คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติว่า
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ กระทำผิดวินัยร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ กรณี
ที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์เมื่อครั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยปี 2543
ป.ป.ช.ส่งหนังสือสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา “ลงโทษ” นายยงยุทธ
และที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย เมื่อ วันที่
14 กันยายน 2555 จึงอยู่ใน “ภาวะจำยอม” มีมติ “ลงโทษไล่นายยงยุทธออกจากราชการ”
แต่ห้อยท้ายด้วย “ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 30 กันยายน 2545”
กรณีของนายยงยุทธ คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน ได้อ้างเหตุผลตามความ เห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า เข้าข่าย เงื่อนไขของกฎหมายล้างมลทินปี 2550 การอธิบายของ อ.ก.พ. เหมือนง่ายๆ เพื่อให้ทุกอย่างจบและสงบเงียบ แต่ตรงกัน ข้ามกลับเต็มไปด้วยความยุ่งยาก คลุมเครือ จนเกิดช่องว่างให้พรรคประชาธิปัตย์แทรกตัว มาหยิบ “ความยุ่งยาก” ไปขยายผลสู่เกมการเมืองถล่มนายยงยุทธว่า เป็นบุคคลมีสถานภาพขัดรัฐธรรมนูญ
* เกมรุก “ประชาธิปัตย์”
ลึกๆ แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเล่นงานนายยงยุทธ ใน 2 ระดับ คือ 1 ให้สังคมวิจารณ์ โจมตีจริยธรรมทางการเมือง และ 2 ให้นายยงยุทธหลุดจาก ส.ส. และ รัฐมนตรีมหาดไทย เพื่อทำให้ความเชื่อมั่นของรัฐบาลระส่ำระสาย นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้พิจารณาความผิดของนายยงยุทธ และเตรียมยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ “การเป็น ส.ส.และรัฐมนตรี” ว่า “ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่”
สิ่งนี้ กลายเป็นจุดเริ่มของเกมการ เมืองที่โหมรุกให้ตำแหน่ง “ส.ส.และรัฐมนตรี” ของนายยงยุทธต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมอย่างยิ่ง การตีความ “การเป็น ส.ส.และรัฐมนตรี” นั้น พรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่า โทษ “ไล่ออก” ของนายยงยุทธ เข้าข่ายลักษณะ “ต้องห้าม” ในตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งควรส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นข้อยุติ
แนวโน้มท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นไปได้ว่า ต้องนำเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหวังผล “วัดใจ” ตุลาการศาล รัฐธรรมนูญในข้อกฎหมายและต้องการเน้น ให้สังคมเกิดการวิพากษ์วิจารณ์จริยธรรมนักการเมือง โดยเฉพาะบุคคลดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีบริหารประเทศจึงต้องมีจริยธรรมที่สูงกว่านักการเมืองทั่วๆ ไป
ประเด็นในข้อกฎหมายขึ้นอยู่กับการตีความของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 102 (6) ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามสำคัญในการใช้ เล่นงานนายยงยุทธ สาระสำคัญของมาตรา นี้อยู่ที่ “โทษทางวินัยข้าราชการ” ซึ่งไม่ใช่ “ความผิด” รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดลักษณะต้องห้ามของ ส.ส.และรัฐมนตรี เชื่อมโยงกัน ไว้หลายมาตรา นับตั้งแต่มาตรา 182, 174, 102 และประกอบด้วยมาตรา 91
