“หมู”พลาดซ้ำซาก!!
“มาร์ค”ชิ่งหนีดีกว่า?
“อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำหินแตก อย่าแยกแผ่นดิน”
เป็นวลีที่กองทัพไทยน่าจะจำได้เป็นอย่างดี เพราะในอดีตแทบทุกกรมทหาร จะเขียนประโยคนี้ไว้ด้านหน้าประตู เคียงคู่กับคำว่า “ทหารเป็นมิตรกับประชาชน” และคำว่า “เขตทหาร ห้ามเข้า”เลยก็ว่าได้
วันนี้หลายฝ่ายจึงเฝ้ามองพฤติกรรมทางการเมืองของคนบางกลุ่ม พรรคการเมืองบางพรรคด้วยความไม่สบายใจ ที่มีการเอื้อมมือไปดึงฟ้า นิยมโหนสถาบัน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างเสียงทางการเมือง
ขณะเดียวกันก็เฝ้าดูว่า แล้วกองทัพ แล้วผู้บัญชาการทหารบก ที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีการกระแอมกระไอใดๆออกมาบ้างหรือไม่ ว่าให้เพลาๆกันบ้าง!!!
จะว่าประชาชนคิดมากเกินไปหรือเปล่ากับพฤติกรรมของพรรคการเมืองบางพรรค ก็คงไม่ใช่ เพราะแม้แต่ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน
ทั้งๆที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ออกมาสรุปข้อเท็จจริง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในหลายเรื่องที่เกี่ยวกับ “ความจริง” “ข้อเท็จจริง” และ “ความเชื่อ”
แต่สิ่งหนึ่งที่รายงานของ คอป. ทำออกมา แล้วดูเหมือนว่าทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน ไม่มีใครคัดค้านขัดแย้งกับ คอป.เลยนั้น ก็คือในสรุปข้อเสนอแนะของ คอป. ข้อที่ 7
คอป. ระบุว่ามีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่อาจกระตุ้นให้ความขัดแย้งยกระดับไปสู่การใช้ความรุนแรงได้ คอป. เห็นว่า สังคมไทยควรตระหนักว่าประเทศชาติได้รับความเสียหายและบอบช้ำจากปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมมาเป็นเวลานานแล้ว
และควรนำวิกฤตการณ์ความรุนแรงในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อระลึกถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น และร่วมกันประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้ประเทศต้องประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงอีก
ข้อเสนอแนะของ คอป. มีทั้งหมด 13 ข้อ สำหรับข้อที่ 7 เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่ง คอป. ระบุว่า
การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยงกับประเด็นและความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีส่วนทำให้ปัญหาความขัดแย้งบานปลายจนเกิดความแตกแยกของประชาชน และส่งผลร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ
คอป. จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในทางการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง
นอกจากนี้ คอป. เห็นว่ารัฐควรสนับสนุนให้สังคมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้มีเวทีให้บุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์โดยสันติวิธี
กรณีกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกำจัดคู่ขัดแย้ง เพราะไม่ส่งผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และยังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง
คอป. เห็นว่ารัฐบาลและรัฐสภาควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบัน ซึ่งมีปัญหาในการบังคับใช้ที่มีการระวางโทษสูงเกินสัดส่วนของความผิด จำกัดดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม และการเปิดโอกาสให้บุคคลใดๆ สามารถกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีได้
แต่ประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง รัฐจึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบด้วยความระมัดระวังว่าจะไม่ทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น โดยอาจศึกษาแนวทางจากประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมาปรับใช้ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เหมาะสม
ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐพึงระมัดระวังในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว โดยไม่ใช้อย่างกว้างขวางเกินไปกว่าที่กฎหมายบัญญัติ และไม่นำมาตรการทางอาญามาใช้ อย่างเคร่งครัดจนเกินสมควรโดยขาดทิศทางและไม่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดี
