นักวิเคราะห์แนะจับตาสถานการณ์ในซีเรีย ชี้หากเกิดสงคราม ตลาด"หุ้น-เงิน"ผันผวน ค่าเงินบาทส่อหลุด 32.6 บาท แต่อาจส่งผลเฟดชะลอลดขนาดคิวอี
ความกังวลสถานการณ์ในซีเรียเพิ่มมากขึ้น หลังจากนายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แสดงท่าทีว่าสหรัฐจะโจมตีซีเรียกรณีการใช้อาวุธเคมีสังหารประชาชน และนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ระบุว่ากำลังชั่งน้ำหนักโจมตีซีเรียอย่างจำกัด แต่ต้องรอการอนุมัติจากสภาคองเกรซ
กรณีของซีเรียเพิ่มความกังวลให้กับตลาด จากก่อนหน้านั้น กังวลเรื่องการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการประชุมในวันที่ 17-18 ก.ย.นี้
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดจะมีการลดปริมาณคิวอี จาก 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เหลือ 6.5-7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่าในช่วงนี้ตลาดเงินกำลังจับตาสถานการณ์ในซีเรียอย่างใกล้ชิด เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้นเชื่อว่าเฟด จะยังไม่รีบลดขนาดการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ลง เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลงได้
"ที่ต้องติดตามดูในตอนนี้ คือ ข้อเสนอของทางสหประชาชาติที่จะยื่นให้กับทางซีเรียว่ามีอะไรบ้าง และซีเรียจะยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาเป็นอย่างไร ถ้าทั้ง 2 ตัวนี้ออกมาดี คือ ซีเรียยอมรับข้อตกลง และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐดี ก็เชื่อว่าเฟดคงลดขนาดคิวอีลงในเร็วๆนี้แน่นอน แต่หากซีเรียไม่ยอมรับข้อเสนอ จนทำให้เกิดสงครามขึ้น คิดว่ากรณีนี้เฟดจะยังไม่รีบลดขนาดคิวอีลง" นายเชาว์กล่าว
"หากเกิดสงครามขึ้นจริง คิดว่าทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงินคงมีความผันผวนอย่างมาก"
นายเชาว์กล่าวว่าหากสถานการณ์ในซีเรียไม่มีความรุนแรง และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดี ก็เชื่อว่าการลดขนาดคิวอีของเฟดอาจจะดำเนินการเพียงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันที่เฟดอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอยู่ที่เดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์
"ในกรณีที่เฟดลดขนาดคิวอีลง ถ้าลดเพียงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็คงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินและตลาดหุ้นมากนัก เพราะตลาดรับข่าวไปแล้ว ยกเว้นแต่เฟดจะลดขนาดของคิวอีลงในปริมาณที่มากๆ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้" นายเชาว์กล่าว
ชี้ลดคิวอีต่อเนื่องเพิ่มแรงกดดัน
ด้าน นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งออกมาดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์แล้วว่า เฟดอาจเริ่มต้นลดขนาดการใช้มาตรการคิวอีลงในเดือนก.ย.นี้ เพียงแต่ประเด็นที่ต้องจับตาดูต่อไป คือ การเริ่มต้นลดคิวอีของเฟดนั้นจะมีขนาดเท่าใด และเป็นการลดอย่างต่อเนื่องหรือไม่
"ความเสี่ยงที่เฟดจะเริ่มต้นลดคิวอีลงในเดือนก.ย.นี้ มีความเป็นไปได้มาก ซึ่งขนาดของการลดนั้น นักวิเคราะห์ราว 2 ใน 3 มองว่า เฟดจะลดขนาดของการพิมพ์เงินลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้นคงต้องดูว่า เฟดจะลดแรงกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้หรือไม่" นางสาวอุสรา กล่าว
นางสาวอุสรา กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่ต้องจับตาในการประชุมเฟดวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ อยู่ที่ถ้อยแถลงหลังการประชุมว่า ถ้าเฟดมีมติลดการใช้คิวอีจริง ลักษณะของการลดจะเป็นอย่างไร ระหว่างลดลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน หรือเป็นการลดเพียงครั้งเดียว แล้วรอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ลดลงต่อเนื่อง เชื่อว่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดเริ่มกลับมากังวลอีกครั้ง
"ถ้าเป็นกรณีที่ตลาดมองและตีความว่า เฟดจะเริ่มต้นลดคิวอีลงต่อเนื่องทุกเดือนนั้น ผลกระทบที่เกิดกับเอเชียก็คงมีต่อเนื่องด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าช่วงที่เริ่มใช้คิวอีมีเงินไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่อง และพอมีข่าวว่าเฟดจะเริ่มต้นลดการใช้ ก็ทำให้เงินจำนวนนี้กลับออกไประลอกหนึ่ง ที่เหลือก็คงรอดูว่าสัญญาณจากเฟดจะเป็นอย่างไร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจจะมีการขายทำกำไรอีกระลอกก็เป็นได้" นางสาวอุสรา กล่าว
