ผลวิจัยชี้สื่อและสังคมมอง "ว.วชิรเมธี-พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ" เป็นพระเสื้อเหลือง ส่วน "พระพยอม-พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ" พระเสื้อแดง นอกจากนี้โพลยังระบุว่า พระอีสานเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด 57.3% ส่วนพระใต้เลือกเสื้อเหลืองมากสุด 27.3%
เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศูนย์การศึกษาหัวหิน เปิดเผยว่า ได้ทำโครงการวิจัยเรื่อง "ทำไมพระสงฆ์ส่วนใหญ่เลือกฝ่ายเสื้อแดง" เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2553 โดยลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นพระสงฆ์ทุกภูมิภาค 512 รูป อาทิ พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดง 75 รูป พระสงฆ์ภาคกลาง 85 รูป ภาคเหนือ 128 รูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 122 รูป และภาคใต้ 102 รูป ทั้งนี้ ได้เจาะจงเก็บข้อมูลจากพระนิสิต-นักศึกษา คณาจารย์ และผู้บริหารของวิทยาเขตมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ
นายสุรพศกล่าวว่า จากผลการสำรวจสรุปได้ว่า ท่าทีและบทบาทของพระสงฆ์แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 พระสงฆ์ส่วน
ใหญ่ยืนยันว่าไม่ได้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง โดยพระสงฆ์ในภาคใต้ไม่เลือกฝ่ายการเมืองมากที่สุด 68% รองลงมาภาคกลาง 60.3% ภาคเหนือ 60.3% และน้อยที่สุด ภาคอีสาน 40%, กลุ่ม 2 กลุ่มพระสงฆ์ที่ยืนยันชัดเจนว่าเลือกฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งมีทั้งที่ออกมาชุมนุม ไม่ออกมาชุมนุม และเป็นพระที่มีชื่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ในกลุ่มพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมืองนี้ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดงมีจำนวนมากกว่า โดยพระสงฆ์ภาคอีสานเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด 57.3% รองลงมา ภาคเหนือ 47% ภาคกลาง 33% และภาคใต้ 4.7%, ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระสงฆ์ภาคใต้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองมากที่สุด 27.3% รองลงมา ภาคกลาง 6.7% ภาคเหนือ 3.7% และภาคอีสาน 2.7%
"กลุ่ม 3 พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงถูกมองว่าเลือกสีนั้นสีนี้ แต่เมื่อผู้วิจัยไปสัมภาษณ์แล้ว ยืนยันด้วยตัวท่านเองว่าเป็นกลาง ได้แก่ พระสงฆ์ที่ถูกสื่อ และสังคมมองว่า เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หรือเป็น "พระเสื้อเหลือง" คือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตยาลัย และพระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่, 2.พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า "เลือกฝ่ายเสื้อแดง" หรือเป็น "พระเสื้อแดง" คือ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี และพระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และ 3.พระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย และมีบทบาทเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์นักสันติวิธี นักกิจกรรมสังคม และมีบทบาทในด้านความเป็นกลางอย่างเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะมากที่สุดสำหรับเหตุผลในการเลือกฝ่ายทางการเมือง" นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศกล่าวว่า จากการทำวิจัยพบว่า เหตุผลที่พระสงฆ์เลือกฝ่ายทางการเมืองมี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1.เหตุผลทางการเมือง พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการประชาธิปไตย 49.3% และเพื่อต่อต้านรัฐประหารเป็นหลัก 34.7% มีเพียงส่วนน้อย 5.7% ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯ อีก ส่วนพระสงฆ์ภาคอีสาน 77.7% ภาคกลาง 68.3% และภาคเหนือ 65.7% ส่วนใหญ่มีเหตุผลทางการเมือง เพื่อต้องการประชาธิปไตย และต่อต้านรัฐประหาร ยกเว้นภาคใต้ที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ 4.7% อ้างเหตุผลเรื่องต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านคอร์รัปชัน และไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาเป็นนายกฯ ในสัดส่วนที่สูงกว่าการต่อต้านรัฐประหาร คือมีพระสงฆ์ที่อ้างเหตุผลต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ 18% ขณะที่อ้างเหตุผลต่อต้านรัฐประหาร 15%
นายสุรพศกล่าวว่า 2.เหตุผลทางจริยธรรมพบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรม ไม่ต้องการสองมาตรฐาน ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามลำดับ คือพระสงฆ์ที่ร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง 70% และพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในภาคกลาง 64% ภาคเหนือ 73% และภาคอีสาน 77.7% ต่างยืนยันเหตุผลเรื่องต้องการความยุติธรรม และไม่ต้องการสองมาตรฐาน แต่พระสงฆ์ภาคใต้ส่วนใหญ่ 60% ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
"นอกจากนี้ ได้สัมภาษณ์แนวคิดเชิงลึกของพระสงฆ์ด้วย ได้แก่ พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ รองอธิการบดี มจร.มองว่า ปัจจุบันสังคมไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะพวกอำมาตย์ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พวกอำมาตย์ใช้กลไกทุกอย่างเพื่อทำลายนักการเมือง และพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน ทั้งกลไกองคมนตรี ให้องคมนตรีมาเป็นนายกฯ ใช้กลไกลกองทัพให้ไม่ยอมทำงานในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่เอาจริงเอาจังผิดปกติในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กลไกศาลที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ และใช้กลไกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และสุดท้ายใช้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โดยการไปฟอร์มรัฐบาลในค่ายทหาร แล้วก็ยอมทำทุกอย่าง แม้จะรู้ว่าทำเช่นนั้นแล้วว่าประชาชนต้องตาย ทั้งหมดก็เพื่อคำตอบสุดท้ายคือ รักษาอำนาจของตัวเอง และพรรคพวก โดยไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน"นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศกล่าวว่า ส่วนพระไพศาล วิสาโล มองต่างออกไปว่า "เสื้อแดงไม่ได้พูดชัดเจน เขาบอกว่าจุดยืนคือให้ยุบสภา ไม่ได้บอกว่าไม่เอารัฐประหาร ซึ่งมันไม่เวิร์ค เพราะว่าไม่มีรัฐประหารอยู่แล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มาจากการเลือกตั้งใช่หรือไม่ อาจจะมีเส้นสนกลในก็แล้วแต่ แต่ว่าเสื้อแดงเขาเรียกร้องยุบสภาใช่หรือไม่ เขาไม่ได้เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐประหาร เพราะว่าเขาไม่รู้จะไปต่อต้านกับใคร เพราะรัฐบาลไม่ใช่รัฐประหาร"
นายสุรพศกล่าวว่า เมื่อถามพระมหาโชว์ ทัสสนีโย ว่าเสื้อเหลืองเขาชูประเด็น "เราจะสู้เพื่อในหลวง" หรือเพื่อปกป้องสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พระสงฆ์ที่โดยปกติก็ยอมรับ หรือเป็นกลไกในการปลูกฝังแนวคิดเช่นนี้แก่ประชาชนอยู่แล้ว ทำไมไม่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระมหาโชว์ตอบว่า "ถ้าเขาจงรักภักดีจริง ทำไมจึงอ้างสถาบันเพื่อทำลายศัตรูทางการเมือง ดึงสถาบันลงมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งประชาชนออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเอาสถาบัน กับไม่เอาสถาบัน อาตมาว่ามันไม่ถูก สถาบันต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ควรถูกดึงลงมายุ่งการเมือง"
นายสุรพศกล่าวว่า ขณะที่พระครูปริยัติธรรมวงศ์ (สุพล ธมฺมวํโส) อาจารย์ประจำแขนงวิชาศาสนาและปรัชญา มจร.วิทยาเขตขอนแก่น มองว่า "ทุกวันนี้คนมันก็หูตาสว่าง พระเข้าไปดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้หมด ก็พอจะแยกแยะได้ในระดับหนึ่งว่าอะไรจริง อะไรเท็จ เรื่องสถาบันเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ถ้าฟังจากปากคนเสื้อแดง อาตมาก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไร แต่ก็มีคำพูดของฝ่ายเสื้อเหลือง ราก็นำมาคิดตามหลักพุทธ พระพุทธเจ้าท่านเคารพธรรม หมายความว่าพระองค์เคารพหลักการที่ถูกต้อง เพราะการรักษาหลักการที่ถูกต้องจะทำให้ส่วนรวมอยู่ได้ อาตมาก็เลยคิดว่าเสื้อแดงที่พูดจริงจังกับเรื่องนี้ เขาต้องการรักษาหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่ต้องการทำลายสถาบัน"
นายสุรพศกล่าวต่อว่า พระครูปริยัติธรรมวงศ์ยังมองอีกว่า "หลายๆ เรื่องในเกมการเมือง อาตมาไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันมาไป ใครอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังบ้างก็ไม่รู้ได้ด้วยตนเอง แต่ที่เห็นได้ชัดเลย ที่เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นได้เต็มตาเลยคือ ชาวบ้านเขาเสียใจ เขาเป็นเดือดเป็นแค้น หลายๆ คนร้องไห้เสียใจที่รัฐบาลที่เขาเลือกถูกล้มไป พ.ต.ท.ทักษิณจะหลอกให้ชาวบ้านรักคลั่งไคล้ได้ขนาดนี้หรือ ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรให้ชาวบ้านเลย ป้าที่ขายลูกชิ้นปิ้งข้างวัดบอกว่า ไอ้จนนี่มันก็จนมาตั้งแต่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ก็ไม่ได้อ้างความจนออกมาชุมนุมขอความเมตตาจากใครหรอก แต่ที่ดูถูกประชาชน ปล้นอำนาจประชาชนนี่มันทนไม่ได้ มันไม่ยุติธรรม"
นายสุรพศกล่าวว่า ส่วนพระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) ที่ยืนยันว่าท่านไม่เลือกฝ่าย ก็มองประเด็นเดียวกันนี้ว่า "ตอนนี้มันปิดกันไม่อยู่แล้ว ถ้าสมัยก่อนไม่มีเว็บ ไม่มีหลักฐานอะไรบางอย่างแพร่ออกไปได้ เชื่อว่าสำเร็จ ทำได้ ถ้าเอาสมัย 6 ตุลาฯ ชูสถาบันขึ้นมาแล้วก็ปราบนักศึกษา ปราบประชาชนอะไรเนี่ย มันเป็นเครื่องมือของพวกนั้น แต่ตอนนี้คุณดูแค่เล่มนี้เล่มเดียวก็แย่แล้วไปไม่รอด"
ที่มา.มติชนออนไลน์
วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
หมอเลี๊ยบ อ่านเกมเลือกตั้ง-วางผัง พท.วัดใจ "มาร์ค" เมื่อ "ทักษิณ" ยังเป็นแฟ็กเตอร์การเมือง
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง
............................
เมื่อตารางการเมืองชัดเจน
เมื่อเกมการเมืองนับถอยหลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
ทั้งนักการเมือง-นักเลือกตั้งเข้าประจำที่จุดสตาร์ตในลู่-เลนสนามแข่ง
ทั้งตัวจริง-ตัวแทน และแฟ็กเตอร์ ทุกตัว-เดินเครื่องเต็มสูบ
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง
นโยบายจะเป็นตัวชี้วัดผลแพ้-ชนะการเลือกตั้งได้อีกต่อไปหรือไม่
ความคิดของผู้รับผิดชอบในการเลือกตั้งอาจจะมีความรู้สึกว่านโยบายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ใช่ส่วนสำคัญ ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างมากมาย หรืออาจจะเกิดจากการมองไม่ออกว่ามีนโยบายอะไรที่สามารถชูขึ้นมาให้คำตอบกับสังคมไทยได้
พรรคประชาธิปัตย์ประกาศแคมเปญต่อเนื่องนับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง
แน่นอนว่าการรณรงค์หาเสียงจะเข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งได้ ฉะนั้นก็ถึงจุดที่ต้องพูดถึงนโยบายพอสมควร แต่ปัญหาอยู่ตรงที่กระบวนการนำเสนอนโยบายยังไม่สามารถทะลวงจุดกับกรอบแนวคิดเดิม
ประเทศเปลี่ยนไปมาก โลกก็เปลี่ยนไปมาก เรายังติดอยู่กับเรื่องแค่สวัสดิการสังคม โดยที่ไม่มองบริบทอื่น ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาประเทศไปถึงจุดที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันได้
ต้องคิดนโยบายชุดใหม่
ใช่ ต้องคิดชุดใหม่ ภาพของอาเซียนกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะที่ของไทยยังไม่ตกผลึก ฉะนั้นหากเราไม่สามารถเตรียมการรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ หรือแม้แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้เราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปเลย
ต้องก้าวข้ามพ้นความเป็นประชานิยมหรือเปล่า
ประชานิยมหรือโครงการที่เราใช้ในช่วงปี 2544-2549 มันเปรียบเหมือนเรารักษาโรคที่ฉุกเฉินให้เราก้าวพ้นจากขีดอันตราย จะทำอย่างไรให้เราสามารถออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้
วันนี้ถ้าเราออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้แล้วยังใช้ยาชุดเดิม วิธีการรักษาแบบเดิม เราก็จะไม่มีวันเข้มแข็งได้ ผมเชื่อว่าประชาชนวันนี้ไม่ได้ต้องการเพียงสวัสดิการ แต่ต้องการทำให้เขาเข้มแข็งในชีวิต ถ้าเรายังมาติดและทำอยู่แค่เรื่องสวัสดิการ หรือแค่แก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ได้มองโครงสร้างทั้งระบบ มันไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้
ร่างนโยบายใหม่จะออกมายังไง
นโยบายสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นประชานิยมหรือประชาวิวัฒน์ มันก็เป็นแค่ยาแก้ปวด ยาลดไข้ที่ไม่สามารถทำให้ร่างกายเข้มแข็งได้ ผมคิดว่ามี 5 ด้านที่เราต้องพิจารณากันอย่างละเอียด ด้านแรกก็คือ เรื่องการเมืองการปกครอง ด้านที่ 2 คือ ด้านการศึกษา ด้านที่ 3 คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่ 4 คือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ด้านที่ 5 คือ การต่างประเทศ
ถ้าเราต้องการที่จะพัฒนาประเทศต่อไปในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า พรรคการเมืองต้องหลุดไปจากการพูดถึงแค่ประชานิยม ประชาสังคม แน่นอนสวัสดิการสังคมต้องมีอยู่ แต่ว่าสวัสดิการสังคมแบบไหนที่เป็นคำตอบให้กับการพัฒนาประเทศ
ผมยังมองว่าเรื่องสวัสดิการสังคมเราไม่มีทางจะให้สวัสดิการกับทุกคนได้ ภายใต้ระบบภาษีปัจจุบัน การที่เราบอกว่าให้เรียนฟรีโดยไม่จำกัด โดยไม่เลือกว่าคนนั้นรวยหรือจน ในทางหนึ่งยิ่งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งขยายตัวกว้างขวางขึ้น
งบฯลงทุนจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบไหน
เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัญนะ แต่วันนี้ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองเป็นเรื่องแรก เพราะเรื่องนี้เป็นหัวใจใหญ่ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเรื่องอื่น เรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ การต่างประเทศ
ถ้าจะลงทุนในอนาคตรัฐก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนทั้งหมด ต้องพูดถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างจริงจัง ต้องเป็นวาระสำคัญของรัฐบาลในส่วนกลางและท้องถิ่น ต้องมีหน่วยงานมารับผิดชอบที่เรียกว่า PPP ต้องมีกฎหมายรองรับ มีคนรับผิดชอบเต็มตัว อาจให้นายกฯเป็นประธาน
การเมืองทุกวันนี้รัฐบาลต้องบริหารสถานการณ์วันต่อวัน
ผมคิดว่าวันนี้คนไทยอยากเห็นคำตอบแบบนั้น เพราะสถานการณ์ที่เผชิญอยู่มันทำให้คนตั้งคำถามว่าจะไปต่อยังไง เมื่อตอนมีม็อบอยู่ที่ราชประสงค์ทุกคนก็ถามว่าจะจบยังไง วันนี้ไม่มีม็อบที่ราชประสงค์แล้ว แต่คำถามยังมีแบบเดิมคือจะจบยังไง ประเทศไทยจะไปยังไง ฉะนั้นผมว่าวันนี้ต้องสามารถพูดถึงโรดแมป ทิศทางของประเทศ ว่าประเทศไทยจะก้าวต่อไปอย่างไร
ปัญหานักการเมืองเป็นเรื่องหลัก
บอกหลายคนสมัยเป็นรัฐบาลว่า อยากจะอยู่นานไปเพื่ออะไร เราอยู่นานแล้วไม่มีใครจำได้อีกเลย กับการที่เราอยู่สั้น ๆ แล้วมีคนจำเราได้ตลอดไป อะไรที่น่าเดินไปสู่ทิศทางนั้นมากกว่ากัน นายกรัฐมนตรีบางคนอย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน อยู่แค่ 1 ปีกับอีก 4 เดือน แต่คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ ผ่านมาแล้วตอนนี้เกือบ 20 ปี คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ เพราะระยะเวลาไม่ใช่ตัวบอกว่ารัฐบาลหรือผู้นำจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลนั้นทำอะไรให้คนรำลึกถึงหรือมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศหรือไม่
บทบาทคุณทักษิณในสนามการเมือง
ผมชอบที่มีคนบอกว่า ไม่ใช่ก้าวข้ามแต่ก้าวคู่ คุณทักษิณก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งของวงการการเมืองไทย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวและไม่ใช่ปัจจัยหลักด้วย แต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องอยู่ในสมการในการพิจารณา
ผมคิดว่าสมการการเมืองไทยมีแฟ็กเตอร์มากมาย คุณทักษิณก็เป็นแฟ็กเตอร์หนึ่ง ถ้าเราไม่ใส่ไปในสมการการเมืองจะทำให้เรามองสมการนั้นไม่ครบ ถ้าเปรียบเทียบวันนี้แฟ็กเตอร์เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ฉะนั้นบทบาทของแฟ็กเตอร์ตัวนี้ บทบาทที่เปลี่ยนแปลงทุกสมการก็จะลดน้อยลง
การกลับมาของ 111 อาจกลับมาได้แค่ 110 คน
วันนี้ไม่มีใครทำนายอนาคตของการเมืองไทยได้ถูกต้องทั้งหมด คิดว่าสมการการเมืองไทยยังมีแฟ็กเตอร์ใหม่ ๆ ออกมาเปลี่ยนตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าจะทำนายอีก 1 ปีจะเกิดอะไรขึ้นเป็นเรื่องยาก แม้แต่วันนี้จะเลือกตั้งเมื่อไรก็ยังทำนายไม่ได้เลย
พรรคเพื่อไทยมีศักยภาพพอที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งด้วยตัวเองหรือไม่
ผมยังคิดว่าพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์ในการรณรงค์เลือกตั้งอยู่ จากเมื่อครั้งเป็นไทยรักไทยหรือพลังประชาชน บทเรียนเหล่านั้นยังใช้ได้สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้จะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเลือกตั้งที่ผ่านมา ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยก็น่าจะพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งจะไม่เท่ากับในอดีต เพราะผมเชื่อว่าสถานการณ์ของการเลือกตั้งถ้ามอง ณ วันนี้ความสามารถในการแข่งขันของพรรคเพื่อไทย อาจจะไม่เท่ากับความสามารถในการแข่งขันของพรรคไทยรักไทยหรือพลังประชาชน
ความสามารถไม่เท่าถึงแม้ว่าคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นคนกลุ่มเดิม
คนที่อยู่เบื้องหลังการรณรงค์เลือกตั้งในอดีต หลายกลุ่มก็ไม่อยู่ ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนความสำเร็จของพรรคไทยรักไทยไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยเดียว ดังนั้นถ้าหากไม่มีอะไรที่สามารถจะทำให้เกิดความเข้มแข็งในการรณรงค์เลือกตั้งได้เร็ว โอกาสที่จะชนะการเลือกตั้ง ทัดเทียมกับในอดีต ก็อาจจะมีแต่ไม่สูงมาก แต่ผมก็ยังเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยยังจะเป็นพรรคใหญ่ แต่จะได้เสียงมากถึงขนาดใกล้ครึ่งหรือไม่ คงต้องรอดูช่วงใกล้ ๆ เลือกตั้ง
ตอนนี้ผลการเลือกตั้งทำนายยากไหม
ส่วนใหญ่ถ้าหากอีก 45 วันจะเลือกตั้ง ปัจจัยต่าง ๆ จะเปิดเผยมาหมดเลย จะเห็นทั้งตัวบุคคล นโยบาย เห็นทั้งเรื่องสถานการณ์แวดล้อมที่จะวิเคราะห์ว่าผลเลือกตั้งน่าจะออกมายังไง คืออย่างถ้าลองทำโพลช่วงก่อนเลือกตั้งสัก 45 วัน จะแม่นผิดพลาดไม่มาก
ผลการเลือกตั้งตอนนี้ ต่อให้ได้คะแนนอันดับหนึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่
อันนี้ทำนายได้เพียงว่าแต่ละพรรคจะได้เท่าไร แต่ว่ารัฐบาลจะเป็นใคร ทำนายไม่ได้เพราะในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะมีทำเนียมปฏิบัติ คือว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ในการเลือกตั้งครั้งหน้าเราคงไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ขนาดนั้นว่า ถึงแม้จะชนะเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้เป็น
ทำไมเป็นอย่างงั้น
ผมบอกว่าไม่มั่นใจ แต่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ตอนเลือกตั้งปี′50 ถึงแม้พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ก็ยังมีผู้ที่มองว่าพรรคพลังประชาชนจะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ด้วยซ้ำไป อาจจะเนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติเริ่มถูกสั่นคลอน ไม่จำเป็นที่พรรคชนะการเลือกตั้งอันดับหนึ่งจะต้องเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล...แนวคิดอย่างนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าจะสำเร็จหรือเปล่าก็เป็นเรื่องของการพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีใครชนะเด็ดขาดจริง ๆ
มันเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ แต่ถามว่าจะได้รับการยอมรับไหม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง...
ประชาธิปัตย์มีความอนุรักษนิยมและเคร่งจารีต คนที่จะสนับสนุนให้ฉีกธรรมเนียมทางการเมืองก็คงไม่ธรรมดา แล้วครั้งนี้จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
ผมคิดว่ากรณีเรื่องเคร่งจารีต คนที่พูดอย่างแข็งขันจริงจังก็คือ ท่านอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ถ้าเป็นท่านชวนค่อนข้างเคร่งจารีต แต่ในปัจจุบันผมยังไม่เห็นความเห็นที่พูดออกมาชัดเจนว่า ถ้าไม่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งแล้ว จะให้เวลาผู้ที่ชนะเป็นอันดับหนึ่งได้จัดตั้งรัฐบาล เรายังไม่เห็นความเห็นอันนั้น
การเมืองปกติเลือกตั้งเข้ามาก็ขึ้นเกมใหม่ แต่ตอนนี้เลือกตั้งกี่ครั้งก็ขึ้นเกมใหม่ไม่ได้เพราะอะไร
ก็คงมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยการเมือง ทั้งระบบ และปัจจัยการทำงานการเมืองของพรรคไทยรักไทย ถ้าเรื่องการเมืองทั้งระบบตอนนี้ยังไม่ใช่การเมืองของคนส่วนใหญ่ที่แท้จริง ผมเชื่อว่าวันนี้สำนึกเหล่านั้นเกิดขึ้นมากเป็นลำดับ และปัจจัยของพรรคการเมืองเองก็ไม่ได้เป็นที่รวมของคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน ฉะนั้นองค์กรทางการเมืองเองไม่สามารถที่จะสร้างคำตอบให้กับประชาชนในการที่จะพัฒนาประเทศได้
พรรคการเมืองและนักการเมืองทำให้เศรษฐกิจล้าหลังหรือเปล่า
ถ้ามองว่าพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้าหลัง...ก็ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจอาจจะผูกติดกับการเมืองส่วนหนึ่ง แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่ขึ้นต่อการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่เมื่อการเมืองล้มเหลวแล้วเศรษฐกิจจะล้มเหลวด้วย เพราะเศรษฐกิจยังมีจุดแข็งของตัวเองอยู่
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
............................
