หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่จะเป็นใคร ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต
และสำคัญอะไรกันหนักหนา เพราะความ จริงคือ หัวหน้าพรรคไม่มีบทบาททางการเมืองอะไร
การตั้ง พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรคอันดับ 3 และ
ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 12 ขึ้น “รักษาการหัวหน้าพรรค”
เป็นเพียงการปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคให้สมบูรณ์
มีหน้าที่เพียงจัดการประชุมพรรคเพื่อเลือกหัว หน้าคนใหม่เท่านั้น
ไม่มีรหัสบ่งบอกถึง “อำนาจ” การนำพรรคแต่ประการใด
ที่ผ่านมา การตั้งหัวหน้าพรรคเป็น ไปเพียงให้ครบเงื่อนไขกฎหมายพรรค การเมืองกำหนด ถึงกระนั้นก็ควรมีภาพลักษณ์งามๆ พอไปวัดไปวา นั่งหัวโต๊ะประชุมพอมีสง่าราศี และมีภาวะ “ผู้นำ” ระดับกลางๆ ไม่ต้องโดดเด่นด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยจนสูงสุดเอื้อมสิ่งสำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องคอนโทรลได้ สั่งการเคลื่อนไหว ทางการเมืองได้ ชนิดไม่มีเสียงวอแวกวนใจพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่ถูกสร้างและดำรงอยู่ด้วยการ “ขาย” ภาพลักษณ์ของ “ทักษิณ”
ดังนั้น ทักษิณจึงเป็น “ยี่ห้อ” ทางการเมืองของพรรค เป็นแม่เหล็กดึง มวลชนมาสนับสนุน ส่วน “หัวหน้าพรรค” เป็นแค่ “นักบริหารการเมือง” ราวกับทำหน้าที่เซ็นเอกสารให้กระบวนการทำงานพรรค การเมืองมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้นรวมความแล้ว หัวหน้าพรรคเพื่อ ไทยคนใหม่ ไม่ได้อยู่ที่ความต้องการของ สมาชิกพรรค แต่ขึ้นกับ “คนสร้างพรรค” คือ ทักษิณต้องการให้ใครเป็น ว่ากันตรงๆ แล้ว ทักษิณกับพรรค เพื่อไทยมีความชัดเจนในกระบวนการบริหาร จัดการองค์กรพรรค และสร้าง ภาพลักษณ์ของพรรคจนได้ฉายาว่า “พรรคทักษิณ” มีสโลแกนหาเสียง สวยหรู บ่งบอกยี่ห้อชัดเจนว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” นี่คือชุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยของพรรคแบบทักษิณ
ความชัดเจนของทักษิณและพรรคเพื่อไทยอยู่ตรงที่สังคมรับรู้ว่า เป็นพรรคของใคร ไม่มีการสร้างภาพนักประชาธิปไตยตามต้นฉบับมายาการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำเนินมากว่า 60 ปี พรรคเพื่อไทยมีต้นกำเนิดมาจากพรรคไทยรักไทย แล้วแปรรูปมาเป็นพรรค พลังประชาชน จากนั้นจึง “กลายร่าง” มาเป็นพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน
หากนับอายุทางการเมืองของพรรค จึงไล่จากต้นกำเนิดเมื่อประมาณปี 2542 ถึงปัจจุบันก็แค่กว่า 10 ปี ซึ่งนับเป็นพรรษา ทางการเมืองอ่อนด้อย ค่อนข้างไม่ประสีประสาทางการเมืองเอาด้วยซ้ำ แต่การผ่านขวากหนามทางการเมืองอย่างหนักหน่วงโชกโชน ทำให้พรรค กล้าแกร่ง จนสามารถปรับตัวการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ “ช่วงชิงแต้มการ เมือง” ได้อย่างน่าทึ่ง บทเรียนครั้งสำคัญของพรรคการ เมืองแบบทักษิณ คือ ถูกอำนาจกระบวน การยุติธรรมสั่ง “ยุบพรรค” ถึง 2 ครั้ง ทำให้แกนนำคนสำคัญต้องโทษเว้นวรรคการเมือง 5 ปี สถานการณ์พรรคและบทบาททางการเมืองของทักษิณล่อแหลม แทบสูญพันธุ์ทางการเมือง
