โดย รัตนา จีนกลาง
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ กระแสการเปลี่ยนแปลงจู่โจมสู่พื้นที่หัวเมืองต่างจังหวัดเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คนวันนี้ ความเจริญและการขยายตัวของการลงทุนที่หลั่งไหลไปปักฐานในต่างจังหวัด กำลังทำให้หัวเมืองใหญ่และเมืองรองมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดมาก
วันนี้ในต่างจังหวัดมีสภาพแทบไม่ต่างจากกรุงเทพฯ โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง อาคาร ห้างหรู และโมเดิร์นเทรดจากส่วนกลางทั้งในกลุ่มค้าปลีกและค้าวัสดุก่อสร้าง แห่ผุดราวดอกเห็ด
วันนี้ สังคมชนบทกลายเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้นในแง่ของการบริโภคและไลฟ์สไตล์
วันนี้ คนในต่างจังหวัดบริโภคอาหาร หรือจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคตามการโฆษณาในสื่อทีวีเป็นหลัก โดยมีอิทธิพลของสื่อสารมวลชน รวมทั้งกระแสโซเชียลมีเดียที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น "สังคมบริโภค" อย่างเต็มตัว
วันนี้ คนในต่างจังหวัดให้การยอมรับที่พักอาศัยแนวสูง หรือคอนโดมิเนียมมากขึ้น ไม่ยึดติดกับบ้านแนวราบหรือบ้านจัดสรรเหมือนเช่นอดีตอีกแล้ว
วันนี้ ราคาที่ดินในต่างจังหวัดทุกแห่งพุ่งพรวดหลายเท่าตัว โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยว เมืองการค้า เมืองอุตสาหกรรม รวมทั้งเมืองชายแดนที่จะเป็นประตูการค้าเชื่อมสู่อาเซียน
วันนี้ ไลฟ์สไตล์ของคนที่อาศัยหรือทำงานในเมืองใหญ่ รวมทั้งในพื้นที่ชนบทเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงแล้ว
สายธารแห่งความเจริญ ความเปลี่ยนแปลง ความทันสมัย ความเป็นอิสระปัจเจกชนสูงขึ้น ความมากหน้าหลายตาของชาวต่างชาติที่ทะลักเข้ามาเมืองไทยจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น หลังเปิดประเทศสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ เป็นสิ่งที่คนไทยต้องเตรียมรับมือให้พร้อม
วันนี้ ประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณ 64 ล้านคน จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากเกิน 1 ล้านคนมีทั้งสิ้น 22 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ บุรีรัมย์ อุดรธานี นครศรีธรรมราช ศรีสะเกษ สุรินทร์ สงขลา ร้อยเอ็ด ชลบุรี เชียงราย สกลนคร สมุทรปราการ ชัยภูมิ นครสวรรค์ นนทบุรี เพชรบูรณ์ สุราษฎร์ธานี และกาฬสินธุ์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานข้อมูลในปี 2555 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด 10 ลำดับแรกของประเทศไทย ได้แก่
1)กรุงเทพมหานคร 5,673,560 คน คิดเป็นร้อยละ 8.80 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ 2)นครราชสีมา 2,601,167 คน ร้อยละ 4.04 3)อุบลราชธานี 1,826,920 คน ร้อยละ 2.83 4)ขอนแก่น 1,774,816 คน ร้อยละ 2.75 5)เชียงใหม่ 1,655,642 2.57 คน ร้อยละ 2.57
6)บุรีรัมย์ 1,566,740 คน ร้อยละ 2.43 7)อุดรธานี 1,557,298 คน ร้อยละ 2.42 8)นครศรีธรรมราช 1,534,887 คน ร้อยละ 2.38 9)ศรีสะเกษ 1,458,370 คน ร้อยละ 2.26 และอันดับที่ 10)สุรินทร์ 1,386,277 คน ร้อยละ 2.15
นี่ยังไม่นับรวมประชากรต่างด้าวอีกนับล้านคนที่แทรกอยู่ในทุกส่วนของสังคมไทย
วันนี้ ประชากรแฝงกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ผู้ขายแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น งานภาคการประมง งานก่อสร้าง งานรับใช้ในบ้าน เด็กปั๊ม เด็กเสิร์ฟ เด็กโบกรถ ฯลฯ แต่วันนี้แรงงานต่างด้าวทำหน้าที่ถึงก้นครัวเป็นพ่อครัวทำอาหารให้คนไทยกินแล้ว ชีวิตคนไทยเกือบค่อนประเทศแขวนชะตาไว้กับชาวต่างด้าว
สิ่งที่สำคัญก็คือ การเติบโตก้าวกระโดดของเมืองใหญ่กำลังก่อปัญหาใหม่
ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมือง ซึ่งไม่นับรวมช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว หลายเมืองกลายเป็นอัมพาตไปเลย รวมถึงปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตตัวเมืองโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่ส่อเค้ารุนแรงขึ้นทุกปี
