สัมภาษณ์พิเศษ
ท่ามกลางกระแสปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) กว่า 22 ตำแหน่ง
ทว่าในโผสุดท้าย ยังคงไร้รายชื่อของตระกูล "ฉายแสง" ที่ร่วมยืนเคียงคู่มาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน กระทั่งพรรคเพื่อไทย
โดยเฉพาะพี่ชายคนโตอย่าง "จาตุรนต์ ฉายแสง" ที่เคยรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รมว.ศึกษาธิการ, รมว.ยุติธรรม
ทั้งคนวงใน-วงนอก คอการเมืองอาจไม่มีใครเข้าใจเหตุผลได้ดีเท่า
"ฐิติมา ฉายแสง" อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนการเมืองในตระกูล
บรรทัดต่อจากนี้คือ คำตอบของน้องสาวแทนพี่ชาย ว่าทำไมตระกูลฉายแสงถึงตกหล่นจากบัญชีปรับใหญ่ "รัฐบาลตระกูลชินวัตร"
ท่ามกลางกระแสปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) กว่า 22 ตำแหน่ง
ทว่าในโผสุดท้าย ยังคงไร้รายชื่อของตระกูล "ฉายแสง" ที่ร่วมยืนเคียงคู่มาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน กระทั่งพรรคเพื่อไทย
โดยเฉพาะพี่ชายคนโตอย่าง "จาตุรนต์ ฉายแสง" ที่เคยรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รมว.ศึกษาธิการ, รมว.ยุติธรรม
ทั้งคนวงใน-วงนอก คอการเมืองอาจไม่มีใครเข้าใจเหตุผลได้ดีเท่า
"ฐิติมา ฉายแสง" อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนการเมืองในตระกูล
บรรทัดต่อจากนี้คือ คำตอบของน้องสาวแทนพี่ชาย ว่าทำไมตระกูลฉายแสงถึงตกหล่นจากบัญชีปรับใหญ่ "รัฐบาลตระกูลชินวัตร"
"ตระกูลฉายแสงไม่เคยวิ่งไปหา ผู้หลักผู้ใหญ่ คนบ้านเราเป็นอย่างนั้น ไม่เคยกระเสือกกระสนเหมือนคนอื่น"
"ฐิติมา" ยกตัวอย่างภาพอดีตสมัยใต้รั้วพรรคไทยรักไทยว่า ตระกูลฉายแสงจะรู้ว่าได้รับตำแหน่งก็ต่อเมื่อนาทีสุดท้ายทุกครั้ง
"มีครั้งหนึ่งนั่งกินกาแฟกันอยู่ที่บ้าน ขณะที่มีกระแสปรับ ครม. เคยถามพี่ว่าจะได้เป็นหรือไม่ แกก็หัวเราะแล้วบอกว่าไม่รู้เหมือนกัน พอถามว่าแล้วทำไมมานั่งเฉยอยู่ตรงนี้ ไม่ไปวิ่งหาผู้ใหญ่ เขาก็บอกกับเราอย่างเรียบ ๆ ว่า ก็เราไม่ได้เป็นแบบคนอื่น"
"ครั้งนี้มีคนบอกว่าจะให้นั่งกระทรวงศึกษาธิการ แต่อะไรก็ไม่แน่นอน จนถึงนาทีสุดท้ายก็ยังไม่รู้เลยว่า พี่ชายจะได้เป็นหรือไม่ มันก็เป็นอย่างนี้มาตลอด"
เธอวิเคราะห์เหตุผลคนในที่ตระกูลไม่ได้รับตำแหน่งครั้งนี้ อาจเป็นเพราะความแตกต่างในเรื่องความอยู่รอดของรัฐบาลกับหลักประชาธิปไตยของประเทศ
"พี่อ๋อยมีจุดยืนทางการเมืองสูง ท่านยึดมั่นว่าจะไม่สนใจเรื่องอะไรนอกจากแก้รัฐธรรมนูญ จะให้ไปเป็นตำแหน่งอะไรก็ขอไม่เป็นดีกว่า จะขอแสดงจุดยืนทางประชาธิปไตยอย่างนี้ เมื่อพี่อ๋อยเสนอตัวเองไปในลักษณะนั้น มันอาจจะไม่โดนใจผู้หลักผู้ใหญ่หลายคน อาจรู้สึกว่าชนเหลือเกิน ขณะที่สถานการณ์ต้องใช้ความประนีประนอมอ่อนนุ่ม"
"ท่านมีหลักว่า ตราบใดที่ประชาธิปไตยยังไม่สมบูรณ์ ความยั่งยืนมันไม่เกิด เมื่อยึดตรงนั้นจึงเข้าชนอย่างแรง เช่น ให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 ทันที ขณะที่ผู้ใหญ่บางคนปรึกษากันว่าทำแล้วอาจมีปัญหา จึงสรุปให้ประคับประคองยอมไปก่อน มันก็เลยไม่โดนใจ นับแต่นั้นก็เลยไม่มีตำแหน่งอะไร"
พรรคเพื่อไทยใช้ยุทธวิธตั้งคณะทำงาน หาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่สุดท้ายก็ยังไร้ชื่อ "จาตุรนต์" ในชุดทำงาน 11 อรหันต์
ฐิติมาตอบสั้น ๆ ว่า "ก็คนอื่นเขาอาจจะมีท่าทางประนีประนอมมาก แต่ท่านเชื่อมั่นมากว่าเรื่องแบบนี้ประนีประนอมไม่ได้"
เธอฉายภาพจุดยืนตระกูลฉายแสงอยู่ส่วนไหนในกระดานของตระกูลชินวัตร
"จาตุรนต์" เป็นนักการเมืองที่มีจุดเด่นเหมือนนักวิชาการ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ที่ให้ข้อคิดเห็นกับใคร ๆ ได้ดี เป็นที่ยอมรับกับสังคมและประชาชนอย่างมาก ภาพลักษณ์นี้ท่านยังคงมีอยู่ตลอด
"เวลาพรรคต้องการความเห็น ก็ยังเกรงอกเกรงใจท่าน สมัยตอนที่เป็นสมาชิก 111 ก็ยังมีคนมาขอความเห็นตลอด แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่แบบนั้น
พูดตรง ๆ ว่า สถานการณ์ตอนนี้รัฐบาลต้องการเอาตัวรอด ไม่ต้องการใช้ตัวชนหรืออะไร เพราะต้องการคนที่พลิ้วไหว แต่ไม่ต้องการคนแข็ง"
ขณะที่ "ฐิติมา" ยังคงทำงานในฐานะรองเลขาธิการรองนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ) ส่วน "วุฒิพงศ์ ฉายแสง" ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และบริหารทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำตะวันออก 9 จังหวัด เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (อยอ.)
