แปลกแต่จริง! บ้านนี้เมืองนี้กำลังมีคนจะเป็นจะตายเพราะชาวนาขายข้าวได้ราคา
อันเป็นผลมาจากโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นักการเมือง นักวิชาการ พ่อค้านายทุน ต่างออกมากดดันให้รัฐบาลล้มเลิกโครงการ
มีทั้งเรียกร้องปรกติ ออกมาให้ข้อมูลเชิงลบ และใช้กฎหมายเพื่อหยุดยั้งการรับจำนำ
ไม่เว้นแม้แต่นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่มีตำแหน่งเป็นถึงประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)
สื่อพาดหัวกันเอิกเกริก “โกร่ง” เตือนรัฐบาลจะพังเพราะจำนำข้าว แม้จะออกตัวว่าไม่อยากให้สัมภาษณ์ เดี๋ยวจะเสียน้ำใจกับคนอื่น ซึ่งได้เขียนไปแล้วส่งให้นายกฯและคนที่เกี่ยวข้องกับมือ
ไม่ตอกย้ำไม่ซ้ำเติม เพราะเขากำลังจะพัง และพังแน่ เพราะเป็นโครงการที่ควบคุมคอร์รัปชันไม่ได้ ให้แน่มาจากไหนก็ควบคุมไม่ได้ แต่ถ้าจะถอยก็ต้องยกเลิกไปเลย
คำทักท้วงของนายวีรพงษ์ไม่ต่างจากฝั่งประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อ้างว่า มีชาวนามาร้องเรียนเอาข้าวไปจำนำเป็นเดือนแต่ไม่ได้เงิน แสดงให้เห็นว่ามีการคอร์รัปชัน
การรับจำนำในราคาสูงยังต้องใช้เงินหมุนเวียนหลายแสนล้านบาท รัฐบาลจะได้เงินคืนเมื่อขายข้าวได้ แต่ประมูลข้าวทีไรขายไม่ค่อยได้ หากถลำลึกไปเรื่อยๆ ระบบการค้าข้าวจะเสียหาย ข้าวที่เก็บไว้จำนวนมากก็จะเสื่อมคุณภาพ เกิดความเสียหายซ้ำซ้อน
ไม่คุ้มทุน ทุจริต คือมุมมองของฝ่ายค้าน
แล้วก็เป็นอะไรที่จะตามแห่กันมาเป็นขบวน
นายอดิศร อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) รวบรวมรายชื่อนักวิชาการจากนิด้า 60 คน ธรรมศาสตร์ 20 คน ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความการรับจำนำข้าวขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 วรรค 1 ที่ห้ามรัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชน
การรับจำนำข้าวจึงไม่อาจทำต่อไปได้แม้จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร แต่เห็นว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรายใหญ่ มากกว่าเกษตรกรรายย่อย
คือมุมมองของนักวิชาการกลุ่มนี้
ไม่ต่างจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวใช้งบประมาณ 300,000 ล้านบาท จะขาดทุนราว 110,000 ล้านบาท และเป็นเงินที่จ่ายให้เกษตรกรจริงๆแค่ประมาณ 1,000,000 กว่าครัวเครือน เม็ดเงินประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ที่เหลือเข้ากระเป๋าโรงสี
สรุปแนวความคิดของฝ่ายต้านคือ หาเสียง ไม่คุ้มทุน ทำลายระบบ และทุจริต
แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนักแต่รัฐบาลก็เดินหน้ารับจำนำต่อ เพราะเห็นว่าผลประโยชน์ตกอยู่กับชาวนาโดยตรง
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีอนุมติงบประมาณอีก 240,000 ล้านบาท เพื่อใช้รับจำนำข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2555-2556 จำนวน 15 ล้านตัน
ไม่ใช่ว่าไม่ฟังคำคัดค้าน ไม่รู้จุดบกพร่อง แต่รัฐบาลเลือกที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดไปพร้อมกับเดินหน้าโครงการมากกว่าการล้มเลิกตามกระแสเรียกร้อง
ครั้งนี้รัฐบาลสั่งตรวจสอบชาวนาที่นำข้าวมาจำนำเกิน 500,000 บาท เพราะเกรงว่าจะมีการนำข้าวที่อื่นมาสวมสิทธิ
ตั้งคณะกรรมการระดับโรงสีเพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าว
ขยับเพื่อปิดจุดอ่อนที่ถูกโจมตีเรื่องทุจริต
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า เดือนต.ค. นี้จะมีเงินเข้ามาจากการระบายข้าวออก 40,000 ล้านบาท และสิ้นปีจะมีเงินจากการระบายข้าวอีก 100,000 ล้านบาท
ตัวเลขรายได้จากการขายข้าวในสต็อกรัฐบาลได้แน่ๆ 140,000 ล้านบาท
