--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ใครได้ใครเสีย จากการลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย !!??

หลังจากที่ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ออกมาประกาศว่าจะเน้นการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและบริการ ให้ขยายตัวมากขึ้นทดแทนการส่งออกที่หายไปโดยการใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาสนับสนุนในโครงการ “ช็อปปิ้ง พาราไดซ์” เพื่อแข่งขันกับสิงคโปร์ และฮ่องกง ที่มีภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นศูนย์ เพราะเห็นแนวโน้มการท่องเที่ยวจากต่างชาติดีขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยในปี 2556 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทยจำนวน 26.4 ล้านคน ขยายตัว 18% จากปีก่อน

ซึ่งจากข้อมูลของสำนักเศรษฐกิจและการคลัง วิเคราะห์ว่า นโยบายลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยจะส่งผลบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ผ่านช่องทางการท่องเที่ยว ในช่วง 7 เดือนแรกของปี มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 15 ล้านคน  โดย 3 อันดับแรกสูงสุดมาจากประเทศจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น ทำให้รายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติประเทศอยู่ที่ 6.8 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 24% โดยขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาและหารือกับผู้ประกอบการ เกี่ยวกับการลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย คาดว่าในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะสรุปการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้า ทั้งน้ำหอม เครื่องสำอาง เสื้อผ้าแบรนด์เนม รองเท้า กระเป๋า จากปัจจุบันจัดเก็บภาษีที่ร้อยละ 30 ให้เหลือ 0% โดยเร่งผลักดันการลดภาษีดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ในช่วงปลายปีนี้

แต่หลังจากข่าวลดภาษีดังกล่าวออกมา ปรากฏว่า มีเสียงสะท้อนตามอย่างมากมาย แม้นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลังจะออกเบรกแรงต่อต้านว่า ไม่มีนโยบายจะลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหมดทุกรายการ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงคัดค้านแนวคิดดังกล่าว

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท.ให้เหตุผลการคัดค้านว่า การลดภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาตีตลาดในประเทศ และจะกระทบต่อผู้ประกอบ การในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น ประเภทเสื้อผ้า เครื่องหนัง รองเท้า ซึ่งมาเลเซียเคยใช้แนวทางนี้ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวจากต่างชาติมา 2 ปี แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นมากนัก

ก็เป็นประเด็นน่าคิดว่า หากรัฐบาลทำโครงการนี้จริง รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรที่จะมาควบคุม และกันรันตีได้ว่า คนไทยเองจะไม่แห่มาซื้อสินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้แทนสินค้าที่ผลิตในประเทศ เพราะเป็นของดังราคาถูกลง ซึ่งมองว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ทำลายธุรกิจในประเทศอย่างมากหนักหน่วงหลังมีมาตรการค่าแรง 300 บาท/วันแล้ว เป็นธรรมดาที่ภาคอุตสากรรมไทยย่อมออกมาต่อต้านหลังชนฝา แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่กล้าออกมาแสดงคัดค้านกับแนวคิดนี้ ก็เนื่องจากกลัวว่า จะทำให้ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าไม่พอใจ แล้วอาจทำให้ได้รับผลกระทบในการจำหน่ายสินค้าในห้างต่างๆ ที่เห็นด้วยเนื่องจากห้างเหล่านี้ สนับสนุนแนวคิดนี้อย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยังคงต้องการให้รัฐบาลวางแนวทางที่ชัดเจนว่าสินค้าอะไร บ้างที่เรียกว่าเป็นสินค้าสินค้าฟุ่มเฟือย ที่จะต้องเข้าข่ายการปรับลดภาษีนำเข้าลงได้บ้าง เช่น รถยนต์ ถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยด้วยหรือไม่ นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลจะต้องทำการแยกแยะและวางระเบียบให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะในต่างประเทศเช่น มาเลเซีย ทางรัฐบาลไม่ได้มีการแยกแยะออกมาคิดเป็นรายการเดียวกันหมด

ที่มา.ทีนิวส์
//////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น