รัฐบาล. คลายกังวลไปได้เปลาะ หนึ่ง! เมื่ออภิโปรเจกต์ “รับจำนำข้าว” ได้รับการ
“ปลดล็อก” ในปมปัญหาแบบหืดขึ้นคอ..ทว่ายังคงมี “ก๊อก 2” สำหรับ การ “ชำแหละ”
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ดด้วยราคาสูงกว่าราคาตลาด ที่ต้องเผชิญกับ
“มรสุมการเมือง” และ “แนวต้าน” ที่ไหวกระเพื่อมอย่างหนักหน่วง ยิ่งเวลานี้ได้มี
“แรงกดดัน” ทั้งจากนักวิชาการบางส่วน ตลอดจน “กลไกสภาสูง” ที่เตรียมคิว
“ซักฟอกรัฐบาล” กรณีรับจำนำข้าวเป็นการเฉพาะ ไม่เพียงเท่านั้น...
การรับจำนำข้าวยังเป็นหอกอันแหลมคมของ “ประชาธิปัตย์”
ที่รอเปิดสงครามน้ำลายในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อปลุก แนวร่วม “ชนชั้นกลาง”
ให้ออกมา “ร่วมด้วยช่วยกัน” ถล่มรัฐบาลในรหัสการเมือง
“นโยบายทุจริตแห่งชาติ”
ผลักให้สถานการณ์ของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก้าวเข้าสู่ “คิลลิ่งโซน” !!! นั่นเพราะ “รับจำนำข้าว” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล กำลังถูกทุกฝ่าย “รุมตรวจสอบ” ย้ำหัวตะปูถึง “ความล้มเหลว” และการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับประเทศ ทั้งในด้านการส่งออกและด้านงบประมาณว่ากันว่า “รัฐบาล” เริ่มตกที่นั่งลำบาก! จากนโยบายประชานิยมที่หวังดึง “คะแนนนิยม” จากการช่วยชาวนา
พลันให้มีคำถามตามมาว่า...รัฐบาลจะพังเพราะนโยบายการรับจำนำข้าวอย่างที่ “ดร.โกร่ง” วีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทย (กยอ.) เตือนเอาไว้หรือไม่..!
ซึ่งนอกจาก “รับจำนำข้าว” ที่กำลังพ่นพิษ...กัดกร่อนรัฐนาวายิ่งลักษณ์แล้ว ยังมีการว่าถึงแผนกู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนใน “เมกะโปรเจกต์” เพราะคล้อยหลังก้าวขึ้นสู่ “เกมอำนาจ” นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็ได้ปัดฝุ่น “แผนกู้เงินเพื่อลงทุนระบบบริหารน้ำ” เพื่อรับมือสถานการณ์ “มหาอุทกภัย” ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ เคาะเม็ดเงิน 3.5 แสน ล้านบาท จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศนโยบาย ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งถนน ท่าเรือ ระบบไฟฟ้า สาธารณูปโภค ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี (2555-2559) ในวงเงินกู้ 2.27 แสนล้านบาท
“นโยบายประชานิยมยั่งยืน” เหล่านี้...ได้ทำให้ยอดหนี้สาธารณะพุ่งไปแล้วนับแสนล้าน เหลืออีกไม่เท่าไหร่ก็จะชนเพดานที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตมวลรวมทั้งประเทศ หรือจีดีพี หากเปรียบเทียบเดือนธันวาคม ปี 2554 ยอดหนี้สาธารณะอยู่ที่ 4.297 ล้าน ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของ จีดีพี แต่เดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา... ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 4.791 ล้านล้าน บาท หรือ 43% ของจีดีพี ซึ่งเป็นตัวเลขหนี้สาธารณะสูงที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ “วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540
ทั้งที่ “หนี้สาธารณะ” ของประเทศกำลังใกล้ถึงจุดวิกฤติ แต่ล่าสุดกระทรวงการคลังเสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ก้อนใหญ่ประจำปี 2556 สูงถึงเกือบ 2 ล้าน ล้านบาท ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว โดยแยกเป็น หนี้เก่าราว 1 ล้านล้านบาท ที่ไม่สามารถชำระเงินต้นได้จึงต้องขยายเวลาออกไป ส่วนที่เหลืออีกกว่า 9 แสนล้านบาท “เป็นหนี้กู้ใหม่”
เงินกู้มหาศาลก้อนใหม่จำนวนดังกล่าว ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มเป็น 47.5% ของจีดีพี ซึ่งหาก รวมหนี้ก้อนใหม่ที่รัฐบาลได้เห็นชอบกรอบ วงเงินกู้สำหรับโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตใหม่เพิ่มอีก 4.05 แสนล้านบาท ก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เพิ่มสูงเกิน 50% ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตรายที่จะทำให้เกิดวิกฤติต่อการคลังของประเทศและลุกลามกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในภาพรวม!!!