รัฐต้องส่งเสริมการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมและเป็นเอกภาพ รวมถึงสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการโดยมีกลไกในการกำหนดนโยบายทางอาญาที่เหมาะสม สามารถจำแนกลักษณะคดี และกลั่นกรองคดีที่เกี่ยวข้อง
โดยพิจารณาจากความหนักเบาของพฤติกรรม เจตนาและสถานภาพของผู้กระทำ บริบทโดยรวมของสถานการณ์ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดาเนินคดี
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นจากการถวายพระเกียรติยศสูงสุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ
ปัญหาก็คือ หลังจากที่ คอป. ออกคำเสนอแนะดังกล่าวออกมาแล้ว ยังคงมีพฤติกรรมการเมืองที่ คอป. เรียกว่าเป็นการ การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยงกับประเด็นและความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่… ตรงนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร
ก่อนหน้านี้หากยังจำกันได้ ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เดือนเมษายน 2554 ที่กำลังจะมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ปรากฏว่ามีกรณีที่มีพรรคการเมืองนำเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันทั้งสังคมไทย
มีการขึ้นป้ายขึ้นคัทเอาท์โดยใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นในหลายๆจังหวัดทั่วไปหมด
ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ต้องมีการยกร่างระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าด้วยการหาเสียงเลือกตั้ง และการดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนการเลือกตั้ง
มีการระบุห้ามอย่างชัดเจนเลยว่า
“มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมมาเพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคใด”
หากใครขืนทำ และพิสูจน์ความผิดได้ โทษถึงขั้นยุบพรรคกันเลยทีเดียว
โดยนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2554 ว่าระเบียบดังกล่าวจะมีหลักการคล้ายข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ห้ามไม่ให้กล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ว่ากรณีใดๆ
โดยระเบียบดังกล่าวจะเริ่มใช้ภายหลังยุบสภา หากผู้สมัคร ส.ส.รายใดฝ่าฝืน โดยกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องหรือกรณีอื่นๆ หากทำให้เข้าใจผิดในคะแนนเสียงหรือทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต นอกจากมีโทษถึงขั้นให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) หรือตัดสิทธิทางการเมือง (ใบแดง) แล้ว ยังอาจมีโทษถึงขั้นถูกดำเนินคดีอาญา
และหากผู้ที่ทำผิดระเบียบดังกล่าวเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใด ก็จะนำไปสู่การยุบพรรคเช่นเดียวกับการซื้อเสียง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสองด้วย
กฎของ กกต.ในเรื่องนี้สร้างความหงุดหงิดให้กับพรรคภูมิใจไทยเป็นอย่างมาก
ที่สำคัญในวันนั้น พรรคประชาธิปัตย์นี่แหละที่ดาหน้ากันออกมาสนับสนุนกฎข้อนี้ของ กกต. อย่างเต็มที่
แต่วันนี้ ปรากฏการณ์ในการขึ้นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ถูกติดตั้งบนอาคารสูงริมถนนสายหลักหลายสาย โดยมีใจความว่า “คนกรุงเทพ รักในหลวง ไม่เปลี่ยน” โดยมีภาพของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เด่นตระหง่านท่ามกลางภาพของบรรดาศิลปินนักร้องนักแสดงและนักกีฬาชื่อดัง
กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนัก ว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วหรือ???
เป็นเรื่องที่เข้าข่ายในสิ่งที่ คอป. เขียนข้อเสนอแนะถึงหรือไม่???
และหากกรณีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ กกต.กำหนดวันหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.แล้ว จะเข้าข่ายกฎเหล็กของ กกต. ที่ระบุห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่???
แต่ที่แน่ๆในสังคมขณะนี้ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก แล้วด้วยความที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงมีการแจ้งลบกันอุตลุด มีการเห็นต่างและตอบโต้กันไปมาอย่างรุนแรง โดยที่มี “สถาบัน”เป็นประเด็น
จนเกิดคำถามดังลั่นไปหมดว่า คนที่ทำป้ายนี้เอาสมองส่วนไหนคิด หรือว่าคิดอะไรอยู่ จู่ๆจึงสร้างประเด็นที่ก่อให้เกิดการลุกลาม การแบ่งแยกแตกขั้วความคิดออกมาเช่นนี้... สังคมไทยยังวุ่นวาย ยังบอบช้ำมากไม่พอใช่หรือไม่???
