--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

พท.โหวตแก้ รธน.ที่มา ส.ว.-ปชป.เสนอเลื่อน !!??

"เพื่อไทย" ยันเดินหน้าโหวตวาระ 3 ร่างแก้ไข รธน.ที่มา ส.ว. ขณะที่ปชป.เตรียมเสนอเลื่อนลงมติวาระ 3

จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของ ส.ว. แต่ไม่มีคำสั่งชะลอการลงมติในวาระ 3 นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ขณะนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาได้ออกหนังสือเพื่อเรียกประชุมรัฐสภาในวันที่ 28 ก.ย. ในเวลา 10.00 น. เพื่อลงมติ ในวาระ 3 แล้ว และเพื่อให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา ยังยืนยันที่จะเดินหน้าลงมติ ทั้งนี้ตามกระบวนการก็ได้ระบุชัดเจนว่าหลังจากผ่านการพิจารณาวาระสองต้องโหวตใน 15 วัน ตนเชื่อว่าการรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงมติของสมาชิกรัฐสภา

นายอำนวยกล่าวต่อว่า ที่หลายฝ่ายกังวลว่าแม้จะลงมติได้ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากพิจารณาตาม รธน. มาตรา 90 ที่ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัติริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจาเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป ประเด็นนี้เมื่อสภาได้ให้ความเห็นชอบในวาระสามแล้ว จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในกระบวนการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ได้รับความยินยอม ขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย

"การลงมติเป็นการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา และฝ่ายนิติบัญยัติที่จะเดินหน้าได้" นายอำนวย กล่าว

"คำนูณ"ถามความเหมาะสมหากจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ

นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ชะลอการลงมติ ดังนั้นการนัดหมายในวันที่ 28 ก.ย. นี้ เชื่อว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายคนมองเรื่องปัญหาการขึ้นทูลเกล้าฯ หากพิจารณาตามกระบวนการที่ระบุใน มาตรา 291 ก็เป็นกระบวนการที่สภานิติบัญญัตติสามารถทำได้ โดยมีกำหนดระยะเวลาให้รัฐสภานำร่างแก้ไขที่ได้รับความเห็นชอบส่งให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าภายใน 20 วัน เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย และไม่ได้มีการเว้นช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ดังนั้นอาจจะมีปัญหาว่าการนำร่างที่ยังอยู่ในระหว่างตีความขึ้นทูลเกล้าฯจะมีความเหมาะสมหรือไม่

ปชป. เตรียมเสนอเลื่อนลงมติวาระ 3

ขณะที่นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มองว่าจากาารที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้ว แต่ไม่ได้ชะลอ ตนมองว่าประเด็นนี้ยังเป็นสิ่งที่ทางรัฐสภาต้องมาพิจารณาว่าจะเดินหน้าลงมติในวาระสามต่อหรือไม่ โดย ส่วนตัวมองว่าการลงมติวาระสามสามารถที่จะชะลอ ยกตัวอย่างเช่นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่ลงมติ ดังนั้นทำให้เห็นว่ายังมีเวลาที่จะชะลอได้ เบื้องต้น 28 ต.ค. ประชาธิปัตย์ ต้องหารือและเสนอให้เลื่อนการลงมติออกไปปแต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นกะบเสียงข้างมากในที่ประชุม หากที่ประชุมยังเดินหน้าลงมติ ก็อาจจะเป็นปัญหาต่อไปในกระบวนการที่นายกฯจะนำร่างขึ้นทูลเกล้าภายใน 20วัน ดังนั้นก็ควรรอให้ครบ 20 วันแล้วจึงทูลเกล้าฯ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการใช้พระราชวินิจฉัย

จุฬาฯชี้ศาลรธน.เร่งวินิจฉัย หวั่นเกิดปัญหา

ขณะที่นันทวัฒน์ บรมานันท์ อ.นิติศาสตร์จุฬา กล่าวว่าเรื่องนี้ทางสภายังคงที่จะเดินหน้าเพื่อทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้อยู่ถึงแม้ว่าจะมี สมาชิกส่วนหนึ่งมองว่าควรชะลอ แต่อย่าลืมว่าแม้จะส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาแต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แยกออกจากกัน ทางสภาสามารถเดินหน้าลงมติได้

ส่วนประเด็นนำขึ้นทูลเกล้าฯ นายนันทวัฒน์ได้ยกตัวเอย่า กรณีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งมีผู้ยื่นต่อศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ว่ากระบวนการได้มามิชอบ และ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจะนะงับไว้ก่อน แต่ก็มีเสียงว่านายกไม่ควรระงับเพราะเท่าากับเป็นการแทรกแซง นายกจึงไม่ระงับไว้ ทั้งๆที่มีการยื่นคำร้องต่อศาลอยู่ ตามกระบวนการนี้เมื่อลงมติผ่านวาระสามไปแล้ว กฎหมายให้อำนาจนายกนำขึ้นทูลเกล้าโดยทันที

นายนันทวัฒน์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามหากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามิชอบอาจจะเป็นปัญหาได้ว่ายกเลิกได้หรือไม่ ดังนั้นหากศาลรัฐธรรมนูญมองว่าเป็นเรื่องด่วนก็ควรไต่สวนหรือพิจาณราให้แล้วสร็จก่อนที่จะลงมติหรือนำขึ้นทูลเกล้าฯ

ระบุศาลรธน. มีอำนาจรับเรืองไว้พิจารณา

ขณะที่ นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับการยื่นคำร้องครั้งนี้ต้องมองเป็นสองกรณี คือ 1.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อมาตรา 68 ว่าด้วยการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติหรือไม่ และ 2.กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยข้อบังคับตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยทีเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาที่มีการสงวนความเห็นและคำแปรญัตติได้อภิปรายอย่างครบถ้วนหรือไม่

นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นการพิจารณาของสมาชิกรัฐสภาว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถที่จะรับคำร้องได้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการใช้สิทธิของสมาชิกรัฐสภาและตัวรัฐสภา ที่สมาชิกรัฐสภาถูกมองว่าถูกจำกัดสิทธิ ส่วนที่จะขัดกับ ม. 68 หรือไม่ ส่วนตัวเชื่อว่าหากศาลพิจารณาเรื่องการจำกัดสิทธิ การวินิจฉัยเรื่อง ม. 68 น่าจะสอดคล้องกัน

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น