พิจารณา “โทษ” ของนายยงยุทธ ย่อมเข้าข่ายตามมาตรา 182 (5) ซึ่งกำหนด ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว “เมื่อ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 174” ในมาตรา 174 (4) กำหนดคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรีว่า “ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (6)” แก่นกลางของมาตรา 102 เป็นลักษณะต้องห้ามบุคคล มิให้ใช้สิทธิสมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ใน (6) กำหนดว่า “เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือ ถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ”
ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างของนายยงยุทธ เข้าข่ายรัฐธรรมนูญทุกมาตราที่กำหนด “คุณสมบัติต้องห้าม” ไว้ จนยากจะดิ้นหลุด ไม่เพียงเท่านั้น กรณีนายยงยุทธยังถูกลากยาวไปสู่การสิ้นสมาชิกภาพ ส.ส. ตามมาตรา 106 (5) ที่กำหนดว่า “มีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา 102” อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม “โทษไล่ออก” ของนายยงยุทธ แม้มีคำสั่งให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 30 กันยายน 2545 ซึ่งเป็นวันเกษียณ ราชการนั้น แต่ได้รับผลของกฎหมายล้างมลทินปี 2550 ตามมาตรา 5 ซึ่งกำหนดว่า “ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษ ทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือทัณฑ์บนทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์บนในกรณีนั้นๆ” ดูเหมือนนายยงยุทธมีตัวช่วยให้รอด ตัวจากคุณสมบัติข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหายังไม่จบง่ายๆ
ควรขีดเส้นใต้หนาๆ กับวลี “เคย” เพราะเป็นการบ่งชี้ถึงลักษณะโทษที่มีมิติกว้างขวางอย่างยิ่ง และวลีนี้ยังบ่งถึงตำแหน่ง ทางการเมืองของนายยงยุทธอย่างยิ่ง อาจ ตกอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมวลีว่า “เคยถูกไล่ออก” นั้น พรรคประชาธิปัตย์มุ่งหวังให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความในด้านการบังคับแบบเด็ดขาดเป็นการเฉพาะกับนักการเมือง เพื่อนำมาเล่นงานนายยงยุทธ พร้อมๆ กับเป็นการ สร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองขึ้นมาใหม่ให้เป็นมาตรฐาน
หากพรรคประชาธิปัตย์นำกรณีนายยงยุทธไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญจริงแล้ว ย่อมมี ความเป็นไปได้สูงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะใช้ “พจนานุกรม” มาหาคำจำกัดความคำว่า “เคย” แล้วมัดเป็นข้อกฎหมายมาใช้เล่นงานนายยงยุทธได้ คำว่า “เคย” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี 2542 ให้ความหมายว่า ได้เป็นมาแล้ว, ปฏิบัติมาแล้ว โดยอธิบาย ถึงคำที่ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้นๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว หรือ เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว
