คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ- พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
ไม่ทราบว่าใครประกาศว่าประเทศไทยเป็น "ครัวของโลก" และผู้ประกาศนั้นเชื่อในสิ่งที่ตนประกาศไปหรือเปล่า ที่เห็นชัดเจนคือไม่เคยมีแผนดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น นอกจากการจัดรายการส่งเสริมการขายและส่งออกซึ่งเน้นไปในเชิงการตลาดเท่านั้น คำว่า "ครัว"
มีความหมายรวมถึงการผลิตให้ได้ปริมาณที่เพียงพอและสม่ำเสมอเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก มีความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี และสุดท้ายคือต้นทุนที่แข่งขันได้ ความล้มเหลวในโครงการนี้เป็นตัวอย่างที่บอกเราอีกครั้งว่าระบบการบริหารเศรษฐกิจยังมีปัญหา
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของภาคเอกชนที่จะดำเนินการด้วยตัวเอง แต่เมื่อเป้าหมายของธุรกิจคือการทำกำไร ความมั่นคงของ "ครัวของโลก" จึงสั่นคลอนไปตามสภาพของผลตอบแทน เช่น การย้ายฐานการผลิตข้ามประเทศ ความจริงแล้วการย้ายฐานการผลิตได้เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอาหาร ปัจจัยหลักที่เร่งให้มีการลงทุนเพิ่มในกลุ่มสินค้านี้คือ 1) จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดินและน้ำ ลดลง 2) การลงทุนที่ผ่านมาถูกจำกัดอยู่ภายในประเทศ 3) มีการกีดกันทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากโดยประเทศพัฒนาแล้ว 4) น้ำมันจากธรรมชาติยังมีมากและราคาถูก พลังงานทดแทนจึงยังไม่คุ้มต่อการลงทุน
ที่น่าถามคือนโยบายประเทศไทยจะเป็นอย่างไร? เช่น 1) เราควรจะส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยไปขยายการลงทุนนอกประเทศให้มากขึ้น 2) ส่งเสริมให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น 3) ปิดประตูในประเทศแต่ส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าเราจะเลือกนโยบายใดผลกระทบจะต้องเกิดขึ้นตราบเท่าที่เราไม่ปรับมาตรการการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างของการเคลื่อนไหวของประเทศจีนและไต้หวันในเรื่องนี้เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ประเทศจีนใช้กรอบข้อตกลง ASEAN+3 ส่วนไต้หวันใช้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) แม้ว่าทั้ง 2 กรอบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันโดยตรงแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการเพิ่มผลผลิตเพื่อแก้ปัญหาขาดอาหารเนื่องจากภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม อากาศแล้ง บทบาทของกระทรวงเกษตรฯ ไทยมีค่อนข้างสูงในกรอบทั้งสอง แต่เนื่องจากขาดนโยบายรัฐที่ชัดเจน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะมียุทธศาสตร์อะไรในการ "เจรจา" ที่ค่อนข้างจะยืดเยื้อ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปร่วมงานสัมมนาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้หัวข้อ How Can Myanmar Prepare For AEC? ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์เป็นส่วนหนึ่งของ ASEAN และเป็นประเทศเกิดใหม่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ดังนั้นการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องต้องเร่งดำเนินการทั้งภาครัฐและเอกชน และผมก็เชื่อว่าเขาสามารถทำได้ดีเพราะมีตัวอย่างจากหลายประเทศ เมียนมาร์จึงเป็นประเทศที่เราต้องจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งหรือคู่ค้าของเราในด้านเกษตรและอาหาร แต่ไม่ว่าเขาจะเลือกเป็นแบบไหนประเทศไทยก็ต้องเดินหน้าต่อไปโดยการปรับนโยบายการผลิต การค้า การลงทุน และมาตรการการอุดหนุนให้สอดคล้องกันซึ่งผมยังไม่เห็นสิ่งเหล่านี้แม้แต่เงา
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
.................................................................
