คอลัมน์ รู้จักอาเซียน

โจทย์ในการเปิดประเทศของ สปป.ลาว ยังมีอีกหลายเรื่องหลายด้านที่ต้องเร่งพัฒนา ด้านข้อมูล ข่าวสาร และสื่อมวลชน เป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลลาวให้น้ำหนักในการพัฒนา เพื่อก้าวสู่ความเท่าเทียมกับชาติเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียน
ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ในประเทศลาวที่เป็นที่รู้จักดีคือเวียงจันทน์ ไทมส์ (Vientian Time)ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1994 และวางแผงรายวัน 6 ฉบับต่อสัปดาห์ โดยยกเว้นวันอาทิตย์ มียอดพิมพ์อยู่ที่ 3,000-5,000 ฉบับต่อวัน และมีนักข่าวอยู่ราว 60 คน ทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวฝรั่งเศส นอกจากจะตีพิมพ์แล้ว เวียงจันทน์ ไทมส์ยังเปิดให้บริการข่าวสารผ่าน SMS ทั้งภาษาลาวและอังกฤษ
ส่วนตลาดหนังสือพิมพ์นอกเหนือจากเวียงจันทน์ ไทมส์แล้ว ยังมีหนังสือพิมพ์รายวันฉบับอื่น ๆ อีกราว 9 ฉบับ หนังสือพิมพ์เฉพาะทางที่เสนอข่าวสารด้านธุรกิจ 2 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอีก 2 ฉบับคือ Vientian Mai และ KPL
ข่าวสารของ สปป.ลาวไม่หวือหวา และมีหลักการคัดเลือกคือ ไม่ให้กระทบต่อสังคม ความสงบสุข และความปรองดองของคนในชาติ น้ำหนักของการสนใจข่าวสารของชาวลาวคือ เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น อาชญากรรม อัคคีภัย และที่ได้รับความสนใจสูงในขณะนี้คือ ภัยพิบัติต่าง ๆ
นอกจากสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว สปป.ลาวยังมีสถานีโทรทัศน์ของรัฐ หรือที่เรียกว่า "สถานีโทรภาพ" โดยออกอากาศ 2 ช่องคือ สทล.1 แพร่ภาพ 13 ชั่วโมงต่อวัน เป็นรายการข่าว สาระความรู้ต่าง ๆ โดยรายงานทั้งข่าวภาคภาษาอังกฤษและภาษาชนเผ่า ส่วนอีกช่องคือ สทล.3 แพร่ภาพ 24 ชั่วโมงต่อวัน เป็นช่องบันเทิงและกีฬา
นอกจากนี้ สปป.ลาวก็กำลังพัฒนาทีวีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งร่วมทุนระหว่างโทรภาพลาวที่ถือหุ้น, บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีลาว, ประเทศจีน และเวียดนาม
ในปัจจุบันทีวีดิจิทัลให้บริการอยู่ใน 4 แขวงคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ สะหวันนะเขต และจำปาศักดิ์ โดยวางแผนจะพัฒนาให้บริการทั่วประเทศด้วยการเซ็นเอ็มโอยูกับจีน เพื่อกู้เงินจำนวน 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะสำเร็จก่อนปี 2558 ปีที่เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
หากมองภาพรวมผู้ชมโทรทัศน์ใน สปป.ลาวทั้งประเทศ ช่อง สทล.3 ได้รับความนิยมสูง แต่ขณะนี้ยังขาดรายการบันเทิงในรูปแบบที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเพลง และแพร่ภาพละครของไทย ยังไม่มีเกมโชว์ ทอล์กโชว์ หรือละครของ สปป.ลาวที่ผลิตเองแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เนื่องมาจาก สปป.ลาวขาดบุคลากรที่จะผลิตเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย โดยปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาบุคลากรเข้ามาทำงานในสาขานี้มากยิ่งขึ้น
อีกสาเหตุที่ยังไม่มีผู้ใดเข้ามาเริ่มทำรายการบันเทิงและละครใหม่ ๆ ใน สปป.ลาว คือ ชาวลาวทั่วทั้งประเทศนิยมดูโทรทัศน์ไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครไทย จึงทำให้ยังไม่เกิดการพัฒนาของรายการที่หลากหลายมากนัก โดยที่ผ่านมา สปป.ลาวเคยมีทอล์กโชว์ แต่ออกอากาศได้เพียง 2-3 ปีก็ต้องล้มเลิกไป
ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สปป.ลาวต้องโชว์ศักยภาพให้นานาชาติได้เห็น โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting-ASEM) ครั้งที่ 9 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2555 ณ กรุงเวียงจันทน์ ที่มีตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ มาเข้าร่วม 46 ประเทศ นี่เป็นโอกาสที่ สปป.ลาวจะพัฒนาศักยภาพของสื่อมวลชนลาว
แต่ขณะนี้สิ่งที่ สปป.ลาวยังคงหนักใจคือ เครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ยังไม่พร้อมนักในการถ่ายทอดสดงานระดับนานาชาติครั้งนี้ ความท้าทายนี้กำลังจะมาเยือนลาวในอีก 1 เดือนข้างหน้า