การใช้พจนานุกรมมาให้คำนิยามข้อกฎหมายนั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วในเหตุการณ์ ทางการเมือง 2 กรณี กรณีที่ชัดเจนคือ เหตุการณ์นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นิยามคำว่า “ลูกจ้าง” ตามความหมายของ พจนานุกรม อีกกรณีล่าสุด ป.ป.ช.ใช้พจนานุกรมมานิยามคำว่า “แทรกแซงหรือก้าวก่าย” มาอธิบายข้อกฎหมายชี้ความผิดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จนนำไปสู่การยื่นเรื่อง ให้วุฒิสภาลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือไม่ด้วย ดังนั้น ในด้านกฎหมายนายยงยุทธอาจมีโอกาสรอดข้อกล่าวหา เพราะมีกฎหมาย ล้างมลทินปี 2550 มาเป็นตัวช่วย แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญคำนึงถึงด้าน “จริยธรรมนักการเมือง” แล้วนำมาเป็นองค์ ประกอบการการวินิจฉัย ย่อมทำให้ตำแหน่ง ทางการเมืองมีโอกาสสั่นสะเทือนได้สูง
* ก้าวข้ามข้อกฎหมาย
เป็นไปตามคาดว่า นายยงยุทธ ลาออกจาก รมว.กระทรวงมหาดไทย และรองนายกรัฐมนตรี ตามเสียงเรียกร้องของพรรคประชาธิปัตย์และวุฒิสภากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กดดันอย่างหนักในขณะนี้ เพราะนายยงยุทธได้หันหน้ามาต่อสู้ และดูเหมือนเขามั่นใจความบริสุทธิ์ของตัวเองว่า ไม่ผิดข้อกฎหมาย เนื่องจากได้กฎหมาย ล้างมลทินปี 2550 มาปกป้องสถานภาพทาง การเมืองของเขาไว้
ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตัดสินใจเปิดเกมรุกทางการเมืองก่อนพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการยื่นหนังสือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบคุณสมบัติทาง การเมืองของตัวเอง เกมนี้คือ ช่วงชิงเหตุผลมาเป็นข้ออ้าง จากแรงกดดันให้ลาออก
หากพิจารณาบนพื้นฐาน “เกมการเมือง” แล้ว มีความเป็นไปได้ว่า กกต.คงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดตาม ช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคสาม ที่กำหนดให้กระทำได้ ดังนั้น กรณีของนายยงยุทธ อย่างน้อยมีข้อพิจารณา 2 ประการสำคัญ คือ 1.นายยงยุทธ ในฐานะข้าราชการกระทรวง มหาดไทยได้รับโทษ “ไล่ออก” จากราชการแล้วหรือไม่ และ 2.โทษของนายยงยุทธจะกระทบต่อตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบันนี้หรือไม่
เมื่อพิจารณาเฉพาะ “โทษไล่ออก” ของนายยงยุทธแล้ว ย่อมเข้าข่ายตามลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็น ส.ส.และรัฐมนตรีอย่างชัดเจน แต่ได้ประโยชน์จากกฎหมายล้างมลทินปี 2550 ตามมาตรา 5 ซึ่งกำหนดว่า “ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือทัณฑ์บนทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ โดยให้ถือว่า ผู้นั้น “มิได้เคยถูกลงโทษ” หรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ”
ผลของคำสั่งให้ย้อนหลังจึงเท่ากับว่า นายยงยุทธ “ได้รับโทษ” แล้ว และโทษ ดังกล่าวนั้นได้เปลี่ยนสถานภาพ “ข้าราชการ” จาก “เกษียณราชการ” กลายเป็นถูกไล่ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2545 แต่ความผิดของนายยงยุทธ เกิดขึ้นเมื่อปี 2543 และถูกลงโทษเมื่อกันยายน 2545 ในระหว่างมีความผิดและการลงโทษที่เกิดขึ้นนั้น ในปี 2550 มีกฎหมายล้าง มลทินมาบังคับใช้
นายยงยุทธจึงเข้าข่ายตามเงื่อนไขของกฎหมายนี้ทุกประการ ประกอบกับกฤษฎีกาได้ยกกรณีคดี ที่ 440/2526 มาเทียบเคียงกรณีผู้กระทำผิดได้เกษียณราชการ ซึ่งระบุว่า “ผู้บังคับบัญชาจะมีคำสั่งลงโทษภายหลังจากที่พระราชบัญญัติล้างมลทินใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ถ้าผลของคำสั่งลงโทษนั้น ทำให้ข้าราชการผู้ใดได้รับโทษก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ใช้บังคับแล้ว ข้าราชการผู้นั้นย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย”
