โดย.นพคุณ ศิลาเณร
การป่วน ตีรวนในสภาระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรค เพื่อไทยยังไม่จบสิ้น แม้ร่างกฎหมาย งบประมาณรายจ่าย 2557 ผ่านสภาแล้ว แต่ศึกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน ต้องย้อนกลับมาพิจารณาวาระสองกันต่อ แล้วลากไปให้สิ้นกระบวนการในวาระสาม เพื่อจบเรื่องจบราวในขั้นตอนสภา
ถัดจากนั้น คงถึงด่านการพิจารณาร่าง กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท หรือชื่อเต็ม ว่า "ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ..."
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ประเมินว่า ประมาณต้นเดือน กันยายนนี้ ร่างกฎหมายกู้เงินฉบับนี้คงถูกบรรจุวาระเพื่อเปิดการประชุมสภาพิจารณา วาระสองขั้นแปรญัตติรายมาตรา... รับรอง ว่าพรรคประชาธิปัตย์ป่วน ตีรวนอีกตามพฤติกรรมถนัดของเกมยื้อเวลา
สิ่งน่ากังวลอย่างยิ่งคือ สถานการณ์ กดดันรัฐบาลเกิดขึ้นรอบด้าน ม็อบเรียกร้อง ราคายางพาราปิดถนนขึ้นใต้-ขึ้น กทม. อย่างฮึกเหิม การชุมนุมประท้วงขึ้นราคาแก๊สกำลังก่อหวอดกดดันรัฐบาลเข้าอีก รวมทั้งการชุมนุมที่สวนลุมพินีของกลุ่มกอง ทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เริ่ม คึกกันสุดๆ เมื่อได้นักเรียนช่างกลเข้าสมทบ ราวกับเริ่มก่อตั้งกำลัง "กระทิงแดงรุ่นใหม่" มาขับไล่รัฐบาล
กลุ่มกดดันรัฐบาลทั้งหลายนี้ มีจุดร่วมส่วนหนึ่งคือ ต่อต้านร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นเมื่อกฎหมายนี้เข้าสภา แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ตีรวนจนหนำใจอยากแน่ๆ
+ ประเมินเกม-ประลองกำลัง
ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีเนื้อหา 19 มาตรา คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 19 มีนาคม 2556 และผ่านสภาขั้นรับ หลักการเมื่อ 29 มีนาคม 2556 ด้วยเสียง 284 ต่อ 152 เสียง งดออกเสียง 21 ไม่ลงคะแนนเสียง 7 เสียง
สภาตั้งกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 36 คน มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาภายใน 30 วัน แล้วเสร็จส่งรายงานให้ประธานสภาเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2556
แม้สภาผ่านวาระแรกไปด้วยเสียงสนับสนุนมากมาย แต่เมื่อประเมิน "เกม" การต่อต้านของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว มีแนวโน้มว่า การพิจารณาวาระสองจะเผชิญ หน้ากันรุนแรงตามแบบฉบับตีรวน ป่วน ยื้อ แล้วลงท้ายด้วยเสียงกรี๊ดผสมโหยหวน
ฤทธิ์เดชการป่วนของพรรคประชาธิปัตย์ปรากฏให้เห็นมาแล้วในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสอง ทั้งๆ ที่กฎหมายนี้มีเพียง 13 มาตรา แต่ใช้เวลาถึง 2 วันพิจารณาผ่านไปเพียง 2 มาตราเท่านั้น ยังเหลือให้ลากยาวอีกหลายมาตรา
พรรคประชาธิปัตย์ยังใช้กลยุทธ์ของเสียงข้างน้อยโวยวายในสภา เพื่อสะท้อนให้ เห็นว่า เสียงข้างมากฝ่ายรัฐบาลพยายามรวบอำนาจเผด็จการ ดังนั้นการป่วน และตีรวน จะเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วงกว่าการพิจารณาร่างกฎหมายอื่นๆ ในสภา
เป็นไปได้ว่า พลังกลุ่มผู้ชุมนุมนอกสภา อย่าง กปท. จะเคลื่อนกำลังมากดดันที่หน้าสภา อย่างไรก็ตาม หากร่างกฎหมายนี้ผ่านไปได้ ยัง มีอุปสรรคในขั้น "วุฒิสภาและศาลรัฐธรรมนูญ" ดังนั้นหนทางร่างกฎหมายกู้เงินยังเต็มไปด้วยขวากหนามทุกขั้นตอน และสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองได้เสมอเช่นกัน
หากประเมินฝ่ายต่อต้านร่างกฎหมาย กู้เงินแล้ว โดยหลักๆ ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (สรรหา) ที่เรียกว่า "กลุ่ม 40 ส.ว." และกลุ่มหน้ากากขาว นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักวิชาการ โดย เฉพาะสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) รวมทั้งฝ่ายที่เรียกว่า "นักวิชาการขาประจำ" ที่เคยต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาแล้ว