แต่พรรคการเมืองแบบฉบับของทักษิณกลับประคองตัวอยู่ได้ กระทั่งเติบโต ด้วยพลังมวลชนมาสนับสนุนให้แข็งแกร่ง จนฝ่ายตรงข้ามกลัวศักยภาพประสบการณ์ถูกยุบพรรคทำให้ทักษิณเรียนรู้ในการปรับองค์กรของพรรค เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มถูกยุบพรรคครั้งที่ 3 เอาไว้แต่เนิ่นๆ ปัจจัยบ่งบอกการเตรียมตัวคือ แยก การบริหารพรรคเพื่อไทย ออกจากระบบจัดการทางการเมืองให้ชัดเจน นั่นเท่ากับทำให้คณะผู้บริหารพรรคเพื่อไทยเป็นเพียง “องค์ประกอบ” ไม่ใช่ “ศูนย์กลางการนำ” ทางการเมืองของพรรค สิ่งนี้จึงทำให้ “นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ” ได้ “เกิดทางการเมือง” แบบทักษิณนำพาสถานการณ์ให้เป็นไป
แต่พรรคเพื่อไทยวันนี้ แตกต่างจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนอย่างมากโข เพราะพรรคได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพลังมวลชนราว กับมีกองกำลังมวลชนคอยสนับสนุนและ คอยปกป้องภัยให้แม้พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่พรรคตามแบบฉบับพรรคมวลชน แต่การดำเนินนโยบายทางการเมืองกลับเน้นไป “เพื่อมวลชน” จนถูกประชดประชันว่า เป็นพรรคที่หว่านโรยเม็ดเงินไปตามเส้นทาง “ประชาชนนิยม” เพื่อสร้างฐานทางการเมือง ดังนั้น เมื่อ “ยงยุทธ” ลาออก ประกอบกับพรรคเพื่อไทยเติบโตแข็งแกร่ง ด้วยแนวทาง “พรรคผสมมวลชน” การตัดสินใจเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่จึงต้อง สอดรับกับสถานการณ์ที่พรรคดำรงอยู่แต่อำนาจยังอยู่ใน “กำมือ” ของทักษิณ และเป็นสถานการณ์ที่ทักษิณต้องตัดสินใจยากลำบากยิ่ง เพราะการตัด สินใจแบบเดิมๆ ด้วยการสร้าง “ตัว แทน” มาเป็นหัวหน้าพรรค คงไม่สอดรับกับองค์ประกอบของพรรคเพื่อไทยที่เป็นอยู่ รวมทั้ง “ตัวแทน” แบบญาติ แบบหุ่นเชิดที่มีความงามสง่าแทบไม่มีให้เลือกในพรรค
นักการเมืองใหญ่อย่าง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ผู้โชกโชนการเมืองและรอบรู้เกมมากมายตั้งแต่ดินจดฟ้า ก็ยังไม่โดดเด่นในสายตามวลชนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นักการเมืองผ่านสนามเลือกตั้งมาเนิ่นนาน ก็เป็นเพียงคนรู้จัก แต่ไม่รู้ใจ หันมาหาญาติห่างๆ อย่าง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่เพิ่งเกษียณราชการ ยังไม่เพียงพอกับการตอบโจทย์การสนับสนุนจากมวลชน และกลุ่มก๊กนักเลือกตั้งที่จะเบียดแซงแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าจะเอาเพื่อนที่ชื่อ พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต หรือ พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก ยังไม่สอดรับกับสถานการณ์พรรคที่ต้องต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมืองมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ทักษิณเหลืออยู่ในขณะนี้ และจำเป็นต้องเลือกอย่างยิ่งคือ ใช้หลัก “คนไว้วางใจ” มากำหนดตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่ เหนืออื่นใด บารมีของหัวหน้าพรรคคนใหม่ต้องไม่ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ผู้เป็นน้องสาวต้องดูด้อยค่า หมดราศีทางการเมืองอีกด้วย
นี่คือ สถานการณ์บังคับให้ราศีของ “จาตุรนต์ ฉายแสง” มีแนวโน้มดูดีในตัวเลือก “หัวหน้าพรรค” หนำซ้ำยังโดดเด่นทั้งการผ่านระบบใจตรวจสอบใจ จึงกลายเป็น “คนรู้ใจ” ในสถานการณ์ของพรรคเพื่อไทยที่มีแนวร่วมสนับสนุนอยู่กว้างขวาง ปัญหาใหญ่ของจาตุรนต์คือ ไม่เด็ดขาด มีลักษณะประนีประนอมสูง จนดูเชื่องช้า แต่ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยขณะนี้ อยู่ในสถานการณ์ ต้อง “ประคับประคอง” มวลชน และ “ประนี ประนอม” กับศูนย์กลางอำนาจนอกระบบอีก จึงจำเป็นต้องชูคนยึดมั่น “หลัก การ” และมีองค์ความรู้เพื่อตอบโต้เกมการเมืองจากฝ่ายตรงข้าม ชนิดทันเกมและได้ใจมวลชน