นายยงยุทธ เกษียณราชการเมื่อ 30 กันยายน 2545 ดังนั้นมติ อกพ.มหาดไทยจึงย้อนหลังไปในวันที่ 30 กันยายน 2545 เขาโชคดีได้ประโยชน์จากกฎหมายอีก แต่ความจริงในปัจจุบันคือ สถานภาพ ของนายยงยุทธ ในฐานะ “ความเป็นมนุษย์” เขายัง “มีความผิดวินัยร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ” ติดตัว นั่นเท่ากับบ่งบอกพื้นฐานจิตใจอยู่ลึกๆ และยากจะสลัดออกได้ ส่วนการบังคับใช้โทษบนฐานความผิด นี้ ได้ถูกลบล้างด้วยกฎหมายล้างมลทินปี 2550 ตามมาตรา 5 มนุษย์เมื่อมีปมความผิดร้ายแรงอันเป็นที่ชิงชังของสังคมถูกทับถมอยู่ในใจลึกๆ แม้มีอิสระจากโทษ แต่ไม่สามารถล้างประวัติ ในเครดิตบูโรชีวิตให้ขาวสะอาดได้ ช่างเป็น อาการทรมานยิ่ง
* สถานการณ์อันตราย
กรณีของนายยงยุทธ นอกจากข้อกฎหมายมีความสำคัญแล้ว ในด้านจริยธรรมนักการเมืองอาจทำให้ลากไปเกี่ยวข้อง กับประเด็นข้อกฎหมายได้อย่างระทึกและน่าสนใจ น่าสนใจกับวลีที่ว่า “เคยถูกไล่ออก” แม้ความหมายตามตัวอักษรเข้าใจได้ง่ายๆ แต่สาระสำคัญในข้อกฎหมายตามมาตรา 102 (6) มีลักษณะเป็นการกำหนดคุณธรรม ของนักการเมืองที่ควรจะมีในระดับสูงเหนือ กว่าบุคคลทั่วไป ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้การตีความกฎหมายอย่าง เคร่งครัด เพื่อกำหนดคุณธรรมและจริยธรรม ของนักการเมืองไว้เป็นมาตรฐาน และสิ่งสำคัญคือ กฎหมายล้างมลทิน มีสาระหลักอยู่ที่การ “ล้างโทษ” ไม่ได้ล้าง “ความผิด” ซึ่งความผิดเป็นการสะท้อนถึงคุณธรรมและจริยธรรมของพฤติกรรมมนุษย์
แม้นายยงยุทธได้รับการล้างโทษตาม กฎหมายล้างมลทิน แต่ในด้านจริยธรรมนักการเมืองแล้ว อาจมีความเป็นไปได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่นำมา “ลบล้าง” วลี “เคยถูกไล่ออก” ดังนั้น ในด้านคุณธรรมและจริยธรรมนักการเมืองนายยงยุทธจึงมีความเสี่ยงสูง และมีแนวโน้ม “ตายน้ำตื้น” กับการตีความกฎหมายแบบเด็ดขาด
ขณะนี้ สถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในช่วงกลุ่มอำนาจต่อต้านพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลพยายาม “สะสมพลัง” ให้มีคุณภาพเพื่อกดดันรัฐบาล ปัจจัยที่จะทำให้กลุ่มต่อต้านมีพลังมากขึ้นคือ การทำลายความเชื่อมั่นรัฐบาล รัฐมนตรี ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม พลังอื่นๆ จึงเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบไม่ ต้องคิดมาก เพราะไม่มีอะไรต้องสูญเสียอีกการกดดันให้ล้มโครงการจำนำข้าว การโจมตีด้านการทุจริต แล้วมาถึงกรณีของ นายยงยุทธ ที่เป็นการโจมตีด้านจริยธรรมนักการเมืองเป็นหลัก มากกว่าจะมุ่งเล่นงาน ด้านกฎหมาย บนสถานการณ์ความกดดันเหล่านี้ พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพลังต่อต้านได้รับการตอบรับจากสื่อมวลชนนำไปขยายผลและวิจารณ์ให้รัฐบาลเกิดการเสียหายทางการเมืองอย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกล่าวเฉพาะกรณีนายยงยุทธแล้ว นับว่าเป็นเกมที่กลุ่มพลังต่อต้านได้รุกกดดัน และมีอำนาจในการกำหนดผล คือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมี “เกม” อำนาจการ เมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การวินิจฉัย ในข้อกฎหมายจึงเป็นด้านรอง สิ่งสำคัญอยู่ที่การนำเหตุผลด้านคุณธรรมและจริยธรรมนักการเมืองมาตีความข้อกฎหมาย เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ย่อมมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้น เครดิตบูโรชีวิตของนายยงยุทธที่ไม่อาจล้างให้หมดจดได้ ย่อมส่อสัญญาณให้ตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมและอันตรายยิ่งดิ้นรอดยากจริงๆ นอกจากตัดใจ “ลาออก” หรือจะปล่อยให้ถูก “ปลดออก” ซ้ำสองก็ควรเลือกเอา
