
นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไปยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ
ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปีกว่าในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วยและเริ่มวิตกว่าการนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่นนี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า
นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุนเพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้
ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความ อ่อนแอของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)
ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน
ควรกล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า,ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ,คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก
และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร
เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก,ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง"ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ
รัฐประหารอาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้ารัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ
รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย
ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน
ที่มา.มติชน
****************************************************************
วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
สิบปี ‘แก้แค้น’ ก็ไม่สาย!!
เมื่อรับใบสั่ง ออเดอร์ พิมพ์เขียว จาก “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ..ให้ยกมือชูรักแร้โหวตไม่เอา “รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย” ที่ถูกซักฟอก.. “ไพโรจน์ สุวรรณฉวี” แกนนำโคราชย่าโม พรรคเพื่อแผ่นดิน ก็ทำให้ อย่างเต็มใจ??
แต่พอ “เนวิน ชิดชอบ”, “ชวรัตน์ ชาญวีรกูล”, “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์” ๓ ทหารเสือ เรียกร้องให้ขับ “พรรคเพื่อแผ่นดิน” ... “อภิสิทธิ์” ก็ขานรับ ทั้งชิงรับลูกเสร็จสรรพ
มองเหลี่ยมไหน “อภิสิทธิ์” ทำไม่ถูกต้อง ทั้งนั้นแหละครับ
ฉะนั้น, อย่าแปลกใจ ที่ “คุณพี่ไพโรจน์” เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ในการคลุมถุงชน เชิด “ชาละวันพิจิตร” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ขงเบ้งใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา เป็น “นายกรัฐมนตรี”!
โถ, เป็นใครก็ต้องแค้น...เพราะสู้ขับไล่พรรคภูมิใจไทยแทน?.. “อภิสิทธิ์” กลับแจ้น ไล่ออกจากรัฐบาล เสียนี่????
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่ได้‘ผูกเสี่ยว’เป็นพันธมิตรรักกัน จนวันตาย!!
“ประชาธิปัตย์” ของ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”กับ “ภูมิใจไทย” ของ “เล่าฮูชวรัตน์ ชาญวีรกูล” นับวัน จะเหยียบตาปลา มีแต่ความกินแหนงแคลงใจ??
การออกมาลูบคม ขย่ม “ประชาธิปัตย์” ..ด้วยการที่ “ลุงจิ้น” คิดลอยแพ “อภิสิทธิ์” โดยจับมือกับ “มังกรพันปี” บรรหาร ศิลปอาชาและ “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” ตั้งรัฐบาลขึ้นมา..
โดย “เนวิน ชิดชอบ” และ “ลุงจิ้น” เบื่อเป็นนั่งร้าน ให้ “ประชาธิปัตย์” เหยียบบ่า
เพราะไม่ว่า, “พรรคภูมิใจไทย” เสนอไอเดียปิ๊ง เลิศหรูอลังการงานสร้าง แค่ไหน “อภิสิทธิ์” มักขวางลำ หักดิบ จน “เนวิน-ลุงจิ้น” เสียศูนย์!!
เมื่อ “อภิสิทธิ์” คิดว่าแน่..ภูมิใจไทยเขาก็ไม่แคร์..โดยจะไม่ขอแชร์ เป็นรัฐบาลต่อไปสิคุณ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คิดเป็นใหญ่ ต้อง‘ใจกว้าง’!!
จะขึ้นลิฟท์แก้ว ตีตั๋วเป็น “นายกรัฐมนตรี” ...ใจแคบเป็นรูเข็ม “คุณพี่มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ” คงไม่ถูกกระมัง??
อาทิตย์ก่อน ท่านเปิดคฤหาสน์หลังโตระโหฐาน เลี้ยง ส.ส.เพื่อไทย อย่างอิ่มหมีพีมัน
เหมือนจะ “ตกเขียว” จองคิวเพื่อเป็น “นายกฯ” ในวันหน้า ..อันนี้ไม่ว่ากัน
แต่ดูท่านจะใจจืด.. หนืดสุดๆ เพราะเลี้ยงดูปูเสื่อ ส.ส.อย่างเปรมปรีดิ์..แต่ไม่มีน้ำใจเจือจาน ไปถึง พลขับโชเฟอร์คนรถของส.ส.เลย?.. น้ำไม่มีให้ดื่ม! อาหารไม่มีให้ยากระเพาะ!
รวยจนเงินจะทับบ้าน..อย่าขี้เหนียวเลยนะท่าน?...ช่วยแบ่งปันกัน มันถึงจะเหมาะ??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผักชีโรยหน้า!!
วันใดที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ฤกษ์ยามงามดี มาประชุมสภาผู้แทนราษฎร.. “ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์” ก็มากันคึกคัก! ให้ครื้นเครง! คลาคล่ำ! จนพรึ่บเชียว ล่ะคุณน้า??
หากว่า, “อภิสิทธิ์” ติดราชการ โดดร่มมาไม่ได้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ชักแถว หายเข้ากลีบเมฆ
ทำให้องค์ประชุม เหลือคนหรอมแหรม ร่อยหรอ มองไปแล้ว น้อยนิด เพียงโหวกเหวก
“คุณพี่วิทยา แก้วภราดัย” ประธานวิป แห่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเหมือนเสาหลักปักเลนที่ไร้น้ำยา?.. ส.ส.พรรคแม่ธรณี ไม่เห็นความสำคัญ แม้แต่ ใบหน้าเสื้อผ้าและเส้นผม!!!
“นายกฯ อภิสิทธิ์” รู้ไว้.....ท่านกระโดดร่มวันใด?....ส.ส.ก็พาลหายหน้า กันให้จม???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อย่ามองข้ามช็อต!!
ต้องยอมรับ “ปู่ชัย” ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็น หงส์เหนือมังกรที่สุดยอด
เป็นหนึ่ง นักการเมืองแถวหน้า ที่มีคุณภาพคับแก้ว
ถ้าจะโหนเถาวัลย์ ขึ้นเป็น “นายกรัฐมนตรี” ก็เรี่ยมเร้เรไร ไม่น่าจะกินแห้ว
ยิ่งตอนนี้มีเสียงรอดไรฟัน ว่า “คุณหนูเนวิน ชิดชอบ” บุตรยอดกตัญญู มีความประสงค์ส่ง “ลุงชัย” ขึ้นเป็นกระบี่มือหนึ่งเดี่ยว เพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนกัน!!!
เพราะบุรุษ “ช.ช้าง บุรีรัมย์”...ที่ “เนวิน” คิดให้เป็นผู้นำ...มีแต่ “คุณพ่อชัย” ผู้เลิศล้ำเท่านั้น????
***********************************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
แต่พอ “เนวิน ชิดชอบ”, “ชวรัตน์ ชาญวีรกูล”, “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์” ๓ ทหารเสือ เรียกร้องให้ขับ “พรรคเพื่อแผ่นดิน” ... “อภิสิทธิ์” ก็ขานรับ ทั้งชิงรับลูกเสร็จสรรพ
มองเหลี่ยมไหน “อภิสิทธิ์” ทำไม่ถูกต้อง ทั้งนั้นแหละครับ
ฉะนั้น, อย่าแปลกใจ ที่ “คุณพี่ไพโรจน์” เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ในการคลุมถุงชน เชิด “ชาละวันพิจิตร” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ขงเบ้งใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา เป็น “นายกรัฐมนตรี”!
โถ, เป็นใครก็ต้องแค้น...เพราะสู้ขับไล่พรรคภูมิใจไทยแทน?.. “อภิสิทธิ์” กลับแจ้น ไล่ออกจากรัฐบาล เสียนี่????
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่ได้‘ผูกเสี่ยว’เป็นพันธมิตรรักกัน จนวันตาย!!
“ประชาธิปัตย์” ของ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”กับ “ภูมิใจไทย” ของ “เล่าฮูชวรัตน์ ชาญวีรกูล” นับวัน จะเหยียบตาปลา มีแต่ความกินแหนงแคลงใจ??
การออกมาลูบคม ขย่ม “ประชาธิปัตย์” ..ด้วยการที่ “ลุงจิ้น” คิดลอยแพ “อภิสิทธิ์” โดยจับมือกับ “มังกรพันปี” บรรหาร ศิลปอาชาและ “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” ตั้งรัฐบาลขึ้นมา..
โดย “เนวิน ชิดชอบ” และ “ลุงจิ้น” เบื่อเป็นนั่งร้าน ให้ “ประชาธิปัตย์” เหยียบบ่า
เพราะไม่ว่า, “พรรคภูมิใจไทย” เสนอไอเดียปิ๊ง เลิศหรูอลังการงานสร้าง แค่ไหน “อภิสิทธิ์” มักขวางลำ หักดิบ จน “เนวิน-ลุงจิ้น” เสียศูนย์!!
เมื่อ “อภิสิทธิ์” คิดว่าแน่..ภูมิใจไทยเขาก็ไม่แคร์..โดยจะไม่ขอแชร์ เป็นรัฐบาลต่อไปสิคุณ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คิดเป็นใหญ่ ต้อง‘ใจกว้าง’!!
จะขึ้นลิฟท์แก้ว ตีตั๋วเป็น “นายกรัฐมนตรี” ...ใจแคบเป็นรูเข็ม “คุณพี่มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ” คงไม่ถูกกระมัง??
อาทิตย์ก่อน ท่านเปิดคฤหาสน์หลังโตระโหฐาน เลี้ยง ส.ส.เพื่อไทย อย่างอิ่มหมีพีมัน
เหมือนจะ “ตกเขียว” จองคิวเพื่อเป็น “นายกฯ” ในวันหน้า ..อันนี้ไม่ว่ากัน
แต่ดูท่านจะใจจืด.. หนืดสุดๆ เพราะเลี้ยงดูปูเสื่อ ส.ส.อย่างเปรมปรีดิ์..แต่ไม่มีน้ำใจเจือจาน ไปถึง พลขับโชเฟอร์คนรถของส.ส.เลย?.. น้ำไม่มีให้ดื่ม! อาหารไม่มีให้ยากระเพาะ!
รวยจนเงินจะทับบ้าน..อย่าขี้เหนียวเลยนะท่าน?...ช่วยแบ่งปันกัน มันถึงจะเหมาะ??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผักชีโรยหน้า!!
วันใดที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ฤกษ์ยามงามดี มาประชุมสภาผู้แทนราษฎร.. “ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์” ก็มากันคึกคัก! ให้ครื้นเครง! คลาคล่ำ! จนพรึ่บเชียว ล่ะคุณน้า??
หากว่า, “อภิสิทธิ์” ติดราชการ โดดร่มมาไม่ได้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ชักแถว หายเข้ากลีบเมฆ
ทำให้องค์ประชุม เหลือคนหรอมแหรม ร่อยหรอ มองไปแล้ว น้อยนิด เพียงโหวกเหวก
“คุณพี่วิทยา แก้วภราดัย” ประธานวิป แห่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเหมือนเสาหลักปักเลนที่ไร้น้ำยา?.. ส.ส.พรรคแม่ธรณี ไม่เห็นความสำคัญ แม้แต่ ใบหน้าเสื้อผ้าและเส้นผม!!!
“นายกฯ อภิสิทธิ์” รู้ไว้.....ท่านกระโดดร่มวันใด?....ส.ส.ก็พาลหายหน้า กันให้จม???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อย่ามองข้ามช็อต!!
ต้องยอมรับ “ปู่ชัย” ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็น หงส์เหนือมังกรที่สุดยอด
เป็นหนึ่ง นักการเมืองแถวหน้า ที่มีคุณภาพคับแก้ว
ถ้าจะโหนเถาวัลย์ ขึ้นเป็น “นายกรัฐมนตรี” ก็เรี่ยมเร้เรไร ไม่น่าจะกินแห้ว
ยิ่งตอนนี้มีเสียงรอดไรฟัน ว่า “คุณหนูเนวิน ชิดชอบ” บุตรยอดกตัญญู มีความประสงค์ส่ง “ลุงชัย” ขึ้นเป็นกระบี่มือหนึ่งเดี่ยว เพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนกัน!!!
เพราะบุรุษ “ช.ช้าง บุรีรัมย์”...ที่ “เนวิน” คิดให้เป็นผู้นำ...มีแต่ “คุณพ่อชัย” ผู้เลิศล้ำเท่านั้น????
***********************************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ยิ่งปิดยิ่งพัง
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
การออกมาแถลงข่าวของนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นขณะนี้อาจมาจากเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็ระบุว่า เหตุการณ์ระเบิดจะมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนั้น จะเกี่ยวข้องกับการยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน และนักลงทุนไม่น้อย เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับตัวผู้กระทำผิดได้เลย
รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจึงต้องยอมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุระเบิดอาจเกิดจากคนของรัฐเอง เพราะไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่รัฐก็น่าจะต้องจับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐมักออกมาแถลงว่ารู้เบาะแสผู้กระทำผิดบ้าง หรือระบุเป็นกลุ่มเดียวกันบ้าง แม้แต่กรณีที่ระบุว่าการระเบิดป่วนเมืองจะมีต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนั้น เท่ากับเจ้าหน้าที่มีความบกพร่องในการทำงานอย่างร้ายแรงเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานด้านข่าวกรอง หรือหน่วยงานด้านความมั่นคง รวมทั้ง ศอฉ. ที่มีอำนาจมากมาย
ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมาแสดงความรับผิดชอบเท่านั้น แม้แต่นายกรัฐมนตรีและรองนากยรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงก็ต้องรับผิดชอบด้วย หากไม่สามารถควบคุมให้สถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในภาวะปรกติได้ ทั้งที่ยังบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิก
ถ้าจะมีการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐว่าบกพร่อง รัฐบาลก็ควรจะต้องพิจารณาตัวเองด้วย เพราะที่ผ่านมาสังคมต้องการเห็นความสามัคคีปรองดอง แต่รัฐบาลกลับเหมือนเอาน้ำมันราดไปบนกองไฟมากกว่า โดยเฉพาะการใช้อำนาจจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามาจนทุกวันนี้ ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดความปรองดองได้แล้ว ยังยิ่งสร้างความแตกแยกให้ลุกลามบานปลายมากขึ้น
ดังนั้น การสร้างความปรองดองเพื่อนำบ้านเมืองกลับสู่ความสงบสุข จึงต้องคืนความยุติธรรมและอำนาจให้ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยภายใต้อำนาจเผด็จการซ่อนรูป
รวมทั้งต้องมีคำตอบที่ชัดเจนและโปร่งใสกับ 91 ศพที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” โดยเร็วที่สุดด้วย ไม่ใช่ตั้งคณะกรรมการต่างๆมาบิดเบือนประเด็น ซึ่งเหมือนการเล่นละครจำอวดมากกว่า
เพราะความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ไม่ว่าจะมีการบิดเบือนอย่างไรก็ตาม
**********************************************************************
การออกมาแถลงข่าวของนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นขณะนี้อาจมาจากเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็ระบุว่า เหตุการณ์ระเบิดจะมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนั้น จะเกี่ยวข้องกับการยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน และนักลงทุนไม่น้อย เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับตัวผู้กระทำผิดได้เลย
รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจึงต้องยอมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุระเบิดอาจเกิดจากคนของรัฐเอง เพราะไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่รัฐก็น่าจะต้องจับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐมักออกมาแถลงว่ารู้เบาะแสผู้กระทำผิดบ้าง หรือระบุเป็นกลุ่มเดียวกันบ้าง แม้แต่กรณีที่ระบุว่าการระเบิดป่วนเมืองจะมีต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนั้น เท่ากับเจ้าหน้าที่มีความบกพร่องในการทำงานอย่างร้ายแรงเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานด้านข่าวกรอง หรือหน่วยงานด้านความมั่นคง รวมทั้ง ศอฉ. ที่มีอำนาจมากมาย
ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมาแสดงความรับผิดชอบเท่านั้น แม้แต่นายกรัฐมนตรีและรองนากยรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงก็ต้องรับผิดชอบด้วย หากไม่สามารถควบคุมให้สถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในภาวะปรกติได้ ทั้งที่ยังบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิก
ถ้าจะมีการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐว่าบกพร่อง รัฐบาลก็ควรจะต้องพิจารณาตัวเองด้วย เพราะที่ผ่านมาสังคมต้องการเห็นความสามัคคีปรองดอง แต่รัฐบาลกลับเหมือนเอาน้ำมันราดไปบนกองไฟมากกว่า โดยเฉพาะการใช้อำนาจจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามาจนทุกวันนี้ ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดความปรองดองได้แล้ว ยังยิ่งสร้างความแตกแยกให้ลุกลามบานปลายมากขึ้น
ดังนั้น การสร้างความปรองดองเพื่อนำบ้านเมืองกลับสู่ความสงบสุข จึงต้องคืนความยุติธรรมและอำนาจให้ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยภายใต้อำนาจเผด็จการซ่อนรูป
รวมทั้งต้องมีคำตอบที่ชัดเจนและโปร่งใสกับ 91 ศพที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” โดยเร็วที่สุดด้วย ไม่ใช่ตั้งคณะกรรมการต่างๆมาบิดเบือนประเด็น ซึ่งเหมือนการเล่นละครจำอวดมากกว่า
เพราะความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ไม่ว่าจะมีการบิดเบือนอย่างไรก็ตาม
**********************************************************************
แถลงการณ์ของจักรภพ เพ็ญแข ในเหตุไฟไหม้บ้าน
แถลงการณ์ของ นายจักรภพ เพ็ญแข ในเหตุไฟไหม้บ้าน
วันพุธที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ผมได้ทราบข่าวไฟไหม้บ้านคุณพ่อคุณแม่ของผมในช่วงสายของวันอังคารที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ ไฟได้ทำลายบ้านและทรัพย์สินในบ้านที่สะสมไว้ตลอดชีวิตของพวกเราเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะชั้นบนของบ้าน
ถึงคุณพ่อคุณแม่และน้องสาวของผมจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ จากเหตุร้ายนี้ แต่ก็ได้รับความกระเทือนใจอย่างสูงเมื่อบ้านที่คุณพ่อคุณแม่สร้างขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงและมีอายุถึง ๔๔ ปีแล้ว มีอันต้องถูกทำลายลง โดยเฉพาะเมื่อคุณพ่อคุณแม่ของผมสูงวัยถึง ๘๓ ปี และ ๗๓ ปีแล้วอย่างนี้ ตัวผมเองอยู่ไกลบ้าน ไม่อาจเดินทางไปร่วมทุกข์กับคุณพ่อคุณแม่และน้องสาวได้ ก็รู้สึกเศร้าใจและหาทางบรรเทาความทุกข์ร้อนของท่านตามประสาที่คนลี้ภัยการเมืองจะทำได้
สาเหตุของไฟไหม้ยังคงไม่แน่ชัด อาจเป็นอุบัติเหตุ หรือการวางเพลิงโดยเจตนาก็ได้ หลายท่านมีความเห็นว่า วิกฤติการเมืองที่ระอุขึ้นทุกทีในขณะนี้ อาจเป็นแรงผลักดันอย่างหนึ่ง ผมเองยังไม่อาจสรุปได้ และขอรอดูหลักฐานการสอบสวนตามกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์และอื่นๆ ก่อน
แต่ขอใช้โอกาสนี้เตือนพวกเราที่กำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้ระมัดระวังตนเอง ครอบครัว คนที่รัก และทรัพย์สินไว้ให้ดี สถานการณ์เช่นนี้เปราะบาง และอาจมีผู้คิดร้ายกระทำการทำร้ายและทำลายเราด้วยวิธีการต่างๆ ได้ โปรดถือเหตุการณ์บ้านคุณพ่อคุณแม่ผมเป็นตัวอย่าง และขออย่าได้ประมาทเลยแม้แต่น้อย
ผมขอขอบคุณมวลชนชาวประชาธิปไตยทุกท่านที่มีน้ำใจไมตรีต่อครอบครัวของผม เมตตากรุณาในเรื่องต่างๆ มากมายนับตั้งแต่รู้ข่าว บางท่านอุตส่าห์เดินทางมาจากต่างจังหวัดกันเป็นกลุ่ม เสนอตัวช่วยเหลือทุกอย่าง แม้กระทั่งเสื้อผ้าและอาหาร ทำให้ผู้ชราทั้งสองท่านมีกำลังใจดีขึ้น
ขอขอบคุณเช่นกันต่อพี่น้องสื่อมวลชนที่เสนอข่าวนี้อย่างกว้างขวาง โดยไม่เห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และช่วยตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องจริงอาจจะซับซ้อนกว่านั้น
ผมขอให้พวกเราชาวประชาธิปไตยทุกๆ คนมีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง พร้อมรับมือกับความท้าทายทุกอย่างจากฝ่ายผู้มุ่งทำลายประชาธิปไตย เพื่อขับเคลื่อนบ้านเมืองของเราไปสู่ความตาสว่างทั้งแผ่นดินด้วยเทอญ
ด้วยความเคารพรักมวลมหาประชาชนและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างสูง
จักรภพ เพ็ญแข
********
Statement of Mr. Jakrapob Penkair On the Fire Incident at His Bangkok Home
Wednesday, September 29, 2010
I was kept informed, as it happened concerning the disastrous fire that consumed my parent’s home in Bangkok late morning of Tuesday, September 28, 2010. The fire completely destroyed the house and most of my all family’s life-long possessions. The entire upper floor of the structure is completely gone. Though my parents and sister were not harmed, they are greatly disheartened to realize that the house they built and lived in for over 44 years is now gone. It was quite a blow for a 83 and 73 year-old couple like my parents. Away from Thailand and unable to be with them during this time of great distress, I am deeply saddened and am trying to do my utmost in assisting them any way I can.
The exact source of the fire is not yet clear. It could have been an accident or perhaps sabotage. The ever-heating political situation may have been a contributing factor. I will not rush into any conclusion, but rather follow up on the forensic investigative procedures. Nevertheless, let me take this opportunity to warn all of us who fight for democracy to be extra careful in regards to yourself, your family, your loved ones, and your property. The overall political situation is quite fragile. We can be vulnerable to danger and risk at any turn. Please learn from this tragic incident which affect me and my parents’ home.
I would like to express my deep appreciation for the generosity expressed so overwhelmingly by the supporters of our democratic movement. Many have offered help in various ways since the news broke. Some groups took an extra effort travelling from their hometowns to support my parents and my sister, offering everything from clothes to food products, boosting the morale of two elderly persons whom are cherished in my heart.
Let me thank the media for distributing the news without prejudging this personal issue, and for an observation that there could have been something more sinister.
May I wish all of us in the democratic movement a strong and stable mind, ready to accept all kinds of challenges now and ahead, in order to lead this country to true democracy.
With respect to the will of the people and with deep love of my country,
Jakrapob Penkair
ที่มา.ไทยอีนิวส์
**********************************************************************
วันพุธที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ผมได้ทราบข่าวไฟไหม้บ้านคุณพ่อคุณแม่ของผมในช่วงสายของวันอังคารที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ ไฟได้ทำลายบ้านและทรัพย์สินในบ้านที่สะสมไว้ตลอดชีวิตของพวกเราเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะชั้นบนของบ้าน
ถึงคุณพ่อคุณแม่และน้องสาวของผมจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ จากเหตุร้ายนี้ แต่ก็ได้รับความกระเทือนใจอย่างสูงเมื่อบ้านที่คุณพ่อคุณแม่สร้างขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงและมีอายุถึง ๔๔ ปีแล้ว มีอันต้องถูกทำลายลง โดยเฉพาะเมื่อคุณพ่อคุณแม่ของผมสูงวัยถึง ๘๓ ปี และ ๗๓ ปีแล้วอย่างนี้ ตัวผมเองอยู่ไกลบ้าน ไม่อาจเดินทางไปร่วมทุกข์กับคุณพ่อคุณแม่และน้องสาวได้ ก็รู้สึกเศร้าใจและหาทางบรรเทาความทุกข์ร้อนของท่านตามประสาที่คนลี้ภัยการเมืองจะทำได้
สาเหตุของไฟไหม้ยังคงไม่แน่ชัด อาจเป็นอุบัติเหตุ หรือการวางเพลิงโดยเจตนาก็ได้ หลายท่านมีความเห็นว่า วิกฤติการเมืองที่ระอุขึ้นทุกทีในขณะนี้ อาจเป็นแรงผลักดันอย่างหนึ่ง ผมเองยังไม่อาจสรุปได้ และขอรอดูหลักฐานการสอบสวนตามกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์และอื่นๆ ก่อน
แต่ขอใช้โอกาสนี้เตือนพวกเราที่กำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้ระมัดระวังตนเอง ครอบครัว คนที่รัก และทรัพย์สินไว้ให้ดี สถานการณ์เช่นนี้เปราะบาง และอาจมีผู้คิดร้ายกระทำการทำร้ายและทำลายเราด้วยวิธีการต่างๆ ได้ โปรดถือเหตุการณ์บ้านคุณพ่อคุณแม่ผมเป็นตัวอย่าง และขออย่าได้ประมาทเลยแม้แต่น้อย
ผมขอขอบคุณมวลชนชาวประชาธิปไตยทุกท่านที่มีน้ำใจไมตรีต่อครอบครัวของผม เมตตากรุณาในเรื่องต่างๆ มากมายนับตั้งแต่รู้ข่าว บางท่านอุตส่าห์เดินทางมาจากต่างจังหวัดกันเป็นกลุ่ม เสนอตัวช่วยเหลือทุกอย่าง แม้กระทั่งเสื้อผ้าและอาหาร ทำให้ผู้ชราทั้งสองท่านมีกำลังใจดีขึ้น
ขอขอบคุณเช่นกันต่อพี่น้องสื่อมวลชนที่เสนอข่าวนี้อย่างกว้างขวาง โดยไม่เห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และช่วยตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องจริงอาจจะซับซ้อนกว่านั้น
ผมขอให้พวกเราชาวประชาธิปไตยทุกๆ คนมีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง พร้อมรับมือกับความท้าทายทุกอย่างจากฝ่ายผู้มุ่งทำลายประชาธิปไตย เพื่อขับเคลื่อนบ้านเมืองของเราไปสู่ความตาสว่างทั้งแผ่นดินด้วยเทอญ
ด้วยความเคารพรักมวลมหาประชาชนและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างสูง
จักรภพ เพ็ญแข
********
Statement of Mr. Jakrapob Penkair On the Fire Incident at His Bangkok Home
Wednesday, September 29, 2010
I was kept informed, as it happened concerning the disastrous fire that consumed my parent’s home in Bangkok late morning of Tuesday, September 28, 2010. The fire completely destroyed the house and most of my all family’s life-long possessions. The entire upper floor of the structure is completely gone. Though my parents and sister were not harmed, they are greatly disheartened to realize that the house they built and lived in for over 44 years is now gone. It was quite a blow for a 83 and 73 year-old couple like my parents. Away from Thailand and unable to be with them during this time of great distress, I am deeply saddened and am trying to do my utmost in assisting them any way I can.
The exact source of the fire is not yet clear. It could have been an accident or perhaps sabotage. The ever-heating political situation may have been a contributing factor. I will not rush into any conclusion, but rather follow up on the forensic investigative procedures. Nevertheless, let me take this opportunity to warn all of us who fight for democracy to be extra careful in regards to yourself, your family, your loved ones, and your property. The overall political situation is quite fragile. We can be vulnerable to danger and risk at any turn. Please learn from this tragic incident which affect me and my parents’ home.
I would like to express my deep appreciation for the generosity expressed so overwhelmingly by the supporters of our democratic movement. Many have offered help in various ways since the news broke. Some groups took an extra effort travelling from their hometowns to support my parents and my sister, offering everything from clothes to food products, boosting the morale of two elderly persons whom are cherished in my heart.
Let me thank the media for distributing the news without prejudging this personal issue, and for an observation that there could have been something more sinister.
May I wish all of us in the democratic movement a strong and stable mind, ready to accept all kinds of challenges now and ahead, in order to lead this country to true democracy.