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นายคณิต ณ นคร ประธาน คปก. ค้านร่าง กฎหมายฉบับนี้นิ่มๆ ด้วยการยกข้อกฎหมาย ออกมาเตือนว่า ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 รวมทั้งหมวดว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง
เนื้อหาการต่อต้านหลากหลายนั้นมีอยู่ประมาณ 4 ประเด็นหลัก คือ เป็นร่างกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญเพราะไม่ใช่เงินจากงบประมาณรายจ่ายของประเทศ เป็นโครงการที่ทำให้เกิดคอร์รัปชั่น ผูกพันภาระ หนี้สินให้ประชาชนแบกรับนานถึง 50 ปี โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวไปไกลถึงการเป็นหนี้ "ที่ชาติหน้าก็ใช้ไม่หมด" และเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่าการลงทุนโดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง
แน่ละ แนวทางการต่อต้าน ใช้หลากหลายวิธี ด่านแรกเริ่มด้วยการป่วน ตีรวน เพื่อยื้อเวลา และทำให้สภาเสื่อมเสียความน่า เชื่อถือ ด่านสองเมื่อร่างกฎหมายผ่านสภาไป สู่การพิจารณาของวุฒิแล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังใช้วิธีการป่วน ตีรวน เพื่อทำลายความน่า เชื่อถือของโครงการการต่างๆ ซ้ำลงไปอีก
ส่วนด่านสาม จัดการขั้นแตกหัก ถ้าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ฝ่ายต่อต้าน ทั้งหมดจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตรวจสอบ ในประเด็นเป็นร่างกฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ลากกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่นงานให้ล้มกันทั้งกระดานไปเลย
มาพิจารณาฝ่ายสนับสนุนบ้าง แม้ฝ่าย ต่อต้านได้ผลิตวาทกรรมการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทว่า เป็นกู้ผลาญชาติ, กู้ชาตินี้ ใช้ชาติหน้า, ตีเช็คเปล่า หรือรัฐบาลแชมป์เงินกู้ ก็ตาม แต่นักธุรกิจในกลุ่มสภาหอการค้าไทย โดยนายพงศ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกิตติมศักดิ์ ได้สนับสนุนการกู้เงินเพื่อการลงทุนครั้งนี้ เพราะเป็นการพัฒนาประเทศในระยะยาว
นอกจากนี้ ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 67 คน ระหว่างวันที่ 5-12 ตุลาคม 2555 พบว่า ร้อยละ 58.2 เห็นว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีความจำเป็นมากที่จะต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มีเพียงร้อยละ 6.0 เท่า นั้นที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นเลย
ไม่แตกต่างกันนักกับการสำรวจความ เห็นประชาชนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จาก ประชาชนจำนวน 1,580 คน พบว่า ร้อยละ 52.27 เห็นด้วยกับการกู้เงินเพื่อลงทุนพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ส่วนกลุ่มไม่เห็น ด้วยมีร้อยละ 47.93 เนื่องจากกลัวการแบก ภาระหนี้สิน ส่วนความเป็นห่วงนั้นร้อยละ 58.42 กังวลเรื่องการคอร์รัปชั่น
รวมความแล้ว ฝ่ายสนับสนุนโครงการ กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น มีความ หลากหลายกว่าฝ่ายต่อต้าน เพราะมีทั้งนักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ส่วนฝ่ายต่อต้านแล้ว ยังกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มเดิมๆ ที่ประกาศอยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล และกลุ่มนี้มีความชัดเจนว่า ไม่สนับสนุนรัฐบาลในทุกรณี เพราะมีอคติความเชื่อในด้านร้ายกับรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง
+ รัฐบาลเผชิญหน้า...สู้ไม่ถอย !!
