--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นักวิชาการ-ทุนผูกขาด ล้มจำนำข้าว..ซ้ำเติมชาวนา !!?

ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อคณาจารย์จากสถาบันนิด้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนนักศึกษาจำนวน 146 คน ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 เพื่อยับยั้งหรือยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

นักวิชาการกลุ่มนี้อ้างว่า ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 (1) ที่ระบุว่า “รัฐต้องสนับสนุนระบบ เศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน”

เป้าหมายของนักวิชาการกลุ่มนี้ คือ ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญ “ยุติหรือชะลอ” โครงการจำนำ ข้าวของรัฐบาล และให้รัฐบาลเปลี่ยนเงื่อนไขของโครงการ 3 ประการ คือ 1.ปรับราคาการรับซื้อที่ไม่ขัด กับกลไกการค้าเสรี 2.ทำให้โครงการรับจำนำข้าวเป็น การจำนำข้าวอย่างแท้จริง และ 3.มีการจำกัดจำนวน การรับซื้อข้าว ถัดมาอีกวัน คือ 28 กันยายน 2555 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นสนับสนุน กลุ่มนักวิชาการจากนิด้าทันที

สรุป การต่อต้านการรับจำนำข้าวที่เปิดตัวจาก ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธาน ทีดีอาร์ไอ สมาคมผู้ส่งออกข้าว บุคคลผู้มีชื่อเสียงในสังคมชั้นสูงอย่างนาย อานันท์ ปันยารชุน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล และสื่อมวลชนโหมโจมตีการ ทุจริตของการรับจำนำข้าวมาต่อเนื่องนั้น ถึงขณะนี้ความคิดทั้งมวลได้เชื่อมประสานมาสู่ กลุ่มนักวิชาการจากนิด้า ให้กลายเป็น “นักแสดงอำนาจ” ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรับจำนำข้าวให้เป็นรูปธรรม

ความจริงคือ ราคาข้าวในประเทศถูกกำหนด โดยธุรกิจส่งออกข้าว ย่อมสะท้อนว่า การส่งออกข้าวก็คือธุรกิจผูกขาดข้าวของไทย เมื่อกลุ่มนักวิชาการจากนิด้าและพรรคประชาธิปัตย์เจตนาต้องการล้มโครงการรับจำนำข้าว จึงเป็นฝ่ายสนับสนุนยืนเคียงข้างกลุ่มธุรกิจส่งออกข้าว และต้องการให้กลุ่ม ธุรกิจส่งออกข้าวผูกขาดราคาข้าวอีกตามเดิม

- กลุ่มนักวิชาการ กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

ในประเด็นข้อกฎหมาย ที่กลุ่มนักวิชาการนิด้า อ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 84 (1) และการยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้สะท้อนถึงเจตนาอย่างรีบเร่ง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจมาชะลอโครงการรับจำนำข้าวไว้ก่อน โดยกลุ่มนักวิชาการเหล่านี้นำปัญหาการใช้มาตรา 68 มาต่อต้านการ แก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 มาเทียบเคียงการเคลื่อนไหว จนศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ชะลอการลงมติ สำหรับการต่อต้านการรับจำนำข้าวก็มุ่งหวังว่าจะเกิดขึ้นเช่นนั้น

ผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการนิด้าคือ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะ นิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) เขาคนนี้เป็นทั้งผู้ให้ความคิด ชี้ช่องทางรัฐธรรมนูญ และกำหนดการเคลื่อนไหว หลังยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ดร. อดิศร์ ให้สัมภาษณ์ว่า จะปรึกษากับนายบรรเจิดถึงแนวทางการต่อสู้ทางข้อกฎหมายในอนาคต

ดร.บรรเจิด เป็นคนหนึ่งที่ร่วมลงชื่อต่อต้านการรับจำนำข้าว และเขาให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุ FM 97 โดยยอมรับว่า ได้แนะนำกระบวนการที่ถูกต้องในการยื่นหนังสือ ควรไปยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่การที่ไปศาลรัฐธรรมนูญคงจะไปในเชิงสัญลักษณ์และคิดว่าคง ไม่ได้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญโดย ตรง เพราะกรณีนี้จะต้องไปยื่น เรื่องนี้ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินก่อนที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเรื่องนี้ไปศาลรัฐธรรมนูญ