ถึงได้อุตริทำป้ายโฆษณานี้ขึ้นมา!!!
จะอ้างว่ารณรงค์ให้คนกรุงเทพฯรักในหลวงฯ ก็ไม่ใช่เรื่อง เพราะคนกรุงเทพฯก็รักในหลวงกันอยู่แล้ว รวมถึงคนไทยทั้งประเทศด้วย แล้วทำไมต้องรณรงค์
ที่สำคัญป้ายรักในหลวงฯในอดีต จะใช้รูปในหลวงฯเป็นหลัก แต่นี่ไม่มีเลย กลับไปใช้รูปคน แถมเป็นคนที่ตั้งใจอยากจะลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม.เสียอีก
วันนี้คนทำป้าย คนที่อยู่เบื้องหลังความคิดนี้ คงได้รู้ซึ้งเต็มสมองและ 2 หู แล้วว่า การวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่จะออกไปในทางลบ เพราะส่วนใหญ่คิดว่าป้ายขนาดใหญ่ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นแคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สมัยหน้าของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ที่สำคัญส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องมิบังควรที่มีการนำเอาสถาบันเบื้องสูงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
กระแสเรื่องนี้แรงมาก จน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ต้องออกมาแก้ตัวเป็นพัลวันว่า ไม่ได้เป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว
อ้างว่าเป็นเรื่องของกลุ่มจิตอาสากลุ่มหนึ่งที่ต้องการรูปภาพของพ่อเมืองไปรวมกลุ่มกับศิลปินนักร้องนักแสดงในการทำกิจกรรมทางสังคมภายใต้แคมเปญ “รักในหลวง”
อ้างว่าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการแสดงความจงรักภักดีผ่านป้ายเท่านั้น ไม่ได้เป็นคนต้นคิดจัดทำป้ายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สมัยหน้าแต่อย่างใด
“ไม่ใช่เป็นป้ายของผม และก็ไม่ใช่ของกทม. เป็นป้ายของภาคเอกชนทั้งหมด เพียงแต่มีรูปภาพของผมไปร่วมด้วยเท่านั้น” ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์ปฏิเสธระงม
ไม่แปลกที่ ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์จะต้องปฏิเสธ เพราะการขึ้นป้ายห่างจากการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.เพียงแค่ไม่ถึง 4 เดือน แถมมีการเปิดตัวผู้สมัครบางคนไปแล้ว รวมทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ก็เปิดใจไปแล้วว่าต้องการลงชิงเก้าอี้สมัยที่ 2… จะให้คนมองเป็นอย่างอื่น คงไม่ง่ายนัก
แต่ที่วิพากษ์วิจารณ์กันแรงคือ ไม่เพียงจะดูเหมือนการโหนสถาบัน แต่ยังเป็นการแบ่งแยกกลุ่มคนรักในหลวงฯอีกด้วย เพราะแทนที่จะเขียนว่า คนไทยรักในหลวงฯ แต่กลับเจาะจงเพียงแค่คนกรุงเทพฯ เป็นการผูกขาดความรักไว้เพียงกลุ่มเดียวอย่างนั้นหรือ
ตลกที่สุดคือ รูปบุคคลในป้ายดังกล่าว “นุ่น”ศิระพันธ์ วัฒนะจินดา ดารานักแสดงที่ดังจากเรื่องบ่วง ก็เป็นคนจังหวัดลำปาง นายกฤษฏา สุโกศล แคลปป์ หรือ น้อย วงพรู ซึ่งครอบครัวเป็นเจ้าของโรงแรมดังที่อยู่ตรงข้ามกับบ้านของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์นั่นแหละ เกิดเมืองไทยก็จริงแต่ไปโตเมืองนอก อยู่เมืองนอกตลอด เรียนที่ Anthropology จาก Boston University และ Stella
หรือ “น้องแต้ว”นส.พิมศิริ ศิริแก้ว นักยกน้ำหนักหญิงที่สามารถคว้าเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิค2012ที่ผ่านมาหมาดๆ ก็เป็นชาวอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นายสมจิตร จงจอหอ อดีตนักมวยทีมชาติไทย ดูนามสกุลก็รู้แล้วว่าเกิดที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ส่วน “น้องวิว”เยาวภา บูรพลชัย เจ้าของเหรียญโอลิมปิคกีฬาเทควันโดหญิงเกิดกรุงเทพฯ แต่ก็เคยลงการเมืองในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคที่มี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นประธานใหญ่
แล้วป้ายกลับขึ้นว่าคนกรุงเทพฯ!!!