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
กรณีของนายยงยุทธ คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน ได้อ้างเหตุผลตามความ เห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า เข้าข่าย เงื่อนไขของกฎหมายล้างมลทินปี 2550 การอธิบายของ อ.ก.พ. เหมือนง่ายๆ เพื่อให้ทุกอย่างจบและสงบเงียบ แต่ตรงกัน ข้ามกลับเต็มไปด้วยความยุ่งยาก คลุมเครือ จนเกิดช่องว่างให้พรรคประชาธิปัตย์แทรกตัว มาหยิบ “ความยุ่งยาก” ไปขยายผลสู่เกมการเมืองถล่มนายยงยุทธว่า เป็นบุคคลมีสถานภาพขัดรัฐธรรมนูญ
* เกมรุก “ประชาธิปัตย์”
ลึกๆ แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ต้องการเล่นงานนายยงยุทธ ใน 2 ระดับ คือ 1 ให้สังคมวิจารณ์ โจมตีจริยธรรมทางการเมือง และ 2 ให้นายยงยุทธหลุดจาก ส.ส. และ รัฐมนตรีมหาดไทย เพื่อทำให้ความเชื่อมั่นของรัฐบาลระส่ำระสาย นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้พิจารณาความผิดของนายยงยุทธ และเตรียมยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ “การเป็น ส.ส.และรัฐมนตรี” ว่า “ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่”
สิ่งนี้ กลายเป็นจุดเริ่มของเกมการ เมืองที่โหมรุกให้ตำแหน่ง “ส.ส.และรัฐมนตรี” ของนายยงยุทธต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมอย่างยิ่ง การตีความ “การเป็น ส.ส.และรัฐมนตรี” นั้น พรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่า โทษ “ไล่ออก” ของนายยงยุทธ เข้าข่ายลักษณะ “ต้องห้าม” ในตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งควรส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นข้อยุติ
แนวโน้มท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นไปได้ว่า ต้องนำเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหวังผล “วัดใจ” ตุลาการศาล รัฐธรรมนูญในข้อกฎหมายและต้องการเน้น ให้สังคมเกิดการวิพากษ์วิจารณ์จริยธรรมนักการเมือง โดยเฉพาะบุคคลดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีบริหารประเทศจึงต้องมีจริยธรรมที่สูงกว่านักการเมืองทั่วๆ ไป
ประเด็นในข้อกฎหมายขึ้นอยู่กับการตีความของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 102 (6) ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามสำคัญในการใช้ เล่นงานนายยงยุทธ สาระสำคัญของมาตรา นี้อยู่ที่ “โทษทางวินัยข้าราชการ” ซึ่งไม่ใช่ “ความผิด” รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดลักษณะต้องห้ามของ ส.ส.และรัฐมนตรี เชื่อมโยงกัน ไว้หลายมาตรา นับตั้งแต่มาตรา 182, 174, 102 และประกอบด้วยมาตรา 91
พิจารณา “โทษ” ของนายยงยุทธ ย่อมเข้าข่ายตามมาตรา 182 (5) ซึ่งกำหนด ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว “เมื่อ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 174” ในมาตรา 174 (4) กำหนดคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรีว่า “ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (6)” แก่นกลางของมาตรา 102 เป็นลักษณะต้องห้ามบุคคล มิให้ใช้สิทธิสมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ใน (6) กำหนดว่า “เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือ ถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ”
ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างของนายยงยุทธ เข้าข่ายรัฐธรรมนูญทุกมาตราที่กำหนด “คุณสมบัติต้องห้าม” ไว้ จนยากจะดิ้นหลุด ไม่เพียงเท่านั้น กรณีนายยงยุทธยังถูกลากยาวไปสู่การสิ้นสมาชิกภาพ ส.ส. ตามมาตรา 106 (5) ที่กำหนดว่า “มีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา 102” อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม “โทษไล่ออก” ของนายยงยุทธ แม้มีคำสั่งให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 30 กันยายน 2545 ซึ่งเป็นวันเกษียณ ราชการนั้น แต่ได้รับผลของกฎหมายล้างมลทินปี 2550 ตามมาตรา 5 ซึ่งกำหนดว่า “ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษ ทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือทัณฑ์บนทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์บนในกรณีนั้นๆ” ดูเหมือนนายยงยุทธมีตัวช่วยให้รอด ตัวจากคุณสมบัติข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหายังไม่จบง่ายๆ
ควรขีดเส้นใต้หนาๆ กับวลี “เคย” เพราะเป็นการบ่งชี้ถึงลักษณะโทษที่มีมิติกว้างขวางอย่างยิ่ง และวลีนี้ยังบ่งถึงตำแหน่ง ทางการเมืองของนายยงยุทธอย่างยิ่ง อาจ ตกอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมวลีว่า “เคยถูกไล่ออก” นั้น พรรคประชาธิปัตย์มุ่งหวังให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความในด้านการบังคับแบบเด็ดขาดเป็นการเฉพาะกับนักการเมือง เพื่อนำมาเล่นงานนายยงยุทธ พร้อมๆ กับเป็นการ สร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองขึ้นมาใหม่ให้เป็นมาตรฐาน
หากพรรคประชาธิปัตย์นำกรณีนายยงยุทธไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญจริงแล้ว ย่อมมี ความเป็นไปได้สูงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะใช้ “พจนานุกรม” มาหาคำจำกัดความคำว่า “เคย” แล้วมัดเป็นข้อกฎหมายมาใช้เล่นงานนายยงยุทธได้ คำว่า “เคย” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี 2542 ให้ความหมายว่า ได้เป็นมาแล้ว, ปฏิบัติมาแล้ว โดยอธิบาย ถึงคำที่ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้นๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว หรือ เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว
การใช้พจนานุกรมมาให้คำนิยามข้อกฎหมายนั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วในเหตุการณ์ ทางการเมือง 2 กรณี กรณีที่ชัดเจนคือ เหตุการณ์นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นิยามคำว่า “ลูกจ้าง” ตามความหมายของ พจนานุกรม อีกกรณีล่าสุด ป.ป.ช.ใช้พจนานุกรมมานิยามคำว่า “แทรกแซงหรือก้าวก่าย” มาอธิบายข้อกฎหมายชี้ความผิดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จนนำไปสู่การยื่นเรื่อง ให้วุฒิสภาลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือไม่ด้วย ดังนั้น ในด้านกฎหมายนายยงยุทธอาจมีโอกาสรอดข้อกล่าวหา เพราะมีกฎหมาย ล้างมลทินปี 2550 มาเป็นตัวช่วย แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญคำนึงถึงด้าน “จริยธรรมนักการเมือง” แล้วนำมาเป็นองค์ ประกอบการการวินิจฉัย ย่อมทำให้ตำแหน่ง ทางการเมืองมีโอกาสสั่นสะเทือนได้สูง