ขณะนี้จังหวัดขนาดใหญ่ หรือเมืองที่ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี สงขลา (หาดใหญ่) ภูเก็ต ชลบุรี กำลังเผชิญปัญหาระบบสาธารณูปโภค (ถนน ไฟฟ้า ประปา) โตไม่ทันการขยายตัวของเมือง จึงเกิดสภาพ "แย่งกันกิน-แย่งกันใช้" หนักหน่วงขึ้นทุกวัน
ผู้บริหารเทศบาลนครแห่งหนึ่งบอกว่า เมืองที่กำลังจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นหลายพันยูนิต ซึ่งจะมีผู้คนเข้ามาพักอาศัยในเขตเมืองเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว นอกจากจะเกิดปัญหาแย่งน้ำอุปโภคบริโภคกันแล้ว "น้ำเสีย" ที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลก็ยังไม่มีระบบบำบัดที่ดีและทั่วถึง หลายเมืองมีระบบท่อน้ำมีขนาดเล็กเกินไป หลายพื้นที่แห่เจาะบ่อบาดาลเพื่อป้อนสู่โรงงาน สนามกอล์ฟ และที่พักอาศัย
วันนี้ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ภูเก็ต และอีกหลายเมืองกำลังเร่งหาวิธีแก้ปัญหารถติดในหลายแนวทาง เช่น การก่อสร้างถนนวงแหวน ถนนบายพาสหรือถนนเลี่ยงเมือง การทำอุโมงค์สี่แยกไฟแดง
นอกจากนั้นยังมีความพยายามที่จะจัดบริการขนส่งมวลชนให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว เช่น รถไฟรางเบา โมโนเรล สกายบัส และสารพัดไอเดีย ซึ่งแต่ละโครงการล้วนต้องใช้งบประมาณลงทุนหลายพันล้าน
แม้จะได้เวลายกเครื่องระบบสาธารณูปโภคครั้งใหญ่ แต่ท้องถิ่นก็ไม่มีงบประมาณลงทุนเอง ต้องพึ่งพาเงินกู้ หรืองบประมาณจากรัฐบาลเท่านั้น ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้การพัฒนาเมืองไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
วันนี้ การบริหารจัดการเมืองใหญ่เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก เนื่องจากสังคม/ชุมชนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
สังคมไทยไม่อาจต้านการเปลี่ยนแปลง แต่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน..
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ กระแสการเปลี่ยนแปลงจู่โจมสู่พื้นที่หัวเมืองต่างจังหวัดเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คนวันนี้ ความเจริญและการขยายตัวของการลงทุนที่หลั่งไหลไปปักฐานในต่างจังหวัด กำลังทำให้หัวเมืองใหญ่และเมืองรองมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดมาก
วันนี้ในต่างจังหวัดมีสภาพแทบไม่ต่างจากกรุงเทพฯ โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง อาคาร ห้างหรู และโมเดิร์นเทรดจากส่วนกลางทั้งในกลุ่มค้าปลีกและค้าวัสดุก่อสร้าง แห่ผุดราวดอกเห็ด
วันนี้ สังคมชนบทกลายเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้นในแง่ของการบริโภคและไลฟ์สไตล์
วันนี้ คนในต่างจังหวัดบริโภคอาหาร หรือจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคตามการโฆษณาในสื่อทีวีเป็นหลัก โดยมีอิทธิพลของสื่อสารมวลชน รวมทั้งกระแสโซเชียลมีเดียที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น "สังคมบริโภค" อย่างเต็มตัว
วันนี้ คนในต่างจังหวัดให้การยอมรับที่พักอาศัยแนวสูง หรือคอนโดมิเนียมมากขึ้น ไม่ยึดติดกับบ้านแนวราบหรือบ้านจัดสรรเหมือนเช่นอดีตอีกแล้ว
วันนี้ ราคาที่ดินในต่างจังหวัดทุกแห่งพุ่งพรวดหลายเท่าตัว โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยว เมืองการค้า เมืองอุตสาหกรรม รวมทั้งเมืองชายแดนที่จะเป็นประตูการค้าเชื่อมสู่อาเซียน
วันนี้ ไลฟ์สไตล์ของคนที่อาศัยหรือทำงานในเมืองใหญ่ รวมทั้งในพื้นที่ชนบทเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงแล้ว
สายธารแห่งความเจริญ ความเปลี่ยนแปลง ความทันสมัย ความเป็นอิสระปัจเจกชนสูงขึ้น ความมากหน้าหลายตาของชาวต่างชาติที่ทะลักเข้ามาเมืองไทยจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น หลังเปิดประเทศสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ เป็นสิ่งที่คนไทยต้องเตรียมรับมือให้พร้อม