With respect to the will of the people and with deep love of my country,
Jakrapob Penkair
ที่มา.ไทยอีนิวส์
**********************************************************************
นักบุญ (คนบาป)เร่ขาย ‘ปรองดอง’
น้ำตาที่หลั่งรินของบุรุษชื่อพม่า นัยตาแขมร์ นามว่า “เนวิน ชิดชอบ” เมื่อครั้งที่เขาหลุดพ้นจากพันธนาการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องตกทุกข์ได้ยากเพราะ “นาย” นามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เนวินร่ำไห้ถึงความยากลำบากขณะที่เขาถูกกักกันบริเวณอยู่ภายใต้ท็อปบูธ คมช. ถูกทารุน ทางจิตใจอย่างร้ายแรงด้วยการจับนุ่งลม ห่มฟ้า ถูกจี้ของรักของหวง รวมถึงเมนู อาหารการกินแต่ละมื้อก็สุดฝืนกลืนกินรับประทาน
ความยากลำบากของอดีตลูกน้อง คนสนิททักษิณบรรยายไว้อย่างนั้น...!!!ถัดมาไม่กี่เดือน เวลาเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยน น้ำตาลูกผู้ชายก็หลั่งรินอีกคำรบ เมื่อ “เนวิน ชิดชอบ” ออกมาประกาศต่อประชาชนทั้งประเทศว่า จะนำพากลุ่มเพื่อนเนวินออกจากขั้วไทยรักไทย เพื่อสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้ประเทศชาติสามารถขับเคลื่อน เดินต่อไปได้
เนวินบอกว่า เป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ต้องเสียทั้ง “นาย” เสียทั้ง “เพื่อน” แต่เพื่อประเทศชาติ และสถาบันอันที่รักเคารพ เขาจำเป็นต้องตัดสินใจทำเช่นนั้น เนวินแถลงข่าวด้วย น้ำเสียงที่สั่นเครือนัยตามีน้ำตาคลอ เบ้าอยู่ตลอดเวลา บ้างเหน็บแนมว่า “น้ำตาจระเข้”
ในขณะที่ “นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร บอกว่า “เอ็งจะไปไหนก็ไป เถอะ ไม่ต้องมาบีบน้ำตาร่ำลาให้เสีย เวลา จะไปหาสตังค์ก็ไป และถ้าไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาอีก”
ตลอดระยะเวลาในการรวมรัฐบาล กับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย กลายเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเพียงหนึ่งเดียวที่มีปัญหาแสดงพลังภายในกับพรรคแกนนำรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการระบายข้าวในสต็อก หรือโครงการรถเมล์เช่า 4 พันคัน และล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนสั่นไหวกรณีนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ตั้งกรรมการตรวจสอบโครงการเช่าคอมพิวเตอร์ มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาทของกรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมชะลอการทูลเกล้าแต่งตั้งปลัดกระทรวง มหาดไทย
ในขณะที่ซีกประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกลายเป็นตำบลกระสุนตกที่หลายฝ่ายจับจ้องว่า อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเนวินด้วย บุญและคุณแห่งการค้ำจุนจัดตั้งรัฐบาล และจำต้องตอบแทนบุญคุณหรือประคับประคองให้รัฐบาลมีอายุยืนยาวต่อไป
แม้สิ่งที่นายกฯ อภิสิทธิ์ดำเนินการต่อพรรคภูมิใจไทยครั้งล่าสุดนี้จะเป็นการเดิมพันที่สูง แต่หากมองเหลียวหน้าแลหลังแล้ว ประชาธิปัตย์ เองก็ไม่มีทางเลือกมากนัก โดยเฉพาะ เสถียรภาพชะตากรรมของพรรคที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายสุ่มเสี่ยงที่จะถูก “ยุบพรรค” ในคดีเงินบริจาคทีพีไอ
มองข้ามช็อตไปถึงการยุบสภากันเสียแล้ว...!
การออกมาปลุกกระแสเร่ขาย “ปรองดอง” ของเนวิน ชิดชอบ ที่เหน็บเอา “มังกรเติ้ง” บรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อผลักดันร่างพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมือง โดยไม่มีสีเสื้อกลาย เป็นประเด็นร้อนที่ทิ่มแทงพรรคประชาธิปัตย์อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
แม้ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะยืนยันว่า “คนเสื้อเหลือง” ไม่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะมั่นใจว่าการเคลื่อนไหวที่ผ่านมามีความบริสุทธิ์ใจ จึงเชื่อมั่นว่าศาลสถิตยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาได้
ส่วนอีกฟากฝั่งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) และแกนนำพรรคเพื่อไทยยืนยันเช่นกันว่า “คนเสื้อแดง” ไม่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับเนวิน ชิดชอบ ที่มีวาระซ่อนเร้นต้องการหาเสียงคะแนน นิยมจากคนเสื้อแดง เพราะในพื้นที่อีสานพรรคภูมิใจไทยไม่สามารถลง พื้นที่ได้
ปลดล็อกวาระซ้อนเร้น การออก มาจุดกระแสล่าชื่อประชาชนแสนชื่อเพื่อผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ของพรรคภูมิใจไทย และภาพการเปิด ตัวหนังสือพอกเก็ตบุ๊กที่พรรคภูมิใจไทยของเนวิน ชิดชอบ ที่นำคนสวมใส่เสื้อสีแดง สีเหลือง สีชมพู และน้ำเงินมาแต่งแต้มสีสันเมื่อต้นสัปดาห์ ที่ผ่านมา จึงเป็นแค่การทำงานของบริษัทประชาสัมพันธ์มืออาชีพที่เก่งใน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร โดยมีสินค้าแบรนด์ “ปรองดอง” เร่ขายให้กับคนรากหญ้า
อีกนัยก็คือหนังสือเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทภูมิใจไทย ที่ประกาศว่าจะยึดหัวหาดภาคอีสาน จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนักบุญคนบาปเร่ขายฝัน “ปรองดอง” บทเรียนแห่งสัจวาจาต้องจดจำ บุรุษห้าสั้น เบ๊เต็กเชียง บรรหาร ศิลปอาชา ลืมเลือนไปแล้วนะหรือ จึงออกมาคลุกผสมน้ำยาอย่างนี้
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------------------------------------
ความยากลำบากของอดีตลูกน้อง คนสนิททักษิณบรรยายไว้อย่างนั้น...!!!ถัดมาไม่กี่เดือน เวลาเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยน น้ำตาลูกผู้ชายก็หลั่งรินอีกคำรบ เมื่อ “เนวิน ชิดชอบ” ออกมาประกาศต่อประชาชนทั้งประเทศว่า จะนำพากลุ่มเพื่อนเนวินออกจากขั้วไทยรักไทย เพื่อสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้ประเทศชาติสามารถขับเคลื่อน เดินต่อไปได้
เนวินบอกว่า เป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ต้องเสียทั้ง “นาย” เสียทั้ง “เพื่อน” แต่เพื่อประเทศชาติ และสถาบันอันที่รักเคารพ เขาจำเป็นต้องตัดสินใจทำเช่นนั้น เนวินแถลงข่าวด้วย น้ำเสียงที่สั่นเครือนัยตามีน้ำตาคลอ เบ้าอยู่ตลอดเวลา บ้างเหน็บแนมว่า “น้ำตาจระเข้”
ในขณะที่ “นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร บอกว่า “เอ็งจะไปไหนก็ไป เถอะ ไม่ต้องมาบีบน้ำตาร่ำลาให้เสีย เวลา จะไปหาสตังค์ก็ไป และถ้าไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาอีก”
ตลอดระยะเวลาในการรวมรัฐบาล กับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย กลายเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเพียงหนึ่งเดียวที่มีปัญหาแสดงพลังภายในกับพรรคแกนนำรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการระบายข้าวในสต็อก หรือโครงการรถเมล์เช่า 4 พันคัน และล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนสั่นไหวกรณีนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ตั้งกรรมการตรวจสอบโครงการเช่าคอมพิวเตอร์ มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาทของกรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมชะลอการทูลเกล้าแต่งตั้งปลัดกระทรวง มหาดไทย
ในขณะที่ซีกประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกลายเป็นตำบลกระสุนตกที่หลายฝ่ายจับจ้องว่า อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเนวินด้วย บุญและคุณแห่งการค้ำจุนจัดตั้งรัฐบาล และจำต้องตอบแทนบุญคุณหรือประคับประคองให้รัฐบาลมีอายุยืนยาวต่อไป
แม้สิ่งที่นายกฯ อภิสิทธิ์ดำเนินการต่อพรรคภูมิใจไทยครั้งล่าสุดนี้จะเป็นการเดิมพันที่สูง แต่หากมองเหลียวหน้าแลหลังแล้ว ประชาธิปัตย์ เองก็ไม่มีทางเลือกมากนัก โดยเฉพาะ เสถียรภาพชะตากรรมของพรรคที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายสุ่มเสี่ยงที่จะถูก “ยุบพรรค” ในคดีเงินบริจาคทีพีไอ
มองข้ามช็อตไปถึงการยุบสภากันเสียแล้ว...!
การออกมาปลุกกระแสเร่ขาย “ปรองดอง” ของเนวิน ชิดชอบ ที่เหน็บเอา “มังกรเติ้ง” บรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อผลักดันร่างพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมือง โดยไม่มีสีเสื้อกลาย เป็นประเด็นร้อนที่ทิ่มแทงพรรคประชาธิปัตย์อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
แม้ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะยืนยันว่า “คนเสื้อเหลือง” ไม่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะมั่นใจว่าการเคลื่อนไหวที่ผ่านมามีความบริสุทธิ์ใจ จึงเชื่อมั่นว่าศาลสถิตยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาได้
ส่วนอีกฟากฝั่งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) และแกนนำพรรคเพื่อไทยยืนยันเช่นกันว่า “คนเสื้อแดง” ไม่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับเนวิน ชิดชอบ ที่มีวาระซ่อนเร้นต้องการหาเสียงคะแนน นิยมจากคนเสื้อแดง เพราะในพื้นที่อีสานพรรคภูมิใจไทยไม่สามารถลง พื้นที่ได้
ปลดล็อกวาระซ้อนเร้น การออก มาจุดกระแสล่าชื่อประชาชนแสนชื่อเพื่อผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ของพรรคภูมิใจไทย และภาพการเปิด ตัวหนังสือพอกเก็ตบุ๊กที่พรรคภูมิใจไทยของเนวิน ชิดชอบ ที่นำคนสวมใส่เสื้อสีแดง สีเหลือง สีชมพู และน้ำเงินมาแต่งแต้มสีสันเมื่อต้นสัปดาห์ ที่ผ่านมา จึงเป็นแค่การทำงานของบริษัทประชาสัมพันธ์มืออาชีพที่เก่งใน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร โดยมีสินค้าแบรนด์ “ปรองดอง” เร่ขายให้กับคนรากหญ้า
อีกนัยก็คือหนังสือเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทภูมิใจไทย ที่ประกาศว่าจะยึดหัวหาดภาคอีสาน จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนักบุญคนบาปเร่ขายฝัน “ปรองดอง” บทเรียนแห่งสัจวาจาต้องจดจำ บุรุษห้าสั้น เบ๊เต็กเชียง บรรหาร ศิลปอาชา ลืมเลือนไปแล้วนะหรือ จึงออกมาคลุกผสมน้ำยาอย่างนี้
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------------------------------------
ไม่เป็นสุข
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เหล็กใน
นับวันแต่จะยิ่งแจ่มชัดและตาสว่างขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภาพเหตุการณ์และหลักฐาน ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กำลังสลายม็อบเสื้อแดง
ทั้งการปะทะกันเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว และการใช้กำลังทหารและยุทโธปกรณ์บดขยี้กลุ่มผู้ชุมนุม ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.
แม้ที่ผ่านมาจะใช้อำนาจพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บิดเบือนและปิดกั้นข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
แรกๆ สังคมก็อาจรู้สึกคล้อยตาม หลงใหลไปตามกระแสแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ
ทั้งกรณีชายชุดดำบ้าง หรือกองกำลังไม่ทราบฝ่ายบ้าง
เพราะรัฐบาลใช้สื่อของรัฐออกข่าวสารด้านเดียว โหมประโคมใส่ร้ายผู้ชุมนุม จนละเลยข้อเท็จจริง
กล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง และล้มล้างสถาบัน
สร้างภาพป้ายสีผู้ชุมนุมให้คนบางกลุ่มเห็นพ้องว่าเป็นพวกไม่รักชาติ ไม่เคารพสิทธิคนเมืองหลวง
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกวาดล้าง เข่นฆ่า และจับกุม
นายอภิสิทธิ์ยืนกระต่ายขาเดียวอ้างตลอดเวลาว่าไม่เคยสั่งให้ปราบปรามประชาชน
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ยืนยันทุกครั้งว่าไม่เคยสั่งให้ทหารลั่นกระสุนใส่ผู้ชุมนุม
ล่าสุด พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. ก็ยืนกรานอ้างว่าไม่เคยสั่งการให้หน่วยสไนเปอร์ขึ้นบนตึกสูง ยิงเด็ดหัวผู้ชุมนุม
แต่เมื่อมีการล้มตายที่เกิดจากคมกระสุนเกือบ 100 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันชีวิต
ใครจะออกปฏิเสธอย่างไร โยนผิดเช่นใด ก็ย่อมมิอาจปกปิดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้
กาลเวลาผ่านล่วงเลยไป
การสังหาร การตาย และความรุนแรงที่แยกราชประสงค์ ผ่านมา 4 เดือนกว่าแล้ว
การที่ฝูงชนพากันหลั่งไหลออกมาร่วมกันรำลึกกว่า 1 หมื่นคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีใครลืมเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
อีกไม่นานก็จะถึงวันที่ 10 ต.ค. ซึ่งนัดหมายกันว่าจะออกมาร่วมรำลึกครบรอบ 6 เดือนเหตุการณ์อำมหิตที่สี่แยกคอกวัว
ก็จะพิสูจน์อีกครั้งว่า ผู้คนจะลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่
สำหรับผู้ที่อีกไม่กี่วันก็จะหมดอำนาจ แม้จะบอกว่าไม่ยุ่งกับการเมือง และจะอยู่ให้ห่างจากสื่อ
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะตามหลอกหลอนไปตลอดชีวิต
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ซึ่งอีกไม่กี่เดือนก็มีเค้าว่าอาจจะต้องลงจากเก้าอี้
เหตุการณ์ที่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สั่งการ ก็จะตามหลอนหลอกตลอดชีวิตเช่นกัน
รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้ประชาชนล้มตายและได้รับบาดเจ็บ
ก็ยากจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสงบตามปกติ
อย่างน้อยก็ทางใจ
***********************************************************
คอลัมน์ เหล็กใน
นับวันแต่จะยิ่งแจ่มชัดและตาสว่างขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภาพเหตุการณ์และหลักฐาน ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กำลังสลายม็อบเสื้อแดง
ทั้งการปะทะกันเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว และการใช้กำลังทหารและยุทโธปกรณ์บดขยี้กลุ่มผู้ชุมนุม ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.
แม้ที่ผ่านมาจะใช้อำนาจพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บิดเบือนและปิดกั้นข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
แรกๆ สังคมก็อาจรู้สึกคล้อยตาม หลงใหลไปตามกระแสแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ
ทั้งกรณีชายชุดดำบ้าง หรือกองกำลังไม่ทราบฝ่ายบ้าง
เพราะรัฐบาลใช้สื่อของรัฐออกข่าวสารด้านเดียว โหมประโคมใส่ร้ายผู้ชุมนุม จนละเลยข้อเท็จจริง
กล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง และล้มล้างสถาบัน
สร้างภาพป้ายสีผู้ชุมนุมให้คนบางกลุ่มเห็นพ้องว่าเป็นพวกไม่รักชาติ ไม่เคารพสิทธิคนเมืองหลวง
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกวาดล้าง เข่นฆ่า และจับกุม
นายอภิสิทธิ์ยืนกระต่ายขาเดียวอ้างตลอดเวลาว่าไม่เคยสั่งให้ปราบปรามประชาชน
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ยืนยันทุกครั้งว่าไม่เคยสั่งให้ทหารลั่นกระสุนใส่ผู้ชุมนุม
ล่าสุด พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. ก็ยืนกรานอ้างว่าไม่เคยสั่งการให้หน่วยสไนเปอร์ขึ้นบนตึกสูง ยิงเด็ดหัวผู้ชุมนุม
แต่เมื่อมีการล้มตายที่เกิดจากคมกระสุนเกือบ 100 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันชีวิต
ใครจะออกปฏิเสธอย่างไร โยนผิดเช่นใด ก็ย่อมมิอาจปกปิดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้
กาลเวลาผ่านล่วงเลยไป
การสังหาร การตาย และความรุนแรงที่แยกราชประสงค์ ผ่านมา 4 เดือนกว่าแล้ว
การที่ฝูงชนพากันหลั่งไหลออกมาร่วมกันรำลึกกว่า 1 หมื่นคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีใครลืมเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
อีกไม่นานก็จะถึงวันที่ 10 ต.ค. ซึ่งนัดหมายกันว่าจะออกมาร่วมรำลึกครบรอบ 6 เดือนเหตุการณ์อำมหิตที่สี่แยกคอกวัว
ก็จะพิสูจน์อีกครั้งว่า ผู้คนจะลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่
สำหรับผู้ที่อีกไม่กี่วันก็จะหมดอำนาจ แม้จะบอกว่าไม่ยุ่งกับการเมือง และจะอยู่ให้ห่างจากสื่อ
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะตามหลอกหลอนไปตลอดชีวิต
ส่วนนายอภิสิทธิ์ ซึ่งอีกไม่กี่เดือนก็มีเค้าว่าอาจจะต้องลงจากเก้าอี้
เหตุการณ์ที่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สั่งการ ก็จะตามหลอนหลอกตลอดชีวิตเช่นกัน
รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้ประชาชนล้มตายและได้รับบาดเจ็บ
ก็ยากจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสงบตามปกติ
อย่างน้อยก็ทางใจ
***********************************************************
แดงแท้ แดงเทียม แดงสลิ่ม แดงมือใหม่ แดงมือโปร แดงมหาเทพ แดงซูเปอร์แดง ฯลฯ
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ภายหลังจากที่งาน"เราไม่ทอดทิ้งกัน"ลุล่วงไปได้มีข้อถกเถียงเรื่องของการให้คุณค่าและการจัดวางบทบาทของตนเองในขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงของนักกิจกรรมทางสังคมกลุ่มหนึ่ง บันทึกสั้นๆในเฟซบุ๊คชิ้นนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาและแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่ความชัดเจนข้างหน้า
อ่านที่หลายคนพูดกันไปมาหลังจากงานเรา"ไม่ทอดทิ้งกัน"แล้วมีข้อสังเกตว่าเรื่องแดงแท้แดงสลิ่มเป็นคำที่คนชั้นกลางอยากแดงสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น คำนี้มีคนทั่วไปใช้ที่ไหน เวลาไปงานในพื้นที่ต่างๆ ก็ไม่เคยได้ิยิน คำนี้เกิดจากความอึดอัดในสังคมคนชั้นกลางเอง โดยเฉพาะหลังการปราบปี 53 จนเกิดความต้องการอัตลักษณ์ใหม่เพื่อแยกตัวเองจากคนชั้นกลางอื่นๆ อัตลักษณ์นี้ไม่ผิด ควรมี แต่การมีอัตลักษณ์นี้ไม่ควรนำไปสู่การคิดเองเออเองว่าึคนทั้งหมดต้องเป็นแบบ เดียว ใครเป็นแบบอื่นผิด ไม่แจ๋ว ไม่แน่จริง คนแต่ละคนมีเงื่อนไขมีความถนัดมีรสนิยมต่างกัน ว่ากันไม่ได้ ไม่เห็นประโยชน์ของการว่ากันแบบนี้ เห็นแต่ผลที่จะทำให้คนอยากทำอะไรร่วมกันน้อยลง
นี่ไม่ได้ หมายความว่าเราไม่ควรวิจารณ์หรือตั้งคำถามกันเอง แต่การวิจารณ์หรือการตั้งคำถามที่ดีในความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เหมือนการ วิจารณ์หรือตั้งคำถามในเรื่องศิลปะหรือเรื่องอื่นๆ การวิจารณ์ที่ดีต้องช่วยให้อีกฝ่ายเปลี่ยนผ่านจากข้างใน ให้เขาเ็ห็นปัญหาเห็นข้อจำกัดของวิธีคิดต่างๆ ให้เขาเลือกเองตามความถนัดหรือเงื่อนไขที่แวดล้อมตัวเขา ไม่ใช่วิจารณ์แบบตั้งตัวเองเป้นศาสดาหรือเจ้าพ่อศีลธรรมที่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด และทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงตามที่ข้าพเจ้าเห็นว่าดี
อ่านความเห็นต่อไปยิ่งพบว่ากระแสคำแบบนี้เลยเถิดไปขนาดไล่ล่าคนที่ไม่เหมือนกัน ว่าเป็นแดงเทียม แดงหากิน แดงมือใหม่ แดงฟันน้ำนม ฯลฯ คุณบุญชิตพูดไว้ดีว่าเอียงแดงแล้วมีอะไรให้หากินได้ที่ไหน ในทางตรงข้าม คือทำให้ไม่มีจะกินมากกว่า เรื่องแดงมือใหม่แดงฟังน้ำนมนี่ยิ่งเลอะเทอะ มีใครในโลกนี้เป็นแดงตั้งแต่ต้น ความเป็นเสื้อแดงเพิ่งเกิดไม่กี่ปีนี้ ซ้ำหลายคนทีไล่ล่าคนอื่นว่าแดงน้อยไปก็ไม่ได้พูดอะไรเมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 ที่เคยเห็นด้วยกับรัฐประหารมากบ้างน้อยบ้างก็มี
เมื่อตอนที่ไทยรักไทยถูกยุบพรรค เท่าที่จำได้ก็คือแทบไม่มีนักวิชาการคนไหนแสดงความคิดเห็นคัดค้าน ตอนเกิดสิบเมษา 52 หรือ 53 หลายคนหายไปแม้กระทั่้งการโพสท์ข้อความในเว็บ แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรมาวัดว่าแดงแท้แดงเทียม? ประโยชน์ของการวัดแบบนี้คืออะไรนอกจากทำให้ขบวนการที่มีคนหลายกลุ่มเข้าร่วม กลายเป็นขบวนการผูกขาดคลั่งคัมภีร์
บางคนบอกว่าของแท้ ต้องกล้าแตะบางเรื่อง แต่เมื่อมีหลายคนในอดีตทำแล้วเดือดร้อน มีใครคุ้มครองหรือช่วยเหลือพวกเขาได้? อันที่จริงถ้าใช้เกณฑ์นี้วัดความเป็นของแท้แล้วก็จะยิ่งพบว่าคนเป็นของแท้ แทบไม่เหลือสักราย
ในอดีตแม้แต่คนที่ radical มากๆ อย่างปรีดีก็หลีกเลี่ยงไม่พูดเรื่องนี้อีกหลัง 2475 แม้กระทั่งงานปรีดีช่วงอยู่จีนหรือฝรั่งเศสก็แตะเรื่องแบบนี้เบาบาง อ้อมค้อม และต้องมีความเข้าใจบางแบบมากพอจึงจะเข้าใจสารของปรีดี อย่างนี้แปลว่าแท้หรือไม่แท้? นักการเมืองฝ่ายที่คิดว่าเป็นพวกเดียวกันส่วนใหญ่ก็ระมัดระวังในเรื่องทำนอง นี้ คำถามคือคนเหล่านี้แท้หรือเทียม? หรือจริงๆ คำถามนี้ผิดเพราะคำตอบคือเราวัดใครแบบฉาบฉวยไม่ได้นอกจากต้องประเมินกันในระยะยาว การโฉ่งฉ่างไล่ล่าไล่ประนามคนจึงไม่มีความจำเป็น และการวิจารณ์ไม่ควรล้ำเส้นจนกลายเป็นการทำอะไรแบบนี้