* ก้าวข้ามข้อกฎหมาย
เป็นไปตามคาดว่า นายยงยุทธ ลาออกจาก รมว.กระทรวงมหาดไทย และรองนายกรัฐมนตรี ตามเสียงเรียกร้องของพรรคประชาธิปัตย์และวุฒิสภากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กดดันอย่างหนักในขณะนี้ เพราะนายยงยุทธได้หันหน้ามาต่อสู้ และดูเหมือนเขามั่นใจความบริสุทธิ์ของตัวเองว่า ไม่ผิดข้อกฎหมาย เนื่องจากได้กฎหมาย ล้างมลทินปี 2550 มาปกป้องสถานภาพทาง การเมืองของเขาไว้
ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตัดสินใจเปิดเกมรุกทางการเมืองก่อนพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการยื่นหนังสือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบคุณสมบัติทาง การเมืองของตัวเอง เกมนี้คือ ช่วงชิงเหตุผลมาเป็นข้ออ้าง จากแรงกดดันให้ลาออก
หากพิจารณาบนพื้นฐาน “เกมการเมือง” แล้ว มีความเป็นไปได้ว่า กกต.คงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดตาม ช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคสาม ที่กำหนดให้กระทำได้ ดังนั้น กรณีของนายยงยุทธ อย่างน้อยมีข้อพิจารณา 2 ประการสำคัญ คือ 1.นายยงยุทธ ในฐานะข้าราชการกระทรวง มหาดไทยได้รับโทษ “ไล่ออก” จากราชการแล้วหรือไม่ และ 2.โทษของนายยงยุทธจะกระทบต่อตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบันนี้หรือไม่
เมื่อพิจารณาเฉพาะ “โทษไล่ออก” ของนายยงยุทธแล้ว ย่อมเข้าข่ายตามลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็น ส.ส.และรัฐมนตรีอย่างชัดเจน แต่ได้ประโยชน์จากกฎหมายล้างมลทินปี 2550 ตามมาตรา 5 ซึ่งกำหนดว่า “ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือทัณฑ์บนทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ โดยให้ถือว่า ผู้นั้น “มิได้เคยถูกลงโทษ” หรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ”
ผลของคำสั่งให้ย้อนหลังจึงเท่ากับว่า นายยงยุทธ “ได้รับโทษ” แล้ว และโทษ ดังกล่าวนั้นได้เปลี่ยนสถานภาพ “ข้าราชการ” จาก “เกษียณราชการ” กลายเป็นถูกไล่ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2545 แต่ความผิดของนายยงยุทธ เกิดขึ้นเมื่อปี 2543 และถูกลงโทษเมื่อกันยายน 2545 ในระหว่างมีความผิดและการลงโทษที่เกิดขึ้นนั้น ในปี 2550 มีกฎหมายล้าง มลทินมาบังคับใช้
นายยงยุทธจึงเข้าข่ายตามเงื่อนไขของกฎหมายนี้ทุกประการ ประกอบกับกฤษฎีกาได้ยกกรณีคดี ที่ 440/2526 มาเทียบเคียงกรณีผู้กระทำผิดได้เกษียณราชการ ซึ่งระบุว่า “ผู้บังคับบัญชาจะมีคำสั่งลงโทษภายหลังจากที่พระราชบัญญัติล้างมลทินใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ถ้าผลของคำสั่งลงโทษนั้น ทำให้ข้าราชการผู้ใดได้รับโทษก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ใช้บังคับแล้ว ข้าราชการผู้นั้นย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย”
นายยงยุทธ เกษียณราชการเมื่อ 30 กันยายน 2545 ดังนั้นมติ อกพ.มหาดไทยจึงย้อนหลังไปในวันที่ 30 กันยายน 2545 เขาโชคดีได้ประโยชน์จากกฎหมายอีก แต่ความจริงในปัจจุบันคือ สถานภาพ ของนายยงยุทธ ในฐานะ “ความเป็นมนุษย์” เขายัง “มีความผิดวินัยร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ” ติดตัว นั่นเท่ากับบ่งบอกพื้นฐานจิตใจอยู่ลึกๆ และยากจะสลัดออกได้ ส่วนการบังคับใช้โทษบนฐานความผิด นี้ ได้ถูกลบล้างด้วยกฎหมายล้างมลทินปี 2550 ตามมาตรา 5 มนุษย์เมื่อมีปมความผิดร้ายแรงอันเป็นที่ชิงชังของสังคมถูกทับถมอยู่ในใจลึกๆ แม้มีอิสระจากโทษ แต่ไม่สามารถล้างประวัติ ในเครดิตบูโรชีวิตให้ขาวสะอาดได้ ช่างเป็น อาการทรมานยิ่ง
