เซเว่น อีเลฟเว่น หรือ 7-11 กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนไทยไปแล้ว ไม่มีใครไม่เคยเข้า 7-11 นอกจากประเทศไทยแล้ว 7-11 สนใจเข้าไป เจาะตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย
วิเชียร จึงวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย บมจ.ซีพี ออลล์ เทียวไล้เทียวขื่อ เข้าประเทศนั้นออกประเทศนี้นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อศึกษาพฤติกรรมและเตรียมพร้อมหากวันหนึ่งต้องรุกเข้าไปในกลุ่มประเทศอาเซียนจริงๆ
+ เวียดนามตลาดในฝัน
แม้ 7-11 จะยิ่งใหญ่ในเมืองไทยมากเพียงใด หากนั่นไม่ใช่คำตอบแห่งความสำเร็จ เพราะแผนการตลาดวันนี้ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ขวานทอง แต่เป็นแผนที่ ทั้งอาเซียน
"ประธานธนินท์ เจียรวนนท์ บอกว่าตลาดคือโลกนี้ทั้งใบ ไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้น เรามีหน้าที่เสิร์ฟอาหารให้กับคนทั้งโลก" คุณวิเชียรเท้าความ ก่อนจะอธิบายต่อว่า
"ตอนผมไปเซอร์เวย์ตลาดในเวียดนาม เห็นมอเตอร์ไซค์วิ่งเต็มถนน ต้องใช้คำว่ามากเหมือนปลวก มอเตอร์ไซค์เยอะมาก รถยนต์กลายเป็นของประหลาดไปเลย สิ่งที่เห็นหมายความว่าพฤติกรรมของเขา ไม่เหมือนเราแน่นอน ถ้าจะไปบุกตลาดเขาจะต้องทำยังไงบ้าง 7-11 เรามีข้อจำกัดที่ได้ไลเซ่นส์ เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น นอกดินแดนไทย เราไม่สามารถ เปิดร้าน 7-11 ได้ แต่ผมก็ยังไปเซอร์เวย์เพราะว่าถ้า วันหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ 7-11 เขาอนุญาตให้เปิดแฟรนไชส์ในอาเซียน ต้องเป็นเราเท่านั้นที่ไปเปิดคงไม่ใช่ 7-11 ของญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่จะมาทำแถบนี้"
คุณวิเชียร กล่าวว่า อาเซียนถือเป็นนิวมาร์เก็ต เป็นตลาดใกล้ตัวที่เรายังไม่เคยสัมผัส เป็นคนที่เราคุ้นเคย แต่เราไม่เคยเข้าไปค้าขายกับเขา ทำยังไงที่จะเข้าไปสู่ตลาดใหม่เหล่านี้ได้ ถ้าเอาตามทฤษฎี แน่นอนเราต้องเรียนรู้ภาพใหญ่ก่อน คือหาข้อมูลที่มีบันทึกไว้หลายแหล่ง แม้กระทั่งการไปหัดขี่มอเตอร์ไซค์ในเวียดนาม เพื่อสัมผัสว่าสินค้าของเรามีโอกาสเข้าไปได้ยังไง แล้วพิจารณาว่ากฎหมายกฎระเบียบ เปิดโอกาสให้ทำได้หรือไม่
"เราไปเจอที่เวียดนามถ้าจะเปิด 7-11 จำนวน 720 สาขา ต้องทำการขอ อนุญาตเปิดธุรกิจ 720 ครั้งต่อปี เพราะเขานับ 1 ต่อ 1 ถามว่าในทางปฏิบัติเราจะเปิดได้หรือเปล่า เปิดได้ แต่ปีหนึ่งอาจจะเปิดได้แค่ 2-3 สาขา เมื่อกฎหมายไม่อำนวยความสะดวก เรา ต้องวิเคราะห์โอกาสใหม่ เพราะสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือต้องไม่มีคำนี้ออกจากปากว่า "ถ้ารู้อย่างนี้ไม่มาดีกว่า"
การเข้าสู่ตลาดใหม่โดยเฉพาะในต่างประเทศคือการหาตลาดเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น หรือค่าแรงที่ต่ำลง ทำให้เกิดโอกาสและกำไรที่มากขึ้น 7-11 มองว่าปัจจุบัน ในเมืองไทยมี 7,772 สาขา ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ในอนาคตอีก 4-5 ปีจะมีประมาณ 10,000 สาขา ถามว่าถ้าเปิดไปเรื่อยๆ แบบไม่จำกัดได้ไหม ไม่ได้ เพราะถ้าแข่งขันกันมากก็ต้องมีการปิดตัว แต่การเข้าไปในตลาดใหม่ต้องวิเคราะห์ให้ชัดว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ตกไม่ได้ ถ้าตกข้อนี้ถือว่าสอบตกตั้งแต่แรก เราไปเซอร์เวย์ทั้งที่ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา จ้างบริษัทท้องถิ่นหาข้อมูลเบื้องต้นให้ เก็บข้อมูลเรื่อยๆ จนกว่าจะพร้อมและได้ไลเซ่นส์แล้วจึงจะไป