ความกล้าเป็นเรื่องดี แต่ความไม่กล้าหรือความกลัวก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะคนแต่ละคนมีเงื่อนไขหรือมีเหตุไม่เหมือนกัน คนที่เรียกร้องให้คนอื่นกล้าหาญอาจไม่ใช่้คนกล้าที่สุดในวันที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นจริงก็ได้ ลองย้อนกลับไปทบทวนความจำเดือนเมษาและพฤษภาก็จะเห็นเองว่าใครอยู่ที่ไหนและทำหรือไม่ทำอะไรเลยในขณะนั้น ใครแสดงตัว ใครหายไปเฉยๆ
การเอาวาทกรรมความกล้าไว้แบล็คเมล์คนอื่นนั้นเป็นเรื่องเหลวไหล เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของการอุทิศตัวเอง ไม่ใช่การเรียกร้องคาดคั้น ถึงคาดคั้นก็เปลี่ยนคนไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไรจากการคาดคั้น ยิ่งกว่านั้นคือทุกคนมีสิทธิถูกคนอื่นประณามแบบนี้ได้ตลอดเวลา
โจทย์ใหญ่ที่เป็นปัญหาร่วมของคนทั้งหมดมากที่สุดในตอนนี้คือ การไม่มีประชาธิปไตย เสียงประชาชนและการเลือกตั้งถูกทำให้อยู่ใต้เสียงเหนือประชาชนและสถาบันนอกการเลือกตั้ง โจทย์อื่นเป็นประเด็นสำคัญแต่ไม่ได้แปลว่าทุกคนในฝั่งเดียวกันมีคำตอบเดียว กันทั้งหมด การจัดลำดับผิดหรือการประเมินอะไรเข้าข้างตัวเองจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่อย่างไม่มีความจำเป็น
ที่มา:http://www.facebook.com/note.php?note_id=478600134809&id=600452703
------------------------------------------
ภายหลังจากที่งาน"เราไม่ทอดทิ้งกัน"ลุล่วงไปได้มีข้อถกเถียงเรื่องของการให้คุณค่าและการจัดวางบทบาทของตนเองในขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงของนักกิจกรรมทางสังคมกลุ่มหนึ่ง บันทึกสั้นๆในเฟซบุ๊คชิ้นนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาและแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่ความชัดเจนข้างหน้า
อ่านที่หลายคนพูดกันไปมาหลังจากงานเรา"ไม่ทอดทิ้งกัน"แล้วมีข้อสังเกตว่าเรื่องแดงแท้แดงสลิ่มเป็นคำที่คนชั้นกลางอยากแดงสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น คำนี้มีคนทั่วไปใช้ที่ไหน เวลาไปงานในพื้นที่ต่างๆ ก็ไม่เคยได้ิยิน คำนี้เกิดจากความอึดอัดในสังคมคนชั้นกลางเอง โดยเฉพาะหลังการปราบปี 53 จนเกิดความต้องการอัตลักษณ์ใหม่เพื่อแยกตัวเองจากคนชั้นกลางอื่นๆ อัตลักษณ์นี้ไม่ผิด ควรมี แต่การมีอัตลักษณ์นี้ไม่ควรนำไปสู่การคิดเองเออเองว่าึคนทั้งหมดต้องเป็นแบบ เดียว ใครเป็นแบบอื่นผิด ไม่แจ๋ว ไม่แน่จริง คนแต่ละคนมีเงื่อนไขมีความถนัดมีรสนิยมต่างกัน ว่ากันไม่ได้ ไม่เห็นประโยชน์ของการว่ากันแบบนี้ เห็นแต่ผลที่จะทำให้คนอยากทำอะไรร่วมกันน้อยลง
นี่ไม่ได้ หมายความว่าเราไม่ควรวิจารณ์หรือตั้งคำถามกันเอง แต่การวิจารณ์หรือการตั้งคำถามที่ดีในความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เหมือนการ วิจารณ์หรือตั้งคำถามในเรื่องศิลปะหรือเรื่องอื่นๆ การวิจารณ์ที่ดีต้องช่วยให้อีกฝ่ายเปลี่ยนผ่านจากข้างใน ให้เขาเ็ห็นปัญหาเห็นข้อจำกัดของวิธีคิดต่างๆ ให้เขาเลือกเองตามความถนัดหรือเงื่อนไขที่แวดล้อมตัวเขา ไม่ใช่วิจารณ์แบบตั้งตัวเองเป้นศาสดาหรือเจ้าพ่อศีลธรรมที่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด และทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงตามที่ข้าพเจ้าเห็นว่าดี
อ่านความเห็นต่อไปยิ่งพบว่ากระแสคำแบบนี้เลยเถิดไปขนาดไล่ล่าคนที่ไม่เหมือนกัน ว่าเป็นแดงเทียม แดงหากิน แดงมือใหม่ แดงฟันน้ำนม ฯลฯ คุณบุญชิตพูดไว้ดีว่าเอียงแดงแล้วมีอะไรให้หากินได้ที่ไหน ในทางตรงข้าม คือทำให้ไม่มีจะกินมากกว่า เรื่องแดงมือใหม่แดงฟังน้ำนมนี่ยิ่งเลอะเทอะ มีใครในโลกนี้เป็นแดงตั้งแต่ต้น ความเป็นเสื้อแดงเพิ่งเกิดไม่กี่ปีนี้ ซ้ำหลายคนทีไล่ล่าคนอื่นว่าแดงน้อยไปก็ไม่ได้พูดอะไรเมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 ที่เคยเห็นด้วยกับรัฐประหารมากบ้างน้อยบ้างก็มี
เมื่อตอนที่ไทยรักไทยถูกยุบพรรค เท่าที่จำได้ก็คือแทบไม่มีนักวิชาการคนไหนแสดงความคิดเห็นคัดค้าน ตอนเกิดสิบเมษา 52 หรือ 53 หลายคนหายไปแม้กระทั่้งการโพสท์ข้อความในเว็บ แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรมาวัดว่าแดงแท้แดงเทียม? ประโยชน์ของการวัดแบบนี้คืออะไรนอกจากทำให้ขบวนการที่มีคนหลายกลุ่มเข้าร่วม กลายเป็นขบวนการผูกขาดคลั่งคัมภีร์
บางคนบอกว่าของแท้ ต้องกล้าแตะบางเรื่อง แต่เมื่อมีหลายคนในอดีตทำแล้วเดือดร้อน มีใครคุ้มครองหรือช่วยเหลือพวกเขาได้? อันที่จริงถ้าใช้เกณฑ์นี้วัดความเป็นของแท้แล้วก็จะยิ่งพบว่าคนเป็นของแท้ แทบไม่เหลือสักราย
ในอดีตแม้แต่คนที่ radical มากๆ อย่างปรีดีก็หลีกเลี่ยงไม่พูดเรื่องนี้อีกหลัง 2475 แม้กระทั่งงานปรีดีช่วงอยู่จีนหรือฝรั่งเศสก็แตะเรื่องแบบนี้เบาบาง อ้อมค้อม และต้องมีความเข้าใจบางแบบมากพอจึงจะเข้าใจสารของปรีดี อย่างนี้แปลว่าแท้หรือไม่แท้? นักการเมืองฝ่ายที่คิดว่าเป็นพวกเดียวกันส่วนใหญ่ก็ระมัดระวังในเรื่องทำนอง นี้ คำถามคือคนเหล่านี้แท้หรือเทียม? หรือจริงๆ คำถามนี้ผิดเพราะคำตอบคือเราวัดใครแบบฉาบฉวยไม่ได้นอกจากต้องประเมินกันในระยะยาว การโฉ่งฉ่างไล่ล่าไล่ประนามคนจึงไม่มีความจำเป็น และการวิจารณ์ไม่ควรล้ำเส้นจนกลายเป็นการทำอะไรแบบนี้
ความกล้าเป็นเรื่องดี แต่ความไม่กล้าหรือความกลัวก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะคนแต่ละคนมีเงื่อนไขหรือมีเหตุไม่เหมือนกัน คนที่เรียกร้องให้คนอื่นกล้าหาญอาจไม่ใช่้คนกล้าที่สุดในวันที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นจริงก็ได้ ลองย้อนกลับไปทบทวนความจำเดือนเมษาและพฤษภาก็จะเห็นเองว่าใครอยู่ที่ไหนและทำหรือไม่ทำอะไรเลยในขณะนั้น ใครแสดงตัว ใครหายไปเฉยๆ
การเอาวาทกรรมความกล้าไว้แบล็คเมล์คนอื่นนั้นเป็นเรื่องเหลวไหล เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของการอุทิศตัวเอง ไม่ใช่การเรียกร้องคาดคั้น ถึงคาดคั้นก็เปลี่ยนคนไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไรจากการคาดคั้น ยิ่งกว่านั้นคือทุกคนมีสิทธิถูกคนอื่นประณามแบบนี้ได้ตลอดเวลา
โจทย์ใหญ่ที่เป็นปัญหาร่วมของคนทั้งหมดมากที่สุดในตอนนี้คือ การไม่มีประชาธิปไตย เสียงประชาชนและการเลือกตั้งถูกทำให้อยู่ใต้เสียงเหนือประชาชนและสถาบันนอกการเลือกตั้ง โจทย์อื่นเป็นประเด็นสำคัญแต่ไม่ได้แปลว่าทุกคนในฝั่งเดียวกันมีคำตอบเดียว กันทั้งหมด การจัดลำดับผิดหรือการประเมินอะไรเข้าข้างตัวเองจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่อย่างไม่มีความจำเป็น
ที่มา:http://www.facebook.com/note.php?note_id=478600134809&id=600452703
------------------------------------------
467จุดเสี่ยง "นครบาล"ปรับแผนในการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุความไม่สงบ ทั่วเมืองกรุงฯ-บ้านคนสำคัญ
ที่มา.มติชนออนไลน์
หมายเหตุ - พื้นที่เฝ้าระวัง 467 จุด ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) ปรับแผนในการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันเหตุความไม่สงบ
พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษอย่างยิ่ง (143 จุด)
1. พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
2. ทำเนียบรัฐบาล
3. รัฐสภา
4. พระที่นั่งอัมพรสถาน
5. สถานีโทรทัศน์ช่อง 9
6. รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพระราม 9
7. รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ
8. รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีห้วยขวาง
9. ห้างคิงส์เพาว์เวอร์
10.กระทรวงการต่างประเทศ
11.สถานีบีทีเอสราชเทวี
12.สถานีบีทีเอสพญาไท
13.สถานีบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยฯ
14.สถานีบีทีเอสสนามเป้า
15.สถานีแอร์พอร์ทลิ้งค์ พญาไท
16.สถานีแอร์พอร์ทลิ้งค์ ราชปรารถ
17.อนุสาวรีย์สมรภูมิ
18.ประตูน้ำ, หน้าโรงแรมอินทรา
19.รถไฟใต้ดินสถานีเพชรบุรี
20.สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 5
21.บ้านพักนายชวน หลีกภัย
22.สถานีแอร์พอร์ทลิ้งค์ มักกะสัน
23.กองบัญชาการกองทัพบก
24.บ้านพิษณุโลก
25.พรรคการเมืองใหม่
26.วังเทเวศร์
27.ศาลฎีกา
28.บ้านเจ้าพระยา
29.บ้านพระอาทิตย์
30.ท่าพระจันทร์
31.วังสุโขทัย
32.บ้านประธานองคมนตรี
33.มูลนิธิรัฐบุรุษ
34.พรรคประชาธิปัตย์
35.สถานีรถไฟใต้ดินสวนจตุจักร
36.สถานีรถไฟใต้ดินกำแพงเพชร
37.สถานีบีทีเอสหมอชิต
38.สถานีบีทีเอสสะพานควาย
39.สถานีบีทีเอสซอยอารีย์
40.สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที)
41.สถานีรถไฟใต้ดินห้วยขวาง
42.สถานีรถไฟใต้ดินสุทธิสาร
43.สถานีรถไฟใต้ดินรัชดาภิเษก
44.สถานีรถไฟใต้ดินลาดพร้าว
45.สถานีรถไฟใต้ดินพหลโยธิน
46.เมเจอร์รัชโยธิน
47.สถานีรถไฟใต้ดินลาดพร้าว
48.สถานีรถไฟใต้ดินพหลโยธิน
49.สถานีรถไฟใต้ดินบางซื่อ
50.พรรคภูมิใจไทย
51.ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
52.คลังน้ำมันปาร์ฟ ดอนเมือง
53.สถานีขนส่งหมอชิต
54.สถานีรถไฟบางซื่อ
55.สะพานควาย
56.หน้าสวนจตุจักร
57.เซ็นทรัลลาดพร้าว
58.สนามบินดอนเมือง
59.บ้านพัก รมว.กลาโหม มีนบุรี
60.บ้านพักนายเนวิน ชิดชอบ พื้นที่ สน.ฉลองกรุง
61.บ้านพัก พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ
62.เดอะมอลล์บางกะปิ, ตะวันนา
63.หน้าห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
64.สำนักการไฟฟ้านครหลวง เขตยานนาวา
65.บ้านพัก รมว.มหาดไทย ย่านบางโพงพาง
66.คลังสยามแก๊ส ย่านบางโพงพาง
67.วังรื่นฤดี
68.วังเลอดิส
69.สถานีบีทีเอสทองหล่อ
70.สถานีบีทีเอสพร้อมพงษ์
71.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท
72.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์สิริกิติ์
73.บ้านพักนายกรัฐมนตรี
74.บ้านพัก รมว.คลัง ย่านทุ่งมหาเมฆ
75.สถานีบีทีเอสศาลาแดง
76.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม
77.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี
78.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย
79.สถานีบีทีเอสช่องนนทรี
80.บ้านพักแม่ภริยานายกรัฐมนตรี ย่านทุ่งมหาเมฆ
81.คลังน้ำมันคาลเท็กซ์ ย่านทุ่งมหาเมฆ
82.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม
83.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี
84.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย
85.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
86.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท
87.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอโศก
88.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสนานา
89.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต
90.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม
91.สถานีบีทีเอสราชดำริ
92.ห้างบิ๊กซีราชดำริ
93.โรงกลั่นน้ำมัน บางจาก
94.คลังน้ำมัน ปตท. พระโขนง
95.สถานีบีทีเอสอ่อนนุช
96.คลังน้ำมันเชลล์ ช่องนนทรี
97.คลังน้ำมัน ปตท.พระโขนง เขต สน.ท่าเรือ
98.ตลาดคลองเตย
99.โรงไฟฟ้าแรงสูงบางกะปิ
100.สถานีบีทีเอสเอกมัย
101.สถานีบีทีเอสพระโขนง 102.สถานีขนส่งเอกมัย 103.สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 104.ธ.กรุงเทพ สีลม 105.แยกราชประสงค์และห้างสรรพสินค้าโดยรอบ 106.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 107.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 108.พระบรมมหาราชวัง 109.ทำเนียบองคมนตรี 110.บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศ 111.กระทรวงกลาโหม 112.วังสระปทุม 113.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 14.หน้าห้างฯมาบุญครอง 115.ห้างโลตัสพระราม 1 116.สยามและห้างฯ โดยรอบ 117.รพ.จุฬาลงกรณ์ 118.สถานีบีทีเอสตากสิน 119.สถานีบีทีเอสสุรศักดิ์ 120.สถานีบีทีเอสช่องนนทรี
121.บริเวณเยาวราช 122.สถานีรถไฟหัวลำโพง 123.บ้านพักนายบรรหาญ ศิลปอาชา 124.รพ.ศิริราช 125.บ้านพักนายสุเทพ เทือกสุบรรณ 126.บ้านพักพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา 127.เซ็นทรัลปิ่นเกล้าและโรงหนังเมเจอร์128.สถานีขนส่งสายใต้ 129. สถานีบีทีเอสวงเวียนใหญ่ 130.สถานีบีทีเอสธนบุรี
131.เชิงสะพานพระราม 8 แยก จปร. 132.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางเบี่ยงรพ.ศิริราช 133.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางร่วมสะพานพระราม 8 134.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางลงตลิ่งชัน 135.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางขึ้นสาย 3 136.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางขึ้นวงแหวน 137.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางลงสิรินธร 138.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางขึ้นตลิ่งชัน 139.สูงข่ คลังน้ำมัน BAF 140.สูงข่ม ทางลงยกระดับ คลังน้ำมันบางจาก 141.สูงข่ม คลังน้ำมันเลียบแม่น้ำ 142.สูงข่มที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ 143.สูงข่ม สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที
----------------------
พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ (164 จุด)
1.ลานพระราชวังดุสิต 2.กระทรวงศึกษาธิการ 3.ที่ทำการ ป.ป.ช. 4.อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก 5.หน้าห้างสรรพสินค้าฟอร์จูน รัชดาภิเษก 6.รร.สยามซิตี้ 7.ท่าเรือประตูน้ำ 8.โรงผลิตน้ำสามเสน 9.สถานีไฟฟ้าย่อยโยธี 10.พรรคเพื่อไทย
11.สถานีไฟฟ้าย่อยศูนย์วิจัย 12.กระทรวงแรงงาน 13.ศูนย์การค้าแฟชั่นมอลล์ ดินแดง 14.สถานีต้นทางไฟฟ้าย่อยวิภาวดี 15.องค์การสหประชาชาติ 16.ธ.กรุงเทพ สาขาสะพานขาว 17.สถานีไฟฟ้าย่อยบางขุนพรหม 18.สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 19.บ้านนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 20.บ้านนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ
21.กระทรวงการคลัง 22.ธ.กรุงเทพ สาขาประดิพัทธ์ 23.ธ.กรุงเทพ สาขาซอยอารีย์ 24.บ้านนายวิชัย วิวิตเสวี เลขาฯ ป.ป.ช. 25.บ้านนายสุพจน์ ไข่มุกต์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) 26.บ้านนายบุญส่ง กุลบุปผา (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) 27.สถานีไฟฟ้าแรงสูงย่อยรัชดาภิเษก 28.อาคารชินวัตร 3 29.บ้านนายประสาท พงษ์ศิวาภัย ป.ป.ช. 30.บ้านนายพิทักษ์ คงจันทร์ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง
31.บ้านนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี 32.บ้านนายอภิชาติ สุขขัคคานนท์ ประธาน กกต. 33.บ้านนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี 34.บ้าน ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล รองประธานศาลฎีกา 35.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัส นวมินทร์ 36.ธ.กรุงเทพ สาขาปั๊มน้ำมัน ป.ต.ท. ถนนประดิษฐ์มนูธรรม 37.บ้านนายสาธิต วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 38.ที่ทำการย่อยพรรคประชาธิปัตย์ เขตสายไหม 39.บ้านนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง 40.บ้านนายอิสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.สถานีรถไฟดอนเมือง 42.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนสรงประภา 43.ศาลจังหวัดมีนบุรี44.ธ.กรุงเทพ สาขามีนบุรี 45.ห้างบิ๊กซี ถนนรามคำแหง 46.บ้านพักจุฬาราชมนตรี47.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนเลียบวารี 48.ห้างท๊อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต หนองจอก 49.ธ.กรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 77 50.ศูนย์การค้าเดอะพาซิโอ ลาดกระบัง
51.ห้างคาร์ฟูร์ สาขาเคหะร่มเกล้า 52.ห้างคาร์ฟูร์ สาขาหทัยราษฎร์ 53.ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ 54.สถานีไฟฟ้าแรงสูงหนองจอก 55.สถานีไฟฟ้าย่อยสุวินทวงศ์ 56.กองโรงงานและอะไหล่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่านลำผักชี 57.สำนักงานขนส่งพื้นที่ 4 เขตสุวินทวงศ์ 58.การไฟฟ้านครหลวงบางกะปิ 59.ธ.กรุงเทพ สาขาหัวหมาก 60.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยรามคำแหง 28
61.ธ.กรุงเทพ สาขาคลองจั่น 62.ศูนย์การค้าตะวันนา ลาดพร้าว 63.ห้างอิมพิเรียลลาดพร้าว 64.ธ.กรุงเทพ สาขานาคนิวาส 65.หมู่บ้านนวธานี บึงกุ่ม (มีบ้านพักบุคคลสำคัญ) 66.สำนักสันติอโศก 67.ธ.กรุงเทพ สาขาอินทรารักษ์ 68.ธ.กรุงเทพ สาขารามคำแหง) 69.ธ.กรุงเทพ สาขาสวนสยาม 70.ธ.กรุงเทพ สาขารามอินทรา
71.ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค 72.ธ.กรุงเทพ แยกพัฒนาการ 73.ธ.กรุงเทพ สาขารามคำแหง 2 74.ธ.กรุงเทพ สาขาคาร์ฟูร์สวนหลวง 75.บ้านนายใจเด็ด พรไชยา ย่านลาดพร้าว 76.บ้านนายไพโรจน์ วายุภาพ ย่านลาดพร้าว 94 77.สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 78.สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา 79.สถานีไฟฟ้าย่อยยานนาวา 80.สถานีไฟฟ้าย่อยบางโคล่
81.สถานีไฟฟ้าย่อยมหาเมฆ 82.สถานีไฟฟ้าย่อยบางโพงพาง 83.สถานีไฟฟ้าย่อยประสานมิตร 84.สถานีไฟฟ้าย่อยคลองเตย (ไผ่สิงโต) 85.สถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าย่อยนนทรีย์ 86.โรงไฟฟ้าย่อยพระโขนง 87.ธ.กรุงเทพ สาขาเจริญกรุง 88.ธ.กรุงเทพ สาขาแฉล้มนิมิตร 89.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนจันทร์ 90.ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 3
91.พรรคประชาธิปัตย์ ซ.สาธุประดิษฐ์ 57 92.ธ.กรุงเทพ สาขาสาธุประดิษฐ์ 93.ธ.กรุงเทพ สาขารัชดา-ท่าเรือ 94.ศูนย์คอมพิวเตอร์ ธ.กรุงเทพฯ 95.ห้างดิเอ็มโพเรียม 96.ธ.กรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 97.ธ.กรุงเทพ สาขาทองหล่อ 98.ธ.กรุงเทพ สาขาเอกมัย 99.ธ.กรุงเทพ สาขาเอ็มโพเรียม 100.ธ.กรุงเทพ สาขาเอ็กเชน
101.ธ.กรุงเทพ อาคารมาลีนนท์ 102.ธ.กรุงเทพ สาขาคาร์ฟูร์ทองหล่อ 103.บ้านปลายเนิน/การไฟฟ้านครหลวงคลองเตย 104.ธ.กรุงเทพฯ สาขาสุนทรโกษา 105.อาคารซีพีทาวเวอร์ 106.ถนนราชดำริ 107.ห้างเกษรพลาซ่า 108.ธ.กรุงเทพ สาขาคาร์ฟูร์ พระโขนง 109.บ้านพักนายเมธี ครองแก้ว ป.ป.ช. 110.บ้านพักนายบัญญัติ บรรทัดฐาน 111.ธ.กรุงเทพ สาขาบางจาก 112.ธ.กรุงเทพ สาขาอ่อนนุช 16 113.บ้านพัก ซ.อุดมสุข 29 114.ธ.กรุงเทพ ทุกสาขาในพื้นที่ สน.บางนา 115.กรมศุลกากร 116.ธ.กรุงไทย สาขากรมศุลกากร 117.ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สน.ท่าเรือ 118.ที่ทำการพรรคเพื่อไทย สน.ท่าเรือ 119.ที่ทำการพรรคการเมืองใหม่ สน.ท่าเรือ 120.ซ.ปรีดี 45
121.ธ.กรุงเทพ สาขาฮอโรซอน เอกมัย 122.ธ.กรุงเทพ สาขาพระโขนง 123.ธ.กรุงเทพ สาขากล้วยน้ำไท 124.ธ.กรุงเทพสาขาคลองตัน 125.ธ.กรุงเทพ สาขาตลาดน้อย 126.ถนนพัฒน์พงษ์ 127.สถานีไฟฟ้าย่อยซอยรุ่งประชา 128.ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สาขาบางพลัด 129.ห้างเทสโก้โลตัส สาขาจรัญสนิทวงศ์ 130.บ้านพัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
131.บ้านพักนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ 132.ใต้สะพานพระราม 8 133.ร้านโลตัสเอ็กเพรส และแยกพาณิชยการธนบุรี 134.บ้านพักนายฐานันท์ วรรณโกวิท ผู้พิพากษา 135.สถานีไฟฟ้าย่อยธนบุรี 136.บ้านพักนางสดศรี สัตยธรรม กกต.137.ลานพระรูปฯ วงเวียนใหญ่ 138.สถานีไฟฟ้าย่อยคลองสาน 139.หน้าห้างเดอะมอลล์ท่าพระ 140.ตลาดท่าน้ำคลองสาน 141.โรงไฟฟ้าย่อยราษฎร์บูรณะ 142.คลังน้ำมันสยาม ถนนราษฎร์บูรณะ 143.โรงไฟฟ้าย่อยถนนพระราม 2 144.ประปา ถนนพระราม 2 145.สถานีก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี บริษัท ปตท.จำกัด สน.ทุ่งครุ
146.สถานีไฟฟ้าย่อยภาษีเจริญ 147.สถานีการไฟฟ้าย่อยบางกอกน้อย 148.สถานีการไฟฟ้าย่อยหนองแขม 149.สถานีการไฟฟ้าย่อยหนองแขม 150.สถานีการไฟฟ้าย่อยนครหลวงเขตบางขุนเทียน 151.สถานีการไฟฟ้าย่อยบางขุนเทียน-ชายทะเล 152.สถานีการไฟฟ้าย่อยบางบอน 153.สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 154.สำนักงานหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 155.สำนักงานหนังสือพิมพ์แนวหน้า 156.สำนักงานใหญ่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 157.กระทรวงการคลัง 158.กระทรวงการต่างประเทศ 159.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 160.บ้านพักนายชวน หลีกภัย 161.บ้านพัก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ 162.บ้านพักนายบัญญัติ บรรทัดฐาน 163.สถานีการไฟฟ้าย่อยสุขสวัสดิ์ 164.สถานีการไฟฟ้าบางกะปิ กก.2 บก.จร.
