ความยากไร้ของเศรษฐกิจไทยไม่ได้อยู่ที่ตัวเลข GDP หรือสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ หากทว่าเกิดจากการตกอยู่ใต้วาทกรรมครอบงำของวิชาเศรษฐศาสตร์อเมริกัน ที่ลดทอนชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เหลือเพียง “วัตถุและกลไกตลาด” ที่เย็นชืดแห้งแล้ง
หากทว่า เศรษฐศาสตร์ที่มั่งคั่งรุ่มรวยด้วยชีวิตและวัฒนธรรมแห่งความเป็นมนุษย์ กลับเจริญงอกงามในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในสำนัก Annales School ที่สามารถสลัดตัวเองให้หลุดพ้นจากการครอบงำของทฤษฎีวันเดือนปีและการเมืองแห่งวีรบุรุษ เพื่อเข้าสู่การค้นพบปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเป็นกลไกแท้จริงในการขับเคลื่อนกงล้อประวัติศาสตร์ให้รุดหน้าไป
โดยเฉพาะ Fernand Braudel นักประวัติศาสตร์ผู้หลงใหลในการศึกษาต้นกำเนิดของระบบทุนนิยมโลก (Capitalism) ที่เศรษฐกิจแบบตลาดและการแข่งขันเสรีเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น หากทว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละชีวิตประจำวันของแต่ละท้องถิ่น (Structure of Everyday Life) กลับมีความสำคัญในการชี้ขาดถึงความสำเร็จและล้มเหลวของการพัฒนาทุนนิยมและกลไกตลาดในแต่ละประเทศ ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ “ชนชั้นนำ” ทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม ไม่เคยเล่นตามกติกาของการแข่งขันเสรี หากทว่ามากล้นไปด้วยการผูกขาดขูดรีดและต่อสู้แย่งชิงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเลือดเนื้อและวิถีแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีทั้งรักโลภโกรธหลงอย่างถึงแก่นเป็นที่สุด
น่าเสียดายอย่างยิ่งที่แนวทางการวิเคราะห์ระบบทุนนิยมของ Braudel ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือหรือแม้แต่สนใจจากแวดวงเศรษฐศาสตร์ไทย จึงทำให้เศรษฐกิจและภูมิปัญญาไม่อาจเข้าถึงวุฒิภาวะ (Maturity) ตามที่ควรจะเป็น
นับเป็นโชคดีที่ปัญญาชนไทย 2 ท่านได้ยืนหยัดที่จะสืบทอดเจตนารมณ์แห่งการวิเคราะห์สังคมตามทฤษฎีของ Braudel โดยหนึ่งในนั้นคือ คุณพันศักดิ์ วิญญูรัตน์ นักคิดผู้อยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทยนับไม่ถ้วน ส่วนอีกท่านคือ รศ.ดร. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด นักวิชาการรัฐศาสตร์ ที่เนรมิตผลงานทางวิชาการเพื่ออธิบายความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยได้อย่างลึกซึ้งคมคาย โดยที่กาลเวลาจะพิสูจน์ถึงคุณูปการของผลงานเหล่านั้น
18 มกราคม 2554 นับเป็นห้วงยามทางภูมิปัญญาที่น่าตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนักคิดทั้งสองท่านได้มีโอกาสสนทนากันยาวนานถึง 7 ชั่วโมง โดยมีทีมงาน SIU และผู้คนอีกจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด
เนื้อหาและความสนุกสุขสมของการปะทะสังสรรค์ทางภูมิปัญญาครั้งนี้ มีความสลับซับซ้อนและแตกแขนงเชื่อมโยงไปมากมาย จึงเป็นการยากที่จะนำเสนอในรูปของบทความอย่างเป็นระบบระเบียบ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีความรู้สึกประทับใจบางประการกับบุคลิกภาพและชีวทัศน์ของคุณพันศักดิ์ วิญญูรัตน์ จึงปรารถนาที่จะนำบางส่วนเสี้ยวที่ได้สัมผัสรับรู้มาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านทุกท่านที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมดื่มด่ำในการสนทนาที่ยาวนานนี้ (Longue durée)
ผู้คนส่วนใหญ่ล้วนโหยกระหายสุดยอดแห่งความคิด แต่น้อยคนนักจะสืบค้นไปถึงที่มาที่ไปของกระบวนการสร้างสรรค์ทางความคิด ซึ่งอาจสรุปอย่างย่นย่อได้ว่า คือ การแลกเปลี่ยนบทสนทนากับสรรพชีวิตที่หลากหลายและแตกต่างจากตัวเรา
ปัญญาญาณของพันศักดิ์จึงไม่ได้เริ่มต้นด้วย “ความคิด” จากภายในมันสมองเพียงอย่างเดียว หากทว่าได้อุทิศชีวิตวัยหนุ่มไว้กับความกระหายใคร่รู้ (Excitement of Life) ในการแลกเปลี่ยนหยิบยืมจากผองเพื่อนมนุษย์ผู้มาจากหลากหลายซอกหลืบเผ่าพันธุ์ ตั้งแต่กรุงลอนดอนแหล่งปะทะสังสรรค์ของเหล่าปัญญาชนกบฎ ไปจนกระทั่งถึงปัญญาชนสยามในนามของหนังสือพิมพ์จตุรัส
ความคิดอิสระและเปิดกว้างของพันศักดิ์จากการได้พบปะผู้คนในทุกอารยธรรม ได้กลับมาเป็นผลร้ายทิ่มแทงให้ต้องติดคุกคุมขังในห้วงวิกฤตบ้านเมือง แต่ก็เพราะสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกว้างไกลอีกเช่นเดียวกัน ที่ทำให้คณะฑูตสวีเดนได้ขับรถเก๋งคันหรูมากดดันรัฐบาลไทยให้ปล่อยตัวเพื่อนที่น่ารักคนนี้โดยพลัน
การเดินทางลับเข้าเจรจากับรัฐบาลเวียดนาม การเข้าพบภรรยาของโจวเอินไหลแห่งพรรคคอมมิวสต์จีน การได้ฟังเสียงตบโต๊ะของฮุนเซนที่แสดงถึงไหวพริบทางการเมืองและความใจกว้างแบบชนชั้นนักเลงเก่า ทั้งหมดนี้ล้วนแต่หล่อหลอมให้พันศักดิ์มีจิตใจและภูมิปัญญาแบบสากลที่ผสมควบรวมทั้งสายลมตะวันออกและภูผาตะวันตก
นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าที่ลือลั่น จึงไม่ควรถูกพิจารณาเพียงผิวเผินว่าเป็นชัยชนะของเศรษฐกิจที่มีเหนือการเมืองแบบที่นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ไว้ หากทว่ายังต้องเข้าใจถึงการเจรจาต่อรองที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งต้องใช้ความกล้าหาญเยี่ยงสายลับและสายสัมพันธ์ละเอียดอ่อนแห่งความเป็นมนุษย์ที่ข้ามไร้พรมแดนและอุดมการณ์ทางการเมือง
ความอับจนทางความคิดของนักออกแบบ ย่อมมีที่มาจากการหมกมุ่นในความคิดที่อยู่ในหัว แทนที่จะก้าวเดินออกมาสูดรับอากาศที่บริสุทธิ์จากความหลากหลายของชาติพันธุ์ โดยเฉพาะเมื่อสายสัมพันธ์ทางสังคมเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดรสนิยมและความชื่นชอบของผู้คนในการเสพรับสินค้าและบริการ
“ผี” นิทรรศการแห่งความคิดสร้างสรรค์ของ TCDC ย่อมสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทางสังคมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี โดยมิพักต้องพิสูจน์ถึงการดำรงอยู่ทางอภิปรัชญาของชีวิตหลังความตายแต่ประการใด
