โดย. ณกฤช เศวตนันทน์
ปัจจุบัน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่าจีน ถือเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีประชากรที่มากที่สุดในโลก
ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะถึงในปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า กลุ่มทุนจากจีนเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุนในอาเซียน ด้วยจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคนของ AEC และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ ใน 10 ประเทศสมาชิก AEC ตลอดจนค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างถูกกว่าภูมิภาคอื่น เหล่านี้ย่อมดึงดูดใจให้จีนอยากเข้ามาลงทุนในตลาดใหม่แห่งนี้เป็นอย่างมาก อีกทั้งในภูมิภาคอาเซียนมีประชาชนที่มีเชื้อชาติจีนอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย กับมีพรมแดนที่ไม่ไกลกันมากระหว่างอาเซียน และยังมีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมของประชากร ทำให้จีนได้เปรียบชาติอื่น ๆ จากตะวันตกในการที่จะเข้ามาลงทุนอยู่มาก
ก่อนที่ AEC จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2558 ทางประเทศจีนก็ได้ขยับตัวเตรียมวางรากฐานการลงทุนในอาเซียนไว้แล้ว รัฐบาลของจีนได้เจรจากับรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนหลาย ๆ ประเทศ เพื่อขอ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ผ่านประเทศพม่าซึ่งอยู่ใกล้จีนมากที่สุด เพื่อเป็นทางผ่านเข้ามาในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน
โดยเส้นทางรถไฟสายที่น่าจะก่อสร้างเสร็จเร็วที่สุด คือ เส้นทางรถไฟยูนนาน-พม่า สายนี้จะสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2015 และจีนก็กำลังจะสร้างท่าเรือและเขตอุตสาหกรรมที่นั่นด้วย เพื่อเป็นช่องทางส่งออกสินค้าจากเขตตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งไม่มีทางออกทะเล รวมทั้งเป็นจุดขนถ่ายน้ำมันและก๊าซ อีกทั้งจีนยังมีแผนการที่จะสร้างทางรถไฟอีกสายหนึ่งซึ่งมีความยาว 1,920 กม. เชื่อม เมืองคุนหมิง กับ เมืองท่าย่างกุ้ง ซึ่งจะเป็นการขยายเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ที่มีอยู่แล้ว เส้นทางนี้จะเชื่อมไปถึงท่าเรือแห่งใหม่ที่ทวายในภาคใต้ของพม่า จากนั้นก็จะมีเส้นทางเชื่อมระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ
นอกจากนั้น ยังมีทางรถไฟสายที่สามซึ่งจะตัดผ่านรัฐฉานของพม่า โดยเชื่อม เมืองคุนหมิง กับ เชียงราย แล้วเชื่อมจากเชียงรายเข้าสู่โครงข่ายรถไฟในไทย เส้นทางสายนี้และเส้นทางที่กำลังสำรวจในลาว จะเป็นเส้นทางขนส่งทางรถไฟระหว่างจีน กัมพูชา ไทย และสิงคโปร์ โดยโครงการทั้งหมดนี้ จีนเสนอจะออกเงินสร้างทางรถไฟสายใหม่และปรับปรุงรางเดิมให้พม่า โดยแลกกับการได้สัมปทานทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซ และน้ำ
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าจีนมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน นอกจากเตรียมพร้อมเรื่องเส้นทางขนส่งแล้ว จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียน โดยทั้งสองฝ่ายลงนามกันใน ASEAN-China Framework Agreement on Economic Cooperation ในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับสมาชิกเก่าของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย ภายในปี ค.ศ. 2010 และกับประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน 4 ประเทศ คือ พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ภายในปี ค.ศ. 2015
ก่อนหน้านี้ จีน-อาเซียนได้ลงนามความตกลงด้านการค้าสินค้าในปี ค.ศ. 2004 ความตกลงด้านการค้าบริการในปี ค.ศ. 2007 ความตกลงด้านการลงทุนในปี ค.ศ. 2009 ความตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน มีผลโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ทำให้อัตราภาษีศุลกากร
ส่วนใหญ่ของจีนกับสมาชิกเก่า 6 ประเทศของอาเซียนเหลือร้อยละศูนย์ (0) และผลรวมมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนในรอบปี ค.ศ. 2012 มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการค้าของอาเซียนกับประเทศต่าง ๆ ในโลกรวมกันมีประมาณ 1,537,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียนก็มีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ด้านการเมืองและความมั่นคง จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TACT) เมื่อ ค.ศ. 2003 ซึ่งสนธิสัญญา TACT ดังกล่าวมีขึ้นตั้งแต่ปี 1976 เพื่อกำหนดหลักการต่าง ๆ ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยึดถือ อันได้แก่ การเคารพในเอกราชอธิปไตย ความเสมอภาคบูรณภาพแห่งดินแดนและอัตลักษณ์ประจำชาติ รวมถึงการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี
จึงเห็นได้ว่า ใน AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ประเทศที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดประเทศหนึ่งคงจะหนีไม่พ้นประเทศจีน ดังนั้น ทั้ง 10 ชาติสมาชิก AEC ควรจะมีการเตรียมพร้อมในการหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศจีนเตรียมไว้ให้พร้อม
นอกจากนั้น ภาษาจีนก็อาจจะกลายเป็นภาษาที่มีความสำคัญไม่แพ้ภาษาอังกฤษ ชาติสมาชิกใน AEC จึงควรที่จะให้ประชาชนของตนศึกษาให้ชำนาญ
หากต้องการประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจกับประเทศจีนใน AEC ที่กำลังจะมาถึง
ทีมา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////