วันนี้ ประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณ 64 ล้านคน จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากเกิน 1 ล้านคนมีทั้งสิ้น 22 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ บุรีรัมย์ อุดรธานี นครศรีธรรมราช ศรีสะเกษ สุรินทร์ สงขลา ร้อยเอ็ด ชลบุรี เชียงราย สกลนคร สมุทรปราการ ชัยภูมิ นครสวรรค์ นนทบุรี เพชรบูรณ์ สุราษฎร์ธานี และกาฬสินธุ์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานข้อมูลในปี 2555 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด 10 ลำดับแรกของประเทศไทย ได้แก่
1)กรุงเทพมหานคร 5,673,560 คน คิดเป็นร้อยละ 8.80 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ 2)นครราชสีมา 2,601,167 คน ร้อยละ 4.04 3)อุบลราชธานี 1,826,920 คน ร้อยละ 2.83 4)ขอนแก่น 1,774,816 คน ร้อยละ 2.75 5)เชียงใหม่ 1,655,642 2.57 คน ร้อยละ 2.57
6)บุรีรัมย์ 1,566,740 คน ร้อยละ 2.43 7)อุดรธานี 1,557,298 คน ร้อยละ 2.42 8)นครศรีธรรมราช 1,534,887 คน ร้อยละ 2.38 9)ศรีสะเกษ 1,458,370 คน ร้อยละ 2.26 และอันดับที่ 10)สุรินทร์ 1,386,277 คน ร้อยละ 2.15
นี่ยังไม่นับรวมประชากรต่างด้าวอีกนับล้านคนที่แทรกอยู่ในทุกส่วนของสังคมไทย
วันนี้ ประชากรแฝงกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ผู้ขายแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น งานภาคการประมง งานก่อสร้าง งานรับใช้ในบ้าน เด็กปั๊ม เด็กเสิร์ฟ เด็กโบกรถ ฯลฯ แต่วันนี้แรงงานต่างด้าวทำหน้าที่ถึงก้นครัวเป็นพ่อครัวทำอาหารให้คนไทยกินแล้ว ชีวิตคนไทยเกือบค่อนประเทศแขวนชะตาไว้กับชาวต่างด้าว
สิ่งที่สำคัญก็คือ การเติบโตก้าวกระโดดของเมืองใหญ่กำลังก่อปัญหาใหม่
ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมือง ซึ่งไม่นับรวมช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว หลายเมืองกลายเป็นอัมพาตไปเลย รวมถึงปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตตัวเมืองโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่ส่อเค้ารุนแรงขึ้นทุกปี
ขณะนี้จังหวัดขนาดใหญ่ หรือเมืองที่ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี สงขลา (หาดใหญ่) ภูเก็ต ชลบุรี กำลังเผชิญปัญหาระบบสาธารณูปโภค (ถนน ไฟฟ้า ประปา) โตไม่ทันการขยายตัวของเมือง จึงเกิดสภาพ "แย่งกันกิน-แย่งกันใช้" หนักหน่วงขึ้นทุกวัน
ผู้บริหารเทศบาลนครแห่งหนึ่งบอกว่า เมืองที่กำลังจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นหลายพันยูนิต ซึ่งจะมีผู้คนเข้ามาพักอาศัยในเขตเมืองเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว นอกจากจะเกิดปัญหาแย่งน้ำอุปโภคบริโภคกันแล้ว "น้ำเสีย" ที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลก็ยังไม่มีระบบบำบัดที่ดีและทั่วถึง หลายเมืองมีระบบท่อน้ำมีขนาดเล็กเกินไป หลายพื้นที่แห่เจาะบ่อบาดาลเพื่อป้อนสู่โรงงาน สนามกอล์ฟ และที่พักอาศัย
วันนี้ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ภูเก็ต และอีกหลายเมืองกำลังเร่งหาวิธีแก้ปัญหารถติดในหลายแนวทาง เช่น การก่อสร้างถนนวงแหวน ถนนบายพาสหรือถนนเลี่ยงเมือง การทำอุโมงค์สี่แยกไฟแดง
นอกจากนั้นยังมีความพยายามที่จะจัดบริการขนส่งมวลชนให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว เช่น รถไฟรางเบา โมโนเรล สกายบัส และสารพัดไอเดีย ซึ่งแต่ละโครงการล้วนต้องใช้งบประมาณลงทุนหลายพันล้าน
แม้จะได้เวลายกเครื่องระบบสาธารณูปโภคครั้งใหญ่ แต่ท้องถิ่นก็ไม่มีงบประมาณลงทุนเอง ต้องพึ่งพาเงินกู้ หรืองบประมาณจากรัฐบาลเท่านั้น ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้การพัฒนาเมืองไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
วันนี้ การบริหารจัดการเมืองใหญ่เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก เนื่องจากสังคม/ชุมชนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
สังคมไทยไม่อาจต้านการเปลี่ยนแปลง แต่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน..
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น