ในที่สุดราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนก็ถูกปรับขึ้นไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2556 ที่ผ่านมานี้เอง โดยเป็นการปรับขึ้นราคาท่ามกลางกระแสการชุมนุมต่อต้านของภาคประชาชนบางกลุ่ม และการชุมนุมประท้วงก็ยังไม่มีทีท่ายุติลง แม้จะมีการปรับขึ้นราคาไปแล้วก็ตาม โดยกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้ชื่อเครือข่ายประชาชนเจ้าของพลังงานไทยเตรียมเคลื่อนไหวรวมตัวคัดค้านการปรับขึ้นราคาแอลพีจีอีกครั้งในวันที่ 9 ก.ย. 2556 ขณะที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นราคาแอลพีจีต่อศาลปกครองไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2556 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมมาแล้ว โดยประสบความสำเร็จในการปรับขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่ภาคขนส่งปรับขึ้นได้เพียง 4 เดือนเมื่อต้นปี 2555 แต่ก็เป็นอันต้องหยุดชะงัก เนื่องจากกลุ่มผู้คัดค้านใช้วิธีชุมนุมประท้วงปิดถนน ซึ่งเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากรัฐบาลจะต้องหยุดปรับขึ้นราคาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในตอนนั้นยังถูกปลดออกจากเก้าอี้การเมืองไปโดยปริยาย
และความพยายามปรับขึ้นราคาแอลพีจีที่ผ่านมาของรัฐบาลแบบกระท่อนกระแท่น ส่งผลให้ราคาแอลพีจีในประเทศไทยถูกตีแตกเป็น 3 ราคา คือในภาคขนส่งที่ราคา 21.38 บาทต่อกิโลกรัม แอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมที่ลอยตัวตามราคาตลาดโลกปัจจุบันอยู่ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และภาคครัวเรือนเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2556 ดีเดย์ปรับขึ้นราคาเป็นครั้งแรกจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ถูกปรับขึ้นมาเฉพาะเดือน ก.ย.2556 อีก 50 สตางค์ ทำให้วันนี้ราคาอยู่ที่ 18.63 บาทต่อกิโลกรัม
แต่ก็ไม่น่าแปลกใจที่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ฝ่าด่านม็อบจนสามารถปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนมาได้ เนื่องจากบทเรียนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาเคยเจอม็อบต้านการขึ้นราคาแอลพีจีจนซวนเซมาแล้ว กลายเป็นประสบการณ์ที่ทำให้นายพงษ์ศักดิ์ระมัดระวังการปรับขึ้นราคาเป็นพิเศษ โดยวางหมากตัวแรกเป็นปราการป้องกันการโจมตี ด้วยการประกาศชัดเจนว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มคนจนให้ใช้แอลพีจีราคาถูกต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้โหมกระแสการปรับขึ้นราคาไปพร้อมๆ กับนโยบายการช่วยเหลือคนจนให้ใช้แอลพีจีราคาเดิมตลอดตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา จนสามารถกำหนดกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่จะได้รับการช่วยเหลือ และวิธีการซื้อแอลพีจีราคาถูก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ได้สำเร็จเมื่อประมาณเดือน ก.ค.2556 ที่ผ่านมา ทำให้สังคมบางส่วนเริ่มรับรู้ความจำเป็นที่ต้องปรับขึ้นราคาแอลพีจี และลดกระแสต่อต้านลงเพราะมีมาตรการช่วยเหลือคนจนนั่นเอง
ปราการด่านที่ 2 ที่ทำให้นายพงษ์ศักดิ์หลุดพ้นจากการโจมตีของม็อบ คือ มีการนำม็อบที่สนับสนุนเผชิญหน้ากับม็อบคัดค้าน หรือเรียกว่าปล่อยม็อบชนม็อบ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 ก.ย.2556 ประชาชนทั่วไปทั้งที่เป็นคนรวยและคนชนชั้นกลาง ต่างต้องยอมรับสภาพควักเงินจ่ายค่าแอลพีจีเพิ่มขึ้นเฉพาะเดือน ก.ย.2556 อีก 50 สตางค์ ดังนั้นหากครัวเรือนใดที่ใช้แอลพีจีถังละ 15 กิโลกรัม จะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก 7.5 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม หรือจากราคา 272 บาทต่อกิโลกรัม ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 280 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมค่าขนส่ง)