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ที่ผ่านมา การตั้งหัวหน้าพรรคเป็น ไปเพียงให้ครบเงื่อนไขกฎหมายพรรค การเมืองกำหนด ถึงกระนั้นก็ควรมีภาพลักษณ์งามๆ พอไปวัดไปวา นั่งหัวโต๊ะประชุมพอมีสง่าราศี และมีภาวะ “ผู้นำ” ระดับกลางๆ ไม่ต้องโดดเด่นด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยจนสูงสุดเอื้อมสิ่งสำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องคอนโทรลได้ สั่งการเคลื่อนไหว ทางการเมืองได้ ชนิดไม่มีเสียงวอแวกวนใจพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่ถูกสร้างและดำรงอยู่ด้วยการ “ขาย” ภาพลักษณ์ของ “ทักษิณ”
ดังนั้น ทักษิณจึงเป็น “ยี่ห้อ” ทางการเมืองของพรรค เป็นแม่เหล็กดึง มวลชนมาสนับสนุน ส่วน “หัวหน้าพรรค” เป็นแค่ “นักบริหารการเมือง” ราวกับทำหน้าที่เซ็นเอกสารให้กระบวนการทำงานพรรค การเมืองมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้นรวมความแล้ว หัวหน้าพรรคเพื่อ ไทยคนใหม่ ไม่ได้อยู่ที่ความต้องการของ สมาชิกพรรค แต่ขึ้นกับ “คนสร้างพรรค” คือ ทักษิณต้องการให้ใครเป็น ว่ากันตรงๆ แล้ว ทักษิณกับพรรค เพื่อไทยมีความชัดเจนในกระบวนการบริหาร จัดการองค์กรพรรค และสร้าง ภาพลักษณ์ของพรรคจนได้ฉายาว่า “พรรคทักษิณ” มีสโลแกนหาเสียง สวยหรู บ่งบอกยี่ห้อชัดเจนว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” นี่คือชุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยของพรรคแบบทักษิณ
ความชัดเจนของทักษิณและพรรคเพื่อไทยอยู่ตรงที่สังคมรับรู้ว่า เป็นพรรคของใคร ไม่มีการสร้างภาพนักประชาธิปไตยตามต้นฉบับมายาการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำเนินมากว่า 60 ปี พรรคเพื่อไทยมีต้นกำเนิดมาจากพรรคไทยรักไทย แล้วแปรรูปมาเป็นพรรค พลังประชาชน จากนั้นจึง “กลายร่าง” มาเป็นพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน
หากนับอายุทางการเมืองของพรรค จึงไล่จากต้นกำเนิดเมื่อประมาณปี 2542 ถึงปัจจุบันก็แค่กว่า 10 ปี ซึ่งนับเป็นพรรษา ทางการเมืองอ่อนด้อย ค่อนข้างไม่ประสีประสาทางการเมืองเอาด้วยซ้ำ แต่การผ่านขวากหนามทางการเมืองอย่างหนักหน่วงโชกโชน ทำให้พรรค กล้าแกร่ง จนสามารถปรับตัวการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ “ช่วงชิงแต้มการ เมือง” ได้อย่างน่าทึ่ง บทเรียนครั้งสำคัญของพรรคการ เมืองแบบทักษิณ คือ ถูกอำนาจกระบวน การยุติธรรมสั่ง “ยุบพรรค” ถึง 2 ครั้ง ทำให้แกนนำคนสำคัญต้องโทษเว้นวรรคการเมือง 5 ปี สถานการณ์พรรคและบทบาททางการเมืองของทักษิณล่อแหลม แทบสูญพันธุ์ทางการเมือง
แต่พรรคการเมืองแบบฉบับของทักษิณกลับประคองตัวอยู่ได้ กระทั่งเติบโต ด้วยพลังมวลชนมาสนับสนุนให้แข็งแกร่ง จนฝ่ายตรงข้ามกลัวศักยภาพประสบการณ์ถูกยุบพรรคทำให้ทักษิณเรียนรู้ในการปรับองค์กรของพรรค เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มถูกยุบพรรคครั้งที่ 3 เอาไว้แต่เนิ่นๆ ปัจจัยบ่งบอกการเตรียมตัวคือ แยก การบริหารพรรคเพื่อไทย ออกจากระบบจัดการทางการเมืองให้ชัดเจน นั่นเท่ากับทำให้คณะผู้บริหารพรรคเพื่อไทยเป็นเพียง “องค์ประกอบ” ไม่ใช่ “ศูนย์กลางการนำ” ทางการเมืองของพรรค สิ่งนี้จึงทำให้ “นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ” ได้ “เกิดทางการเมือง” แบบทักษิณนำพาสถานการณ์ให้เป็นไป