ไม่ทราบว่าใครประกาศว่าประเทศไทยเป็น "ครัวของโลก" และผู้ประกาศนั้นเชื่อในสิ่งที่ตนประกาศไปหรือเปล่า ที่เห็นชัดเจนคือไม่เคยมีแผนดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น นอกจากการจัดรายการส่งเสริมการขายและส่งออกซึ่งเน้นไปในเชิงการตลาดเท่านั้น คำว่า "ครัว"
มีความหมายรวมถึงการผลิตให้ได้ปริมาณที่เพียงพอและสม่ำเสมอเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก มีความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี และสุดท้ายคือต้นทุนที่แข่งขันได้ ความล้มเหลวในโครงการนี้เป็นตัวอย่างที่บอกเราอีกครั้งว่าระบบการบริหารเศรษฐกิจยังมีปัญหา
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของภาคเอกชนที่จะดำเนินการด้วยตัวเอง แต่เมื่อเป้าหมายของธุรกิจคือการทำกำไร ความมั่นคงของ "ครัวของโลก" จึงสั่นคลอนไปตามสภาพของผลตอบแทน เช่น การย้ายฐานการผลิตข้ามประเทศ ความจริงแล้วการย้ายฐานการผลิตได้เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอาหาร ปัจจัยหลักที่เร่งให้มีการลงทุนเพิ่มในกลุ่มสินค้านี้คือ 1) จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดินและน้ำ ลดลง 2) การลงทุนที่ผ่านมาถูกจำกัดอยู่ภายในประเทศ 3) มีการกีดกันทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากโดยประเทศพัฒนาแล้ว 4) น้ำมันจากธรรมชาติยังมีมากและราคาถูก พลังงานทดแทนจึงยังไม่คุ้มต่อการลงทุน
ที่น่าถามคือนโยบายประเทศไทยจะเป็นอย่างไร? เช่น 1) เราควรจะส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยไปขยายการลงทุนนอกประเทศให้มากขึ้น 2) ส่งเสริมให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น 3) ปิดประตูในประเทศแต่ส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าเราจะเลือกนโยบายใดผลกระทบจะต้องเกิดขึ้นตราบเท่าที่เราไม่ปรับมาตรการการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างของการเคลื่อนไหวของประเทศจีนและไต้หวันในเรื่องนี้เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ประเทศจีนใช้กรอบข้อตกลง ASEAN+3 ส่วนไต้หวันใช้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) แม้ว่าทั้ง 2 กรอบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันโดยตรงแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการเพิ่มผลผลิตเพื่อแก้ปัญหาขาดอาหารเนื่องจากภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม อากาศแล้ง บทบาทของกระทรวงเกษตรฯ ไทยมีค่อนข้างสูงในกรอบทั้งสอง แต่เนื่องจากขาดนโยบายรัฐที่ชัดเจน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะมียุทธศาสตร์อะไรในการ "เจรจา" ที่ค่อนข้างจะยืดเยื้อ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปร่วมงานสัมมนาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้หัวข้อ How Can Myanmar Prepare For AEC? ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์เป็นส่วนหนึ่งของ ASEAN และเป็นประเทศเกิดใหม่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ดังนั้นการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องต้องเร่งดำเนินการทั้งภาครัฐและเอกชน และผมก็เชื่อว่าเขาสามารถทำได้ดีเพราะมีตัวอย่างจากหลายประเทศ เมียนมาร์จึงเป็นประเทศที่เราต้องจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งหรือคู่ค้าของเราในด้านเกษตรและอาหาร แต่ไม่ว่าเขาจะเลือกเป็นแบบไหนประเทศไทยก็ต้องเดินหน้าต่อไปโดยการปรับนโยบายการผลิต การค้า การลงทุน และมาตรการการอุดหนุนให้สอดคล้องกันซึ่งผมยังไม่เห็นสิ่งเหล่านี้แม้แต่เงา
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
.................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น