ชี้ค่าเงินบาทอ่อนหากเฟดลดคิวอี
นางสาวอุสรากล่าวว่าผลกระทบต่อค่าเงินบาทไทยในกรณีที่เฟดส่งสัญญาณว่าจะลดขนาดของคิวอีลงต่อเนื่องนั้น คิดว่าเงินบาทไทยมีแนวต้านสำคัญที่ระดับ 32.60 บาท แต่คงต้องขึ้นกับสถานการณ์ความรุนแรงในซีเรียด้วย เพราะถ้าซีเรียเกิดเหตุการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามขึ้นมา เชื่อว่าเงินบาทมีโอกาสที่จะอ่อนค่าไปมากกว่านี้ได้
นางสาวอุสรา กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ในซีเรียแม้จะมีความรุนแรงมากขึ้น แต่อาจไม่ใช่ประเด็นหลักที่เฟดหยิบขึ้นมาพิจารณาในการเริ่มต้นลดคิวอีก็ได้ เพราะผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับประเทศที่นำเข้าน้ำมันเป็นหลัก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาล่าสุดมีการค้นพบ เชลล์แก๊ส ทำให้การนำเข้าน้ำมันเพื่อบริโภคน้อยลง จึงคิดว่าผลกระทบจากสถานการณ์ในซีเรีย ไม่กระทบเศรษฐกิจสหรัฐมากนัก ยกเว้นแต่สถานการณ์นี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้เฟดหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นพิจารณาก็ได้
ลดคิวอีไม่กระทบตลาดหุ้น
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการหยุดมาตรการคิวอีของสหรัฐนั้นไม่น่าจะมีผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวรับข่าวดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว และหากมีการปรับลดจริง เงินทุนต่างชาติไม่น่าจะไหลออกมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท
"ตั้งแต่มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบนั้น มีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยสูงสุดตั้งแต่ปี2552 จนถึงวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา มีมูลค่า 3.2 แสนล้านบาท ก่อนที่เงินทุนจะไหลออกอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเงินทุนต่างชาติไหลออกจากไทยแล้ว 1.96 แสนล้านบาท"
การไหลออกของเงินทุนต่างชาติ มาจากข่าวหยุดมาการคิวอีของสหรัฐออกมานั้น ซึ่งดัชนีหุ้นไทยก็ปรับตัวลงรับข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากนี้มีการปรับลดวงเงินคิวอีลง หรือหากมีการหยุดมาตรการคิวอีลง ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นมากนัก ซึ่งจากการประเมินว่าเงินทุนต่างชาติจะไหลออก 4 หมื่นล้านบาท น่าจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลงไปอีก 65 จุดเท่านั้น
"แต่หากมีการขายทรัพย์สินที่รับซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสวนทางกับสิ่งตลาดหุ้นประเมินไว้ก่อนหน้านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพลนิคอย่างรุนแรงขึ้นในอนาคต"
คาดปรับลดลง1-2หมื่นล้านดอลล์
ด้าน นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี จำกัด ประเมินเช่นเดียวกันว่าในการปรับลดมาตรการคิวอีของสหรัฐในเดือนก.ย.นี้ จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก ต่างมองว่าน่าจะมีการปรับลดปริมาณการทำคิวอีของสหรัฐลง 1- 2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยปัจจุบันดัชนีตลาดหุ้นนั้นน่าจะมีการปรับตัวรับกับข่าวดังกล่าวไปแล้ว
"ที่ผ่านมาพอหลังจากมีการออกข่าวการหยุดมาตรการคิวอีของสหรัฐอเมริกา จะชะลอการรับซื้อพันธบัตรคืนนั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็ได้ปรับตัวรับข่าวมาอย่างต่อเนื่อง และเงินต่างชาติก็ขายสุทธิหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน"
หากมีการหยุดมาตรการคิวอีของสหรัฐอเมริกา หรือการปรับลดปริมาณคิวอีลง จะส่งผลกระทบกับตลาดอย่างไรในอนาคตนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ แต่เชื่อว่าด้วยพื้นฐานของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากและมีอัตราการทำกำไรที่เติบโตต่อเนื่อง โดยปีนี้ประเมินว่าจะมีการเติบโตที่ 14% ซึ่งดัชนีหุ้นไทยไม่น่าจะปรับตัวลดลงกว่า 1,260 จุด
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
.........................................................................
