ผ่านไปเกินครึ่งทางแล้ว สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือ "พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท" ที่รัฐบาล-ฝ่ายค้านได้เปิดเกมเดือดบนเวทีสภาผู้แทนราษฎร ในการอภิปรายวาระที่ 2 และเตรียมวางคิว "โหวต" เพื่อให้ความเห็นชอบในวาระ 3 ต่อไป
กระนั้นแล้ว การต่อสู้ในเวทีสภาฯ คงไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับขับเคลื่อนเกม "นอกสภา" ที่หลังจากผ่านสภาฯ วาระ 2-3 ไปแล้ว ก็คงถึงคิว "จองกฐินรัฐบาล" ที่จะมีคนไปรอยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ร่างพระราชบัญญัติกู้เงินฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่..
สำหรับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ถือเป็นการกู้เงินก้อนใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศไทยไม่มีการพัฒนามานานแล้ว โดยที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามชี้ให้เห็นว่า การ ลงทุนครั้งนี้จะเป็นการ "สร้างอนาคต" ให้กับประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางอาเซียน ได้อย่างแท้จริง
โดยสาระสำคัญใน "พ.ร.บ.เงินกู้" จะมีระยะเวลา 7 ปี (2556-2563) มีกรอบ การลงทุนครอบคลุม 5 ด้าน กอปรไปด้วย 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งด้วยระบบราง 1,185,692 ล้านบาท 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่ง ทางบก 429,794 ล้านบาท 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางน้ำ 126,435 ล้านบาท 4.การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานระบบขนส่งทางอากาศ 66,989 ล้านบาท 5.โครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นๆ 392,786 ล้านบาท ส่วนแหล่งเงินที่จะ ใช้ในการลงทุน "รัฐบาล" จะมุ่งเน้น "กู้เงินภายในประเทศ" เป็นหลัก หรือคิดเป็น 91%
ขณะเดียวกันมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ประเมินว่า ภาระหนี้ตาม พ.ร.บ.ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน รวม พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท และโครงการอื่นๆ รวมกันแล้ว สัดส่วนหนี้ สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี จะเพิ่มสูงขึ้นจาก 43% ในปี 2555 ไปสูงสุดที่ 51.5% ในปี 2560 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่ "รับได้" โดย พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทฉบับนี้ รัฐบาลคาดหวังไว้อย่างสวยหรูว่าจะช่วยพัฒนาระบบขนส่งของไทยแบบก้าว กระโดด เป็นโอกาสจุดแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
ทางด้าน "แกะดำ" ในปีกฝ่ายค้านอย่าง "อลงกรณ์ พลบุตร" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงการตัดสินใจ "กู้เงิน" มาพัฒนาประเทศของรัฐบาลว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทยครั้งใหญ่ เพราะไม่มีการลงทุนในเรื่อง นี้มานานมากแล้ว เนื่องจากวิกฤติการเงิน และการเมือง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี การกู้เงินจำนวนมากนั้นอาจไม่จำเป็นต้องสร้างภาระถึง 2 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลสามารถออกกองทุน การลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ หรือที่เรียกกันว่า "อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์" ซึ่งเป็นการลงทุนที่บริษัทเอกชนในประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจและมีการตั้งขึ้นมาแล้วคือ "บีทีเอส" ที่ระดมทุนผ่านกองทุนนี้เพียงสัปดาห์เดียว ได้เงินมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท แต่อยากให้รัฐบาลหันมาให้ความ สนใจในการพัฒนาด้านอื่นด้วย อาทิ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและนำมาพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการยกระดับประเทศไทยในอนาคต
ขณะที่ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้โพสต์ เฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทศวรรษที่สูญหาย" โดยระบุถึง 10 ปีที่ไทยเสียโอกาสด้านการลง ทุน และความเสียหายมหาศาล