เมื่อตารางการเมืองชัดเจน
เมื่อเกมการเมืองนับถอยหลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
ทั้งนักการเมือง-นักเลือกตั้งเข้าประจำที่จุดสตาร์ตในลู่-เลนสนามแข่ง
ทั้งตัวจริง-ตัวแทน และแฟ็กเตอร์ ทุกตัว-เดินเครื่องเต็มสูบ
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง
นโยบายจะเป็นตัวชี้วัดผลแพ้-ชนะการเลือกตั้งได้อีกต่อไปหรือไม่
ความคิดของผู้รับผิดชอบในการเลือกตั้งอาจจะมีความรู้สึกว่านโยบายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ใช่ส่วนสำคัญ ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างมากมาย หรืออาจจะเกิดจากการมองไม่ออกว่ามีนโยบายอะไรที่สามารถชูขึ้นมาให้คำตอบกับสังคมไทยได้
พรรคประชาธิปัตย์ประกาศแคมเปญต่อเนื่องนับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง
แน่นอนว่าการรณรงค์หาเสียงจะเข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งได้ ฉะนั้นก็ถึงจุดที่ต้องพูดถึงนโยบายพอสมควร แต่ปัญหาอยู่ตรงที่กระบวนการนำเสนอนโยบายยังไม่สามารถทะลวงจุดกับกรอบแนวคิดเดิม
ประเทศเปลี่ยนไปมาก โลกก็เปลี่ยนไปมาก เรายังติดอยู่กับเรื่องแค่สวัสดิการสังคม โดยที่ไม่มองบริบทอื่น ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาประเทศไปถึงจุดที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันได้
ต้องคิดนโยบายชุดใหม่
ใช่ ต้องคิดชุดใหม่ ภาพของอาเซียนกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะที่ของไทยยังไม่ตกผลึก ฉะนั้นหากเราไม่สามารถเตรียมการรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ หรือแม้แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้เราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปเลย
ต้องก้าวข้ามพ้นความเป็นประชานิยมหรือเปล่า
ประชานิยมหรือโครงการที่เราใช้ในช่วงปี 2544-2549 มันเปรียบเหมือนเรารักษาโรคที่ฉุกเฉินให้เราก้าวพ้นจากขีดอันตราย จะทำอย่างไรให้เราสามารถออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้
วันนี้ถ้าเราออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้แล้วยังใช้ยาชุดเดิม วิธีการรักษาแบบเดิม เราก็จะไม่มีวันเข้มแข็งได้ ผมเชื่อว่าประชาชนวันนี้ไม่ได้ต้องการเพียงสวัสดิการ แต่ต้องการทำให้เขาเข้มแข็งในชีวิต ถ้าเรายังมาติดและทำอยู่แค่เรื่องสวัสดิการ หรือแค่แก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ได้มองโครงสร้างทั้งระบบ มันไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้
ร่างนโยบายใหม่จะออกมายังไง
นโยบายสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นประชานิยมหรือประชาวิวัฒน์ มันก็เป็นแค่ยาแก้ปวด ยาลดไข้ที่ไม่สามารถทำให้ร่างกายเข้มแข็งได้ ผมคิดว่ามี 5 ด้านที่เราต้องพิจารณากันอย่างละเอียด ด้านแรกก็คือ เรื่องการเมืองการปกครอง ด้านที่ 2 คือ ด้านการศึกษา ด้านที่ 3 คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่ 4 คือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ด้านที่ 5 คือ การต่างประเทศ
ถ้าเราต้องการที่จะพัฒนาประเทศต่อไปในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า พรรคการเมืองต้องหลุดไปจากการพูดถึงแค่ประชานิยม ประชาสังคม แน่นอนสวัสดิการสังคมต้องมีอยู่ แต่ว่าสวัสดิการสังคมแบบไหนที่เป็นคำตอบให้กับการพัฒนาประเทศ
ผมยังมองว่าเรื่องสวัสดิการสังคมเราไม่มีทางจะให้สวัสดิการกับทุกคนได้ ภายใต้ระบบภาษีปัจจุบัน การที่เราบอกว่าให้เรียนฟรีโดยไม่จำกัด โดยไม่เลือกว่าคนนั้นรวยหรือจน ในทางหนึ่งยิ่งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งขยายตัวกว้างขวางขึ้น
งบฯลงทุนจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบไหน
เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัญนะ แต่วันนี้ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองเป็นเรื่องแรก เพราะเรื่องนี้เป็นหัวใจใหญ่ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเรื่องอื่น เรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ การต่างประเทศ
ถ้าจะลงทุนในอนาคตรัฐก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนทั้งหมด ต้องพูดถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างจริงจัง ต้องเป็นวาระสำคัญของรัฐบาลในส่วนกลางและท้องถิ่น ต้องมีหน่วยงานมารับผิดชอบที่เรียกว่า PPP ต้องมีกฎหมายรองรับ มีคนรับผิดชอบเต็มตัว อาจให้นายกฯเป็นประธาน
การเมืองทุกวันนี้รัฐบาลต้องบริหารสถานการณ์วันต่อวัน
ผมคิดว่าวันนี้คนไทยอยากเห็นคำตอบแบบนั้น เพราะสถานการณ์ที่เผชิญอยู่มันทำให้คนตั้งคำถามว่าจะไปต่อยังไง เมื่อตอนมีม็อบอยู่ที่ราชประสงค์ทุกคนก็ถามว่าจะจบยังไง วันนี้ไม่มีม็อบที่ราชประสงค์แล้ว แต่คำถามยังมีแบบเดิมคือจะจบยังไง ประเทศไทยจะไปยังไง ฉะนั้นผมว่าวันนี้ต้องสามารถพูดถึงโรดแมป ทิศทางของประเทศ ว่าประเทศไทยจะก้าวต่อไปอย่างไร
ปัญหานักการเมืองเป็นเรื่องหลัก
บอกหลายคนสมัยเป็นรัฐบาลว่า อยากจะอยู่นานไปเพื่ออะไร เราอยู่นานแล้วไม่มีใครจำได้อีกเลย กับการที่เราอยู่สั้น ๆ แล้วมีคนจำเราได้ตลอดไป อะไรที่น่าเดินไปสู่ทิศทางนั้นมากกว่ากัน นายกรัฐมนตรีบางคนอย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน อยู่แค่ 1 ปีกับอีก 4 เดือน แต่คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ ผ่านมาแล้วตอนนี้เกือบ 20 ปี คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ เพราะระยะเวลาไม่ใช่ตัวบอกว่ารัฐบาลหรือผู้นำจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลนั้นทำอะไรให้คนรำลึกถึงหรือมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศหรือไม่
บทบาทคุณทักษิณในสนามการเมือง
ผมชอบที่มีคนบอกว่า ไม่ใช่ก้าวข้ามแต่ก้าวคู่ คุณทักษิณก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งของวงการการเมืองไทย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวและไม่ใช่ปัจจัยหลักด้วย แต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องอยู่ในสมการในการพิจารณา
ผมคิดว่าสมการการเมืองไทยมีแฟ็กเตอร์มากมาย คุณทักษิณก็เป็นแฟ็กเตอร์หนึ่ง ถ้าเราไม่ใส่ไปในสมการการเมืองจะทำให้เรามองสมการนั้นไม่ครบ ถ้าเปรียบเทียบวันนี้แฟ็กเตอร์เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ฉะนั้นบทบาทของแฟ็กเตอร์ตัวนี้ บทบาทที่เปลี่ยนแปลงทุกสมการก็จะลดน้อยลง
การกลับมาของ 111 อาจกลับมาได้แค่ 110 คน
วันนี้ไม่มีใครทำนายอนาคตของการเมืองไทยได้ถูกต้องทั้งหมด คิดว่าสมการการเมืองไทยยังมีแฟ็กเตอร์ใหม่ ๆ ออกมาเปลี่ยนตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าจะทำนายอีก 1 ปีจะเกิดอะไรขึ้นเป็นเรื่องยาก แม้แต่วันนี้จะเลือกตั้งเมื่อไรก็ยังทำนายไม่ได้เลย
พรรคเพื่อไทยมีศักยภาพพอที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งด้วยตัวเองหรือไม่
ผมยังคิดว่าพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์ในการรณรงค์เลือกตั้งอยู่ จากเมื่อครั้งเป็นไทยรักไทยหรือพลังประชาชน บทเรียนเหล่านั้นยังใช้ได้สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้จะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเลือกตั้งที่ผ่านมา ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยก็น่าจะพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งจะไม่เท่ากับในอดีต เพราะผมเชื่อว่าสถานการณ์ของการเลือกตั้งถ้ามอง ณ วันนี้ความสามารถในการแข่งขันของพรรคเพื่อไทย อาจจะไม่เท่ากับความสามารถในการแข่งขันของพรรคไทยรักไทยหรือพลังประชาชน
ความสามารถไม่เท่าถึงแม้ว่าคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นคนกลุ่มเดิม
คนที่อยู่เบื้องหลังการรณรงค์เลือกตั้งในอดีต หลายกลุ่มก็ไม่อยู่ ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนความสำเร็จของพรรคไทยรักไทยไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยเดียว ดังนั้นถ้าหากไม่มีอะไรที่สามารถจะทำให้เกิดความเข้มแข็งในการรณรงค์เลือกตั้งได้เร็ว โอกาสที่จะชนะการเลือกตั้ง ทัดเทียมกับในอดีต ก็อาจจะมีแต่ไม่สูงมาก แต่ผมก็ยังเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยยังจะเป็นพรรคใหญ่ แต่จะได้เสียงมากถึงขนาดใกล้ครึ่งหรือไม่ คงต้องรอดูช่วงใกล้ ๆ เลือกตั้ง
ตอนนี้ผลการเลือกตั้งทำนายยากไหม
ส่วนใหญ่ถ้าหากอีก 45 วันจะเลือกตั้ง ปัจจัยต่าง ๆ จะเปิดเผยมาหมดเลย จะเห็นทั้งตัวบุคคล นโยบาย เห็นทั้งเรื่องสถานการณ์แวดล้อมที่จะวิเคราะห์ว่าผลเลือกตั้งน่าจะออกมายังไง คืออย่างถ้าลองทำโพลช่วงก่อนเลือกตั้งสัก 45 วัน จะแม่นผิดพลาดไม่มาก
ผลการเลือกตั้งตอนนี้ ต่อให้ได้คะแนนอันดับหนึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่
อันนี้ทำนายได้เพียงว่าแต่ละพรรคจะได้เท่าไร แต่ว่ารัฐบาลจะเป็นใคร ทำนายไม่ได้เพราะในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะมีทำเนียมปฏิบัติ คือว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ในการเลือกตั้งครั้งหน้าเราคงไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ขนาดนั้นว่า ถึงแม้จะชนะเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้เป็น
ทำไมเป็นอย่างงั้น
ผมบอกว่าไม่มั่นใจ แต่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ตอนเลือกตั้งปี′50 ถึงแม้พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ก็ยังมีผู้ที่มองว่าพรรคพลังประชาชนจะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ด้วยซ้ำไป อาจจะเนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติเริ่มถูกสั่นคลอน ไม่จำเป็นที่พรรคชนะการเลือกตั้งอันดับหนึ่งจะต้องเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล...แนวคิดอย่างนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าจะสำเร็จหรือเปล่าก็เป็นเรื่องของการพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีใครชนะเด็ดขาดจริง ๆ
มันเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ แต่ถามว่าจะได้รับการยอมรับไหม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง...
ประชาธิปัตย์มีความอนุรักษนิยมและเคร่งจารีต คนที่จะสนับสนุนให้ฉีกธรรมเนียมทางการเมืองก็คงไม่ธรรมดา แล้วครั้งนี้จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
ผมคิดว่ากรณีเรื่องเคร่งจารีต คนที่พูดอย่างแข็งขันจริงจังก็คือ ท่านอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ถ้าเป็นท่านชวนค่อนข้างเคร่งจารีต แต่ในปัจจุบันผมยังไม่เห็นความเห็นที่พูดออกมาชัดเจนว่า ถ้าไม่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งแล้ว จะให้เวลาผู้ที่ชนะเป็นอันดับหนึ่งได้จัดตั้งรัฐบาล เรายังไม่เห็นความเห็นอันนั้น
การเมืองปกติเลือกตั้งเข้ามาก็ขึ้นเกมใหม่ แต่ตอนนี้เลือกตั้งกี่ครั้งก็ขึ้นเกมใหม่ไม่ได้เพราะอะไร
ก็คงมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยการเมือง ทั้งระบบ และปัจจัยการทำงานการเมืองของพรรคไทยรักไทย ถ้าเรื่องการเมืองทั้งระบบตอนนี้ยังไม่ใช่การเมืองของคนส่วนใหญ่ที่แท้จริง ผมเชื่อว่าวันนี้สำนึกเหล่านั้นเกิดขึ้นมากเป็นลำดับ และปัจจัยของพรรคการเมืองเองก็ไม่ได้เป็นที่รวมของคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน ฉะนั้นองค์กรทางการเมืองเองไม่สามารถที่จะสร้างคำตอบให้กับประชาชนในการที่จะพัฒนาประเทศได้
พรรคการเมืองและนักการเมืองทำให้เศรษฐกิจล้าหลังหรือเปล่า
ถ้ามองว่าพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้าหลัง...ก็ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจอาจจะผูกติดกับการเมืองส่วนหนึ่ง แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่ขึ้นต่อการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่เมื่อการเมืองล้มเหลวแล้วเศรษฐกิจจะล้มเหลวด้วย เพราะเศรษฐกิจยังมีจุดแข็งของตัวเองอยู่
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
ไอซีที-ไอซีทรู การบริหารแบบ"ผ้าขาวคลุมศพ"สไตล์ อภิสิทธิ์.
โดย สรกล อดุลยานนท์
ครั้งหนึ่ง ผู้บริหารสูงสุดของ "ปูนซิเมนต์ไทย" ถามลูกน้องว่า ระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. ใครทำงานเก่งกว่ากัน
เจอคำถามแบบนี้ ลูกน้องก็ไม่รู้ว่าเจ้านายจะมาทางไหน
เขาไม่ยอมฟันธง แต่ตอบตามความเป็นจริง
เขาบอกว่า ถ้าเทียบฝีมือแล้วนาย ก. ทำงานเก่งกว่า นาย ข.
แต่ถ้าวัดผลงานของหน่วยงาน นาย ข. ดีกว่า นาย ก.
ผู้บริหารคนนั้นพยักหน้าเห็นด้วย แล้วสรุปสั้นๆ ว่า นาย ข. ทำงานเก่งกว่า นาย ก.
เพราะนาย ก. เก่งคนเดียว ส่วนตัวนาย ข. แม้จะไม่เก่งมาก แต่บริหารลูกน้องเก่งกว่าทำให้ผลงานโดยรวมของหน่วยงานดีกว่า
"ผู้บริหาร" นั้น หน้าที่หลักคือ "การบริหาร"
จะเก่งคนเดียวหรือดีคนเดียวไม่ได้
จากเรื่องของบริษัทเอกชน ผมนึกถึงเรื่องการบริหารงานของรัฐบาล
วันนี้ ไม่มีใครกล้าพูดว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ทุจริตคอร์รัปชั่น
ใครๆ ก็ยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีคนนี้มือสะอาดจริง
ไม่เคยทุจริตเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเลย
แต่ถามว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างไร
โพลล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อปลายปี 2553 ระบุเลยว่าการทุจริตของรัฐบาลสูงที่สุดในรอบ 3 ปี
เขาถามนักธุรกิจที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทยว่าเคยจ่ายเงินพิเศษให้รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้โครงการของรัฐหรือไม่
79.7% บอกว่า เคยจ่าย
และจ่ายสูงกว่า 25% ของมูลค่าโครงการ
ถ้า 100 ล้านบาท ต้องจ่ายให้กับนักการเมือง 25 ล้านบาท
ถ้า 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 250 ล้านบาท
ถ้า 6,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 1,500 ล้านบาท
ตัวเลขนี้ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อหุ้นฮัทช์ของกลุ่ม "ทรู" นะครับ
คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีมานานกว่า 2 ปี เขาได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่ "มือสะอาด" มากที่สุดคนหนึ่ง
แต่เมื่อพูดถึงรัฐบาลภายใต้การบริหารของ "อภิสิทธิ์" ใครจะไปนึกว่า รัฐบาลชุดนี้จะได้รับการประณามจากนักธุรกิจว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริตมากที่สุดรัฐบาลหนึ่ง
นึกถึงวิธีคิดของผู้บริหารสูงสุดของปูนใหญ่
ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่ "คนเก่ง" แต่เป็นคนที่บริหารลูกน้องเก่ง
ในมุมกลับ ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่คนที่ "มือสะอาด" คนเดียว
แต่ต้องเป็นคนที่บริหารลูกน้องไม่ให้ทุจริต
เขาดูกันที่ความเสียหายโดยรวม ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล
ไม่ใช่ที่ "ความสะอาด" ของตัว "นายกรัฐมนตรี"
อย่างล่าสุด ถามจริงๆ ว่า คุณอภิสิทธิ์ไม่ได้กลิ่นอะไรกับกรณีการแอบเซ็นสัญญาเงียบๆ ระหว่างกลุ่มทรูกับบริษัท กสท.โทรคมนาคม เลยหรือ??
กลิ่นนี้แรงกว่าโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเสียอีก
คุณอภิสิทธิ์ไม่เคยได้ยินเลยหรือว่า คนในแวดวงโทรคมนาคมเขาแปลชื่อกระทรวง "ไอซีที" ยุค "จุติ ไกรฤกษ์" ว่า "ไอซีทรู"
จะหมายถึง "โปร่งใส" แบบ "ซีทรู"
หรือแปลว่า "ฉันเห็นแต่ทรูเจ้าเดียว"
ไม่มีใครรู้ !!!
หลังการเซ็นสัญญาครั้งนี้ มีคนบอกว่า "ประชาธิปัตย์" พร้อมยุบสภาแล้ว
ไม่ต้องรอให้เลยวันที่ 8 มีนาคม เหมือนที่มีคนเคยวิเคราะห์ไว้
เพราะงานระดมทุนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความจำเป็นแล้ว
ที่มา.มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////////////
ครั้งหนึ่ง ผู้บริหารสูงสุดของ "ปูนซิเมนต์ไทย" ถามลูกน้องว่า ระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. ใครทำงานเก่งกว่ากัน
เจอคำถามแบบนี้ ลูกน้องก็ไม่รู้ว่าเจ้านายจะมาทางไหน
เขาไม่ยอมฟันธง แต่ตอบตามความเป็นจริง
เขาบอกว่า ถ้าเทียบฝีมือแล้วนาย ก. ทำงานเก่งกว่า นาย ข.
แต่ถ้าวัดผลงานของหน่วยงาน นาย ข. ดีกว่า นาย ก.
ผู้บริหารคนนั้นพยักหน้าเห็นด้วย แล้วสรุปสั้นๆ ว่า นาย ข. ทำงานเก่งกว่า นาย ก.
เพราะนาย ก. เก่งคนเดียว ส่วนตัวนาย ข. แม้จะไม่เก่งมาก แต่บริหารลูกน้องเก่งกว่าทำให้ผลงานโดยรวมของหน่วยงานดีกว่า
"ผู้บริหาร" นั้น หน้าที่หลักคือ "การบริหาร"
จะเก่งคนเดียวหรือดีคนเดียวไม่ได้
จากเรื่องของบริษัทเอกชน ผมนึกถึงเรื่องการบริหารงานของรัฐบาล
วันนี้ ไม่มีใครกล้าพูดว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ทุจริตคอร์รัปชั่น
ใครๆ ก็ยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีคนนี้มือสะอาดจริง
ไม่เคยทุจริตเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเลย
แต่ถามว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างไร
โพลล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อปลายปี 2553 ระบุเลยว่าการทุจริตของรัฐบาลสูงที่สุดในรอบ 3 ปี
เขาถามนักธุรกิจที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทยว่าเคยจ่ายเงินพิเศษให้รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้โครงการของรัฐหรือไม่
79.7% บอกว่า เคยจ่าย
และจ่ายสูงกว่า 25% ของมูลค่าโครงการ
ถ้า 100 ล้านบาท ต้องจ่ายให้กับนักการเมือง 25 ล้านบาท
ถ้า 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 250 ล้านบาท
ถ้า 6,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 1,500 ล้านบาท
ตัวเลขนี้ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อหุ้นฮัทช์ของกลุ่ม "ทรู" นะครับ
คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีมานานกว่า 2 ปี เขาได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่ "มือสะอาด" มากที่สุดคนหนึ่ง
แต่เมื่อพูดถึงรัฐบาลภายใต้การบริหารของ "อภิสิทธิ์" ใครจะไปนึกว่า รัฐบาลชุดนี้จะได้รับการประณามจากนักธุรกิจว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริตมากที่สุดรัฐบาลหนึ่ง
นึกถึงวิธีคิดของผู้บริหารสูงสุดของปูนใหญ่
ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่ "คนเก่ง" แต่เป็นคนที่บริหารลูกน้องเก่ง
ในมุมกลับ ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่คนที่ "มือสะอาด" คนเดียว
แต่ต้องเป็นคนที่บริหารลูกน้องไม่ให้ทุจริต
เขาดูกันที่ความเสียหายโดยรวม ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล
ไม่ใช่ที่ "ความสะอาด" ของตัว "นายกรัฐมนตรี"
อย่างล่าสุด ถามจริงๆ ว่า คุณอภิสิทธิ์ไม่ได้กลิ่นอะไรกับกรณีการแอบเซ็นสัญญาเงียบๆ ระหว่างกลุ่มทรูกับบริษัท กสท.โทรคมนาคม เลยหรือ??
กลิ่นนี้แรงกว่าโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเสียอีก
คุณอภิสิทธิ์ไม่เคยได้ยินเลยหรือว่า คนในแวดวงโทรคมนาคมเขาแปลชื่อกระทรวง "ไอซีที" ยุค "จุติ ไกรฤกษ์" ว่า "ไอซีทรู"
จะหมายถึง "โปร่งใส" แบบ "ซีทรู"
หรือแปลว่า "ฉันเห็นแต่ทรูเจ้าเดียว"
ไม่มีใครรู้ !!!
หลังการเซ็นสัญญาครั้งนี้ มีคนบอกว่า "ประชาธิปัตย์" พร้อมยุบสภาแล้ว
ไม่ต้องรอให้เลยวันที่ 8 มีนาคม เหมือนที่มีคนเคยวิเคราะห์ไว้
เพราะงานระดมทุนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความจำเป็นแล้ว
ที่มา.มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////////////
เพื่อไทย ยันปฏิวัติ ไม่ใช่ข่าวปล่อย ปูดแผนจตุรทิศพิชิตเมือง คล้ายบันได 4 ขั้นล้มรัฐบาล ทรท.
ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรค พท. แถลงว่า คณะที่ปรึกษาด้านการเมือง ความมั่นคง ของพรรค พท. ได้หารือกันถึงกระแสข่าวการเตรียมปฏิวัติว่า ท้ายที่สุดอาจจะไม่ใช่การปล่อยข่าว เพราะที่ผ่านมาคณะที่ปรึกษาพรรค พท. ซึ่งมีเครือข่ายเป็นอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาทั่วประเทศ ส่งรายงานแผนการตามความต้องการของผู้มีอำนาจ แต่เกลียดการเลือกตั้ง โดยมีชื่อว่า "แผนจตุรทิศพิชิตเมือง" โดยจะมีลักษณะคล้ายบันใด 4 ขั้นที่ล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย คือมีการชุมนุม สุดท้ายก็ออกมาปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แผนนี้ใช้มาต่อเนื่องจนล้มรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และมาเข้มข้นในช่วงปี 2552-2553
นายจิรายุกล่าวว่า แผนดังกล่าวคือ 1.ทิศแห่งพลัง คือการสร้างพลังให้แข็งแรงกับเครือข่ายของตัวเอง ด้วยการให้มือไม้และแขนขาทำงานได้อย่างแข็งแรง เช่น การใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและมั่นคง เห็นได้จากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทั้ง 2 คดี 2.ทิศแห่งเงินตรา มีการทำคุณให้คนใกล้ชิดด้วยการใช้เงินมหาศาลในทุกระบบ โดยมีรายงานว่าอาจใช้เงินมากกว่างบประมาณของประเทศบางปีด้วยซ้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ ให้เงินพรรคการเมืองซื้อตัวข้าราชการ ซื้อตัว ส.ส.พรรคอื่นไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลในสมัยหน้าและพร้อมจะคืนกลับให้ในรูปแบบใช้เงินงบประมาณประเทศ
นายจิรายุกล่าวว่า 3.ทิศแห่งกฎเกณฑ์ คือการวางกฎเกณฑ์เพื่อให้คู่ต่อสู้อ่อนแอทุกรูปแบบ และพ่ายแพ้ไปในที่สุดด้วยการเขียนกติกาต่างๆ ในสังคมเอง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรค ปชป.ยอมกลืนน้ำลายตัวเองให้แก้รัฐธรรมนูญ และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็โดนแผนนี้จนอ่อนระทวย ต้องหันไปสนับสนุนสูตร ส.ส. 375+125 และ 4.ทิศแห่งอำนาจ ซึ่งหลังมีการจุดประเด็นการปฏิวัติ ก็มีชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นแผนกันเหนียวหากรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลเบี้ยวข้อตกลงข้างต้น และรวมไปถึงการเตรียมการไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากไม่ประสบความสำเร็จก็จะมีการโค่นล้มประชาธิปไตย ด้วยการปั่นกระแสความวุ่นวายในบ้านเมืองแล้วลากรถถังออกมายึดอำนาจ
"แผนจตุรทิศพิชิตเมือง เป็นแผนแม่บท ต้นแบบในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ เห็นได้มาตลอด 2 ปีที่ซึ่งยิ่งใกล้โหมดเลือกตั้ง ก็มีการแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ดูเข้าเค้าตามแผนนี้มากขึ้น เพราะแม้กระทั่งนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ยืนยันตลอดว่าจะให้ลูกพรรคโหวตสูตร 400+100 ก็ยังต้องยูเทิร์นแบบไม่เปิดไฟเลี้ยว ซึ่งมีข่าวว่านายบรรหารยังได้เอ่ยปากขอโทษกับแกนนำพรรคเพื่อไทยด้วยว่า "ขอโทษครับ ผมก็ถูกหักหลัง" " นายจิรายุกล่าว
นายจิรายุกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การออกมาปะทะคารมกันของพรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำกลุ่มพันธมิตรอย่างรุนแรงนั้น น่าสังเกตว่าเป็นการขยิบตาเหยียบเท้าช่วยกันเรียกรถถังหรือไม่ แต่หากมีการยึดอำนาจรอบนี้อาจจะไม่ง่าย จะเกิดการต่อต้านอย่างหนัก ข้าราชการและประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะลุกขึ้นมาสู้ อาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองได้
ที่มา.มติชนอออนไลน์
****************************************************
นายจิรายุกล่าวว่า แผนดังกล่าวคือ 1.ทิศแห่งพลัง คือการสร้างพลังให้แข็งแรงกับเครือข่ายของตัวเอง ด้วยการให้มือไม้และแขนขาทำงานได้อย่างแข็งแรง เช่น การใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและมั่นคง เห็นได้จากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทั้ง 2 คดี 2.ทิศแห่งเงินตรา มีการทำคุณให้คนใกล้ชิดด้วยการใช้เงินมหาศาลในทุกระบบ โดยมีรายงานว่าอาจใช้เงินมากกว่างบประมาณของประเทศบางปีด้วยซ้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ ให้เงินพรรคการเมืองซื้อตัวข้าราชการ ซื้อตัว ส.ส.พรรคอื่นไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลในสมัยหน้าและพร้อมจะคืนกลับให้ในรูปแบบใช้เงินงบประมาณประเทศ
นายจิรายุกล่าวว่า 3.ทิศแห่งกฎเกณฑ์ คือการวางกฎเกณฑ์เพื่อให้คู่ต่อสู้อ่อนแอทุกรูปแบบ และพ่ายแพ้ไปในที่สุดด้วยการเขียนกติกาต่างๆ ในสังคมเอง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรค ปชป.ยอมกลืนน้ำลายตัวเองให้แก้รัฐธรรมนูญ และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็โดนแผนนี้จนอ่อนระทวย ต้องหันไปสนับสนุนสูตร ส.ส. 375+125 และ 4.ทิศแห่งอำนาจ ซึ่งหลังมีการจุดประเด็นการปฏิวัติ ก็มีชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นแผนกันเหนียวหากรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลเบี้ยวข้อตกลงข้างต้น และรวมไปถึงการเตรียมการไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากไม่ประสบความสำเร็จก็จะมีการโค่นล้มประชาธิปไตย ด้วยการปั่นกระแสความวุ่นวายในบ้านเมืองแล้วลากรถถังออกมายึดอำนาจ
"แผนจตุรทิศพิชิตเมือง เป็นแผนแม่บท ต้นแบบในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ เห็นได้มาตลอด 2 ปีที่ซึ่งยิ่งใกล้โหมดเลือกตั้ง ก็มีการแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ดูเข้าเค้าตามแผนนี้มากขึ้น เพราะแม้กระทั่งนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ยืนยันตลอดว่าจะให้ลูกพรรคโหวตสูตร 400+100 ก็ยังต้องยูเทิร์นแบบไม่เปิดไฟเลี้ยว ซึ่งมีข่าวว่านายบรรหารยังได้เอ่ยปากขอโทษกับแกนนำพรรคเพื่อไทยด้วยว่า "ขอโทษครับ ผมก็ถูกหักหลัง" " นายจิรายุกล่าว
นายจิรายุกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การออกมาปะทะคารมกันของพรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำกลุ่มพันธมิตรอย่างรุนแรงนั้น น่าสังเกตว่าเป็นการขยิบตาเหยียบเท้าช่วยกันเรียกรถถังหรือไม่ แต่หากมีการยึดอำนาจรอบนี้อาจจะไม่ง่าย จะเกิดการต่อต้านอย่างหนัก ข้าราชการและประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะลุกขึ้นมาสู้ อาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองได้
ที่มา.มติชนอออนไลน์
****************************************************
ประท้วงในอียิปต์ยอดตายพุ่ง 102 ศพ !!??
ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในอียิปต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเกินระดับ 100 รายแล้ว หลังจากที่เจอกับกระแสการต่อต้านจากประชาชนอย่างหนักในกรุงไคโร ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค ของอียิปต์ แต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ข่าวกรองเป็นรองประธานาธิบดีครั้งแรกเมื่อวาน
หลายฝ่ายมองว่าเรื่องนี้เป็นสัญญาณของการแต่งตั้งทายาททางการเมือง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมและถูกปราบปรามพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยในการประท้วงนาน 5 วัน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 102 ราย โดยเฉพาะเมื่อวานนี้วันเดียวมีผู้เสียชีวิต 33 ราย
สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อวาน ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงเกือบ 30 ปีที่มูบารัคอยู่ในอำนาจ
เมื่อวานเมืองหลวงตกอยู่ในความระส่ำสะสายอย่างหนัก เจ้าของบ้านและธุรกิจร้านค้าในย่านคนมีอันจะกิน ต้องป้องกันตนเองกันอย่างเต็มที่จากพวกที่จะบุกมาปล้นทรัพย์สิน โดยคนเหล่านี้ ที่มีมีดและอื่นๆเป็นอาวุธ พากันเดินไปตามท้องถนน และหยิบฉวยทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ นอกจากนั้นก็ยังทำลายรถยนต์ ป้าย และหน้าต่าง ขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ในบางเขต
รถถังและรถหุ้มเกราะกระจายกำลังกันตามจุดต่างๆทั่วเมืองที่ประชากร 18 ล้านคนเพื่อให้การคุ้มครองอาคารที่ทำการของรัฐบาลสำคัญๆ สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์อียิปต์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บสิ่งของเก่าแก่ล้ำค่าสำคัญของประเทศ และทำเนียบรัฐบาล
แต่ทหารไม่ได้ดำเนินการปราบปรามประชาชนในเมืองหลวงอีกต่อไป แม้กระทั่งหลังจากที่เข้าสู่ช่วงเคอร์ฟิวก็ตาม เมื่อประชาชนต่างก็พากันละเมิดคำสั่งเคอร์ฟิวเป็นวันที่ 2 เพื่อแสดงการปฏิเสธแผนของมูบารัคที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ด้วยการเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองและให้มีรัฐบาลใหม่ ขณะที่การแต่งตั้งนายโอมาร์ สุไลมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของประธานาธิบดี และคนสนิทของมูบารัค เป็นรองประธานาธิบดี ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประท้วงพอใจเช่นกัน
การปราบปรามการชุมนุมประท้วง ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐออกมาวิจารณ์ทางการอียิปต์อย่างหนัก รวมทั้งขู่ที่จะตัดลดความช่วยเหลือมูลค่า 1 พัน 500 ล้านลงด้วย ขณะที่ผู้โดยสารจำนวนมาก ต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินกรุงไคโร จากการที่เที่ยวบินมากมายเลื่อนหรือไม่ก็ยกเลิก ขณะที่ชาติอาหรับหลายประเทศ ก็เริ่มอพยพประชาชนของตนเองกลับประเทศ
ที่มา.เนชั่น
หลายฝ่ายมองว่าเรื่องนี้เป็นสัญญาณของการแต่งตั้งทายาททางการเมือง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมและถูกปราบปรามพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยในการประท้วงนาน 5 วัน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 102 ราย โดยเฉพาะเมื่อวานนี้วันเดียวมีผู้เสียชีวิต 33 ราย
สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อวาน ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงเกือบ 30 ปีที่มูบารัคอยู่ในอำนาจ
เมื่อวานเมืองหลวงตกอยู่ในความระส่ำสะสายอย่างหนัก เจ้าของบ้านและธุรกิจร้านค้าในย่านคนมีอันจะกิน ต้องป้องกันตนเองกันอย่างเต็มที่จากพวกที่จะบุกมาปล้นทรัพย์สิน โดยคนเหล่านี้ ที่มีมีดและอื่นๆเป็นอาวุธ พากันเดินไปตามท้องถนน และหยิบฉวยทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ นอกจากนั้นก็ยังทำลายรถยนต์ ป้าย และหน้าต่าง ขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ในบางเขต
รถถังและรถหุ้มเกราะกระจายกำลังกันตามจุดต่างๆทั่วเมืองที่ประชากร 18 ล้านคนเพื่อให้การคุ้มครองอาคารที่ทำการของรัฐบาลสำคัญๆ สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์อียิปต์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บสิ่งของเก่าแก่ล้ำค่าสำคัญของประเทศ และทำเนียบรัฐบาล
แต่ทหารไม่ได้ดำเนินการปราบปรามประชาชนในเมืองหลวงอีกต่อไป แม้กระทั่งหลังจากที่เข้าสู่ช่วงเคอร์ฟิวก็ตาม เมื่อประชาชนต่างก็พากันละเมิดคำสั่งเคอร์ฟิวเป็นวันที่ 2 เพื่อแสดงการปฏิเสธแผนของมูบารัคที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ด้วยการเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองและให้มีรัฐบาลใหม่ ขณะที่การแต่งตั้งนายโอมาร์ สุไลมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของประธานาธิบดี และคนสนิทของมูบารัค เป็นรองประธานาธิบดี ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประท้วงพอใจเช่นกัน
การปราบปรามการชุมนุมประท้วง ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐออกมาวิจารณ์ทางการอียิปต์อย่างหนัก รวมทั้งขู่ที่จะตัดลดความช่วยเหลือมูลค่า 1 พัน 500 ล้านลงด้วย ขณะที่ผู้โดยสารจำนวนมาก ต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินกรุงไคโร จากการที่เที่ยวบินมากมายเลื่อนหรือไม่ก็ยกเลิก ขณะที่ชาติอาหรับหลายประเทศ ก็เริ่มอพยพประชาชนของตนเองกลับประเทศ
ที่มา.เนชั่น
วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554
จำลองคือของจริง
เขาชื่อ..จำลอง..แต่เขาเป็น “ของจริง”
หลายปีดีดักที่ประเทศนี้..ใช้คำว่าประชาธิปไตย..เป็นลมหายใจของการปกครองประเทศ..เกินกว่าครึ่งของกาลเวลา..มันเป็นประชาธิปไตยแบบ “บริษัท”
และเป็นบริษัทจำกัด..ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน
แต่ไม่ว่าในรูปแบบใด..ก็มี.. “เขาชื่อจำลอง”
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง ทุกคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล..บางครั้งเขามาในรูปแบบของ..ขวาจัด..พรางตัวอยู่ในชุดจำยาก..ก่อนจะเปิดม่าน..สร้างตุลาทมิฬขึ้นมา..ลงเอยด้วยการล่มสลายของรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช..จากการกบฏไปเป็นหัวหน้าปฏิวัติของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม..
คราวหนึ่ง.. “เขาชื่อจำลอง”..เดินนำหน้าประชาชนท้าชนกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ของ พลเอก สุจินดา คราประยูร..เกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมาเป็นวันมหาวิปโยคในเวอร์ชั่นของ..พฤษภาทมิฬ..
กองกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาล..จับ “เขาชื่อจำลอง” ได้หน้าโรงหนังเฉลิมไทย..ในแวดล้อมของประชาชนที่นิยมในตัวเขา..ฝ่าย..กองเชียร์รัฐบาล
ดีอกดีใจ..แต่ไม่ทันข้ามคืน..
“เขาชื่อจำลอง” ก็สร้างปาฏิหาริย์..พลเอก
สุจินดา คราประยูร..ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี..ไม่นานหลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่..องคาพยพแห่งอำนาจของ พลเอก สุจินดา
คราประยูร..ก็ล้มครืนลงมาทั้งยวง..แม่ทัพใหญ่แม่ทัพน้อยทั้งหลายถูก ปลดปล่อยลอยแพ..
สู้กับเผด็จการ..เป็นงานของ “คนชื่อจำลอง”..แต่..ในความเป็นจริงนั้น..เขา
เป็นใคร..??
ประชาธิปไตย..ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่ “เขาชื่อจำลอง” ประคองส่งมอบเก้าอี้ให้ ก็มีอันล้มหายตายพรากไปจาก
แผ่นดินไทย สมัคร สุนทรเวช กับ สมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ก็เพราะ...เขาชื่อจำลอง
วันนี้..เขาชื่อจำลอง..กรีฑาพลมา..ยื่นหน้าทำเนียบ..ที่มี..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี..โดยมีข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..จับรับมืออยู่หรือไม่นั้น..เป็นเรื่องที่ต้องจับตากันดูต่อไป
โดย.พญาไม้ทูเดย์พญาไม้
หลายปีดีดักที่ประเทศนี้..ใช้คำว่าประชาธิปไตย..เป็นลมหายใจของการปกครองประเทศ..เกินกว่าครึ่งของกาลเวลา..มันเป็นประชาธิปไตยแบบ “บริษัท”
และเป็นบริษัทจำกัด..ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน
แต่ไม่ว่าในรูปแบบใด..ก็มี.. “เขาชื่อจำลอง”
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง ทุกคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล..บางครั้งเขามาในรูปแบบของ..ขวาจัด..พรางตัวอยู่ในชุดจำยาก..ก่อนจะเปิดม่าน..สร้างตุลาทมิฬขึ้นมา..ลงเอยด้วยการล่มสลายของรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช..จากการกบฏไปเป็นหัวหน้าปฏิวัติของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม..
คราวหนึ่ง.. “เขาชื่อจำลอง”..เดินนำหน้าประชาชนท้าชนกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ของ พลเอก สุจินดา คราประยูร..เกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมาเป็นวันมหาวิปโยคในเวอร์ชั่นของ..พฤษภาทมิฬ..
กองกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาล..จับ “เขาชื่อจำลอง” ได้หน้าโรงหนังเฉลิมไทย..ในแวดล้อมของประชาชนที่นิยมในตัวเขา..ฝ่าย..กองเชียร์รัฐบาล
ดีอกดีใจ..แต่ไม่ทันข้ามคืน..
“เขาชื่อจำลอง” ก็สร้างปาฏิหาริย์..พลเอก
สุจินดา คราประยูร..ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี..ไม่นานหลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่..องคาพยพแห่งอำนาจของ พลเอก สุจินดา
คราประยูร..ก็ล้มครืนลงมาทั้งยวง..แม่ทัพใหญ่แม่ทัพน้อยทั้งหลายถูก ปลดปล่อยลอยแพ..
สู้กับเผด็จการ..เป็นงานของ “คนชื่อจำลอง”..แต่..ในความเป็นจริงนั้น..เขา
เป็นใคร..??
ประชาธิปไตย..ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่ “เขาชื่อจำลอง” ประคองส่งมอบเก้าอี้ให้ ก็มีอันล้มหายตายพรากไปจาก
แผ่นดินไทย สมัคร สุนทรเวช กับ สมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ก็เพราะ...เขาชื่อจำลอง
วันนี้..เขาชื่อจำลอง..กรีฑาพลมา..ยื่นหน้าทำเนียบ..ที่มี..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี..โดยมีข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..จับรับมืออยู่หรือไม่นั้น..เป็นเรื่องที่ต้องจับตากันดูต่อไป
โดย.พญาไม้ทูเดย์พญาไม้
กระแสปฏิวัติแรง‘อภิสิทธิ์’ระทึกบินร่วมประชุม WEF ที่สวิส
กระแสข่าวปฏิวัติยังแรงแม้หลายฝ่ายจะเรียงหน้าออกมาปฏิเสธ “อภิสิทธิ์” ลุ้นระทึกต้องบินร่วมประชุม World Economic Forum ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 28-31 ม.ค. จะได้กลับหรือไม่ เรียก “สุเทพ” เข้ารับนโยบายทำงานช่วงนั่งรักษาการนายกฯ โฆษกวอร์รูมพรรคเพื่อแผ่นดินระบุสถานการณ์ขณะนี้ผิดปรกติหลายอย่าง ทั้งการชุมนุมของหลายกลุ่มและการจับคนร้ายพร้อมอาวุธเตรียมป่วนเมือง แนะนายกฯชิงตัดหน้ายุบสภาเลือกตั้งใหม่ก่อนถูกครหาได้อำนาจเพราะทหารและต้องลงจากตำแหน่งเพราะทหาร “จาตุรนต์” เชื่อมีกลุ่มคนพยายามใช้ความรุนแรงบีบให้เปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยวิธีการที่สลับซับซ้อน ขณะที่ “ประวิตร-อภิสิทธิ์-สุเทพ” ประสานเสียงยืนยันไม่มีปฏิวัติแน่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงเรื่องการประชุมเตรียมปฏิวัติของนายทหารระดับสูง โดยระบุว่า “ผมไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน หากพวกคุณอยากรู้ให้ไปถามนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าไปเอาข่าวนี้มาจากไหน”
ซัด “จตุพร” ใส่ร้ายกองทัพ
พล.อ.ประวิตรกล่าวอีกว่า นายจตุพรชอบใส่ร้ายกองทัพและพูดอะไรโดยไม่คิด ไม่มีความรับผิดชอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะไม่มีการปฏิวัติ เพราะทหารคงไม่คิดเรื่องนี้
“มาร์ค” ยังมั่นใจในตัว “ประวิตร”
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมั่นใจในตัว พล.อ.ประวิตรอยู่ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มั่นใจ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการปฏิวัติอยู่ๆก็มีข่าวลือออกมา ไม่รู้ไปเอากันมาจากไหน
“สุเทพ” เชื่อไม่มีปฏิวัติแน่
“ไม่มีหรอกครับ ทำไม่ได้หรอกครับ ผมไม่บ้าไปด้วย ไม่รู้เอามาจากไหน” นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์มีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมประจำปี World Economic Forum (WEF) ครั้งที่ 41 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค. นี้ โดยนายกฯได้เรียกนายสุเทพที่จะนั่งรักษาการนายกฯเข้าพบเพื่อมอบหมายภารกิจและนโยบายในการดูแลสถานการณ์การเมือง
“จำลอง” ไม่สนทหารจะปฏิวัติหรือไม่
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า พันธมิตรฯออกมาชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ ไม่ได้หวังเรื่องอื่น
“ใครจะปฏิวัติ ใครจะมาเป็นรัฐบาลเราไม่ได้สนใจ แต่ถ้ามาแล้วทำไม่ถูกต้องเราก็ต้องออกมา เราไม่ได้ชุมนุมให้มีปฏิวัติ เรามีเป้าหมายเดียวคือกดดันให้รัฐบาลออกมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77” พล.ต.จำลองกล่าว
พผ. ชี้สถานการณ์ชักแปลกๆ
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ โฆษกวอร์รูมพรรคเพื่อแผ่นดิน ยอมรับว่า เวลานี้มีกระแสข่าวการปฏิวัติออกมาอย่างต่อเนื่อง มีการพูดถึงขั้นว่าปีนี้จะไม่มีการเลือกตั้ง
“สถานการณ์การเมืองเวลานี้ค่อนข้างแปลกๆหลายเรื่อง ทั้งการชุมนุมที่ออกมาพร้อมกันหลายกลุ่มและการจับกุมผู้ที่เตรียมอาวุธก่อความไม่สงบ สถานการณ์ทุกอย่างดูจะเชื่อมโยงกัน ทางที่ดีนายกรัฐมนตรีควรพิจารณาให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว จะได้ไม่ต้องให้คนอื่นเขาพูดดูถูกว่าเป็นรัฐบาลได้ก็เพราะทหาร พ้นจากตำแหน่งก็เพราะทหาร” นพ.ภูมินทร์กล่าว
“จาตุรนต์” ระบุมีความคิดเปลี่ยนแปลง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยและอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ให้ประชาชนจับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะเชื่อว่าไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุผลตามปรกติไม่ได้
“เทพไท” ย้ำไม่มีข้ออ้างให้ปฏิวัติ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กระแสเรื่องการปฏัวัติเป็นเพียงการสร้างข่าว เพราะขณะนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการปฏิวัติ
“คนที่พูดเรื่องปฏิวัติเป็นการคิดเอาเอง และเป็นพวกที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการใดก็ได้จึงออกมาพูดเรื่องปฏิวัติ” นายเทพไทกล่าวและว่า นอกจากไม่มีเหตุผลที่จะทำการปฏิวัติแล้วรัฐบาลยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่วิตกกังวลใดๆต่อกระแสการปฏิวัติ มั่นใจว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของข่าวลือ อยากให้คนปล่อยข่าวนี้ยุติเสียที
นายเทพไทกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนแล้วว่าจะยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเดือน เม.ย. หรือ พ.ค. นี้ จึงไม่จำเป็นอะไรที่ต้องปฏิวัติ
ที่มา .หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงเรื่องการประชุมเตรียมปฏิวัติของนายทหารระดับสูง โดยระบุว่า “ผมไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน หากพวกคุณอยากรู้ให้ไปถามนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าไปเอาข่าวนี้มาจากไหน”
ซัด “จตุพร” ใส่ร้ายกองทัพ
พล.อ.ประวิตรกล่าวอีกว่า นายจตุพรชอบใส่ร้ายกองทัพและพูดอะไรโดยไม่คิด ไม่มีความรับผิดชอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะไม่มีการปฏิวัติ เพราะทหารคงไม่คิดเรื่องนี้
“มาร์ค” ยังมั่นใจในตัว “ประวิตร”
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมั่นใจในตัว พล.อ.ประวิตรอยู่ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มั่นใจ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการปฏิวัติอยู่ๆก็มีข่าวลือออกมา ไม่รู้ไปเอากันมาจากไหน
“สุเทพ” เชื่อไม่มีปฏิวัติแน่
“ไม่มีหรอกครับ ทำไม่ได้หรอกครับ ผมไม่บ้าไปด้วย ไม่รู้เอามาจากไหน” นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์มีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมประจำปี World Economic Forum (WEF) ครั้งที่ 41 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค. นี้ โดยนายกฯได้เรียกนายสุเทพที่จะนั่งรักษาการนายกฯเข้าพบเพื่อมอบหมายภารกิจและนโยบายในการดูแลสถานการณ์การเมือง
“จำลอง” ไม่สนทหารจะปฏิวัติหรือไม่
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า พันธมิตรฯออกมาชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ ไม่ได้หวังเรื่องอื่น
“ใครจะปฏิวัติ ใครจะมาเป็นรัฐบาลเราไม่ได้สนใจ แต่ถ้ามาแล้วทำไม่ถูกต้องเราก็ต้องออกมา เราไม่ได้ชุมนุมให้มีปฏิวัติ เรามีเป้าหมายเดียวคือกดดันให้รัฐบาลออกมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77” พล.ต.จำลองกล่าว
พผ. ชี้สถานการณ์ชักแปลกๆ
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ โฆษกวอร์รูมพรรคเพื่อแผ่นดิน ยอมรับว่า เวลานี้มีกระแสข่าวการปฏิวัติออกมาอย่างต่อเนื่อง มีการพูดถึงขั้นว่าปีนี้จะไม่มีการเลือกตั้ง
“สถานการณ์การเมืองเวลานี้ค่อนข้างแปลกๆหลายเรื่อง ทั้งการชุมนุมที่ออกมาพร้อมกันหลายกลุ่มและการจับกุมผู้ที่เตรียมอาวุธก่อความไม่สงบ สถานการณ์ทุกอย่างดูจะเชื่อมโยงกัน ทางที่ดีนายกรัฐมนตรีควรพิจารณาให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว จะได้ไม่ต้องให้คนอื่นเขาพูดดูถูกว่าเป็นรัฐบาลได้ก็เพราะทหาร พ้นจากตำแหน่งก็เพราะทหาร” นพ.ภูมินทร์กล่าว
“จาตุรนต์” ระบุมีความคิดเปลี่ยนแปลง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยและอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ให้ประชาชนจับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะเชื่อว่าไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุผลตามปรกติไม่ได้
“เทพไท” ย้ำไม่มีข้ออ้างให้ปฏิวัติ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กระแสเรื่องการปฏัวัติเป็นเพียงการสร้างข่าว เพราะขณะนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการปฏิวัติ
“คนที่พูดเรื่องปฏิวัติเป็นการคิดเอาเอง และเป็นพวกที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการใดก็ได้จึงออกมาพูดเรื่องปฏิวัติ” นายเทพไทกล่าวและว่า นอกจากไม่มีเหตุผลที่จะทำการปฏิวัติแล้วรัฐบาลยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่วิตกกังวลใดๆต่อกระแสการปฏิวัติ มั่นใจว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของข่าวลือ อยากให้คนปล่อยข่าวนี้ยุติเสียที
นายเทพไทกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนแล้วว่าจะยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเดือน เม.ย. หรือ พ.ค. นี้ จึงไม่จำเป็นอะไรที่ต้องปฏิวัติ
ที่มา .หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ปฏิวัตินะจ๊ะ (ฮา) !!??
