เป็นเรื่องน่าแปลกใจไม่น้อยเมื่อได้ฟังมุมมองของ นักธุรกิจระหว่างประเทศหลายคนบอกว่า ตลาดอาเซียน เป็นหนึ่งภูมิภาคที่เจาะยากที่สุด เหตุผลคือ พวกเขาแทบ ไม่รู้จักคนในภูมิภาคนี้เลย...
ไม่ทราบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศแถบนี้นิยมสินค้าแบบไหน หรือ หากจะเข้าไปขายสินค้าควรดำเนินการผ่านช่องทางไหน
พูดง่ายๆ ก็คือ การเจาะตลาดที่อยู่ ไกลๆ อย่างสหภาพยุโรป หรือ สหรัฐฯ แม้กระทั่งแอฟริกา ยังง่ายกว่า
นั่นเป็นเพราะในอดีตรัฐบาลไม่เคย สนับสนุนการทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ แต่ให้ความสำคัญกับตลาดใหญ่ๆที่ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
เข้าตำรา..ใกล้เกลือกินด่าง
ไม่ต้องไปพูดถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือ SMEs ว่าเอาเข้าจริงจะเจาะตลาดเหล่านี้ได้หรือเปล่า
ในด้านนโยบายระดับสูงของภาครัฐต่างก็คุยกันไปว่าได้มีการตั้งหน่วยงาน นั้น หน่วยงานนี้ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจ แต่สุดท้ายก็ไม่ค่อยมีใครได้เข้าไปใช้ประโยชน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดต่างประเทศอธิบายกับ "ประกายดิน" ว่า เราตื่นกระแสเออีซี แต่ไม่รู้จักเออีซีอย่างแท้จริง ความจริงการมีเออีซีหรือไม่มี เออีซี ดูจะไม่ต่างกันคือ สุดท้ายปลาใหญ่ ก็กินปลาเล็ก
กฎระเบียบต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน ถามว่านักธุรกิจหรือคนไทยเข้าใจจริงๆ สักกี่คน
มีนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกี่คนที่เข้าใจเรื่อง "แหล่งกำเนิดสินค้า" อย่างแท้จริง ไม่ต้องพูดถึงกฎระเบียบประเภทอื่นที่ไม่ค่อยคุ้นหู
แม้กระทั่งการให้เงินสนับสนุนการเจาะตลาดใหม่ๆ จำนวน 300 ล้านบาท ปรากฏว่ามีบริษัทยื่นขอรับการสนับสนุนแค่ 500 กว่าบริษัท จากเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่มีอยู่เกือบ 3 ล้านบริษัท
โครงการที่ว่าคือ "โครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอส เอ็มอี โปรแอ็กทีฟ" ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย นำออกมาช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกกลุ่มสินค้าและ บริการ โดยจะส่งเสริมทุกตลาด แต่มีนโยบายเน้นเข้าไปสร้างเสริมกิจกรรมในตลาดใหม่ เช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินเดีย ชิลี เปรู เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 314 บริษัท คิดเป็นมูลค่าเงินประมาณ 50 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 243 บริษัท คิดเป็นเงินประมาณ 27 ล้านบาท
โครงการนี้นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือ เอสเอ็มอี เพื่อเจาะและขยายการเข้าตลาดต่างประเทศ เสริมสร้างความสามารถการแข่งขันของธุรกิจไทยในตลาดโลกแล้ว ยังมุ่งส่งเสริมและพัฒนาสินค้า-บริการของไทยให้ได้มาตรฐานสากลและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มจำนวนเอสเอ็มอีให้ขยายช่องทางการส่งออกได้ด้วยตนเองมากขึ้น
โดยผู้ที่มีคุณสมบัติจะได้รับงบสนับสนุนดังกล่าว ต้องเป็นบริษัทที่มีการส่งออกไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี มีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% เป็นสมาชิกหอการค้าไทย หอการค้าต่างจังหวัดและหอการค้าต่างประเทศ สมาพันธ์ สมาคมการค้าที่เป็นสมาชิก 3 สภาฯข้างต้น และต้องไม่เคยมีประวัติเสียหาย
โดยกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจะมีทั้งในรูปแบบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าบริการในต่างประเทศ เพื่อเจรจาการค้าที่เป็นงานได้มาตรฐาน หรือ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐ การจัดคณะผู้ประกอบการไปเจรจาธุรกิจในต่างประเทศ เป็นต้น ผู้ประกอบการแต่ ละรายมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนภายในช่วงอายุโครงการ 3 ปีงบประมาณ 2556-2558 โดยอาจได้รับการพิจารณาสนับสนุนซ้ำได้ แต่ไม่เกิน 6 ครั้ง ในวงเงินรวมทั้งโครงการ 300 ล้านบาท
โครงการดีๆ อย่างนี้ ทำไมผู้ประกอบการไม่กระตือรือร้นที่จะเข้า ไปรับการสนับสนุน ไม่รู้ว่าการประชาสัมพันธ์น้อยเกินไปหรือผู้ประกอบการไม่สนใจข่าวสารกันแน่