ย้อนกลับไปในช่วงการเลือกตั้งใหญ่ ทั่วประเทศหนล่าสุด พรรคเพื่อไทยได้ชูสารพัดนโยบายประชานิยม เพื่อจุดมุ่งหมาย เอาชนะการเลือกตั้งให้จงได้ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ที่มุ่งจับกลุ่มคนทุกชั้น ทุกระดับ ทุกกลุ่ม เริ่มตั้งแต่คนกลุ่มระดับรากหญ้า ชนชั้นกลาง จนถึงระดับคนร่ำรวย เล่นแบบ กินรวบคนทุกกลุ่ม กินตั้งแต่ล่างขึ้นบน เพื่อ ให้ผลการเลือกตั้งของ “เพื่อไทย” เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
ในระดับรากหญ้า พรรคเพื่อไทย ชูนโยบายบัตรเครดิตชาวไร่ชาวนา, นโยบายรับจำนำข้าว, ปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท, จบปริญญาตรีเงินเดือน ขั้นต่ำ 15,000 บาท ส่วนชนชั้นกลาง ก็มีบ้านหลังแรกและรถคันแรกไม่ต้องเสียภาษี ตลอดจนการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีประวัติชำระ หนี้ดี วงเงิน 500,000 บาท แถมให้สิทธิ์กู้เพิ่มได้อีก ขณะที่การปูประชานิยมในกลุ่ม คนมีเงิน หรือคนในระดับบนของประเทศ ได้กำหนดนโยบาย “ลดอัตราภาษีรายได้ให้แก่นิติบุคคล” จากอัตราเดิม 30% ลดลง เป็น 23%
- “ผลแห่งประชานิยม”
ทว่า...หลังจาก “รัฐบาล” ได้เข้ามาบริหารประเทศครบหนึ่งขวบปี ได้เกิด อาฟเตอร์ช็อก ตามแรงเหวี่ยงของนโยบายประชานิยมที่หว่านไถลงไปมากมาย ซึ่งแทบจะทุกนโยบาย...ล้วนก่อให้เกิดปัญหา ทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งหมดทั้งปวง ส่งผลให้ “นโยบายประชานิยมยั่งยืน” ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่มุม ทั้งด้านที่ก่อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ตลอดจนผลกระทบในด้านลบจากนโยบายแห่งรัฐ ต่อเรื่องดังกล่าว “รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์” นักวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ย้ำหัวตะปูว่า...จากผลที่คาดหวังในระยะสั้นหรือ ระยะยาว และกลุ่มเป้าหมายที่เป็น “ฐานเสียง” ของพรรคการเมือง จึงสามารถคาดเดาได้ว่า “รัฐบาล” จะให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการบริโภคภายใน โดยใช้นโยบายประชานิยมซึ่งง่ายที่จะดำเนินการ เห็นผลเร็ว และสามารถสนองความต้องการ ของฐานเสียงที่จะช่วยสนับสนุนให้รัฐบาล สามารถปกครองประเทศได้เรื่อยๆ จนกว่า จะเจอมรสุมทั้ง “ในและนอกฤดูกาล”
“นโยบายประชานิยม” ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังแรก รถคันแรก แท็บเล็ตชั้นประถม ยืดชำระหนี้ทั้งหนี้ดีหนี้เสีย ค่าจ้าง 300 บาท เงินเดือน 1.5 หมื่นบาท หรือแม้แต่นโยบายจำนำข้าว จะช่วยให้ผู้ที่ได้สวัสดิการเหล่านี้มีรายได้สูงขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้นและสามารถกระตุ้นการบริโภคภายในตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นได้ว่ารัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายเหล่านี้ภายในช่วง ปีแรกของการบริหารประเทศ และผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ ก็เป็น “ฐานเสียง” ที่สำคัญของรัฐบาลนี้ ผิดกับนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ไปไม่ถึงไหน...ซึ่งถ้าคิดตามความเป็นธรรม ก็เป็นเรื่องยากสำหรับ “ทุกรัฐบาล” ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบขั้นตอนราชการที่หยุมหยิม และ “มุ่งจับผิด” ทำให้ข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ เลือกที่จะ “เกียร์ว่าง” เพราะถ้าคิดนอกกรอบก็เสี่ยงที่จะถูกสอบ