--------------------
พื้นที่เฝ้าระวัง (160 จุด)
1.ที่ทำการ บช.น. 2.บ้านนายวิชา มหาคุณ ป.ป.ช. 3.สถานีไฟฟ้าย่อยดินแดง 4.ธ.กรุงเทพ สาขาเหม่งจ๋าย 5.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนรัชดา 6.สถานีไฟฟ้าย่อยมักกะสัน 7.สถานีไฟฟ้าย่อยกิ่งเพชร 8.บ้านนายกล้านรงค์ จันทิก 9.ห้างประตูน้ำเซ็นเตอร์ 10.ห้างแพทตินั่ม / ธ.กรุงเทพ
11.ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า / ธ.กรุงเทพ 12.ธ.กรุงเทพ อาคารพญาไท 13.ธ.กรุงเทพ สนามเป้า 14.ธ.กรุงเทพ อุรุพงษ์ 15.ธ.กรุงเทพ อาคารวานิช 16.สถานีไฟฟ้าย่อยนานา 17.ธ.กรุงเทพ สาขาเพชรบุรี 18.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนพระราม 9 19.ธ.กรุงเทพ สาขาห้วยขวาง 20.ธ.กรุงเทพ สาขามหานาค
21.ธ.กรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า 22.มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย 23.ธ.กรุงเทพ สาขาบางลำพู ส24.สถานีไฟฟ้าย่อยสามเสน 25.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยแม็คโคร สามเสน 26.ธ.กรุงเทพ สาขาราชวิถี 27.ธ.กรุงเทพ สาขาศรีย่าน 28.ห้างบิ๊กซี สาขาสะพานควาย 29.ห้างโลตัส แยกลำกระโหลก 30.ห้างท็อปซุปเปอร์ ถนนสายไหม
31.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนสายไหม 32.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนสุขาภิบาล 5 33.การประปานครหลวง ทุ่งสองห้อง 34.การไฟฟ้าย่อยแจ้งวัฒนะ35.การไฟฟ้าย่อยทุ่งสองห้อง 36.สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี 37.สถานีโรงไฟฟ้าย่อย ร่มเกล้า 38.สวน 60 พรรษา ร่มเกล้า 39.สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรม สน.ฉลองกรุง 40.สถานีไฟฟ้าย่อยซอยเทเลคอม สน.ฉลองกรุง
41.ศูนย์การค้าไอเพลส สน.ฉลองกรุง 42.ตลาดแย้มเจริญรัตน์ ถนนฉลองกรุง 43.สถานีรถไฟหัวตะเข้ 44.สถานีรถไฟพระจอมเกล้า 45.ธ.กรุงเทพ ตลาดอุดมผล 46.คลังสินค้าบริษัทซีพีออล 47.สถานีไฟฟ้าย่อยคลองจั่น 48.ห้างน้อมจิตต์ ลาดพร้าว 49.สถานีไฟฟ้าย่อยฯ ซอยเสรีไทย 73 สน.บางชัน 50.ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ บางชัน
51.โรงไฟฟ้าแรงสูง ซอยอ่อนนุช 65 52.สถานีไฟฟ้าย่อยกิ่งแก้ว 53.ศาลแขวงพระนครใต้ 54.ปั๊มน้ำมันบางจาก ถ.พระราม 3 55.ปั๊มน้ำมัน ปตท. ถ.พระราม 3 56.ปั๊มน้ำมันบางจาก ถ.เจริญราษฎร์57.ปั๊มแก๊สเอ็นจีวี ถ.เจริญราษฎร์ 58.ห้างเทสโก้โลตัส พระราม 3 59.ห้างคาร์ฟูร์พระราม 4 60.ห้างโลตัสพระราม 4
61.อาคารชิโนไทย 62.อาคารทีพีไอทาวเวอร์ 63.อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ 64.อาคารล็อกซ์เลย์ ถ.สุนทรโกษา 65.ห้างโลตัสพระราม 4 66.อาคารเดอะเนชั่น 67.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลซิตี้ บางนา 68.ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีบางนา 69.สนข.คลองเตย 70.การท่าเรือแห่งประเทศไทย 71.เขตการเดินรถที่ 4 ท่าเรือ 72.ธ.ไทยพาณิชย์ สาขากรมศุลกากร 73.ศาลเจ้าพ่อมังกรเขียว ท่าเรือ 74.ป้ายหยุดรถประจำทางร้านทองศรีสุพรรณ ท่าเรือ 75.ป้ายหยุดรถประจำทางเขตการเดินรถที่ 4 ท่าเรือ 76.ห้างจัสโก้ เอกมัย 77.ห้างบิ๊กซี เอกมัย 78.การไฟฟ้านครหลวง สน.พระราชวัง 79.ตลาดพาหุรัด 80.วังบูรพาภิรมย์
81.ธ.กรุงเทพ สาขาสำเพ็ง 82.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยห้างโลตัส จักรวรรดิ 83.ธ.กรุงเทพ สาขาราชวงศ์ 84.กระทรวงมหาดไทย 85.ศาลาว่าการ กทม. 86.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 87.การไฟฟ้าย่อยสะพานดำ 88.คลองถมเซ็นเตอร์ 89.ธ.กรุงเทพ สาขาพลับพลาไชย 90.ธ.กรุงเทพ สาขามิตรสัมพันธ์
91.ธ.กรุงเทพ สาขาเยาวราช 92.สภากาชาด 93.วัดปทุมนาราม 94.ไปรษณีย์กลาง 95.ศาลแรงงานกลาง 96.ศาลแขวงปทุมวัน 97.สถานีไฟฟ้าย่อยสุรวงศ์ 98.สถานีไฟฟ้าย่อยสี่พระยา 99.สถานทูต เขต สน.บางรัก 100.ห้างโรบินสันบางรัก
101.สถานีไฟฟ้าย่อยสุรศักดิ์ 102.สถานีไฟฟ้าย่อยศรีเวียง 103.สถานีไฟฟ้าย่อยสีลม 104.แขวงการทางตลิ่งชัน 105.กระทรวงวัฒนธรรม 106.สำนักงานที่ดิน บางกอกน้อย 107.ธ.กรุงเทพ สาขาบางพลัด 108.ธ.กรุงเทพ สาขาบางยี่ขัน 109.ห้างตั้งฮั่วเส็ง สาขาธนบุรี 110.ธ.กรุงเทพ สาขาพระปิ่นเกล้า
111.กรมบังคับคดี บางขุนนนท์ 112.ธ.กรุงเทพ สาขาบางกอกน้อย 113.ห้างฟู้ดส์แลนด์ บางกอกน้อย 114.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนจรัญฯ 13 115.ปั๊มน้ำมัน ป.ต.ท.ถนนเพชรเกษม 116.ธ.กรุงเทพ สาขาตลิ่งชัน สน.ตลิ่งชัน 117.ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) 118.ธ.กรุงเทพ ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) 119.ที่จอดรถบีทีเอส ตลาดพลู 120.ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ สาขาถนนอิสรภาพ
121.ห้างฯโรบินสัน สาขาลาดหญ้า 122.ธ.กรุงเทพ สาขาเจริญภาศน์ 123.ธ.กรุงเทพ สาขาธนบุรี 124.ห้างบิ๊กซี ดาวคะนอง 125.ห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ 126.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนสุขสวัสดิ์ 127.สะพานพุทธยอดฟ้าฯ 128.ท่าน้ำราษฎร์บูรณะ 129.ปั๊มแก๊สแอลพีจี ถนนเทอดไท 130.ปั๊มแก๊สแอลพีจี ถนนเพชรเกษม
131.ปั๊มแก็สเอ็นจีวี ถนนเพชรเกษม 132.ปั๊มแก็สแอลพีจี 133.ห้างไอทีแกรนด์ 134.ห้างเทสโก้โลตัส 135.ห้างเดอะมอลล์บางแค 136.รพ.เกษมราษฎร์ 137.แยกสุขาภิบาล 1 138.ห้างบิ๊กซี เพชรเกษม 139.บ้านนายแก้วสรร อติโพธิ 140.ห้างคาร์ฟูร์เพชรเกษม
141.ธ.ไทยพาณิชย์ 142.สำนักงานเขตหนองแขม 143.ปั๊มแก็สแอลีพีจี 144.ปั๊มแก็สแอลพีจี 145.ธ0นครหลวงไทย 146.จุดตรวจบางบอน 3 147.ปั๊มแก๊สเอ็นจีวี 148.ห้างแมคโคร บางบอน 149.ห้างคาร์ฟูร์ บางบอน 150.ศาลอาญาธนบุรี
151.จุดรับแจ้งเหตุนิลกาศ 152.ธ.ไทยพาณิชย์ 153.ปั๊มแก๊สแอลพีจี 154.ห้างเซ็นทรัลพระราม 2 155.ห้างบิ๊กซีพระราม 2 156.ธ.ไทยพาณิชย์ 157.ปากซอยบางกระดี่ 158.ปากซอยวัดแสมดำ 159.สำนักงานขนส่งพื้นที่ 1 160.ม.เทคโนโลยีธนบุรี
(ลำดับที่ 129-160 อยู่ในพื้นที่และความรับผิดชอบของ บก.น.9)
------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ - พื้นที่เฝ้าระวัง 467 จุด ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) ปรับแผนในการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันเหตุความไม่สงบ
พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษอย่างยิ่ง (143 จุด)
1. พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
2. ทำเนียบรัฐบาล
3. รัฐสภา
4. พระที่นั่งอัมพรสถาน
5. สถานีโทรทัศน์ช่อง 9
6. รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพระราม 9
7. รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ
8. รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีห้วยขวาง
9. ห้างคิงส์เพาว์เวอร์
10.กระทรวงการต่างประเทศ
11.สถานีบีทีเอสราชเทวี
12.สถานีบีทีเอสพญาไท
13.สถานีบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยฯ
14.สถานีบีทีเอสสนามเป้า
15.สถานีแอร์พอร์ทลิ้งค์ พญาไท
16.สถานีแอร์พอร์ทลิ้งค์ ราชปรารถ
17.อนุสาวรีย์สมรภูมิ
18.ประตูน้ำ, หน้าโรงแรมอินทรา
19.รถไฟใต้ดินสถานีเพชรบุรี
20.สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 5
21.บ้านพักนายชวน หลีกภัย
22.สถานีแอร์พอร์ทลิ้งค์ มักกะสัน
23.กองบัญชาการกองทัพบก
24.บ้านพิษณุโลก
25.พรรคการเมืองใหม่
26.วังเทเวศร์
27.ศาลฎีกา
28.บ้านเจ้าพระยา
29.บ้านพระอาทิตย์
30.ท่าพระจันทร์
31.วังสุโขทัย
32.บ้านประธานองคมนตรี
33.มูลนิธิรัฐบุรุษ
34.พรรคประชาธิปัตย์
35.สถานีรถไฟใต้ดินสวนจตุจักร
36.สถานีรถไฟใต้ดินกำแพงเพชร
37.สถานีบีทีเอสหมอชิต
38.สถานีบีทีเอสสะพานควาย
39.สถานีบีทีเอสซอยอารีย์
40.สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที)
41.สถานีรถไฟใต้ดินห้วยขวาง
42.สถานีรถไฟใต้ดินสุทธิสาร
43.สถานีรถไฟใต้ดินรัชดาภิเษก
44.สถานีรถไฟใต้ดินลาดพร้าว
45.สถานีรถไฟใต้ดินพหลโยธิน
46.เมเจอร์รัชโยธิน
47.สถานีรถไฟใต้ดินลาดพร้าว
48.สถานีรถไฟใต้ดินพหลโยธิน
49.สถานีรถไฟใต้ดินบางซื่อ
50.พรรคภูมิใจไทย
51.ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
52.คลังน้ำมันปาร์ฟ ดอนเมือง
53.สถานีขนส่งหมอชิต
54.สถานีรถไฟบางซื่อ
55.สะพานควาย
56.หน้าสวนจตุจักร
57.เซ็นทรัลลาดพร้าว
58.สนามบินดอนเมือง
59.บ้านพัก รมว.กลาโหม มีนบุรี
60.บ้านพักนายเนวิน ชิดชอบ พื้นที่ สน.ฉลองกรุง
61.บ้านพัก พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ
62.เดอะมอลล์บางกะปิ, ตะวันนา
63.หน้าห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
64.สำนักการไฟฟ้านครหลวง เขตยานนาวา
65.บ้านพัก รมว.มหาดไทย ย่านบางโพงพาง
66.คลังสยามแก๊ส ย่านบางโพงพาง
67.วังรื่นฤดี
68.วังเลอดิส
69.สถานีบีทีเอสทองหล่อ
70.สถานีบีทีเอสพร้อมพงษ์
71.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท
72.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์สิริกิติ์
73.บ้านพักนายกรัฐมนตรี
74.บ้านพัก รมว.คลัง ย่านทุ่งมหาเมฆ
75.สถานีบีทีเอสศาลาแดง
76.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม
77.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี
78.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย
79.สถานีบีทีเอสช่องนนทรี
80.บ้านพักแม่ภริยานายกรัฐมนตรี ย่านทุ่งมหาเมฆ
81.คลังน้ำมันคาลเท็กซ์ ย่านทุ่งมหาเมฆ
82.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม
83.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี
84.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย
85.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
86.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท
87.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอโศก
88.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสนานา
89.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต
90.สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม
91.สถานีบีทีเอสราชดำริ
92.ห้างบิ๊กซีราชดำริ
93.โรงกลั่นน้ำมัน บางจาก
94.คลังน้ำมัน ปตท. พระโขนง
95.สถานีบีทีเอสอ่อนนุช
96.คลังน้ำมันเชลล์ ช่องนนทรี
97.คลังน้ำมัน ปตท.พระโขนง เขต สน.ท่าเรือ
98.ตลาดคลองเตย
99.โรงไฟฟ้าแรงสูงบางกะปิ
100.สถานีบีทีเอสเอกมัย
101.สถานีบีทีเอสพระโขนง 102.สถานีขนส่งเอกมัย 103.สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 104.ธ.กรุงเทพ สีลม 105.แยกราชประสงค์และห้างสรรพสินค้าโดยรอบ 106.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 107.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 108.พระบรมมหาราชวัง 109.ทำเนียบองคมนตรี 110.บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศ 111.กระทรวงกลาโหม 112.วังสระปทุม 113.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 14.หน้าห้างฯมาบุญครอง 115.ห้างโลตัสพระราม 1 116.สยามและห้างฯ โดยรอบ 117.รพ.จุฬาลงกรณ์ 118.สถานีบีทีเอสตากสิน 119.สถานีบีทีเอสสุรศักดิ์ 120.สถานีบีทีเอสช่องนนทรี
121.บริเวณเยาวราช 122.สถานีรถไฟหัวลำโพง 123.บ้านพักนายบรรหาญ ศิลปอาชา 124.รพ.ศิริราช 125.บ้านพักนายสุเทพ เทือกสุบรรณ 126.บ้านพักพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา 127.เซ็นทรัลปิ่นเกล้าและโรงหนังเมเจอร์128.สถานีขนส่งสายใต้ 129. สถานีบีทีเอสวงเวียนใหญ่ 130.สถานีบีทีเอสธนบุรี
131.เชิงสะพานพระราม 8 แยก จปร. 132.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางเบี่ยงรพ.ศิริราช 133.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางร่วมสะพานพระราม 8 134.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางลงตลิ่งชัน 135.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางขึ้นสาย 3 136.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางขึ้นวงแหวน 137.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางลงสิรินธร 138.ทางยกระดับลอยฟ้า ทางขึ้นตลิ่งชัน 139.สูงข่ คลังน้ำมัน BAF 140.สูงข่ม ทางลงยกระดับ คลังน้ำมันบางจาก 141.สูงข่ม คลังน้ำมันเลียบแม่น้ำ 142.สูงข่มที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ 143.สูงข่ม สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที
----------------------
พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ (164 จุด)
1.ลานพระราชวังดุสิต 2.กระทรวงศึกษาธิการ 3.ที่ทำการ ป.ป.ช. 4.อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก 5.หน้าห้างสรรพสินค้าฟอร์จูน รัชดาภิเษก 6.รร.สยามซิตี้ 7.ท่าเรือประตูน้ำ 8.โรงผลิตน้ำสามเสน 9.สถานีไฟฟ้าย่อยโยธี 10.พรรคเพื่อไทย
11.สถานีไฟฟ้าย่อยศูนย์วิจัย 12.กระทรวงแรงงาน 13.ศูนย์การค้าแฟชั่นมอลล์ ดินแดง 14.สถานีต้นทางไฟฟ้าย่อยวิภาวดี 15.องค์การสหประชาชาติ 16.ธ.กรุงเทพ สาขาสะพานขาว 17.สถานีไฟฟ้าย่อยบางขุนพรหม 18.สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 19.บ้านนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 20.บ้านนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ
21.กระทรวงการคลัง 22.ธ.กรุงเทพ สาขาประดิพัทธ์ 23.ธ.กรุงเทพ สาขาซอยอารีย์ 24.บ้านนายวิชัย วิวิตเสวี เลขาฯ ป.ป.ช. 25.บ้านนายสุพจน์ ไข่มุกต์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) 26.บ้านนายบุญส่ง กุลบุปผา (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) 27.สถานีไฟฟ้าแรงสูงย่อยรัชดาภิเษก 28.อาคารชินวัตร 3 29.บ้านนายประสาท พงษ์ศิวาภัย ป.ป.ช. 30.บ้านนายพิทักษ์ คงจันทร์ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง
31.บ้านนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี 32.บ้านนายอภิชาติ สุขขัคคานนท์ ประธาน กกต. 33.บ้านนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี 34.บ้าน ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล รองประธานศาลฎีกา 35.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัส นวมินทร์ 36.ธ.กรุงเทพ สาขาปั๊มน้ำมัน ป.ต.ท. ถนนประดิษฐ์มนูธรรม 37.บ้านนายสาธิต วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 38.ที่ทำการย่อยพรรคประชาธิปัตย์ เขตสายไหม 39.บ้านนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง 40.บ้านนายอิสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.สถานีรถไฟดอนเมือง 42.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนสรงประภา 43.ศาลจังหวัดมีนบุรี44.ธ.กรุงเทพ สาขามีนบุรี 45.ห้างบิ๊กซี ถนนรามคำแหง 46.บ้านพักจุฬาราชมนตรี47.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนเลียบวารี 48.ห้างท๊อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต หนองจอก 49.ธ.กรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 77 50.ศูนย์การค้าเดอะพาซิโอ ลาดกระบัง
51.ห้างคาร์ฟูร์ สาขาเคหะร่มเกล้า 52.ห้างคาร์ฟูร์ สาขาหทัยราษฎร์ 53.ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ 54.สถานีไฟฟ้าแรงสูงหนองจอก 55.สถานีไฟฟ้าย่อยสุวินทวงศ์ 56.กองโรงงานและอะไหล่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่านลำผักชี 57.สำนักงานขนส่งพื้นที่ 4 เขตสุวินทวงศ์ 58.การไฟฟ้านครหลวงบางกะปิ 59.ธ.กรุงเทพ สาขาหัวหมาก 60.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยรามคำแหง 28
61.ธ.กรุงเทพ สาขาคลองจั่น 62.ศูนย์การค้าตะวันนา ลาดพร้าว 63.ห้างอิมพิเรียลลาดพร้าว 64.ธ.กรุงเทพ สาขานาคนิวาส 65.หมู่บ้านนวธานี บึงกุ่ม (มีบ้านพักบุคคลสำคัญ) 66.สำนักสันติอโศก 67.ธ.กรุงเทพ สาขาอินทรารักษ์ 68.ธ.กรุงเทพ สาขารามคำแหง) 69.ธ.กรุงเทพ สาขาสวนสยาม 70.ธ.กรุงเทพ สาขารามอินทรา
71.ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค 72.ธ.กรุงเทพ แยกพัฒนาการ 73.ธ.กรุงเทพ สาขารามคำแหง 2 74.ธ.กรุงเทพ สาขาคาร์ฟูร์สวนหลวง 75.บ้านนายใจเด็ด พรไชยา ย่านลาดพร้าว 76.บ้านนายไพโรจน์ วายุภาพ ย่านลาดพร้าว 94 77.สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 78.สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา 79.สถานีไฟฟ้าย่อยยานนาวา 80.สถานีไฟฟ้าย่อยบางโคล่
81.สถานีไฟฟ้าย่อยมหาเมฆ 82.สถานีไฟฟ้าย่อยบางโพงพาง 83.สถานีไฟฟ้าย่อยประสานมิตร 84.สถานีไฟฟ้าย่อยคลองเตย (ไผ่สิงโต) 85.สถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าย่อยนนทรีย์ 86.โรงไฟฟ้าย่อยพระโขนง 87.ธ.กรุงเทพ สาขาเจริญกรุง 88.ธ.กรุงเทพ สาขาแฉล้มนิมิตร 89.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนจันทร์ 90.ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 3
91.พรรคประชาธิปัตย์ ซ.สาธุประดิษฐ์ 57 92.ธ.กรุงเทพ สาขาสาธุประดิษฐ์ 93.ธ.กรุงเทพ สาขารัชดา-ท่าเรือ 94.ศูนย์คอมพิวเตอร์ ธ.กรุงเทพฯ 95.ห้างดิเอ็มโพเรียม 96.ธ.กรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 97.ธ.กรุงเทพ สาขาทองหล่อ 98.ธ.กรุงเทพ สาขาเอกมัย 99.ธ.กรุงเทพ สาขาเอ็มโพเรียม 100.ธ.กรุงเทพ สาขาเอ็กเชน
101.ธ.กรุงเทพ อาคารมาลีนนท์ 102.ธ.กรุงเทพ สาขาคาร์ฟูร์ทองหล่อ 103.บ้านปลายเนิน/การไฟฟ้านครหลวงคลองเตย 104.ธ.กรุงเทพฯ สาขาสุนทรโกษา 105.อาคารซีพีทาวเวอร์ 106.ถนนราชดำริ 107.ห้างเกษรพลาซ่า 108.ธ.กรุงเทพ สาขาคาร์ฟูร์ พระโขนง 109.บ้านพักนายเมธี ครองแก้ว ป.ป.ช. 110.บ้านพักนายบัญญัติ บรรทัดฐาน 111.ธ.กรุงเทพ สาขาบางจาก 112.ธ.กรุงเทพ สาขาอ่อนนุช 16 113.บ้านพัก ซ.อุดมสุข 29 114.ธ.กรุงเทพ ทุกสาขาในพื้นที่ สน.บางนา 115.กรมศุลกากร 116.ธ.กรุงไทย สาขากรมศุลกากร 117.ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สน.ท่าเรือ 118.ที่ทำการพรรคเพื่อไทย สน.ท่าเรือ 119.ที่ทำการพรรคการเมืองใหม่ สน.ท่าเรือ 120.ซ.ปรีดี 45
121.ธ.กรุงเทพ สาขาฮอโรซอน เอกมัย 122.ธ.กรุงเทพ สาขาพระโขนง 123.ธ.กรุงเทพ สาขากล้วยน้ำไท 124.ธ.กรุงเทพสาขาคลองตัน 125.ธ.กรุงเทพ สาขาตลาดน้อย 126.ถนนพัฒน์พงษ์ 127.สถานีไฟฟ้าย่อยซอยรุ่งประชา 128.ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สาขาบางพลัด 129.ห้างเทสโก้โลตัส สาขาจรัญสนิทวงศ์ 130.บ้านพัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
131.บ้านพักนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ 132.ใต้สะพานพระราม 8 133.ร้านโลตัสเอ็กเพรส และแยกพาณิชยการธนบุรี 134.บ้านพักนายฐานันท์ วรรณโกวิท ผู้พิพากษา 135.สถานีไฟฟ้าย่อยธนบุรี 136.บ้านพักนางสดศรี สัตยธรรม กกต.137.ลานพระรูปฯ วงเวียนใหญ่ 138.สถานีไฟฟ้าย่อยคลองสาน 139.หน้าห้างเดอะมอลล์ท่าพระ 140.ตลาดท่าน้ำคลองสาน 141.โรงไฟฟ้าย่อยราษฎร์บูรณะ 142.คลังน้ำมันสยาม ถนนราษฎร์บูรณะ 143.โรงไฟฟ้าย่อยถนนพระราม 2 144.ประปา ถนนพระราม 2 145.สถานีก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี บริษัท ปตท.จำกัด สน.ทุ่งครุ
146.สถานีไฟฟ้าย่อยภาษีเจริญ 147.สถานีการไฟฟ้าย่อยบางกอกน้อย 148.สถานีการไฟฟ้าย่อยหนองแขม 149.สถานีการไฟฟ้าย่อยหนองแขม 150.สถานีการไฟฟ้าย่อยนครหลวงเขตบางขุนเทียน 151.สถานีการไฟฟ้าย่อยบางขุนเทียน-ชายทะเล 152.สถานีการไฟฟ้าย่อยบางบอน 153.สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 154.สำนักงานหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 155.สำนักงานหนังสือพิมพ์แนวหน้า 156.สำนักงานใหญ่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 157.กระทรวงการคลัง 158.กระทรวงการต่างประเทศ 159.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 160.บ้านพักนายชวน หลีกภัย 161.บ้านพัก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ 162.บ้านพักนายบัญญัติ บรรทัดฐาน 163.สถานีการไฟฟ้าย่อยสุขสวัสดิ์ 164.สถานีการไฟฟ้าบางกะปิ กก.2 บก.จร.
--------------------
พื้นที่เฝ้าระวัง (160 จุด)
1.ที่ทำการ บช.น. 2.บ้านนายวิชา มหาคุณ ป.ป.ช. 3.สถานีไฟฟ้าย่อยดินแดง 4.ธ.กรุงเทพ สาขาเหม่งจ๋าย 5.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนรัชดา 6.สถานีไฟฟ้าย่อยมักกะสัน 7.สถานีไฟฟ้าย่อยกิ่งเพชร 8.บ้านนายกล้านรงค์ จันทิก 9.ห้างประตูน้ำเซ็นเตอร์ 10.ห้างแพทตินั่ม / ธ.กรุงเทพ
11.ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า / ธ.กรุงเทพ 12.ธ.กรุงเทพ อาคารพญาไท 13.ธ.กรุงเทพ สนามเป้า 14.ธ.กรุงเทพ อุรุพงษ์ 15.ธ.กรุงเทพ อาคารวานิช 16.สถานีไฟฟ้าย่อยนานา 17.ธ.กรุงเทพ สาขาเพชรบุรี 18.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนพระราม 9 19.ธ.กรุงเทพ สาขาห้วยขวาง 20.ธ.กรุงเทพ สาขามหานาค
21.ธ.กรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า 22.มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย 23.ธ.กรุงเทพ สาขาบางลำพู ส24.สถานีไฟฟ้าย่อยสามเสน 25.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยแม็คโคร สามเสน 26.ธ.กรุงเทพ สาขาราชวิถี 27.ธ.กรุงเทพ สาขาศรีย่าน 28.ห้างบิ๊กซี สาขาสะพานควาย 29.ห้างโลตัส แยกลำกระโหลก 30.ห้างท็อปซุปเปอร์ ถนนสายไหม
31.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนสายไหม 32.ห้างคาร์ฟูร์ ถนนสุขาภิบาล 5 33.การประปานครหลวง ทุ่งสองห้อง 34.การไฟฟ้าย่อยแจ้งวัฒนะ35.การไฟฟ้าย่อยทุ่งสองห้อง 36.สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี 37.สถานีโรงไฟฟ้าย่อย ร่มเกล้า 38.สวน 60 พรรษา ร่มเกล้า 39.สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรม สน.ฉลองกรุง 40.สถานีไฟฟ้าย่อยซอยเทเลคอม สน.ฉลองกรุง
41.ศูนย์การค้าไอเพลส สน.ฉลองกรุง 42.ตลาดแย้มเจริญรัตน์ ถนนฉลองกรุง 43.สถานีรถไฟหัวตะเข้ 44.สถานีรถไฟพระจอมเกล้า 45.ธ.กรุงเทพ ตลาดอุดมผล 46.คลังสินค้าบริษัทซีพีออล 47.สถานีไฟฟ้าย่อยคลองจั่น 48.ห้างน้อมจิตต์ ลาดพร้าว 49.สถานีไฟฟ้าย่อยฯ ซอยเสรีไทย 73 สน.บางชัน 50.ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ บางชัน
51.โรงไฟฟ้าแรงสูง ซอยอ่อนนุช 65 52.สถานีไฟฟ้าย่อยกิ่งแก้ว 53.ศาลแขวงพระนครใต้ 54.ปั๊มน้ำมันบางจาก ถ.พระราม 3 55.ปั๊มน้ำมัน ปตท. ถ.พระราม 3 56.ปั๊มน้ำมันบางจาก ถ.เจริญราษฎร์57.ปั๊มแก๊สเอ็นจีวี ถ.เจริญราษฎร์ 58.ห้างเทสโก้โลตัส พระราม 3 59.ห้างคาร์ฟูร์พระราม 4 60.ห้างโลตัสพระราม 4
61.อาคารชิโนไทย 62.อาคารทีพีไอทาวเวอร์ 63.อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ 64.อาคารล็อกซ์เลย์ ถ.สุนทรโกษา 65.ห้างโลตัสพระราม 4 66.อาคารเดอะเนชั่น 67.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลซิตี้ บางนา 68.ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีบางนา 69.สนข.คลองเตย 70.การท่าเรือแห่งประเทศไทย 71.เขตการเดินรถที่ 4 ท่าเรือ 72.ธ.ไทยพาณิชย์ สาขากรมศุลกากร 73.ศาลเจ้าพ่อมังกรเขียว ท่าเรือ 74.ป้ายหยุดรถประจำทางร้านทองศรีสุพรรณ ท่าเรือ 75.ป้ายหยุดรถประจำทางเขตการเดินรถที่ 4 ท่าเรือ 76.ห้างจัสโก้ เอกมัย 77.ห้างบิ๊กซี เอกมัย 78.การไฟฟ้านครหลวง สน.พระราชวัง 79.ตลาดพาหุรัด 80.วังบูรพาภิรมย์
81.ธ.กรุงเทพ สาขาสำเพ็ง 82.ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยห้างโลตัส จักรวรรดิ 83.ธ.กรุงเทพ สาขาราชวงศ์ 84.กระทรวงมหาดไทย 85.ศาลาว่าการ กทม. 86.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 87.การไฟฟ้าย่อยสะพานดำ 88.คลองถมเซ็นเตอร์ 89.ธ.กรุงเทพ สาขาพลับพลาไชย 90.ธ.กรุงเทพ สาขามิตรสัมพันธ์
91.ธ.กรุงเทพ สาขาเยาวราช 92.สภากาชาด 93.วัดปทุมนาราม 94.ไปรษณีย์กลาง 95.ศาลแรงงานกลาง 96.ศาลแขวงปทุมวัน 97.สถานีไฟฟ้าย่อยสุรวงศ์ 98.สถานีไฟฟ้าย่อยสี่พระยา 99.สถานทูต เขต สน.บางรัก 100.ห้างโรบินสันบางรัก
101.สถานีไฟฟ้าย่อยสุรศักดิ์ 102.สถานีไฟฟ้าย่อยศรีเวียง 103.สถานีไฟฟ้าย่อยสีลม 104.แขวงการทางตลิ่งชัน 105.กระทรวงวัฒนธรรม 106.สำนักงานที่ดิน บางกอกน้อย 107.ธ.กรุงเทพ สาขาบางพลัด 108.ธ.กรุงเทพ สาขาบางยี่ขัน 109.ห้างตั้งฮั่วเส็ง สาขาธนบุรี 110.ธ.กรุงเทพ สาขาพระปิ่นเกล้า
111.กรมบังคับคดี บางขุนนนท์ 112.ธ.กรุงเทพ สาขาบางกอกน้อย 113.ห้างฟู้ดส์แลนด์ บางกอกน้อย 114.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนจรัญฯ 13 115.ปั๊มน้ำมัน ป.ต.ท.ถนนเพชรเกษม 116.ธ.กรุงเทพ สาขาตลิ่งชัน สน.ตลิ่งชัน 117.ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) 118.ธ.กรุงเทพ ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) 119.ที่จอดรถบีทีเอส ตลาดพลู 120.ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ สาขาถนนอิสรภาพ
121.ห้างฯโรบินสัน สาขาลาดหญ้า 122.ธ.กรุงเทพ สาขาเจริญภาศน์ 123.ธ.กรุงเทพ สาขาธนบุรี 124.ห้างบิ๊กซี ดาวคะนอง 125.ห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ 126.ธ.กรุงเทพ สาขาถนนสุขสวัสดิ์ 127.สะพานพุทธยอดฟ้าฯ 128.ท่าน้ำราษฎร์บูรณะ 129.ปั๊มแก๊สแอลพีจี ถนนเทอดไท 130.ปั๊มแก๊สแอลพีจี ถนนเพชรเกษม
131.ปั๊มแก็สเอ็นจีวี ถนนเพชรเกษม 132.ปั๊มแก็สแอลพีจี 133.ห้างไอทีแกรนด์ 134.ห้างเทสโก้โลตัส 135.ห้างเดอะมอลล์บางแค 136.รพ.เกษมราษฎร์ 137.แยกสุขาภิบาล 1 138.ห้างบิ๊กซี เพชรเกษม 139.บ้านนายแก้วสรร อติโพธิ 140.ห้างคาร์ฟูร์เพชรเกษม
141.ธ.ไทยพาณิชย์ 142.สำนักงานเขตหนองแขม 143.ปั๊มแก็สแอลีพีจี 144.ปั๊มแก็สแอลพีจี 145.ธ0นครหลวงไทย 146.จุดตรวจบางบอน 3 147.ปั๊มแก๊สเอ็นจีวี 148.ห้างแมคโคร บางบอน 149.ห้างคาร์ฟูร์ บางบอน 150.ศาลอาญาธนบุรี
151.จุดรับแจ้งเหตุนิลกาศ 152.ธ.ไทยพาณิชย์ 153.ปั๊มแก๊สแอลพีจี 154.ห้างเซ็นทรัลพระราม 2 155.ห้างบิ๊กซีพระราม 2 156.ธ.ไทยพาณิชย์ 157.ปากซอยบางกระดี่ 158.ปากซอยวัดแสมดำ 159.สำนักงานขนส่งพื้นที่ 1 160.ม.เทคโนโลยีธนบุรี
(ลำดับที่ 129-160 อยู่ในพื้นที่และความรับผิดชอบของ บก.น.9)
------------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553
ปรองดองแห่งชาติในสายตาสังคมวิทยากฎหมาย
โดย กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร (นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายมหาชน)
“ความยุติธรรม คือเจตจำนงอันแน่วแน่ตลอดกาลที่จะให้แก่ทุกคนในส่วนที่เขาควรจะได้”
- Corpus Iuris Civilis -
บทนำ
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ประเด็นหนึ่งที่กลุ่มคนเสื้อแดงหยิบยกขึ้นมาในการต่อสู้ครั้งนี้คือ ปัญหาทางชนชั้น ระหว่างกลุ่มคนที่เรียกว่า “ไพร่” และ กลุ่มคนที่เรียกว่า “อำมาตย์”