ปีเถาะ 2554 เป็นปีที่ต้องต่อสู้กันทรหดทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ใครก็ตามที่เป็นรัฐบาลต้องเผชิญวิกฤตการณ์รุนแรงที่สุด ฝ่ายค้านจะแย่งอำนาจ คนในเครื่องแบบจะรอให้ทั้ง 2 ฝ่ายเพลี่ยงพล้ำลง ส่วนประชาชนตาดำๆและยากจนจะหวาดผวา ปัญหาคอร์รัปชันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ต้นปี ถึงขนาดรัฐบาลต้องมีอันเป็นไป เหตุการณ์ของประเทศจะพลิกผันอย่างที่ไม่เคยเห็น และจะเกิดความว่างเปล่า ไม่มีนัก การเมืองพรรคใดหลงเหลืออยู่ในระบบ พรรคการเมืองจะสูญสิ้นไปจากประวัติศาสตร์การเมืองไทย”
คำพยากรณ์ของโหราจารย์ชื่อดัง “โสรัจจะ นวลอยู่” ที่พยากรณ์ดวงเมืองปี 2554 และชี้ว่าดาวสีเลือดได้รับแสงจากดาวมฤตยูในช่วงเดือนมีนาคม 2554 เป็นดาวปฏิวัตินองเลือดในมุมร่วมธาตุ เกิดสภาพการณ์เดือดพลุ่งพล่านไม่สงบ เกิดเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เกิดศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก เกิดความยุ่งยากทางการเมืองขนาดหนัก ซึ่งผู้เป็นใหญ่และผู้คนสำคัญจะร่วงหล่นกันมาก อำนาจเก่าๆของคนเก่าๆจะเสื่อมถอย จะเกิดเหตุการณ์นองเลือดรุนแรง กลุ่มชน ฝูงชนอาจจะเคลื่อนไหวโดยการสนับสนุนของผู้มีอำนาจเก่าอย่างเร้นลับ และเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้ง
“นักการเมืองชั่วพึงระวังเอาไว้ ถึงเวลานั้นประชาชนอาจลุกฮือขึ้นมาฆ่าเองโดยไม่แคร์ขื่อแปบ้านเมือง ดวงของบ้านเมืองใกล้ถึงจุดนี้แล้ว”
“สฤษดิ์ 2” ทหารครองเมือง!
การพยากรณ์ของโหรโสรัจจะจึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในทุกวงการ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับหมอนิด (กิจจา ทวีกุลกิจ) ที่ยืนยันว่าการปฏิวัติรัฐประหารมีโอกาสเกิดสูงมาก ไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง เพราะการเมืองและบ้านเมืองวุ่นวายหนัก ทั้งเคยพยากรณ์ว่าทหารเกิดการปีนเกลียวกัน แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนจะชิงลงมือก่อน ปีสองปีนี้ทหารยังมีบทบาทและมีอำนาจยิ่งกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งอาจได้เห็น “สฤษดิ์ 2” พรรคการเมืองจึงมีสิทธิพักงานยาว
แม้ที่ผ่านมา “ผู้นำรอด แต่ประเทศไม่รอด” เพราะคนรับกรรมคือพ่อค้า ประชาชน ไม่ใช่นักการเมือง หมอนิดยังเตือน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่าจะทำการอะไรต้องรอบคอบและระวังจะผิดพลาด หรือทำสำเร็จแล้วแต่ส่งไม้ต่อให้กับคนดวงไม่ดีประเทศก็จะเสียหาย
ขณะที่นายภิญโญ พงศ์เจริญ นายกสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ เตือนให้ระวังจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เช่นเดียวกับนายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ประธานกรรมการสถาบันศาสตร์แห่งชีวิตแห่งประเทศไทย พยากรณ์ว่า บ้านเมืองจะปั่นป่วนถึงขั้นมีอาวุธ ระเบิด ปืนไฟ สร้างปัญหาจนคนในเครื่องแบบต้องออกมาดูแลบ้านเมือง แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือดก็หนีไม่พ้นปฏิวัติรัฐประหาร ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ต้องการให้ถึงขั้นนั้นต้องอดทนและใจเย็น เอาน้ำเย็นเข้าลูบ และให้ผู้มีความสามารถประสานมือทั้งสิบทิศคุยกับทุกฝ่าย
รัฐบาลชนวนวิกฤต?
การพยากรณ์ของโหรดังหลายคนจึงสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เพราะตั้งแต่ปลายปี 2553 ก็มีสัญญาณความวุ่นวายในบ้านเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่กรณี 7 คนไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชาจับกุมตัวและนำมาสู่การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยู 43 ถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก และใช้ความเด็ดขาดผลักดันชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทย ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ยังเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมกรณีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”
ขณะที่รัฐบาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะช่วงใกล้จะหมดวาระของรัฐบาลมีการนำงบประมาณไปใช้หาเสียงและจัดสรรผลประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลตามโครงการต่างๆ หรืออย่างที่เห็นล่าสุดก็คือ นโยบายประชาวิวัฒน์ที่เป็นการลดแหลก แจก แถม โดยไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ เพราะมัวแต่คิดถึงอนาคตการเลือกตั้งครั้งต่อไปเท่านั้น
แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านวาระ 2 ที่แก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว และสัดส่วน ส.ส.เลือกตั้งกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น 375 ต่อ 125 ก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองเองทั้งสิ้น
แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะประกาศแผนปฏิรูปประเทศ โดยตั้งคณะกรรมการต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นคณะของนายอานันท์ ปันยารชุน นายแพทย์ประเวศ วะสี นายคณิต ณ นคร และนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผ่านมาแล้วหลายเดือนแทบจะไม่มีอะไรคืบหน้า นอกจากข้อเสนอ 6 ข้อของนายสมบัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลเลือกเฉพาะประเด็นที่เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลและพวกพ้องเท่านั้น ประเด็นที่เห็นชัดว่าสวนทางระบอบประชาธิปไตยชัดๆ อย่างเช่น ส.ว.สรรหาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งกลับไม่กล้าแตะต้อง
รักชาติแบบพันธมิตรฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯที่เคยให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ แต่กลับมาขับไล่รัฐบาลนั้น ได้ออกมาประณามนายอภิสิทธิ์ว่าเป็นจอมโกหก โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ไล่เรียงมาตั้งแต่ปี 2548 ที่นำพันธมิตรฯออกมาสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ล้วนสู้เพื่อหลักการทั้งสิ้น ไม่ได้สู้เพื่อพรรคประชาธิปัตย์ หรือเพื่อใคร แต่มวลชนอีกส่วนหนึ่งต่อสู้เพราะเห็นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ดีจึงอยากให้ปกครองบ้านเมือง แต่วันนี้คนที่ชูนายอภิ-สิทธิ์เพราะคิดว่ายังขายได้ ขายได้กับคนโง่ๆ ประเทศไทยฉิบหาย นอกจากเพราะนักการเมืองเลวแล้วยังมีคนโง่ๆที่หลงในความหล่อ
“ยังไม่เคยเห็นนายกฯคนไหนโกหกเท่านายกฯคนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯที่ปลิ้นปล้อนที่สุด แต่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่โกหกมากที่สุด วันนี้นอกจากจะใช้วิชามารเรื่องข่าวแล้วเขายังฝันว่าเราจะมีอยู่แค่หยิบมือเดียว แต่เขาเข้าใจผิด ที่ผ่านมาเราไม่ได้สู้เพื่อประชาธิปัตย์ แต่เราสู้เพื่อชาติบ้านเมือง”
ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อเป็นสิ่งที่รัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ทำได้ง่าย และสามารถทำได้นานแล้วแต่ไม่ยอมทำ อ้างว่าจะเกิดสงคราม ถ้ากลัวก็เปลี่ยนเพลงชาติหรือยกเลิกไปเลย ถ้าจะเป็นประเทศขี้กลัว ทั้งยังพูดถึงบทบาทของกองทัพว่า
“ทหารอย่างพวกผมไม่ได้มีไว้สำหรับอวดเด็กกับอวดผู้ใหญ่เท่านั้น อวดเด็กคือจัดงานวันเด็กให้เด็กไปดูแสนยานุภาพที่ซื้อมาด้วยเงินแพงๆ อวดผู้ใหญ่คือสวนสนาม อวดเด็ก อวดผู้ใหญ่ อวดไป แต่เขามีไว้เพื่อปกป้องดินแดน พวกผมถูกฝึกมากินเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน เพื่อสู้รบทำอย่างเดียวคือปกป้องดินแดน แต่เขมรขู่เอาๆ กำลังที่เราเอามาเป็นกำลังในการต่อรองไม่ต้องใช้อำนาจกองทัพบก กองทัพเรือ ใช้แค่บางส่วนของกองทัพอากาศเขมรก็หงอแล้ว เพราะเครื่องบินรบที่ทันสมัยเขมรมี 4 ลำ มิก 21 ใช้ไม่ได้แล้ว เก่าเกินไป บินไม่ได้ ของเรามีเอฟ 5 เอฟ 16 เป็นร้อยลำ”
ผลประโยชน์แอบแฝง?
ท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯจึงไม่ใช่แค่เรียกร้อง 3 ข้อ แต่ยังต้องการให้รัฐบาลและกองทัพใช้มาตรการที่เด็ดขาดรุนแรงกับฝ่ายกัมพูชาอีกด้วย อย่างที่ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แกนนำพันธมิตรฯและอดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย ปราศรัยว่า ภาคใต้เคยมีปัญหาชนกลุ่มน้อยกับมาเลเซีย ลาวมีปัญหาม้ง แต่ก็เจรจาส่งกลับและไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต้องมีเอ็มโอยูอะไร แต่ประเทศไทยกลับแสดงความอ่อนแอกับการยกเลิกเอ็มโอยู 43 ยิ่งนายอภิสิทธิ์เถียงข้างๆคูๆยิ่งชี้ให้เห็นว่าต้องมีผลประโยชน์แอบแฝงแน่นอน เพราะมีแหล่งทรัพยากรที่ประเทศใหญ่ๆจ้องจะเอา และเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งสิ้น การเป็นสมาชิกยูเนสโกไม่ใช่ออกแล้วจะอดตาย ทุกวันนี้เข้าร่วมแล้วฉิบหายมากกว่า
“พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-พม่าน่าเป็นห่วงเช่นกัน ถ้าไม่เลิกเอ็มโอยู 43 พม่าอาจจะคิดแบบกัมพูชาในอนาคตเพื่อจะเอาดินแดนบ้าง เพราะเรามันอ่อนแอ พวกเรามาทำหน้าที่ในวันนี้ถูกต้องแล้ว ยิ่งใหญ่กว่า 193 วันที่ผ่านมาอีก เพราะ 193 วันไล่บุคคลและระบอบที่ชั่วร้ายออกไปแต่ไม่หมดสิ้น ดังนั้น จะกำจัดให้หมดต้องใช้เวลา แต่การรักษาแผ่นดินไทย วันนี้ถ้าไม่ออกมาให้มากเสียดินแดนแน่นอน”
ใครขายชาติ?
แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กลับตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มพันธมิตรฯว่าเป็นอันตรายต่อบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีทำตามไม่ได้ สงสัยทำไมจึงยื่นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯก็ถามกลับทันทีว่าใครกันแน่ที่ขายชาติ ท่าทีของนายสุเทพจึงสมควรตำหนิอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะบิดเบือนอย่างร้ายกาจแล้ว หากย้อนหลังบทบาทของนายสุเทพก็มีส่วนสำคัญในการย่ำยีหัวใจคนไทย ยอมอ่อนข้อให้กับต่างชาติจนทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตย
นายสุเทพเคยระบุว่า 7 คนไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาลึกเข้าไปถึง 1.2 กิโลเมตร พร้อมทั้งให้ยอมรับคำตัดสินของศาลกัมพูชา ซึ่งเป็นคำพูดในทำนองเดียวกับผู้นำอื่นๆในรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่มีกองทัพก็อยู่ไม่ได้
จึงเห็นได้ชัดเจนว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ใช่เพื่อเจรจาและประนีประนอม แต่ต้องการให้รัฐบาลทำตามที่เรียกร้อง จึงไม่แปลกที่จะมีการตั้งคำถามถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯครั้งนี้ว่ามีเบื้องหลังอะไรมากกว่าที่เป็นข่าวหรือไม่
กลุ่มพันธมิตรฯต้องการให้กองทัพเข้ามามีบท บาทในการแก้ปัญหาอย่างไร แค่ไหน?
เพราะในทางปฏิบัติผู้นำกองทัพต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาล ยกเว้นแต่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า กองทัพต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนก็แก้ปัญหาชายแดนมาตามลำดับ จนท้ายสุดมาอยู่ที่เอ็มโอยู 43 ทหารก็ต้องทำตามกรอบของการพัฒนา ไม่ใช่ทหารจะไปทำอะไรใครก็ได้ ตรงไหนที่มีความชัดเจนของเส้นเขตแดนก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าตรงไหนมีปัญหาจะมีสัญญาในการดูแลกัน
“ถ้าไม่รักประเทศชาติจะเป็นทหารได้อย่างไร ผมอยากจะรู้นัก ใครอยากจะพูดอะไรต่างๆก็ตาม ให้กลับไปคิดและทบทวนดูสิว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ที่ทหารไม่พูดเพราะพูดไปแล้วจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำในการเจรจาพูดคุย มีอะไรต้องมาพูดกันหมดเลยหรือ ซึ่งมันไม่ใช่ รัฐมนตรีกลาโหมก็ทำเต็มที่ กองทัพ
ก็ทำเต็มที่ แล้วท่านมาบอกว่ากองทัพบกกลัวใคร ทำไมไม่ทำ มีผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า ท่านเอาอะไรมากล่าวอ้างผมไม่รู้ กองทัพไม่เคยกลัวใคร ซึ่งผมไม่อยากจะพูดคำนี้ แต่ผมเป็น ผบ.ทบ. ทหารบกทั้งกองทัพมีจำนวน 200,000 กว่าคน เขาก็ดูอยู่ว่าผมปกป้องศักดิ์ศรีของเขาหรือเปล่า ผมก็ต้องปกป้องเขา เพราะผมรู้ว่าลูกน้องผมเขาไม่ได้ทำอย่างนั้น เขาสูญเสียอะไรต่างๆมามากมาย ลูกเมียเดือดร้อน ผมพูดไปก็จะหาว่ากองทัพบกทวงบุญคุณอีก และผมจะพูดอะไรได้ ผมต้องปล่อยให้ด่าอยู่ข้างเดียวหรือไง กองทัพถูกด่าข้างเดียวไม่ถูก ผมว่าไม่เป็นธรรม ท่านต้องช่วยกองทัพ วันนี้ถ้าท่านไม่มีกองทัพ ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีทหาร ไม่มีคนทำงาน ท่านจะอยู่อย่างไร ท่านไปถามตัวของท่านเองก็แล้วกัน”
“เชื้ออุบาทว์” ยังอยู่
คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์เรื่องบทบาทของกองทัพกับนายสุเทพ ซึ่งตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯที่รัฐบาลทำไม่ได้นั้น ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวก่อนจะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า “ความพยายามก่อการรัฐประหารยังมีเชื้อหลงเหลือ”
โดย พล.อ.ชวลิตยืนยันว่า โอกาสการทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง เพราะอีกฝ่ายต้องการยื้ออำนาจต่อไป จึงมีการปล่อยข่าวรัฐประหารเพื่อโยนหินถามทาง แม้วันนี้จะทำได้ยากเพราะประชาชนตื่นตัว แต่ต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร ซึ่งมีทางเดียวคือต้องให้มวลชนตื่นตัว ใครคิดเปลี่ยนแปลงในทางไม่ถูกต้องประชาชนต้องไม่ยอมรับ
ทำไมต้องรัฐประหาร?
การออกมาเตือนเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารของ พล.อ.ชวลิตจึงไม่ใช่การปล่อยข่าวหรือโกหกตอแหลอย่างไร้สาระเหมือนนักการเมืองมากมายขณะนี้ แต่การปฏิวัติรัฐประหารมีความเป็นไปได้ตลอดเวลาสำหรับการเมือง ตราบใดที่บ้านเมืองยังอยู่ในมือของกลุ่มผู้มีอำนาจนอกระบบและผู้นำกองทัพ ขณะที่นักการเมืองยังเป็นแค่ “นักเลือกตั้ง” และ “พวกลากตั้ง” เข้ามา
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ก็เหมือนน้ำท่วมปากกับกระแสข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาล แม้จะไม่มี
ใบเสร็จแต่โครงการมากมายก็มีหลักฐานส่อว่าไม่โปร่งใส โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้าแตะต้องหรือเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาเพียงเพื่อไม่ให้รัฐบาลล้มหรือตัวเองยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งนายสนธิได้นำมาโจมตีนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
อย่างการประมูลข้าวมีนักการเมืองได้ประโยชน์หลายพันล้านบาท การอนุญาตนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อให้นักการเมืองของพรรคเก่าแก่ขนน้ำมันปาล์มเถื่อนเข้ามาได้และมีกำไรมากขึ้น การตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยข้ามลำดับอาวุโสถึง 50 อันดับ การแต่งตั้งตำรวจระดับผู้กำกับก็มีการตั้งโต๊ะในทำเนียบรัฐบาลเก็บเงินหัวละ 3-5 ล้านบาท
แต่ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าพรรคการเมืองใหม่จะมีที่ยืนในเวทีการเมืองหรือไม่ เพราะหลังจากการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข. ในกรุงเทพมหานครที่พรรคการ เมืองใหม่แจ้งเกิดไม่ได้เลยแม้แต่ที่นั่งเดียว การออกมาของพันธมิตรฯครั้งนี้มีเบื้องหลังเพื่อหาที่ยืนหรือไม่? บทบาทของพันธมิตรฯจะเป็นอย่างไรต่อไปหากมีการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีการปฏิวัติรัฐประหารก็เท่ากับว่าทุกพรรคการเมืองถูกบอนไซเหมือนกันหมด หรืออาจถูกล้างไพ่ใหม่ทั้งหมด หรือการออกมาของพันธมิตรฯก็เพื่อปูพรมแดงให้ทหารเดินออกมาปฏิวัติรัฐประหารเหมือน 19 กันยายน 2549 อีกหรือไม่?
ปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ในขณะที่กองทัพก็มักจะอ้างความมั่นคง การหมิ่นสถาบัน และข้อหาฉกาจฉกรรจ์ เพื่อกำจัดนักการเมืองชั่วที่คอร์รัปชันทุกครั้งในการยึดอำนาจ แต่ไม่เคยพูดถึงความโปร่งใส การจัดซื้อในกองทัพ งบลับทหาร หรือแม้แต่การแย่งชิงอำนาจกันเอง โดยเฉพาะนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งรัฐบาลและนัก การเมืองต่างเอาอกเอาใจกองทัพเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นับแสนล้าน หรืองบประมาณของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ไม่ยอมเปิดเผย นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีการกล่าวหาเรื่องการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่ไม่โปร่งใสหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรือเหาะที่กลายเป็นเรือเหี่ยวที่บินไม่ได้ ตำนานไม้ล้างป่าช้า-จีที 200 การจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากยูเครน หรือการจัดซื้อรถยุทธวิธี (ปิกอัพ) กันกระสุนจำนวน 300 คัน ราคาคันละ 2.5 ล้านบาทที่ยังฝุ่นตลบอยู่
ดังนั้น การปฏิวัติรัฐประหารจึงอาจไม่ใช่แค่การปัดกวาดนักการเมืองและพรรคการเมืองเน่าๆออกจากระบบเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆภายในกองทัพและกลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆให้ลงตัว แถมยังสามารถกวาดขยะของกองทัพเองซุกไว้ใต้พรมสีเหลืองอร่ามได้อีกด้วย
นายอภิสิทธิ์จึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อจะอยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด แม้จะเป็นผู้นำที่สั่งการอะไรไม่ได้ก็ตาม แต่อย่างน้อยนายอภิสิทธิ์ยังสามารถเดิน สายสร้างภาพรำป้อ เป็น “พระเอกลิเก” ขวัญใจพ่อยกแม่ยก ต่อไปได้เรื่อยๆ...
จนกว่าจะเกิดการปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
ssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssss
คำพยากรณ์ของโหราจารย์ชื่อดัง “โสรัจจะ นวลอยู่” ที่พยากรณ์ดวงเมืองปี 2554 และชี้ว่าดาวสีเลือดได้รับแสงจากดาวมฤตยูในช่วงเดือนมีนาคม 2554 เป็นดาวปฏิวัตินองเลือดในมุมร่วมธาตุ เกิดสภาพการณ์เดือดพลุ่งพล่านไม่สงบ เกิดเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เกิดศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก เกิดความยุ่งยากทางการเมืองขนาดหนัก ซึ่งผู้เป็นใหญ่และผู้คนสำคัญจะร่วงหล่นกันมาก อำนาจเก่าๆของคนเก่าๆจะเสื่อมถอย จะเกิดเหตุการณ์นองเลือดรุนแรง กลุ่มชน ฝูงชนอาจจะเคลื่อนไหวโดยการสนับสนุนของผู้มีอำนาจเก่าอย่างเร้นลับ และเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้ง
“นักการเมืองชั่วพึงระวังเอาไว้ ถึงเวลานั้นประชาชนอาจลุกฮือขึ้นมาฆ่าเองโดยไม่แคร์ขื่อแปบ้านเมือง ดวงของบ้านเมืองใกล้ถึงจุดนี้แล้ว”
“สฤษดิ์ 2” ทหารครองเมือง!
การพยากรณ์ของโหรโสรัจจะจึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในทุกวงการ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับหมอนิด (กิจจา ทวีกุลกิจ) ที่ยืนยันว่าการปฏิวัติรัฐประหารมีโอกาสเกิดสูงมาก ไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง เพราะการเมืองและบ้านเมืองวุ่นวายหนัก ทั้งเคยพยากรณ์ว่าทหารเกิดการปีนเกลียวกัน แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนจะชิงลงมือก่อน ปีสองปีนี้ทหารยังมีบทบาทและมีอำนาจยิ่งกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งอาจได้เห็น “สฤษดิ์ 2” พรรคการเมืองจึงมีสิทธิพักงานยาว
แม้ที่ผ่านมา “ผู้นำรอด แต่ประเทศไม่รอด” เพราะคนรับกรรมคือพ่อค้า ประชาชน ไม่ใช่นักการเมือง หมอนิดยังเตือน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่าจะทำการอะไรต้องรอบคอบและระวังจะผิดพลาด หรือทำสำเร็จแล้วแต่ส่งไม้ต่อให้กับคนดวงไม่ดีประเทศก็จะเสียหาย
ขณะที่นายภิญโญ พงศ์เจริญ นายกสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ เตือนให้ระวังจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เช่นเดียวกับนายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ประธานกรรมการสถาบันศาสตร์แห่งชีวิตแห่งประเทศไทย พยากรณ์ว่า บ้านเมืองจะปั่นป่วนถึงขั้นมีอาวุธ ระเบิด ปืนไฟ สร้างปัญหาจนคนในเครื่องแบบต้องออกมาดูแลบ้านเมือง แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือดก็หนีไม่พ้นปฏิวัติรัฐประหาร ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ต้องการให้ถึงขั้นนั้นต้องอดทนและใจเย็น เอาน้ำเย็นเข้าลูบ และให้ผู้มีความสามารถประสานมือทั้งสิบทิศคุยกับทุกฝ่าย
รัฐบาลชนวนวิกฤต?