"ดิฉันกับพี่โก้ (วุฒิพงศ์) พรรคก็ยังให้ความกรุณาบนพื้นฐานว่าเกรงใจพี่อ๋อย และเขาก็รู้กันว่า เรายังมีโอกาสที่จะได้กลับมาเป็น ส.ส.ให้พรรค ก็เลยให้ตำแหน่งทำงาน ให้ฝึกฝนฝีมือ เพื่อทำงานทางการเมืองต่อเนื่อง ส่วนพี่โก้ยังเป็นประธานประชุมบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก ก็อาจจะทำกันอยู่แค่นี้ก่อน"
"ฐิติมา" ขยายความ หากพี่ชายมีโอกาสได้รับตำแหน่ง พรรคต้องวิเคราะห์ว่า เก้าอี้ตัวไหนจะเหมาะสมที่สุดสำหรับเขา
"ที่มันเป็นแบบนี้ เขาคงคำนึงถึงว่าพี่อ๋อยเคยยิ่งใหญ่ การจะให้มาอยู่กระทรวงธรรมดามันอาจจะไม่เหมาะสม จะให้ไปดูกระทรวงศึกษาธิการ ดิฉันคิดว่าท่านน่าจะมีความสามารถมากกว่านั้น ดังนั้นจะให้ไปอยู่ตรงนั้นมันจะเสียของ"
"สำหรับพี่ชาย หากจะดำรงตำแหน่งต้องทำงานอะไรที่เป็นภาพใหญ่ ดูแล้วจะช่วยท่านนายกรัฐมนตรี และทำให้รัฐบาลโดดเด่น เพราะตอนนี้ภาพรัฐบาลเหมือนแค่ประคองตัวเท่านั้น ทั้งที่ยังมีโอกาสโดดเด่นอยู่ อาจเป็นเพราะขาดคนเข้ามาสร้างตรงนี้"
เธอยกตัวอย่าง "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" เป็นนักการเมืองในสายที่จะช่วยทำให้รัฐบาลโดดเด่นตามภาพที่วาดไว้
"ตอนนี้รัฐบาลมีแต่ท่านเฉลิมที่คอยพูดเรื่องการเมืองให้ แม้จะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ แต่ถ้าหากไม่มีท่านมาช่วยงานในสภามันก็ยุ่งเหมือนกัน ดังนั้นหากได้พี่ชายมาช่วย งานในสภาของรัฐบาลจะดีกว่านี้ เช่น ให้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ท่านก็น่าจะทำงานภาคใต้ได้ดี เพราะมีคนยอมรับเยอะ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมั่นคงขึ้น"
ขณะที่ "ฐิติมา" ภายหลังทำหน้าที่โฆษกรัฐบาล สุดท้ายถูกเปลี่ยนสภาพนั่งเก้าอี้รองเลขาธิการรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ
"ตอนนี้ยังพอช่วยงานน้อง ๆ ส.ส.ในสภามีบทบาทเหมือนคุณครูให้คำแนะนำ ส.ส.หญิงในการลุกขึ้นอภิปรายในรัฐสภา ถ้าได้กลับมาเป็น ส.ส. ตระกูลฉายแสงก็ยังโดดเด่นได้"
เมื่อถามว่า ตระกูลฉายแสงมีแต้มเท่าไรในกระดานการเมืองตอนนี้ "ฐิติมา" ตอบก่อนหัวเราะตบท้ายว่า "ชั่วโมงนี้อาจไม่จำเป็นต้องมี แต่อีกเดี๋ยวก็จะมีก็ได้ ตราบใดที่พวกเรายังมีจุดยืนทางการเมืองแบบนี้"
"เรื่องแบบนี้รอได้ พวกเราอายุตอนนี้จะให้ทำงานการเมืองมากกว่านี้ก็พร้อมอยู่แล้ว แต่จังหวะของชีวิตคนมันก็ไม่ได้ลงล่องปล่องชิ้นเสมอไป หรือบางคนอาจจะคิดว่า เคยให้ไปแล้ว ไม่เห็นทำอะไรก็ได้"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น