ดร.บรรเจิด เป็นนักวิชาการสนับสนุน และขึ้นเวทีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขาสนับสนุนให้ทหารยึด อำนาจจนได้ เป็นคณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ปัจจุบันตั้งกลุ่ม “สยามประชาวิวัฒน์” เผยแพร่แนวความคิดต่อต้านคณะนิติราษฎร์

เมื่อนายอานันท์ ต่อต้านการรับจำนำข้าว ดร. บรรเจิด ก็ใช้ “นิด้า” สถาบันการศึกษาที่สนับสนุนกลุ่มอำนาจชนชั้นสูง เป็นฐานเคลื่อนไหวกับหมู่ปัญญา ชนเสื้อเหลือง และนำ ดร.อดิศร์ ในฐานะผู้อำนวย การศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแกนกลางสะท้อนการเชื่อมโยงการต่อสู้เชิงแนวคิดระหว่าง “เศรษฐกิจพอเพียงกับประชานิยม”

ด้วยเหตุนี้ ดร.บรรเจิดจึงเป็นผู้ให้ทั้งความคิด และวางแผนอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการนิด้าไปยื่นหนังสือกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการต่อต้านเชิงสัญลักษณ์

- แนวคิดคู่ขัดแย้ง : แย่งชิงมวลชน

ในฐานะหน้าที่นักวิชาการแล้ว ดร.อดิศร์ได้สะท้อนแนวคิดว่า สนใจการพัฒนาสังคมตามกรอบคิด “ความพอเพียง” แต่เหตุผลที่เขาเคลื่อนไหวยื่น หนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญกลับอ้างระบบเศรษฐกิจเสรี กลไกตลาด ซึ่งเป็นกรอบคิดพื้นฐานของระบบทุนนิยม ที่มีแก่นหลักอยู่ที่ “การสะสมกำไร” แล้วใช้กำไรไป “หมุน” ความมั่งคั่งของเอกชน นั่นย่อมบ่งบอกถึงการ “ขัดกัน” ของจิตสำนึก สาธารณะในเนื้อสมองและจิตใจ เพราะดูประหนึ่งว่า เขาอำพรางแนวคิดทุนนิยมของตัวเองไว้ในภาพความพอเพียงว่ากันตรงๆ แล้ว แนวคิดความพอเพียงเป็นคู่ขัดแย้งกับประชานิยม เพราะต้องแย่งชิงมวลชนระดับรากหญ้า หรือชาวนาชาวไร่ ที่เรียกว่า “เกษตรกร” มาเป็นฐานการเคลื่อนไหวและครอบงำสังคม

เมื่อนโยบายรับจำนำข้าวทุกเม็ดในราคาสูงกว่า ราคาตลาดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีกลุ่มเป้าหมายมวลชนกลุ่มเดียวกันกับ “ความพอเพียง” จึงไปขัดขวางการขยายฐานและช่วงชิงมวลชนจากเศรษฐกิจ พอเพียง จนทำให้กลุ่มนักวิชาการออกมาต่อต้าน เพื่อดำรงเป้าหมาย 3 ระดับ คือ หนึ่ง ขัดขวางการแย่งชิงมวลชนจากนโยบาย รับจำนำข้าว สอง เป็นแนวร่วม ในการต่อต้านนโยบาย รัฐบาลกับกลุ่มธุรกิจส่งออกข้าว และสาม เป็นนักแสดงทางอำนาจแทนกลุ่มอำนาจเบื้องหลัง เพื่อกระตุ้น จุดยืนของระบบยุติธรรมและกำลังทหารในการต่อต้านรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย

กล่าวโดยสรุปแล้ว หากเชื่อมความสัมพันธ์ย้อนกลับจาก ดร.บรรเจิด ถึง ดร.สุรพล ถึงกลุ่มอำนาจเบื้องหลัง และการเคลื่อนไหวของ ดร.อดิศร์ จากนิด้า จึงสะท้อนถึงกลุ่มอำนาจเบื้องหลังที่แสดงผ่านการต่อต้านรับจำนำข้าวว่า ได้พัฒนาไปสู่การลงลึกในด้านมวลชน ดังนั้น รหัสการเคลื่อนไหวย่อมมีแนวโน้มไปสู่การลากสถาบันอำนาจทหารและกระบวนการยุติธรรมให้มาเป็นแนวร่วมการต่อสู้ในอนาคต ย่อมเป็นไปได้สูงยิ่ง