การพยากรณ์ของโหรดังหลายคนจึงสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เพราะตั้งแต่ปลายปี 2553 ก็มีสัญญาณความวุ่นวายในบ้านเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่กรณี 7 คนไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชาจับกุมตัวและนำมาสู่การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยู 43 ถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก และใช้ความเด็ดขาดผลักดันชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทย ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ยังเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมกรณีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”
ขณะที่รัฐบาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะช่วงใกล้จะหมดวาระของรัฐบาลมีการนำงบประมาณไปใช้หาเสียงและจัดสรรผลประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลตามโครงการต่างๆ หรืออย่างที่เห็นล่าสุดก็คือ นโยบายประชาวิวัฒน์ที่เป็นการลดแหลก แจก แถม โดยไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ เพราะมัวแต่คิดถึงอนาคตการเลือกตั้งครั้งต่อไปเท่านั้น
แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านวาระ 2 ที่แก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว และสัดส่วน ส.ส.เลือกตั้งกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น 375 ต่อ 125 ก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองเองทั้งสิ้น
แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะประกาศแผนปฏิรูปประเทศ โดยตั้งคณะกรรมการต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นคณะของนายอานันท์ ปันยารชุน นายแพทย์ประเวศ วะสี นายคณิต ณ นคร และนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผ่านมาแล้วหลายเดือนแทบจะไม่มีอะไรคืบหน้า นอกจากข้อเสนอ 6 ข้อของนายสมบัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลเลือกเฉพาะประเด็นที่เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลและพวกพ้องเท่านั้น ประเด็นที่เห็นชัดว่าสวนทางระบอบประชาธิปไตยชัดๆ อย่างเช่น ส.ว.สรรหาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งกลับไม่กล้าแตะต้อง
รักชาติแบบพันธมิตรฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯที่เคยให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ แต่กลับมาขับไล่รัฐบาลนั้น ได้ออกมาประณามนายอภิสิทธิ์ว่าเป็นจอมโกหก โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ไล่เรียงมาตั้งแต่ปี 2548 ที่นำพันธมิตรฯออกมาสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ล้วนสู้เพื่อหลักการทั้งสิ้น ไม่ได้สู้เพื่อพรรคประชาธิปัตย์ หรือเพื่อใคร แต่มวลชนอีกส่วนหนึ่งต่อสู้เพราะเห็นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ดีจึงอยากให้ปกครองบ้านเมือง แต่วันนี้คนที่ชูนายอภิ-สิทธิ์เพราะคิดว่ายังขายได้ ขายได้กับคนโง่ๆ ประเทศไทยฉิบหาย นอกจากเพราะนักการเมืองเลวแล้วยังมีคนโง่ๆที่หลงในความหล่อ
“ยังไม่เคยเห็นนายกฯคนไหนโกหกเท่านายกฯคนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯที่ปลิ้นปล้อนที่สุด แต่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่โกหกมากที่สุด วันนี้นอกจากจะใช้วิชามารเรื่องข่าวแล้วเขายังฝันว่าเราจะมีอยู่แค่หยิบมือเดียว แต่เขาเข้าใจผิด ที่ผ่านมาเราไม่ได้สู้เพื่อประชาธิปัตย์ แต่เราสู้เพื่อชาติบ้านเมือง”
ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อเป็นสิ่งที่รัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ทำได้ง่าย และสามารถทำได้นานแล้วแต่ไม่ยอมทำ อ้างว่าจะเกิดสงคราม ถ้ากลัวก็เปลี่ยนเพลงชาติหรือยกเลิกไปเลย ถ้าจะเป็นประเทศขี้กลัว ทั้งยังพูดถึงบทบาทของกองทัพว่า
“ทหารอย่างพวกผมไม่ได้มีไว้สำหรับอวดเด็กกับอวดผู้ใหญ่เท่านั้น อวดเด็กคือจัดงานวันเด็กให้เด็กไปดูแสนยานุภาพที่ซื้อมาด้วยเงินแพงๆ อวดผู้ใหญ่คือสวนสนาม อวดเด็ก อวดผู้ใหญ่ อวดไป แต่เขามีไว้เพื่อปกป้องดินแดน พวกผมถูกฝึกมากินเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน เพื่อสู้รบทำอย่างเดียวคือปกป้องดินแดน แต่เขมรขู่เอาๆ กำลังที่เราเอามาเป็นกำลังในการต่อรองไม่ต้องใช้อำนาจกองทัพบก กองทัพเรือ ใช้แค่บางส่วนของกองทัพอากาศเขมรก็หงอแล้ว เพราะเครื่องบินรบที่ทันสมัยเขมรมี 4 ลำ มิก 21 ใช้ไม่ได้แล้ว เก่าเกินไป บินไม่ได้ ของเรามีเอฟ 5 เอฟ 16 เป็นร้อยลำ”
ผลประโยชน์แอบแฝง?
ท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯจึงไม่ใช่แค่เรียกร้อง 3 ข้อ แต่ยังต้องการให้รัฐบาลและกองทัพใช้มาตรการที่เด็ดขาดรุนแรงกับฝ่ายกัมพูชาอีกด้วย อย่างที่ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แกนนำพันธมิตรฯและอดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย ปราศรัยว่า ภาคใต้เคยมีปัญหาชนกลุ่มน้อยกับมาเลเซีย ลาวมีปัญหาม้ง แต่ก็เจรจาส่งกลับและไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต้องมีเอ็มโอยูอะไร แต่ประเทศไทยกลับแสดงความอ่อนแอกับการยกเลิกเอ็มโอยู 43 ยิ่งนายอภิสิทธิ์เถียงข้างๆคูๆยิ่งชี้ให้เห็นว่าต้องมีผลประโยชน์แอบแฝงแน่นอน เพราะมีแหล่งทรัพยากรที่ประเทศใหญ่ๆจ้องจะเอา และเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งสิ้น การเป็นสมาชิกยูเนสโกไม่ใช่ออกแล้วจะอดตาย ทุกวันนี้เข้าร่วมแล้วฉิบหายมากกว่า
“พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-พม่าน่าเป็นห่วงเช่นกัน ถ้าไม่เลิกเอ็มโอยู 43 พม่าอาจจะคิดแบบกัมพูชาในอนาคตเพื่อจะเอาดินแดนบ้าง เพราะเรามันอ่อนแอ พวกเรามาทำหน้าที่ในวันนี้ถูกต้องแล้ว ยิ่งใหญ่กว่า 193 วันที่ผ่านมาอีก เพราะ 193 วันไล่บุคคลและระบอบที่ชั่วร้ายออกไปแต่ไม่หมดสิ้น ดังนั้น จะกำจัดให้หมดต้องใช้เวลา แต่การรักษาแผ่นดินไทย วันนี้ถ้าไม่ออกมาให้มากเสียดินแดนแน่นอน”
ใครขายชาติ?
แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กลับตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มพันธมิตรฯว่าเป็นอันตรายต่อบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีทำตามไม่ได้ สงสัยทำไมจึงยื่นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯก็ถามกลับทันทีว่าใครกันแน่ที่ขายชาติ ท่าทีของนายสุเทพจึงสมควรตำหนิอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะบิดเบือนอย่างร้ายกาจแล้ว หากย้อนหลังบทบาทของนายสุเทพก็มีส่วนสำคัญในการย่ำยีหัวใจคนไทย ยอมอ่อนข้อให้กับต่างชาติจนทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตย
นายสุเทพเคยระบุว่า 7 คนไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาลึกเข้าไปถึง 1.2 กิโลเมตร พร้อมทั้งให้ยอมรับคำตัดสินของศาลกัมพูชา ซึ่งเป็นคำพูดในทำนองเดียวกับผู้นำอื่นๆในรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่มีกองทัพก็อยู่ไม่ได้
จึงเห็นได้ชัดเจนว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ใช่เพื่อเจรจาและประนีประนอม แต่ต้องการให้รัฐบาลทำตามที่เรียกร้อง จึงไม่แปลกที่จะมีการตั้งคำถามถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯครั้งนี้ว่ามีเบื้องหลังอะไรมากกว่าที่เป็นข่าวหรือไม่
กลุ่มพันธมิตรฯต้องการให้กองทัพเข้ามามีบท บาทในการแก้ปัญหาอย่างไร แค่ไหน?
เพราะในทางปฏิบัติผู้นำกองทัพต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาล ยกเว้นแต่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า กองทัพต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนก็แก้ปัญหาชายแดนมาตามลำดับ จนท้ายสุดมาอยู่ที่เอ็มโอยู 43 ทหารก็ต้องทำตามกรอบของการพัฒนา ไม่ใช่ทหารจะไปทำอะไรใครก็ได้ ตรงไหนที่มีความชัดเจนของเส้นเขตแดนก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าตรงไหนมีปัญหาจะมีสัญญาในการดูแลกัน
“ถ้าไม่รักประเทศชาติจะเป็นทหารได้อย่างไร ผมอยากจะรู้นัก ใครอยากจะพูดอะไรต่างๆก็ตาม ให้กลับไปคิดและทบทวนดูสิว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ที่ทหารไม่พูดเพราะพูดไปแล้วจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำในการเจรจาพูดคุย มีอะไรต้องมาพูดกันหมดเลยหรือ ซึ่งมันไม่ใช่ รัฐมนตรีกลาโหมก็ทำเต็มที่ กองทัพ
ก็ทำเต็มที่ แล้วท่านมาบอกว่ากองทัพบกกลัวใคร ทำไมไม่ทำ มีผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า ท่านเอาอะไรมากล่าวอ้างผมไม่รู้ กองทัพไม่เคยกลัวใคร ซึ่งผมไม่อยากจะพูดคำนี้ แต่ผมเป็น ผบ.ทบ. ทหารบกทั้งกองทัพมีจำนวน 200,000 กว่าคน เขาก็ดูอยู่ว่าผมปกป้องศักดิ์ศรีของเขาหรือเปล่า ผมก็ต้องปกป้องเขา เพราะผมรู้ว่าลูกน้องผมเขาไม่ได้ทำอย่างนั้น เขาสูญเสียอะไรต่างๆมามากมาย ลูกเมียเดือดร้อน ผมพูดไปก็จะหาว่ากองทัพบกทวงบุญคุณอีก และผมจะพูดอะไรได้ ผมต้องปล่อยให้ด่าอยู่ข้างเดียวหรือไง กองทัพถูกด่าข้างเดียวไม่ถูก ผมว่าไม่เป็นธรรม ท่านต้องช่วยกองทัพ วันนี้ถ้าท่านไม่มีกองทัพ ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีทหาร ไม่มีคนทำงาน ท่านจะอยู่อย่างไร ท่านไปถามตัวของท่านเองก็แล้วกัน”
“เชื้ออุบาทว์” ยังอยู่
คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์เรื่องบทบาทของกองทัพกับนายสุเทพ ซึ่งตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯที่รัฐบาลทำไม่ได้นั้น ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวก่อนจะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า “ความพยายามก่อการรัฐประหารยังมีเชื้อหลงเหลือ”
โดย พล.อ.ชวลิตยืนยันว่า โอกาสการทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง เพราะอีกฝ่ายต้องการยื้ออำนาจต่อไป จึงมีการปล่อยข่าวรัฐประหารเพื่อโยนหินถามทาง แม้วันนี้จะทำได้ยากเพราะประชาชนตื่นตัว แต่ต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร ซึ่งมีทางเดียวคือต้องให้มวลชนตื่นตัว ใครคิดเปลี่ยนแปลงในทางไม่ถูกต้องประชาชนต้องไม่ยอมรับ
ทำไมต้องรัฐประหาร?
การออกมาเตือนเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารของ พล.อ.ชวลิตจึงไม่ใช่การปล่อยข่าวหรือโกหกตอแหลอย่างไร้สาระเหมือนนักการเมืองมากมายขณะนี้ แต่การปฏิวัติรัฐประหารมีความเป็นไปได้ตลอดเวลาสำหรับการเมือง ตราบใดที่บ้านเมืองยังอยู่ในมือของกลุ่มผู้มีอำนาจนอกระบบและผู้นำกองทัพ ขณะที่นักการเมืองยังเป็นแค่ “นักเลือกตั้ง” และ “พวกลากตั้ง” เข้ามา
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ก็เหมือนน้ำท่วมปากกับกระแสข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาล แม้จะไม่มี
ใบเสร็จแต่โครงการมากมายก็มีหลักฐานส่อว่าไม่โปร่งใส โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้าแตะต้องหรือเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาเพียงเพื่อไม่ให้รัฐบาลล้มหรือตัวเองยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งนายสนธิได้นำมาโจมตีนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
อย่างการประมูลข้าวมีนักการเมืองได้ประโยชน์หลายพันล้านบาท การอนุญาตนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อให้นักการเมืองของพรรคเก่าแก่ขนน้ำมันปาล์มเถื่อนเข้ามาได้และมีกำไรมากขึ้น การตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยข้ามลำดับอาวุโสถึง 50 อันดับ การแต่งตั้งตำรวจระดับผู้กำกับก็มีการตั้งโต๊ะในทำเนียบรัฐบาลเก็บเงินหัวละ 3-5 ล้านบาท
แต่ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าพรรคการเมืองใหม่จะมีที่ยืนในเวทีการเมืองหรือไม่ เพราะหลังจากการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข. ในกรุงเทพมหานครที่พรรคการ เมืองใหม่แจ้งเกิดไม่ได้เลยแม้แต่ที่นั่งเดียว การออกมาของพันธมิตรฯครั้งนี้มีเบื้องหลังเพื่อหาที่ยืนหรือไม่? บทบาทของพันธมิตรฯจะเป็นอย่างไรต่อไปหากมีการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีการปฏิวัติรัฐประหารก็เท่ากับว่าทุกพรรคการเมืองถูกบอนไซเหมือนกันหมด หรืออาจถูกล้างไพ่ใหม่ทั้งหมด หรือการออกมาของพันธมิตรฯก็เพื่อปูพรมแดงให้ทหารเดินออกมาปฏิวัติรัฐประหารเหมือน 19 กันยายน 2549 อีกหรือไม่?
ปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ในขณะที่กองทัพก็มักจะอ้างความมั่นคง การหมิ่นสถาบัน และข้อหาฉกาจฉกรรจ์ เพื่อกำจัดนักการเมืองชั่วที่คอร์รัปชันทุกครั้งในการยึดอำนาจ แต่ไม่เคยพูดถึงความโปร่งใส การจัดซื้อในกองทัพ งบลับทหาร หรือแม้แต่การแย่งชิงอำนาจกันเอง โดยเฉพาะนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งรัฐบาลและนัก การเมืองต่างเอาอกเอาใจกองทัพเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นับแสนล้าน หรืองบประมาณของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ไม่ยอมเปิดเผย นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีการกล่าวหาเรื่องการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่ไม่โปร่งใสหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรือเหาะที่กลายเป็นเรือเหี่ยวที่บินไม่ได้ ตำนานไม้ล้างป่าช้า-จีที 200 การจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากยูเครน หรือการจัดซื้อรถยุทธวิธี (ปิกอัพ) กันกระสุนจำนวน 300 คัน ราคาคันละ 2.5 ล้านบาทที่ยังฝุ่นตลบอยู่
ดังนั้น การปฏิวัติรัฐประหารจึงอาจไม่ใช่แค่การปัดกวาดนักการเมืองและพรรคการเมืองเน่าๆออกจากระบบเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆภายในกองทัพและกลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆให้ลงตัว แถมยังสามารถกวาดขยะของกองทัพเองซุกไว้ใต้พรมสีเหลืองอร่ามได้อีกด้วย
นายอภิสิทธิ์จึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อจะอยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด แม้จะเป็นผู้นำที่สั่งการอะไรไม่ได้ก็ตาม แต่อย่างน้อยนายอภิสิทธิ์ยังสามารถเดิน สายสร้างภาพรำป้อ เป็น “พระเอกลิเก” ขวัญใจพ่อยกแม่ยก ต่อไปได้เรื่อยๆ...
จนกว่าจะเกิดการปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
ssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssss
มาเอาใจช่วย พธม.กันเหอะ !!!!?????
โดย.ใบตองแห้งออนไลน์
เสื้อแดงจัดชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจประเมินว่ามีมวลชน 27,000 คน แต่ไทยรัฐบอกขบวนยาวเป็นกิโล พันธมิตรจัดชุมนุมหญ่ายเมื่อวันอังคาร ถ่ายภาพมุมกว้างดูยังไงก็ไม่เกิน 5,000 (ตอนค่ำนะ ไม่ใช่ตอนเช้าที่เลขศูนย์หายไปตัวนึง) เห็นแล้วใจหาย สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
น่าสังเกตว่า ม็อบเสื้อเหลืองครั้งนี้ มีแต่ชาวสันติอโศกกับแฟนพันธุ์แท้จังหวัดละหยิบมือ ผู้นำที่อยู่ประจำม็อบก็มีแต่ลุงจำลอง น้าปานเทพ ส่วนสนธิ ลิ้ม พี่พิภพ ธงไชย โผล่หน้ามาแวบๆ อ.สมเกียรติได้ข่าวว่าสุขภาพไม่ดี แต่สมศักดิ์ โกศัยสุข ไม่รู้หายไปไหน ยะใสก็เอาแต่พูดอยู่วงนอก
ยิ่งกว่านั้น ขาเก่า NGO ไฮโซไฮซ้อ คุณพ่อคุณแม่สหภาพรัฐวิสาหกิจ คอลัมนิดคอลัมหน่อย หรือนักวิชาการที่เคยเป็นกองเชียร์ก็หายจ้อย (กลายเป็นอธิการรองอธิการกันหมด) แหม มันน่าน้อยใจจริงๆ ไม่มีใครรักชาติเล้ย กระทั่งกษิต ภิรมย์ ที่เคยด่าฮุนเซนเป็นกุ๊ย ก็เปลี่ยนสีแปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์ลูกหลานพระยาละแวกซะแล้ว
ที่เหลืออยู่ก็เลยมีแต่คอเดียวกันระดับฮาร์ด เช่น พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน สุนันท์ ศรีจันทรา เป็นต้น
ที่สะพานมัฆวานน่าจะติดประกาศตามหาคนหายนะครับ พี่น้องเอ๊ย กลับมาด่วน! ชาติต้องการ เพราะถ้าวันเสาร์อาทิตย์นี้ พี่น้องเอ๊ยยังไม่คืนสู่เหย้าละก็ ลุงจำลองคงหาทางกลับบ้านไม่ถูก
คงต้องรอความปรานีจากศาลเขมร ถ้าวันที่ 1 ก.พ.นี้ตัดสินปล่อยตัววีระ สมความคิด พันธมิตรขาลงก็ยังพอมีทางลง หยอดกล่องบริจาคให้วีระ แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ถ้าไม่ล่ะ จะดิ้นทุรังไปทางไหนต่อ
แหม นั่งดู พธม.กับ ปชป.ล่อกันเอง ดูกษิต-ปานเทพ ประปาก ดูพี่เปี๊ยกขุดเรื่อง อ.ปรีดีมาด่าโคตรเหง้าประชาธิปัตย์ แล้วจะไม่ให้ “สะใจ” ได้ไงล่ะ พี่น้องเอ๊ย
เรื่องสนุกของผมก็คือเปิดหนังสือพิมพ์อ่านคอลัมนิดคอลัมหน่อยที่เคยแซ่ซ้องร้องเชียร์พันธมิตรยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน แล้วกาหัวว่าใครบ้างพันธ์แท้ พันธุ์ทาง เอาใจออกห่าง กลับหัวกลับหาง พลิกลิ้นแผล็บๆ
แต่แหม มันน่าน้อยใจดังว่า เพราะใครต่อใครก็ดูเหมือนจะยกตนเป็นผู้รักชาติอย่างมีสติ มีเหตุผล กันไปหมด ปล่อยให้ พธม.ถูกหาว่าคลั่งชาติอยู่หยิบมือเดียว (แล้วตอนนั้นใครวะ บอกว่าพื้นดินใต้ปราสาทพระวิหารยังเป็นของไทย)
แน่นอนว่า ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเราๆ คงไม่สนับสนุน พธม.หรือเพ้อฝันแบบ “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่มันก็เป็นวโรกาสอันดีงาม ที่ควรทำใจให้สนุกสนานเพลิดเพลิน นั่งดูฝ่ายตรงข้ามรบรากันเอง พร้อมกับศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของทั้งสองข้าง รวมทั้งแยกแยะขุมกำลัง ว่าใครเปลี่ยนขั้วไปอยู่ข้างไหน
และในฐานะที่พันธมิตรเป็นฝ่ายที่มีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่า ผมก็อดไม่ได้ตามนิสัยคนไทย คือชอบเชียร์มวยรอง แบบว่าให้ยืนซดกันได้นานๆ หน่อย (จะได้บอบช้ำมากๆ หน่อย ฮิฮิ)
Hidden Agenda
ถามว่าพันธมิตรยื่นข้อเรียกร้องอะไร ก็คือข้อเรียกร้องที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งพันธมิตรรู้อยู่แล้ว
แต่เราจะไปสนใจทำไมกับข้อเรียกร้องของพันธมิตร จำได้ไหมว่าข้อเรียกร้องของพวกเขาเมื่อปี 51 คืออะไร คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พอรัฐบาลยอมไม่แก้ ก็ยังเปลี่ยนไปเรื่อย จนชุมนุมอยู่ได้ 193 วัน
ย้อนไปปี 49 ก่อนรัฐประหาร ทักษิณยุบสภาแล้ว พันธมิตรก็ยังเรียกร้องให้ทักษิณลาออก เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องของพันธมิตรจึงมี hidden agenda ตลอด (แม้แต่ข้อเสนอมาตรา 7)
ครั้งนี้ก็เช่นกัน พธม.พยายามเรียกม็อบมาตั้งแต่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้วีระ สมความคิด (และนายตายแน่ มุ่งมาจน กับพวก) เป็นวีรชนพลีชีพ จูง ส.ส.ปชป.เข้าไปให้ทหารเขมรจับ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นหอกย้อนแทงอภิสิทธิ์และกษิต ที่พยายามพลิกลิ้นการทูต ตลบถ้อยคำที่ตัวเองเคยพูดไว้สมัยเป็นฝ่ายค้าน เพื่อกลับไปญาติดีกับ “กุ๊ย”
พธม.จึงได้โอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเรา “ขวาแท้” และ “ขวากว่า” กลับมาชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ปลุกระดมลูกหลาน “พระองค์ดำ” ให้เอาเอฟ 16 ไปช่วยวีระ จับพระยาละแวกตัดหัวเอาเลือดล้างเท้า
เพียงเสียดายที่ “สังคมไทย” (อันได้แก่สื่อ นักวิชาการ คนกรุงคนชั้นกลาง) กลับมามีเหตุผลอย่างไร้เหตุผล ทีตอนนี้ละก็เห็นด้วยว่าควรใช้สันติวิธี ไม่ใช่ชาตินิยม อย่าทำสนามการค้าให้เป็นสนามรบ แม้เอาใจช่วยให้เขมรปล่อย 7 คนไทย แม้ไม่พอใจฮุนเซ็นอยู่มั่ง แต่ก็ไม่วายบ่นอุบอิบว่ามันเดินเข้าไปให้เขาจับทำไมวะ
ทีสมัยสมัคร-นพดลละก็ จะเป็นจะตาย ช่วยกันปลุกวิญญาณชาตินิยม ทวงคืนปราสาทพระวิหาร อ้างไปได้เรื่อย ที่แท้ก็เพื่อไล่รัฐบาล (แต่รัฐบาลนี้มันถูกจริตกรูนี่หว่า เลยเก็บชาตินิยมเข้าลิ้นชัก)
งานนี้ พธม.จึงเสียเปรียบตั้งแต่ยกแรก เพราะถูกขวัญใจจริตนิยมช่วงชิงมวลชนไปเกือบหมด (ขณะที่ส่วนหนึ่งก็เป็นมวลชน ปชป.มาแต่ต้น) แต่อย่าประมาทไปนะครับ เพราะพวกเขามีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี ในการก่อม็อบยืดเยื้อ แล้วสามารถทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้มันเป็นเรื่องขึ้นมาได้ จนเปลี่ยนประเด็นไปได้เรื่อยใน 193 วัน
โดยเฉพาะปาก ปชป.นี่แหละสำคัญ ถ้ายั่วถูกจุดเข้าหน่อย ดูอย่างกษิตพูด ก็ปลุกพี่น้องเอ๊ยให้คึกคักขึ้นมาไม่น้อย ยื้อไปเหอะ ให้ไอ้เทือกไอ้ไทหลุดออกมาซักคนละคำสองคำ เดี๋ยวเป็นเรื่อง
นอกจากนี้ ผมยังคาดว่าพันธมิตรจะใช้ความผูกพัน ที่มีกับมวลชนเดิมๆ ออดอ้อนให้ซื้อบัตรซื้อตั๋วมาร่วมงานคืนสู่เหย้ากันหน่อย (ซึ่งอาจมีบ้างในช่วงเสาร์อาทิตย์) รวมถึงความผูกพันที่มีกับสื่อ นักวิชาการ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่กล้าจิกหัวม็อบเสื้อเหลืองเหมือนที่ทำกับม็อบเสื้อแดง จนเดินเกมของพวกเขาไปได้ระยะหนึ่ง แต่จะลงตรงไหนก็ขึ้นกับ hidden agenda เป็นสำคัญ
แน่นอนว่า agenda ของพันธมิตร ไม่ใช่ MOU ปี 43 หรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั่น แต่น่าจะเป็นความพยายามต่อรอง แย่งชิงอำนาจ ไม่ให้ตัวเองเป็นเพียงนั่งร้าน
hidden agenda ของพันธมิตร ถ้าดูตามคำพูดสนธิ จำลอง ก็มีนัยเรียกหารัฐประหาร-รัฐบาลแห่งชาติ แต่ถามว่ามันเป็นจริงได้หรือ แม้แกนนำพันธมิตรเองก็คงรู้ดีว่า มีโอกาส ไม่ถึงกับ 0% เสียทีเดียว มีโอกาส แต่เป็นจริงได้ยาก พวกเขาเพียงแค่พยายามขยายโอกาสเท่านั้น
ในสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ “อำนาจพิเศษ” กองทัพ ตุลาการ พึงพอใจกับการอยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งปูทางไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งใหม่ กุมอำนาจได้อย่างน้อยอีก 2 ปีข้างหน้า คนที่ไม่พึงพอใจกับสภาพเช่นนี้มีแต่พันธมิตร ซึ่งยิ่งรัฐบาล “มาร์ค-เนวิน” เข้มแข็ง พันธมิตรยิ่งไม่มีที่ยืน พ่อยกแม่ยกหายหมด และหมดอำนาจต่อรอง มองเห็นคุกอยู่ข้างหน้า เหมือนที่ไชยวัฒน์ สมบูรณ์ ลิ้มรสมาแล้ว
หลังมาร์คได้ “ใบอนุญาตฆ่า” ม็อบเสื้อแดง จากมวลชนเฟซบุค คนกรุงคนชั้นกลาง พันธมิตรก็เริ่มหมดความหมาย แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ดึงเอา mentor ของพันธมิตรสาย NGO อย่างหมอประเวศเข้าไปบัญชาการ แต่ต่อมาก็แว่วเสียงบ่นจากแกนนำพันธมิตรว่า “อภิสิทธิ์ไม่จริงใจ” มันคงมีอะไรในกอไผ่ละครับ ที่แสดงออกในเรื่องมาบตาพุด กระทั่งคำตัดสินจำคุก 85 นักรบศรีวิชัยบุก NBT
เหนือสิ่งอื่นใด หลับตานึกภาพไม่ออกว่า ถ้ามาร์คชนะเลือกตั้งกลับมากุมอำนาจมั่นคงอีกอย่างน้อย 2 ปี หรือเผลอๆ 4 ปี พันธมิตรจะอยู่อย่างไร (พรรคการเมืองใหม่สู้ๆ-ฮา) นั่นแหละพวกเขาจึงต้องดิ้น เพื่อรักษาสถานภาพ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดิ้นไปแบบไหน
อย่างเก่ง วุ่นวายนัก อภิสิทธิ์ก็ยุบสภา ให้มหาจำลองคุยได้ว่า ไล่รัฐบาลสำเร็จอีกครั้ง แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน (อย่าลืมหยอดกล่องบริจาคนะพี่น้อง)
เหลืองแดงรวมกันไม่ได้
ปรากฏการณ์ที่คนสองสีลุกฮือกระหนาบรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้มีคนเพ้อฝัน “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่ความจริงมันเป็นไปไม่ได้ แม้ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จะไปลงนวมซ้อมมวยกับณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ในคุก หรือกลุ่มเส้นทางสีแดง แวะไปเยี่ยมม็อบคนไทยหัวใจรักชาติ
นี่เป็นแค่ “จุดตัด” ของกระแสมวลชนสองสาย ที่หลังจากนี้ก็จะต่างคนต่างไป ส่วนใครจะเดินไปสู่เอวัง ไม่อยากพูด (แค่อ้าปากคนอ่านก็รู้ทัน อิอิ)
อันที่จริงผมก็เคยเพ้อฝันอยู่เหมือนกันว่าซักวัน เพื่อนพ้องน้องพี่สีเหลืองแดงอาจรวมกันได้ เพราะถ้ายึดอุดมการณ์ที่เสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ เสื้อเหลืองต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในหลักการก็ไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกัน
แต่บังเอิ๊ญ ผมลืมไปว่า พันธมิตรไม่มีหลักการ!
พันธมิตรทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปแล้ว ทิ้งความเชื่อที่ว่ามีแต่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่จะขจัดลดทอนทุจริตคอรัปชั่น เพราะประชาชนจะตื่นตัวช่วยกันตรวจสอบทุกฝ่ายโดยไม่เว้น
พันธมิตรนำมวลชนคิดตัดตอนเพียงว่าการเลือกตั้งคือการซื้อเสียงและนำไปสู่การถอนทุน ฉะนั้นจึงต้องพึ่งประชาธิปไตยที่มีการเซ็นเซอร์ มีอำนาจพิเศษคอยกำกับดูแล หันไปยกย่องเชิดชูอำนาจพิเศษ แกล้งหลับตาข้างหนึ่ง ไม่มองว่าระบอบอุปถัมภ์ของอำนาจพิเศษซึ่งตรวจสอบไม่ได้ก็เป็นที่มาของการทุจริตคอรัปชั่นเช่นกัน ไม่พูดความจริงว่าขุนนางอำมาตย์ ทหาร ตุลาการ ที่อวดอ้างว่าจงรักภักดี สัตย์ซื่อถือคุณธรรม ที่แท้ก็มีเรื่องเน่าเฟะปกปิดอยู่มากมาย แต่สาธารณชนไม่ได้รับรู้เท่านั้นเอง
ถ้าย้อนไปดูคำสัมภาษณ์ของสุริยะใส กตะศิลา ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เรื่อง “วันหนึ่งพี่น้องจะเข้าใจ พธม.ขาลง?” ยะใสบอกว่า “ถ้าแดงแท้ประกาศปลดแอกจากทักษิณได้ตรงนี้อาจจะเป็นการเกิดใหม่ของ นปช. และสุดท้ายอาจโคจรไปจับมือกับ พธม.ก็ได้ ทั้ง 5 แกนนำ พธม.มีความคิดนี้เสมอ คุณสนธิก็เคยสัมภาษณ์ไม่รู้กี่รอบว่าไม่เคยมองเสื้อแดงเป็นศัตรู ลุงจำลอง (ศรีเมือง) ก็พูดเช่นกัน หลายเรื่องคิดเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องสองมาตรฐานความไม่เป็นธรรม”
แต่ถามว่า “แดงแท้” ของยะใสคืออะไร ก็คือคนเสื้อแดงที่ “ปลดแอก” จากทักษิณและพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ แต่สู้เพื่อความเป็นธรรมจริงๆ โดยมีแค่ 10% เท่านั้นในแดงทั้งหมด
พูดไปก็เป็นแค่การตีฝีปาก เพราะกระทั่ง บก.ลายจุด ยะใสยังดิสเครดิตว่าไม่ใช่ของแท้ แต่เป็นพวกสร้างกระแสแบบไม่ลงทุน คอยแต่หยิบชิ้นปลามัน เพราะการเคลื่อนไหวยังผูกกับจตุพร
“แดงแท้” ของยะใส คงหมายความว่าถ้าการเคลื่อนไหวอะไรที่ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือ 3 เกลอมีส่วนร่วม ต้องห้ามเข้าร่วมโดยเด็ดขาด ห้ามสนับสนุน ห้ามส่งเสียงเชียร์ ต้องไปเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ที่ปลายโคกโน้น
แม้กระทั่งใครจะเคลื่อนไหวให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เช่น ล้ม สว.ลากตั้ง ยะใสก็คงบอกว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้ทักษิณกลับมา
นั่นคือจุดยืนที่ไม่มีทางร่วมกันได้ชัดเจน เพราะในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้เราจะต้องต่อสู้คัดค้านไม่ให้ทักษิณเป็นผู้นำ ไม่ให้ทักษิณกลับมา แต่เราต้องถือว่าทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่ทักษิณเป็นผู้ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อให้กฎกติกาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้บ้านเมืองมีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว ถ้ามันจะเอื้อให้ทักษิณได้อานิสงส์ เราก็ต้องพร้อมยอมรับ
พูดไปทำไมมี พันธมิตรอ้างว่าพวกเขาดึง “อำนาจพิเศษ” เข้ามาทั้งที่รู้ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่า “อำนาจพิเศษ” นั้นเปรียบเหมือนอาทิตย์ใกล้อัสดง เดี๋ยวก็หมดพลังแล้ว (แล้วตอนนี้เป็นไงล่ะ)
ถ้าเราบอกว่า ณ วันนี้ ทักษิณยิ่งกว่าอาทิตย์อัสดงล่ะ และมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะทักษิณเป็นเรื่องตัวบุคคล แต่นั่นคือเรื่องของระบอบและหลักการ ที่เอาการรัฐประหารมาทำลายประชาธิปไตย ชูวัฒนธรรมระบอบอุปภัมภ์กลับมาครอบงำสังคม ปิดกั้นย่างก้าวไปสู่ความมีเสรี
พันธมิตรกับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงไม่มีวันรวมกันได้ เพราะเราไม่ใช่ลิเกย้ายวิก ไม่ใช่นักการเมืองย้ายพรรค ไม่ใช่มาร์ค-เนวิน หรือ “พี่บรรหาร” กับ ปชป.ด่าพ่อล่อแม่แล้วยังร่วมรัฐบาลกันได้ เพราะความ “อดอยากปากแห้ง” สำคัญกว่า
เพียงแต่ตอนนี้ คงไม่ผิดอะไร ที่เราจะเอาใจช่วยพันธมิตร ให้ยืนซดกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ครบสิบยก (จะได้น่วมๆ หน่อย ฮิฮิ) ขออย่างเดียว อย่าเป็นมวยล้มต้มคนดูก็แล้วกัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เตรียมเสียงโห่ได้เลย
เอ้า...หุย....
ที่มา.ประชาไท
-----------------------------------------------------
เสื้อแดงจัดชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจประเมินว่ามีมวลชน 27,000 คน แต่ไทยรัฐบอกขบวนยาวเป็นกิโล พันธมิตรจัดชุมนุมหญ่ายเมื่อวันอังคาร ถ่ายภาพมุมกว้างดูยังไงก็ไม่เกิน 5,000 (ตอนค่ำนะ ไม่ใช่ตอนเช้าที่เลขศูนย์หายไปตัวนึง) เห็นแล้วใจหาย สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
น่าสังเกตว่า ม็อบเสื้อเหลืองครั้งนี้ มีแต่ชาวสันติอโศกกับแฟนพันธุ์แท้จังหวัดละหยิบมือ ผู้นำที่อยู่ประจำม็อบก็มีแต่ลุงจำลอง น้าปานเทพ ส่วนสนธิ ลิ้ม พี่พิภพ ธงไชย โผล่หน้ามาแวบๆ อ.สมเกียรติได้ข่าวว่าสุขภาพไม่ดี แต่สมศักดิ์ โกศัยสุข ไม่รู้หายไปไหน ยะใสก็เอาแต่พูดอยู่วงนอก
ยิ่งกว่านั้น ขาเก่า NGO ไฮโซไฮซ้อ คุณพ่อคุณแม่สหภาพรัฐวิสาหกิจ คอลัมนิดคอลัมหน่อย หรือนักวิชาการที่เคยเป็นกองเชียร์ก็หายจ้อย (กลายเป็นอธิการรองอธิการกันหมด) แหม มันน่าน้อยใจจริงๆ ไม่มีใครรักชาติเล้ย กระทั่งกษิต ภิรมย์ ที่เคยด่าฮุนเซนเป็นกุ๊ย ก็เปลี่ยนสีแปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์ลูกหลานพระยาละแวกซะแล้ว
ที่เหลืออยู่ก็เลยมีแต่คอเดียวกันระดับฮาร์ด เช่น พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน สุนันท์ ศรีจันทรา เป็นต้น
ที่สะพานมัฆวานน่าจะติดประกาศตามหาคนหายนะครับ พี่น้องเอ๊ย กลับมาด่วน! ชาติต้องการ เพราะถ้าวันเสาร์อาทิตย์นี้ พี่น้องเอ๊ยยังไม่คืนสู่เหย้าละก็ ลุงจำลองคงหาทางกลับบ้านไม่ถูก
คงต้องรอความปรานีจากศาลเขมร ถ้าวันที่ 1 ก.พ.นี้ตัดสินปล่อยตัววีระ สมความคิด พันธมิตรขาลงก็ยังพอมีทางลง หยอดกล่องบริจาคให้วีระ แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ถ้าไม่ล่ะ จะดิ้นทุรังไปทางไหนต่อ
แหม นั่งดู พธม.กับ ปชป.ล่อกันเอง ดูกษิต-ปานเทพ ประปาก ดูพี่เปี๊ยกขุดเรื่อง อ.ปรีดีมาด่าโคตรเหง้าประชาธิปัตย์ แล้วจะไม่ให้ “สะใจ” ได้ไงล่ะ พี่น้องเอ๊ย
เรื่องสนุกของผมก็คือเปิดหนังสือพิมพ์อ่านคอลัมนิดคอลัมหน่อยที่เคยแซ่ซ้องร้องเชียร์พันธมิตรยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน แล้วกาหัวว่าใครบ้างพันธ์แท้ พันธุ์ทาง เอาใจออกห่าง กลับหัวกลับหาง พลิกลิ้นแผล็บๆ
แต่แหม มันน่าน้อยใจดังว่า เพราะใครต่อใครก็ดูเหมือนจะยกตนเป็นผู้รักชาติอย่างมีสติ มีเหตุผล กันไปหมด ปล่อยให้ พธม.ถูกหาว่าคลั่งชาติอยู่หยิบมือเดียว (แล้วตอนนั้นใครวะ บอกว่าพื้นดินใต้ปราสาทพระวิหารยังเป็นของไทย)
แน่นอนว่า ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเราๆ คงไม่สนับสนุน พธม.หรือเพ้อฝันแบบ “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่มันก็เป็นวโรกาสอันดีงาม ที่ควรทำใจให้สนุกสนานเพลิดเพลิน นั่งดูฝ่ายตรงข้ามรบรากันเอง พร้อมกับศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของทั้งสองข้าง รวมทั้งแยกแยะขุมกำลัง ว่าใครเปลี่ยนขั้วไปอยู่ข้างไหน
และในฐานะที่พันธมิตรเป็นฝ่ายที่มีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่า ผมก็อดไม่ได้ตามนิสัยคนไทย คือชอบเชียร์มวยรอง แบบว่าให้ยืนซดกันได้นานๆ หน่อย (จะได้บอบช้ำมากๆ หน่อย ฮิฮิ)
Hidden Agenda
ถามว่าพันธมิตรยื่นข้อเรียกร้องอะไร ก็คือข้อเรียกร้องที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งพันธมิตรรู้อยู่แล้ว
แต่เราจะไปสนใจทำไมกับข้อเรียกร้องของพันธมิตร จำได้ไหมว่าข้อเรียกร้องของพวกเขาเมื่อปี 51 คืออะไร คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พอรัฐบาลยอมไม่แก้ ก็ยังเปลี่ยนไปเรื่อย จนชุมนุมอยู่ได้ 193 วัน
ย้อนไปปี 49 ก่อนรัฐประหาร ทักษิณยุบสภาแล้ว พันธมิตรก็ยังเรียกร้องให้ทักษิณลาออก เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องของพันธมิตรจึงมี hidden agenda ตลอด (แม้แต่ข้อเสนอมาตรา 7)
ครั้งนี้ก็เช่นกัน พธม.พยายามเรียกม็อบมาตั้งแต่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้วีระ สมความคิด (และนายตายแน่ มุ่งมาจน กับพวก) เป็นวีรชนพลีชีพ จูง ส.ส.ปชป.เข้าไปให้ทหารเขมรจับ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นหอกย้อนแทงอภิสิทธิ์และกษิต ที่พยายามพลิกลิ้นการทูต ตลบถ้อยคำที่ตัวเองเคยพูดไว้สมัยเป็นฝ่ายค้าน เพื่อกลับไปญาติดีกับ “กุ๊ย”
พธม.จึงได้โอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเรา “ขวาแท้” และ “ขวากว่า” กลับมาชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ปลุกระดมลูกหลาน “พระองค์ดำ” ให้เอาเอฟ 16 ไปช่วยวีระ จับพระยาละแวกตัดหัวเอาเลือดล้างเท้า
เพียงเสียดายที่ “สังคมไทย” (อันได้แก่สื่อ นักวิชาการ คนกรุงคนชั้นกลาง) กลับมามีเหตุผลอย่างไร้เหตุผล ทีตอนนี้ละก็เห็นด้วยว่าควรใช้สันติวิธี ไม่ใช่ชาตินิยม อย่าทำสนามการค้าให้เป็นสนามรบ แม้เอาใจช่วยให้เขมรปล่อย 7 คนไทย แม้ไม่พอใจฮุนเซ็นอยู่มั่ง แต่ก็ไม่วายบ่นอุบอิบว่ามันเดินเข้าไปให้เขาจับทำไมวะ
ทีสมัยสมัคร-นพดลละก็ จะเป็นจะตาย ช่วยกันปลุกวิญญาณชาตินิยม ทวงคืนปราสาทพระวิหาร อ้างไปได้เรื่อย ที่แท้ก็เพื่อไล่รัฐบาล (แต่รัฐบาลนี้มันถูกจริตกรูนี่หว่า เลยเก็บชาตินิยมเข้าลิ้นชัก)
งานนี้ พธม.จึงเสียเปรียบตั้งแต่ยกแรก เพราะถูกขวัญใจจริตนิยมช่วงชิงมวลชนไปเกือบหมด (ขณะที่ส่วนหนึ่งก็เป็นมวลชน ปชป.มาแต่ต้น) แต่อย่าประมาทไปนะครับ เพราะพวกเขามีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี ในการก่อม็อบยืดเยื้อ แล้วสามารถทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้มันเป็นเรื่องขึ้นมาได้ จนเปลี่ยนประเด็นไปได้เรื่อยใน 193 วัน
โดยเฉพาะปาก ปชป.นี่แหละสำคัญ ถ้ายั่วถูกจุดเข้าหน่อย ดูอย่างกษิตพูด ก็ปลุกพี่น้องเอ๊ยให้คึกคักขึ้นมาไม่น้อย ยื้อไปเหอะ ให้ไอ้เทือกไอ้ไทหลุดออกมาซักคนละคำสองคำ เดี๋ยวเป็นเรื่อง
นอกจากนี้ ผมยังคาดว่าพันธมิตรจะใช้ความผูกพัน ที่มีกับมวลชนเดิมๆ ออดอ้อนให้ซื้อบัตรซื้อตั๋วมาร่วมงานคืนสู่เหย้ากันหน่อย (ซึ่งอาจมีบ้างในช่วงเสาร์อาทิตย์) รวมถึงความผูกพันที่มีกับสื่อ นักวิชาการ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่กล้าจิกหัวม็อบเสื้อเหลืองเหมือนที่ทำกับม็อบเสื้อแดง จนเดินเกมของพวกเขาไปได้ระยะหนึ่ง แต่จะลงตรงไหนก็ขึ้นกับ hidden agenda เป็นสำคัญ
แน่นอนว่า agenda ของพันธมิตร ไม่ใช่ MOU ปี 43 หรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั่น แต่น่าจะเป็นความพยายามต่อรอง แย่งชิงอำนาจ ไม่ให้ตัวเองเป็นเพียงนั่งร้าน
hidden agenda ของพันธมิตร ถ้าดูตามคำพูดสนธิ จำลอง ก็มีนัยเรียกหารัฐประหาร-รัฐบาลแห่งชาติ แต่ถามว่ามันเป็นจริงได้หรือ แม้แกนนำพันธมิตรเองก็คงรู้ดีว่า มีโอกาส ไม่ถึงกับ 0% เสียทีเดียว มีโอกาส แต่เป็นจริงได้ยาก พวกเขาเพียงแค่พยายามขยายโอกาสเท่านั้น
ในสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ “อำนาจพิเศษ” กองทัพ ตุลาการ พึงพอใจกับการอยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งปูทางไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งใหม่ กุมอำนาจได้อย่างน้อยอีก 2 ปีข้างหน้า คนที่ไม่พึงพอใจกับสภาพเช่นนี้มีแต่พันธมิตร ซึ่งยิ่งรัฐบาล “มาร์ค-เนวิน” เข้มแข็ง พันธมิตรยิ่งไม่มีที่ยืน พ่อยกแม่ยกหายหมด และหมดอำนาจต่อรอง มองเห็นคุกอยู่ข้างหน้า เหมือนที่ไชยวัฒน์ สมบูรณ์ ลิ้มรสมาแล้ว
หลังมาร์คได้ “ใบอนุญาตฆ่า” ม็อบเสื้อแดง จากมวลชนเฟซบุค คนกรุงคนชั้นกลาง พันธมิตรก็เริ่มหมดความหมาย แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ดึงเอา mentor ของพันธมิตรสาย NGO อย่างหมอประเวศเข้าไปบัญชาการ แต่ต่อมาก็แว่วเสียงบ่นจากแกนนำพันธมิตรว่า “อภิสิทธิ์ไม่จริงใจ” มันคงมีอะไรในกอไผ่ละครับ ที่แสดงออกในเรื่องมาบตาพุด กระทั่งคำตัดสินจำคุก 85 นักรบศรีวิชัยบุก NBT
เหนือสิ่งอื่นใด หลับตานึกภาพไม่ออกว่า ถ้ามาร์คชนะเลือกตั้งกลับมากุมอำนาจมั่นคงอีกอย่างน้อย 2 ปี หรือเผลอๆ 4 ปี พันธมิตรจะอยู่อย่างไร (พรรคการเมืองใหม่สู้ๆ-ฮา) นั่นแหละพวกเขาจึงต้องดิ้น เพื่อรักษาสถานภาพ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดิ้นไปแบบไหน
อย่างเก่ง วุ่นวายนัก อภิสิทธิ์ก็ยุบสภา ให้มหาจำลองคุยได้ว่า ไล่รัฐบาลสำเร็จอีกครั้ง แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน (อย่าลืมหยอดกล่องบริจาคนะพี่น้อง)
เหลืองแดงรวมกันไม่ได้
ปรากฏการณ์ที่คนสองสีลุกฮือกระหนาบรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้มีคนเพ้อฝัน “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่ความจริงมันเป็นไปไม่ได้ แม้ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จะไปลงนวมซ้อมมวยกับณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ในคุก หรือกลุ่มเส้นทางสีแดง แวะไปเยี่ยมม็อบคนไทยหัวใจรักชาติ
นี่เป็นแค่ “จุดตัด” ของกระแสมวลชนสองสาย ที่หลังจากนี้ก็จะต่างคนต่างไป ส่วนใครจะเดินไปสู่เอวัง ไม่อยากพูด (แค่อ้าปากคนอ่านก็รู้ทัน อิอิ)
อันที่จริงผมก็เคยเพ้อฝันอยู่เหมือนกันว่าซักวัน เพื่อนพ้องน้องพี่สีเหลืองแดงอาจรวมกันได้ เพราะถ้ายึดอุดมการณ์ที่เสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ เสื้อเหลืองต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในหลักการก็ไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกัน
แต่บังเอิ๊ญ ผมลืมไปว่า พันธมิตรไม่มีหลักการ!
พันธมิตรทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปแล้ว ทิ้งความเชื่อที่ว่ามีแต่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่จะขจัดลดทอนทุจริตคอรัปชั่น เพราะประชาชนจะตื่นตัวช่วยกันตรวจสอบทุกฝ่ายโดยไม่เว้น
พันธมิตรนำมวลชนคิดตัดตอนเพียงว่าการเลือกตั้งคือการซื้อเสียงและนำไปสู่การถอนทุน ฉะนั้นจึงต้องพึ่งประชาธิปไตยที่มีการเซ็นเซอร์ มีอำนาจพิเศษคอยกำกับดูแล หันไปยกย่องเชิดชูอำนาจพิเศษ แกล้งหลับตาข้างหนึ่ง ไม่มองว่าระบอบอุปถัมภ์ของอำนาจพิเศษซึ่งตรวจสอบไม่ได้ก็เป็นที่มาของการทุจริตคอรัปชั่นเช่นกัน ไม่พูดความจริงว่าขุนนางอำมาตย์ ทหาร ตุลาการ ที่อวดอ้างว่าจงรักภักดี สัตย์ซื่อถือคุณธรรม ที่แท้ก็มีเรื่องเน่าเฟะปกปิดอยู่มากมาย แต่สาธารณชนไม่ได้รับรู้เท่านั้นเอง
ถ้าย้อนไปดูคำสัมภาษณ์ของสุริยะใส กตะศิลา ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เรื่อง “วันหนึ่งพี่น้องจะเข้าใจ พธม.ขาลง?” ยะใสบอกว่า “ถ้าแดงแท้ประกาศปลดแอกจากทักษิณได้ตรงนี้อาจจะเป็นการเกิดใหม่ของ นปช. และสุดท้ายอาจโคจรไปจับมือกับ พธม.ก็ได้ ทั้ง 5 แกนนำ พธม.มีความคิดนี้เสมอ คุณสนธิก็เคยสัมภาษณ์ไม่รู้กี่รอบว่าไม่เคยมองเสื้อแดงเป็นศัตรู ลุงจำลอง (ศรีเมือง) ก็พูดเช่นกัน หลายเรื่องคิดเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องสองมาตรฐานความไม่เป็นธรรม”
แต่ถามว่า “แดงแท้” ของยะใสคืออะไร ก็คือคนเสื้อแดงที่ “ปลดแอก” จากทักษิณและพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ แต่สู้เพื่อความเป็นธรรมจริงๆ โดยมีแค่ 10% เท่านั้นในแดงทั้งหมด
พูดไปก็เป็นแค่การตีฝีปาก เพราะกระทั่ง บก.ลายจุด ยะใสยังดิสเครดิตว่าไม่ใช่ของแท้ แต่เป็นพวกสร้างกระแสแบบไม่ลงทุน คอยแต่หยิบชิ้นปลามัน เพราะการเคลื่อนไหวยังผูกกับจตุพร
“แดงแท้” ของยะใส คงหมายความว่าถ้าการเคลื่อนไหวอะไรที่ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือ 3 เกลอมีส่วนร่วม ต้องห้ามเข้าร่วมโดยเด็ดขาด ห้ามสนับสนุน ห้ามส่งเสียงเชียร์ ต้องไปเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ที่ปลายโคกโน้น
แม้กระทั่งใครจะเคลื่อนไหวให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เช่น ล้ม สว.ลากตั้ง ยะใสก็คงบอกว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้ทักษิณกลับมา
นั่นคือจุดยืนที่ไม่มีทางร่วมกันได้ชัดเจน เพราะในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้เราจะต้องต่อสู้คัดค้านไม่ให้ทักษิณเป็นผู้นำ ไม่ให้ทักษิณกลับมา แต่เราต้องถือว่าทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่ทักษิณเป็นผู้ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อให้กฎกติกาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้บ้านเมืองมีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว ถ้ามันจะเอื้อให้ทักษิณได้อานิสงส์ เราก็ต้องพร้อมยอมรับ
พูดไปทำไมมี พันธมิตรอ้างว่าพวกเขาดึง “อำนาจพิเศษ” เข้ามาทั้งที่รู้ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่า “อำนาจพิเศษ” นั้นเปรียบเหมือนอาทิตย์ใกล้อัสดง เดี๋ยวก็หมดพลังแล้ว (แล้วตอนนี้เป็นไงล่ะ)
ถ้าเราบอกว่า ณ วันนี้ ทักษิณยิ่งกว่าอาทิตย์อัสดงล่ะ และมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะทักษิณเป็นเรื่องตัวบุคคล แต่นั่นคือเรื่องของระบอบและหลักการ ที่เอาการรัฐประหารมาทำลายประชาธิปไตย ชูวัฒนธรรมระบอบอุปภัมภ์กลับมาครอบงำสังคม ปิดกั้นย่างก้าวไปสู่ความมีเสรี
พันธมิตรกับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงไม่มีวันรวมกันได้ เพราะเราไม่ใช่ลิเกย้ายวิก ไม่ใช่นักการเมืองย้ายพรรค ไม่ใช่มาร์ค-เนวิน หรือ “พี่บรรหาร” กับ ปชป.ด่าพ่อล่อแม่แล้วยังร่วมรัฐบาลกันได้ เพราะความ “อดอยากปากแห้ง” สำคัญกว่า
เพียงแต่ตอนนี้ คงไม่ผิดอะไร ที่เราจะเอาใจช่วยพันธมิตร ให้ยืนซดกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ครบสิบยก (จะได้น่วมๆ หน่อย ฮิฮิ) ขออย่างเดียว อย่าเป็นมวยล้มต้มคนดูก็แล้วกัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เตรียมเสียงโห่ได้เลย
เอ้า...หุย....