แถมป้ายมีการจงใจเขียนคำว่า “ไม่เปลี่ยน”เฉียงลงมาอยู่บนหัวของ ม.รว.สุขุมพันธุ์ คนเลยยิ่งมองยิ่งตีความกันหนักว่านี่คือการส่อเจตนาทำนองเรียกร้องว่าไม่เปลี่ยนผู้ว่าฯกทม.หรือไม่???
งานนี้ป้ายโฆษณาที่ออกมากลายเป็นประเด็นลบเต็มๆสำหรับคนชื่อ “สุขุมพันธุ์”
ขณะที่ด้านล่างของป้ายดังกล่าวระบุชื่อ กลุ่มคิดดีทำดี นั้น คงเห็นแล้วว่าการทำป้ายนี้ออกมาก็ไม่ได้คิดให้ดีเสียก่อน เพราะหากคิดให้ดีคิดให้รอบคอบคงไม่คิดทำเรื่องแบบนี้ออกมาแน่ๆ
เพราะพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องพลอยเปลืองตัวเปลืองพรรคอย่างมาก ก็ออกอาการ “ชิ่งหนี”แล้ว โดยมีรายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ออกมาทำนองว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจให้กับพรรคอย่างมาก เนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างที่จะอ่อนไหวต่อความรู้สึกคนไทยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ปชป.ปล่อยข่าวเลยว่า นายอภิสิทธิ์ มีความคิดอยากให้มีการปลดป้ายทั้งหมดโดยเร็ว
ปลดป้าย กับ ปลดคนลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อะไรดีกว่ากัน ปชป.ต้องคิดหนัก??งานนี้คุณชายหมู สร้างประเด็นปัญหาอีกแล้ว...
ที่มา.บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
“มาร์ค”ชิ่งหนีดีกว่า?
“อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำหินแตก อย่าแยกแผ่นดิน”
เป็นวลีที่กองทัพไทยน่าจะจำได้เป็นอย่างดี เพราะในอดีตแทบทุกกรมทหาร จะเขียนประโยคนี้ไว้ด้านหน้าประตู เคียงคู่กับคำว่า “ทหารเป็นมิตรกับประชาชน” และคำว่า “เขตทหาร ห้ามเข้า”เลยก็ว่าได้
วันนี้หลายฝ่ายจึงเฝ้ามองพฤติกรรมทางการเมืองของคนบางกลุ่ม พรรคการเมืองบางพรรคด้วยความไม่สบายใจ ที่มีการเอื้อมมือไปดึงฟ้า นิยมโหนสถาบัน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างเสียงทางการเมือง
ขณะเดียวกันก็เฝ้าดูว่า แล้วกองทัพ แล้วผู้บัญชาการทหารบก ที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีการกระแอมกระไอใดๆออกมาบ้างหรือไม่ ว่าให้เพลาๆกันบ้าง!!!