เพราะนับแต่ปี 2548 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในประเทศไทย เริ่ม ตั้งแต่การประท้วงรัฐบาล การปฏิวัติ การ ชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง เกิดมหาอุทกภัย โดยอาจสรุปได้สั้นๆ ดังนี้ รัฐประหาร 1 ครั้ง 7 รัฐบาล + 1 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ 7 พรรค การ เมืองถูกยุบ 1 มหาอุทกภัย ผู้เสียชีวิต 933 ราย (น้ำท่วมและความไม่สงบทางการ เมือง) ผู้บาดเจ็บ 2,200 ราย และความเสียหายมากกว่า 1.7 ล้านล้านบาท จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้สูญเสียเวลาที่มีค่าไปเกือบสิบปี จึงขอเรียกว่าเป็น "ทศวรรษที่หายไป"
"ในช่วงนี้ เราแทบไม่ได้มีการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญหลังจากการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเลย ผมเองคงไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครผิด ใครถูก คงต้องให้คนรุ่นต่อไปมองย้อนกลับมาวิเคราะห์กันอีกที แต่ที่สำคัญตอนนี้ เราคงต้องพยายามเอาสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียน พยายามหาทางอยู่ร่วมกัน ลดความ ขัดแย้ง ร่วมกันเดินหน้า สร้างอนาคตประเทศไทยต่อไป มามองอนาคตร่วมกันดีกว่า ถ้ามองไปในอนาคต นอกเหนือจาก ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมและการ ส่งออกแล้ว ยังคิดว่าตัวขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยคือ ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวของไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 16.5% และนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ปีละ 1.6 ล้านล้านบาท มีการกระจายตัวของเมือง และความเจริญจากกรุงเทพฯ สู่ต่าง จังหวัด การขยายตัวของเมือง การพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีกส่ง ตามเมือง ใหญ่และจังหวัดชายแดน การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับ AEC รวมถึงการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต และค้าขายกับกลุ่มประเทศอาเซียน การใช้จ่ายในประเทศ การกระตุ้นการลงทุน การสร้างงานและการใช้จ่ายในประเทศ"
"ตัวขับเคลื่อนเหล่านี้ ล้วนเกี่ยวข้อง กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งสิ้น ถ้าโครงสร้างพื้นฐานไม่ดี ก็มีปัญหาต่อเนื่องไปถึงการท่องเที่ยว การกระจายตัวของเมือง การเชื่อม โยงกับเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นตัวกระตุ้นสำคัญสำหรับการใช้จ่ายในประเทศ เพราะก่อให้เกิดการจ้างงาน และใช้วัตถุดิบในประเทศจำนวนมาก"
"ชัชชาติ" ย้ำชัดเจนในจุดยืน คือ "ร่วมกันเดินหน้า สร้างอนาคตประเทศ ไทยต่อไป มองอนาคตร่วมกัน" ทำให้ "ทศวรรษที่หายไป" กลับคืนมา!!
แต่กระนั้น ดูเหมือน "ประชาธิปัตย์" ในฐานะฝ่ายค้านอาชีพ ยังคงประกาศจุด ยืนคู่ขนาน "ไม่เห็นพ้อง" กับโครงการนี้โดยสิ้นเชิง และเตรียมพร้อมจะโค่นล้ม "กฎหมายร้อน" ฉบับนี้ในทุกรูปแบบ
จะเห็นได้จากการประชุมสภาผู้แทน ราษฎรในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท "วาระที่ 2" นับตั้งแต่วันที่ 19-20 กันยายนเป็นต้นมา "ประชาธิปัตย์" ยังคงยึดแนวทางเดียวกับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นั่นก็คือ ดึงเกมยื้อเวลาและปั่นป่วน ให้มากที่สุด โดยให้ลูกหาบในค่าย ประชาธิปัตย์ ที่ร่วมแปรญัตติไว้ 115 คน จองกฐินถล่มรัฐบาลแทบจมกระเบื้อง!
ไม่ใช่แค่รายมาตรา หากแต่จะลงรายละเอียด ชนิดทุกถ้อยคำ ทุกตัวเลขทุกแผนงาน ทุกโครงการ และทุกยุทธศาสตร์ ลากยาวไปถึงบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ. ที่ได้กำหนดกรอบแต่ละยุทธศาสตร์ว่ามีรายละเอียดอย่างไร และวงเงินเท่าไหร่ อีกทั้ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ ยังขอใช้สิทธิแปรญัตติปรับลดในรายละเอียด แบบถี่ยิบ
และที่เป็นไฮไลต์ ก็คือ การอภิปราย ชี้เป้าว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่ระบุไว้ว่า "การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ รายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประ-มาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประ-มาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง..."
ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำให้ พ.ร.บ. นี้ไม่ชอบธรรมแล้ว ยังเป็นการปูทางที่จะนำไปสู่การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
มันย่อมถือเป็นการ "ทิ้งไพ่" ใบสุดท้ายของประชาธิปัตย์ โดยหวังพึ่งพิง "องค์กรอิสระ" ให้เป็นกลไกขัดขวางกระบวนการของฝ่ายนิติ บัญญัติ!!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------------------
กระนั้นแล้ว การต่อสู้ในเวทีสภาฯ คงไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับขับเคลื่อนเกม "นอกสภา" ที่หลังจากผ่านสภาฯ วาระ 2-3 ไปแล้ว ก็คงถึงคิว "จองกฐินรัฐบาล" ที่จะมีคนไปรอยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ร่างพระราชบัญญัติกู้เงินฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่..
สำหรับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ถือเป็นการกู้เงินก้อนใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศไทยไม่มีการพัฒนามานานแล้ว โดยที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามชี้ให้เห็นว่า การ ลงทุนครั้งนี้จะเป็นการ "สร้างอนาคต" ให้กับประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางอาเซียน ได้อย่างแท้จริง
โดยสาระสำคัญใน "พ.ร.บ.เงินกู้" จะมีระยะเวลา 7 ปี (2556-2563) มีกรอบ การลงทุนครอบคลุม 5 ด้าน กอปรไปด้วย 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งด้วยระบบราง 1,185,692 ล้านบาท 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่ง ทางบก 429,794 ล้านบาท 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางน้ำ 126,435 ล้านบาท 4.การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานระบบขนส่งทางอากาศ 66,989 ล้านบาท 5.โครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นๆ 392,786 ล้านบาท ส่วนแหล่งเงินที่จะ ใช้ในการลงทุน "รัฐบาล" จะมุ่งเน้น "กู้เงินภายในประเทศ" เป็นหลัก หรือคิดเป็น 91%
ขณะเดียวกันมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ประเมินว่า ภาระหนี้ตาม พ.ร.บ.ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน รวม พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท และโครงการอื่นๆ รวมกันแล้ว สัดส่วนหนี้ สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี จะเพิ่มสูงขึ้นจาก 43% ในปี 2555 ไปสูงสุดที่ 51.5% ในปี 2560 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่ "รับได้" โดย พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทฉบับนี้ รัฐบาลคาดหวังไว้อย่างสวยหรูว่าจะช่วยพัฒนาระบบขนส่งของไทยแบบก้าว กระโดด เป็นโอกาสจุดแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
ทางด้าน "แกะดำ" ในปีกฝ่ายค้านอย่าง "อลงกรณ์ พลบุตร" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงการตัดสินใจ "กู้เงิน" มาพัฒนาประเทศของรัฐบาลว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทยครั้งใหญ่ เพราะไม่มีการลงทุนในเรื่อง นี้มานานมากแล้ว เนื่องจากวิกฤติการเงิน และการเมือง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี การกู้เงินจำนวนมากนั้นอาจไม่จำเป็นต้องสร้างภาระถึง 2 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลสามารถออกกองทุน การลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ หรือที่เรียกกันว่า "อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์" ซึ่งเป็นการลงทุนที่บริษัทเอกชนในประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจและมีการตั้งขึ้นมาแล้วคือ "บีทีเอส" ที่ระดมทุนผ่านกองทุนนี้เพียงสัปดาห์เดียว ได้เงินมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท แต่อยากให้รัฐบาลหันมาให้ความ สนใจในการพัฒนาด้านอื่นด้วย อาทิ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและนำมาพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการยกระดับประเทศไทยในอนาคต
ขณะที่ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้โพสต์ เฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทศวรรษที่สูญหาย" โดยระบุถึง 10 ปีที่ไทยเสียโอกาสด้านการลง ทุน และความเสียหายมหาศาล