ส่วนในเดือนต่อๆ ไปก็บวกขึ้นอีกเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม จนราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนไปจบที่ราคา 24.83 บาทต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับปรับขึ้นรวมทั้งหมด 6 บาทต่อกิโลกรัม
ตามนโยบายการปรับขึ้นราคาในครั้งนี้ไม่ได้เล็งแค่ภาคครัวเรือนอย่างเดียว แต่เล็งต่อไปยังภาคขนส่งด้วย โดยระหว่างที่ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนค่อยๆ ไต่ราคาขึ้นไป จะมีจุดหนึ่งที่ราคาไปชนกับภาคขนส่งที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม ประมาณเดือน ก.พ.2557 และจุดนี้เองที่กระทรวงพลังงานกำหนดให้ภาคขนส่งต้องถูกปรับขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ไปพร้อมๆ กับภาคครัวเรือน และยังจะเป็นจุดที่ทำให้ราคาแอลพีจีภาคขนส่งและครัวเรือนกลับมาอยู่ราคาเดียวกัน ปรับขึ้นราคาไปพร้อมกัน สู่เป้าหมายสูงสุดที่ 24.83 บาทต่อกิโลกรัมนั่นเอง
สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่เข้าข่ายได้สิทธิ์ซื้อแอลพีจีราคาเดิม 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งมีจำนวน 186,822 ครัวเรือน 2.กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน จำนวน 7,430,639 ครัวเรือน ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้จะได้รับการชดเชยแอลพีจี 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน และ 3.กลุ่มหาบเร่แผงลอยที่มี 168,529 ร้านค้า ได้รับการชดเชย 150 กิโลกรัมต่อเดือน
แต่ถึงแม้จะมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วยการแสดงสิทธิ์ แสดงตัวกับภาครัฐเพื่อขอรับรหัสสำหรับยืนยันสิทธิ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ชาวบ้านต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าขั้นตอนยุ่งยาก ยอมจ่ายเงินซื้อเพิ่มดีกว่า ขณะที่ภาครัฐอาจจะมองว่าเป็นวิธีการที่ง่ายเสมือนการเติมเงินผ่านมือถือ แต่อย่าลืมว่าคนหาเช้ากินค่ำย่อมไม่อยากสละเวลาค้าขายออกไปเดินเรื่องกับภาคราชการเพื่อขอรับสิทธิ์มากนัก เพราะบางส่วนมองว่าเสียเวลาทำมาหากิน แต่มาตรการนี้ก็จำเป็นที่กระทรวงพลังงานต้องใช้เป็นด่านป้องกันการคัดค้านของสังคม ส่วนใครจะใช้หรือไม่ใช้อันนี้กระทรวงพลังงานย่อมไม่สนใจอยู่แล้ว เพราะเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล
สำหรับสาเหตุที่ภาครัฐหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลการปรับขึ้นราคาแอลพีจีในครั้งนี้ อันเนื่องมาจากต้องการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม เนื่องจากปัจจุบันประชาชนผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกคนกลายเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ และที่ผ่านมากองทุนน้ำมันฯ ก็นำเงินไปชดเชยราคาแอลพีจีให้กับคนทั้งประเทศได้ใช้ราคาถูก โดยใช้เงินถึง 3,000 ล้านบาทต่อเดือนเพื่อชดเชยราคาแอลพีจี
และแก้ปัญหาลักลอบนำแอลพีจีภาคครัวเรือนที่ราคาถูกสุด ไปขายกับภาคขนส่ง เพราะแอลพีจีในประเทศเพื่อนบ้านราคาสูงกว่า 40 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องควักเงินเพื่อชดเชยการใช้แอลพีจีที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจ่ายไปประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 36,000 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันราคาแอลพีจี สปป.ลาว อยู่ที่ 48.10 บาทต่อกิโลกรัม, เวียดนามอยู่ที่ 45.50 บาทต่อกิโลกรัม, กัมพูชาอยู่ที่ 43.15 บาทต่อกิโลกรัม, สหภาพพม่าอยู่ที่ 39.50 บาทต่อกิโลกรัม, มาเลเซียอยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม และไทย 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐต้องเร่งปรับขึ้นราคาแอลพีจี เนื่องจากหากไทยยังชดเชยทำให้แอลพีจีมีราคาถูกสุด ต่างชาติมารุมใช้แอลพีจีจากไทย