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า การรับจำนำข้าวเป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่จะดูแลความเป็นอยู่ของเกษตรกร ทุกข้อห่วงใยเรารับไว้พิจารณา และจะปรับปรุงข้อบกพร่อง ต้องขอเวลาในการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
นายกฯยังเล่นบทนอบน้อมไม่ชนตรงๆกับฝ่ายต่อต้าน แต่ที่ได้ใจชาวนาคงเป็นคำพูดที่ว่า
“ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถใช้หนี้สินต่างๆได้ จะเป็นวงจรหมุนเวียนเศรษฐกิจ อยากให้ดู 2 ส่วนนี้ประกอบกัน”
ยังไงก็มองประโยชน์ที่ชาวนาเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะมองประโยชน์ชาวนาป็นหลัก และการทุจริตยังอยู่แค่ระดับปฏิบัติไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลโดยตรง
แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีกลับคำร้องของนักวิชาการจากนิด้าและธรรมศาสตร์
แต่รัฐบาลก็วางใจไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องแง่มุมกฎหมาย เพราะการตีกลับคำร้องไม่ใช่ปฏิเสธไม่รับคำร้อง
แค่ให้กลับไปเขียนให้ชัดว่าร้องเรื่องอะไร และจะให้ศาลสั่งว่าอะไร ยังเปิดช่องรอรับเรื่องอยู่
ทราบมาว่าประเด็นที่จะส่งกลับเข้าไปใหม่จะให้ตีความคำว่า “จำนำ” เพราะหลักการของการ “จำนำ” คือต้องรับของไว้ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด เพื่อให้คนจำนำมาไถ่ถอนไปขายเมื่อราคาขึ้นถึงในจุดที่ต้องการ
การให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าราคาตลาดจึงไม่ถือเป็นการ “จำนำ” แต่เป็นการ “ซื้อ”
เมื่อเป็นการ “ซื้อ” แล้วเอาไป “ขาย” ก็เข้าข่ายทำธุรกิจ ผิดรัฐธรรมนูญแน่นอน
รัฐบาลอาจตายน้ำตื้นเพราะการเปิดพจนานุกรมตัดสินด้วยการตีความคำว่า “จำนำ” ซ้ำรอยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่เปิดพจนานุกรมตีความคำว่า “ลูกจ้าง” อีกครั้งก็เป็นได้
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักการเมือง นักวิชาการ พ่อค้านายทุน ต่างออกมากดดันให้รัฐบาลล้มเลิกโครงการ
มีทั้งเรียกร้องปรกติ ออกมาให้ข้อมูลเชิงลบ และใช้กฎหมายเพื่อหยุดยั้งการรับจำนำ
ไม่เว้นแม้แต่นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่มีตำแหน่งเป็นถึงประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)
สื่อพาดหัวกันเอิกเกริก “โกร่ง” เตือนรัฐบาลจะพังเพราะจำนำข้าว แม้จะออกตัวว่าไม่อยากให้สัมภาษณ์ เดี๋ยวจะเสียน้ำใจกับคนอื่น ซึ่งได้เขียนไปแล้วส่งให้นายกฯและคนที่เกี่ยวข้องกับมือ
ไม่ตอกย้ำไม่ซ้ำเติม เพราะเขากำลังจะพัง และพังแน่ เพราะเป็นโครงการที่ควบคุมคอร์รัปชันไม่ได้ ให้แน่มาจากไหนก็ควบคุมไม่ได้ แต่ถ้าจะถอยก็ต้องยกเลิกไปเลย
คำทักท้วงของนายวีรพงษ์ไม่ต่างจากฝั่งประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อ้างว่า มีชาวนามาร้องเรียนเอาข้าวไปจำนำเป็นเดือนแต่ไม่ได้เงิน แสดงให้เห็นว่ามีการคอร์รัปชัน
การรับจำนำในราคาสูงยังต้องใช้เงินหมุนเวียนหลายแสนล้านบาท รัฐบาลจะได้เงินคืนเมื่อขายข้าวได้ แต่ประมูลข้าวทีไรขายไม่ค่อยได้ หากถลำลึกไปเรื่อยๆ ระบบการค้าข้าวจะเสียหาย ข้าวที่เก็บไว้จำนวนมากก็จะเสื่อมคุณภาพ เกิดความเสียหายซ้ำซ้อน
ไม่คุ้มทุน ทุจริต คือมุมมองของฝ่ายค้าน
แล้วก็เป็นอะไรที่จะตามแห่กันมาเป็นขบวน
นายอดิศร อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) รวบรวมรายชื่อนักวิชาการจากนิด้า 60 คน ธรรมศาสตร์ 20 คน ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความการรับจำนำข้าวขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 วรรค 1 ที่ห้ามรัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชน
การรับจำนำข้าวจึงไม่อาจทำต่อไปได้แม้จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร แต่เห็นว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรายใหญ่ มากกว่าเกษตรกรรายย่อย
คือมุมมองของนักวิชาการกลุ่มนี้
ไม่ต่างจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวใช้งบประมาณ 300,000 ล้านบาท จะขาดทุนราว 110,000 ล้านบาท และเป็นเงินที่จ่ายให้เกษตรกรจริงๆแค่ประมาณ 1,000,000 กว่าครัวเครือน เม็ดเงินประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ที่เหลือเข้ากระเป๋าโรงสี
สรุปแนวความคิดของฝ่ายต้านคือ หาเสียง ไม่คุ้มทุน ทำลายระบบ และทุจริต
แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนักแต่รัฐบาลก็เดินหน้ารับจำนำต่อ เพราะเห็นว่าผลประโยชน์ตกอยู่กับชาวนาโดยตรง
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีอนุมติงบประมาณอีก 240,000 ล้านบาท เพื่อใช้รับจำนำข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2555-2556 จำนวน 15 ล้านตัน
ไม่ใช่ว่าไม่ฟังคำคัดค้าน ไม่รู้จุดบกพร่อง แต่รัฐบาลเลือกที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดไปพร้อมกับเดินหน้าโครงการมากกว่าการล้มเลิกตามกระแสเรียกร้อง
ครั้งนี้รัฐบาลสั่งตรวจสอบชาวนาที่นำข้าวมาจำนำเกิน 500,000 บาท เพราะเกรงว่าจะมีการนำข้าวที่อื่นมาสวมสิทธิ
ตั้งคณะกรรมการระดับโรงสีเพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าว
ขยับเพื่อปิดจุดอ่อนที่ถูกโจมตีเรื่องทุจริต
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า เดือนต.ค. นี้จะมีเงินเข้ามาจากการระบายข้าวออก 40,000 ล้านบาท และสิ้นปีจะมีเงินจากการระบายข้าวอีก 100,000 ล้านบาท
ตัวเลขรายได้จากการขายข้าวในสต็อกรัฐบาลได้แน่ๆ 140,000 ล้านบาท
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า การรับจำนำข้าวเป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่จะดูแลความเป็นอยู่ของเกษตรกร ทุกข้อห่วงใยเรารับไว้พิจารณา และจะปรับปรุงข้อบกพร่อง ต้องขอเวลาในการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
นายกฯยังเล่นบทนอบน้อมไม่ชนตรงๆกับฝ่ายต่อต้าน แต่ที่ได้ใจชาวนาคงเป็นคำพูดที่ว่า
“ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถใช้หนี้สินต่างๆได้ จะเป็นวงจรหมุนเวียนเศรษฐกิจ อยากให้ดู 2 ส่วนนี้ประกอบกัน”
ยังไงก็มองประโยชน์ที่ชาวนาเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะมองประโยชน์ชาวนาป็นหลัก และการทุจริตยังอยู่แค่ระดับปฏิบัติไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลโดยตรง
แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีกลับคำร้องของนักวิชาการจากนิด้าและธรรมศาสตร์
แต่รัฐบาลก็วางใจไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องแง่มุมกฎหมาย เพราะการตีกลับคำร้องไม่ใช่ปฏิเสธไม่รับคำร้อง
แค่ให้กลับไปเขียนให้ชัดว่าร้องเรื่องอะไร และจะให้ศาลสั่งว่าอะไร ยังเปิดช่องรอรับเรื่องอยู่
ทราบมาว่าประเด็นที่จะส่งกลับเข้าไปใหม่จะให้ตีความคำว่า “จำนำ” เพราะหลักการของการ “จำนำ” คือต้องรับของไว้ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด เพื่อให้คนจำนำมาไถ่ถอนไปขายเมื่อราคาขึ้นถึงในจุดที่ต้องการ
การให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าราคาตลาดจึงไม่ถือเป็นการ “จำนำ” แต่เป็นการ “ซื้อ”
เมื่อเป็นการ “ซื้อ” แล้วเอาไป “ขาย” ก็เข้าข่ายทำธุรกิจ ผิดรัฐธรรมนูญแน่นอน
รัฐบาลอาจตายน้ำตื้นเพราะการเปิดพจนานุกรมตัดสินด้วยการตีความคำว่า “จำนำ” ซ้ำรอยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่เปิดพจนานุกรมตีความคำว่า “ลูกจ้าง” อีกครั้งก็เป็นได้
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น