นอกจากนี้ การจัดสรรผลประโยชน์ จากการลงทุนซึ่งเป็นเม็ดเงินมหาศาล ก็เป็นอุปสรรคใหญ่ของการดำเนินนโยบาย ทำให้โครงการลงทุนเหล่านี้มัก “ถูกเบรก” เมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารยิ่งเป็นการลงทุน ขนาดใหญ่ก็ยิ่งยากที่จะเห็นโครงการนั้นดำเนินการได้ ทั้งกว่าจะเห็นผลสำเร็จก็เป็น เรื่องในระยะยาวที่ “คนตัดสินใจ” อาจไม่ได้ใช้เพราะ “อยู่ไม่ถึง”
“ถ้าพิจารณาปัจจัยการพัฒนาของประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างก็เติบโตจากผลพวงของโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย และสามารถตัดสินใจในโครงการใหญ่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนาและประเทศที่ต้องเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ ล้วนมีรัฐบาลที่เลือก ใช้นโยบายประชานิยมหรือสวัสดิการสังคม ในอดีต ที่ได้ผลแค่ระยะสั้นแต่ก่อให้เกิดภาระและวิกฤติในระยะยาว”
- เปิดโฉนดแผนกู้หนี้!
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี งวดแรกของปีงบประมาณ 2556 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติกรอบวงเงิน ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะไว้ที่ 2.048 ล้านล้านบาท โดยเป็นการกู้ใหม่ 9.59 แสน ล้านบาท ขณะที่การค้ำประกันเงินกู้แก่รัฐวิสาหกิจมีกรอบอยู่ที่ 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งภายหลัง “เดอะโต้ง” กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. กระทรวงการคลัง ได้ลงนามแผนการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานในระยะ 7 ปี ตามที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) นำเสนอร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยกร่างตามพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท สำหรับการลงทุนโครงการยักษ์ที่เคยหาเสียงไว้ รวมทั้งโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม ทำให้ยอดหนี้สาธารณะ มีวงเงินทั้งสิ้น 2,274,359.09 ล้านบาท เพื่อลงทุน 7 ด้าน ได้แก่ 1.ระบบราง วงเงินรวม 1,201,948.80 ล้านบาท 2.ระบบขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท 3.ระบบขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท 4.ระบบขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้าน บาท 5.ระบบสาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท 6.ระบบพลังงาน 515,689.26 ล้านบาท และ 7.ระบบสื่อสาร 36,897 ล้านบาท
ทั้งหมดถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงสร้างใหม่ในระบบราง ตามแนวนโยบายพรรคเพื่อไทย ผ่านการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่น รถไฟ ความเร็วสูง รวม 845,385.01 ล้านบาท การลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้าน บาท การลงทุนของกรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และการลงทุนของกรมทางหลวง ชนบท 6,210.01 ล้านบาท
