--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

สัมภาษณ์พิเศษ : ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ต้นทุนแฝงแพงกว่าที่คิด !!??

การค้าขายในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ซึ่งกระบวนการผลิตสินค้ามีต้นทุนแฝงมากมาย โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ซึ่งพลังงานนอกจากจะทำให้สูญเสียเม็ดเงินแล้ว หากปล่อยขึ้นไปในอากาศมากๆ ยัง ก่อให้เกิดผลเสียต่อโลก และกำลังจะกลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ ที่กลุ่มประเทศอาเซียนหยิบยก มาพูดถึง

ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ถึงแนวทางการทำอุตสาหกรรมยุคใหม่ และการเข้ามาเป็น แรงขับเคลื่อนของสถาบันมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

อยากให้เล่าถึงบทบาทของสถาบันฯโดยสังเขป?

งานที่เราทำมีหลายด้าน เช่นการ นำเสนอข้อมูลให้คนศึกษาเพื่อมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและปรับตัว โดยดึงทุกภาค ส่วนมาทำงานร่วมกัน เมื่อขับเคลื่อนในประเทศเสร็จได้ผลดีก็ขยายผลไปสู่ต่างประเทศ ถ้าต่างประเทศมีเรื่องใหม่ๆ ก็นำมาขยายผลในประเทศไทย

 โครงการที่พอจะเห็นเป็นรูปธรรม? 

ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราพูดเรื่องนี้มาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วว่าน้ำทะเลจะสูงขึ้น อากาศจะร้อนขึ้น ผลไม้จะเปลี่ยนฤดูกาล สื่อสารให้คนไทยปรับตัวในการสร้างผลผลิตหรือการบอก กับประเทศเพื่อนบ้านว่าน้ำในแม่โขงจะลดลงแล้วนะ ต้องมาคุยว่าจะหาทางออกร่วมกันอย่างไร ถ้าจีนสร้างเขื่อนกักน้ำเรา จะหาทางออกอย่างไร หรือเจรจาต่อรองกับจีน เพื่อให้เกิดการปรับตัวอย่างไร สร้างเขื่อนอย่างไรโดยไม่กระทบกับประเทศที่อยู่ปลาย น้ำ หรือในอนาคตเราจะต้องเจอแน่ๆ ถ้าไม่ เตรียมการคือเรื่องพลังงาน เราซื้อพลังงาน ข้างนอกมาใช้ ไม่ลดการใช้ลง ไม่หาแหล่งพลังงานใหม่ๆ อย่างแอลพีจีถ้าไม่มีการปรับ ราคาเปิดประชาคมอาเซียน คนจะแห่มาซื้อเมืองไทยจนหมด เพราะเราขายถูก

 อนาคตการทำเกษตรบ้านเราควรปรับตัวอย่างไร?

เกษตรมี 2 แบบคือปลูกเพื่อกินในประเทศ ต้องมีระบบการจัดการว่าพื้นที่ไหนปลูกพืชอาหาร พื้นที่ไหนปลูกพืชพลัง งาน ทุกวันนี้เกษตรกรไทยมีปัญหาผลผลิต ต่อไร่ต่ำ จึงต้องมีการนำระบบวิจัยและพัฒนามาใช้ ทำยังไงให้เพิ่มผลผลิตได้ ต้อง ปลูกของดีแล้วขายราคาแพง ไม่ใช่ปลูกของถูกเพื่อส่งออก อุตสาหกรรมก็เหมือน กัน อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงแล้วส่งออก ถ้าราคาไม่ดีมาก ควรทำหรือเปล่า หรือว่าควรหยุดการส่งเสริม

ในอาเซียนดำเนินการเรื่องเหล่านี้อย่างไร? 

ประเทศที่ฉลาดสุดคือสิงคโปร์ โรง งานที่มีมลพิษมากๆ เขาไม่เอา มาเลเซียก็ ใช้วิธีนี้ เวียดนามก็เริ่มใส่ใจเพราะบริษัทใหญ่ๆ เข้าไปลงทุนในเวียดนามมาก ซึ่งเขาก็เรียนรู้จากเรา เอาไปตั้งกติกาในประเทศของเขา สำหรับประเทศไทยก็ต้องประเมินว่าควรจะสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากๆ หรือเปล่าเพราะถ้าเรา ต้องผลิตสินค้าที่ใช้พลังงานเช่นน้ำมันจำนวนมาก โดยต้องจัดหาพลังงานมาให้กับอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจจะไม่ฉลาดนัก เพราะคนที่ได้คือเจ้าของโรงงาน แต่ประเทศ เหนื่อย ต้องหาพลังงานจำนวนมากมาให้บริษัทนี้เพื่อผลิตของขาย เราน่าจะมีหลัก ในการคิดใหม่ว่าอุตสาหกรรมไทยจะไปทาง ไหน ควรจะมีอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากๆ ได้แค่ไหน ถ้าดูแล้วได้เงินเข้ามาพัฒนาประเทศไทยไม่มาก กำไรนิดหน่อย แต่ต้องคอยหาพลังงานมาอุดหนุน เกิดผล กระทบต่อสุขภาพ ระบบนิเวศเสีย วัตถุดิบ ก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจะต้องเลิกการส่งเสริมสนับสนุน เหมือนสิงคโปร์ที่เลือกอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพเข้า ไปตั้งในประเทศ

เห็นว่าร่วมกับบริษัทดาว เคมิคอลทำโครงการพี่ช่วยน้อง?

คุยกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว คอนเซปต์บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด มองว่าอยากทำซีเอสอาร์ แต่สถาบันไม่ได้ มองว่าซีเอสอาร์สำคัญ ก็พยายามคุยให้เปลี่ยนใจ หาจุดดีของดาวจนเจอว่าดาวมี โรงงานที่จีน ซึ่งมีกฎระเบียบเรื่องคลีนเนอร์เทคโนโลยีถึงขั้นผลิตตำราภาษาจีน มีระบบการลดความสูญเสียในกระบวน การผลิตสินค้า การป้องกันอุบัติเหตุกับบุคลากร จึงเอาบทเรียนที่เขาทำได้ดีในจีน มารวมกับประสบการณ์ของเราที่เคยทำเรื่อง Lean แล้วนำเสนอในรูปแบบพี่ใหญ่ ดูแลน้อง ช่วยอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

รูปแบบการทำงานเป็นอย่างไร?

เริ่มต้นด้วยการพัฒนาแนวคิดและจัดทำคู่มือ Lean Management for Environment ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยดำเนินการร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และหุ้นส่วนเชิง สร้างสรรค์ไทย-สหรัฐฯ ในการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและการป้องกันมลพิษที่ยั่งยืน ให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมแล้ว กว่า 2,000 คน โดยแก้ไขปัญหาที่ต้นทางอย่างครบวงจรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดมลพิษ ลดการใช้พลังงาน แต่เกิดประสิทธิภาพที่ดีต่อการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเติบโตควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคมได้ในระยะยาว ช่วยยกระดับองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็น "Green Industry" รวมทั้งเป็นการต่อยอดเพื่อสร้างระบบ "เศรษฐกิจสีเขียว" ขยายผลไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จากนั้นขยายสู่ภาคส่วนอื่นๆ ให้มีการนำองค์ความ รู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติในลักษณะ "Good Practice" และมีการประยุกต์ใช้ Lean Management for Environment ในโรงงานนำร่อง

คัดเลือกโรงงานที่เข้ามาร่วมอย่างไร?

ตอนแรกเรามองโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาด้านต้นทุนและมลพิษเยอะ เช่น โรง งานเซรามิก โรงงานฟอกย้อม ซึ่งจบโครงการเฟสแรกไปแล้ว ปัจจุบันขึ้นเฟสใหม่ คัด เลือกโรงงานทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเน้นการ ฝึกอบรมเชิงลึกว่าการลดการสูญเสียทำได้อย่างไร โดยจะคัดเลือกโรงงานที่มีความตั้งใจอยากปรับปรุงกระบวนการผลิตจริงๆ

อุตสาหกรรมที่ทำตามระบบดังกล่าวจะดีขึ้นอย่างไร?

ยกตัวอย่างเซรามิก เวลาขึ้นรูปจะสูญเสียประมาณ 50% เบี้ยวบ้าง สีเพี้ยนบ้าง ต้องทิ้ง เราก็ต้องสอนให้เขาควบคุมกระบวนการผลิตให้สูญเสียน้อยที่สุด เผา แจกันใบหนึ่ง พลังงานก็ต้องเสีย ดินก็ต้อง เสีย สีก็ต้องเสีย หลักการคือเอาระบบลีนเข้าไปลดการสูญเสีย ให้ได้ของเกรดดีขายได้ราคาแพงขึ้น หรือการผลิตยามีกติกาว่ายาที่ผลิตแล้วเสีย สามารถนำกลับ มาใช้ใหม่ได้แค่ 10% ห้ามเกินเป็นกติกาสากล ถ้าไม่ทำตามนี้ถือว่ามีความผิด ถ้าเสีย 15% ก็ต้องทิ้ง 5% เราต้องอบรมว่า ทำยังไงจะลดความสูญเสียเรื่องยาได้ทำยังไงให้ประหยัดพลังงานได้ ทำยังไงให้ใช้แรงงานได้คุ้มที่สุด บางอย่างเป็นต้นทุนที่คิดไม่ถึง เช่น พนักงานเลิกงานกลับบ้านเอาเครื่องลมเย็นฉีดไล่ความสกปรกก็เกิด ความสูญเสียแล้ว

ถ้าเปิดเออีซีอุตสาหกรรมไทยสู้อาเซียนได้ไหม? 

ฝีมือแรงงานต้องพัฒนา ภาษาอังกฤษต้องได้ ถ้าแรงงานเราไม่พัฒนา โรงงานเขาก็ย้ายไปหาที่ใหม่ที่มีต้นทุนถูกกว่า แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเราต้องลดต้นทุนแฝงให้ได้ ถ้าลดต้นทุนแฝงได้ ก็เท่า กับลดคอสต์การผลิต ศักยภาพการแข่งขันก็สูงขึ้น

ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น