อัจฉริยภาพของพันศักดิ์กลับไม่ได้อยู่ที่การคิดค้นปลุกเสกนิทรรศการ “ผี” ขึ้นมาจากความว่างเปล่า หากทว่าเกิดแต่การหยิบยืมและต่อยอดจากนิทรรศการเรื่อง “โลงศพของมนุษยชาติ” ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนถึงศิลปะแห่งการสานสัมพันธ์กับเครือข่ายภูมิปัญญาทั่วทุกมุมโลก ทำให้พันศักดิ์สามารถผลิตทดลองความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างลุ่มลึกไปด้วยคุณภาพและปริมาณ โดยไม่ต้องสูญเสียเวลาและทรัพยากรไปกับสิ่งที่คนอื่นได้เริ่มต้นไว้แล้ว
หากประเมินจาก “ตัวเลข” ในบัญชีธนาคาร (Money) พันศักดิ์อาจไม่ติดอันดับแม้แต่ 1 ใน 1000 ของเศรษฐีไทย แต่สำหรับประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินทองเพื่อเสพรับความสุขและพึงพอใจ (Utility) พันศักดิ์ย่อมไม่เป็นสองรองใคร
“จักรยาน” คันละ 200000 แสนบาทของพันศักดิ์ ย่อมนับว่าแพงมหาโหดเมื่อเทียบกับจักรยานธรรมดาทั่วไป แต่เนื่องจากพันศักดิ์เข้าใจอย่างละเอียดยิบถึงองค์ประกอบและรูปแบบทางศิลปะของจักรยานพิเศษคันนี้ (Story) จึงทำให้ความสุขที่ได้จากการขี่จักรยานมีมากกว่าเพียงความพึงพอใจทางกายภาพ หากทว่าเป็นความดื่มด่ำทางใจที่ได้รับจากเรื่องเล่าและตำนาน
เครื่องเสียงชั้นเลิศจากยุโรปตะวันออกของพันศักดิ์ ย่อมไม่ได้สร้างความเพลิดเพลินให้แต่เฉพาะโสตสัมผัส หากทว่าพรั่งพร้อมด้วยเก้าอี้เอนหลังที่สร้างความสุขแห่งกายสัมผัส ที่สำคัญยังมีการจัดวางตำแหน่งให้สมดุลสอดรับกับองค์ประกอบส่วนอื่นภายในบ้าน จึงช่วยเพิ่มสุนทรียะทางสายตาให้ลึกล้ำโดดเด่นยิ่งขึ้น
แน่นอนว่า วัตถุแห่งชีวิตของพันศักดิ์ (Material of Life) ย่อมไม่ใช่สิ่งที่คนธรรมดาจะหาซื้อมาได้ง่ายดายนัก แต่สำหรับมหาเศรษฐีที่สามารถสรรหาซื้อทุกอย่างได้สูงส่งยิ่งกว่าพันศักดิ์ ก็ไม่แน่ว่าจะเสพรับสุนทรียะของชีวิตได้ดีทัดเทียมกัน เนื่องจากความยากไร้ทางปัญญา (Intellectual Life) ที่จะเติมเต็มเรื่องเล่าให้กับวัสดุแพงหรูที่ฉวยคว้ามา
สุดท้ายแล้ว ความสุขของพันศักดิ์ยังไม่ถูกจองจำเข้าไว้กับโลกทางวัตถุ หากทว่ายังมีภารกิจทางปัญญาให้ค้นคว้าและเติมเต็มไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะเครือข่ายของผู้คนจากทุกมุมโลกที่สานสัมพันธ์ไว้อย่างดีในวัยหนุ่มนั้นได้ย้อนกลับมาตอบแทนทางสุนทรียะให้กับวัยชราได้กัดกินผลไม้แห่งความตื่นรู้ได้อย่างเอร็ดอร่อยยิ่ง
ที่มา.http://www.siamintelligence.com/human-being/
หากทว่า เศรษฐศาสตร์ที่มั่งคั่งรุ่มรวยด้วยชีวิตและวัฒนธรรมแห่งความเป็นมนุษย์ กลับเจริญงอกงามในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในสำนัก Annales School ที่สามารถสลัดตัวเองให้หลุดพ้นจากการครอบงำของทฤษฎีวันเดือนปีและการเมืองแห่งวีรบุรุษ เพื่อเข้าสู่การค้นพบปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเป็นกลไกแท้จริงในการขับเคลื่อนกงล้อประวัติศาสตร์ให้รุดหน้าไป