โดยในแผนการลงทุนในโปรเจกต์ยักษ์ ภายใต้เงินกู้ 2.27 ล้านล้านบาท มีโครงการที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือโครงการเกี่ยวกับการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โครงการรถไฟฟ้า 10 สายที่อยู่ในแคมเปญหาเสียง และการเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 5 เส้นทางให้แล้วเสร็จภายในอีก 5 ปีข้างหน้า
พร้อมกันนี้ ยังจะลงทุนพัฒนาเส้นทาง เตรียมพร้อมสำหรับรองรับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ เป็นเส้นทางมอเตอร์เวย์ หรือทางพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา อีกด้วย...ไม่นับรวมแผนงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการเตรียมเปิด ประมูลโครงข่ายระบบโทรศัพท์ “3 จี”
หากรัฐบาลลงทุนตามแผน 5 ปี ซึ่ง มีทั้งโครงการรถไฟฟ้า ท่าเรือทั่วทุกภูมิภาค และโครงการทวายโปรเจกต์ ที่รัฐบาลร่วม ลงขันกับกลุ่มอิตาเลียน-ไทย ประมาณ 1 แสนล้านบาท รวมทั้งรถไฟฟ้าไฮสปีด 4 สายทั่วประเทศ และรถไฟฟ้า 10 สายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็น่าจะทำให้ “รัฐบาลเพื่อไทย” ชนะเลือกตั้งอีกสมัย ครองอำนาจต่อไปอีก 4 ปี หรือมากกว่านั้น
แต่เป็นชัยชนะที่แลกมาด้วยการใช้ “เงินกู้” ทำให้ประชาชนทั้งประเทศต้องแบกภาระหนี้สินต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปี เพราะการก่อหนี้ต่างประเทศ ส่วนใหญ่ทำกรอบเวลาในการชำระ 10 ปีขึ้นไป เหนืออื่นใด “นโยบายประชานิยม” ในบางสถานการณ์ของสังคมถือเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมีการใช้นโยบายดังกล่าวอย่าง อีลุ่ยฉุยแฉก...ทอดยอดในทุกโครงการของ รัฐแล้ว นั่นย่อมไปสร้างปัญหาต่อระบบโครงสร้างทางการเงินการคลังของประเทศ อย่างใหญ่หลวง สุดท้ายพอไม่มีหนทางอื่น ใด “รัฐบาล” ก็ต้องถอนขนห่าน...ขึ้นสารพัดภาษี หรือกู้จากต่างประเทศ เพื่อหาเงินมาใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นการ “ผลักภาระ” มายังผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ จนทำให้ราคาสินค้า ทุกประเภท “แพงทั้งแผ่นดิน”
เช่นที่ว่านี้ พลันให้ “รัฐบาล” ต้องเกาให้ถูกที่คัน...เพื่อจัดการบริหาร “เม็ดเงินประชานิยม” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อคนไทยทั้งประเทศ?!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ผลักให้สถานการณ์ของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก้าวเข้าสู่ “คิลลิ่งโซน” !!! นั่นเพราะ “รับจำนำข้าว” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล กำลังถูกทุกฝ่าย “รุมตรวจสอบ” ย้ำหัวตะปูถึง “ความล้มเหลว” และการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับประเทศ ทั้งในด้านการส่งออกและด้านงบประมาณว่ากันว่า “รัฐบาล” เริ่มตกที่นั่งลำบาก! จากนโยบายประชานิยมที่หวังดึง “คะแนนนิยม” จากการช่วยชาวนา
พลันให้มีคำถามตามมาว่า...รัฐบาลจะพังเพราะนโยบายการรับจำนำข้าวอย่างที่ “ดร.โกร่ง” วีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทย (กยอ.) เตือนเอาไว้หรือไม่..!