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โจทย์ในการเปิดประเทศของ สปป.ลาว ยังมีอีกหลายเรื่องหลายด้านที่ต้องเร่งพัฒนา ด้านข้อมูล ข่าวสาร และสื่อมวลชน เป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลลาวให้น้ำหนักในการพัฒนา เพื่อก้าวสู่ความเท่าเทียมกับชาติเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียน
ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ในประเทศลาวที่เป็นที่รู้จักดีคือเวียงจันทน์ ไทมส์ (Vientian Time)ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1994 และวางแผงรายวัน 6 ฉบับต่อสัปดาห์ โดยยกเว้นวันอาทิตย์ มียอดพิมพ์อยู่ที่ 3,000-5,000 ฉบับต่อวัน และมีนักข่าวอยู่ราว 60 คน ทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวฝรั่งเศส นอกจากจะตีพิมพ์แล้ว เวียงจันทน์ ไทมส์ยังเปิดให้บริการข่าวสารผ่าน SMS ทั้งภาษาลาวและอังกฤษ
ส่วนตลาดหนังสือพิมพ์นอกเหนือจากเวียงจันทน์ ไทมส์แล้ว ยังมีหนังสือพิมพ์รายวันฉบับอื่น ๆ อีกราว 9 ฉบับ หนังสือพิมพ์เฉพาะทางที่เสนอข่าวสารด้านธุรกิจ 2 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอีก 2 ฉบับคือ Vientian Mai และ KPL
ข่าวสารของ สปป.ลาวไม่หวือหวา และมีหลักการคัดเลือกคือ ไม่ให้กระทบต่อสังคม ความสงบสุข และความปรองดองของคนในชาติ น้ำหนักของการสนใจข่าวสารของชาวลาวคือ เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น อาชญากรรม อัคคีภัย และที่ได้รับความสนใจสูงในขณะนี้คือ ภัยพิบัติต่าง ๆ
นอกจากสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว สปป.ลาวยังมีสถานีโทรทัศน์ของรัฐ หรือที่เรียกว่า "สถานีโทรภาพ" โดยออกอากาศ 2 ช่องคือ สทล.1 แพร่ภาพ 13 ชั่วโมงต่อวัน เป็นรายการข่าว สาระความรู้ต่าง ๆ โดยรายงานทั้งข่าวภาคภาษาอังกฤษและภาษาชนเผ่า ส่วนอีกช่องคือ สทล.3 แพร่ภาพ 24 ชั่วโมงต่อวัน เป็นช่องบันเทิงและกีฬา
นอกจากนี้ สปป.ลาวก็กำลังพัฒนาทีวีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งร่วมทุนระหว่างโทรภาพลาวที่ถือหุ้น, บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีลาว, ประเทศจีน และเวียดนาม
ในปัจจุบันทีวีดิจิทัลให้บริการอยู่ใน 4 แขวงคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ สะหวันนะเขต และจำปาศักดิ์ โดยวางแผนจะพัฒนาให้บริการทั่วประเทศด้วยการเซ็นเอ็มโอยูกับจีน เพื่อกู้เงินจำนวน 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะสำเร็จก่อนปี 2558 ปีที่เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
หากมองภาพรวมผู้ชมโทรทัศน์ใน สปป.ลาวทั้งประเทศ ช่อง สทล.3 ได้รับความนิยมสูง แต่ขณะนี้ยังขาดรายการบันเทิงในรูปแบบที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเพลง และแพร่ภาพละครของไทย ยังไม่มีเกมโชว์ ทอล์กโชว์ หรือละครของ สปป.ลาวที่ผลิตเองแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เนื่องมาจาก สปป.ลาวขาดบุคลากรที่จะผลิตเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย โดยปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาบุคลากรเข้ามาทำงานในสาขานี้มากยิ่งขึ้น
อีกสาเหตุที่ยังไม่มีผู้ใดเข้ามาเริ่มทำรายการบันเทิงและละครใหม่ ๆ ใน สปป.ลาว คือ ชาวลาวทั่วทั้งประเทศนิยมดูโทรทัศน์ไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครไทย จึงทำให้ยังไม่เกิดการพัฒนาของรายการที่หลากหลายมากนัก โดยที่ผ่านมา สปป.ลาวเคยมีทอล์กโชว์ แต่ออกอากาศได้เพียง 2-3 ปีก็ต้องล้มเลิกไป
ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สปป.ลาวต้องโชว์ศักยภาพให้นานาชาติได้เห็น โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting-ASEM) ครั้งที่ 9 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2555 ณ กรุงเวียงจันทน์ ที่มีตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ มาเข้าร่วม 46 ประเทศ นี่เป็นโอกาสที่ สปป.ลาวจะพัฒนาศักยภาพของสื่อมวลชนลาว
แต่ขณะนี้สิ่งที่ สปป.ลาวยังคงหนักใจคือ เครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ยังไม่พร้อมนักในการถ่ายทอดสดงานระดับนานาชาติครั้งนี้ ความท้าทายนี้กำลังจะมาเยือนลาวในอีก 1 เดือนข้างหน้า
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น