ข้าราชการส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศรอรับประทานแห้วเงิน 1.5 หมื่น บาท หึ่ง!รัฐบาลไม่มีจ่าย หลังยอดสูงถึง 6,200 ล้านบาท เผยผู้บริหารท้องถิ่น วิ่งเต้นหางบฯลงพื้นที่ ถึงกับ “กลืนเลือด” ยอมจ่าย “แป๊ะเจี๊ยะ” อ้อนรัฐโอนเงินส่วนปรับเพิ่มมาให้ด่วน ขู่คุยไม่รู้เรื่องล้มกระดานทันที ด้านรองอธิบดีกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นระบุ อปท.เกือบทั่วประเทศใช้จ่ายงบฯประจำเกิน 40% เผยงบปีี56 ท้องถิ่นเล่นกลซุกยอดเงินเพื่อให้ดูเพิ่มขึ้น
ขณะนี้ได้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นและพนักงานจ้างท้องถิ่นทั่วประเทศ กรณีรัฐบาลมีนโยบาย ปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้กับข้าราชการ และพนักงาน จำนวน 15,000 บาทในกรณีบุคคลมีวุฒิปริญญาตรี และ 9,000 บาท กรณีวุฒิประกาศนียบัตรชั้นสูง(ปวส.)นั้น แม้ว่าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะมีมติเมื่อวันที่ 4 ก.ย.55 เห็นชอบในหลักการให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันข้าราชการท้องถิ่นก็ยังไม่ได้รับเงินแม้แต่แห่งเดียว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเลื่อมใส ใจแจ้ง กรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น(ก.ถ.) กล่าวว่า ก.ถ.มีมติให้มีการปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการส่วนท้องถิ่นใหม่แล้ว โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 11 ธ.ค.51 อันเป็นวันเดียวกับที่ข้าราชการพลเรือนมีการเปลี่ยนจากระบบซีไปเป็นระบบแท่งเงินเดือน แต่ก็มีกรรมการ ก.ถ.หลายคนเป็นห่วงว่าจะกระทบกับฐานะการคลังของท้องถิ่น และไม่รู้ว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายชดเชยให้
นายวีรวัฒน์ ภักตรนิกร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร ประธานสันนิบาตเทศบาลภาคอีสาน กล่าวว่า หากรัฐบาลคุยกันไม่รู้เรื่องก็จะล้มกระดานทันที เพราะรับปากมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันท้องถิ่นเดือดร้อนอย่างหนัก จึงอยากให้เข้าใจท้องถิ่นด้วย
ด้านนายศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล ปลัดเทศบาลตำบลบางงา อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ในฐานะประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครได้รับเงินที่รัฐบาลรับปากว่าจะดำเนินการจ่ายให้ โดยเทศบาลตำบลบางงา ก็ทำยอดสรุปส่งไปให้ส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะหาเงินที่ไหนมาให้ เพราะยอดเงินต่าง ๆ ได้ถูกวางแผนไว้หมดแล้ว่าจะนำไปใช้จ่ายอะไร
“ปัจจุบันผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่งต้องวิ่งเต้นงบประมาณ และก็มีการตกลงกันว่าต้องมีเงินทอน หากรับได้ก็นำงบไปพัฒนาพื้นที่ได้ แต่หากรับไม่ได้ก็ไม่ได้เงินในโครงการดังกล่าว เพราะมีท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่สามารถรับเงื่อนไขได้ หากผู้บริหารท้องถิ่นไม่ทำอย่างนั้นก็จะไม่มีเงินมาพัฒนาพื้นที่ ไม่มีผลงาน ชาวบ้านก็จะว่าเอาได้ ดังนั้นจึงขอร้องให้รัฐบาลโอนเงินในส่วนการปรับเพิ่มมาให้ท้องถิ่นด้วย เพราะท้องถิ่นทั่วประเทศรออยู่”นายศักดิพงศ์ กล่าว
ขณะที่นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ข้อมูลในการประชุม ก.ถ.เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ว่า ปัจจุบันท้องถิ่นใช้จ่ายเงินในหมวดเงินเดือน และรายจ่ายประจำเกินกว่าที่ พ.ร.บ.การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดคือเกินกว่าร้อยละ 40 เกือบทั่วประเทศ มีเพียง 3 จังหวัดที่ไม่เกินนั่นคือ ภูเก็ต ระนอง และระยอง ทำให้กระทบกับฐานการคลังของท้องถิ่นทั่วประเทศ
ทั้งนี้ยอดเงินที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.)สำรวจในเบื้องต้นเพื่อจ่ายเงินให้กับท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น 6,200 ล้านบาท ถือเป็นยอดเงินที่สูงมาก ทำให้เป็นภาระแก่รัฐบาลจนเกิดวิตกกังวลว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายให้ สุดท้ายคนท้องถิ่นทั้งเทศบาล และ อบต.กว่า 1 พันคนก็บุกล้อมรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 ก.ย.55 ที่ผ่านมา เพื่อกดดันให้รับบาลเร่งจัดสรรเงินยอดดังกล่าวมาให้ท้องถิ่น
สำหรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลเป็นร้อยละ 27.27 หรือจำนวน 572,670 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ของ อปท. ทั้งที่จัดเก็บเองและรัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้ จำนวน 336,170 ล้านบาท และจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. จำนวน 236,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ที่ได้รับการจัดสรร 221,091.8 ล้านบาท เป็นจำนวน 15,408.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
“เมื่อดูผิวเผินแล้ว งบประมาณของท้องถิ่นก็ไม่น่ามีอะไรที่ไม่เป็นธรรม เพราะมีการจัดสรรเพิ่มขึ้นให้ทุกปี เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การกระจายอำนาจฯ แต่เมื่อพลิกเข้าไปดูรายละเอียดแล้วกลับพบว่า มีการซ่อนซุกตัวเลขไว้ ทำให้มีตัวเลขเหมือนจะมาก แต่เม็ดเงินจริง ๆ แล้วได้ไม่เท่าไหร่”
ทั้งนี้ การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อบจ. เทศบาล และ อบต. นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.เงินอุดหนุนทั่วไป และ 2. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดย เงินอุดหนุนทั่วไป ได้ 104,444.85 ล้านบาท เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ได้114,594.89 ล้านบาท ซึ่งเงินอุดหนุนทั่วไป ยังแบ่งเป็น เงินอุดหนุนตามหน้าที่ 61,635.16 ล้านบาท และเงินอุดหนุนตามภารกิจ 42,809.69 ล้านบาท
โดยเงินอุดหนุนทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จำนวน 61,635.16 ล้านบาท จัดสรรเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. โดยคิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานของ อปท. สำหรับ ส่วนที่ 2 จำนวน 42,809.69 ล้านบาท จัดสรรเพื่อดาเนินการตามภารกิจถ่ายโอน และการส่งเสริมการจัด เช่นการศึกษา บริการสาธารณสุข อาหารเสริม (นม) อาหารกลางวัน บริหารสนามกีฬา และสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
ขณะที่เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 114,594.89 ล้านบาท ใช้จ่ายในเรื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสถานีสูบน้ำถ่ายโอนบุคลากร และค่ารักษาพยาบาล ทำให้ดูเหมือนว่าท้องถิ่นมีเงินเยอะ แต่ข้อเท็จจริงต้องดำเนินการตามที่รัฐบาลกำหนดวไว้ทุกประการ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ขณะนี้ได้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นและพนักงานจ้างท้องถิ่นทั่วประเทศ กรณีรัฐบาลมีนโยบาย ปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้กับข้าราชการ และพนักงาน จำนวน 15,000 บาทในกรณีบุคคลมีวุฒิปริญญาตรี และ 9,000 บาท กรณีวุฒิประกาศนียบัตรชั้นสูง(ปวส.)นั้น แม้ว่าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะมีมติเมื่อวันที่ 4 ก.ย.55 เห็นชอบในหลักการให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันข้าราชการท้องถิ่นก็ยังไม่ได้รับเงินแม้แต่แห่งเดียว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเลื่อมใส ใจแจ้ง กรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น(ก.ถ.) กล่าวว่า ก.ถ.มีมติให้มีการปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการส่วนท้องถิ่นใหม่แล้ว โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 11 ธ.ค.51 อันเป็นวันเดียวกับที่ข้าราชการพลเรือนมีการเปลี่ยนจากระบบซีไปเป็นระบบแท่งเงินเดือน แต่ก็มีกรรมการ ก.ถ.หลายคนเป็นห่วงว่าจะกระทบกับฐานะการคลังของท้องถิ่น และไม่รู้ว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายชดเชยให้
นายวีรวัฒน์ ภักตรนิกร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร ประธานสันนิบาตเทศบาลภาคอีสาน กล่าวว่า หากรัฐบาลคุยกันไม่รู้เรื่องก็จะล้มกระดานทันที เพราะรับปากมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันท้องถิ่นเดือดร้อนอย่างหนัก จึงอยากให้เข้าใจท้องถิ่นด้วย
ด้านนายศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล ปลัดเทศบาลตำบลบางงา อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ในฐานะประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครได้รับเงินที่รัฐบาลรับปากว่าจะดำเนินการจ่ายให้ โดยเทศบาลตำบลบางงา ก็ทำยอดสรุปส่งไปให้ส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะหาเงินที่ไหนมาให้ เพราะยอดเงินต่าง ๆ ได้ถูกวางแผนไว้หมดแล้ว่าจะนำไปใช้จ่ายอะไร
“ปัจจุบันผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่งต้องวิ่งเต้นงบประมาณ และก็มีการตกลงกันว่าต้องมีเงินทอน หากรับได้ก็นำงบไปพัฒนาพื้นที่ได้ แต่หากรับไม่ได้ก็ไม่ได้เงินในโครงการดังกล่าว เพราะมีท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่สามารถรับเงื่อนไขได้ หากผู้บริหารท้องถิ่นไม่ทำอย่างนั้นก็จะไม่มีเงินมาพัฒนาพื้นที่ ไม่มีผลงาน ชาวบ้านก็จะว่าเอาได้ ดังนั้นจึงขอร้องให้รัฐบาลโอนเงินในส่วนการปรับเพิ่มมาให้ท้องถิ่นด้วย เพราะท้องถิ่นทั่วประเทศรออยู่”นายศักดิพงศ์ กล่าว
ขณะที่นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ข้อมูลในการประชุม ก.ถ.เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ว่า ปัจจุบันท้องถิ่นใช้จ่ายเงินในหมวดเงินเดือน และรายจ่ายประจำเกินกว่าที่ พ.ร.บ.การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดคือเกินกว่าร้อยละ 40 เกือบทั่วประเทศ มีเพียง 3 จังหวัดที่ไม่เกินนั่นคือ ภูเก็ต ระนอง และระยอง ทำให้กระทบกับฐานการคลังของท้องถิ่นทั่วประเทศ
ทั้งนี้ยอดเงินที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.)สำรวจในเบื้องต้นเพื่อจ่ายเงินให้กับท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น 6,200 ล้านบาท ถือเป็นยอดเงินที่สูงมาก ทำให้เป็นภาระแก่รัฐบาลจนเกิดวิตกกังวลว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายให้ สุดท้ายคนท้องถิ่นทั้งเทศบาล และ อบต.กว่า 1 พันคนก็บุกล้อมรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 ก.ย.55 ที่ผ่านมา เพื่อกดดันให้รับบาลเร่งจัดสรรเงินยอดดังกล่าวมาให้ท้องถิ่น
สำหรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลเป็นร้อยละ 27.27 หรือจำนวน 572,670 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ของ อปท. ทั้งที่จัดเก็บเองและรัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้ จำนวน 336,170 ล้านบาท และจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. จำนวน 236,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ที่ได้รับการจัดสรร 221,091.8 ล้านบาท เป็นจำนวน 15,408.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
“เมื่อดูผิวเผินแล้ว งบประมาณของท้องถิ่นก็ไม่น่ามีอะไรที่ไม่เป็นธรรม เพราะมีการจัดสรรเพิ่มขึ้นให้ทุกปี เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การกระจายอำนาจฯ แต่เมื่อพลิกเข้าไปดูรายละเอียดแล้วกลับพบว่า มีการซ่อนซุกตัวเลขไว้ ทำให้มีตัวเลขเหมือนจะมาก แต่เม็ดเงินจริง ๆ แล้วได้ไม่เท่าไหร่”
ทั้งนี้ การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อบจ. เทศบาล และ อบต. นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.เงินอุดหนุนทั่วไป และ 2. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดย เงินอุดหนุนทั่วไป ได้ 104,444.85 ล้านบาท เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ได้114,594.89 ล้านบาท ซึ่งเงินอุดหนุนทั่วไป ยังแบ่งเป็น เงินอุดหนุนตามหน้าที่ 61,635.16 ล้านบาท และเงินอุดหนุนตามภารกิจ 42,809.69 ล้านบาท
โดยเงินอุดหนุนทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จำนวน 61,635.16 ล้านบาท จัดสรรเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. โดยคิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานของ อปท. สำหรับ ส่วนที่ 2 จำนวน 42,809.69 ล้านบาท จัดสรรเพื่อดาเนินการตามภารกิจถ่ายโอน และการส่งเสริมการจัด เช่นการศึกษา บริการสาธารณสุข อาหารเสริม (นม) อาหารกลางวัน บริหารสนามกีฬา และสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
ขณะที่เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 114,594.89 ล้านบาท ใช้จ่ายในเรื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสถานีสูบน้ำถ่ายโอนบุคลากร และค่ารักษาพยาบาล ทำให้ดูเหมือนว่าท้องถิ่นมีเงินเยอะ แต่ข้อเท็จจริงต้องดำเนินการตามที่รัฐบาลกำหนดวไว้ทุกประการ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////