ไม่ว่าทั้งสองคำจะมีการตีความไปในนัยใดก็ตาม แต่เราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ว่า คำว่า “ไพร่” นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนกลุ่มคนธรรมดาที่ไม่ได้มีฐานดีอะไร บ้างก็เรียกว่า “รากหญ้า” บ้างก็เรียกคนยากจน ในขณะที่สังคมเมืองค่อนไปทางกลุ่มที่เรียกว่า “อำมาตย์” กล่าวคือ เป็นผู้มีการศึกษา มีฐานะตั้งแต่ระดับกลางจนไปถึงมีเกียรติยศ มีชื่อเสียงทางสังคม หรืออาจรวมถึงกลุ่มคนผู้มีอำนาจพิเศษภายใต้ระบบอุปถัมภ์
ดูเหมือนว่า ปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชั้น จะมีแกนกลางอยู่ที่ฐานะ และอำนาจทางสังคมที่แตกต่างกัน ในเชิงความแตกต่างด้านฐานะนั้น กลายเป็นมูลฐานสำคัญที่สุดที่นำไปสู่ความแตกต่างด้านอำนาจเหนือของสังคมด้วย เช่น คนที่มีฐานะดีกว่า ย่อมมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการ และย่อมมีอำนาจต่อรองดีกว่า คนที่ฐานะด้อยกว่าและเป็นลูกจ้าง หรือ ผู้ที่มีฐานะทางการเงินที่ดี สนับสนุนพรรคการเมือง และมีโอกาสเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง ย่อมมีอำนาจเหนือการผู้ที่มิได้มีโอกาสดีเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า กลุ่มคนที่มีฐานะดีกว่า หรือมีอำนาจเหนือกว่า กลับกลายเป็นคนที่มีจำนวนน้อยกว่า บุคคลทั่วๆไปในสังคม หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คนรวยในสังคมมีจำนวนมากกว่าคนจนในสังคม และคนที่มีอำนาจในสังคมแค่ไม่กี่คน กลับมีอำนาจมากมายในการชี้นำการปกครองคนจำนวนมาก
การจัดการปัญหาเหล่านี้ ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ เพราะดูเหมือนว่าคนที่มีฐานะทางการเงินดีมาก ก็จะย่อมมีโอกาสเข้าสู่อำนาจมาก เมื่อมีอำนาจมาก ก็นำมาสู่ฐานะทางการเงินที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆอย่างเป็นวัฏจักร ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีลักษณะสากลคือ ลักษณะทั่วไป(General) ที่เกิดในหลายสังคม ในหลายประเทศคล้ายคลึงกัน
สำหรับประเทศไทยในห้วงเวลานี้ การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปโดยการนำของนายอานันท์ ปัญยารชุน และนายแพทย์ประเวศ วะสี ได้มุ่งพิจารณาประเด็นความปรองดองของคนในสังคม เพื่อการประสานรอยร้าว และปมความขัดแย้งต่างๆของสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความแตกต่างทางสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ทั้งนายอานันท์ และนายแพทย์ประเวส ก็ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มคนที่อาจเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีฐานะดีทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ จนหลายฝ่ายต่างพากันตั้งข้อสังเกตว่า ภายใต้การนำของบุคคลทั้งสองนี้ จะเข้าถึงปัญหาความแตกต่างทางฐานะของบุคคลได้จริงหรือ? และดูเหมือนว่า คณะกรรมการปฏิรูปนี้ไม่น่าจะประสบความสำเร็จได้เลย
อย่างไรก็ตาม ในเชิงกฎหมายแล้ว มีคำถามที่ว่าจะเอากฎหมายไปปฏิรูปสังคมได้อย่างไร ถูกนำเสนอมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็โดย Roscoe Pound แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งเขาเสนอว่า กฎหมายนั้นเป็นวิศวกรรมของสังคม (Social Engineering) สังคมมนุษย์นั้นเมื่อมีความรู้ในด้านกฎหมายและในด้านอื่นๆ ก็สามารถปรุงแต่งสังคมได้โดยความพยายามที่จะใช้ความรู้ที่มีอยู่มาทำให้เป็นประโยชน์และแก้ไขสังคมให้เป็นสังคมที่ดีขึ้น สังคมที่ดีและน่าอยู่คือสังคมที่มีความกลมกลืน (harmony)1 เราเรียกแนวความคิดทำนองนี้ว่า แนวคิดสังคมวิทยากฎหมาย (Sociology of Law) สำหรับในที่นี้เราจะไปศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายโดยสังเขปของสำนักความคิดนี้ และจะได้วิพากษ์ถึงแนวคิดปรองดองแห่งชาติในสายตาของสังคมวิทยากฎหมาย
แนวความคิดกฎหมายของสำนักสังคมวิทยากฎหมาย
สังคมวิทยากฎหมายเป็นแนวคิดคิดที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจนในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่20 นี้นี่เอง แม้จะดูเหมือนว่าเกิดขึ้นได้ไม่นานนัก แต่ผู้ที่มีแนวคิดในการศึกษากฎหมายควบคู่กับการศึกษาสังคมคนแรกๆที่มีชื่อเสียงคือ มองเตสกิเออร์ (Montesquieu) โดยเขาอธิบายว่า “กฎหมายทั้งหลายในลักษณะที่สำคัญที่ทั่วไปคือความสัมพันธ์ที่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนั้นอันเกิดจากเหตุผลของเรื่อง เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็มีกฎหมายของมนุษย์ พระเจ้าก็มีกฎหมายของพระเจ้า สัตว์ก็มีกฎหมายของสัตว์2” นอกจากนี้เขายังกล่าวไว้ในคำนำของหนังสือ จิตวิญญาณของกฎหมาย(Esprit des Lois) ในการพิมพ์ครั้งแรกว่า “จิตวิญญาณของกฎหมาย หรือความสัมพันธ์ซึ่งมักจะปรากฏตัวขึ้นระหว่างบรรดากฎหมายและรัฐธรรมนูญของทุกๆรัฐบาล, จารีต,สภาวะอากาศ, ประชากร, ศาสนา, การค้าฯลฯ3” แสดงให้เห็นค่อนข้างชัดเจนว่า มองเตสกิเออร์เองก็เห็นว่า กฎหมายนั้นควรศึกษาควบคู่ไปกับปรากฏการณ์อื่นๆของสังคม และเป็นความสัมพันธ์ที่มิอาจจะแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่าผู้ที่วางระบบระเบียบการศึกษากฎหมายในเชิงสังคมวิทยาหรือสังคมวิทยากฎหมายนี้คือนักคิดเรืองนามชาวเยอรมัน ชื่อ รูดอล์ฟ ฟอน เยียริ่ง (Rudolf von Jhering : 1818 - 1892) นอกจากนี้ยังมีนักคิดที่น่าสนใจอีกหลายท่านเช่น เล-อง ดูกีว์(Léon Duguit), เยียริช(Eugen Ehrlich), แมกซ์ เวเบอร์(Max Waber), หรือในภาคพื้นอเมริกาก็มี รอสโค่ พาวด์(Roscoe Pound), โฮม(O.W. Holmes), เบนจามิน คาโดโซ่(Benjamin Cardozo) นอกจากนี้ยังมีนักคิดในสมัยใหม่ที่เรียกว่า แนวคิดหลังสมัยใหม่(Post-modern) อีกหลายท่าน อาทิ เยอร์เก้น ฮาเบอร์มาส(Jürgen Habermas), มิเชล ฟูโก(Michele Foucault) เป็นต้น
สำหรับในที่นี้จะหยิบยกขึ้นมากล่าวเฉพาะนักคิดในสำนักสังคมวิทยากฎหมายบางท่านเท่านั้น
(1) รูดอล์ฟ ฟอน เยียริ่ง(Rudolf von Jhering)
เยยริ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสังคมวิทยากฎหมาย ในตอนแรกนั้น เขามุ่งศึกษาประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์กฎหมายโรมัน ต่อมาในงานเขียนของเขาที่ชื่อ Zweck im Recht หรือที่เรียกว่า “วัตถุประสงค์ของกฎหมาย” เยียริ่งศึกษาของการแปลงรูป (Tranforming) ของสังคมวิทยากฎหมายสู่หลักกฎหมายบริสุทธิ์ในทางทฤษฎี ตามทฤษฎีนี้กฎหมายทั้งหลายล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากเป้าประสงค์ (aim) ในการปกป้อง (defend) ผลประโยชน์ของสังคม และการปกป้องถูกทำให้มีผลโดยรัฐ ดังนั้น กฎหมายทั้งปวงมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมของรัฐ4 เขาแบ่งผลประโยชน์ออกเป็น 3 ประเภทคือ ผลประโยชน์ของปัจเจกชน, ผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสังคม และเพื่อให้ผลประโยชน์ทั้งสามกลมกลืนกัน เยยริ่งได้เสนอ หลักการคัดง้างตัวของสังคมเกิดจากการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การดำรงอยู่ของสังคม ต้องมีเครื่องมือคัดง้างอันเหมาะสมได้แก่ การได้สิ่งตอบแทน, การข่มขู่ลงโทษ, หน้าที่และความรัก เราต้องผสมผสานมูลเหตุจูงใจทั้งหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อความสงบสุขของสังคม
(2) รอสโค่ พาวด์(Roscoe Pound)
Pound เสนอแนวคิดที่เรียกว่า นิติศาสตร์ทางสังคมวิทยา (Sociological Jurisprudence) เขาเห็นว่าสังคมมีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกฎหมายที่ปรับผลประโยชน์ที่ขัดกันในสังคมเหล่านั้นให้สมดุลจนอยู่ด้วยกันได้ด้วยดี กฎหมายเหมือนเครื่องจักรและนักกฎหมายเองคือวิศวกรสังคม (Social Engineer) นอกจากนี้ Pound ยังกล่าวอีกว่า การที่นักกฎหมายจะเป็นวิศวกรสังคมที่ดี จะรู้แต่วิชานิติศาสตร์ไม่ได้ เขาเรียกร้องให้นักกฎหมายจำต้องศึกษาข้อเท็จจริงในฐานปรากฏการณ์ทางสังคมด้วย ดังนั้น Pound จึงเสนอให้ทฤษฎีศึกษาเรื่องผลประโยชน์(Doctrine of Interest)ในสังคม โดยเขาแยกผลประโยชน์ในสังคมออกเป็น 3 ประเภท คือ5
ประเภทแรก ผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล (Individual Interest) คือ ข้อเรียกร้อง, ความต้องการ, ความปรารถนา และความคาดหมายในการดำรงชีวิตของปัจเจกชน (individual) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ความสัมพันธ์ทางครอบครัว สิทธิและเสรีภาพในนามส่วนตัว
ประการที่สอง ผลประโยชน์ของมหาชน (Public Interest) คือ ข้อเรียกร้อง, ความต้องการหรือความปรารถนาที่ปัจเจกชนยึดมั่นอันเกี่ยวพันหรือเกิดจากจุดยืนในการดำรงชีวิตที่เกี่ยวกับการเมือง (Political lift) อันได้แก่ผลประโยชน์ของรัฐในฐานะที่เป็นบุคคล ที่จะครอบครองหรือเวนคืนทรัพย์สิน รวมทั้งผลประโยชน์ของรัฐในฐานะผู้พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของสังคม
ประการที่สาม ผลประโยชน์ของสังคม (Social Interest) คือ ข้อเรียกร้อง, ความต้องการ หรือความปรารถนาที่พิจารณาจากแง่ความคาดหมายในการดำรงชีวิตทางสังคม อันรวมถึงผลประโยชน์ในแง่ความปลอดภัย ในแง่เศรษฐกิจ การเมือง หรือศีลธรรมและกฎหมาย
เมื่อศึกษาเรื่องผลประโยชน์แล้ว เพื่อจะทำ Social Engineering ได้ดีในฐานะ Social Engineer คือ การปรับสังคมที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันให้ลงรอยปรองดอง เพราะฉะนั้น Pound จึงเสนอให้ศึกษาผลประโยชน์ ว่าถ้าศึกษาผลประโยชน์ให้เข้าใจดีแล้วว่ามีกี่ประเภท เรียงลำดับความสำคัญได้อย่างไร หากมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เราก็สามารถปรับให้ผลประโยชน์กลมกลืนกัน6
อย่างไรก็ตาม ความคิดเรื่องของผลประโยชน์ของ Pound ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ คือ ประการแรก Pound ไม่อาจพัฒนาทฤษฎีเรื่องผลประโยชน์ของเขาได้ และก็ไม่มีความแน่นอนชัดเจนว่าผลประโยชน์หลายๆเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่จะอยู่ในประเภทใด ประการต่อมา แนวคิดของ Pound ที่ว่าให้ศึกษาผลประโยชน์ แล้วจึงออกกฎหมายมารับรองและแก้ปัญหาการขัดกันของประโยชน์เหล่านั้น เขาลืมไปว่าผลประโยชน์บางเรื่องก็เกิดจากการก่อตั้งของกฎหมาย อาทิ เช่น เรื่องสวัสดิการสังคม7 ประการที่สาม เป็นที่ยอมรับกันว่า กระบวนการนิติบัญญัติสมัยใหม่ การออกกฎหมายจะต้องผ่านรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระบวนการออกกฎหมาย และบุคคลเหล่านี้มีผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การออกกฎหมายภายใต้กรอบความคิดของประโยชน์ฝ่ายตน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่กฎหมายจะออกมาเพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างแม้จริง ตรงนี้เองที่อาจทำให้ความคิดของ Pound อาจเป็นไปได้ในเชิงอุดมคติ แต่อาจเป็นไปได้ยากยิ่งในสังคมปัจจุบัน
(3) เล-อง ดูกีว์ (Léon Duguit)
ดูกีว์ เป็นนักนิติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสแห่งคณะนิติศาสตร์บอร์กโดซ์(Bordeaux) หรือบางคนเรียกว่าสำนักบริการสาธารณะ สำหรับแนวคิดของดูกีว์นั้นได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของเอมิว เดอร์ไคม์(Émile Durkheim) ซึ่งเน้นเรื่องความสมานฉันท์ของสังคมผ่านการแบ่งแยกแรงงาน โดยดูกีว์ก็ได้เสนอเรื่อง “ความสมานฉันท์ของสังคม”(Social Solidarity) ซึ่งเขากล่าวว่า เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย เราจะกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเรื่องส่วนเอกชนอย่างเดียวมิได้ กฎหมายนั้น แท้จริงเป็นเรื่องของสังคม8 หรือก็คือความสมานฉันท์ของสังคม นอกจากนี้เขายังปฏิเสธด้วยว่า แต่ละคนนั้นไม่ได้มีสิทธิในฐานะเอกชน แต่ว่ามีสิทธิในฐานะที่เป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น ดังนั้น กฎหมายในความคิดของดูกีว์ คือ ระบบของหน้าที่ไม่ใช่ระบบของสิทธิและถ้าคนจะมีสิทธิใดก็ตาม สิทธิอันนั้นแท้จริงแล้วก็คือสิทธิที่จะทำตามหน้าที่ของตนเท่านั้น9
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า แนวคิดของสังคมวิทยากฎหมาย มุ่งศึกษากฎหมายควบคู่กับการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมในฐานะที่กฎหมายเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางสังคมเช่นเดียวกัน ความคิดอันนี้นี่เองที่ทำให้สำนักความคิดสังคมวิทยากฎหมายแตกต่างอย่างเด่นชัดจากสำนักปฏิฐานนิยมกฎหมาย(Positivism) กล่าวคือ สำนักปฏิฐานนิยมกฎหมายเห็นว่าควรแยกกฎหมายออกจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นกฎหมายอันบริสุทธิ์ (Pure Law) ปราศจากซึ่งการเมือง อำนาจ หรือคุณค่าใดๆทั้งสิ้น การคิดคำนึงว่ากฎหมายจะดีหรือเลว ไม่ใช่หน้าที่ของนักกฎหมาย ในขณะที่การศึกษา
กฎหมายในแง่มุมของสำนักสังคมวิทยากฎหมาย กลับเน้นที่การศึกษาข้อเท็จจริงของสังคม คุณค่าของสิ่งต่างๆควบคู่ไปกับการศึกษาวิชานิติศาสตร์หรือการศึกษาตัวบทกฎหมาย เยยริ่งเห็นว่ากฎหมายคือ ผลรวมแห่งเหล่าเงื่อนไขของชีวิตทางสังคมในความหมายกว้างที่สุด ซึ่งได้รับการประกันคุ้มครองโดยอำนาจของรัฐผ่านวิถีทางบังคับคุมคุมนอกร่างกาย10
ในแง่ของหน้าที่(Function) และวิธีศึกษา ของสำนักสังคมวิทยากฎหมาย เราจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า “กฎหมาย คือ ข้อเท็จจริงอันเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของสังคม ที่ปรากฏตัวขึ้นหรือมีเพื่อการประสมประสาน ต่อรองผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในสังคมให้เกิดความสงบสุข”
สังคมวิทยากฎหมายกับความปรองดองในสังคม
ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ลงรอยของสังคม โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนต่างๆ ทั้งสื่อ ทั้งฝ่ายพันธมิตร(เสื้อเหลือง) ทั้งฝ่ายนปช.(เสื้อแดง) รวมทั้งฝ่ายต่างๆ ดูเหมือนว่าเป็นแนวทางที่ดี หรืออีกนัยหนึ่งคือฟังแล้วดูดี แต่หากในมุมมองของสังคมวิทยากฎหมายแล้ว การผสานรอยร้าวของกลุ่มต่างๆในขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่กฎหมายและนักกฎหมายจำต้องเข้ามามีบทบาท อย่างที่ Pound กล่าวว่า นักกฎหมายเป็นวิศวกรของสังคม (Social Engineer) ลำพังคณะกรรมการปฏิรูปที่มิได้มีอำนาจใดเลยในทางกฎหมาย ก็คงมิขับเคลื่อนกระบวนการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างที่มุ่งหวังไว้ อย่างไรตาม ปัญหาเรื่องความปรองดองของสังคมมีข้อพิจารณาดังนี้
ประการแรก หากพิจารณาโดยปราศจากอคติแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ สาเหตุหลักอย่างหนึ่งเกิดจากการละเลยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไป หรือกดทับบุคคลเหล่านี้ด้วยค่านิยมบางอย่าง บุคคลที่ว่านี้คือคนต่างจังหวัด และคนยากจน ซึ่งเราต้องยอมรับว่าเป็นเวลาช้านานแล้วที่บุคคลเหล่านี้ถูกละเลย ไม่ว่าจะในทางนโยบายของรัฐบาลและด้านการกระจายทรัพยากรของประเทศ ดังนั้น ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งพวกเขาจึงรู้สึกว่า หนึ่งเสียงของเขาไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรอย่างเป็นรูปธรรมต่อพวกเขาเลย ในทางกลับกัน นโยบายและทรัพยากรทั้งหลายต่างกระจุกตัวอยู่ในเมือง หากมองอย่างสังคมวิทยากฎหมายแล้ว เหล่านี้คือกลุ่มผลประโยชน์ชนิดหนึ่ง ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ถูกละเลย ในขณะที่กลุ่มผลประโยชน์อื่นๆในสังคมกลับได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อพวกเขาเหล่านี้มิอาจทนไหวจึงออกมาเรียกร้องและแสดงออกถึงความคิดเห็นเพื่อสิ่งที่ตนควรจะได้รับ
นอกจากนี้ สมควรกล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทยนั้น ปัญหาเรื่องการไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองอันเป็นโครงสร้างส่วนบน ตั้งแต่หลังการอภิวัฒน์ 2475 เป็นต้นมา ก็ยังคงดำรงอยู่ถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งดังกล่าวได้แผ่ขยายออกไปยังภาคส่วนต่างๆในสังคมด้วย ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรจะต้องกระทำในมุมมองของสังคมวิทยากฎหมายคือ ต้องไม่ปฏิเสธที่จะรับรู้อย่างแท้จริงว่า ปัจจุบันมีกลุ่มผลประโยชน์ใดบ้างในสังคม และพยายามประสานประโยชน์ให้กลมกลืน(Harmony)กันให้ได้มากที่สุด การปฏิเสธที่จะกล่าวถึงหรือยอมรับการมีอยู่ของกลุ่มผลประโยชน์ใดกลุ่มประโยชน์หนึ่ง เป็นข้อบกพร่องอย่างมากในมุมมองสังคมวิทยากฎหมาย ดังเช่นไม่นานมานี้ มีนักกฎหมายอาวุโสผู้หนึ่งได้พูดถึงการนำสังคมวิทยากฎหมายมาใช้ในการแก้ปัญหาการทางการเมือง แต่ตัวของนักกฎหมายผู้นั้นเองกลับมองข้ามและชิงชังการมีอย่างของกลุ่มผลประโยชน์ที่เขาเรียกว่า “กลุ่มทุนนิยมการเมือง” หรือ “เผด็จการทุนนิยม” การมีอคติเช่นนี้ ในทางสังคมวิทยากฎหมายแล้ว นักกฎหมายไม่อาจจะออกแบบกฎหมายให้สอดรับประสานผลประโยชน์ได้อย่างลงตัวเลย ในการนี้ดูกีว์จึงยืนยันว่าชีวิตความเป็นไปทางสังคมควรได้รับการพิจารณาตามสภาพข้อเท็จจริงที่มันดำเนินอยู่หากเราต้องการเห็นภาพทั่วไปของสังคมอย่างถูกต้องใกล้เคียงที่สุด11 ในเรื่องนี้รศ.ดร.วรเจตน์ภาคีรัตน์เห็นว่า12
“การวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จะต้องนำสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองทุกกลุ่มทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและที่ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อพิจารณาว่าสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร การกระจายผลประโยชน์ในทางการเมืองบนพื้นฐานของกติกาประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่การวิเคราะห์เฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น ด้วยเหตุนี้หากจะวิเคราะห์สภาพสังคมวิทยาการเมืองไทยให้เป็นวิชาการจริงๆแล้ว ผู้วิเคราะห์จะต้องวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในทางการเมืองของสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านี้ทั้งหมด คือ สถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรี นักการเมืองและพรรคการเมือง บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี ผู้พิพากษาตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทหาร ข้าราชการ พนักงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักธุรกิจ นักวิชาการ สื่อมวลชนตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เพราะหากการวิเคราะห์ไม่ได้กระทำอย่างรอบด้านแล้ว ก็อาจนำไปสู่บทสรุปที่ผิดพลาดได้”
ประการที่สอง ความมุ่งหวังให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมภายใต้การประกาศใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิภาคพจน์(Paradox) เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในมุมมองของเยียริ่ง อาจเป็นไปว่าสิ่งนี้คือ สิ่งที่เขาเรียกว่า การคัดง้างตัวของสังคม กฎหมายที่ออกมาเพื่อข่มขู่ลงโทษในขณะที่การดำเนินการเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมกำลังดำเนินการต่อไป ในความเป็นจริงสภาพการณ์เช่นนี้อาจไม่เป็นไปตามทฤษฎีของเขา เพราะการใช้กฎหมายเพื่อข่มขู่และลงโทษออกจะเกิดเลยไปกว่าการดำเนินการที่ให้ผลในเชิงบวก การคัดง้างตัวจึงไม่อาจสำเร็จลุล่วงไปได้ แต่หากเป็นไปตามทฤษฎีผลประโยชน์ของพาวด์แล้วนั้น การใช้อำนาจตามกฎหมายกดมิให้กลุ่มผลประโยชน์ใดผลประโยชน์หนึ่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้อง แสดงความปรารถนาของ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะระบบการจัดการผสมผสานประโยชน์ไม่อาจเป็นไปตามความต้องการแท้จริงของสังคม
ประการที่สาม ปัญหาความยากจน ปัญหาเรื่องชนชั้น ตลอดจนปัญหาเรื่องการแตกแยกของคนในสังคมต่างมีลักษณะที่เรียกว่าสหสัมพันธ์(Relative) กันอย่างมิอาจจะแยกออกจากกันได้ กล่าวคือ เมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของคนสองกลุ่มแตกต่างกัน คนที่มีฐานะเหนือกว่าย่อมมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่า สามารถกำหนดชะตากรรมทางเศรษฐกิจของคนที่มีฐานะด้อยกว่าได้ ซึ่งปรากฏมาในรูปของการกดขี่ทางแรงงาน การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ยิ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีเท่าไหร่ โอกาสในการเข้าสู่กระบวนการทางอำนาจ (เช่นการเมือง) ย่อมมีขึ้นมากเท่านั้น หรือโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่า เช่น การศึกษาขั้นสูงก็จะมีมากขึ้น และเมื่อมีการศึกษาสูงขึ้น หรือเมื่อเข้าสู่อำนาจได้ก็ยิ่งหาช่องทางและโอกาสในการเพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่งคั่งยิ่งขึ้นเข้าไปอีก ความห่างทางสังคมและชนชั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัญหาการแตกแยกก็จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และเราต้องยอมรับว่าความแตกต่างนี้นำมาสู่ความแตกแยกของสังคมอย่างเช่นทุกวันนี้ ซึ่งในสายตาของสังคมวิทยากฎหมายแล้ว สิ่งเหล่านี้คือการไม่อาจประสานกันได้ของผลประโยชน์ต่างๆ
ในมุมมองของสังคมวิทยากฎหมาย กฎหมายต้องทำหน้าที่ประสานผลประโยชน์ของกลุ่มคนต่างๆให้เข้ากัน เพื่อความกลมกลืนของสังคม นำไปสู่ความสมานฉันท์ของสังคมอย่างที่ ดูกีว์คาดหวังไว้ ในต่างประเทศอาทิ ประเทศอังกฤษ หรือกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้มีชุดของกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อประสานประโยชน์และลดช่องว่างของสังคม เราเรียกว่า ชุดกฎหมายความยากจน(Poverty Law Series) ซึ่งได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับคนยากจน (Poor Law), กฎหมายการช่วยเหลือด้านอาหาร, กฎหมายช่วยเหลือผู้ไร้ที่อยู่อาศัย, กฎหมายสวัสดิการสังคม, กฎหมายประกันสังคม, กฎหมายเพื่อผู้อนาถา ฯลฯ จะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วนั้น กฎหมายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ถูกตราขึ้นจากข้อเท็จจริงของสังคม เพื่อแก้ปัญหาของสังคม และสิ่งเหล่านี้ ในบางประเทศอาจมีความโน้มเอียงไปในทางรัฐสวัสดิการ (Welfare State) คือ รัฐเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในฐานะประสานประโยชน์ของแต่ละฝ่าย สำหรับดูกีว์นั้น สถาบันทางสังคมทั้งหมดจะต้องถูกตัดสินกันที่จุดว่ามันมีส่วนช่วยเสริมความสมานฉันท์ของสังคมได้อย่างไร รัฐนั้นมิได้มีตำแหน่งหรือฐานะเป็นบุคคลพิเศษแต่อย่างใด มิได้มีตัวตนลึกลับที่ไหนเมื่อมองตามความเป็นจริง แต่เป็นองค์การรูปหนึ่งของประชาชน ซึ่งได้รับความเชื่อถือตราบเท่าที่มันส่งเสริมความสมานฉันท์ของสังคม หากมันมิได้แสดงบทบาทนี้แล้วก็ย่อมถือว่าเป็นพันธะหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องต่อต้านรัฐ เรื่องอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน มิใช่ถ้อยคำที่อ้างหรูหราและว่างเปล่า หากมีกำเนิดจากบทบาทหน้าที่การรับใช้บริการสังคมมากกว่า แท้จริงแล้วความคิดเรื่องการบริการสังคม(Public service) สมควรนำมาแทนที่ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย13
บทสรุป
กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า แนวโน้มของกฎหมายในโลกนี้ มิอาจจะผละไปได้จากการศึกษาข้อเท็จจริงอื่นๆทางสังคมควบคู่ไปด้วย แนวความคิดของสังคมวิทยากฎหมายจึงเป็นแนวคิดที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้ในปัจจุบัน ทั้งในการการพัฒนาสังคม การศึกษาสังคม และประสานผลประโยชน์ต่างๆอันทำให้สังคมสงบสุข กฎหมายในฐานะข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อันหนึ่งของสังคมย่อมมีหน้าที่เพื่อสิ่งเหล่านั้น
ปัญหาความยากจน ปัญหาชนชั้น และปัญหาการแตกแยกของสังคมไทย หากมองในแง่ของสังคมวิทยากฎหมายแล้ว การออกแบบกฎหมายมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นแนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่กุมอำนาจรัฐในฐานะผู้ออกกฎหมาย ก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งที่สำคัญ การออกกฎหมายมาเพื่อให้ตนเองเสียประโยชน์นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากดังที่ คาร์ล มาร์กซ์ กล่าวว่า ชนชั้นใดย่อมออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสุดคือร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเราต้องยอมรับว่าผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือเหล่าบรรดาผู้พิจารณาร่างกฎหมายนี้นั่นเอง ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ยิ่งมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการทางอำนาจซึ่งก็คือทางการเมืองมากเท่าไหร่ ความมั่งคั่งก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย การถือครองทรัพย์สินเหล่านี้ก็ย่อมที่จะมากตาม และท้ายสุดตนนั่นเองที่จะเป็นผู้เสียประโยชน์
ในท้ายที่สุด ปัญหาความแตกแยกในสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้มีอำนาจเองไม่ได้มีเป้าประสงค์ที่แท้จริงในการประสานกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีหรือยากจน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่จะเข้ามามีอำนาจทางการเมืองหรือเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม มิหนำซ้ำการมองข้าม การพยายามกำจัดหรือทำลายกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ย่อมไม่อาจจะให้เกิดเกิดความสมานฉันท์ขึ้นได้เลยตราบใดที่ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ และในท่ามกลางความบิดเบือนข้อเท็จจริงเหล่านี้ คงเป็นไปได้ยากยิ่งที่กฎหมายจะถูกออกแบบมาทำหน้าที่ประสานรอยร้าวของสังคม และนักกฎหมายก็คงมิอาจจะทำหน้าที่วิศวกรสังคมได้อย่างมุ่งหวังไว้ ข้อเท็จจริงทางสังคมที่บิดเบือนย่อมส่งผลให้กฎหมายที่ออกมาบิดเบือนตามไปด้วยนอกจากนี้ การมองข้ามกลุ่มคนด้อยฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเลือกปฏิบัติต่อผู้คนเหล่านี้อย่างไม่เป็นธรรม เสมือนพลเมืองชั้นรองของประเทศ ปิดกั้นการแสดงออกซึ่งข้อเรียกร้องของผู้คนเหล่านั้น คือการมองข้ามกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นจำนวนมากที่สุดของประเทศไป ดังนั้น ในสายตาของสังคมวิทยากฎหมาย ความปรองดองที่แม้จริงของสังคมในสภาพโดยใช้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายเป็นเครื่องช่วยรังสรรค์ในสภาวการณ์เช่นนั้น ก็คงมิต่างอะไรกับการวิ่งวนในเขาวงกตที่กฎหมายมิอาจนำทางออกมาสู่สังคมได้อย่างแท้จริง.
