วันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจัดงานรำลึก 4 ปี
เหตุสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาอย่างคึกคัก
กิจกรรมครบรอบ 4 ปี มีทั้งทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 86 รูป เพื่ออุทิศแก่ผู้เสียชีวิต
งานพบปะรื่นเริงของคนคอเดียวกันที่บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ มีศิลปินเข้าร่วม เช่น
แฮมเมอร์, สุกัญญา มิเกล, หว่อง คาราวาน
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1569/2552 ระหว่างนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 คน ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2
กรณีมีคำสั่งสลายการชุมนุมพันธมิตรฯที่ปิดทางเข้า-ออกรัฐสภาเพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
เป้าหมายคือ หากรัฐบาลแถลงนโยบายไม่ได้ก็บริหารประเทศไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องแลถงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน
คำสั่งศาลปกครองกลางสรุปได้ว่า จากข้อเท็จจริงทั้งรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สื่อมวลชน และพยานบุคคลทั้งที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ได้ให้ถ้อยคำที่สอดคล้องตรงกันว่า
เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 นับแต่เวลา 05.00-24.00 น. ตำรวจได้นำอาวุธปืน วัตถุระเบิดชนิดต่างๆที่มีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากลที่ต้องเริ่มจากการเจรจาต่อรอง หากไม่เป็นผลจึงจะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก
การสลายการชุมนุมดังกล่าว ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตรงเข้าไปยังผู้ชุมนุมโดยตรง มีการยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รถพยาบาล โดยไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมในการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แพทย์-พยาบาลที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
แสดงให้เห็นว่าแผนกรกฎ 48 ที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างหลักการตามมาตรฐานสากล แต่การปฏิบัติจริงหาได้เป็นไปตามหลักการให้ความเมตตาต่อผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างดังที่เขียนไว้ในแผนปฏิบัติการแต่อย่างใด
นอกจากนี้ระยะเวลาในการสลายการชุมนุมยังมีต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ช่วง รวม 18 ชั่วโมง ตั้งแต่เช้าจดค่ำ ทั้งที่การสลายการชุมนุมมีเป้าประสงค์เพื่อเปิดทางให้คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา เข้าประชุมและเดินทางกลับออกจากรัฐสภาได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติว่า รัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30 น. สมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีออกจากสภาแล้วเสร็จตั้งแต่เวลา 18.00 น. จึงไม่มีเหตุที่ต้องสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. แต่กลับยังมีการใช้อาวุธระเบิดชนิดต่างๆยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมในเวลากลางคืน เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส
เมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม
…ผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดี ซึ่งกำหนดค่าเสียหายให้กับผู้รับความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 ม.ค. 2555 เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง
รวมเงินชดใช้ค่าเสียหาย 32,378,296.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ต.ค. 2552 จนกว่าจะทำการชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน และหากภายใน 2 ปีนับแต่มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องสอดรายใด ยังคงต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลจากการกระทำละเมิด ศาลยังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาในส่วนนี้เพิ่มเติมได้อีก
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้น หากคู่ความไม่พอใจยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน
คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นน่าสนใจตรงที่ว่า
หากการสลายการชุมนุมของตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม จนนำมาซึ่งคำสั่งให้จ่ายค่าชดใช้
แล้วการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารเข้าดำเนินการ ใช้อาวุธสงคราม ใช้ปืนซุ่มยิง ใช้รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ ใช้เฮลิคอปเตอร์ปาแก๊สน้ำตา
จะเรียกได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุมได้หรือไม่?