จะว่าประชาชนคิดมากเกินไปหรือเปล่ากับพฤติกรรมของพรรคการเมืองบางพรรค ก็คงไม่ใช่ เพราะแม้แต่ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน
ทั้งๆที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ออกมาสรุปข้อเท็จจริง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในหลายเรื่องที่เกี่ยวกับ “ความจริง” “ข้อเท็จจริง” และ “ความเชื่อ”
แต่สิ่งหนึ่งที่รายงานของ คอป. ทำออกมา แล้วดูเหมือนว่าทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน ไม่มีใครคัดค้านขัดแย้งกับ คอป.เลยนั้น ก็คือในสรุปข้อเสนอแนะของ คอป. ข้อที่ 7
คอป. ระบุว่ามีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่อาจกระตุ้นให้ความขัดแย้งยกระดับไปสู่การใช้ความรุนแรงได้ คอป. เห็นว่า สังคมไทยควรตระหนักว่าประเทศชาติได้รับความเสียหายและบอบช้ำจากปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมมาเป็นเวลานานแล้ว
และควรนำวิกฤตการณ์ความรุนแรงในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อระลึกถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น และร่วมกันประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้ประเทศต้องประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงอีก
ข้อเสนอแนะของ คอป. มีทั้งหมด 13 ข้อ สำหรับข้อที่ 7 เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่ง คอป. ระบุว่า
การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยงกับประเด็นและความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีส่วนทำให้ปัญหาความขัดแย้งบานปลายจนเกิดความแตกแยกของประชาชน และส่งผลร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ
คอป. จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในทางการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง
นอกจากนี้ คอป. เห็นว่ารัฐควรสนับสนุนให้สังคมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้มีเวทีให้บุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์โดยสันติวิธี
กรณีกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกำจัดคู่ขัดแย้ง เพราะไม่ส่งผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และยังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง
คอป. เห็นว่ารัฐบาลและรัฐสภาควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบัน ซึ่งมีปัญหาในการบังคับใช้ที่มีการระวางโทษสูงเกินสัดส่วนของความผิด จำกัดดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม และการเปิดโอกาสให้บุคคลใดๆ สามารถกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีได้
แต่ประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง รัฐจึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบด้วยความระมัดระวังว่าจะไม่ทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น โดยอาจศึกษาแนวทางจากประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมาปรับใช้ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เหมาะสม
ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐพึงระมัดระวังในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว โดยไม่ใช้อย่างกว้างขวางเกินไปกว่าที่กฎหมายบัญญัติ และไม่นำมาตรการทางอาญามาใช้ อย่างเคร่งครัดจนเกินสมควรโดยขาดทิศทางและไม่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดี
รัฐต้องส่งเสริมการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมและเป็นเอกภาพ รวมถึงสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการโดยมีกลไกในการกำหนดนโยบายทางอาญาที่เหมาะสม สามารถจำแนกลักษณะคดี และกลั่นกรองคดีที่เกี่ยวข้อง
โดยพิจารณาจากความหนักเบาของพฤติกรรม เจตนาและสถานภาพของผู้กระทำ บริบทโดยรวมของสถานการณ์ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดาเนินคดี
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นจากการถวายพระเกียรติยศสูงสุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ
ปัญหาก็คือ หลังจากที่ คอป. ออกคำเสนอแนะดังกล่าวออกมาแล้ว ยังคงมีพฤติกรรมการเมืองที่ คอป. เรียกว่าเป็นการ การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยงกับประเด็นและความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่… ตรงนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร
ก่อนหน้านี้หากยังจำกันได้ ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เดือนเมษายน 2554 ที่กำลังจะมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ปรากฏว่ามีกรณีที่มีพรรคการเมืองนำเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันทั้งสังคมไทย
มีการขึ้นป้ายขึ้นคัทเอาท์โดยใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นในหลายๆจังหวัดทั่วไปหมด
ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ต้องมีการยกร่างระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าด้วยการหาเสียงเลือกตั้ง และการดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนการเลือกตั้ง
มีการระบุห้ามอย่างชัดเจนเลยว่า
“มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมมาเพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคใด”
หากใครขืนทำ และพิสูจน์ความผิดได้ โทษถึงขั้นยุบพรรคกันเลยทีเดียว
โดยนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2554 ว่าระเบียบดังกล่าวจะมีหลักการคล้ายข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ห้ามไม่ให้กล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ว่ากรณีใดๆ
โดยระเบียบดังกล่าวจะเริ่มใช้ภายหลังยุบสภา หากผู้สมัคร ส.ส.รายใดฝ่าฝืน โดยกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องหรือกรณีอื่นๆ หากทำให้เข้าใจผิดในคะแนนเสียงหรือทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต นอกจากมีโทษถึงขั้นให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) หรือตัดสิทธิทางการเมือง (ใบแดง) แล้ว ยังอาจมีโทษถึงขั้นถูกดำเนินคดีอาญา
และหากผู้ที่ทำผิดระเบียบดังกล่าวเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใด ก็จะนำไปสู่การยุบพรรคเช่นเดียวกับการซื้อเสียง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสองด้วย
กฎของ กกต.ในเรื่องนี้สร้างความหงุดหงิดให้กับพรรคภูมิใจไทยเป็นอย่างมาก
ที่สำคัญในวันนั้น พรรคประชาธิปัตย์นี่แหละที่ดาหน้ากันออกมาสนับสนุนกฎข้อนี้ของ กกต. อย่างเต็มที่
แต่วันนี้ ปรากฏการณ์ในการขึ้นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ถูกติดตั้งบนอาคารสูงริมถนนสายหลักหลายสาย โดยมีใจความว่า “คนกรุงเทพ รักในหลวง ไม่เปลี่ยน” โดยมีภาพของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เด่นตระหง่านท่ามกลางภาพของบรรดาศิลปินนักร้องนักแสดงและนักกีฬาชื่อดัง
กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนัก ว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วหรือ???