แต่พรรคเพื่อไทยวันนี้ แตกต่างจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนอย่างมากโข เพราะพรรคได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพลังมวลชนราว กับมีกองกำลังมวลชนคอยสนับสนุนและ คอยปกป้องภัยให้แม้พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่พรรคตามแบบฉบับพรรคมวลชน แต่การดำเนินนโยบายทางการเมืองกลับเน้นไป “เพื่อมวลชน” จนถูกประชดประชันว่า เป็นพรรคที่หว่านโรยเม็ดเงินไปตามเส้นทาง “ประชาชนนิยม” เพื่อสร้างฐานทางการเมือง ดังนั้น เมื่อ “ยงยุทธ” ลาออก ประกอบกับพรรคเพื่อไทยเติบโตแข็งแกร่ง ด้วยแนวทาง “พรรคผสมมวลชน” การตัดสินใจเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่จึงต้อง สอดรับกับสถานการณ์ที่พรรคดำรงอยู่แต่อำนาจยังอยู่ใน “กำมือ” ของทักษิณ และเป็นสถานการณ์ที่ทักษิณต้องตัดสินใจยากลำบากยิ่ง เพราะการตัด สินใจแบบเดิมๆ ด้วยการสร้าง “ตัว แทน” มาเป็นหัวหน้าพรรค คงไม่สอดรับกับองค์ประกอบของพรรคเพื่อไทยที่เป็นอยู่ รวมทั้ง “ตัวแทน” แบบญาติ แบบหุ่นเชิดที่มีความงามสง่าแทบไม่มีให้เลือกในพรรค
นักการเมืองใหญ่อย่าง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ผู้โชกโชนการเมืองและรอบรู้เกมมากมายตั้งแต่ดินจดฟ้า ก็ยังไม่โดดเด่นในสายตามวลชนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นักการเมืองผ่านสนามเลือกตั้งมาเนิ่นนาน ก็เป็นเพียงคนรู้จัก แต่ไม่รู้ใจ หันมาหาญาติห่างๆ อย่าง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่เพิ่งเกษียณราชการ ยังไม่เพียงพอกับการตอบโจทย์การสนับสนุนจากมวลชน และกลุ่มก๊กนักเลือกตั้งที่จะเบียดแซงแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าจะเอาเพื่อนที่ชื่อ พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต หรือ พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก ยังไม่สอดรับกับสถานการณ์พรรคที่ต้องต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมืองมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ทักษิณเหลืออยู่ในขณะนี้ และจำเป็นต้องเลือกอย่างยิ่งคือ ใช้หลัก “คนไว้วางใจ” มากำหนดตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่ เหนืออื่นใด บารมีของหัวหน้าพรรคคนใหม่ต้องไม่ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ผู้เป็นน้องสาวต้องดูด้อยค่า หมดราศีทางการเมืองอีกด้วย
นี่คือ สถานการณ์บังคับให้ราศีของ “จาตุรนต์ ฉายแสง” มีแนวโน้มดูดีในตัวเลือก “หัวหน้าพรรค” หนำซ้ำยังโดดเด่นทั้งการผ่านระบบใจตรวจสอบใจ จึงกลายเป็น “คนรู้ใจ” ในสถานการณ์ของพรรคเพื่อไทยที่มีแนวร่วมสนับสนุนอยู่กว้างขวาง ปัญหาใหญ่ของจาตุรนต์คือ ไม่เด็ดขาด มีลักษณะประนีประนอมสูง จนดูเชื่องช้า แต่ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยขณะนี้ อยู่ในสถานการณ์ ต้อง “ประคับประคอง” มวลชน และ “ประนี ประนอม” กับศูนย์กลางอำนาจนอกระบบอีก จึงจำเป็นต้องชูคนยึดมั่น “หลัก การ” และมีองค์ความรู้เพื่อตอบโต้เกมการเมืองจากฝ่ายตรงข้าม ชนิดทันเกมและได้ใจมวลชน
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น