โดยเฉพาะ Fernand Braudel นักประวัติศาสตร์ผู้หลงใหลในการศึกษาต้นกำเนิดของระบบทุนนิยมโลก (Capitalism) ที่เศรษฐกิจแบบตลาดและการแข่งขันเสรีเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น หากทว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละชีวิตประจำวันของแต่ละท้องถิ่น (Structure of Everyday Life) กลับมีความสำคัญในการชี้ขาดถึงความสำเร็จและล้มเหลวของการพัฒนาทุนนิยมและกลไกตลาดในแต่ละประเทศ ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ “ชนชั้นนำ” ทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม ไม่เคยเล่นตามกติกาของการแข่งขันเสรี หากทว่ามากล้นไปด้วยการผูกขาดขูดรีดและต่อสู้แย่งชิงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเลือดเนื้อและวิถีแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีทั้งรักโลภโกรธหลงอย่างถึงแก่นเป็นที่สุด
น่าเสียดายอย่างยิ่งที่แนวทางการวิเคราะห์ระบบทุนนิยมของ Braudel ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือหรือแม้แต่สนใจจากแวดวงเศรษฐศาสตร์ไทย จึงทำให้เศรษฐกิจและภูมิปัญญาไม่อาจเข้าถึงวุฒิภาวะ (Maturity) ตามที่ควรจะเป็น
นับเป็นโชคดีที่ปัญญาชนไทย 2 ท่านได้ยืนหยัดที่จะสืบทอดเจตนารมณ์แห่งการวิเคราะห์สังคมตามทฤษฎีของ Braudel โดยหนึ่งในนั้นคือ คุณพันศักดิ์ วิญญูรัตน์ นักคิดผู้อยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทยนับไม่ถ้วน ส่วนอีกท่านคือ รศ.ดร. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด นักวิชาการรัฐศาสตร์ ที่เนรมิตผลงานทางวิชาการเพื่ออธิบายความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยได้อย่างลึกซึ้งคมคาย โดยที่กาลเวลาจะพิสูจน์ถึงคุณูปการของผลงานเหล่านั้น
18 มกราคม 2554 นับเป็นห้วงยามทางภูมิปัญญาที่น่าตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนักคิดทั้งสองท่านได้มีโอกาสสนทนากันยาวนานถึง 7 ชั่วโมง โดยมีทีมงาน SIU และผู้คนอีกจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด
เนื้อหาและความสนุกสุขสมของการปะทะสังสรรค์ทางภูมิปัญญาครั้งนี้ มีความสลับซับซ้อนและแตกแขนงเชื่อมโยงไปมากมาย จึงเป็นการยากที่จะนำเสนอในรูปของบทความอย่างเป็นระบบระเบียบ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีความรู้สึกประทับใจบางประการกับบุคลิกภาพและชีวทัศน์ของคุณพันศักดิ์ วิญญูรัตน์ จึงปรารถนาที่จะนำบางส่วนเสี้ยวที่ได้สัมผัสรับรู้มาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านทุกท่านที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมดื่มด่ำในการสนทนาที่ยาวนานนี้ (Longue durée)
1. ศิลปะแห่งสายสัมพันธ์ที่หลากหลายรุ่มรวย (Connecting the dots)“อัจฉริยะ คือ ผู้ที่ชาญฉลาดในการหยิบยืมความคิดที่ดีที่สุดจากสรรพสิ่งรอบกาย”
ผู้คนส่วนใหญ่ล้วนโหยกระหายสุดยอดแห่งความคิด แต่น้อยคนนักจะสืบค้นไปถึงที่มาที่ไปของกระบวนการสร้างสรรค์ทางความคิด ซึ่งอาจสรุปอย่างย่นย่อได้ว่า คือ การแลกเปลี่ยนบทสนทนากับสรรพชีวิตที่หลากหลายและแตกต่างจากตัวเรา