เป็นเรื่องที่เข้าข่ายในสิ่งที่ คอป. เขียนข้อเสนอแนะถึงหรือไม่???
และหากกรณีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ กกต.กำหนดวันหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.แล้ว จะเข้าข่ายกฎเหล็กของ กกต. ที่ระบุห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่???
แต่ที่แน่ๆในสังคมขณะนี้ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก แล้วด้วยความที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงมีการแจ้งลบกันอุตลุด มีการเห็นต่างและตอบโต้กันไปมาอย่างรุนแรง โดยที่มี “สถาบัน”เป็นประเด็น
จนเกิดคำถามดังลั่นไปหมดว่า คนที่ทำป้ายนี้เอาสมองส่วนไหนคิด หรือว่าคิดอะไรอยู่ จู่ๆจึงสร้างประเด็นที่ก่อให้เกิดการลุกลาม การแบ่งแยกแตกขั้วความคิดออกมาเช่นนี้... สังคมไทยยังวุ่นวาย ยังบอบช้ำมากไม่พอใช่หรือไม่???
ถึงได้อุตริทำป้ายโฆษณานี้ขึ้นมา!!!
จะอ้างว่ารณรงค์ให้คนกรุงเทพฯรักในหลวงฯ ก็ไม่ใช่เรื่อง เพราะคนกรุงเทพฯก็รักในหลวงกันอยู่แล้ว รวมถึงคนไทยทั้งประเทศด้วย แล้วทำไมต้องรณรงค์
ที่สำคัญป้ายรักในหลวงฯในอดีต จะใช้รูปในหลวงฯเป็นหลัก แต่นี่ไม่มีเลย กลับไปใช้รูปคน แถมเป็นคนที่ตั้งใจอยากจะลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม.เสียอีก
วันนี้คนทำป้าย คนที่อยู่เบื้องหลังความคิดนี้ คงได้รู้ซึ้งเต็มสมองและ 2 หู แล้วว่า การวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่จะออกไปในทางลบ เพราะส่วนใหญ่คิดว่าป้ายขนาดใหญ่ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นแคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สมัยหน้าของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ที่สำคัญส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องมิบังควรที่มีการนำเอาสถาบันเบื้องสูงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
กระแสเรื่องนี้แรงมาก จน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ต้องออกมาแก้ตัวเป็นพัลวันว่า ไม่ได้เป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว
อ้างว่าเป็นเรื่องของกลุ่มจิตอาสากลุ่มหนึ่งที่ต้องการรูปภาพของพ่อเมืองไปรวมกลุ่มกับศิลปินนักร้องนักแสดงในการทำกิจกรรมทางสังคมภายใต้แคมเปญ “รักในหลวง”
อ้างว่าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการแสดงความจงรักภักดีผ่านป้ายเท่านั้น ไม่ได้เป็นคนต้นคิดจัดทำป้ายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สมัยหน้าแต่อย่างใด
“ไม่ใช่เป็นป้ายของผม และก็ไม่ใช่ของกทม. เป็นป้ายของภาคเอกชนทั้งหมด เพียงแต่มีรูปภาพของผมไปร่วมด้วยเท่านั้น” ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์ปฏิเสธระงม
ไม่แปลกที่ ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์จะต้องปฏิเสธ เพราะการขึ้นป้ายห่างจากการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.เพียงแค่ไม่ถึง 4 เดือน แถมมีการเปิดตัวผู้สมัครบางคนไปแล้ว รวมทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ก็เปิดใจไปแล้วว่าต้องการลงชิงเก้าอี้สมัยที่ 2… จะให้คนมองเป็นอย่างอื่น คงไม่ง่ายนัก