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////
ไม่ทราบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศแถบนี้นิยมสินค้าแบบไหน หรือ หากจะเข้าไปขายสินค้าควรดำเนินการผ่านช่องทางไหน
พูดง่ายๆ ก็คือ การเจาะตลาดที่อยู่ ไกลๆ อย่างสหภาพยุโรป หรือ สหรัฐฯ แม้กระทั่งแอฟริกา ยังง่ายกว่า
นั่นเป็นเพราะในอดีตรัฐบาลไม่เคย สนับสนุนการทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ แต่ให้ความสำคัญกับตลาดใหญ่ๆที่ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
เข้าตำรา..ใกล้เกลือกินด่าง
ไม่ต้องไปพูดถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือ SMEs ว่าเอาเข้าจริงจะเจาะตลาดเหล่านี้ได้หรือเปล่า
ในด้านนโยบายระดับสูงของภาครัฐต่างก็คุยกันไปว่าได้มีการตั้งหน่วยงาน นั้น หน่วยงานนี้ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจ แต่สุดท้ายก็ไม่ค่อยมีใครได้เข้าไปใช้ประโยชน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดต่างประเทศอธิบายกับ "ประกายดิน" ว่า เราตื่นกระแสเออีซี แต่ไม่รู้จักเออีซีอย่างแท้จริง ความจริงการมีเออีซีหรือไม่มี เออีซี ดูจะไม่ต่างกันคือ สุดท้ายปลาใหญ่ ก็กินปลาเล็ก
กฎระเบียบต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน ถามว่านักธุรกิจหรือคนไทยเข้าใจจริงๆ สักกี่คน
มีนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกี่คนที่เข้าใจเรื่อง "แหล่งกำเนิดสินค้า" อย่างแท้จริง ไม่ต้องพูดถึงกฎระเบียบประเภทอื่นที่ไม่ค่อยคุ้นหู
แม้กระทั่งการให้เงินสนับสนุนการเจาะตลาดใหม่ๆ จำนวน 300 ล้านบาท ปรากฏว่ามีบริษัทยื่นขอรับการสนับสนุนแค่ 500 กว่าบริษัท จากเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่มีอยู่เกือบ 3 ล้านบริษัท
โครงการที่ว่าคือ "โครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอส เอ็มอี โปรแอ็กทีฟ" ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย นำออกมาช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกกลุ่มสินค้าและ บริการ โดยจะส่งเสริมทุกตลาด แต่มีนโยบายเน้นเข้าไปสร้างเสริมกิจกรรมในตลาดใหม่ เช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินเดีย ชิลี เปรู เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 314 บริษัท คิดเป็นมูลค่าเงินประมาณ 50 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 243 บริษัท คิดเป็นเงินประมาณ 27 ล้านบาท
โครงการนี้นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือ เอสเอ็มอี เพื่อเจาะและขยายการเข้าตลาดต่างประเทศ เสริมสร้างความสามารถการแข่งขันของธุรกิจไทยในตลาดโลกแล้ว ยังมุ่งส่งเสริมและพัฒนาสินค้า-บริการของไทยให้ได้มาตรฐานสากลและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มจำนวนเอสเอ็มอีให้ขยายช่องทางการส่งออกได้ด้วยตนเองมากขึ้น
โดยผู้ที่มีคุณสมบัติจะได้รับงบสนับสนุนดังกล่าว ต้องเป็นบริษัทที่มีการส่งออกไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี มีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% เป็นสมาชิกหอการค้าไทย หอการค้าต่างจังหวัดและหอการค้าต่างประเทศ สมาพันธ์ สมาคมการค้าที่เป็นสมาชิก 3 สภาฯข้างต้น และต้องไม่เคยมีประวัติเสียหาย
โดยกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจะมีทั้งในรูปแบบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าบริการในต่างประเทศ เพื่อเจรจาการค้าที่เป็นงานได้มาตรฐาน หรือ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐ การจัดคณะผู้ประกอบการไปเจรจาธุรกิจในต่างประเทศ เป็นต้น ผู้ประกอบการแต่ ละรายมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนภายในช่วงอายุโครงการ 3 ปีงบประมาณ 2556-2558 โดยอาจได้รับการพิจารณาสนับสนุนซ้ำได้ แต่ไม่เกิน 6 ครั้ง ในวงเงินรวมทั้งโครงการ 300 ล้านบาท
โครงการดีๆ อย่างนี้ ทำไมผู้ประกอบการไม่กระตือรือร้นที่จะเข้า ไปรับการสนับสนุน ไม่รู้ว่าการประชาสัมพันธ์น้อยเกินไปหรือผู้ประกอบการไม่สนใจข่าวสารกันแน่
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น