ซึ่งนอกจาก “รับจำนำข้าว” ที่กำลังพ่นพิษ...กัดกร่อนรัฐนาวายิ่งลักษณ์แล้ว ยังมีการว่าถึงแผนกู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนใน “เมกะโปรเจกต์” เพราะคล้อยหลังก้าวขึ้นสู่ “เกมอำนาจ” นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็ได้ปัดฝุ่น “แผนกู้เงินเพื่อลงทุนระบบบริหารน้ำ” เพื่อรับมือสถานการณ์ “มหาอุทกภัย” ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ เคาะเม็ดเงิน 3.5 แสน ล้านบาท จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศนโยบาย ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งถนน ท่าเรือ ระบบไฟฟ้า สาธารณูปโภค ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี (2555-2559) ในวงเงินกู้ 2.27 แสนล้านบาท
“นโยบายประชานิยมยั่งยืน” เหล่านี้...ได้ทำให้ยอดหนี้สาธารณะพุ่งไปแล้วนับแสนล้าน เหลืออีกไม่เท่าไหร่ก็จะชนเพดานที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตมวลรวมทั้งประเทศ หรือจีดีพี หากเปรียบเทียบเดือนธันวาคม ปี 2554 ยอดหนี้สาธารณะอยู่ที่ 4.297 ล้าน ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของ จีดีพี แต่เดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา... ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 4.791 ล้านล้าน บาท หรือ 43% ของจีดีพี ซึ่งเป็นตัวเลขหนี้สาธารณะสูงที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ “วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540
ทั้งที่ “หนี้สาธารณะ” ของประเทศกำลังใกล้ถึงจุดวิกฤติ แต่ล่าสุดกระทรวงการคลังเสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ก้อนใหญ่ประจำปี 2556 สูงถึงเกือบ 2 ล้าน ล้านบาท ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว โดยแยกเป็น หนี้เก่าราว 1 ล้านล้านบาท ที่ไม่สามารถชำระเงินต้นได้จึงต้องขยายเวลาออกไป ส่วนที่เหลืออีกกว่า 9 แสนล้านบาท “เป็นหนี้กู้ใหม่”
เงินกู้มหาศาลก้อนใหม่จำนวนดังกล่าว ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มเป็น 47.5% ของจีดีพี ซึ่งหาก รวมหนี้ก้อนใหม่ที่รัฐบาลได้เห็นชอบกรอบ วงเงินกู้สำหรับโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตใหม่เพิ่มอีก 4.05 แสนล้านบาท ก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เพิ่มสูงเกิน 50% ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตรายที่จะทำให้เกิดวิกฤติต่อการคลังของประเทศและลุกลามกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในภาพรวม!!!
ย้อนกลับไปในช่วงการเลือกตั้งใหญ่ ทั่วประเทศหนล่าสุด พรรคเพื่อไทยได้ชูสารพัดนโยบายประชานิยม เพื่อจุดมุ่งหมาย เอาชนะการเลือกตั้งให้จงได้ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ที่มุ่งจับกลุ่มคนทุกชั้น ทุกระดับ ทุกกลุ่ม เริ่มตั้งแต่คนกลุ่มระดับรากหญ้า ชนชั้นกลาง จนถึงระดับคนร่ำรวย เล่นแบบ กินรวบคนทุกกลุ่ม กินตั้งแต่ล่างขึ้นบน เพื่อ ให้ผลการเลือกตั้งของ “เพื่อไทย” เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
ในระดับรากหญ้า พรรคเพื่อไทย ชูนโยบายบัตรเครดิตชาวไร่ชาวนา, นโยบายรับจำนำข้าว, ปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท, จบปริญญาตรีเงินเดือน ขั้นต่ำ 15,000 บาท ส่วนชนชั้นกลาง ก็มีบ้านหลังแรกและรถคันแรกไม่ต้องเสียภาษี ตลอดจนการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีประวัติชำระ หนี้ดี วงเงิน 500,000 บาท แถมให้สิทธิ์กู้เพิ่มได้อีก ขณะที่การปูประชานิยมในกลุ่ม คนมีเงิน หรือคนในระดับบนของประเทศ ได้กำหนดนโยบาย “ลดอัตราภาษีรายได้ให้แก่นิติบุคคล” จากอัตราเดิม 30% ลดลง เป็น 23%