ก่อนที่ร่างกฎหมายกู้เงินฉบับนี้จะเข้าสู่สภาวาระสอง เกิดการปล่อยข่าวทำลายรัฐบาลในเชิงว่า กลัวและไม่กล้านำกฎหมาย เข้าสภา นั่นเป็นเพียงจิตวิทยามวลชนที่เพิ่ง เริ่มการต่อสู้ครั้งใหม่ขึ้น และรัฐบาลพร้อมสู้ในเกมสภาเพราะร่างกฎหมายคือ ความมุ่ง หวังในการพัฒนาประเทศ หากกลัวแล้วถอด ย่อมเสียเชิงการเมืองเป็นอย่างยิ่ง
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้กระทรวงการคลัง (โดยการอนุมัติ ของคณะรัฐมนตรี) มีอำนาจกู้เงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศมูลค่ารวมกันไม่เกิน 2 ล้าน ล้านบาทเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ และกำหนดเวลาการกู้เงินไม่เกิน 31 ธันวาคม 2563 และวงเงินกู้ การจัดการเงินกู้ รวมทั้งวิธี การกู้เงินในแต่ละปีงบประมาณ โดยเงินกู้ตาม ร่างกฎหมายฉบับนี้กระทรวงการคลังอาจนำ ไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อนำไปใช้จ่าย ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งของประเทศก็ได้ (มาตรา 5-7)
กระทรวงการคลังวาง "สมมติฐาน" การกู้เงินและใช้จ่ายเงินในแต่ละปีไว้ว่า ปี 2557 จำนวน 153,269 ล้านบาท, ปี 2558 จำนวน 317,635 ล้านบาท, ปี 2559 จำนวน 380,974 ล้านบาท, ปี 2560 จำนวน 383,497 ล้านบาท, ปี 2561 จำนวน 341,876 ล้านบาท, ปี 2562 จำนวน 228,938 ล้านบาท และปี 2563 จำนวน 188,042 ล้านบาท
เงินกู้ทั้งหมดนี้อยู่นอกเหนืองบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในแต่ละปี มีระยะใช้คืนไม่เกิน 50 ปี (ปลอดการชำระหนี้เงิน ต้น 10 ปี) เริ่มชำระคืนเงินต้นตั้งแต่ปีที่ 11 ในอัตราไม่เกิน 2-3% ของวงเงินกู้หรือประมาณไม่เกิน 4-5 หมื่นล้านบาท
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง มั่นใจว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท บวกกับการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท แล้ว จะก่อหนี้สาธารณะไม่เกิน 50% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แน่นอน
ภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนด การใช้เงินกู้ลงทุน 3 แผนงานยุทธศาสตร์คือ ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าวงเงิน 354,560.73 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376.74 ล้านบาท และยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่ง เพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801.52 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีวงเงินแผนงานการส่งเสริมหรือการสนับสนุนการพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวในวงเงิน 9,261.01 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านล้านบาท
โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท นี้ จะเป็นการลงทุนในระยะ 7 ปีต่อเนื่องกัน เฉลี่ยใช้งบประมาณปีละประมาณ 3-4 แสนล้านบาท มีเป้าหมายลดต้นทุนลอจิสติกส์จากประมาณ 15.2% ให้ลงไปอีกอย่างน้อย 2%
ภารกิจของรัฐบาลที่เสนอกฎหมายฉบับนี้ อยู่ที่การพลิกเปลี่ยนประเทศครั้งใหญ่ ด้วยการกู้เงินถึง 2 ล้านล้านบาทเพื่อการปรับปรุงโครงการสร้างการคมนาคมขนส่ง ที่หยุดนิ่งมาตั้งแต่ปี 2549 ติดต่อกันถึง 6 ปี เมื่อต้องการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขน ส่งในภูมิภาคอาเซียนแล้ว แม้ต้องลุยไฟ ลงน้ำ รัฐบาลต้องเดินหน้าผลักดันให้สำเร็จ
