--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คีร์กิซสถาน vs ไทยแลนด์

คีร์กิซสถานไม่ใช่เพื่อนบ้านของไทย แต่พื้นที่ภาคใต้มีการจลาจลเหมือนกัน.. “ความเหมือนและความต่าง” ในหลากหลายกรณีมานำเสนอ เพราะมีหลายกรณีที่น่าศึกษาและนำมาประยุกต์เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความสงบสุขในพื้นที่ภาคใต้ของไทย..

คีร์กีซสถานเป็นประเทศยากจนที่สุดแห่งหนึ่ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคีร์กีซ และมีชาวอุซเบเป็นชนส่วนน้อย มักมีปัญหากันอยู่เสมอ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิมด้วยกันก็ตาม

คีร์กิซสถานตั้งอยู่ในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดต่อกับรัสเซีย จีน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน รัสเซียมีฐานทัพอยู่ในคีร์กิซสถาน ขณะเดียวกัน สหรัฐก็ขอมาตั้งฐานทัพในเพื่อเป็นฐานส่งกำลังบำรุงและฐานปฏิบัติการส่วนหน้าในอัฟกานิสถาน

รัฐบาลคีร์กิซสถานจึงเล่นไพ่ 2 มือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากทั้ง 2 ประเทศ

คีร์กิซสถานเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียกลางซึ่งมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาประชาธิปไตย มีการ “ปฏิวัติทิวลิป” ปี 2548 โค่นล้มประธานาธิบดีคนแรกในข้อหาไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและการคอรัปชั่นตามที่สัญญาไว้ให้กับประชาชนได้

กรณีน่าศึกษา คือ เหตุการณ์จลาจลและการสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน – มิถุนายน 2553 ภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีคนที่สอง คือ นายบาคิเยฟ คล้ายกับการจลาจลที่เกิดขึ้นในไทย

1. นายบาคิเยฟ ถูกประชาชนเดินขบวนต่อต้านครั้งใหญ่จนนำไปสู่การจลาจลในเมืองหลวง เพื่อขับเขาออกจากอำนาจ ในข้อหาคอรัปชั่น

2. มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวโดยมีผู้นำเป็นหญิงชื่อ นางโอตุนบาเยวา ขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีกำหนดออกเสียงประชามติในวันที่ 27 มิถุนายน 2553 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุลาคม 2553 แต่นายบาคิเยฟยังไม่ยอมแพ้โดยอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นผู้นำ นายบาคิเยฟและบุตรชายซึ่งมีฐานเสียงอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไปเคลื่อนไหวปลุกระดมชาวบ้านแถบนั้น ส่วนชนกลุ่มน้อยอุซเบในพื้นที่สนับสนุนรัฐบาลชั่วคราวของนางโอตุนบาเยวา จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง

3. อดีตผู้นำที่สูญเสียอำนาจถูกรัฐบาลชั่วคราวประกาศจะเอาตัวมาลงโทษจากการกระทำผิดที่ได้เกิดขึ้น ในข้อหาปลุกปั่น ปลุกระดมให้คนที่สนับสนุนตนก่อความวุ่นวายกับชนกลุ่มน้อยที่สนับสนุนผู้นำคนใหม่จนเกิดสงครามกลาง

4. คีร์กิซสถานเพิ่งจะมีปัญหากันเมื่อมีการแบ่งพวกเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเก่าและรัฐบาลชั่วคราว กล่าวกันว่า แก๊งมาเฟียที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดและธุรกิจมืดต่าง ๆ ซึ่งสนับสนุนนายบาคิเยฟไปปลุกระดมให้ชาวคีร์กิซเข้าทำร้าย เข่นฆ่าชาวอุซเบ ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง หรือสงครามชาติพันธ์

5. มีรายงานว่า ชาวคีร์กิซในภาคใต้ซึ่งสนับสนุนนายบาคิเยฟ ก่อการจลาจลเพื่อขัดขวางไม่ให้รัฐบาลชั่วคราวจัดการลงมติรับรองรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้งได้

6. ปัญหาความยากจน การคอรัปชั่นและปัญหาที่ดิน เป็นปัญหาหลักและเป็นจุดอ่อนของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งความยากจนคงไม่สามารถแก้ได้โดยเร็ว แต่ความยากจนถูกซ้ำเติมจากการคอรัปชั่นของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ

7. การจลาจลที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของสงครามกลางเมืองระหว่างชาติพันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีความร้ายแรงมากกว่าความเห็นต่างทางการเมืองธรรมดา มีการอพยพย้ายถิ่นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ใภ้สภากาชาดสากลต้องเข้ามาบริหารจัดการกับปัญหาดังกล่าว

แม้สิ่งที่เกิดขึ้นในคีร์กิซสถานจะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในคีร์กิซสถานอาจให้ข้อคิดบางอย่างแก่คนไทยรวมไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนาในหลายๆประเทศ

หากศึกษาให้ถ่องแท้ ประเทศที่เกิดจลาจลไม่เฉพาะคีร์กิซสถานล้วนมีจุดแตกหักที่ไม่แตกต่างกัน

ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น