ความกังวลสถานการณ์ในซีเรียเพิ่มมากขึ้น หลังจากนายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แสดงท่าทีว่าสหรัฐจะโจมตีซีเรียกรณีการใช้อาวุธเคมีสังหารประชาชน และนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ระบุว่ากำลังชั่งน้ำหนักโจมตีซีเรียอย่างจำกัด แต่ต้องรอการอนุมัติจากสภาคองเกรซ
กรณีของซีเรียเพิ่มความกังวลให้กับตลาด จากก่อนหน้านั้น กังวลเรื่องการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการประชุมในวันที่ 17-18 ก.ย.นี้
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดจะมีการลดปริมาณคิวอี จาก 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เหลือ 6.5-7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่าในช่วงนี้ตลาดเงินกำลังจับตาสถานการณ์ในซีเรียอย่างใกล้ชิด เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้นเชื่อว่าเฟด จะยังไม่รีบลดขนาดการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ลง เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลงได้
"ที่ต้องติดตามดูในตอนนี้ คือ ข้อเสนอของทางสหประชาชาติที่จะยื่นให้กับทางซีเรียว่ามีอะไรบ้าง และซีเรียจะยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาเป็นอย่างไร ถ้าทั้ง 2 ตัวนี้ออกมาดี คือ ซีเรียยอมรับข้อตกลง และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐดี ก็เชื่อว่าเฟดคงลดขนาดคิวอีลงในเร็วๆนี้แน่นอน แต่หากซีเรียไม่ยอมรับข้อเสนอ จนทำให้เกิดสงครามขึ้น คิดว่ากรณีนี้เฟดจะยังไม่รีบลดขนาดคิวอีลง" นายเชาว์กล่าว
"หากเกิดสงครามขึ้นจริง คิดว่าทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงินคงมีความผันผวนอย่างมาก"
นายเชาว์กล่าวว่าหากสถานการณ์ในซีเรียไม่มีความรุนแรง และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดี ก็เชื่อว่าการลดขนาดคิวอีของเฟดอาจจะดำเนินการเพียงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันที่เฟดอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอยู่ที่เดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์
"ในกรณีที่เฟดลดขนาดคิวอีลง ถ้าลดเพียงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็คงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินและตลาดหุ้นมากนัก เพราะตลาดรับข่าวไปแล้ว ยกเว้นแต่เฟดจะลดขนาดของคิวอีลงในปริมาณที่มากๆ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้" นายเชาว์กล่าว
ชี้ลดคิวอีต่อเนื่องเพิ่มแรงกดดัน
ด้าน นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งออกมาดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์แล้วว่า เฟดอาจเริ่มต้นลดขนาดการใช้มาตรการคิวอีลงในเดือนก.ย.นี้ เพียงแต่ประเด็นที่ต้องจับตาดูต่อไป คือ การเริ่มต้นลดคิวอีของเฟดนั้นจะมีขนาดเท่าใด และเป็นการลดอย่างต่อเนื่องหรือไม่
"ความเสี่ยงที่เฟดจะเริ่มต้นลดคิวอีลงในเดือนก.ย.นี้ มีความเป็นไปได้มาก ซึ่งขนาดของการลดนั้น นักวิเคราะห์ราว 2 ใน 3 มองว่า เฟดจะลดขนาดของการพิมพ์เงินลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้นคงต้องดูว่า เฟดจะลดแรงกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้หรือไม่" นางสาวอุสรา กล่าว
นางสาวอุสรา กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่ต้องจับตาในการประชุมเฟดวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ อยู่ที่ถ้อยแถลงหลังการประชุมว่า ถ้าเฟดมีมติลดการใช้คิวอีจริง ลักษณะของการลดจะเป็นอย่างไร ระหว่างลดลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน หรือเป็นการลดเพียงครั้งเดียว แล้วรอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ลดลงต่อเนื่อง เชื่อว่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดเริ่มกลับมากังวลอีกครั้ง
"ถ้าเป็นกรณีที่ตลาดมองและตีความว่า เฟดจะเริ่มต้นลดคิวอีลงต่อเนื่องทุกเดือนนั้น ผลกระทบที่เกิดกับเอเชียก็คงมีต่อเนื่องด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าช่วงที่เริ่มใช้คิวอีมีเงินไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่อง และพอมีข่าวว่าเฟดจะเริ่มต้นลดการใช้ ก็ทำให้เงินจำนวนนี้กลับออกไประลอกหนึ่ง ที่เหลือก็คงรอดูว่าสัญญาณจากเฟดจะเป็นอย่างไร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจจะมีการขายทำกำไรอีกระลอกก็เป็นได้" นางสาวอุสรา กล่าว