- “ผลแห่งประชานิยม”
ทว่า...หลังจาก “รัฐบาล” ได้เข้ามาบริหารประเทศครบหนึ่งขวบปี ได้เกิด อาฟเตอร์ช็อก ตามแรงเหวี่ยงของนโยบายประชานิยมที่หว่านไถลงไปมากมาย ซึ่งแทบจะทุกนโยบาย...ล้วนก่อให้เกิดปัญหา ทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งหมดทั้งปวง ส่งผลให้ “นโยบายประชานิยมยั่งยืน” ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่มุม ทั้งด้านที่ก่อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ตลอดจนผลกระทบในด้านลบจากนโยบายแห่งรัฐ ต่อเรื่องดังกล่าว “รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์” นักวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ย้ำหัวตะปูว่า...จากผลที่คาดหวังในระยะสั้นหรือ ระยะยาว และกลุ่มเป้าหมายที่เป็น “ฐานเสียง” ของพรรคการเมือง จึงสามารถคาดเดาได้ว่า “รัฐบาล” จะให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการบริโภคภายใน โดยใช้นโยบายประชานิยมซึ่งง่ายที่จะดำเนินการ เห็นผลเร็ว และสามารถสนองความต้องการ ของฐานเสียงที่จะช่วยสนับสนุนให้รัฐบาล สามารถปกครองประเทศได้เรื่อยๆ จนกว่า จะเจอมรสุมทั้ง “ในและนอกฤดูกาล”
“นโยบายประชานิยม” ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังแรก รถคันแรก แท็บเล็ตชั้นประถม ยืดชำระหนี้ทั้งหนี้ดีหนี้เสีย ค่าจ้าง 300 บาท เงินเดือน 1.5 หมื่นบาท หรือแม้แต่นโยบายจำนำข้าว จะช่วยให้ผู้ที่ได้สวัสดิการเหล่านี้มีรายได้สูงขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้นและสามารถกระตุ้นการบริโภคภายในตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นได้ว่ารัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายเหล่านี้ภายในช่วง ปีแรกของการบริหารประเทศ และผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ ก็เป็น “ฐานเสียง” ที่สำคัญของรัฐบาลนี้ ผิดกับนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ไปไม่ถึงไหน...ซึ่งถ้าคิดตามความเป็นธรรม ก็เป็นเรื่องยากสำหรับ “ทุกรัฐบาล” ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบขั้นตอนราชการที่หยุมหยิม และ “มุ่งจับผิด” ทำให้ข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ เลือกที่จะ “เกียร์ว่าง” เพราะถ้าคิดนอกกรอบก็เสี่ยงที่จะถูกสอบ
นอกจากนี้ การจัดสรรผลประโยชน์ จากการลงทุนซึ่งเป็นเม็ดเงินมหาศาล ก็เป็นอุปสรรคใหญ่ของการดำเนินนโยบาย ทำให้โครงการลงทุนเหล่านี้มัก “ถูกเบรก” เมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารยิ่งเป็นการลงทุน ขนาดใหญ่ก็ยิ่งยากที่จะเห็นโครงการนั้นดำเนินการได้ ทั้งกว่าจะเห็นผลสำเร็จก็เป็น เรื่องในระยะยาวที่ “คนตัดสินใจ” อาจไม่ได้ใช้เพราะ “อยู่ไม่ถึง”
“ถ้าพิจารณาปัจจัยการพัฒนาของประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างก็เติบโตจากผลพวงของโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย และสามารถตัดสินใจในโครงการใหญ่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนาและประเทศที่ต้องเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ ล้วนมีรัฐบาลที่เลือก ใช้นโยบายประชานิยมหรือสวัสดิการสังคม ในอดีต ที่ได้ผลแค่ระยะสั้นแต่ก่อให้เกิดภาระและวิกฤติในระยะยาว”
- เปิดโฉนดแผนกู้หนี้!