----------------------------------
1. สมยศ เชื้อไทย,ทฤษฎีกฎหมายนิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 12 แก้ไขเพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552) น.145.
2. เพิ่งอ้าง, น. 138.
3.Georges Gurvitch, Sociology of Law, second impression (London : Lowe and Brydone(Printer) LTD.), P. 59.
4. Supra note 3, P. 77.
5. จรัญ โฆษณานันท์, นิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 15 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550), น.255-256.
6. ปรดี เกษมทรัพย์, นิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546), น. 277.
7. Raymond Wacks, Understanding Jurisprudence An Introduction to Legal Theory, First Publish (New York: Oxford University Press Inc, 2005), P.201.
8. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1, น. 141.
9. เพิ่งอ้าง, น.142.
10. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5, น.244
11. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5, น.246.
12. วรเจตน์ ภาคีรัตน์,“จดหมายชี้แจง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, www.pub-law.net
13. Léon Duguit, Law in the Modern State, (New York, Howard Fertig,1970), PP xliv,32-67 อ้างใน จรัญ โฆษณานันท์, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 5, น.246-247.
******************************************************************************
“ความยุติธรรม คือเจตจำนงอันแน่วแน่ตลอดกาลที่จะให้แก่ทุกคนในส่วนที่เขาควรจะได้”
- Corpus Iuris Civilis -
บทนำ
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ประเด็นหนึ่งที่กลุ่มคนเสื้อแดงหยิบยกขึ้นมาในการต่อสู้ครั้งนี้คือ ปัญหาทางชนชั้น ระหว่างกลุ่มคนที่เรียกว่า “ไพร่” และ กลุ่มคนที่เรียกว่า “อำมาตย์”
ไม่ว่าทั้งสองคำจะมีการตีความไปในนัยใดก็ตาม แต่เราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ว่า คำว่า “ไพร่” นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนกลุ่มคนธรรมดาที่ไม่ได้มีฐานดีอะไร บ้างก็เรียกว่า “รากหญ้า” บ้างก็เรียกคนยากจน ในขณะที่สังคมเมืองค่อนไปทางกลุ่มที่เรียกว่า “อำมาตย์” กล่าวคือ เป็นผู้มีการศึกษา มีฐานะตั้งแต่ระดับกลางจนไปถึงมีเกียรติยศ มีชื่อเสียงทางสังคม หรืออาจรวมถึงกลุ่มคนผู้มีอำนาจพิเศษภายใต้ระบบอุปถัมภ์
ดูเหมือนว่า ปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชั้น จะมีแกนกลางอยู่ที่ฐานะ และอำนาจทางสังคมที่แตกต่างกัน ในเชิงความแตกต่างด้านฐานะนั้น กลายเป็นมูลฐานสำคัญที่สุดที่นำไปสู่ความแตกต่างด้านอำนาจเหนือของสังคมด้วย เช่น คนที่มีฐานะดีกว่า ย่อมมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการ และย่อมมีอำนาจต่อรองดีกว่า คนที่ฐานะด้อยกว่าและเป็นลูกจ้าง หรือ ผู้ที่มีฐานะทางการเงินที่ดี สนับสนุนพรรคการเมือง และมีโอกาสเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง ย่อมมีอำนาจเหนือการผู้ที่มิได้มีโอกาสดีเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า กลุ่มคนที่มีฐานะดีกว่า หรือมีอำนาจเหนือกว่า กลับกลายเป็นคนที่มีจำนวนน้อยกว่า บุคคลทั่วๆไปในสังคม หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คนรวยในสังคมมีจำนวนมากกว่าคนจนในสังคม และคนที่มีอำนาจในสังคมแค่ไม่กี่คน กลับมีอำนาจมากมายในการชี้นำการปกครองคนจำนวนมาก
การจัดการปัญหาเหล่านี้ ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ เพราะดูเหมือนว่าคนที่มีฐานะทางการเงินดีมาก ก็จะย่อมมีโอกาสเข้าสู่อำนาจมาก เมื่อมีอำนาจมาก ก็นำมาสู่ฐานะทางการเงินที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆอย่างเป็นวัฏจักร ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีลักษณะสากลคือ ลักษณะทั่วไป(General) ที่เกิดในหลายสังคม ในหลายประเทศคล้ายคลึงกัน
สำหรับประเทศไทยในห้วงเวลานี้ การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปโดยการนำของนายอานันท์ ปัญยารชุน และนายแพทย์ประเวศ วะสี ได้มุ่งพิจารณาประเด็นความปรองดองของคนในสังคม เพื่อการประสานรอยร้าว และปมความขัดแย้งต่างๆของสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความแตกต่างทางสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ทั้งนายอานันท์ และนายแพทย์ประเวส ก็ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มคนที่อาจเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีฐานะดีทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ จนหลายฝ่ายต่างพากันตั้งข้อสังเกตว่า ภายใต้การนำของบุคคลทั้งสองนี้ จะเข้าถึงปัญหาความแตกต่างทางฐานะของบุคคลได้จริงหรือ? และดูเหมือนว่า คณะกรรมการปฏิรูปนี้ไม่น่าจะประสบความสำเร็จได้เลย
อย่างไรก็ตาม ในเชิงกฎหมายแล้ว มีคำถามที่ว่าจะเอากฎหมายไปปฏิรูปสังคมได้อย่างไร ถูกนำเสนอมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็โดย Roscoe Pound แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งเขาเสนอว่า กฎหมายนั้นเป็นวิศวกรรมของสังคม (Social Engineering) สังคมมนุษย์นั้นเมื่อมีความรู้ในด้านกฎหมายและในด้านอื่นๆ ก็สามารถปรุงแต่งสังคมได้โดยความพยายามที่จะใช้ความรู้ที่มีอยู่มาทำให้เป็นประโยชน์และแก้ไขสังคมให้เป็นสังคมที่ดีขึ้น สังคมที่ดีและน่าอยู่คือสังคมที่มีความกลมกลืน (harmony)1 เราเรียกแนวความคิดทำนองนี้ว่า แนวคิดสังคมวิทยากฎหมาย (Sociology of Law) สำหรับในที่นี้เราจะไปศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายโดยสังเขปของสำนักความคิดนี้ และจะได้วิพากษ์ถึงแนวคิดปรองดองแห่งชาติในสายตาของสังคมวิทยากฎหมาย
แนวความคิดกฎหมายของสำนักสังคมวิทยากฎหมาย
สังคมวิทยากฎหมายเป็นแนวคิดคิดที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจนในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่20 นี้นี่เอง แม้จะดูเหมือนว่าเกิดขึ้นได้ไม่นานนัก แต่ผู้ที่มีแนวคิดในการศึกษากฎหมายควบคู่กับการศึกษาสังคมคนแรกๆที่มีชื่อเสียงคือ มองเตสกิเออร์ (Montesquieu) โดยเขาอธิบายว่า “กฎหมายทั้งหลายในลักษณะที่สำคัญที่ทั่วไปคือความสัมพันธ์ที่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนั้นอันเกิดจากเหตุผลของเรื่อง เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็มีกฎหมายของมนุษย์ พระเจ้าก็มีกฎหมายของพระเจ้า สัตว์ก็มีกฎหมายของสัตว์2” นอกจากนี้เขายังกล่าวไว้ในคำนำของหนังสือ จิตวิญญาณของกฎหมาย(Esprit des Lois) ในการพิมพ์ครั้งแรกว่า “จิตวิญญาณของกฎหมาย หรือความสัมพันธ์ซึ่งมักจะปรากฏตัวขึ้นระหว่างบรรดากฎหมายและรัฐธรรมนูญของทุกๆรัฐบาล, จารีต,สภาวะอากาศ, ประชากร, ศาสนา, การค้าฯลฯ3” แสดงให้เห็นค่อนข้างชัดเจนว่า มองเตสกิเออร์เองก็เห็นว่า กฎหมายนั้นควรศึกษาควบคู่ไปกับปรากฏการณ์อื่นๆของสังคม และเป็นความสัมพันธ์ที่มิอาจจะแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่าผู้ที่วางระบบระเบียบการศึกษากฎหมายในเชิงสังคมวิทยาหรือสังคมวิทยากฎหมายนี้คือนักคิดเรืองนามชาวเยอรมัน ชื่อ รูดอล์ฟ ฟอน เยียริ่ง (Rudolf von Jhering : 1818 - 1892) นอกจากนี้ยังมีนักคิดที่น่าสนใจอีกหลายท่านเช่น เล-อง ดูกีว์(Léon Duguit), เยียริช(Eugen Ehrlich), แมกซ์ เวเบอร์(Max Waber), หรือในภาคพื้นอเมริกาก็มี รอสโค่ พาวด์(Roscoe Pound), โฮม(O.W. Holmes), เบนจามิน คาโดโซ่(Benjamin Cardozo) นอกจากนี้ยังมีนักคิดในสมัยใหม่ที่เรียกว่า แนวคิดหลังสมัยใหม่(Post-modern) อีกหลายท่าน อาทิ เยอร์เก้น ฮาเบอร์มาส(Jürgen Habermas), มิเชล ฟูโก(Michele Foucault) เป็นต้น
สำหรับในที่นี้จะหยิบยกขึ้นมากล่าวเฉพาะนักคิดในสำนักสังคมวิทยากฎหมายบางท่านเท่านั้น
(1) รูดอล์ฟ ฟอน เยียริ่ง(Rudolf von Jhering)
เยยริ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสังคมวิทยากฎหมาย ในตอนแรกนั้น เขามุ่งศึกษาประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์กฎหมายโรมัน ต่อมาในงานเขียนของเขาที่ชื่อ Zweck im Recht หรือที่เรียกว่า “วัตถุประสงค์ของกฎหมาย” เยียริ่งศึกษาของการแปลงรูป (Tranforming) ของสังคมวิทยากฎหมายสู่หลักกฎหมายบริสุทธิ์ในทางทฤษฎี ตามทฤษฎีนี้กฎหมายทั้งหลายล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากเป้าประสงค์ (aim) ในการปกป้อง (defend) ผลประโยชน์ของสังคม และการปกป้องถูกทำให้มีผลโดยรัฐ ดังนั้น กฎหมายทั้งปวงมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมของรัฐ4 เขาแบ่งผลประโยชน์ออกเป็น 3 ประเภทคือ ผลประโยชน์ของปัจเจกชน, ผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสังคม และเพื่อให้ผลประโยชน์ทั้งสามกลมกลืนกัน เยยริ่งได้เสนอ หลักการคัดง้างตัวของสังคมเกิดจากการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การดำรงอยู่ของสังคม ต้องมีเครื่องมือคัดง้างอันเหมาะสมได้แก่ การได้สิ่งตอบแทน, การข่มขู่ลงโทษ, หน้าที่และความรัก เราต้องผสมผสานมูลเหตุจูงใจทั้งหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อความสงบสุขของสังคม
(2) รอสโค่ พาวด์(Roscoe Pound)
Pound เสนอแนวคิดที่เรียกว่า นิติศาสตร์ทางสังคมวิทยา (Sociological Jurisprudence) เขาเห็นว่าสังคมมีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกฎหมายที่ปรับผลประโยชน์ที่ขัดกันในสังคมเหล่านั้นให้สมดุลจนอยู่ด้วยกันได้ด้วยดี กฎหมายเหมือนเครื่องจักรและนักกฎหมายเองคือวิศวกรสังคม (Social Engineer) นอกจากนี้ Pound ยังกล่าวอีกว่า การที่นักกฎหมายจะเป็นวิศวกรสังคมที่ดี จะรู้แต่วิชานิติศาสตร์ไม่ได้ เขาเรียกร้องให้นักกฎหมายจำต้องศึกษาข้อเท็จจริงในฐานปรากฏการณ์ทางสังคมด้วย ดังนั้น Pound จึงเสนอให้ทฤษฎีศึกษาเรื่องผลประโยชน์(Doctrine of Interest)ในสังคม โดยเขาแยกผลประโยชน์ในสังคมออกเป็น 3 ประเภท คือ5
ประเภทแรก ผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล (Individual Interest) คือ ข้อเรียกร้อง, ความต้องการ, ความปรารถนา และความคาดหมายในการดำรงชีวิตของปัจเจกชน (individual) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ความสัมพันธ์ทางครอบครัว สิทธิและเสรีภาพในนามส่วนตัว
ประการที่สอง ผลประโยชน์ของมหาชน (Public Interest) คือ ข้อเรียกร้อง, ความต้องการหรือความปรารถนาที่ปัจเจกชนยึดมั่นอันเกี่ยวพันหรือเกิดจากจุดยืนในการดำรงชีวิตที่เกี่ยวกับการเมือง (Political lift) อันได้แก่ผลประโยชน์ของรัฐในฐานะที่เป็นบุคคล ที่จะครอบครองหรือเวนคืนทรัพย์สิน รวมทั้งผลประโยชน์ของรัฐในฐานะผู้พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของสังคม
ประการที่สาม ผลประโยชน์ของสังคม (Social Interest) คือ ข้อเรียกร้อง, ความต้องการ หรือความปรารถนาที่พิจารณาจากแง่ความคาดหมายในการดำรงชีวิตทางสังคม อันรวมถึงผลประโยชน์ในแง่ความปลอดภัย ในแง่เศรษฐกิจ การเมือง หรือศีลธรรมและกฎหมาย
เมื่อศึกษาเรื่องผลประโยชน์แล้ว เพื่อจะทำ Social Engineering ได้ดีในฐานะ Social Engineer คือ การปรับสังคมที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันให้ลงรอยปรองดอง เพราะฉะนั้น Pound จึงเสนอให้ศึกษาผลประโยชน์ ว่าถ้าศึกษาผลประโยชน์ให้เข้าใจดีแล้วว่ามีกี่ประเภท เรียงลำดับความสำคัญได้อย่างไร หากมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เราก็สามารถปรับให้ผลประโยชน์กลมกลืนกัน6
อย่างไรก็ตาม ความคิดเรื่องของผลประโยชน์ของ Pound ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ คือ ประการแรก Pound ไม่อาจพัฒนาทฤษฎีเรื่องผลประโยชน์ของเขาได้ และก็ไม่มีความแน่นอนชัดเจนว่าผลประโยชน์หลายๆเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่จะอยู่ในประเภทใด ประการต่อมา แนวคิดของ Pound ที่ว่าให้ศึกษาผลประโยชน์ แล้วจึงออกกฎหมายมารับรองและแก้ปัญหาการขัดกันของประโยชน์เหล่านั้น เขาลืมไปว่าผลประโยชน์บางเรื่องก็เกิดจากการก่อตั้งของกฎหมาย อาทิ เช่น เรื่องสวัสดิการสังคม7 ประการที่สาม เป็นที่ยอมรับกันว่า กระบวนการนิติบัญญัติสมัยใหม่ การออกกฎหมายจะต้องผ่านรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระบวนการออกกฎหมาย และบุคคลเหล่านี้มีผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การออกกฎหมายภายใต้กรอบความคิดของประโยชน์ฝ่ายตน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่กฎหมายจะออกมาเพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างแม้จริง ตรงนี้เองที่อาจทำให้ความคิดของ Pound อาจเป็นไปได้ในเชิงอุดมคติ แต่อาจเป็นไปได้ยากยิ่งในสังคมปัจจุบัน
(3) เล-อง ดูกีว์ (Léon Duguit)
ดูกีว์ เป็นนักนิติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสแห่งคณะนิติศาสตร์บอร์กโดซ์(Bordeaux) หรือบางคนเรียกว่าสำนักบริการสาธารณะ สำหรับแนวคิดของดูกีว์นั้นได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของเอมิว เดอร์ไคม์(Émile Durkheim) ซึ่งเน้นเรื่องความสมานฉันท์ของสังคมผ่านการแบ่งแยกแรงงาน โดยดูกีว์ก็ได้เสนอเรื่อง “ความสมานฉันท์ของสังคม”(Social Solidarity) ซึ่งเขากล่าวว่า เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย เราจะกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเรื่องส่วนเอกชนอย่างเดียวมิได้ กฎหมายนั้น แท้จริงเป็นเรื่องของสังคม8 หรือก็คือความสมานฉันท์ของสังคม นอกจากนี้เขายังปฏิเสธด้วยว่า แต่ละคนนั้นไม่ได้มีสิทธิในฐานะเอกชน แต่ว่ามีสิทธิในฐานะที่เป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น ดังนั้น กฎหมายในความคิดของดูกีว์ คือ ระบบของหน้าที่ไม่ใช่ระบบของสิทธิและถ้าคนจะมีสิทธิใดก็ตาม สิทธิอันนั้นแท้จริงแล้วก็คือสิทธิที่จะทำตามหน้าที่ของตนเท่านั้น9
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า แนวคิดของสังคมวิทยากฎหมาย มุ่งศึกษากฎหมายควบคู่กับการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมในฐานะที่กฎหมายเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางสังคมเช่นเดียวกัน ความคิดอันนี้นี่เองที่ทำให้สำนักความคิดสังคมวิทยากฎหมายแตกต่างอย่างเด่นชัดจากสำนักปฏิฐานนิยมกฎหมาย(Positivism) กล่าวคือ สำนักปฏิฐานนิยมกฎหมายเห็นว่าควรแยกกฎหมายออกจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นกฎหมายอันบริสุทธิ์ (Pure Law) ปราศจากซึ่งการเมือง อำนาจ หรือคุณค่าใดๆทั้งสิ้น การคิดคำนึงว่ากฎหมายจะดีหรือเลว ไม่ใช่หน้าที่ของนักกฎหมาย ในขณะที่การศึกษา
กฎหมายในแง่มุมของสำนักสังคมวิทยากฎหมาย กลับเน้นที่การศึกษาข้อเท็จจริงของสังคม คุณค่าของสิ่งต่างๆควบคู่ไปกับการศึกษาวิชานิติศาสตร์หรือการศึกษาตัวบทกฎหมาย เยยริ่งเห็นว่ากฎหมายคือ ผลรวมแห่งเหล่าเงื่อนไขของชีวิตทางสังคมในความหมายกว้างที่สุด ซึ่งได้รับการประกันคุ้มครองโดยอำนาจของรัฐผ่านวิถีทางบังคับคุมคุมนอกร่างกาย10
ในแง่ของหน้าที่(Function) และวิธีศึกษา ของสำนักสังคมวิทยากฎหมาย เราจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า “กฎหมาย คือ ข้อเท็จจริงอันเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของสังคม ที่ปรากฏตัวขึ้นหรือมีเพื่อการประสมประสาน ต่อรองผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในสังคมให้เกิดความสงบสุข”
สังคมวิทยากฎหมายกับความปรองดองในสังคม
ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ลงรอยของสังคม โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนต่างๆ ทั้งสื่อ ทั้งฝ่ายพันธมิตร(เสื้อเหลือง) ทั้งฝ่ายนปช.(เสื้อแดง) รวมทั้งฝ่ายต่างๆ ดูเหมือนว่าเป็นแนวทางที่ดี หรืออีกนัยหนึ่งคือฟังแล้วดูดี แต่หากในมุมมองของสังคมวิทยากฎหมายแล้ว การผสานรอยร้าวของกลุ่มต่างๆในขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่กฎหมายและนักกฎหมายจำต้องเข้ามามีบทบาท อย่างที่ Pound กล่าวว่า นักกฎหมายเป็นวิศวกรของสังคม (Social Engineer) ลำพังคณะกรรมการปฏิรูปที่มิได้มีอำนาจใดเลยในทางกฎหมาย ก็คงมิขับเคลื่อนกระบวนการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างที่มุ่งหวังไว้ อย่างไรตาม ปัญหาเรื่องความปรองดองของสังคมมีข้อพิจารณาดังนี้
ประการแรก หากพิจารณาโดยปราศจากอคติแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ สาเหตุหลักอย่างหนึ่งเกิดจากการละเลยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไป หรือกดทับบุคคลเหล่านี้ด้วยค่านิยมบางอย่าง บุคคลที่ว่านี้คือคนต่างจังหวัด และคนยากจน ซึ่งเราต้องยอมรับว่าเป็นเวลาช้านานแล้วที่บุคคลเหล่านี้ถูกละเลย ไม่ว่าจะในทางนโยบายของรัฐบาลและด้านการกระจายทรัพยากรของประเทศ ดังนั้น ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งพวกเขาจึงรู้สึกว่า หนึ่งเสียงของเขาไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรอย่างเป็นรูปธรรมต่อพวกเขาเลย ในทางกลับกัน นโยบายและทรัพยากรทั้งหลายต่างกระจุกตัวอยู่ในเมือง หากมองอย่างสังคมวิทยากฎหมายแล้ว เหล่านี้คือกลุ่มผลประโยชน์ชนิดหนึ่ง ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ถูกละเลย ในขณะที่กลุ่มผลประโยชน์อื่นๆในสังคมกลับได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อพวกเขาเหล่านี้มิอาจทนไหวจึงออกมาเรียกร้องและแสดงออกถึงความคิดเห็นเพื่อสิ่งที่ตนควรจะได้รับ
นอกจากนี้ สมควรกล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทยนั้น ปัญหาเรื่องการไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองอันเป็นโครงสร้างส่วนบน ตั้งแต่หลังการอภิวัฒน์ 2475 เป็นต้นมา ก็ยังคงดำรงอยู่ถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งดังกล่าวได้แผ่ขยายออกไปยังภาคส่วนต่างๆในสังคมด้วย ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรจะต้องกระทำในมุมมองของสังคมวิทยากฎหมายคือ ต้องไม่ปฏิเสธที่จะรับรู้อย่างแท้จริงว่า ปัจจุบันมีกลุ่มผลประโยชน์ใดบ้างในสังคม และพยายามประสานประโยชน์ให้กลมกลืน(Harmony)กันให้ได้มากที่สุด การปฏิเสธที่จะกล่าวถึงหรือยอมรับการมีอยู่ของกลุ่มผลประโยชน์ใดกลุ่มประโยชน์หนึ่ง เป็นข้อบกพร่องอย่างมากในมุมมองสังคมวิทยากฎหมาย ดังเช่นไม่นานมานี้ มีนักกฎหมายอาวุโสผู้หนึ่งได้พูดถึงการนำสังคมวิทยากฎหมายมาใช้ในการแก้ปัญหาการทางการเมือง แต่ตัวของนักกฎหมายผู้นั้นเองกลับมองข้ามและชิงชังการมีอย่างของกลุ่มผลประโยชน์ที่เขาเรียกว่า “กลุ่มทุนนิยมการเมือง” หรือ “เผด็จการทุนนิยม” การมีอคติเช่นนี้ ในทางสังคมวิทยากฎหมายแล้ว นักกฎหมายไม่อาจจะออกแบบกฎหมายให้สอดรับประสานผลประโยชน์ได้อย่างลงตัวเลย ในการนี้ดูกีว์จึงยืนยันว่าชีวิตความเป็นไปทางสังคมควรได้รับการพิจารณาตามสภาพข้อเท็จจริงที่มันดำเนินอยู่หากเราต้องการเห็นภาพทั่วไปของสังคมอย่างถูกต้องใกล้เคียงที่สุด11 ในเรื่องนี้รศ.ดร.วรเจตน์ภาคีรัตน์เห็นว่า12
“การวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จะต้องนำสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองทุกกลุ่มทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและที่ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อพิจารณาว่าสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร การกระจายผลประโยชน์ในทางการเมืองบนพื้นฐานของกติกาประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่การวิเคราะห์เฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น ด้วยเหตุนี้หากจะวิเคราะห์สภาพสังคมวิทยาการเมืองไทยให้เป็นวิชาการจริงๆแล้ว ผู้วิเคราะห์จะต้องวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในทางการเมืองของสถาบันและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเหล่านี้ทั้งหมด คือ สถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรี นักการเมืองและพรรคการเมือง บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี ผู้พิพากษาตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทหาร ข้าราชการ พนักงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักธุรกิจ นักวิชาการ สื่อมวลชนตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เพราะหากการวิเคราะห์ไม่ได้กระทำอย่างรอบด้านแล้ว ก็อาจนำไปสู่บทสรุปที่ผิดพลาดได้”
ประการที่สอง ความมุ่งหวังให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมภายใต้การประกาศใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิภาคพจน์(Paradox) เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในมุมมองของเยียริ่ง อาจเป็นไปว่าสิ่งนี้คือ สิ่งที่เขาเรียกว่า การคัดง้างตัวของสังคม กฎหมายที่ออกมาเพื่อข่มขู่ลงโทษในขณะที่การดำเนินการเพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมกำลังดำเนินการต่อไป ในความเป็นจริงสภาพการณ์เช่นนี้อาจไม่เป็นไปตามทฤษฎีของเขา เพราะการใช้กฎหมายเพื่อข่มขู่และลงโทษออกจะเกิดเลยไปกว่าการดำเนินการที่ให้ผลในเชิงบวก การคัดง้างตัวจึงไม่อาจสำเร็จลุล่วงไปได้ แต่หากเป็นไปตามทฤษฎีผลประโยชน์ของพาวด์แล้วนั้น การใช้อำนาจตามกฎหมายกดมิให้กลุ่มผลประโยชน์ใดผลประโยชน์หนึ่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้อง แสดงความปรารถนาของ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะระบบการจัดการผสมผสานประโยชน์ไม่อาจเป็นไปตามความต้องการแท้จริงของสังคม
ประการที่สาม ปัญหาความยากจน ปัญหาเรื่องชนชั้น ตลอดจนปัญหาเรื่องการแตกแยกของคนในสังคมต่างมีลักษณะที่เรียกว่าสหสัมพันธ์(Relative) กันอย่างมิอาจจะแยกออกจากกันได้ กล่าวคือ เมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของคนสองกลุ่มแตกต่างกัน คนที่มีฐานะเหนือกว่าย่อมมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่า สามารถกำหนดชะตากรรมทางเศรษฐกิจของคนที่มีฐานะด้อยกว่าได้ ซึ่งปรากฏมาในรูปของการกดขี่ทางแรงงาน การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ยิ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีเท่าไหร่ โอกาสในการเข้าสู่กระบวนการทางอำนาจ (เช่นการเมือง) ย่อมมีขึ้นมากเท่านั้น หรือโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่า เช่น การศึกษาขั้นสูงก็จะมีมากขึ้น และเมื่อมีการศึกษาสูงขึ้น หรือเมื่อเข้าสู่อำนาจได้ก็ยิ่งหาช่องทางและโอกาสในการเพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่งคั่งยิ่งขึ้นเข้าไปอีก ความห่างทางสังคมและชนชั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัญหาการแตกแยกก็จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และเราต้องยอมรับว่าความแตกต่างนี้นำมาสู่ความแตกแยกของสังคมอย่างเช่นทุกวันนี้ ซึ่งในสายตาของสังคมวิทยากฎหมายแล้ว สิ่งเหล่านี้คือการไม่อาจประสานกันได้ของผลประโยชน์ต่างๆ
ในมุมมองของสังคมวิทยากฎหมาย กฎหมายต้องทำหน้าที่ประสานผลประโยชน์ของกลุ่มคนต่างๆให้เข้ากัน เพื่อความกลมกลืนของสังคม นำไปสู่ความสมานฉันท์ของสังคมอย่างที่ ดูกีว์คาดหวังไว้ ในต่างประเทศอาทิ ประเทศอังกฤษ หรือกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้มีชุดของกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อประสานประโยชน์และลดช่องว่างของสังคม เราเรียกว่า ชุดกฎหมายความยากจน(Poverty Law Series) ซึ่งได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับคนยากจน (Poor Law), กฎหมายการช่วยเหลือด้านอาหาร, กฎหมายช่วยเหลือผู้ไร้ที่อยู่อาศัย, กฎหมายสวัสดิการสังคม, กฎหมายประกันสังคม, กฎหมายเพื่อผู้อนาถา ฯลฯ จะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วนั้น กฎหมายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ถูกตราขึ้นจากข้อเท็จจริงของสังคม เพื่อแก้ปัญหาของสังคม และสิ่งเหล่านี้ ในบางประเทศอาจมีความโน้มเอียงไปในทางรัฐสวัสดิการ (Welfare State) คือ รัฐเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในฐานะประสานประโยชน์ของแต่ละฝ่าย สำหรับดูกีว์นั้น สถาบันทางสังคมทั้งหมดจะต้องถูกตัดสินกันที่จุดว่ามันมีส่วนช่วยเสริมความสมานฉันท์ของสังคมได้อย่างไร รัฐนั้นมิได้มีตำแหน่งหรือฐานะเป็นบุคคลพิเศษแต่อย่างใด มิได้มีตัวตนลึกลับที่ไหนเมื่อมองตามความเป็นจริง แต่เป็นองค์การรูปหนึ่งของประชาชน ซึ่งได้รับความเชื่อถือตราบเท่าที่มันส่งเสริมความสมานฉันท์ของสังคม หากมันมิได้แสดงบทบาทนี้แล้วก็ย่อมถือว่าเป็นพันธะหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องต่อต้านรัฐ เรื่องอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน มิใช่ถ้อยคำที่อ้างหรูหราและว่างเปล่า หากมีกำเนิดจากบทบาทหน้าที่การรับใช้บริการสังคมมากกว่า แท้จริงแล้วความคิดเรื่องการบริการสังคม(Public service) สมควรนำมาแทนที่ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย13
บทสรุป
กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า แนวโน้มของกฎหมายในโลกนี้ มิอาจจะผละไปได้จากการศึกษาข้อเท็จจริงอื่นๆทางสังคมควบคู่ไปด้วย แนวความคิดของสังคมวิทยากฎหมายจึงเป็นแนวคิดที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้ในปัจจุบัน ทั้งในการการพัฒนาสังคม การศึกษาสังคม และประสานผลประโยชน์ต่างๆอันทำให้สังคมสงบสุข กฎหมายในฐานะข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อันหนึ่งของสังคมย่อมมีหน้าที่เพื่อสิ่งเหล่านั้น
ปัญหาความยากจน ปัญหาชนชั้น และปัญหาการแตกแยกของสังคมไทย หากมองในแง่ของสังคมวิทยากฎหมายแล้ว การออกแบบกฎหมายมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นแนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่กุมอำนาจรัฐในฐานะผู้ออกกฎหมาย ก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งที่สำคัญ การออกกฎหมายมาเพื่อให้ตนเองเสียประโยชน์นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากดังที่ คาร์ล มาร์กซ์ กล่าวว่า ชนชั้นใดย่อมออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสุดคือร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเราต้องยอมรับว่าผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือเหล่าบรรดาผู้พิจารณาร่างกฎหมายนี้นั่นเอง ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ยิ่งมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการทางอำนาจซึ่งก็คือทางการเมืองมากเท่าไหร่ ความมั่งคั่งก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย การถือครองทรัพย์สินเหล่านี้ก็ย่อมที่จะมากตาม และท้ายสุดตนนั่นเองที่จะเป็นผู้เสียประโยชน์
ในท้ายที่สุด ปัญหาความแตกแยกในสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้มีอำนาจเองไม่ได้มีเป้าประสงค์ที่แท้จริงในการประสานกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีหรือยากจน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่จะเข้ามามีอำนาจทางการเมืองหรือเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม มิหนำซ้ำการมองข้าม การพยายามกำจัดหรือทำลายกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ย่อมไม่อาจจะให้เกิดเกิดความสมานฉันท์ขึ้นได้เลยตราบใดที่ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ และในท่ามกลางความบิดเบือนข้อเท็จจริงเหล่านี้ คงเป็นไปได้ยากยิ่งที่กฎหมายจะถูกออกแบบมาทำหน้าที่ประสานรอยร้าวของสังคม และนักกฎหมายก็คงมิอาจจะทำหน้าที่วิศวกรสังคมได้อย่างมุ่งหวังไว้ ข้อเท็จจริงทางสังคมที่บิดเบือนย่อมส่งผลให้กฎหมายที่ออกมาบิดเบือนตามไปด้วยนอกจากนี้ การมองข้ามกลุ่มคนด้อยฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเลือกปฏิบัติต่อผู้คนเหล่านี้อย่างไม่เป็นธรรม เสมือนพลเมืองชั้นรองของประเทศ ปิดกั้นการแสดงออกซึ่งข้อเรียกร้องของผู้คนเหล่านั้น คือการมองข้ามกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นจำนวนมากที่สุดของประเทศไป ดังนั้น ในสายตาของสังคมวิทยากฎหมาย ความปรองดองที่แม้จริงของสังคมในสภาพโดยใช้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายเป็นเครื่องช่วยรังสรรค์ในสภาวการณ์เช่นนั้น ก็คงมิต่างอะไรกับการวิ่งวนในเขาวงกตที่กฎหมายมิอาจนำทางออกมาสู่สังคมได้อย่างแท้จริง.