+ ลาวตลาดแห่งความท้าทาย
พฤติกรรมคนลาวชอบสินค้าไทยอยู่แล้ว ปัจจุบันเขาก็ข้ามมาซื้อจากฝั่งไทย สินค้าเมดอินไทยแลนด์ขายได้แน่นอน ตอนผมเซอร์เวย์ไปทางเวียงจันทน์พบว่าเขา มีร้านคล้ายกับ 7-11 เป็นมินิมาร์ต แต่ผมว่าเขาข้ามชายแดนมาดูเรา เพราะเราสร้างแบบไหนเขาสร้างแบบ นั้น แตกต่างกันแค่สีเท่านั้น ทำเลหนึ่งที่เราไปศึกษาคือปั๊ม ปตท. ในลาว ว่าเราสามารถเปิดร้าน 7-11 ใน ปตท. ได้ไหม ผมเซอร์เวย์จากเวียงจันทน์-สุวรรณเขต-ปากเซ ระยะทาง 700 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 วันเพราะว่าสภาพถนนค่อนข้างแย่ มีสัตว์ทุกชนิดเดินไปเดินมา การสำรวจครั้งนั้นเราพบว่าสามารถเปิดร้าน 7-11 ได้ แต่ไม่มาก อีโคโนมีออฟสเกลไม่ได้ เราก็เลยได้คำตอบว่ารู้อย่างนี้อย่าเพิ่งไปดีกว่า นี่คือประโยชน์ของการสำรวจ
อย่างไรก็ตาม คุณวิเชียรปิดท้ายว่า การไปหรือไม่ ไปลงทุนของ 7-11 ไม่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทอื่น เพราะ การลงทุนในอาเซียนเป็นเรื่องของ "โอกาสใคร โอกาสมัน" ยกตัวอย่างในเวียดนามไม่มีร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์ แต่ห้องแถวค่าเช่าแพงมาก และสร้างกันอย่างไม่เป็นระเบียบ บางห้องสูง บางห้องต่ำ การเข้าไปเปิด 7-11 อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับเปิดร้านขายกล้วยแขก เหมือนแถวนางเลิ้งที่วิ่งขายตามรถ ขายดีแน่ เพราะที่เวียดนามมอเตอร์ไซค์วิ่งกันเต็มถนน อาจจะขายง่ายกว่าแถวนางเลิ้งอีก
"ถึงแม้ท่านจะเป็น SMEs ก็สามารถขยายขอบ เขตเข้าไปในอาเซียนได้ถ้ารู้ลึก รู้จริง สิ่งหนึ่งที่อยาก ฝากคือจะไปยังไงให้กลับมาแล้วรอด ไม่เจ็บตัว"
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////
วิเชียร จึงวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย บมจ.ซีพี ออลล์ เทียวไล้เทียวขื่อ เข้าประเทศนั้นออกประเทศนี้นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อศึกษาพฤติกรรมและเตรียมพร้อมหากวันหนึ่งต้องรุกเข้าไปในกลุ่มประเทศอาเซียนจริงๆ
+ เวียดนามตลาดในฝัน
แม้ 7-11 จะยิ่งใหญ่ในเมืองไทยมากเพียงใด หากนั่นไม่ใช่คำตอบแห่งความสำเร็จ เพราะแผนการตลาดวันนี้ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ขวานทอง แต่เป็นแผนที่ ทั้งอาเซียน
"ประธานธนินท์ เจียรวนนท์ บอกว่าตลาดคือโลกนี้ทั้งใบ ไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้น เรามีหน้าที่เสิร์ฟอาหารให้กับคนทั้งโลก" คุณวิเชียรเท้าความ ก่อนจะอธิบายต่อว่า
"ตอนผมไปเซอร์เวย์ตลาดในเวียดนาม เห็นมอเตอร์ไซค์วิ่งเต็มถนน ต้องใช้คำว่ามากเหมือนปลวก มอเตอร์ไซค์เยอะมาก รถยนต์กลายเป็นของประหลาดไปเลย สิ่งที่เห็นหมายความว่าพฤติกรรมของเขา ไม่เหมือนเราแน่นอน ถ้าจะไปบุกตลาดเขาจะต้องทำยังไงบ้าง 7-11 เรามีข้อจำกัดที่ได้ไลเซ่นส์ เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น นอกดินแดนไทย เราไม่สามารถ เปิดร้าน 7-11 ได้ แต่ผมก็ยังไปเซอร์เวย์เพราะว่าถ้า วันหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ 7-11 เขาอนุญาตให้เปิดแฟรนไชส์ในอาเซียน ต้องเป็นเราเท่านั้นที่ไปเปิดคงไม่ใช่ 7-11 ของญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่จะมาทำแถบนี้"