รับรองงานนี้ในซีกของรัฐบาลคงสู้ไม่ถอย และพร้อมเผชิญหน้ากับพรรคประชาธิปัตย์ในสภาวาระสอง เพื่อสะท้อนให้ประชาชนเห็นแนวทางและจุดยืนของสองฝ่ายอย่างชัดเจนว่า ใครก้าวหน้า และพวกไหน จมปลักกับความล้าหลัง
รวมความแล้ว ราวๆ ต้นเดือนกันยายน เป็นอย่างช้า การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในการพิจารณาร่างกฎหมายกู้เงินวาระสองจะ ต้องเริ่มขึ้น งานนี้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรค ประชาธิปัตย์ต้องงัดกลยุทธ์มาห้ำหั่นกันเต็มที่ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน
ยอมไม่ได้แน่ๆ เมื่อร่างกฎหมายฉบับ นี้เป็นเงื่อนไขกำหนดอนาคตการเมืองของทั้งสองพรรคอย่างยิ่ง ถ้ากฎหมายผ่านไปได้ ประชาธิปัตย์คงเหลือช่องทางเกิดทางการเมืองน้อยเต็มทน แต่หากฝ่ายรัฐบาลแพ้แล้ว นั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งใหญ่มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งด้านดีและเลวร้าย...นี่คือเดิมพันครั้งสำคัญ
การป่วน ตีรวนในสภาระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรค เพื่อไทยยังไม่จบสิ้น แม้ร่างกฎหมาย งบประมาณรายจ่าย 2557 ผ่านสภาแล้ว แต่ศึกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน ต้องย้อนกลับมาพิจารณาวาระสองกันต่อ แล้วลากไปให้สิ้นกระบวนการในวาระสาม เพื่อจบเรื่องจบราวในขั้นตอนสภา
ถัดจากนั้น คงถึงด่านการพิจารณาร่าง กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท หรือชื่อเต็ม ว่า "ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ..."
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ประเมินว่า ประมาณต้นเดือน กันยายนนี้ ร่างกฎหมายกู้เงินฉบับนี้คงถูกบรรจุวาระเพื่อเปิดการประชุมสภาพิจารณา วาระสองขั้นแปรญัตติรายมาตรา... รับรอง ว่าพรรคประชาธิปัตย์ป่วน ตีรวนอีกตามพฤติกรรมถนัดของเกมยื้อเวลา
สิ่งน่ากังวลอย่างยิ่งคือ สถานการณ์ กดดันรัฐบาลเกิดขึ้นรอบด้าน ม็อบเรียกร้อง ราคายางพาราปิดถนนขึ้นใต้-ขึ้น กทม. อย่างฮึกเหิม การชุมนุมประท้วงขึ้นราคาแก๊สกำลังก่อหวอดกดดันรัฐบาลเข้าอีก รวมทั้งการชุมนุมที่สวนลุมพินีของกลุ่มกอง ทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เริ่ม คึกกันสุดๆ เมื่อได้นักเรียนช่างกลเข้าสมทบ ราวกับเริ่มก่อตั้งกำลัง "กระทิงแดงรุ่นใหม่" มาขับไล่รัฐบาล
กลุ่มกดดันรัฐบาลทั้งหลายนี้ มีจุดร่วมส่วนหนึ่งคือ ต่อต้านร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นเมื่อกฎหมายนี้เข้าสภา แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ตีรวนจนหนำใจอยากแน่ๆ
+ ประเมินเกม-ประลองกำลัง
ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีเนื้อหา 19 มาตรา คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 19 มีนาคม 2556 และผ่านสภาขั้นรับ หลักการเมื่อ 29 มีนาคม 2556 ด้วยเสียง 284 ต่อ 152 เสียง งดออกเสียง 21 ไม่ลงคะแนนเสียง 7 เสียง
สภาตั้งกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 36 คน มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาภายใน 30 วัน แล้วเสร็จส่งรายงานให้ประธานสภาเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2556