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี งวดแรกของปีงบประมาณ 2556 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติกรอบวงเงิน ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะไว้ที่ 2.048 ล้านล้านบาท โดยเป็นการกู้ใหม่ 9.59 แสน ล้านบาท ขณะที่การค้ำประกันเงินกู้แก่รัฐวิสาหกิจมีกรอบอยู่ที่ 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งภายหลัง “เดอะโต้ง” กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. กระทรวงการคลัง ได้ลงนามแผนการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานในระยะ 7 ปี ตามที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) นำเสนอร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยกร่างตามพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท สำหรับการลงทุนโครงการยักษ์ที่เคยหาเสียงไว้ รวมทั้งโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม ทำให้ยอดหนี้สาธารณะ มีวงเงินทั้งสิ้น 2,274,359.09 ล้านบาท เพื่อลงทุน 7 ด้าน ได้แก่ 1.ระบบราง วงเงินรวม 1,201,948.80 ล้านบาท 2.ระบบขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท 3.ระบบขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท 4.ระบบขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้าน บาท 5.ระบบสาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท 6.ระบบพลังงาน 515,689.26 ล้านบาท และ 7.ระบบสื่อสาร 36,897 ล้านบาท
ทั้งหมดถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงสร้างใหม่ในระบบราง ตามแนวนโยบายพรรคเพื่อไทย ผ่านการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่น รถไฟ ความเร็วสูง รวม 845,385.01 ล้านบาท การลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้าน บาท การลงทุนของกรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และการลงทุนของกรมทางหลวง ชนบท 6,210.01 ล้านบาท
โดยในแผนการลงทุนในโปรเจกต์ยักษ์ ภายใต้เงินกู้ 2.27 ล้านล้านบาท มีโครงการที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือโครงการเกี่ยวกับการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โครงการรถไฟฟ้า 10 สายที่อยู่ในแคมเปญหาเสียง และการเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 5 เส้นทางให้แล้วเสร็จภายในอีก 5 ปีข้างหน้า
พร้อมกันนี้ ยังจะลงทุนพัฒนาเส้นทาง เตรียมพร้อมสำหรับรองรับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ เป็นเส้นทางมอเตอร์เวย์ หรือทางพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา อีกด้วย...ไม่นับรวมแผนงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการเตรียมเปิด ประมูลโครงข่ายระบบโทรศัพท์ “3 จี”
หากรัฐบาลลงทุนตามแผน 5 ปี ซึ่ง มีทั้งโครงการรถไฟฟ้า ท่าเรือทั่วทุกภูมิภาค และโครงการทวายโปรเจกต์ ที่รัฐบาลร่วม ลงขันกับกลุ่มอิตาเลียน-ไทย ประมาณ 1 แสนล้านบาท รวมทั้งรถไฟฟ้าไฮสปีด 4 สายทั่วประเทศ และรถไฟฟ้า 10 สายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็น่าจะทำให้ “รัฐบาลเพื่อไทย” ชนะเลือกตั้งอีกสมัย ครองอำนาจต่อไปอีก 4 ปี หรือมากกว่านั้น
แต่เป็นชัยชนะที่แลกมาด้วยการใช้ “เงินกู้” ทำให้ประชาชนทั้งประเทศต้องแบกภาระหนี้สินต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปี เพราะการก่อหนี้ต่างประเทศ ส่วนใหญ่ทำกรอบเวลาในการชำระ 10 ปีขึ้นไป เหนืออื่นใด “นโยบายประชานิยม” ในบางสถานการณ์ของสังคมถือเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมีการใช้นโยบายดังกล่าวอย่าง อีลุ่ยฉุยแฉก...ทอดยอดในทุกโครงการของ รัฐแล้ว นั่นย่อมไปสร้างปัญหาต่อระบบโครงสร้างทางการเงินการคลังของประเทศ อย่างใหญ่หลวง สุดท้ายพอไม่มีหนทางอื่น ใด “รัฐบาล” ก็ต้องถอนขนห่าน...ขึ้นสารพัดภาษี หรือกู้จากต่างประเทศ เพื่อหาเงินมาใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นการ “ผลักภาระ” มายังผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ จนทำให้ราคาสินค้า ทุกประเภท “แพงทั้งแผ่นดิน”
เช่นที่ว่านี้ พลันให้ “รัฐบาล” ต้องเกาให้ถูกที่คัน...เพื่อจัดการบริหาร “เม็ดเงินประชานิยม” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อคนไทยทั้งประเทศ?!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น