คุณวิเชียร กล่าวว่า อาเซียนถือเป็นนิวมาร์เก็ต เป็นตลาดใกล้ตัวที่เรายังไม่เคยสัมผัส เป็นคนที่เราคุ้นเคย แต่เราไม่เคยเข้าไปค้าขายกับเขา ทำยังไงที่จะเข้าไปสู่ตลาดใหม่เหล่านี้ได้ ถ้าเอาตามทฤษฎี แน่นอนเราต้องเรียนรู้ภาพใหญ่ก่อน คือหาข้อมูลที่มีบันทึกไว้หลายแหล่ง แม้กระทั่งการไปหัดขี่มอเตอร์ไซค์ในเวียดนาม เพื่อสัมผัสว่าสินค้าของเรามีโอกาสเข้าไปได้ยังไง แล้วพิจารณาว่ากฎหมายกฎระเบียบ เปิดโอกาสให้ทำได้หรือไม่
"เราไปเจอที่เวียดนามถ้าจะเปิด 7-11 จำนวน 720 สาขา ต้องทำการขอ อนุญาตเปิดธุรกิจ 720 ครั้งต่อปี เพราะเขานับ 1 ต่อ 1 ถามว่าในทางปฏิบัติเราจะเปิดได้หรือเปล่า เปิดได้ แต่ปีหนึ่งอาจจะเปิดได้แค่ 2-3 สาขา เมื่อกฎหมายไม่อำนวยความสะดวก เรา ต้องวิเคราะห์โอกาสใหม่ เพราะสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือต้องไม่มีคำนี้ออกจากปากว่า "ถ้ารู้อย่างนี้ไม่มาดีกว่า"
การเข้าสู่ตลาดใหม่โดยเฉพาะในต่างประเทศคือการหาตลาดเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น หรือค่าแรงที่ต่ำลง ทำให้เกิดโอกาสและกำไรที่มากขึ้น 7-11 มองว่าปัจจุบัน ในเมืองไทยมี 7,772 สาขา ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ในอนาคตอีก 4-5 ปีจะมีประมาณ 10,000 สาขา ถามว่าถ้าเปิดไปเรื่อยๆ แบบไม่จำกัดได้ไหม ไม่ได้ เพราะถ้าแข่งขันกันมากก็ต้องมีการปิดตัว แต่การเข้าไปในตลาดใหม่ต้องวิเคราะห์ให้ชัดว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ตกไม่ได้ ถ้าตกข้อนี้ถือว่าสอบตกตั้งแต่แรก เราไปเซอร์เวย์ทั้งที่ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา จ้างบริษัทท้องถิ่นหาข้อมูลเบื้องต้นให้ เก็บข้อมูลเรื่อยๆ จนกว่าจะพร้อมและได้ไลเซ่นส์แล้วจึงจะไป
+ ลาวตลาดแห่งความท้าทาย
พฤติกรรมคนลาวชอบสินค้าไทยอยู่แล้ว ปัจจุบันเขาก็ข้ามมาซื้อจากฝั่งไทย สินค้าเมดอินไทยแลนด์ขายได้แน่นอน ตอนผมเซอร์เวย์ไปทางเวียงจันทน์พบว่าเขา มีร้านคล้ายกับ 7-11 เป็นมินิมาร์ต แต่ผมว่าเขาข้ามชายแดนมาดูเรา เพราะเราสร้างแบบไหนเขาสร้างแบบ นั้น แตกต่างกันแค่สีเท่านั้น ทำเลหนึ่งที่เราไปศึกษาคือปั๊ม ปตท. ในลาว ว่าเราสามารถเปิดร้าน 7-11 ใน ปตท. ได้ไหม ผมเซอร์เวย์จากเวียงจันทน์-สุวรรณเขต-ปากเซ ระยะทาง 700 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 วันเพราะว่าสภาพถนนค่อนข้างแย่ มีสัตว์ทุกชนิดเดินไปเดินมา การสำรวจครั้งนั้นเราพบว่าสามารถเปิดร้าน 7-11 ได้ แต่ไม่มาก อีโคโนมีออฟสเกลไม่ได้ เราก็เลยได้คำตอบว่ารู้อย่างนี้อย่าเพิ่งไปดีกว่า นี่คือประโยชน์ของการสำรวจ
อย่างไรก็ตาม คุณวิเชียรปิดท้ายว่า การไปหรือไม่ ไปลงทุนของ 7-11 ไม่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทอื่น เพราะ การลงทุนในอาเซียนเป็นเรื่องของ "โอกาสใคร โอกาสมัน" ยกตัวอย่างในเวียดนามไม่มีร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์ แต่ห้องแถวค่าเช่าแพงมาก และสร้างกันอย่างไม่เป็นระเบียบ บางห้องสูง บางห้องต่ำ การเข้าไปเปิด 7-11 อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับเปิดร้านขายกล้วยแขก เหมือนแถวนางเลิ้งที่วิ่งขายตามรถ ขายดีแน่ เพราะที่เวียดนามมอเตอร์ไซค์วิ่งกันเต็มถนน อาจจะขายง่ายกว่าแถวนางเลิ้งอีก
"ถึงแม้ท่านจะเป็น SMEs ก็สามารถขยายขอบ เขตเข้าไปในอาเซียนได้ถ้ารู้ลึก รู้จริง สิ่งหนึ่งที่อยาก ฝากคือจะไปยังไงให้กลับมาแล้วรอด ไม่เจ็บตัว"
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น