--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจเบียร์ไทย: กับตลาดใน อาเซียน !!?

ปัจจุบัน ธุรกิจเบียร์ไทย ต้องเผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มการแข่งขันในตลาดทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศและ เบียร์นำเข้า รวมทั้งการเติบโตของตลาดในประเทศที่มีการขยายตัวไม่มากนักในช่วงที่ผ่านมาและความเข้มงวดของมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจเบียร์ไทยมุ่งรุกขยายตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการขยายตัวทั้งทางด้านของประชาชน และ กำลังซื้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากการรวมตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 นอกจากนี้ ตลาดเบียร์ในอาเซียนก็นับว่ายังเป็นตลาดที่มีการบริโภคต่อหัวเติบโตในอัตราที่สูงเมื่อ เทียบกับภูมิภาคอื่นๆ จึงยิ่งเป็นปัจจัยช่วยเสริมให้ตลาดเบียร์อาเซียนมีศักยภาพ ในการขยายตลาดและการลงทุนในมุมมองของผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติตลาดเบียร์ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) จากกำลังซื้อของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น

ภาพรวมของตลาดเบียร์ในประเทศปี2555 คาดว่าจะมีแนวโน้มสดใสกว่าในช่วง4 ปีที่ผ่านมา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปริมาณจำหนำยเบียร์ในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นสูงถึงประมาณ 2,000 ล้านลิตร หรือขยายตัวร้อยละ 14.5 (YoY) และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 125,000 ล้านบาทหรือขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) โดยมีปัจจัยหนุนมาจากกำลังซื้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ การปรับขึ้น เงินเดือนข้าราชการและค่าแรง 300 บาท ตลอดจนแรงหนุนจากการแข่งขันฟุตบอลยูโรในปีนี้ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการทำการ ตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการ และเพิ่มโอกาสในการดื่มเบียร์ในช่วง ระหว่างที่ติดตามชมและเชียร์การแข่งขัน อย่างไรก็ตามเป็นที่นำสังเกตว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดเบียร์ในประเทศ จะมีรูปแบบที่ขยายตัวไปในกลุ่มเบียร์ระดับ อีโคโนมี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีราคาขายถูกกว่ากลุ่มอื่น โดยสัดส่วนของมูลค่าตลาดเบียร์ในกลุ่มอีโคโนมีเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 80 ในปี 2548 เป็นร้อยละ85 ในปี 2555

สำหรับทิศทางการแข่งขันของตลาดเบียร์ในอนาคต คาดว่าจะยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศ และเบียร์นำเข้า ที่เริ่มกลับมานำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2554 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 58 (YoY) และมีแนวโน้มที่การนำเข้าเบียรในปี 2555 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการนำเข้าเบียร์ในปี2555 จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 (YoY)

ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับแรงกดดันจากมาตรการกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศที่มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยในปัจจุบันมาตรการ ดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของการควบคุมการจำหนำย(กำหนดช่วงเวลาขาย กำหนดสถานที่ห้ามจำหนำย กำหนดระยะเวลาในการ เปิดให้บริการสถานบริการ/สถานบันเทิงที่จำหนำยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)การจำกัดกลุ่มผู้บริโภค(ห้ามเด็กซื้อและดื่มเครื่องดื่มแอล กอฮอล์ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะขณะขับขี่ หรือขณะโดยสารในรถ)การควมคุมการโฆษณา (กำหนดช่วงเวลาในการโฆษณาเงื่อนไขในการโฆษณาผ่านป้ายกลางแจ้ง)ตลอดจนการควบคุมข้อความบนฉลากสินค้า(ระบุห้ามจำหนำยแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีระบุคำเตือนเรื่องความสามารถในการขับขี่ในขณะเมาสุรา)อาเซียน…ตลาดเป้าหมายของผู้ประกอบการในธุรกิจเบียร์

อาเซียน นับว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพสูงในการขยายตลาดในมุมมองของผู้ประกอบการเบียร์ทั้งไทยอาเซียน รวมไปถึงผู้ผลิตเบียร์ชั้นนำในระดับโลกโดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้
ปริมาณการบริโภคเบียร์ต่อหัวในอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสูง แม้ว่าการบริโภคต่อหัวในปี 2553 จะมีปริมาณเพียง 11 ลิตรต่อคนต่อปี แต่หากพิจารณาอัตราการขยายตัวในการบริโภคนับว่าเป็นอัตราที่สูงถึงร้อยละ 6 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงหากเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรปที่มีฐานการบริโภคเบียร์ค่อนข้างใหญ่ และแนวโน้มการบริโภคเบียร์ชะลอลงด้วยเหตุนี้ ทำให้การขยายตลาดไปยังอาเซียนจึงสามารถทำได้ง่ายกว่าภูมิภาคอื่นๆ

การขยายตัวของจำนวนประชากรในอาเซียน ปัจจุบันจำนวนประชากรในอาเซียนมีประมาณ 612 ล้านคน ขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ต่อปี (ข้อมูลจาก United nation)ซึ่งนับว่ามีการเพิ่มขึ้นของประชากรมากกว่าประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว เช่น ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ นอกจากนี้ โครงสร้างประชากรของอาเซียน ส่วนใหญ่ประมาณ400 ล้านคน เป็นประ ชากรในวัยทำงาน(อายุ 15-60) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักในสินค้าเบียร์ด้วยเหตุนี้ จึงยิ่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่น่าสนใจของผู้ประ กอบการธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่มแอลกฮอล์อื่นๆ มากยิ่งขึ้น

การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดอุปสรรคด้านการค้าต่างๆ เช่น การเก็บภาษีศุลกากรขาเข้า การเพิ่มความ สะดวกในกระบวนการทางศุลกากร รวมถึงการผ่อนปรนกฎระเบียบทางด้านการลงทุน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าไปทำตลาดภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้น

ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และมีพรมแดนติดกับกลุ่มประเทศ CLMV ประกอบกับการมีโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างประเทศซึ่งจะเสริมให้การคมนาคมขนส่งเชื่อมถึง กันทั้งทางบกทางน้ำ ช่วยเพิ่มจุดแข็งจากข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนการขนส่งกระจายสินค้าและลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าภายในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีพรมแดนติดกับไทย

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการเบียร์ไทยจะเข้าไปมีบทบาทในตลาดเบียร์อาเซียนเพิ่มขึ้น ลำพังเพียงการส่งออกสินค้าไปจำหนำย อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะช่วงชิงโอกาสด้านการตลาด เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ อาทิ สินค้าคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาแข่งขัน รวมทั้งสินค้าเบียร์ท้องถิ่นที่ครองส่วนแบ่งตลาดค่อนข้าง สูงในตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการ/กลยุทธ์อื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน อาทิ การเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตเบียร์ในประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพเพื่อลดต้นทุน รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มที่ หรือการเข้าไปควบรวมหรือซื้อกิจการ หรือลงทุนร่วมกับธุรกิจท้องถิ่น เพื่อให้ได้ผู้ร่วมทุนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการตลาดรวมทั้งความแข็งแกร่งทางด้านเครือข่ายการจัดจำหนำย/กระจายสินค้าไปสู่ร้านค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจรูปแบบดังกล่าว จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นก่อนที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (สยามรัฐ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น