ดังนั้น เหตุผลดังกล่าวจึงนำมาซึ่งการผลักดันปรับขึ้นราคาแอลพีจีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเรื่องนี้ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ถึงกับต้องเร่งออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การปรับขึ้นราคาแอลพีจีครั้งนี้ ปตท.ไม่ได้ประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เพราะเป็นการปรับแก้ที่กองทุนน้ำมันฯ ส่วน ปตท.ยังคงขายแอลพีจีราคาเดิม คือ แบ่งขายเป็น 2 ส่วน คือ 1.ราคาขายสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งรัฐบาลกำหนดราคาขายไม่ให้เกิน 10.20 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อส่งไปจำหน่ายภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง โดยก่อนถึงมือผู้บริโภค กระทรวงพลังงานได้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ทำให้ราคาถึงผู้บริโภคภาคครัวเรือนกลายเป็น 18.13 บาทต่อกิโลกรัม และขนส่ง 21.38 บาทต่อกิโลกรัม
2.ราคาขายให้ภาคปิโตรเคมี 16.20-17.30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งลอยตัวตามราคาตลาดโลก และก่อนถึงโรงงานปิโตรเคมี กระทรวงพลังงานได้เรียกเก็บเข้ากองทุนฯ และภาครัฐเรียกเก็บภาษี ทำให้ราคาถึงมือโรงงานปิโตรเคมีอยู่ที่ 19.50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่ง ปตท.ยืนยันว่าราคาขายยังเท่าเดิม ไม่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคา และไม่ได้ขายแอลพีจีให้ภาคปิโตรเคมีถูกว่าภาคครัวเรือนแต่อย่างใด
สำหรับมาตรการปรับขึ้นราคาแอลพีจีในครั้งนี้กินเวลายาวไปจนถึงกลางปี 2557 ซึ่งการปรับขึ้นราคาแอลพีจีเพียงเดือนแรกนี้ไม่สามารถตอบได้ว่ามาตรการขึ้นราคาจะราบรื่นหรือไม่ เพราะยังเป็นช่วงเวลาที่ผู้คัดค้านยังพยายามต่อสู้ได้ตลอดเวลา อีกทั้งศาลปกครองยังเป็นอีกปัจจัยที่ชี้ขาดว่าท้ายที่สุดรัฐบาลจะปรับราคาได้ตามเป้าหมายหรือไม่ และต้องคอยติดตามซีรีส์การปรับขึ้นราคาแอลพีจีรอบนี้จะประสบผลสำเร็จ หรือสะดุดลงเหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆ มาหรือไม่.
ที่มา.ไทยโพสต์
///////////////////////////////////////////////////////////
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมมาแล้ว โดยประสบความสำเร็จในการปรับขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่ภาคขนส่งปรับขึ้นได้เพียง 4 เดือนเมื่อต้นปี 2555 แต่ก็เป็นอันต้องหยุดชะงัก เนื่องจากกลุ่มผู้คัดค้านใช้วิธีชุมนุมประท้วงปิดถนน ซึ่งเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากรัฐบาลจะต้องหยุดปรับขึ้นราคาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในตอนนั้นยังถูกปลดออกจากเก้าอี้การเมืองไปโดยปริยาย
และความพยายามปรับขึ้นราคาแอลพีจีที่ผ่านมาของรัฐบาลแบบกระท่อนกระแท่น ส่งผลให้ราคาแอลพีจีในประเทศไทยถูกตีแตกเป็น 3 ราคา คือในภาคขนส่งที่ราคา 21.38 บาทต่อกิโลกรัม แอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมที่ลอยตัวตามราคาตลาดโลกปัจจุบันอยู่ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และภาคครัวเรือนเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2556 ดีเดย์ปรับขึ้นราคาเป็นครั้งแรกจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ถูกปรับขึ้นมาเฉพาะเดือน ก.ย.2556 อีก 50 สตางค์ ทำให้วันนี้ราคาอยู่ที่ 18.63 บาทต่อกิโลกรัม