ชี้ค่าเงินบาทอ่อนหากเฟดลดคิวอี
นางสาวอุสรากล่าวว่าผลกระทบต่อค่าเงินบาทไทยในกรณีที่เฟดส่งสัญญาณว่าจะลดขนาดของคิวอีลงต่อเนื่องนั้น คิดว่าเงินบาทไทยมีแนวต้านสำคัญที่ระดับ 32.60 บาท แต่คงต้องขึ้นกับสถานการณ์ความรุนแรงในซีเรียด้วย เพราะถ้าซีเรียเกิดเหตุการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามขึ้นมา เชื่อว่าเงินบาทมีโอกาสที่จะอ่อนค่าไปมากกว่านี้ได้
นางสาวอุสรา กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ในซีเรียแม้จะมีความรุนแรงมากขึ้น แต่อาจไม่ใช่ประเด็นหลักที่เฟดหยิบขึ้นมาพิจารณาในการเริ่มต้นลดคิวอีก็ได้ เพราะผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับประเทศที่นำเข้าน้ำมันเป็นหลัก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาล่าสุดมีการค้นพบ เชลล์แก๊ส ทำให้การนำเข้าน้ำมันเพื่อบริโภคน้อยลง จึงคิดว่าผลกระทบจากสถานการณ์ในซีเรีย ไม่กระทบเศรษฐกิจสหรัฐมากนัก ยกเว้นแต่สถานการณ์นี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้เฟดหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นพิจารณาก็ได้
ลดคิวอีไม่กระทบตลาดหุ้น
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการหยุดมาตรการคิวอีของสหรัฐนั้นไม่น่าจะมีผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวรับข่าวดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว และหากมีการปรับลดจริง เงินทุนต่างชาติไม่น่าจะไหลออกมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท
"ตั้งแต่มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบนั้น มีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยสูงสุดตั้งแต่ปี2552 จนถึงวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา มีมูลค่า 3.2 แสนล้านบาท ก่อนที่เงินทุนจะไหลออกอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเงินทุนต่างชาติไหลออกจากไทยแล้ว 1.96 แสนล้านบาท"
การไหลออกของเงินทุนต่างชาติ มาจากข่าวหยุดมาการคิวอีของสหรัฐออกมานั้น ซึ่งดัชนีหุ้นไทยก็ปรับตัวลงรับข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากนี้มีการปรับลดวงเงินคิวอีลง หรือหากมีการหยุดมาตรการคิวอีลง ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นมากนัก ซึ่งจากการประเมินว่าเงินทุนต่างชาติจะไหลออก 4 หมื่นล้านบาท น่าจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลงไปอีก 65 จุดเท่านั้น
"แต่หากมีการขายทรัพย์สินที่รับซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสวนทางกับสิ่งตลาดหุ้นประเมินไว้ก่อนหน้านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพลนิคอย่างรุนแรงขึ้นในอนาคต"
คาดปรับลดลง1-2หมื่นล้านดอลล์
ด้าน นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี จำกัด ประเมินเช่นเดียวกันว่าในการปรับลดมาตรการคิวอีของสหรัฐในเดือนก.ย.นี้ จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก ต่างมองว่าน่าจะมีการปรับลดปริมาณการทำคิวอีของสหรัฐลง 1- 2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยปัจจุบันดัชนีตลาดหุ้นนั้นน่าจะมีการปรับตัวรับกับข่าวดังกล่าวไปแล้ว
"ที่ผ่านมาพอหลังจากมีการออกข่าวการหยุดมาตรการคิวอีของสหรัฐอเมริกา จะชะลอการรับซื้อพันธบัตรคืนนั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็ได้ปรับตัวรับข่าวมาอย่างต่อเนื่อง และเงินต่างชาติก็ขายสุทธิหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน"
หากมีการหยุดมาตรการคิวอีของสหรัฐอเมริกา หรือการปรับลดปริมาณคิวอีลง จะส่งผลกระทบกับตลาดอย่างไรในอนาคตนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ แต่เชื่อว่าด้วยพื้นฐานของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากและมีอัตราการทำกำไรที่เติบโตต่อเนื่อง โดยปีนี้ประเมินว่าจะมีการเติบโตที่ 14% ซึ่งดัชนีหุ้นไทยไม่น่าจะปรับตัวลดลงกว่า 1,260 จุด
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
.........................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น