ปัญญาญาณของพันศักดิ์จึงไม่ได้เริ่มต้นด้วย “ความคิด” จากภายในมันสมองเพียงอย่างเดียว หากทว่าได้อุทิศชีวิตวัยหนุ่มไว้กับความกระหายใคร่รู้ (Excitement of Life) ในการแลกเปลี่ยนหยิบยืมจากผองเพื่อนมนุษย์ผู้มาจากหลากหลายซอกหลืบเผ่าพันธุ์ ตั้งแต่กรุงลอนดอนแหล่งปะทะสังสรรค์ของเหล่าปัญญาชนกบฎ ไปจนกระทั่งถึงปัญญาชนสยามในนามของหนังสือพิมพ์จตุรัส
ความคิดอิสระและเปิดกว้างของพันศักดิ์จากการได้พบปะผู้คนในทุกอารยธรรม ได้กลับมาเป็นผลร้ายทิ่มแทงให้ต้องติดคุกคุมขังในห้วงวิกฤตบ้านเมือง แต่ก็เพราะสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกว้างไกลอีกเช่นเดียวกัน ที่ทำให้คณะฑูตสวีเดนได้ขับรถเก๋งคันหรูมากดดันรัฐบาลไทยให้ปล่อยตัวเพื่อนที่น่ารักคนนี้โดยพลัน
การเดินทางลับเข้าเจรจากับรัฐบาลเวียดนาม การเข้าพบภรรยาของโจวเอินไหลแห่งพรรคคอมมิวสต์จีน การได้ฟังเสียงตบโต๊ะของฮุนเซนที่แสดงถึงไหวพริบทางการเมืองและความใจกว้างแบบชนชั้นนักเลงเก่า ทั้งหมดนี้ล้วนแต่หล่อหลอมให้พันศักดิ์มีจิตใจและภูมิปัญญาแบบสากลที่ผสมควบรวมทั้งสายลมตะวันออกและภูผาตะวันตก
นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าที่ลือลั่น จึงไม่ควรถูกพิจารณาเพียงผิวเผินว่าเป็นชัยชนะของเศรษฐกิจที่มีเหนือการเมืองแบบที่นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ไว้ หากทว่ายังต้องเข้าใจถึงการเจรจาต่อรองที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งต้องใช้ความกล้าหาญเยี่ยงสายลับและสายสัมพันธ์ละเอียดอ่อนแห่งความเป็นมนุษย์ที่ข้ามไร้พรมแดนและอุดมการณ์ทางการเมือง
2. สังคมวิทยาแห่งการออกแบบ (Sociology of Design)เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) นับเป็นคำสวยหรูที่อาจทำให้ประเทศไทยวางแผนการพัฒนาอย่างผิดพลาดได้ โดยเฉพาะเมื่อความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ (Economy) ของคนส่วนใหญ่ ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดที่คำว่า “กลไกตลาด”
ความอับจนทางความคิดของนักออกแบบ ย่อมมีที่มาจากการหมกมุ่นในความคิดที่อยู่ในหัว แทนที่จะก้าวเดินออกมาสูดรับอากาศที่บริสุทธิ์จากความหลากหลายของชาติพันธุ์ โดยเฉพาะเมื่อสายสัมพันธ์ทางสังคมเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดรสนิยมและความชื่นชอบของผู้คนในการเสพรับสินค้าและบริการ
“ผี” นิทรรศการแห่งความคิดสร้างสรรค์ของ TCDC ย่อมสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทางสังคมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี โดยมิพักต้องพิสูจน์ถึงการดำรงอยู่ทางอภิปรัชญาของชีวิตหลังความตายแต่ประการใด