แม้สภาผ่านวาระแรกไปด้วยเสียงสนับสนุนมากมาย แต่เมื่อประเมิน "เกม" การต่อต้านของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว มีแนวโน้มว่า การพิจารณาวาระสองจะเผชิญ หน้ากันรุนแรงตามแบบฉบับตีรวน ป่วน ยื้อ แล้วลงท้ายด้วยเสียงกรี๊ดผสมโหยหวน
ฤทธิ์เดชการป่วนของพรรคประชาธิปัตย์ปรากฏให้เห็นมาแล้วในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสอง ทั้งๆ ที่กฎหมายนี้มีเพียง 13 มาตรา แต่ใช้เวลาถึง 2 วันพิจารณาผ่านไปเพียง 2 มาตราเท่านั้น ยังเหลือให้ลากยาวอีกหลายมาตรา
พรรคประชาธิปัตย์ยังใช้กลยุทธ์ของเสียงข้างน้อยโวยวายในสภา เพื่อสะท้อนให้ เห็นว่า เสียงข้างมากฝ่ายรัฐบาลพยายามรวบอำนาจเผด็จการ ดังนั้นการป่วน และตีรวน จะเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วงกว่าการพิจารณาร่างกฎหมายอื่นๆ ในสภา
เป็นไปได้ว่า พลังกลุ่มผู้ชุมนุมนอกสภา อย่าง กปท. จะเคลื่อนกำลังมากดดันที่หน้าสภา อย่างไรก็ตาม หากร่างกฎหมายนี้ผ่านไปได้ ยัง มีอุปสรรคในขั้น "วุฒิสภาและศาลรัฐธรรมนูญ" ดังนั้นหนทางร่างกฎหมายกู้เงินยังเต็มไปด้วยขวากหนามทุกขั้นตอน และสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองได้เสมอเช่นกัน
หากประเมินฝ่ายต่อต้านร่างกฎหมาย กู้เงินแล้ว โดยหลักๆ ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (สรรหา) ที่เรียกว่า "กลุ่ม 40 ส.ว." และกลุ่มหน้ากากขาว นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักวิชาการ โดย เฉพาะสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) รวมทั้งฝ่ายที่เรียกว่า "นักวิชาการขาประจำ" ที่เคยต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาแล้ว
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นายคณิต ณ นคร ประธาน คปก. ค้านร่าง กฎหมายฉบับนี้นิ่มๆ ด้วยการยกข้อกฎหมาย ออกมาเตือนว่า ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 รวมทั้งหมวดว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง
เนื้อหาการต่อต้านหลากหลายนั้นมีอยู่ประมาณ 4 ประเด็นหลัก คือ เป็นร่างกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญเพราะไม่ใช่เงินจากงบประมาณรายจ่ายของประเทศ เป็นโครงการที่ทำให้เกิดคอร์รัปชั่น ผูกพันภาระ หนี้สินให้ประชาชนแบกรับนานถึง 50 ปี โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวไปไกลถึงการเป็นหนี้ "ที่ชาติหน้าก็ใช้ไม่หมด" และเป็นโครงการที่ไม่คุ้มค่าการลงทุนโดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง
แน่ละ แนวทางการต่อต้าน ใช้หลากหลายวิธี ด่านแรกเริ่มด้วยการป่วน ตีรวน เพื่อยื้อเวลา และทำให้สภาเสื่อมเสียความน่า เชื่อถือ ด่านสองเมื่อร่างกฎหมายผ่านสภาไป สู่การพิจารณาของวุฒิแล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังใช้วิธีการป่วน ตีรวน เพื่อทำลายความน่า เชื่อถือของโครงการการต่างๆ ซ้ำลงไปอีก
ส่วนด่านสาม จัดการขั้นแตกหัก ถ้าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ฝ่ายต่อต้าน ทั้งหมดจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตรวจสอบ ในประเด็นเป็นร่างกฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ลากกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่นงานให้ล้มกันทั้งกระดานไปเลย