ที่มา.ประชาไท
-----------------------------------------------------
รัฐบาลแห่งชาติ=แดง+เหลือ ฝัน'ไชยวัฒน์ !!??
วาทกรรม“ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” จะรวมไปถึง"เสื้อเหลือ-เสื้อแดง"จับมือกันได้ ด้วยหรือไม่ แต่เริ่มมีคนคิด แต่จะเป็นจริงได้หรือไม่ หรือแค่ฝันข่มขวัญ
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาทกรรม “ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” ไม่ถูกจำกัดวงสำหรับ “นักการเมือง” อีกต่อไป แต่มันได้ไหลลงมาหลอมรวมอยู่ในหัวสมองของแกนนำม็อบบนท้องถนนเข้าให้แล้ว เมื่อในระยะหลังปรากฎข่าว “เสื้อเหลือง” กับ "เสื้อแดง” กระชับพื้นที่หัวใจใกล้ชิดกันมากขึ้น
ล่าสุดก็มี "ดีลประหลาด” เกิดขึ้นในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อ “ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์” กับ “สมบูรณ์ ทองบุราณ” ถูกจับยัดเข้าไปด้วยข้อหาก่อการร้าย ปรากฎว่าไปปะหน้ากับแกนนำ นปช.ที่ปักหลักอยู่ในนั้นมาครึ่งค่อนปี
ด้วยความที่เป็นผู้นำมวลชนเหมือนๆกัน เมื่อเจอหน้าเจอตากันก็หนีไม่พ้นสนทนาปัญหาบ้านเมือง โดยเฉพาะการเมืองบนท้องถนนของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง
ครั้งหนึ่ง “ ไชยวัฒน์ ” จะเคยเป็น “เหลืองตัวพ่อ ” ถึงขั้นเคยถูกจับเซ่นสังเวยม็อบมาแล้ว แต่มาวันนี้ เขาแยกตัวจาก “เหลืองบ้านพระอาทิตย์” ออกมาตั้งสำนักของตัวเองในนาม “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” ด้วยร่องรอยความขัดแย้งร้าวลึกเกินจะเยียวยา ไม่ร้าวลึกธรรมดาแต่ไชยวัฒน์ เคยโดนพวกกันเองจิกหัวด่าว่าเป็น “เหลืองเทียม” มาแล้ว เหตุผลหลักๆก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ชิงการนำ” กันเองในหมู่แกนนำ
อีกฟากหนึ่งต้องไม่ลืมว่า “ ไชยวัฒน์ ” ก็มี “ สายสัมพันธ์ ” ที่ดีกับแกนนำเสื้อแดงหลายคนอย่างลึกซึ้ง ยาวนาน อย่างหมอเหวง โตจิราการ หรือจตุพร พรหมพันธุ์ ก็เคยร่วมรบเคียงบ่าเคียงใหล่บนถนนราชดำเนินสมัยพฤษภาทมิฬ
ย้อนกลับไปที่เรือนจำเมื่อวันก่อน แกนนำสีเหลือง สีแดง ได้ใช้เวลาและสถานที่ที่ถูกกันไว้ให้ญาติมาเยี่ยม เป็นพบปะกันทั้งนิสิต สินธุไพร ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หมอเหวง แลกเปลี่ยนสถานการณ์กันอย่างถูกคอ หัวข้อหลักๆคือ “ ด่ารัฐบาลอภิสิทธิ์”
คนที่เข้าขาที่สุดเห็นจะเป็น “นิสิต ” เพราะมาจากดินแดนที่ราบสูงเหมือนกัน " นิสิต" อยู่ขอนแก่น "สมบูรณ์" อยู่ยโสธร ไชยวัฒน์ บุรีรัมย์ เจอะหน้ากันเลยเว้ากันม่วนหลาย
เมื่อพูดคุยภาษาเดียวกัน “ ไชยวัฒน์ ” ได้ยื่นข้อเสนอให้ “ นิสิต ” มาร่วมกันไล่รัฐบาล โดยพูดทีเล่นทีจริงว่าจองพื้นที่สะพานอรทัย ไว้ให้คนเสื้อแดง เพราะทั้งสองมุมสะพานชมัยมรุเชษฐ ก็มีเครือข่ายคนไทยฯ ส่วนสะพานมัฆวานรังสรรค์ ก็มีกลุ่มพันธมิตรฯ ถ้า “ มาตามนัด ” ก็เท่ากับว่าทำเนียบรัฐบาลจะถูก “ตีกระหนาบ” ทุกกำแพงเมือง
“ไชยวัฒน์ ” เผยหลังจากออกจากคุกว่า การเทียบเชิญเสื้อแดงให้เข้าร่วมการชุมนุมของตนครั้งนี้ เหมือนตอนที่เล่าปี่ ต้องไปคุกเข่าอ้อนวอนให้ขงเบ้งมาร่วมวางแผนรบกับโจโฉ
“ยอมรับว่าขณะนี้คุยกับคนเสื้อแดงง่ายกว่าคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ ในบางสถานการณ์เราคุยกับศัตรูรู้เรื่องกว่าคุยกับมิตร แต่สุดแล้วทั้งเสื้อแดงและเสื้อแดงก็ยังคุยง่ายกว่าอภิสิทธิ์”
จริงๆแล้วแนวคิดเรื่อง “ผสมสี” แล้วโค่นรัฐบาล ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่ไป เพราะในระยะหลัง “ ไชยวัฒน์” มักจะปฎิบัติการ “ แหวกม่านประเพณี ” ดอดไปจับไม้จับมือกับ “คนเสื้อแดง” อยู่บ่อยครั้ง
เมื่อ “ถอดรหัส” ออกมาดูแล้วส่องดู “แก่นสาร” แล้วก็พบว่า แต่ละจังหวะที่ไชยวัฒน์ เคลื่อนอยู่นี้มาจาก “จินตนาการ” ที่แสนจะสุดเขตเสลดเป็ด ของไชยวัฒน์แอนด์เดอะแก๊ง
โมเดลการเมืองที่ว่านี้ “ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” มี” พิมพ์เขียว ”เตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีเรื่องการจับกุม 7 คนไทย ผู้ที่กุมทิศทางของแผนนี้คือ “ทหารเกษียณ ” บวกพลังกับ “นักกฎหมายมือทอง” ซึ่งทั้งหมดถูก ”สนธิ ลิ้มทองกุล” เฉดหัวออกจาก “ จอเหลือง ” ด้วยประกาศิต “ ห้ามออกเด็ดขาด” ต้องย้ายไปสร้างรังใหม่ “ช่อง 13 สยามไท ” ขึ้นมาเป็นกระบอกเสียง
พอปักหลักปักฐานได้ คนกลุ่มนี้ก็วาดฉากการเมืองไทยไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการ “ อภิวัฒน์” ซึ่งจะเป็นการปฎิวัติโดยประชาชน ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบ “ ถอนรากถอนโคน ” ยึดอำนาจจากนักการเมือง แล้วสถาปนากระบวนการที่เรียกว่า “ราชประชาสมาสัย” หมายถึงการร่วมมือกันระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชน และมี “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นจุดหมายปลายทาง
“ ไชยวัฒน์” เคยเปิดอกถึงสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ว่ามันคือการ “สามัคคีประชาชาติ” คือการหลอมรวมคนทุกสี ทุกอุดมการณ์ในสังคมไทยให้มารวมพลังกันเพื่อผลักดันให้เกิดการอภิวัฒน์ โดยทุกคนต้องหยุดมองผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตัวเองแล้วมองถึงอนาคตของชาติ
“ผมตั้งเป้าว่าถ้าประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลครั้งนี้ได้ 1 ล้านคน ผมขอแค่ครึ่งวันเราจะเปลี่ยนแปลงการเมืองได้แบบถอนรากถอนโคน ล้างบางนักการเมืองชุดปัจจุบันให้เว้นวรรคทุกคน เพราะถือเป็นต้นเหตุของปัญหา แล้วสร้างบ้านสร้างเมืองกันใหม่”
ต้องจับตาดูว่า “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” จะผลักสูตรการเมืองนี้ ไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ หรือเป็นแค่ฝันลมๆแล้งๆ ที่ไม่มีวันเป็นจริง !!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------------------------
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาทกรรม “ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” ไม่ถูกจำกัดวงสำหรับ “นักการเมือง” อีกต่อไป แต่มันได้ไหลลงมาหลอมรวมอยู่ในหัวสมองของแกนนำม็อบบนท้องถนนเข้าให้แล้ว เมื่อในระยะหลังปรากฎข่าว “เสื้อเหลือง” กับ "เสื้อแดง” กระชับพื้นที่หัวใจใกล้ชิดกันมากขึ้น
ล่าสุดก็มี "ดีลประหลาด” เกิดขึ้นในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อ “ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์” กับ “สมบูรณ์ ทองบุราณ” ถูกจับยัดเข้าไปด้วยข้อหาก่อการร้าย ปรากฎว่าไปปะหน้ากับแกนนำ นปช.ที่ปักหลักอยู่ในนั้นมาครึ่งค่อนปี
ด้วยความที่เป็นผู้นำมวลชนเหมือนๆกัน เมื่อเจอหน้าเจอตากันก็หนีไม่พ้นสนทนาปัญหาบ้านเมือง โดยเฉพาะการเมืองบนท้องถนนของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง
ครั้งหนึ่ง “ ไชยวัฒน์ ” จะเคยเป็น “เหลืองตัวพ่อ ” ถึงขั้นเคยถูกจับเซ่นสังเวยม็อบมาแล้ว แต่มาวันนี้ เขาแยกตัวจาก “เหลืองบ้านพระอาทิตย์” ออกมาตั้งสำนักของตัวเองในนาม “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” ด้วยร่องรอยความขัดแย้งร้าวลึกเกินจะเยียวยา ไม่ร้าวลึกธรรมดาแต่ไชยวัฒน์ เคยโดนพวกกันเองจิกหัวด่าว่าเป็น “เหลืองเทียม” มาแล้ว เหตุผลหลักๆก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ชิงการนำ” กันเองในหมู่แกนนำ
อีกฟากหนึ่งต้องไม่ลืมว่า “ ไชยวัฒน์ ” ก็มี “ สายสัมพันธ์ ” ที่ดีกับแกนนำเสื้อแดงหลายคนอย่างลึกซึ้ง ยาวนาน อย่างหมอเหวง โตจิราการ หรือจตุพร พรหมพันธุ์ ก็เคยร่วมรบเคียงบ่าเคียงใหล่บนถนนราชดำเนินสมัยพฤษภาทมิฬ
ย้อนกลับไปที่เรือนจำเมื่อวันก่อน แกนนำสีเหลือง สีแดง ได้ใช้เวลาและสถานที่ที่ถูกกันไว้ให้ญาติมาเยี่ยม เป็นพบปะกันทั้งนิสิต สินธุไพร ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หมอเหวง แลกเปลี่ยนสถานการณ์กันอย่างถูกคอ หัวข้อหลักๆคือ “ ด่ารัฐบาลอภิสิทธิ์”
คนที่เข้าขาที่สุดเห็นจะเป็น “นิสิต ” เพราะมาจากดินแดนที่ราบสูงเหมือนกัน " นิสิต" อยู่ขอนแก่น "สมบูรณ์" อยู่ยโสธร ไชยวัฒน์ บุรีรัมย์ เจอะหน้ากันเลยเว้ากันม่วนหลาย
เมื่อพูดคุยภาษาเดียวกัน “ ไชยวัฒน์ ” ได้ยื่นข้อเสนอให้ “ นิสิต ” มาร่วมกันไล่รัฐบาล โดยพูดทีเล่นทีจริงว่าจองพื้นที่สะพานอรทัย ไว้ให้คนเสื้อแดง เพราะทั้งสองมุมสะพานชมัยมรุเชษฐ ก็มีเครือข่ายคนไทยฯ ส่วนสะพานมัฆวานรังสรรค์ ก็มีกลุ่มพันธมิตรฯ ถ้า “ มาตามนัด ” ก็เท่ากับว่าทำเนียบรัฐบาลจะถูก “ตีกระหนาบ” ทุกกำแพงเมือง
“ไชยวัฒน์ ” เผยหลังจากออกจากคุกว่า การเทียบเชิญเสื้อแดงให้เข้าร่วมการชุมนุมของตนครั้งนี้ เหมือนตอนที่เล่าปี่ ต้องไปคุกเข่าอ้อนวอนให้ขงเบ้งมาร่วมวางแผนรบกับโจโฉ
“ยอมรับว่าขณะนี้คุยกับคนเสื้อแดงง่ายกว่าคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ ในบางสถานการณ์เราคุยกับศัตรูรู้เรื่องกว่าคุยกับมิตร แต่สุดแล้วทั้งเสื้อแดงและเสื้อแดงก็ยังคุยง่ายกว่าอภิสิทธิ์”
จริงๆแล้วแนวคิดเรื่อง “ผสมสี” แล้วโค่นรัฐบาล ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่ไป เพราะในระยะหลัง “ ไชยวัฒน์” มักจะปฎิบัติการ “ แหวกม่านประเพณี ” ดอดไปจับไม้จับมือกับ “คนเสื้อแดง” อยู่บ่อยครั้ง
เมื่อ “ถอดรหัส” ออกมาดูแล้วส่องดู “แก่นสาร” แล้วก็พบว่า แต่ละจังหวะที่ไชยวัฒน์ เคลื่อนอยู่นี้มาจาก “จินตนาการ” ที่แสนจะสุดเขตเสลดเป็ด ของไชยวัฒน์แอนด์เดอะแก๊ง
โมเดลการเมืองที่ว่านี้ “ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” มี” พิมพ์เขียว ”เตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีเรื่องการจับกุม 7 คนไทย ผู้ที่กุมทิศทางของแผนนี้คือ “ทหารเกษียณ ” บวกพลังกับ “นักกฎหมายมือทอง” ซึ่งทั้งหมดถูก ”สนธิ ลิ้มทองกุล” เฉดหัวออกจาก “ จอเหลือง ” ด้วยประกาศิต “ ห้ามออกเด็ดขาด” ต้องย้ายไปสร้างรังใหม่ “ช่อง 13 สยามไท ” ขึ้นมาเป็นกระบอกเสียง
พอปักหลักปักฐานได้ คนกลุ่มนี้ก็วาดฉากการเมืองไทยไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการ “ อภิวัฒน์” ซึ่งจะเป็นการปฎิวัติโดยประชาชน ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบ “ ถอนรากถอนโคน ” ยึดอำนาจจากนักการเมือง แล้วสถาปนากระบวนการที่เรียกว่า “ราชประชาสมาสัย” หมายถึงการร่วมมือกันระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชน และมี “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นจุดหมายปลายทาง
“ ไชยวัฒน์” เคยเปิดอกถึงสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ว่ามันคือการ “สามัคคีประชาชาติ” คือการหลอมรวมคนทุกสี ทุกอุดมการณ์ในสังคมไทยให้มารวมพลังกันเพื่อผลักดันให้เกิดการอภิวัฒน์ โดยทุกคนต้องหยุดมองผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตัวเองแล้วมองถึงอนาคตของชาติ
“ผมตั้งเป้าว่าถ้าประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลครั้งนี้ได้ 1 ล้านคน ผมขอแค่ครึ่งวันเราจะเปลี่ยนแปลงการเมืองได้แบบถอนรากถอนโคน ล้างบางนักการเมืองชุดปัจจุบันให้เว้นวรรคทุกคน เพราะถือเป็นต้นเหตุของปัญหา แล้วสร้างบ้านสร้างเมืองกันใหม่”
ต้องจับตาดูว่า “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” จะผลักสูตรการเมืองนี้ ไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ หรือเป็นแค่ฝันลมๆแล้งๆ ที่ไม่มีวันเป็นจริง !!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------------------------
วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554
เขมรเคลื่อนพลถังยานหุ้มเกราะประชิดชายแดน
แหล่งข่าว กล่าวว่า ภายหลังจากการที่ทางทหารไทยได้ฝึกปฏิบัติจริงภาคสนามแก่กองกำลังพล สร้างเสริมประสบการณ์เขี้ยวเล็บในแต่ละหน่วยเป็นการฝึกจริงภาคกสนามประจำปี มีการซ้อมรบ ตามแนวชายแดน ทำให้กัมพูชาได้เคลื่อนกำลังพลนำรถถัง ยานหุ้มเกราะ อาวุธหนัก เบา นำกองกำลังจากหลัก 3 กองพลประชิดชายแดนกัมพูชาไทยห่างเขตแดนประมาณ 3 - 5 กิโลเมตร
แหล่งข่าว กล่าวว่า ตามแนวเส้นทางคู่ขนานชายแดนไทยกัมพูชาเทือกเขาพนมดงรักไปทางทิศตะวันตกเฉียงหนือ เส้นทางจากอำเภออัลลองเวง - อุดรมีชัย บริเวณที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก ฝั่งตรงข้ามพื้นที่ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีรถถังแกะกล่อง และเก่าไม่ทราบยี่ห้อ ประเทศที่ผลิตเข้าประชิดเขตแดนประจำการ ร่วม 10 คัน สามารถเคลื่อนที่เร็วสมทบกำลังพลที่ฐานโอทะมอร์ภายในเวลา 10 - 15 นาที ซึ่งเป็นฐานที่มั่นเดิมของกัมพูชา ฝั่งตรงข้ามด่านช่องสะงำ เยื้องทางขวามือหากหันหน้าไปเข้าประเทศกัมพูชา ห่างประมาณ 800 - 1000 เมตร
ส่วนด้านเส้นทางหมายเลข67 บ้านโอกะกีร์กันดาน อำเภออัลลองเวง จังหวัดอุดรมีชัยก็มีฐานที่มั่นมีรถถังนับ 10 คันเหมือนกัน แต่ห่างชายแดนออกไปร่วม 20 กิโลเมตร แต่สามารถเคลื่อนที่เร็วสมทบกำลังพลตามแนวชาวแดนไม่เกิน 20-30 นาที ไม่ว่าจะเป็นฐานโอกะยูงห่างผาตาม๊อกปะมาณ 500 - 600 เมตร ฐานฝั่งตรงข้ามช่องเขาขาดตรงกันข้ามบ้านโอปังโกว์ ตำบลไพรพัฒนา ห่างออกไปจากหมู่บ้านประมาณ 7- 8 กิโลเมตร ทดกะสานฝั่งตรงข้ามบ้านคูซีแจ ตำบลดงรัก ห่างออกไปประมาณ ประมาณ 7- 8 กิโลเมตรเช่นกัน
แหล่งข่าวอีกแหล่งหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้ทางการทหารกัมพูชา ก็มีการวางเสริมกองกำลังตรึงตลอดแนวชายแดนกัมพูชา ไทย ตั้งแต่จังหวัดอุดรมีชัยไล่ยาวถึงจังหวัดพระวิหาร มีการนำกองกำลังเสริม กองกำลังหลัก โดยกองกำลังพล จาก 3 กองพล ประกอบด้วย หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยรบพิเศษ และกองกำลังทหารจากหน่วยภูมิภาคที่ 4 วางสับเปลี่ยนกำลังตลอดแนว จากอุดรมีชัยตลอดแนวถึงจังหวัดเขาพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
ที่มา.เนชั่น
แหล่งข่าว กล่าวว่า ตามแนวเส้นทางคู่ขนานชายแดนไทยกัมพูชาเทือกเขาพนมดงรักไปทางทิศตะวันตกเฉียงหนือ เส้นทางจากอำเภออัลลองเวง - อุดรมีชัย บริเวณที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก ฝั่งตรงข้ามพื้นที่ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีรถถังแกะกล่อง และเก่าไม่ทราบยี่ห้อ ประเทศที่ผลิตเข้าประชิดเขตแดนประจำการ ร่วม 10 คัน สามารถเคลื่อนที่เร็วสมทบกำลังพลที่ฐานโอทะมอร์ภายในเวลา 10 - 15 นาที ซึ่งเป็นฐานที่มั่นเดิมของกัมพูชา ฝั่งตรงข้ามด่านช่องสะงำ เยื้องทางขวามือหากหันหน้าไปเข้าประเทศกัมพูชา ห่างประมาณ 800 - 1000 เมตร
ส่วนด้านเส้นทางหมายเลข67 บ้านโอกะกีร์กันดาน อำเภออัลลองเวง จังหวัดอุดรมีชัยก็มีฐานที่มั่นมีรถถังนับ 10 คันเหมือนกัน แต่ห่างชายแดนออกไปร่วม 20 กิโลเมตร แต่สามารถเคลื่อนที่เร็วสมทบกำลังพลตามแนวชาวแดนไม่เกิน 20-30 นาที ไม่ว่าจะเป็นฐานโอกะยูงห่างผาตาม๊อกปะมาณ 500 - 600 เมตร ฐานฝั่งตรงข้ามช่องเขาขาดตรงกันข้ามบ้านโอปังโกว์ ตำบลไพรพัฒนา ห่างออกไปจากหมู่บ้านประมาณ 7- 8 กิโลเมตร ทดกะสานฝั่งตรงข้ามบ้านคูซีแจ ตำบลดงรัก ห่างออกไปประมาณ ประมาณ 7- 8 กิโลเมตรเช่นกัน
แหล่งข่าวอีกแหล่งหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้ทางการทหารกัมพูชา ก็มีการวางเสริมกองกำลังตรึงตลอดแนวชายแดนกัมพูชา ไทย ตั้งแต่จังหวัดอุดรมีชัยไล่ยาวถึงจังหวัดพระวิหาร มีการนำกองกำลังเสริม กองกำลังหลัก โดยกองกำลังพล จาก 3 กองพล ประกอบด้วย หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยรบพิเศษ และกองกำลังทหารจากหน่วยภูมิภาคที่ 4 วางสับเปลี่ยนกำลังตลอดแนว จากอุดรมีชัยตลอดแนวถึงจังหวัดเขาพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
ที่มา.เนชั่น
คนดังสหรัฐโดดร่วมยื่นฟ้องรัฐบาลไทยสังหารหมู่ประชาชน ??
คนเสื้อแดงได้รับข่าวดีเมื่อ “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม” แจ้งยืนยัน “ศ.ดักลาส แคสเซล” ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับแถวหน้าของสหรัฐ ที่มีผลงานฟ้องมาแล้วหลายรัฐบาล ตอบรับเข้าร่วมทีมยื่นฟ้องรัฐบาลไทยต่อศาลอาชญากรโลกในวันที่ 31 ม.ค. นี้ ทำให้มีความมั่นใจว่าศาลจะรับคดีเอาไว้พิจารณาแม้ไทยจะไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกก็ตาม วันที่ 28 ม.ค. ประชุมข้ามทวีปผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับทีมกฎหมายฝ่ายไทยเพื่อเก็บรายละเอียดขั้นสุดท้ายก่อนยื่นฟ้อง ดีเอสไอยังโชว์ผลงานไม่หยุด ล่าสุดบุกจับ 2 แกนนำเสื้อแดงขอนแก่น
เว็บไซต์ส่วนตัวนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เจ้าของสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ซึ่งเป็นฝ่ายกฎหมายในต่างประเทศให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับคำยืนยันจากศาสตราจารย์ดักลาส แคสเซล ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับแถวหน้าของสหรัฐอเมริกา ว่าตัดสินใจประกาศตัวให้การสนับสนุนนายโรเบิร์ตและทีมงานในการยื่นฟ้องรัฐบาลไทยต่อศาลอาชญากรระหว่างประเทศหรือ “ไอซีซี” ในวันที่ 31 ม.ค. นี้แล้ว นอกจากศาสตราจารย์แคสเซลแล้วยังมีผู้เชี่ยวชาญอย่างนายอเล็กซานเดอร์ เกิร์ท ยาน คนุปส์ เข้าร่วมด้วย
ศาสตราจารย์แคสเซลเคยยื่นฟ้องรัฐบาลหลายประเทศก่อนหน้านี้ เช่น โคลอมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซุเอลา ฐานละเมิดสิทธิของประชาชน โดยได้แสดงความมั่นใจว่าไอซีซีจะรับพิจารณาคดีนี้ในวันที่ 31 ม.ค. อย่างแน่นอน แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของไอซีซีก็ตาม
นายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า รู้สึกยินดีที่จะได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์แคสเซลในคดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ พร้อมแสดงความมั่นใจว่าประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติของศาสตราจารย์แคสเซลน่าจะช่วยยุติความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ และจะช่วยเปิดเผยความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 28 ม.ค. นี้ทีมกฎหมายของนายอัมสเตอร์ดัมจะประชุมทางไกลด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับทีมกฎหมายของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินในประเทศไทย เพื่อหารือกันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการยื่นฟ้องต่อศาลอาชญากรระหว่างประเทศในวันที่ 31 ม.ค.