ความเสียหายที่เกิดกับผู้ชุมนุมทั้งตัวเลขคนเจ็บ คนตาย ระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงต่างกันไม่รู้กี่สิบเท่า
ไม่รู้ว่ามีใครในกลุ่มผู้เสียหายคนเสื้อแดงไปยื่นฟ้องศาลปกครองเอาไว้บ้างหรือไม่
หากไม่มีใครไปยื่นฟ้องไว้ ก็น่าจะลองไปยื่นฟ้องกันดู
ยื่นฟ้องเพื่อพิสูจน์มาตรฐานคำตัดสินของศาลปกครองดูหน่อยเป็นไรว่าจะตัดสินออกมาอย่างไร
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
กิจกรรมครบรอบ 4 ปี มีทั้งทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 86 รูป เพื่ออุทิศแก่ผู้เสียชีวิต
งานพบปะรื่นเริงของคนคอเดียวกันที่บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ มีศิลปินเข้าร่วม เช่น
แฮมเมอร์, สุกัญญา มิเกล, หว่อง คาราวาน
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1569/2552 ระหว่างนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 คน ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2
กรณีมีคำสั่งสลายการชุมนุมพันธมิตรฯที่ปิดทางเข้า-ออกรัฐสภาเพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
เป้าหมายคือ หากรัฐบาลแถลงนโยบายไม่ได้ก็บริหารประเทศไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องแลถงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน
คำสั่งศาลปกครองกลางสรุปได้ว่า จากข้อเท็จจริงทั้งรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สื่อมวลชน และพยานบุคคลทั้งที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ได้ให้ถ้อยคำที่สอดคล้องตรงกันว่า
เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 นับแต่เวลา 05.00-24.00 น. ตำรวจได้นำอาวุธปืน วัตถุระเบิดชนิดต่างๆที่มีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากลที่ต้องเริ่มจากการเจรจาต่อรอง หากไม่เป็นผลจึงจะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก
การสลายการชุมนุมดังกล่าว ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตรงเข้าไปยังผู้ชุมนุมโดยตรง มีการยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รถพยาบาล โดยไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมในการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แพทย์-พยาบาลที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
แสดงให้เห็นว่าแผนกรกฎ 48 ที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างหลักการตามมาตรฐานสากล แต่การปฏิบัติจริงหาได้เป็นไปตามหลักการให้ความเมตตาต่อผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างดังที่เขียนไว้ในแผนปฏิบัติการแต่อย่างใด
นอกจากนี้ระยะเวลาในการสลายการชุมนุมยังมีต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ช่วง รวม 18 ชั่วโมง ตั้งแต่เช้าจดค่ำ ทั้งที่การสลายการชุมนุมมีเป้าประสงค์เพื่อเปิดทางให้คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา เข้าประชุมและเดินทางกลับออกจากรัฐสภาได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติว่า รัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30 น. สมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีออกจากสภาแล้วเสร็จตั้งแต่เวลา 18.00 น. จึงไม่มีเหตุที่ต้องสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. แต่กลับยังมีการใช้อาวุธระเบิดชนิดต่างๆยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมในเวลากลางคืน เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส
เมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม
…ผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดี ซึ่งกำหนดค่าเสียหายให้กับผู้รับความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 ม.ค. 2555 เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง
รวมเงินชดใช้ค่าเสียหาย 32,378,296.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ต.ค. 2552 จนกว่าจะทำการชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน และหากภายใน 2 ปีนับแต่มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องสอดรายใด ยังคงต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลจากการกระทำละเมิด ศาลยังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาในส่วนนี้เพิ่มเติมได้อีก
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้น หากคู่ความไม่พอใจยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน
คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นน่าสนใจตรงที่ว่า
หากการสลายการชุมนุมของตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม จนนำมาซึ่งคำสั่งให้จ่ายค่าชดใช้
แล้วการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารเข้าดำเนินการ ใช้อาวุธสงคราม ใช้ปืนซุ่มยิง ใช้รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ ใช้เฮลิคอปเตอร์ปาแก๊สน้ำตา
จะเรียกได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุมได้หรือไม่?
ความเสียหายที่เกิดกับผู้ชุมนุมทั้งตัวเลขคนเจ็บ คนตาย ระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงต่างกันไม่รู้กี่สิบเท่า
ไม่รู้ว่ามีใครในกลุ่มผู้เสียหายคนเสื้อแดงไปยื่นฟ้องศาลปกครองเอาไว้บ้างหรือไม่
หากไม่มีใครไปยื่นฟ้องไว้ ก็น่าจะลองไปยื่นฟ้องกันดู
ยื่นฟ้องเพื่อพิสูจน์มาตรฐานคำตัดสินของศาลปกครองดูหน่อยเป็นไรว่าจะตัดสินออกมาอย่างไร
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น