----------------------------------
1. สมยศ เชื้อไทย,ทฤษฎีกฎหมายนิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 12 แก้ไขเพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552) น.145.
2. เพิ่งอ้าง, น. 138.
3.Georges Gurvitch, Sociology of Law, second impression (London : Lowe and Brydone(Printer) LTD.), P. 59.
4. Supra note 3, P. 77.
5. จรัญ โฆษณานันท์, นิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 15 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550), น.255-256.
6. ปรดี เกษมทรัพย์, นิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546), น. 277.
7. Raymond Wacks, Understanding Jurisprudence An Introduction to Legal Theory, First Publish (New York: Oxford University Press Inc, 2005), P.201.
8. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1, น. 141.
9. เพิ่งอ้าง, น.142.
10. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5, น.244
11. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5, น.246.
12. วรเจตน์ ภาคีรัตน์,“จดหมายชี้แจง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, www.pub-law.net
13. Léon Duguit, Law in the Modern State, (New York, Howard Fertig,1970), PP xliv,32-67 อ้างใน จรัญ โฆษณานันท์, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 5, น.246-247.
******************************************************************************
สัมพันธ์ ไทย-ซาอุดิฯ
ดูๆเรื่องการสละตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม จะกลายเป็นเรื่องวีรกรรมยิ่งใหญ่สำหรับวงการตำรวจไทยไปเสียแล้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชมไม่ขาดปาก
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ยกย่องเป็นตัวอย่างที่ดี
พี่น้องไทยมุสลิมที่ได้วีซ่าไปแสวงบุญก็รู้สึกซาบซึ้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครางด้วยความโล่งใจว่าสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียจะกลับคืนสู่สภาพปรกติได้
ผู้เขียนมองปรากฏการณ์ในเมืองไทยประเด็นนี้ว่าเป็นปรากฏการณ์ศรีธนญชัยชัดแจ้ง
เหตุอะไรจึงกล่าวเช่นนั้น
คำตอบคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอด 2 สัปดาห์แห่งการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด เป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นพยับแดด เป็นมายาภาพ ที่ฉายให้เห็นความล้มเหลว ความไร้การบริหารของงานตำรวจนั่นเอง
เทียบเคียงให้เห็นก็คือ เรื่องของจ่าเพียร แห่งจังหวัดยะลานั่นเอง
จ่าเพียรหรือ พ.ต.อ.สมเพียร หรือสุดท้ายคือ พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผู้โด่งดังและได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษของตำรวจมาก่อนหน้านี้ เขาเป็นคนทำงานดี กล้าหาญ แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่าที่ควร
ก็สุเทพกับอภิสิทธิ์นั่นแหละ จะเป็นใครไปเสียอีก
จนกระทั่งเขาตาย สายเสียแล้วจึงค่อยมายกย่องให้ความสำคัญกัน
พูดอย่างนี้พอจะเห็นภาพหรือยัง?
เรื่องของ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม นั้นสาระอยู่ที่ว่าเขาเป็นจำเลยในคดีอาญา ต้องหาว่าร่วมกันฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย แต่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง และ ก.ตร. ทำบอดตาใสแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งหลักคือ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
จุดมุ่งหมายก็คือ เพื่อกำราบปราบปรามคนเสื้อแดง
การแต่งตั้งแบบนี้ทางซาอุดีอาระเบียเขาไม่พอใจ เขามองว่ารัฐบาลไทยทำปากว่าตาขยิบ สัมพันธภาพระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียที่ลดลงมาเหลือขั้นอุปทูตจึงเย็นชาต่อไปอีก
ครั้นมาปีนี้ คุณสมคิดก็โชคดีได้รับการสนับสนุนให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราไม่ยี่หระหรือไม่อินังขังขอบกับความรู้สึกของซาอุฯเลย
เขาก็แสดงท่าทีให้รู้ด้วยการโยกการออกวีซ่า
พี่น้องมุสลิมของเราก็ออกมาโวยวาย เพราะกลัวจะไปแสวงบุญไม่ได้ อีกทั้งยังนึกไม่ออกว่าซาอุฯจะมีมาตรการใดออกมามากกว่านั้น ซึ่งจะเป็นผลให้ความสัมพันธ์เสื่อมลงไปอีก
ทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยไม่เคยสำนึก
นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพไม่เคยออกมารับความจริง (ตามวิสัยของคนทำอะไรไม่ผิด) ก.ตร. เองก็ไม่เคยสำเหนียก
ดีที่ พล.ต.ท.สมคิดเขาคิดเองเป็น
เขาก็เลยประกาศสละตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร.
ทาง ก.ตร. ได้โอกาสก็มาปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ใหม่จากผู้ช่วย ผบ.ตร. ไปเป็นจเร ซึ่งจะแปลว่าเสมอตัว หรือสูงขึ้น หรือว่าจะตกต่ำลงก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ทำให้อุปทูตซาอุฯพอใจระดับหนึ่ง
แล้วก็เลยเปิดให้มีการทำวีซาต่อตามปรกติ
ทำวีซ่าต่อตามปรกติ หมายความว่าเป็นเรื่องที่เขาให้โควตาแก่มุสลิมไทยและออกวีซ่าให้อยู่แล้ว หรือมีแผนงานจะออกให้อยู่แล้ว ก่อนที่จะมาผิดเส้นกันเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ถามว่าแล้วนี่จะเคลมเป็นผลงานของใครที่ไหน?
เป็นผลงานของนายอภิสิทธิ์ หรือ-ไม่ใช่
เป็นผลงานของนายสุเทพ หรือ-ไม่ใช่
เป็นผลงานของ ก.ตร. หรือ ก็ไม่ใช่อีก
ทั้ง 3 นามที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่เป็นผู้สร้างปัญหาขึ้นมาทั้งสิ้น และยังไม่เคยสำนึก สำเหนียก ในความที่ตนจะต้องรับผิดชอบกันเลย
พล.ต.ท.สมคิดต่างหากที่คลายปัญหานี้ ด้วยการประกาศสละตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร. ซึ่งเขาก็รับความดีส่วนนี้ไปอย่างไม่มีใครคัดง้างได้
แต่ความเป็นจำเลยและความเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาแท้จริงยังคงอยู่
แล้วสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯที่ใครบางคนโม้แบบศรีธนญชัยว่าจะดีขึ้นนั้น มันจะดีขึ้นตรงไหน
ดีขึ้นตรงมุสลิมไทยได้วีซ่าไปแสวงบุญน่ะหรือ อย่างนี้เขาเรียกว่าเท่าทุนครับท่านสารวัตร
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
โดย. อัคนี คคนัมพร
*******************************************
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชมไม่ขาดปาก
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ยกย่องเป็นตัวอย่างที่ดี
พี่น้องไทยมุสลิมที่ได้วีซ่าไปแสวงบุญก็รู้สึกซาบซึ้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครางด้วยความโล่งใจว่าสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียจะกลับคืนสู่สภาพปรกติได้
ผู้เขียนมองปรากฏการณ์ในเมืองไทยประเด็นนี้ว่าเป็นปรากฏการณ์ศรีธนญชัยชัดแจ้ง
เหตุอะไรจึงกล่าวเช่นนั้น
คำตอบคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอด 2 สัปดาห์แห่งการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด เป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นพยับแดด เป็นมายาภาพ ที่ฉายให้เห็นความล้มเหลว ความไร้การบริหารของงานตำรวจนั่นเอง
เทียบเคียงให้เห็นก็คือ เรื่องของจ่าเพียร แห่งจังหวัดยะลานั่นเอง
จ่าเพียรหรือ พ.ต.อ.สมเพียร หรือสุดท้ายคือ พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผู้โด่งดังและได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษของตำรวจมาก่อนหน้านี้ เขาเป็นคนทำงานดี กล้าหาญ แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่าที่ควร
ก็สุเทพกับอภิสิทธิ์นั่นแหละ จะเป็นใครไปเสียอีก
จนกระทั่งเขาตาย สายเสียแล้วจึงค่อยมายกย่องให้ความสำคัญกัน
พูดอย่างนี้พอจะเห็นภาพหรือยัง?
เรื่องของ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม นั้นสาระอยู่ที่ว่าเขาเป็นจำเลยในคดีอาญา ต้องหาว่าร่วมกันฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย แต่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง และ ก.ตร. ทำบอดตาใสแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งหลักคือ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
จุดมุ่งหมายก็คือ เพื่อกำราบปราบปรามคนเสื้อแดง
การแต่งตั้งแบบนี้ทางซาอุดีอาระเบียเขาไม่พอใจ เขามองว่ารัฐบาลไทยทำปากว่าตาขยิบ สัมพันธภาพระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียที่ลดลงมาเหลือขั้นอุปทูตจึงเย็นชาต่อไปอีก
ครั้นมาปีนี้ คุณสมคิดก็โชคดีได้รับการสนับสนุนให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราไม่ยี่หระหรือไม่อินังขังขอบกับความรู้สึกของซาอุฯเลย
เขาก็แสดงท่าทีให้รู้ด้วยการโยกการออกวีซ่า
พี่น้องมุสลิมของเราก็ออกมาโวยวาย เพราะกลัวจะไปแสวงบุญไม่ได้ อีกทั้งยังนึกไม่ออกว่าซาอุฯจะมีมาตรการใดออกมามากกว่านั้น ซึ่งจะเป็นผลให้ความสัมพันธ์เสื่อมลงไปอีก
ทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยไม่เคยสำนึก
นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพไม่เคยออกมารับความจริง (ตามวิสัยของคนทำอะไรไม่ผิด) ก.ตร. เองก็ไม่เคยสำเหนียก
ดีที่ พล.ต.ท.สมคิดเขาคิดเองเป็น
เขาก็เลยประกาศสละตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร.
ทาง ก.ตร. ได้โอกาสก็มาปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ใหม่จากผู้ช่วย ผบ.ตร. ไปเป็นจเร ซึ่งจะแปลว่าเสมอตัว หรือสูงขึ้น หรือว่าจะตกต่ำลงก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ทำให้อุปทูตซาอุฯพอใจระดับหนึ่ง
แล้วก็เลยเปิดให้มีการทำวีซาต่อตามปรกติ
ทำวีซ่าต่อตามปรกติ หมายความว่าเป็นเรื่องที่เขาให้โควตาแก่มุสลิมไทยและออกวีซ่าให้อยู่แล้ว หรือมีแผนงานจะออกให้อยู่แล้ว ก่อนที่จะมาผิดเส้นกันเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ถามว่าแล้วนี่จะเคลมเป็นผลงานของใครที่ไหน?
เป็นผลงานของนายอภิสิทธิ์ หรือ-ไม่ใช่
เป็นผลงานของนายสุเทพ หรือ-ไม่ใช่
เป็นผลงานของ ก.ตร. หรือ ก็ไม่ใช่อีก
ทั้ง 3 นามที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่เป็นผู้สร้างปัญหาขึ้นมาทั้งสิ้น และยังไม่เคยสำนึก สำเหนียก ในความที่ตนจะต้องรับผิดชอบกันเลย
พล.ต.ท.สมคิดต่างหากที่คลายปัญหานี้ ด้วยการประกาศสละตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร. ซึ่งเขาก็รับความดีส่วนนี้ไปอย่างไม่มีใครคัดง้างได้
แต่ความเป็นจำเลยและความเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาแท้จริงยังคงอยู่
แล้วสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯที่ใครบางคนโม้แบบศรีธนญชัยว่าจะดีขึ้นนั้น มันจะดีขึ้นตรงไหน
ดีขึ้นตรงมุสลิมไทยได้วีซ่าไปแสวงบุญน่ะหรือ อย่างนี้เขาเรียกว่าเท่าทุนครับท่านสารวัตร
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
โดย. อัคนี คคนัมพร
*******************************************
เตือนแบงก์ชาติ รอบคอบ..
เข็นมาตรการคุมเงินทุนตลาดบอนด์
นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 เป็น ต้นมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวด เร็วจากระดับ 32.214 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.53 มาอยู่ที่ระดับ 30.748 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 13 ก.ย.53 หรือแข็งค่าขึ้นราว 4.8% ภาย ในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเศษ หรือหากย้อนไปตั้งแต่ต้นปี 53 พบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วกว่า 8.0%
ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งขึ้นต่อเนื่องทำให้ผลักดันมาตรการลดแรงกดดันค่าเงินบาทโดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการดูแลปัญหาการแข็งค่ามาใช้ ประกอบ ด้วย 1.อนุญาตให้นิติบุคคล ลงทุน หรือให้กู้ยืมแก่บริษัทแม่ และกิจการในเครือในต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน จากเดิมที่ให้ลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ไม่จำกัด แต่ให้กู้ยืมได้ไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และ ให้กู้ยืมแต่บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ 200 ล้านเหรียญต่อปี
2.การเปิดให้นำเงินไปซื้ออสังหาฯในต่างประเทศได้มากขึ้น จากเดิม 5 ล้าน เหรียญต่อปี เพิ่มเป็น 10 ล้านเหรียญฯ ต่อปี 3.การเปิดให้นำเงินไปให้บริษัทในต่างประเทศที่ไม่ใช่บริษัทในเครือกู้ยืมได้สะดวกขึ้น จากเดิมต้องขออนุญาตเป็นรายกรณีเปลี่ยนเป็นให้กู้ได้ไม่เกิน 50 ล้าน เหรียญต่อปี โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน และ 4.เปิดให้ฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศเพิ่มเป็น 5 แสนเหรียญทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคล ธรรมดา
ขณะเดียวกัน ธปท.ยืนยันว่ามาตรการเดิมที่ธปท.ใช้ดำเนินการอยู่นั้นยังเพียงพอที่จะดูแลการไหลเข้ามายังตลาดตราสารหนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการ อื่นเพิ่มเติม
“บุญทักษ์ หวังเจริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) กล่าวให้ความเห็นถึงกรณีที่ธปท.อาจจะออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ว่า มาตรการดังกล่าวอาจเป็นการควบคุมสภาพคล่องของเงินทุนที่เข้ามา ดังนั้น ธปท.จึงต้องประเมินให้ครอบคลุม เนื่อง จากอาจส่งผลกระทบในหลายด้าน
อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่า ธปท.จะสามารถดูแลประเด็นต่างๆ ได้ ส่วนกรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น ย่อมส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกโดยเฉพาะในภาคธุรกิจ เอสเอ็มอี แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มธุรกิจหลักในด้านการส่งออกของไทยโดยเฉพาะยานยนต์เชื่อว่าจะยังมีประสิทธิภาพที่สามารถแข่งขันได้
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาเสนอแนวทางให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า (20 ต.ค.) เพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินบาทนั้น “บุญทักษ์” บอกว่า ถือเป็นโจทย์ที่ยากต่อการประเมินของ กนง. ซึ่งต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันต้องสามารถสร้างความสมดุลให้เงินทุนไหลเข้าเพื่อป้องกันการแข็งค่าของค่าเงินบาทมากจนเกินไป
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยในเรื่องค่าเงินบาท ส่งผลให้ปริมาณลูกค้าที่มาทำเทรดไฟแนนซ์ของธนาคารเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็นเท่าตัว โดยในปีก่อนมีปริมาณอยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นปัจจุบันที่ 5 แสนล้านบาท โดยปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะนำมาซึ่งรายได้จากอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคาร
“บุญทักษ์” ยังมองถึงทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังว่า อาจไม่สามารถขยายตัวได้เทียบเท่าครึ่งปีแรก เนื่องจากมีปัจจัยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาท แต่อย่างไรก็ดีภาพรวมการขยายตัวของจีดีพีทั้งปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7% โดยในส่วนของภาคธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังมีการฟื้นตัว ที่ดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก เพราะธนาคารมีความพร้อมในการดูแลลูกค้าที่ดีขึ้น
ขณะที่ “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ระบุว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นมีผลใน 2 ด้าน ทั้งในส่วนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก แต่ที่ผ่านมายังพบว่าผู้ส่งออกยังสามารถดำเนินการค้าได้อยู่ และนักท่องเที่ยวก็ยังเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ส่วนมาตรการลดแรงกดดันค่าเงินบาทนั้น นักลงทุนก็อาจนำเงินไหลออกไปบ้าง แต่ควรที่จะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกมากกว่า อีกทั้งการแข็งค่านั้นเกิดขึ้นสอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ภาคการเงินและการคลังต้องร่วมมือกันหามาตรการที่พอจะทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้
“อย่างไรก็ตาม แบงก์ไม่ลงไปเล่นค่าเงิน แค่รับมาแล้วส่งต่อไปตามลูกค้า อำนวยความสะดวกอยู่ส่วนกลาง นี่คือในส่วนของเคแบงก์ ซึ่งแต่ละแบงก์ก็มี นโยบายที่ต่างกัน ของเราไม่มีนโยบายเก็งกำไร ลูกค้าก็อยู่ที่ว่าเขายืนในฝั่งไหน คนที่ซื้อของในประเทศแล้วส่งออกรับเงินเป็นดอลลาร์ก็แย่หน่อย คนสั่งนำเข้าก็ได้เปรียบเป็นของธรรมดา” นายบัณฑูร กล่าว
ขณะที่ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวถึงแนวโน้มการออกมาตรการควบคุมเงินทุนในตลาดตราสารหนี้ว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะการออกมาตรการใดๆออกมาอาจมีผลข้างเคียงต่อการลงทุน ดังจะเห็นได้จากในอดีต ดังนั้นควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการใช้อัตราดอกเบี้ยมาเป็นเครื่องมือช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาทตามที่หลายฝ่ายออกมาเรียกร้อง อาจไม่ได้ช่วยมากนัก แต่มองว่าควรใช้ประโยชน์จากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น มานำเข้า เครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตดีกว่า
ส่วน 5 มาตรการของ ธปท.และกระทรวงการคลังที่ออกมา เพื่อลดแรงกดดันเงินบาทนั้น เป็นการดำเนินมาตรการต่อเนื่องจากเดิม ซึ่งมาตรการส่วนใหญ่เป็นการขยายเพดานการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้นแม้อาจไม่ได้ช่วยให้ค่าเงินบาทลดการแข็งค่าลงมากนัก
“ถือว่ายังดีกว่าที่ไม่มีมาตรการใดออกมาดูแลจากทางภาครัฐเลย เพราะมองว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดี ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง”
ด้านน.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้จัดการฝ่ายวิจัยการเงินการธนาคาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า โอกาสที่กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า (20 ต.ค.) เริ่มมีน้อยลง จากที่ก่อนหน้านี้ศูนย์วิจัยฯ เชื่อว่า การประชุม กนง.ครั้งหน้ามีโอกาสมากกว่า 50% ที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
กล่าวได้ว่า การแข็งค่าของเงินบาทนอกจากจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบ กับคู่แข่งแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการของผู้ส่งออก ก็อยู่ที่ภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการอย่าไร โดยมีบทเรียนในอดีตถึงการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศมาแล้ว
ที่มา.สยามธุรกิจ
******************************************************
นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 เป็น ต้นมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวด เร็วจากระดับ 32.214 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.53 มาอยู่ที่ระดับ 30.748 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 13 ก.ย.53 หรือแข็งค่าขึ้นราว 4.8% ภาย ในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเศษ หรือหากย้อนไปตั้งแต่ต้นปี 53 พบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วกว่า 8.0%
ปัญหาค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งขึ้นต่อเนื่องทำให้ผลักดันมาตรการลดแรงกดดันค่าเงินบาทโดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการดูแลปัญหาการแข็งค่ามาใช้ ประกอบ ด้วย 1.อนุญาตให้นิติบุคคล ลงทุน หรือให้กู้ยืมแก่บริษัทแม่ และกิจการในเครือในต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน จากเดิมที่ให้ลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ไม่จำกัด แต่ให้กู้ยืมได้ไม่เกิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และ ให้กู้ยืมแต่บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ 200 ล้านเหรียญต่อปี
2.การเปิดให้นำเงินไปซื้ออสังหาฯในต่างประเทศได้มากขึ้น จากเดิม 5 ล้าน เหรียญต่อปี เพิ่มเป็น 10 ล้านเหรียญฯ ต่อปี 3.การเปิดให้นำเงินไปให้บริษัทในต่างประเทศที่ไม่ใช่บริษัทในเครือกู้ยืมได้สะดวกขึ้น จากเดิมต้องขออนุญาตเป็นรายกรณีเปลี่ยนเป็นให้กู้ได้ไม่เกิน 50 ล้าน เหรียญต่อปี โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน และ 4.เปิดให้ฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศเพิ่มเป็น 5 แสนเหรียญทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคล ธรรมดา
ขณะเดียวกัน ธปท.ยืนยันว่ามาตรการเดิมที่ธปท.ใช้ดำเนินการอยู่นั้นยังเพียงพอที่จะดูแลการไหลเข้ามายังตลาดตราสารหนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการ อื่นเพิ่มเติม
“บุญทักษ์ หวังเจริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) กล่าวให้ความเห็นถึงกรณีที่ธปท.อาจจะออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ว่า มาตรการดังกล่าวอาจเป็นการควบคุมสภาพคล่องของเงินทุนที่เข้ามา ดังนั้น ธปท.จึงต้องประเมินให้ครอบคลุม เนื่อง จากอาจส่งผลกระทบในหลายด้าน
อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่า ธปท.จะสามารถดูแลประเด็นต่างๆ ได้ ส่วนกรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น ย่อมส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกโดยเฉพาะในภาคธุรกิจ เอสเอ็มอี แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มธุรกิจหลักในด้านการส่งออกของไทยโดยเฉพาะยานยนต์เชื่อว่าจะยังมีประสิทธิภาพที่สามารถแข่งขันได้
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาเสนอแนวทางให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า (20 ต.ค.) เพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินบาทนั้น “บุญทักษ์” บอกว่า ถือเป็นโจทย์ที่ยากต่อการประเมินของ กนง. ซึ่งต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันต้องสามารถสร้างความสมดุลให้เงินทุนไหลเข้าเพื่อป้องกันการแข็งค่าของค่าเงินบาทมากจนเกินไป
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยในเรื่องค่าเงินบาท ส่งผลให้ปริมาณลูกค้าที่มาทำเทรดไฟแนนซ์ของธนาคารเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็นเท่าตัว โดยในปีก่อนมีปริมาณอยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นปัจจุบันที่ 5 แสนล้านบาท โดยปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะนำมาซึ่งรายได้จากอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคาร
“บุญทักษ์” ยังมองถึงทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังว่า อาจไม่สามารถขยายตัวได้เทียบเท่าครึ่งปีแรก เนื่องจากมีปัจจัยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาท แต่อย่างไรก็ดีภาพรวมการขยายตัวของจีดีพีทั้งปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7% โดยในส่วนของภาคธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังมีการฟื้นตัว ที่ดีขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก เพราะธนาคารมีความพร้อมในการดูแลลูกค้าที่ดีขึ้น
ขณะที่ “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ระบุว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นมีผลใน 2 ด้าน ทั้งในส่วนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก แต่ที่ผ่านมายังพบว่าผู้ส่งออกยังสามารถดำเนินการค้าได้อยู่ และนักท่องเที่ยวก็ยังเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ส่วนมาตรการลดแรงกดดันค่าเงินบาทนั้น นักลงทุนก็อาจนำเงินไหลออกไปบ้าง แต่ควรที่จะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกมากกว่า อีกทั้งการแข็งค่านั้นเกิดขึ้นสอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ภาคการเงินและการคลังต้องร่วมมือกันหามาตรการที่พอจะทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้
“อย่างไรก็ตาม แบงก์ไม่ลงไปเล่นค่าเงิน แค่รับมาแล้วส่งต่อไปตามลูกค้า อำนวยความสะดวกอยู่ส่วนกลาง นี่คือในส่วนของเคแบงก์ ซึ่งแต่ละแบงก์ก็มี นโยบายที่ต่างกัน ของเราไม่มีนโยบายเก็งกำไร ลูกค้าก็อยู่ที่ว่าเขายืนในฝั่งไหน คนที่ซื้อของในประเทศแล้วส่งออกรับเงินเป็นดอลลาร์ก็แย่หน่อย คนสั่งนำเข้าก็ได้เปรียบเป็นของธรรมดา” นายบัณฑูร กล่าว
ขณะที่ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวถึงแนวโน้มการออกมาตรการควบคุมเงินทุนในตลาดตราสารหนี้ว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะการออกมาตรการใดๆออกมาอาจมีผลข้างเคียงต่อการลงทุน ดังจะเห็นได้จากในอดีต ดังนั้นควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการใช้อัตราดอกเบี้ยมาเป็นเครื่องมือช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาทตามที่หลายฝ่ายออกมาเรียกร้อง อาจไม่ได้ช่วยมากนัก แต่มองว่าควรใช้ประโยชน์จากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น มานำเข้า เครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตดีกว่า
ส่วน 5 มาตรการของ ธปท.และกระทรวงการคลังที่ออกมา เพื่อลดแรงกดดันเงินบาทนั้น เป็นการดำเนินมาตรการต่อเนื่องจากเดิม ซึ่งมาตรการส่วนใหญ่เป็นการขยายเพดานการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้นแม้อาจไม่ได้ช่วยให้ค่าเงินบาทลดการแข็งค่าลงมากนัก
“ถือว่ายังดีกว่าที่ไม่มีมาตรการใดออกมาดูแลจากทางภาครัฐเลย เพราะมองว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดี ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง”
ด้านน.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้จัดการฝ่ายวิจัยการเงินการธนาคาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า โอกาสที่กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า (20 ต.ค.) เริ่มมีน้อยลง จากที่ก่อนหน้านี้ศูนย์วิจัยฯ เชื่อว่า การประชุม กนง.ครั้งหน้ามีโอกาสมากกว่า 50% ที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
กล่าวได้ว่า การแข็งค่าของเงินบาทนอกจากจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบ กับคู่แข่งแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการของผู้ส่งออก ก็อยู่ที่ภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการอย่าไร โดยมีบทเรียนในอดีตถึงการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศมาแล้ว
ที่มา.สยามธุรกิจ
******************************************************
บทบาทของนักกฎหมายไทยต่อการรัฐประหาร และการจัดการกับคณะรัฐประหารแบบตุรกี
โดย คุณนรินทร์ อิธิสาร
รัฐประหารครั้งล่าสุดของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นคือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนในฐานะนักเรียนกฎหมายที่พอจะได้ติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการรัฐประหารดังกล่าวอยู่บ้างเกิดความฉงนและจับต้นชนปลายไม่ถูกคือ พฤติกรรมของนักกฎหมายบางคนบางกลุ่มในประเทศไทยซึ่งหลายคนเคยเป็นครูบาอาจารย์ของผู้เขียนที่ได้มีพฤติกรรมไปในทางสนับสนุนการทำรัฐประหาร
พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ผู้เขียนเริ่มเรียนวิชากฎหมายในปีแรกๆ ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาจารย์คนหนึ่งได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายต้องนั่งลง” ซึ่งหากเปรียบกับการรัฐประหารเป็นเสียงปืนเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นนักกฎหมายก็ต้องนั่งลง
กรณีนี้ก็ไม่มีเหตุใดๆ ที่จะต้องไปตำหนิติเตียนหรือว่ากล่าวนักกฎหมายนั้นๆ หรือเรียกร้องให้พวกเขาเหล่านั้นออกมาดำเนินการต่อต้านการทำรัฐประหารแต่อย่างใดได้เพราะเป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จะรักชีวิตร่างกายของตน การที่จะไปเรียกร้องให้ทุกคนกระทำการต่อต้านรัฐประหาร เช่น ขับรถไปชนรถถังเพื่อต่อต้านการรัฐประหารเหมือนคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก
สิ่งที่น่าผิดหวังคือนักกฎหมายของไทยบางกลุ่มเมื่อเสียงปืนดังขึ้นหรือหลังจากที่เสียงปืนได้สงบลงแล้ว นักกฎหมายบางคนบางกลุ่มไม่ได้แค่นั่งลงเฉยๆ แต่กลับเข้าไปนั่งให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร แล้วยังสามารถมากล่าวอ้างว่าเป็นคนที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเต็มปาก
บางคนบางกลุ่มก็เป็นครูบาอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยที่สอนหลักประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ฯลฯ ซึ่งนักกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ต่างไปจากคนที่เอาดอกไม้ ข้าวปลาอาหาร หรือแต่งชุดยอดมนุษย์ หรือส่งสาวพริตตี้ไปเต้นให้กำลังใจผู้ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ประการใด เพราะบุคคลเหล่านี้ก็คือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนรัฐประหารนั่นเอง
กลุ่มนักวิชาการไทยบางกลุ่มโดยเฉพาะนักกฎหมายไทยที่เข้าไปร่วมกับคณะรัฐประหารภายหลังการล้มรัฐบาลสำเร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการตรา หรือร่าง ประกาศคณะรัฐประหาร, ร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฯลฯ หรือเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ(พิเศษ) ที่คณะรัฐประหารได้จัดตั้งขึ้นมา หรือยอมรับและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าเป็นการกระทำของ “รัฐาธิปัตย์” โดยไม่มีปากเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้วยข้ออ้างประการใดก็ตามการกระทำทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นการสนับสนุนการทำรัฐประหารและเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ซึ่งพฤติกรรมของนักกฎหมายไทยบางกลุ่มในลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นประจำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยถือเป็นเรื่องปกติ
หลายครั้งหลายคราที่เกิดการรัฐประหารและนักกฎหมายเข้าไปสนับสนุนให้การรัฐประหารนั้นดำเนินไปได้ด้วยดีโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา
เหตุผลประการหนึ่งคือ “ถ้าตนไม่เข้าไปดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว ก็จะส่งผลให้เสียให้เกิดความเสียหายหรืออาจจะเกิดความวุ่นวายต่อประเทศชาติบ้านเมืองได้” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะกรณีที่น่าพิจารณาคือถ้าคณะรัฐประหารไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมายในการเข้าไปเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร ผลเสียจากการทำรัฐประหารก็คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น และประชาชนชาวไทย คงได้เห็นข้อเสียของการทำรัฐประหารชัดเจนมากขึ้น และไม่เกิดความเคยชินกับรัฐประหาร และเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะตนไม่ได้มีความเดือดร้อนอะไรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมาคือปัญหาเกี่ยวกับผลในทางกฎหมายของการทำรัฐประหารที่เกิดนั้นว่าจะมีผลในทางกฏหมายอย่างไร?
นักกฎหมายไทยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการทำรัฐประหาร หรือวิธีการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ทำรัฐประหารโดยวิธีการทางกฎหมายภายหลังการทำรัฐประหารอย่างไร? ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการทำรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทยคือการที่ไม่มีผลในทางกฎหมายใดๆ เกิดขึ้นกับคณะรัฐประหารเลย ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะรัฐประหารได้ออกกฎหมายซึ่งมานิรโทษกรรมการกระทำของตนเองเพื่อไม่ให้ตนเองได้รับผลในทางกฎหมายที่จะตามมาจากการล้มล้างรัฐบาลนั่นเอง
เมื่อได้นิรโทษกรรมการกระทำของตนไปแล้วทุกอย่างก็จบสิ้นลงไม่มีใครหยิบยกกล่าวโทษหรือเอาผิดกับการทำรัฐประหารได้อีก นักกฎหมายที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยินยอมน้อมรับคำสั่ง ประกาศ ฯลฯ ของคณะรัฐประหารโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ความเคยชินในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิธีการแบบนักการเมืองหรือ กลุ่มรัฐประหาร ที่ “ชอบ” นิรโทษกรรม เห็นได้ชัดเจนจากปรากฏการณ์ในปัจจุบันที่มีการเสนอแนะให้มีการ “นิรโทษกรรม” การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นการเพิ่มความเคยชินและสร้างความเป็นธรรมดาของ
หรือกล่าวอีกประการหนึ่งคือการลดความร้ายแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ ทำนองว่าหลับหูหลับตากวาดขยะไว้ใต้พรมแล้วหลอกตัวเองว่าไม่มีขยะอยู่แล้ว พร้อมกันนั้นก็ปิดกั้นการพิสูจน์ความจริงที่จะเป็นบทเรียนของคนไทยทุกคน
มุมมองในทางกฎหมายต่อปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวตุรกีได้มีวิธีการทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนชาวตุรกีได้แสดงให้เห็นถึงทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนชาวตุรกีได้ลงประชามติเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งก็มีประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ประชาชนหรือพรรคการเมืองในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ประสบปัญหาการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าแบบซ้ำซาก และเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยมาตลอดเวลา คือ ประชาชนเลือกตั้ง-รัฐบาลบริหารประเทศ-บุคคลบางกลุ่มเข้ามาทำรัฐประหารล้มรัฐบาล-ล้มรัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรมตัวเอง-ออกรัฐธรรมนูญใหม่(หรือชั่วคราว)-จัดการเลือกตั้งใหม่-ประชาชนเลือกตั้ง.....เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไปเป็นวัฏสงสาร วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีทางได้หลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์ดังกล่าวได้
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงประชามติของชาวตุรกีที่ได้กล่าวถึงข้างต้นถือกันว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศตุรกีที่ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมยุโรป และแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศตุรกี ในการลงประชามติเห็นด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของชาวตุรกีนั้นมีหลายประเด็นด้วยกัน ทั้งนี้โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ คือ
1. การจำกัดอำนาจของอำนาจศาลทหาร ในส่วนของการพิจารณาคดีพลเรือนเช่นในกรณีข้อกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคง และนอกจากนั้นยังให้อำนาจศาลพลเรือนในการพิจารณาคดีกองทัพในกรณีที่มีข้อสงสัยว่ากองทัพจะทำการล้มรัฐบาล
2. การปฏิรูปคณะกรรมการสูงสุดของผู้พิพากษาและอัยการ เดิมคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาและอัยการ โดยประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 5 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโดยแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยศาลสูง ผลจากการปฏิรูปคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และการเลือกตั้งโดยผู้พิพากษาและอัยการทั้งประเทศ
3. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเพิ่มขึ้น จากเดิม 10 คน เป็น 19 คน ที่มาจากเดิมมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดยบัญชีเสนอจากศาล และดำรงตำแหน่งจนถึงเกษียณอายุ เปลี่ยนมาเป็นสภาแต่งตั้ง 3 คน และที่เหลือประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยเลือกจากบัญชีที่เสนอจากสภาทนายความ จากสภาสูงการศึกษา และศาล โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปี
4. การปฏิรูปการปิดพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาปิดพรรคการเมืองได้ก็แต่โดยมีเหตุว่าพรรคการเมืองนั้นเรียกร้องให้มีการใช้กำลัง ไม่ใช่โดยเหตุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
5. การคุ้มครองข้อมูล มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น
6. สิทธิสตรี และสิทธิสำหรับกลุ่มพลเมืองที่มีความอ่อนแอให้มากขึ้น โดยเพิ่มสิทธิสตรี, คนพิการ, ลูกจ้าง และสหภาพแรงงาน
7. การปฏิรูปสภาทหารสูงสุด ในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งในการปลด โดยให้สามารถร้องขอให้ทบทวนคำสั่งปลดดังกล่าวได้
8. ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเดิมสมาชิกของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดยไม่ให้ได้รับการดำเนินการทางอาญา นั่นหมายถึงบรรดานายพลทั้งหลายที่ทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 (ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น) จะถูกแตะต้องและถูกดำเนินคดีไม่ได้ แต่ด้วยผลของการลงประชามติครั้งนี้ ความคุ้มครองดังกล่าวจะถูกลบล้างไป และบรรดานายพลทั้งหลายสามารถถูกดำเนินคดีในศาลได้
9. ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรับผิดชอบคำร้องทุกของประชาชน และดำเนินแก้ไขปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ใช่การดำเนินคดีทางศาล
จากเนื้อหาสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศตุรกีดังกล่าวข้างต้น นานาประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมยุโรปต่างก็ออกมาแสดงความเห็นยอมรับและชมเชย ถึงการลงประชามติดังกล่าวของชาวตุรกีโดยเห็นว่าเป็นการก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง แม้ว่าเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการจับกุมกลุ่มนายทหารโดยข้อหาว่าเตรียมการล้มล้างรัฐบาล ก็ตามที
และนอกจากนั้นการที่รัฐบาลของนาย Erdogan ได้กำหนดเลือกเอาวันที่ 12 กันยายน 2553 เป็นวันลงประชามติในครั้งนี้นั้นเป็นการที่มีเจตนาประสงค์ที่จะให้การลงประชามติดังกล่าวเกิดขึ้นในวันครบรอบ 30 ปี ของการเกิดการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 นั่นเอง
ผลของการลงมติของชาวตุรกีที่ได้ยกเลิกการนิรโทษกรรมของคณะรัฐประหารดังกล่าวข้างต้นนั้น ส่งผลให้ภายหลังจากรับทราบผลของการลงประชามติ ก็ปรากฏว่ามีประชาชนชาวตุรกีบางส่วนได้เริ่มเข้าแจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาต่อคณะรัฐประหารเมื่อ 30 ปีก่อนโดยทันทีแล้วเช่นกัน
วิธีการในการจัดการกับคณะรัฐประหารของชาวตุรกีที่ได้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยและวิธีการในทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารดังกล่าว เป็นวิธีการที่น่ายกย่องชมเชยและถือเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะว่าได้แสดงให้เห็นว่าการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลนั้นผู้กระทำย่อมจะได้รับผลร้ายตามกฎหมาย
แม้ว่าเหตุการณ์จะพ้นมาแล้ว 30 ปี และมีการออกรัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรมการทำรัฐประหาร แต่ระยะเวลาที่ยาวนานและการนิรโทษกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้การกระทำของคณะรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องชอบธรรมขึ้นมาแต่ประการใด
ดังนั้นการให้มีการยกเลิกการให้ความคุ้มครองโทษทางอาญาต่อคณะรัฐประหารดังกล่าวย่อมเป็นหนทางหรือวิธีการหนึ่งในการดำเนินการต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้น
หากบางประเทศที่มีการทำรัฐประหารบ่อยๆ และจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำแนวความคิดนี้ไปดำเนินการบ้างก็ย่อมจะดีไม่น้อย เพราะจะได้แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย การคงอยู่ของอำนาจอธิปไตยตามวิถีประชาธิปไตยที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ
เพราะเมื่ออำนาจอธิปไตยกลับมาอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ประชาชนผู้ทรงอำนาจดังกล่าวย่อมสามารถตัดสินและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ ประเทศไหนที่อยากจะนำเอาแนวความคิดดังกล่าวของชาวตุรกีไปใช้บ้าง คิดว่าชาวตุรกีคงไม่สงวนวิธีการดังกล่าวแต่ประการใด
( บทความทางวิชาการจาก เว๊บไซต์ www.pub-law.net )
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รัฐประหารครั้งล่าสุดของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นคือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนในฐานะนักเรียนกฎหมายที่พอจะได้ติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการรัฐประหารดังกล่าวอยู่บ้างเกิดความฉงนและจับต้นชนปลายไม่ถูกคือ พฤติกรรมของนักกฎหมายบางคนบางกลุ่มในประเทศไทยซึ่งหลายคนเคยเป็นครูบาอาจารย์ของผู้เขียนที่ได้มีพฤติกรรมไปในทางสนับสนุนการทำรัฐประหาร
พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ผู้เขียนเริ่มเรียนวิชากฎหมายในปีแรกๆ ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาจารย์คนหนึ่งได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายต้องนั่งลง” ซึ่งหากเปรียบกับการรัฐประหารเป็นเสียงปืนเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นนักกฎหมายก็ต้องนั่งลง
กรณีนี้ก็ไม่มีเหตุใดๆ ที่จะต้องไปตำหนิติเตียนหรือว่ากล่าวนักกฎหมายนั้นๆ หรือเรียกร้องให้พวกเขาเหล่านั้นออกมาดำเนินการต่อต้านการทำรัฐประหารแต่อย่างใดได้เพราะเป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จะรักชีวิตร่างกายของตน การที่จะไปเรียกร้องให้ทุกคนกระทำการต่อต้านรัฐประหาร เช่น ขับรถไปชนรถถังเพื่อต่อต้านการรัฐประหารเหมือนคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก
สิ่งที่น่าผิดหวังคือนักกฎหมายของไทยบางกลุ่มเมื่อเสียงปืนดังขึ้นหรือหลังจากที่เสียงปืนได้สงบลงแล้ว นักกฎหมายบางคนบางกลุ่มไม่ได้แค่นั่งลงเฉยๆ แต่กลับเข้าไปนั่งให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร แล้วยังสามารถมากล่าวอ้างว่าเป็นคนที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเต็มปาก
บางคนบางกลุ่มก็เป็นครูบาอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยที่สอนหลักประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ฯลฯ ซึ่งนักกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ต่างไปจากคนที่เอาดอกไม้ ข้าวปลาอาหาร หรือแต่งชุดยอดมนุษย์ หรือส่งสาวพริตตี้ไปเต้นให้กำลังใจผู้ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ประการใด เพราะบุคคลเหล่านี้ก็คือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนรัฐประหารนั่นเอง
กลุ่มนักวิชาการไทยบางกลุ่มโดยเฉพาะนักกฎหมายไทยที่เข้าไปร่วมกับคณะรัฐประหารภายหลังการล้มรัฐบาลสำเร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการตรา หรือร่าง ประกาศคณะรัฐประหาร, ร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฯลฯ หรือเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ(พิเศษ) ที่คณะรัฐประหารได้จัดตั้งขึ้นมา หรือยอมรับและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าเป็นการกระทำของ “รัฐาธิปัตย์” โดยไม่มีปากเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้วยข้ออ้างประการใดก็ตามการกระทำทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นการสนับสนุนการทำรัฐประหารและเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ซึ่งพฤติกรรมของนักกฎหมายไทยบางกลุ่มในลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นประจำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยถือเป็นเรื่องปกติ
หลายครั้งหลายคราที่เกิดการรัฐประหารและนักกฎหมายเข้าไปสนับสนุนให้การรัฐประหารนั้นดำเนินไปได้ด้วยดีโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา
เหตุผลประการหนึ่งคือ “ถ้าตนไม่เข้าไปดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว ก็จะส่งผลให้เสียให้เกิดความเสียหายหรืออาจจะเกิดความวุ่นวายต่อประเทศชาติบ้านเมืองได้” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะกรณีที่น่าพิจารณาคือถ้าคณะรัฐประหารไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมายในการเข้าไปเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร ผลเสียจากการทำรัฐประหารก็คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น และประชาชนชาวไทย คงได้เห็นข้อเสียของการทำรัฐประหารชัดเจนมากขึ้น และไม่เกิดความเคยชินกับรัฐประหาร และเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะตนไม่ได้มีความเดือดร้อนอะไรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมาคือปัญหาเกี่ยวกับผลในทางกฎหมายของการทำรัฐประหารที่เกิดนั้นว่าจะมีผลในทางกฏหมายอย่างไร?
นักกฎหมายไทยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการทำรัฐประหาร หรือวิธีการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ทำรัฐประหารโดยวิธีการทางกฎหมายภายหลังการทำรัฐประหารอย่างไร? ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการทำรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทยคือการที่ไม่มีผลในทางกฎหมายใดๆ เกิดขึ้นกับคณะรัฐประหารเลย ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะรัฐประหารได้ออกกฎหมายซึ่งมานิรโทษกรรมการกระทำของตนเองเพื่อไม่ให้ตนเองได้รับผลในทางกฎหมายที่จะตามมาจากการล้มล้างรัฐบาลนั่นเอง
เมื่อได้นิรโทษกรรมการกระทำของตนไปแล้วทุกอย่างก็จบสิ้นลงไม่มีใครหยิบยกกล่าวโทษหรือเอาผิดกับการทำรัฐประหารได้อีก นักกฎหมายที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยินยอมน้อมรับคำสั่ง ประกาศ ฯลฯ ของคณะรัฐประหารโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ความเคยชินในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิธีการแบบนักการเมืองหรือ กลุ่มรัฐประหาร ที่ “ชอบ” นิรโทษกรรม เห็นได้ชัดเจนจากปรากฏการณ์ในปัจจุบันที่มีการเสนอแนะให้มีการ “นิรโทษกรรม” การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นการเพิ่มความเคยชินและสร้างความเป็นธรรมดาของ
หรือกล่าวอีกประการหนึ่งคือการลดความร้ายแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ ทำนองว่าหลับหูหลับตากวาดขยะไว้ใต้พรมแล้วหลอกตัวเองว่าไม่มีขยะอยู่แล้ว พร้อมกันนั้นก็ปิดกั้นการพิสูจน์ความจริงที่จะเป็นบทเรียนของคนไทยทุกคน
มุมมองในทางกฎหมายต่อปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวตุรกีได้มีวิธีการทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนชาวตุรกีได้แสดงให้เห็นถึงทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนชาวตุรกีได้ลงประชามติเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งก็มีประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ประชาชนหรือพรรคการเมืองในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ประสบปัญหาการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าแบบซ้ำซาก และเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยมาตลอดเวลา คือ ประชาชนเลือกตั้ง-รัฐบาลบริหารประเทศ-บุคคลบางกลุ่มเข้ามาทำรัฐประหารล้มรัฐบาล-ล้มรัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรมตัวเอง-ออกรัฐธรรมนูญใหม่(หรือชั่วคราว)-จัดการเลือกตั้งใหม่-ประชาชนเลือกตั้ง.....เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไปเป็นวัฏสงสาร วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีทางได้หลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์ดังกล่าวได้
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงประชามติของชาวตุรกีที่ได้กล่าวถึงข้างต้นถือกันว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศตุรกีที่ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมยุโรป และแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศตุรกี ในการลงประชามติเห็นด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของชาวตุรกีนั้นมีหลายประเด็นด้วยกัน ทั้งนี้โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ คือ
1. การจำกัดอำนาจของอำนาจศาลทหาร ในส่วนของการพิจารณาคดีพลเรือนเช่นในกรณีข้อกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคง และนอกจากนั้นยังให้อำนาจศาลพลเรือนในการพิจารณาคดีกองทัพในกรณีที่มีข้อสงสัยว่ากองทัพจะทำการล้มรัฐบาล
2. การปฏิรูปคณะกรรมการสูงสุดของผู้พิพากษาและอัยการ เดิมคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาและอัยการ โดยประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 5 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโดยแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยศาลสูง ผลจากการปฏิรูปคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และการเลือกตั้งโดยผู้พิพากษาและอัยการทั้งประเทศ
3. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเพิ่มขึ้น จากเดิม 10 คน เป็น 19 คน ที่มาจากเดิมมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดยบัญชีเสนอจากศาล และดำรงตำแหน่งจนถึงเกษียณอายุ เปลี่ยนมาเป็นสภาแต่งตั้ง 3 คน และที่เหลือประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยเลือกจากบัญชีที่เสนอจากสภาทนายความ จากสภาสูงการศึกษา และศาล โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปี
4. การปฏิรูปการปิดพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาปิดพรรคการเมืองได้ก็แต่โดยมีเหตุว่าพรรคการเมืองนั้นเรียกร้องให้มีการใช้กำลัง ไม่ใช่โดยเหตุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
5. การคุ้มครองข้อมูล มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น
6. สิทธิสตรี และสิทธิสำหรับกลุ่มพลเมืองที่มีความอ่อนแอให้มากขึ้น โดยเพิ่มสิทธิสตรี, คนพิการ, ลูกจ้าง และสหภาพแรงงาน
7. การปฏิรูปสภาทหารสูงสุด ในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งในการปลด โดยให้สามารถร้องขอให้ทบทวนคำสั่งปลดดังกล่าวได้
8. ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเดิมสมาชิกของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดยไม่ให้ได้รับการดำเนินการทางอาญา นั่นหมายถึงบรรดานายพลทั้งหลายที่ทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 (ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น) จะถูกแตะต้องและถูกดำเนินคดีไม่ได้ แต่ด้วยผลของการลงประชามติครั้งนี้ ความคุ้มครองดังกล่าวจะถูกลบล้างไป และบรรดานายพลทั้งหลายสามารถถูกดำเนินคดีในศาลได้
9. ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรับผิดชอบคำร้องทุกของประชาชน และดำเนินแก้ไขปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ใช่การดำเนินคดีทางศาล
จากเนื้อหาสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศตุรกีดังกล่าวข้างต้น นานาประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมยุโรปต่างก็ออกมาแสดงความเห็นยอมรับและชมเชย ถึงการลงประชามติดังกล่าวของชาวตุรกีโดยเห็นว่าเป็นการก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง แม้ว่าเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการจับกุมกลุ่มนายทหารโดยข้อหาว่าเตรียมการล้มล้างรัฐบาล ก็ตามที
และนอกจากนั้นการที่รัฐบาลของนาย Erdogan ได้กำหนดเลือกเอาวันที่ 12 กันยายน 2553 เป็นวันลงประชามติในครั้งนี้นั้นเป็นการที่มีเจตนาประสงค์ที่จะให้การลงประชามติดังกล่าวเกิดขึ้นในวันครบรอบ 30 ปี ของการเกิดการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 นั่นเอง
ผลของการลงมติของชาวตุรกีที่ได้ยกเลิกการนิรโทษกรรมของคณะรัฐประหารดังกล่าวข้างต้นนั้น ส่งผลให้ภายหลังจากรับทราบผลของการลงประชามติ ก็ปรากฏว่ามีประชาชนชาวตุรกีบางส่วนได้เริ่มเข้าแจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาต่อคณะรัฐประหารเมื่อ 30 ปีก่อนโดยทันทีแล้วเช่นกัน
วิธีการในการจัดการกับคณะรัฐประหารของชาวตุรกีที่ได้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยและวิธีการในทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารดังกล่าว เป็นวิธีการที่น่ายกย่องชมเชยและถือเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะว่าได้แสดงให้เห็นว่าการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลนั้นผู้กระทำย่อมจะได้รับผลร้ายตามกฎหมาย
แม้ว่าเหตุการณ์จะพ้นมาแล้ว 30 ปี และมีการออกรัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรมการทำรัฐประหาร แต่ระยะเวลาที่ยาวนานและการนิรโทษกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้การกระทำของคณะรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องชอบธรรมขึ้นมาแต่ประการใด
ดังนั้นการให้มีการยกเลิกการให้ความคุ้มครองโทษทางอาญาต่อคณะรัฐประหารดังกล่าวย่อมเป็นหนทางหรือวิธีการหนึ่งในการดำเนินการต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้น
หากบางประเทศที่มีการทำรัฐประหารบ่อยๆ และจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำแนวความคิดนี้ไปดำเนินการบ้างก็ย่อมจะดีไม่น้อย เพราะจะได้แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย การคงอยู่ของอำนาจอธิปไตยตามวิถีประชาธิปไตยที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ
เพราะเมื่ออำนาจอธิปไตยกลับมาอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ประชาชนผู้ทรงอำนาจดังกล่าวย่อมสามารถตัดสินและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ ประเทศไหนที่อยากจะนำเอาแนวความคิดดังกล่าวของชาวตุรกีไปใช้บ้าง คิดว่าชาวตุรกีคงไม่สงวนวิธีการดังกล่าวแต่ประการใด
( บทความทางวิชาการจาก เว๊บไซต์ www.pub-law.net )
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)