แต่ที่วิพากษ์วิจารณ์กันแรงคือ ไม่เพียงจะดูเหมือนการโหนสถาบัน แต่ยังเป็นการแบ่งแยกกลุ่มคนรักในหลวงฯอีกด้วย เพราะแทนที่จะเขียนว่า คนไทยรักในหลวงฯ แต่กลับเจาะจงเพียงแค่คนกรุงเทพฯ เป็นการผูกขาดความรักไว้เพียงกลุ่มเดียวอย่างนั้นหรือ
ตลกที่สุดคือ รูปบุคคลในป้ายดังกล่าว “นุ่น”ศิระพันธ์ วัฒนะจินดา ดารานักแสดงที่ดังจากเรื่องบ่วง ก็เป็นคนจังหวัดลำปาง นายกฤษฏา สุโกศล แคลปป์ หรือ น้อย วงพรู ซึ่งครอบครัวเป็นเจ้าของโรงแรมดังที่อยู่ตรงข้ามกับบ้านของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์นั่นแหละ เกิดเมืองไทยก็จริงแต่ไปโตเมืองนอก อยู่เมืองนอกตลอด เรียนที่ Anthropology จาก Boston University และ Stella
หรือ “น้องแต้ว”นส.พิมศิริ ศิริแก้ว นักยกน้ำหนักหญิงที่สามารถคว้าเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิค2012ที่ผ่านมาหมาดๆ ก็เป็นชาวอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นายสมจิตร จงจอหอ อดีตนักมวยทีมชาติไทย ดูนามสกุลก็รู้แล้วว่าเกิดที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ส่วน “น้องวิว”เยาวภา บูรพลชัย เจ้าของเหรียญโอลิมปิคกีฬาเทควันโดหญิงเกิดกรุงเทพฯ แต่ก็เคยลงการเมืองในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคที่มี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นประธานใหญ่
แล้วป้ายกลับขึ้นว่าคนกรุงเทพฯ!!!
แถมป้ายมีการจงใจเขียนคำว่า “ไม่เปลี่ยน”เฉียงลงมาอยู่บนหัวของ ม.รว.สุขุมพันธุ์ คนเลยยิ่งมองยิ่งตีความกันหนักว่านี่คือการส่อเจตนาทำนองเรียกร้องว่าไม่เปลี่ยนผู้ว่าฯกทม.หรือไม่???
งานนี้ป้ายโฆษณาที่ออกมากลายเป็นประเด็นลบเต็มๆสำหรับคนชื่อ “สุขุมพันธุ์”
ขณะที่ด้านล่างของป้ายดังกล่าวระบุชื่อ กลุ่มคิดดีทำดี นั้น คงเห็นแล้วว่าการทำป้ายนี้ออกมาก็ไม่ได้คิดให้ดีเสียก่อน เพราะหากคิดให้ดีคิดให้รอบคอบคงไม่คิดทำเรื่องแบบนี้ออกมาแน่ๆ
เพราะพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องพลอยเปลืองตัวเปลืองพรรคอย่างมาก ก็ออกอาการ “ชิ่งหนี”แล้ว โดยมีรายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ออกมาทำนองว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจให้กับพรรคอย่างมาก เนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างที่จะอ่อนไหวต่อความรู้สึกคนไทยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ปชป.ปล่อยข่าวเลยว่า นายอภิสิทธิ์ มีความคิดอยากให้มีการปลดป้ายทั้งหมดโดยเร็ว
ปลดป้าย กับ ปลดคนลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อะไรดีกว่ากัน ปชป.ต้องคิดหนัก??งานนี้คุณชายหมู สร้างประเด็นปัญหาอีกแล้ว...
ที่มา.บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น