ปัจจุบัน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่าจีน ถือเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีประชากรที่มากที่สุดในโลก
ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะถึงในปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า กลุ่มทุนจากจีนเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุนในอาเซียน ด้วยจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคนของ AEC และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ ใน 10 ประเทศสมาชิก AEC ตลอดจนค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างถูกกว่าภูมิภาคอื่น เหล่านี้ย่อมดึงดูดใจให้จีนอยากเข้ามาลงทุนในตลาดใหม่แห่งนี้เป็นอย่างมาก อีกทั้งในภูมิภาคอาเซียนมีประชาชนที่มีเชื้อชาติจีนอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย กับมีพรมแดนที่ไม่ไกลกันมากระหว่างอาเซียน และยังมีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมของประชากร ทำให้จีนได้เปรียบชาติอื่น ๆ จากตะวันตกในการที่จะเข้ามาลงทุนอยู่มาก
ก่อนที่ AEC จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2558 ทางประเทศจีนก็ได้ขยับตัวเตรียมวางรากฐานการลงทุนในอาเซียนไว้แล้ว รัฐบาลของจีนได้เจรจากับรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนหลาย ๆ ประเทศ เพื่อขอ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ผ่านประเทศพม่าซึ่งอยู่ใกล้จีนมากที่สุด เพื่อเป็นทางผ่านเข้ามาในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน
โดยเส้นทางรถไฟสายที่น่าจะก่อสร้างเสร็จเร็วที่สุด คือ เส้นทางรถไฟยูนนาน-พม่า สายนี้จะสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2015 และจีนก็กำลังจะสร้างท่าเรือและเขตอุตสาหกรรมที่นั่นด้วย เพื่อเป็นช่องทางส่งออกสินค้าจากเขตตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งไม่มีทางออกทะเล รวมทั้งเป็นจุดขนถ่ายน้ำมันและก๊าซ อีกทั้งจีนยังมีแผนการที่จะสร้างทางรถไฟอีกสายหนึ่งซึ่งมีความยาว 1,920 กม. เชื่อม เมืองคุนหมิง กับ เมืองท่าย่างกุ้ง ซึ่งจะเป็นการขยายเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ที่มีอยู่แล้ว เส้นทางนี้จะเชื่อมไปถึงท่าเรือแห่งใหม่ที่ทวายในภาคใต้ของพม่า จากนั้นก็จะมีเส้นทางเชื่อมระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ
นอกจากนั้น ยังมีทางรถไฟสายที่สามซึ่งจะตัดผ่านรัฐฉานของพม่า โดยเชื่อม เมืองคุนหมิง กับ เชียงราย แล้วเชื่อมจากเชียงรายเข้าสู่โครงข่ายรถไฟในไทย เส้นทางสายนี้และเส้นทางที่กำลังสำรวจในลาว จะเป็นเส้นทางขนส่งทางรถไฟระหว่างจีน กัมพูชา ไทย และสิงคโปร์ โดยโครงการทั้งหมดนี้ จีนเสนอจะออกเงินสร้างทางรถไฟสายใหม่และปรับปรุงรางเดิมให้พม่า โดยแลกกับการได้สัมปทานทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซ และน้ำ
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าจีนมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน นอกจากเตรียมพร้อมเรื่องเส้นทางขนส่งแล้ว จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียน โดยทั้งสองฝ่ายลงนามกันใน ASEAN-China Framework Agreement on Economic Cooperation ในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับสมาชิกเก่าของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย ภายในปี ค.ศ. 2010 และกับประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน 4 ประเทศ คือ พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ภายในปี ค.ศ. 2015
ก่อนหน้านี้ จีน-อาเซียนได้ลงนามความตกลงด้านการค้าสินค้าในปี ค.ศ. 2004 ความตกลงด้านการค้าบริการในปี ค.ศ. 2007 ความตกลงด้านการลงทุนในปี ค.ศ. 2009 ความตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน มีผลโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ทำให้อัตราภาษีศุลกากร
ส่วนใหญ่ของจีนกับสมาชิกเก่า 6 ประเทศของอาเซียนเหลือร้อยละศูนย์ (0) และผลรวมมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนในรอบปี ค.ศ. 2012 มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการค้าของอาเซียนกับประเทศต่าง ๆ ในโลกรวมกันมีประมาณ 1,537,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียนก็มีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ด้านการเมืองและความมั่นคง จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TACT) เมื่อ ค.ศ. 2003 ซึ่งสนธิสัญญา TACT ดังกล่าวมีขึ้นตั้งแต่ปี 1976 เพื่อกำหนดหลักการต่าง ๆ ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยึดถือ อันได้แก่ การเคารพในเอกราชอธิปไตย ความเสมอภาคบูรณภาพแห่งดินแดนและอัตลักษณ์ประจำชาติ รวมถึงการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี
จึงเห็นได้ว่า ใน AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ประเทศที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดประเทศหนึ่งคงจะหนีไม่พ้นประเทศจีน ดังนั้น ทั้ง 10 ชาติสมาชิก AEC ควรจะมีการเตรียมพร้อมในการหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศจีนเตรียมไว้ให้พร้อม
นอกจากนั้น ภาษาจีนก็อาจจะกลายเป็นภาษาที่มีความสำคัญไม่แพ้ภาษาอังกฤษ ชาติสมาชิกใน AEC จึงควรที่จะให้ประชาชนของตนศึกษาให้ชำนาญ
หากต้องการประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจกับประเทศจีนใน AEC ที่กำลังจะมาถึง
ทีมา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น