แต่ก็ไม่น่าแปลกใจที่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ฝ่าด่านม็อบจนสามารถปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนมาได้ เนื่องจากบทเรียนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาเคยเจอม็อบต้านการขึ้นราคาแอลพีจีจนซวนเซมาแล้ว กลายเป็นประสบการณ์ที่ทำให้นายพงษ์ศักดิ์ระมัดระวังการปรับขึ้นราคาเป็นพิเศษ โดยวางหมากตัวแรกเป็นปราการป้องกันการโจมตี ด้วยการประกาศชัดเจนว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มคนจนให้ใช้แอลพีจีราคาถูกต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้โหมกระแสการปรับขึ้นราคาไปพร้อมๆ กับนโยบายการช่วยเหลือคนจนให้ใช้แอลพีจีราคาเดิมตลอดตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา จนสามารถกำหนดกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่จะได้รับการช่วยเหลือ และวิธีการซื้อแอลพีจีราคาถูก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ได้สำเร็จเมื่อประมาณเดือน ก.ค.2556 ที่ผ่านมา ทำให้สังคมบางส่วนเริ่มรับรู้ความจำเป็นที่ต้องปรับขึ้นราคาแอลพีจี และลดกระแสต่อต้านลงเพราะมีมาตรการช่วยเหลือคนจนนั่นเอง
ปราการด่านที่ 2 ที่ทำให้นายพงษ์ศักดิ์หลุดพ้นจากการโจมตีของม็อบ คือ มีการนำม็อบที่สนับสนุนเผชิญหน้ากับม็อบคัดค้าน หรือเรียกว่าปล่อยม็อบชนม็อบ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 ก.ย.2556 ประชาชนทั่วไปทั้งที่เป็นคนรวยและคนชนชั้นกลาง ต่างต้องยอมรับสภาพควักเงินจ่ายค่าแอลพีจีเพิ่มขึ้นเฉพาะเดือน ก.ย.2556 อีก 50 สตางค์ ดังนั้นหากครัวเรือนใดที่ใช้แอลพีจีถังละ 15 กิโลกรัม จะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก 7.5 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม หรือจากราคา 272 บาทต่อกิโลกรัม ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 280 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมค่าขนส่ง)
ส่วนในเดือนต่อๆ ไปก็บวกขึ้นอีกเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม จนราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนไปจบที่ราคา 24.83 บาทต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับปรับขึ้นรวมทั้งหมด 6 บาทต่อกิโลกรัม
ตามนโยบายการปรับขึ้นราคาในครั้งนี้ไม่ได้เล็งแค่ภาคครัวเรือนอย่างเดียว แต่เล็งต่อไปยังภาคขนส่งด้วย โดยระหว่างที่ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนค่อยๆ ไต่ราคาขึ้นไป จะมีจุดหนึ่งที่ราคาไปชนกับภาคขนส่งที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม ประมาณเดือน ก.พ.2557 และจุดนี้เองที่กระทรวงพลังงานกำหนดให้ภาคขนส่งต้องถูกปรับขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ไปพร้อมๆ กับภาคครัวเรือน และยังจะเป็นจุดที่ทำให้ราคาแอลพีจีภาคขนส่งและครัวเรือนกลับมาอยู่ราคาเดียวกัน ปรับขึ้นราคาไปพร้อมกัน สู่เป้าหมายสูงสุดที่ 24.83 บาทต่อกิโลกรัมนั่นเอง
สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่เข้าข่ายได้สิทธิ์ซื้อแอลพีจีราคาเดิม 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งมีจำนวน 186,822 ครัวเรือน 2.กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน จำนวน 7,430,639 ครัวเรือน ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้จะได้รับการชดเชยแอลพีจี 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน และ 3.กลุ่มหาบเร่แผงลอยที่มี 168,529 ร้านค้า ได้รับการชดเชย 150 กิโลกรัมต่อเดือน
แต่ถึงแม้จะมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วยการแสดงสิทธิ์ แสดงตัวกับภาครัฐเพื่อขอรับรหัสสำหรับยืนยันสิทธิ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ชาวบ้านต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าขั้นตอนยุ่งยาก ยอมจ่ายเงินซื้อเพิ่มดีกว่า ขณะที่ภาครัฐอาจจะมองว่าเป็นวิธีการที่ง่ายเสมือนการเติมเงินผ่านมือถือ แต่อย่าลืมว่าคนหาเช้ากินค่ำย่อมไม่อยากสละเวลาค้าขายออกไปเดินเรื่องกับภาคราชการเพื่อขอรับสิทธิ์มากนัก เพราะบางส่วนมองว่าเสียเวลาทำมาหากิน แต่มาตรการนี้ก็จำเป็นที่กระทรวงพลังงานต้องใช้เป็นด่านป้องกันการคัดค้านของสังคม ส่วนใครจะใช้หรือไม่ใช้อันนี้กระทรวงพลังงานย่อมไม่สนใจอยู่แล้ว เพราะเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล
สำหรับสาเหตุที่ภาครัฐหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลการปรับขึ้นราคาแอลพีจีในครั้งนี้ อันเนื่องมาจากต้องการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม เนื่องจากปัจจุบันประชาชนผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกคนกลายเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ และที่ผ่านมากองทุนน้ำมันฯ ก็นำเงินไปชดเชยราคาแอลพีจีให้กับคนทั้งประเทศได้ใช้ราคาถูก โดยใช้เงินถึง 3,000 ล้านบาทต่อเดือนเพื่อชดเชยราคาแอลพีจี
และแก้ปัญหาลักลอบนำแอลพีจีภาคครัวเรือนที่ราคาถูกสุด ไปขายกับภาคขนส่ง เพราะแอลพีจีในประเทศเพื่อนบ้านราคาสูงกว่า 40 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องควักเงินเพื่อชดเชยการใช้แอลพีจีที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจ่ายไปประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 36,000 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันราคาแอลพีจี สปป.ลาว อยู่ที่ 48.10 บาทต่อกิโลกรัม, เวียดนามอยู่ที่ 45.50 บาทต่อกิโลกรัม, กัมพูชาอยู่ที่ 43.15 บาทต่อกิโลกรัม, สหภาพพม่าอยู่ที่ 39.50 บาทต่อกิโลกรัม, มาเลเซียอยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม และไทย 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐต้องเร่งปรับขึ้นราคาแอลพีจี เนื่องจากหากไทยยังชดเชยทำให้แอลพีจีมีราคาถูกสุด ต่างชาติมารุมใช้แอลพีจีจากไทย
ดังนั้น เหตุผลดังกล่าวจึงนำมาซึ่งการผลักดันปรับขึ้นราคาแอลพีจีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเรื่องนี้ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ถึงกับต้องเร่งออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การปรับขึ้นราคาแอลพีจีครั้งนี้ ปตท.ไม่ได้ประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เพราะเป็นการปรับแก้ที่กองทุนน้ำมันฯ ส่วน ปตท.ยังคงขายแอลพีจีราคาเดิม คือ แบ่งขายเป็น 2 ส่วน คือ 1.ราคาขายสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งรัฐบาลกำหนดราคาขายไม่ให้เกิน 10.20 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อส่งไปจำหน่ายภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง โดยก่อนถึงมือผู้บริโภค กระทรวงพลังงานได้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ทำให้ราคาถึงผู้บริโภคภาคครัวเรือนกลายเป็น 18.13 บาทต่อกิโลกรัม และขนส่ง 21.38 บาทต่อกิโลกรัม
2.ราคาขายให้ภาคปิโตรเคมี 16.20-17.30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งลอยตัวตามราคาตลาดโลก และก่อนถึงโรงงานปิโตรเคมี กระทรวงพลังงานได้เรียกเก็บเข้ากองทุนฯ และภาครัฐเรียกเก็บภาษี ทำให้ราคาถึงมือโรงงานปิโตรเคมีอยู่ที่ 19.50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่ง ปตท.ยืนยันว่าราคาขายยังเท่าเดิม ไม่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคา และไม่ได้ขายแอลพีจีให้ภาคปิโตรเคมีถูกว่าภาคครัวเรือนแต่อย่างใด
สำหรับมาตรการปรับขึ้นราคาแอลพีจีในครั้งนี้กินเวลายาวไปจนถึงกลางปี 2557 ซึ่งการปรับขึ้นราคาแอลพีจีเพียงเดือนแรกนี้ไม่สามารถตอบได้ว่ามาตรการขึ้นราคาจะราบรื่นหรือไม่ เพราะยังเป็นช่วงเวลาที่ผู้คัดค้านยังพยายามต่อสู้ได้ตลอดเวลา อีกทั้งศาลปกครองยังเป็นอีกปัจจัยที่ชี้ขาดว่าท้ายที่สุดรัฐบาลจะปรับราคาได้ตามเป้าหมายหรือไม่ และต้องคอยติดตามซีรีส์การปรับขึ้นราคาแอลพีจีรอบนี้จะประสบผลสำเร็จ หรือสะดุดลงเหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆ มาหรือไม่.
ที่มา.ไทยโพสต์
///////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น