* สถานการณ์อันตราย
กรณีของนายยงยุทธ นอกจากข้อกฎหมายมีความสำคัญแล้ว ในด้านจริยธรรมนักการเมืองอาจทำให้ลากไปเกี่ยวข้อง กับประเด็นข้อกฎหมายได้อย่างระทึกและน่าสนใจ น่าสนใจกับวลีที่ว่า “เคยถูกไล่ออก” แม้ความหมายตามตัวอักษรเข้าใจได้ง่ายๆ แต่สาระสำคัญในข้อกฎหมายตามมาตรา 102 (6) มีลักษณะเป็นการกำหนดคุณธรรม ของนักการเมืองที่ควรจะมีในระดับสูงเหนือ กว่าบุคคลทั่วไป ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้การตีความกฎหมายอย่าง เคร่งครัด เพื่อกำหนดคุณธรรมและจริยธรรม ของนักการเมืองไว้เป็นมาตรฐาน และสิ่งสำคัญคือ กฎหมายล้างมลทิน มีสาระหลักอยู่ที่การ “ล้างโทษ” ไม่ได้ล้าง “ความผิด” ซึ่งความผิดเป็นการสะท้อนถึงคุณธรรมและจริยธรรมของพฤติกรรมมนุษย์
แม้นายยงยุทธได้รับการล้างโทษตาม กฎหมายล้างมลทิน แต่ในด้านจริยธรรมนักการเมืองแล้ว อาจมีความเป็นไปได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่นำมา “ลบล้าง” วลี “เคยถูกไล่ออก” ดังนั้น ในด้านคุณธรรมและจริยธรรมนักการเมืองนายยงยุทธจึงมีความเสี่ยงสูง และมีแนวโน้ม “ตายน้ำตื้น” กับการตีความกฎหมายแบบเด็ดขาด
ขณะนี้ สถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในช่วงกลุ่มอำนาจต่อต้านพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลพยายาม “สะสมพลัง” ให้มีคุณภาพเพื่อกดดันรัฐบาล ปัจจัยที่จะทำให้กลุ่มต่อต้านมีพลังมากขึ้นคือ การทำลายความเชื่อมั่นรัฐบาล รัฐมนตรี ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม พลังอื่นๆ จึงเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบไม่ ต้องคิดมาก เพราะไม่มีอะไรต้องสูญเสียอีกการกดดันให้ล้มโครงการจำนำข้าว การโจมตีด้านการทุจริต แล้วมาถึงกรณีของ นายยงยุทธ ที่เป็นการโจมตีด้านจริยธรรมนักการเมืองเป็นหลัก มากกว่าจะมุ่งเล่นงาน ด้านกฎหมาย บนสถานการณ์ความกดดันเหล่านี้ พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพลังต่อต้านได้รับการตอบรับจากสื่อมวลชนนำไปขยายผลและวิจารณ์ให้รัฐบาลเกิดการเสียหายทางการเมืองอย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกล่าวเฉพาะกรณีนายยงยุทธแล้ว นับว่าเป็นเกมที่กลุ่มพลังต่อต้านได้รุกกดดัน และมีอำนาจในการกำหนดผล คือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมี “เกม” อำนาจการ เมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การวินิจฉัย ในข้อกฎหมายจึงเป็นด้านรอง สิ่งสำคัญอยู่ที่การนำเหตุผลด้านคุณธรรมและจริยธรรมนักการเมืองมาตีความข้อกฎหมาย เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ย่อมมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้น เครดิตบูโรชีวิตของนายยงยุทธที่ไม่อาจล้างให้หมดจดได้ ย่อมส่อสัญญาณให้ตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมและอันตรายยิ่งดิ้นรอดยากจริงๆ นอกจากตัดใจ “ลาออก” หรือจะปล่อยให้ถูก “ปลดออก” ซ้ำสองก็ควรเลือกเอา
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น