มาพิจารณาฝ่ายสนับสนุนบ้าง แม้ฝ่าย ต่อต้านได้ผลิตวาทกรรมการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทว่า เป็นกู้ผลาญชาติ, กู้ชาตินี้ ใช้ชาติหน้า, ตีเช็คเปล่า หรือรัฐบาลแชมป์เงินกู้ ก็ตาม แต่นักธุรกิจในกลุ่มสภาหอการค้าไทย โดยนายพงศ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกิตติมศักดิ์ ได้สนับสนุนการกู้เงินเพื่อการลงทุนครั้งนี้ เพราะเป็นการพัฒนาประเทศในระยะยาว
นอกจากนี้ ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 67 คน ระหว่างวันที่ 5-12 ตุลาคม 2555 พบว่า ร้อยละ 58.2 เห็นว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีความจำเป็นมากที่จะต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มีเพียงร้อยละ 6.0 เท่า นั้นที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นเลย
ไม่แตกต่างกันนักกับการสำรวจความ เห็นประชาชนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จาก ประชาชนจำนวน 1,580 คน พบว่า ร้อยละ 52.27 เห็นด้วยกับการกู้เงินเพื่อลงทุนพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ส่วนกลุ่มไม่เห็น ด้วยมีร้อยละ 47.93 เนื่องจากกลัวการแบก ภาระหนี้สิน ส่วนความเป็นห่วงนั้นร้อยละ 58.42 กังวลเรื่องการคอร์รัปชั่น
รวมความแล้ว ฝ่ายสนับสนุนโครงการ กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น มีความ หลากหลายกว่าฝ่ายต่อต้าน เพราะมีทั้งนักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ส่วนฝ่ายต่อต้านแล้ว ยังกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มเดิมๆ ที่ประกาศอยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล และกลุ่มนี้มีความชัดเจนว่า ไม่สนับสนุนรัฐบาลในทุกรณี เพราะมีอคติความเชื่อในด้านร้ายกับรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง
+ รัฐบาลเผชิญหน้า...สู้ไม่ถอย !!
ก่อนที่ร่างกฎหมายกู้เงินฉบับนี้จะเข้าสู่สภาวาระสอง เกิดการปล่อยข่าวทำลายรัฐบาลในเชิงว่า กลัวและไม่กล้านำกฎหมาย เข้าสภา นั่นเป็นเพียงจิตวิทยามวลชนที่เพิ่ง เริ่มการต่อสู้ครั้งใหม่ขึ้น และรัฐบาลพร้อมสู้ในเกมสภาเพราะร่างกฎหมายคือ ความมุ่ง หวังในการพัฒนาประเทศ หากกลัวแล้วถอด ย่อมเสียเชิงการเมืองเป็นอย่างยิ่ง
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้กระทรวงการคลัง (โดยการอนุมัติ ของคณะรัฐมนตรี) มีอำนาจกู้เงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศมูลค่ารวมกันไม่เกิน 2 ล้าน ล้านบาทเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ และกำหนดเวลาการกู้เงินไม่เกิน 31 ธันวาคม 2563 และวงเงินกู้ การจัดการเงินกู้ รวมทั้งวิธี การกู้เงินในแต่ละปีงบประมาณ โดยเงินกู้ตาม ร่างกฎหมายฉบับนี้กระทรวงการคลังอาจนำ ไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อนำไปใช้จ่าย ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งของประเทศก็ได้ (มาตรา 5-7)
กระทรวงการคลังวาง "สมมติฐาน" การกู้เงินและใช้จ่ายเงินในแต่ละปีไว้ว่า ปี 2557 จำนวน 153,269 ล้านบาท, ปี 2558 จำนวน 317,635 ล้านบาท, ปี 2559 จำนวน 380,974 ล้านบาท, ปี 2560 จำนวน 383,497 ล้านบาท, ปี 2561 จำนวน 341,876 ล้านบาท, ปี 2562 จำนวน 228,938 ล้านบาท และปี 2563 จำนวน 188,042 ล้านบาท