อัจฉริยภาพของพันศักดิ์กลับไม่ได้อยู่ที่การคิดค้นปลุกเสกนิทรรศการ “ผี” ขึ้นมาจากความว่างเปล่า หากทว่าเกิดแต่การหยิบยืมและต่อยอดจากนิทรรศการเรื่อง “โลงศพของมนุษยชาติ” ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนถึงศิลปะแห่งการสานสัมพันธ์กับเครือข่ายภูมิปัญญาทั่วทุกมุมโลก ทำให้พันศักดิ์สามารถผลิตทดลองความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างลุ่มลึกไปด้วยคุณภาพและปริมาณ โดยไม่ต้องสูญเสียเวลาและทรัพยากรไปกับสิ่งที่คนอื่นได้เริ่มต้นไว้แล้ว
3. ชีวิตที่ละเมียดไปด้วยเรื่องเล่า (The Story of Life and Happiness)เศรษฐศาสตร์ไม่เคยปรารถนาที่จะละเลยชีวิต โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของมนุษย์ (Utility) เหนือกว่ามายาแห่งเงินตรา (Money) แต่ด้วยความทะเยะทะยานที่จะผลักดันสาขาวิชาให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์ จึงต้องพยายามทำให้ทุกตัวแปรที่เกี่ยวข้องสามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ Utility ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของเศรษฐศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งสิ่งที่วัดได้และวัดไม่ได้ จึงถูกลดทอนให้เหลือแต่เพียงสสารวัตถุที่เย็นชืดจับต้องได้เท่านั้น
หากประเมินจาก “ตัวเลข” ในบัญชีธนาคาร (Money) พันศักดิ์อาจไม่ติดอันดับแม้แต่ 1 ใน 1000 ของเศรษฐีไทย แต่สำหรับประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินทองเพื่อเสพรับความสุขและพึงพอใจ (Utility) พันศักดิ์ย่อมไม่เป็นสองรองใคร
“จักรยาน” คันละ 200000 แสนบาทของพันศักดิ์ ย่อมนับว่าแพงมหาโหดเมื่อเทียบกับจักรยานธรรมดาทั่วไป แต่เนื่องจากพันศักดิ์เข้าใจอย่างละเอียดยิบถึงองค์ประกอบและรูปแบบทางศิลปะของจักรยานพิเศษคันนี้ (Story) จึงทำให้ความสุขที่ได้จากการขี่จักรยานมีมากกว่าเพียงความพึงพอใจทางกายภาพ หากทว่าเป็นความดื่มด่ำทางใจที่ได้รับจากเรื่องเล่าและตำนาน
เครื่องเสียงชั้นเลิศจากยุโรปตะวันออกของพันศักดิ์ ย่อมไม่ได้สร้างความเพลิดเพลินให้แต่เฉพาะโสตสัมผัส หากทว่าพรั่งพร้อมด้วยเก้าอี้เอนหลังที่สร้างความสุขแห่งกายสัมผัส ที่สำคัญยังมีการจัดวางตำแหน่งให้สมดุลสอดรับกับองค์ประกอบส่วนอื่นภายในบ้าน จึงช่วยเพิ่มสุนทรียะทางสายตาให้ลึกล้ำโดดเด่นยิ่งขึ้น
แน่นอนว่า วัตถุแห่งชีวิตของพันศักดิ์ (Material of Life) ย่อมไม่ใช่สิ่งที่คนธรรมดาจะหาซื้อมาได้ง่ายดายนัก แต่สำหรับมหาเศรษฐีที่สามารถสรรหาซื้อทุกอย่างได้สูงส่งยิ่งกว่าพันศักดิ์ ก็ไม่แน่ว่าจะเสพรับสุนทรียะของชีวิตได้ดีทัดเทียมกัน เนื่องจากความยากไร้ทางปัญญา (Intellectual Life) ที่จะเติมเต็มเรื่องเล่าให้กับวัสดุแพงหรูที่ฉวยคว้ามา
สุดท้ายแล้ว ความสุขของพันศักดิ์ยังไม่ถูกจองจำเข้าไว้กับโลกทางวัตถุ หากทว่ายังมีภารกิจทางปัญญาให้ค้นคว้าและเติมเต็มไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะเครือข่ายของผู้คนจากทุกมุมโลกที่สานสัมพันธ์ไว้อย่างดีในวัยหนุ่มนั้นได้ย้อนกลับมาตอบแทนทางสุนทรียะให้กับวัยชราได้กัดกินผลไม้แห่งความตื่นรู้ได้อย่างเอร็ดอร่อยยิ่ง
ที่มา.http://www.siamintelligence.com/human-being/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น