เพราะนับแต่ปี 2548 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในประเทศไทย เริ่ม ตั้งแต่การประท้วงรัฐบาล การปฏิวัติ การ ชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง เกิดมหาอุทกภัย โดยอาจสรุปได้สั้นๆ ดังนี้ รัฐประหาร 1 ครั้ง 7 รัฐบาล + 1 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ 7 พรรค การ เมืองถูกยุบ 1 มหาอุทกภัย ผู้เสียชีวิต 933 ราย (น้ำท่วมและความไม่สงบทางการ เมือง) ผู้บาดเจ็บ 2,200 ราย และความเสียหายมากกว่า 1.7 ล้านล้านบาท จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้สูญเสียเวลาที่มีค่าไปเกือบสิบปี จึงขอเรียกว่าเป็น "ทศวรรษที่หายไป"
"ในช่วงนี้ เราแทบไม่ได้มีการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญหลังจากการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเลย ผมเองคงไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครผิด ใครถูก คงต้องให้คนรุ่นต่อไปมองย้อนกลับมาวิเคราะห์กันอีกที แต่ที่สำคัญตอนนี้ เราคงต้องพยายามเอาสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียน พยายามหาทางอยู่ร่วมกัน ลดความ ขัดแย้ง ร่วมกันเดินหน้า สร้างอนาคตประเทศไทยต่อไป มามองอนาคตร่วมกันดีกว่า ถ้ามองไปในอนาคต นอกเหนือจาก ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมและการ ส่งออกแล้ว ยังคิดว่าตัวขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยคือ ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวของไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 16.5% และนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ปีละ 1.6 ล้านล้านบาท มีการกระจายตัวของเมือง และความเจริญจากกรุงเทพฯ สู่ต่าง จังหวัด การขยายตัวของเมือง การพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีกส่ง ตามเมือง ใหญ่และจังหวัดชายแดน การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับ AEC รวมถึงการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต และค้าขายกับกลุ่มประเทศอาเซียน การใช้จ่ายในประเทศ การกระตุ้นการลงทุน การสร้างงานและการใช้จ่ายในประเทศ"
"ตัวขับเคลื่อนเหล่านี้ ล้วนเกี่ยวข้อง กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งสิ้น ถ้าโครงสร้างพื้นฐานไม่ดี ก็มีปัญหาต่อเนื่องไปถึงการท่องเที่ยว การกระจายตัวของเมือง การเชื่อม โยงกับเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นตัวกระตุ้นสำคัญสำหรับการใช้จ่ายในประเทศ เพราะก่อให้เกิดการจ้างงาน และใช้วัตถุดิบในประเทศจำนวนมาก"
"ชัชชาติ" ย้ำชัดเจนในจุดยืน คือ "ร่วมกันเดินหน้า สร้างอนาคตประเทศ ไทยต่อไป มองอนาคตร่วมกัน" ทำให้ "ทศวรรษที่หายไป" กลับคืนมา!!
แต่กระนั้น ดูเหมือน "ประชาธิปัตย์" ในฐานะฝ่ายค้านอาชีพ ยังคงประกาศจุด ยืนคู่ขนาน "ไม่เห็นพ้อง" กับโครงการนี้โดยสิ้นเชิง และเตรียมพร้อมจะโค่นล้ม "กฎหมายร้อน" ฉบับนี้ในทุกรูปแบบ
จะเห็นได้จากการประชุมสภาผู้แทน ราษฎรในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท "วาระที่ 2" นับตั้งแต่วันที่ 19-20 กันยายนเป็นต้นมา "ประชาธิปัตย์" ยังคงยึดแนวทางเดียวกับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นั่นก็คือ ดึงเกมยื้อเวลาและปั่นป่วน ให้มากที่สุด โดยให้ลูกหาบในค่าย ประชาธิปัตย์ ที่ร่วมแปรญัตติไว้ 115 คน จองกฐินถล่มรัฐบาลแทบจมกระเบื้อง!
ไม่ใช่แค่รายมาตรา หากแต่จะลงรายละเอียด ชนิดทุกถ้อยคำ ทุกตัวเลขทุกแผนงาน ทุกโครงการ และทุกยุทธศาสตร์ ลากยาวไปถึงบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ. ที่ได้กำหนดกรอบแต่ละยุทธศาสตร์ว่ามีรายละเอียดอย่างไร และวงเงินเท่าไหร่ อีกทั้ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ ยังขอใช้สิทธิแปรญัตติปรับลดในรายละเอียด แบบถี่ยิบ
และที่เป็นไฮไลต์ ก็คือ การอภิปราย ชี้เป้าว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่ระบุไว้ว่า "การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ รายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประ-มาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประ-มาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง..."
ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำให้ พ.ร.บ. นี้ไม่ชอบธรรมแล้ว ยังเป็นการปูทางที่จะนำไปสู่การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
มันย่อมถือเป็นการ "ทิ้งไพ่" ใบสุดท้ายของประชาธิปัตย์ โดยหวังพึ่งพิง "องค์กรอิสระ" ให้เป็นกลไกขัดขวางกระบวนการของฝ่ายนิติ บัญญัติ!!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------------------