- จุดอ่อนข้อกฎหมายของกลุ่มต่อต้าน

กลุ่มนักวิชาการจากนิด้า อ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 84 (1) มาใช้สิทธิ์ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อต่อต้านการรับจำนำข้าวว่า เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐไปผูกขาดการค้าข้าว

ดร.บรรเจิด กล่าวว่า ประชาชนไม่สามารถฟ้อง ศาลรัฐธรรมนูญได้ เว้นแต่อาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ในกรณีมีข้อโต้แย้งว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ รวมทั้งต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า ใช้ช่องทางอื่น จนสิ้นทุกเส้นทางแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ความเห็นสิทธิการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญของประชาชนเช่นกัน แต่จุดอ่อนของความเห็นทั้งดร. บรรเจิดและนายสมฤทธิ์ อยู่ที่การอธิบาย รัฐธรรมนูญมาตรา 212 ไม่จบกระบวนความหมายสำคัญ เพราะมาตรา 212 กำหนด เนื้อหาไว้ “สองวรรค” ดังนี้

“บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ มีสิทธิยื่นคำ ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ การใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ” โปรดขีดเส้นใต้หนาๆ ที่ข้อความ “คำวินิจฉัย ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐ ธรรมนูญได้” ซึ่งสะท้อนถึงสาระสำคัญในการใช้สิทธิ ของประชาชนไป “ฟ้องตรง” กับศาลรัฐธรรมนูญได้กระจ่างชัดว่า ต้องเป็นกรณี “บทบัญญัติของกฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญ” เท่านั้น

สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายของ รัฐบาล ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ดังนั้น การใช้สิทธิประชาชนมา “ฟ้องตรง” ต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 212 จึงทำไม่ได้ สิ่งสำคัญคือ นโยบายรัฐบาลเป็นกรณีการบริหารงาน แถลงต่อสภา และการรับผิดชอบต่อสภา ต่อประชาชน รวมทั้ง “ผลทางการเมือง” ที่จะเกิดตามมาในกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น

จุดอ่อนสำคัญอีกประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มนักวิชาการนิด้าเลือกใช้ มาตรา 84 (1) มาเพื่อ “สร้างภาพ” และต้องการเพียงให้สื่อกดดันการรับจำนำข้าวอย่างต่อเนื่อง เพราะความจริงแล้ว รัฐธรรมนูญกำหนดเนื้อหามาตรา 84 มีถึง “สิบสี่วงเล็บ” และอีกวงเล็บที่สำคัญบรรจุในมาตรา 84 (8) ที่กำหนดว่า

“คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้ผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกรเพื่อวางแผน การเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร”

โปรดขีดเส้นใต้อีกครั้งในข้อความ “ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้ผลตอบแทนสูงสุด” ย่อมบ่งชี้ได้ เป็นอย่างดีว่า นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ได้ขัด กับรัฐธรรมนูญตามมาตรา 84 (1) แต่ประการใดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนำมาตรา 84 (8) มาพิจารณาประกอบมาตรา 84 (1) แล้ว สะท้อนถึงเจตนา ของมาตรา 84 (8) ได้ดียิ่งว่า เป็นการถ่วงดุลเศรษฐกิจ เสรีและกลไกตลาด (ในมาตรา 84 (1)) ตามระบบทุน นิยม เพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้รัฐบาลสร้างหลักประกันรายได้ให้กับเกษตรกรประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น มาตรา 84 (8) เทียบเคียงได้กับ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ไร้โอกาสในการกำหนดราคาผลผลิต ดัวยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อยกระดับมาตรฐานราคาผลผลิตที่มีราคาในระดับการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคม แปลความได้ว่า นโยบายรับจำนำข้าวทุกเม็ดด้วยราคาสูงกว่าตลาดจึงสอดคล้องและไม่ขัดรัฐธรรมนูญแต่ประการใด เพราะฉะนั้น การที่กลุ่มนักวิชาการนิด้าเคลื่อนไหว จึงน่าจะมีเจตนาแอบแฝง