เงินกู้ทั้งหมดนี้อยู่นอกเหนืองบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในแต่ละปี มีระยะใช้คืนไม่เกิน 50 ปี (ปลอดการชำระหนี้เงิน ต้น 10 ปี) เริ่มชำระคืนเงินต้นตั้งแต่ปีที่ 11 ในอัตราไม่เกิน 2-3% ของวงเงินกู้หรือประมาณไม่เกิน 4-5 หมื่นล้านบาท
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง มั่นใจว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท บวกกับการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท แล้ว จะก่อหนี้สาธารณะไม่เกิน 50% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แน่นอน
ภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนด การใช้เงินกู้ลงทุน 3 แผนงานยุทธศาสตร์คือ ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าวงเงิน 354,560.73 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376.74 ล้านบาท และยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่ง เพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801.52 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีวงเงินแผนงานการส่งเสริมหรือการสนับสนุนการพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวในวงเงิน 9,261.01 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านล้านบาท
โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท นี้ จะเป็นการลงทุนในระยะ 7 ปีต่อเนื่องกัน เฉลี่ยใช้งบประมาณปีละประมาณ 3-4 แสนล้านบาท มีเป้าหมายลดต้นทุนลอจิสติกส์จากประมาณ 15.2% ให้ลงไปอีกอย่างน้อย 2%
ภารกิจของรัฐบาลที่เสนอกฎหมายฉบับนี้ อยู่ที่การพลิกเปลี่ยนประเทศครั้งใหญ่ ด้วยการกู้เงินถึง 2 ล้านล้านบาทเพื่อการปรับปรุงโครงการสร้างการคมนาคมขนส่ง ที่หยุดนิ่งมาตั้งแต่ปี 2549 ติดต่อกันถึง 6 ปี เมื่อต้องการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขน ส่งในภูมิภาคอาเซียนแล้ว แม้ต้องลุยไฟ ลงน้ำ รัฐบาลต้องเดินหน้าผลักดันให้สำเร็จ
รับรองงานนี้ในซีกของรัฐบาลคงสู้ไม่ถอย และพร้อมเผชิญหน้ากับพรรคประชาธิปัตย์ในสภาวาระสอง เพื่อสะท้อนให้ประชาชนเห็นแนวทางและจุดยืนของสองฝ่ายอย่างชัดเจนว่า ใครก้าวหน้า และพวกไหน จมปลักกับความล้าหลัง
รวมความแล้ว ราวๆ ต้นเดือนกันยายน เป็นอย่างช้า การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในการพิจารณาร่างกฎหมายกู้เงินวาระสองจะ ต้องเริ่มขึ้น งานนี้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรค ประชาธิปัตย์ต้องงัดกลยุทธ์มาห้ำหั่นกันเต็มที่ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน
ยอมไม่ได้แน่ๆ เมื่อร่างกฎหมายฉบับ นี้เป็นเงื่อนไขกำหนดอนาคตการเมืองของทั้งสองพรรคอย่างยิ่ง ถ้ากฎหมายผ่านไปได้ ประชาธิปัตย์คงเหลือช่องทางเกิดทางการเมืองน้อยเต็มทน แต่หากฝ่ายรัฐบาลแพ้แล้ว นั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งใหญ่มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งด้านดีและเลวร้าย...นี่คือเดิมพันครั้งสำคัญ
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น