- สรุป จิตสำนึกประชาชนนักวิชาการกลุ่มต่อต้านข้าว

เมื่อพิจารณาเป้าหมายหลักของกลุ่มนักวิชาการนิด้าที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ แล้ว ต้องพิจารณา ตรงเหตุผลที่บอกผ่านสื่อของ ดร.อดิศร์ ที่ต้องการคือ 1.ปรับราคาการรับซื้อที่ไม่ขัดกับกลไกการค้าเสรี 2.ทำให้โครงการรับจำนำข้าวเป็นการจำนำข้าวอย่างแท้จริง 3.มีการจำกัดจำนวนการรับซื้อข้าวความต้องการทั้ง 3 ข้อนั้น สะท้อนได้ทันทีว่า กลุ่มนักวิชาการนิด้า ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่การ “ล้มโครงการรับจำนำข้าว” แต่ต้องการ “ล้มราคา” รับจำนำข้าวของรัฐบาล เพื่อคงรูปนโยบายรับจำนำข้าว ในรูปแบบเดิมๆ เมื่อ 20 ปีเอาไว้

สิ่งที่นักวิชาการต้องการอย่างมากคือ ให้รัฐบาล กำหนดราคารับจำนำต่ำกว่าราคาตลาด และรัฐบาลต้องจำกัดปริมาณการรับจำนำข้าวของเกษตรกรแต่ละ รายด้วย ทั้งหมดนั้น เป็นข้อสรุปได้ชัดเจน และแสดงถึงความต้องการให้กลุ่มธุรกิจส่งออกข้าวได้เข้าไปแทรกแซงการรับซื้อข้าวแข่งกับรัฐบาล เพื่อจะได้ “กดราคาข้าว” และมีข้าวส่งออกตามสัญญาการซื้อ ขายล่วงหน้าที่ทำไว้กับต่างประเทศ ดังนั้น ข้อเรียกร้องของกลุ่มนักวิชาการนิด้า จึงเคลื่อนไหวไปเพื่อกลุ่มธุรกิจส่งออกข้าว และยังบ่งบอกถึงจิตใจของกลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้ด้วยว่า ยังต้องการให้ระบบทุนนิยมเอาเปรียบชาวนาหรือเกษตรกร

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาความต้องการของกลุ่มนักวิชาการแล้ว ย่อมเห็นความชัดเจนใน 2 ระดับว่า..หนึ่งต้องการใช้นโยบายรับจำนำข้าว เป็นเงื่อนไข นำไปสู่การสร้างและสะสมพลังกดดันชุดใหม่ต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์สอง การสร้างพลังกดดันนั้น ต้องการให้เกิดความปั่นป่วนในสังคม พร้อมๆ กับสร้างภาพรัฐบาล ทุจริตผ่านนโยบายรับจำนำข้าว เพื่อตอกย้ำให้เกิดภาพการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย หรือกำหนดนโยบาย เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง โดยทั้งหมดทั้งปวงมีเป้าหมายการกดดันอยู่ที่การล้มรัฐบาลอีกครั้งด้วยพลังอำนาจสถาบันทหาร เพื่อช่วงชิงอำนาจกลับมาสู่กลุ่มอำนาจเดิม

แต่มียุทธศาสตร์ใหม่ในสังคม เป็นยุทธศาสตร์ ระดับสูงคือ สร้างกติกาเข้าสู่อำนาจใหม่ของสถาบัน โดยผ่านเงื่อนไขการกดดันและล้มรัฐบาลนั่นเอง ซึ่งสะท้อนถึงระบบคิดเก่าๆ พยายามฟื้นกลับมามีอำนาจอีกครั้งกลุ่มนักวิชาการนิด้า ใช้การแสดงออกแบบเศรษฐกิจพอเพียงมารับใช้ระบบทุนนิยมผูกขาด พวกเขาต้องการนโยบายที่ส่งเสริมให้นายทุนผู้ส่งออกข้าวได้กดราคาข้าวไว้เพียงตันละ 8,000 บาท พวกเขามีความสุขกับความร่ำรวยและมั่งคั่งของผู้ส่งออกข้าว..ส่วนเกษตรกรกลับมีชีวิตเป็นแค่ปุ๋ยการสร้าง “กำไร” ให้พ่อค้าข้าวส่งออก นักวิชาการไหน เป็นอย่างไร ต้องวัดกันที่ “จิตสำนึกประชาชน” จึงจะรู้ว่าเป็นของแท้หรือของปลอมที่เอาแต่สร้างภาพ ปั่นราคาให้เกิดกระแส กับสื่อเท่านั้น

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น