ด้านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำกำลังเข้าจับกุมนายฉวี เข็มทอง อายุ 63 ปี นายนฤเบศ ปาปะขัง อายุ 65 ปี แกนนำคนเสื้อแดงจังหวัดขอนแก่น ตามหมายจับของศาลจังหวัดขอนแก่นที่ 538/2553 หลังตกเป็นผู้ต้องหาคดีนำมวลชนปิดถนนขัดขวางการเดินทาง และตรวจค้นเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนของตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย ที่กำลังเดินทางผ่านถนนในเขตเทศบาลสีชมพู ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เพื่อไม่ให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2553
ดีเอสไอตั้งข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยกระทำการเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการในการมั่วสุม, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแต่ผู้กระทำความผิดไม่เลิก, ร่วมกันกระทำการปิดกั้นทางหลวงหรือกระทำด้วยประการใดๆบนทางหลวง ในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล, ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจหรือของผู้อื่น โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น
เบื้องต้นทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จึงได้ควบคุมตัวไว้สอบสวนก่อนไปขออำนาจศาลฝากขัง
ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
เว็บไซต์ส่วนตัวนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เจ้าของสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ซึ่งเป็นฝ่ายกฎหมายในต่างประเทศให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับคำยืนยันจากศาสตราจารย์ดักลาส แคสเซล ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับแถวหน้าของสหรัฐอเมริกา ว่าตัดสินใจประกาศตัวให้การสนับสนุนนายโรเบิร์ตและทีมงานในการยื่นฟ้องรัฐบาลไทยต่อศาลอาชญากรระหว่างประเทศหรือ “ไอซีซี” ในวันที่ 31 ม.ค. นี้แล้ว นอกจากศาสตราจารย์แคสเซลแล้วยังมีผู้เชี่ยวชาญอย่างนายอเล็กซานเดอร์ เกิร์ท ยาน คนุปส์ เข้าร่วมด้วย
ศาสตราจารย์แคสเซลเคยยื่นฟ้องรัฐบาลหลายประเทศก่อนหน้านี้ เช่น โคลอมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซุเอลา ฐานละเมิดสิทธิของประชาชน โดยได้แสดงความมั่นใจว่าไอซีซีจะรับพิจารณาคดีนี้ในวันที่ 31 ม.ค. อย่างแน่นอน แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของไอซีซีก็ตาม
นายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า รู้สึกยินดีที่จะได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์แคสเซลในคดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ พร้อมแสดงความมั่นใจว่าประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติของศาสตราจารย์แคสเซลน่าจะช่วยยุติความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ และจะช่วยเปิดเผยความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 28 ม.ค. นี้ทีมกฎหมายของนายอัมสเตอร์ดัมจะประชุมทางไกลด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับทีมกฎหมายของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินในประเทศไทย เพื่อหารือกันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการยื่นฟ้องต่อศาลอาชญากรระหว่างประเทศในวันที่ 31 ม.ค.
ด้านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำกำลังเข้าจับกุมนายฉวี เข็มทอง อายุ 63 ปี นายนฤเบศ ปาปะขัง อายุ 65 ปี แกนนำคนเสื้อแดงจังหวัดขอนแก่น ตามหมายจับของศาลจังหวัดขอนแก่นที่ 538/2553 หลังตกเป็นผู้ต้องหาคดีนำมวลชนปิดถนนขัดขวางการเดินทาง และตรวจค้นเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนของตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย ที่กำลังเดินทางผ่านถนนในเขตเทศบาลสีชมพู ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เพื่อไม่ให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2553
ดีเอสไอตั้งข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยกระทำการเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการในการมั่วสุม, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแต่ผู้กระทำความผิดไม่เลิก, ร่วมกันกระทำการปิดกั้นทางหลวงหรือกระทำด้วยประการใดๆบนทางหลวง ในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล, ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจหรือของผู้อื่น โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น
เบื้องต้นทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จึงได้ควบคุมตัวไว้สอบสวนก่อนไปขออำนาจศาลฝากขัง
ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
พระยาละแวกยุคดิจิตอล !!??
หลายท่านคงพอทราบข่าวกันแล้วถึงกรณีที่ทางการกัมพูชาสลักป้ายใหญ่โตบนหินผา ประณามคนไทย และทหารไทย บนแผ่นหิน โดยระบุว่า “ผู้รุกราน ผู้ล้ำดินแดนเขมร”...และเชื่อว่าไม้นี้ของฮุนเซน น่าจะทำให้คนไทยปวดใจไม่น้อยจะว่าไปแล้วสายสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาเองก็ไม่ค่อยดีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถึงขนาดมีการผูกนิทานขึ้นกล่าวร้าย กันอย่างเรื่อง “เรื่องพระโคพระแก้ว” หรือแม้แต่การยกตำนานเขมรที่เกี่ยวกับพุทธทำนาย ว่า ตะกวด เป็นบรรพบุรุษเขมร แล้วยกเอาลักษณะลิ้นสองแฉกของตะกวด มาประณามเขมรเป็นตัวเหี้ย..ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม หรือถูกต้องนัก
ชาติพันธุ์ใคร...เขาก็รัก ก็หวงแหนเผ่าพงษ์วงศาของตน เขาว่าเราเราก็ไม่ชอบ เราว่าเขาเขาก็ไม่ชอบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก็ต่างเลยผ่านมานานนม ครั้นจะเก็บมาเป็นอารมณ์ก็ใช่ที่ แต่สิ่งที่หยั่งรากในจิตใจก็ยากที่จะทราบได้พูดถึงตำนานเล่าขานระหว่างไทย-กัมพูชา....มีอยู่อีกเรื่องที่หลายท่านรู้จักกัน ดี คือ เรื่อง “พระยาละแวก” คือในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตีไทย ฝ่ายเขมร พระยาละแวกเห็นได้ทีฉวยโอกาสมากวาด ต้อนผู้คนไปใช้แรงงานจำนวนมาก หลังเสร็จศึกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก รับสั่งให้ยกทัพไปเขมร พระยาละแวก เห็นท่าไม่ดี ส่งราชสาสน์มาขอพระราชทานอภัยใจความ ว่า “ข้าพระองค์ ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชา นุภาพที่ไปกวาดต้อนคนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปาวสาน”
หลังจากนั้น 3 วัน พระยาละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุตรมาเข้า เฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธ และขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยงดู พระยาละแวกก็ยอม จากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นาน ญวนได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพ ไปช่วยเพื่อตีเมืองคืน แต่ทำไม่สำเร็จ
ในภายหลังไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือ โอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนายก พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระ จำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพ ของเขมรถอยกลับไป แต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้ พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูก พระยาละแวกได้ยกทัพมาถึงปากน้ำพระ ประแดงโจมตีเมืองธนบุรี จับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็นเชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ 30 ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็น จำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง แต่ยังไม่วายกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย เยี่ยมจริงๆ
จนถึงปี พ.ศ.2129 พระยาละแวก เห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “พระยาละแวกตระบัดสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก
และในปี พ.ศ.2132 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษา ข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาท ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง 3 เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลง จึงทรงรับสั่ง ให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า สุดท้าย พ.ศ. 2137 สยามตีเมืองละแวกแตก แต่ยังคง มีกษัตริย์ปกครองกัมพูชาต่อไปหากจะว่าไปเรื่องราวของพระยาละแวกอาจเป็นเครื่องเตือนใจชาวไทยได้ เป็นอย่างดี ถึงความไม่ซื่อสัตย์ของบุคคล บางจำพวก (ก็พวกนั้นแหละเจ้าค่ะ) แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาคิดต่อในด้านความ รู้สึกในเรื่องราว แต่พระยาละแวกยุคดิจิตอลนี่สิ... ความสามารถด้านนี้เขาไม่แพ้ในยุคดั้งเดิมเลยจริงๆ
ที่มา.สยามธุรกิจ
ชาติพันธุ์ใคร...เขาก็รัก ก็หวงแหนเผ่าพงษ์วงศาของตน เขาว่าเราเราก็ไม่ชอบ เราว่าเขาเขาก็ไม่ชอบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก็ต่างเลยผ่านมานานนม ครั้นจะเก็บมาเป็นอารมณ์ก็ใช่ที่ แต่สิ่งที่หยั่งรากในจิตใจก็ยากที่จะทราบได้พูดถึงตำนานเล่าขานระหว่างไทย-กัมพูชา....มีอยู่อีกเรื่องที่หลายท่านรู้จักกัน ดี คือ เรื่อง “พระยาละแวก” คือในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตีไทย ฝ่ายเขมร พระยาละแวกเห็นได้ทีฉวยโอกาสมากวาด ต้อนผู้คนไปใช้แรงงานจำนวนมาก หลังเสร็จศึกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก รับสั่งให้ยกทัพไปเขมร พระยาละแวก เห็นท่าไม่ดี ส่งราชสาสน์มาขอพระราชทานอภัยใจความ ว่า “ข้าพระองค์ ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชา นุภาพที่ไปกวาดต้อนคนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปาวสาน”
หลังจากนั้น 3 วัน พระยาละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุตรมาเข้า เฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธ และขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยงดู พระยาละแวกก็ยอม จากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นาน ญวนได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพ ไปช่วยเพื่อตีเมืองคืน แต่ทำไม่สำเร็จ
ในภายหลังไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือ โอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนายก พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระ จำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพ ของเขมรถอยกลับไป แต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้ พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูก พระยาละแวกได้ยกทัพมาถึงปากน้ำพระ ประแดงโจมตีเมืองธนบุรี จับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็นเชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ 30 ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็น จำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง แต่ยังไม่วายกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย เยี่ยมจริงๆ
จนถึงปี พ.ศ.2129 พระยาละแวก เห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “พระยาละแวกตระบัดสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก
และในปี พ.ศ.2132 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษา ข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาท ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง 3 เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลง จึงทรงรับสั่ง ให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า สุดท้าย พ.ศ. 2137 สยามตีเมืองละแวกแตก แต่ยังคง มีกษัตริย์ปกครองกัมพูชาต่อไปหากจะว่าไปเรื่องราวของพระยาละแวกอาจเป็นเครื่องเตือนใจชาวไทยได้ เป็นอย่างดี ถึงความไม่ซื่อสัตย์ของบุคคล บางจำพวก (ก็พวกนั้นแหละเจ้าค่ะ) แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาคิดต่อในด้านความ รู้สึกในเรื่องราว แต่พระยาละแวกยุคดิจิตอลนี่สิ... ความสามารถด้านนี้เขาไม่แพ้ในยุคดั้งเดิมเลยจริงๆ
ที่มา.สยามธุรกิจ
มาร์ค-ม็อบ พอกัน !!!!!!
เห็นท่าทีขึงขังของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ประกาศลั่นห้ามม็อบพันธมิตรและม็อบคนไทยหัวใจรักชาติบุกเข้ายึดทำเนียบเด็ดขาด
อดให้นึกถึงตอนม็อบพันธมิตรยึดทำเนียบหนก่อน ไม่ได้
นายอภิสิทธิ์คนนี้ล่ะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านนำส.ส. ประชาธิปัตย์ไปให้กำลังใจพันธมิตรถึงหลังเวทีปราศรัยที่สะพานมัฆวานฯ
ก่อนที่ม็อบเหลืองจะบุกยึดทำเนียบไม่นาน
เหมือนกับตอนที่ม็อบพันธมิตรบุกล้อมรัฐสภา 7 ตุลาก็เช่นกัน
ท่าทีของนายอภิสิทธิ์ก็สนับสนุนการเคลื่อนไหวนอกสภา ของส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ร่วมหัวจมท้ายกับพันธมิตร
แถมยังอภิปรายในสภาจนกลายเป็นวาทะแห่งทศวรรษ
"จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง"
ที่เขียนแบบนี้ไม่ใช่ว่าสนับสนุนการยึดทำเนียบ
แต่ต้องการให้เห็นความ 2 มาตรฐานของนายอภิสิทธิ์!
อะไรที่เป็นประโยชน์ก็ใช้มาตรฐานหนึ่ง
เมื่อต้องเสียประโยชน์ก็ใช้อีกมาตรฐาน
พอโดนจับผิดก็จะอ้างว่ามันคนละสถานการณ์กัน!?
ต้องยกนิ้วให้เป็นสุดยอดนายกฯ จริงๆ
แต่อีกฝ่ายก็ใช่ย่อย มาตรฐานพอๆ กัน
จากเดิมกอดกันกลม ผลักดันกันจนได้เป็นรัฐบาล
แต่พอถึงวันที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว!?
คำหวานๆ ที่เคยยกยอ กลายเป็นคำก่นด่า สาปแช่ง
ขนคนออกมาขับไล่กันแบบง่ายดาย
ยึดวิธีแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ ยึดที่นั่นยึดที่นี่
เป้าหมายคือการล้มรัฐบาลให้ได้แค่นั้นพอ
แต่ที่รับไม่ได้เลยคือแนวคิดสุดโต่ง ย้อนยุค
หาทางออกให้ประเทศชาติแบบพิลึกพิลั่น
ปลุกกระแสคลั่งชาติ-กู้ชาติ
หวังให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ
โดยไม่คำนึงถึงผลเสียใหญ่หลวงที่จะเกิดตามมา!
ล่าสุดยังเกิดข่าวลือกันกระหึ่มเมือง
มีแผนเตรียมผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ-รัฐประหารขึ้นอีกรอบ
หวังล้มรัฐบาลอภิสิทธิ์ ล้างไพ่ใหม่อีกหน
เหมือนกับตอนที่รัฐประหาร 19 กันยา 49 โค่นรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร
แปลกใจจริงๆ คิดกันได้แค่นี้เองหรือ?
โค่นล้มคนเก่า ผลักดันคนใหม่ขึ้น
คนใหม่ทำไม่ถูกใจก็โค่นล้มอีก
หนีไม่พ้นจริงๆ วงจรอุบาทว์
แต่ก็ยังโชคดีที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ แบบนี้
ไม่เอาด้วยกับการปลุกกระแสคลั่งชาติพิลึกพิลั่น
ผู้ชุมนุมเลยโหรงเหรงบางตา
ที่สำคัญไม่มีใครอยากให้บ้านเมืองเสียหายและบอบช้ำไปกว่านี้
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ เหล็กใน
ประกาศลั่นห้ามม็อบพันธมิตรและม็อบคนไทยหัวใจรักชาติบุกเข้ายึดทำเนียบเด็ดขาด
อดให้นึกถึงตอนม็อบพันธมิตรยึดทำเนียบหนก่อน ไม่ได้
นายอภิสิทธิ์คนนี้ล่ะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านนำส.ส. ประชาธิปัตย์ไปให้กำลังใจพันธมิตรถึงหลังเวทีปราศรัยที่สะพานมัฆวานฯ
ก่อนที่ม็อบเหลืองจะบุกยึดทำเนียบไม่นาน
เหมือนกับตอนที่ม็อบพันธมิตรบุกล้อมรัฐสภา 7 ตุลาก็เช่นกัน
ท่าทีของนายอภิสิทธิ์ก็สนับสนุนการเคลื่อนไหวนอกสภา ของส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ร่วมหัวจมท้ายกับพันธมิตร
แถมยังอภิปรายในสภาจนกลายเป็นวาทะแห่งทศวรรษ
"จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง"
ที่เขียนแบบนี้ไม่ใช่ว่าสนับสนุนการยึดทำเนียบ
แต่ต้องการให้เห็นความ 2 มาตรฐานของนายอภิสิทธิ์!
อะไรที่เป็นประโยชน์ก็ใช้มาตรฐานหนึ่ง
เมื่อต้องเสียประโยชน์ก็ใช้อีกมาตรฐาน
พอโดนจับผิดก็จะอ้างว่ามันคนละสถานการณ์กัน!?
ต้องยกนิ้วให้เป็นสุดยอดนายกฯ จริงๆ
แต่อีกฝ่ายก็ใช่ย่อย มาตรฐานพอๆ กัน
จากเดิมกอดกันกลม ผลักดันกันจนได้เป็นรัฐบาล
แต่พอถึงวันที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว!?
คำหวานๆ ที่เคยยกยอ กลายเป็นคำก่นด่า สาปแช่ง
ขนคนออกมาขับไล่กันแบบง่ายดาย
ยึดวิธีแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ ยึดที่นั่นยึดที่นี่
เป้าหมายคือการล้มรัฐบาลให้ได้แค่นั้นพอ
แต่ที่รับไม่ได้เลยคือแนวคิดสุดโต่ง ย้อนยุค
หาทางออกให้ประเทศชาติแบบพิลึกพิลั่น
ปลุกกระแสคลั่งชาติ-กู้ชาติ
หวังให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ
โดยไม่คำนึงถึงผลเสียใหญ่หลวงที่จะเกิดตามมา!
ล่าสุดยังเกิดข่าวลือกันกระหึ่มเมือง
มีแผนเตรียมผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ-รัฐประหารขึ้นอีกรอบ
หวังล้มรัฐบาลอภิสิทธิ์ ล้างไพ่ใหม่อีกหน
เหมือนกับตอนที่รัฐประหาร 19 กันยา 49 โค่นรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร
แปลกใจจริงๆ คิดกันได้แค่นี้เองหรือ?
โค่นล้มคนเก่า ผลักดันคนใหม่ขึ้น
คนใหม่ทำไม่ถูกใจก็โค่นล้มอีก
หนีไม่พ้นจริงๆ วงจรอุบาทว์
แต่ก็ยังโชคดีที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ แบบนี้
ไม่เอาด้วยกับการปลุกกระแสคลั่งชาติพิลึกพิลั่น
ผู้ชุมนุมเลยโหรงเหรงบางตา
ที่สำคัญไม่มีใครอยากให้บ้านเมืองเสียหายและบอบช้ำไปกว่านี้
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ เหล็กใน
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
นปช.ย้ำ"รัฐประหาร"แน่! "ธิดา"แว่วนัดหมาย 10 ก.พ. "จตุพร"ปูดวางแผนที่เซฟเฮาส์โหร คมช.
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำ นปช. กล่าวเมื่อวันที่ 27 มกราคม โดยยืนยันว่า มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ประชุมวางแผนเตรียมการก่อรัฐประหารจริง ซึ่งคนที่ไปวางแผนในเซฟเฮาส์ล้วนเป็นลูกศิษย์โหรวารินทร์ (บัววิรัตน์เลิศ) อดีตโหรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทั้งสิ้น เหมือนกับรู้เห็นล่วงหน้า นอกจากนี้ยังมีแกนนำเสื้อเหลืองบางคนไปพบกับคอลัมนิสต์ที่เป็นนายทหารยศเรือเอก และบอกว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อเปิดประตูให้ทหารยึดอำนาจ ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีสัญญาณ
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว ว่า แกนนำ นปช.ที่ยังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุเทพมหานครได้ประชุมกัน และขอร้องให้ยกร่างจดหมายเปิดผนึกชื่อ "จดหมายปรับทุกข์" เพื่อส่งถึงผู้พิพากษา 1,300 คนทั่วประเทศให้รับรู้ถึงความไม่ชอบมาพากล และความไม่ยุติธรรมในคดีที่แกนนำ นปช. ถูกกล่าวหา และล่าสุดได้รับจดหมายตอบกลับจากศาลอาญาระหว่างประเทศว่าจะรับพิจารณาเรื่อง การส่งพยานมาสังเกตการณ์การพิจารณาคดีคนเสื้อแดงในประเทศไทย แม้ไทยจะไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมก็ตาม
"การคัดกรรมการ นปช.จังหวัด จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีข่าวลือออกมาว่าจะเกิดการรัฐประหารในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ จึงอยากเตือนไปยังกองทัพว่าหากจะทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 21 จะทำให้ประเทศหายนะ" นางธิดากล่าว
ด้านนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ รักษาการโฆษก นปช. กล่าวถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มรวมตัวกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในเวลา 13.00 น. ก่อนเคลื่อนขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลา 15.00 น. แต่ยังไม่สามารถระบุได้จะปักหลักถึงเวลาใด เพราะต้องรอดูท่าทีจากรัฐบาลก่อนว่าจะแก้ไขปัญหาแกนนำ นปช. ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอย่างไร
ที่มา.มติชนออนไลน์
______________________________
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว ว่า แกนนำ นปช.ที่ยังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุเทพมหานครได้ประชุมกัน และขอร้องให้ยกร่างจดหมายเปิดผนึกชื่อ "จดหมายปรับทุกข์" เพื่อส่งถึงผู้พิพากษา 1,300 คนทั่วประเทศให้รับรู้ถึงความไม่ชอบมาพากล และความไม่ยุติธรรมในคดีที่แกนนำ นปช. ถูกกล่าวหา และล่าสุดได้รับจดหมายตอบกลับจากศาลอาญาระหว่างประเทศว่าจะรับพิจารณาเรื่อง การส่งพยานมาสังเกตการณ์การพิจารณาคดีคนเสื้อแดงในประเทศไทย แม้ไทยจะไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมก็ตาม
"การคัดกรรมการ นปช.จังหวัด จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีข่าวลือออกมาว่าจะเกิดการรัฐประหารในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ จึงอยากเตือนไปยังกองทัพว่าหากจะทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 21 จะทำให้ประเทศหายนะ" นางธิดากล่าว
ด้านนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ รักษาการโฆษก นปช. กล่าวถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มรวมตัวกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในเวลา 13.00 น. ก่อนเคลื่อนขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลา 15.00 น. แต่ยังไม่สามารถระบุได้จะปักหลักถึงเวลาใด เพราะต้องรอดูท่าทีจากรัฐบาลก่อนว่าจะแก้ไขปัญหาแกนนำ นปช. ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอย่างไร
ที่มา.มติชนออนไลน์
______________________________
'จาตุรนต์'หนุนรัฐบาลไม่เอา3ข้อเรียกร้องพันธมิตร
"จาตุรนต์"หนุนรัฐบาลไม่ต้องอ่อน 3ข้อเรียกร้องกลุ่มพันธมิตร เพราะการเคลื่อนไหวเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แจงยกเลิกเอ็มโอยู43ไม่ควรทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ส่งบทความเรื่อง ความเห็นต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยระบุว่า ตนได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ”และกลุ่มพันธมิตรฯในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามละเลยได้
มาถึงเวลานี้ก็ชัดเจนแล้วว่าการเคลื่อนไหวนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและต่อสถานะและเสถียรภาพของรัฐบาลไทยเองอย่างที่หลายฝ่ายอาจคาดไม่ถึงมาก่อน ล่าสุดกลุ่มพันธมิตรฯ นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อให้รัฐบาลดำเนินการภายใน 2 วัน มิฉะนั้นก็จะดำเนินการขั้นต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศด้วยว่า ไม่ชนะไม่เลิก(อีกแล้ว)
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อดั่งที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วนั้น เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลไทย ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ควรทำตาม เพราะเป็นข้อเรียกร้องที่มีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสียหายมากยิ่งขึ้น และอาจจะเสียหายมากถึงกับกลายเป็นการกระทบกระทั่งหรือการรบกันระหว่างทหารของทั้งสองประเทศ
"ในความเห็นผม สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับทั้งสองประเทศและสำหรับประเทศไทยเองด้วยก็คือ การมีสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศรวมทั้งกัมพูชาด้วย การมีความสัมพันธ์ที่ดีควรจะเกิดจากการพยายามของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมมือกันในด้านต่างๆให้มากขึ้น ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนฯลฯซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่ดีที่จะร่วมมือกันอยู่แล้ว รวมทั้งยังมีพื้นฐานที่ดีจากการที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีไว้แล้วด้วย"นายจาตุรนต์กล่าว
นายจาตุรนต์กล่าวว่า รัฐบาลไทยก่อนการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เคยมีนโยบายร่วมมือและช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้มากๆ ด้วยแนวความคิดว่ายิ่งประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นเท่าไร เราก็ดีขึ้นด้วยเท่านั้น ผ่านมาเพียง 4-5 ปีเท่านั้น เรากลับกำลังมีปัญหากับกัมพูชามากขึ้นๆ และกำลังมีความพยายามที่จะผลักดันให้ทั้งสองประเทศขัดแย้งกันจนถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันไปเสียแล้ว
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศนั้นควรแก้ด้วยการเจรจาหารือกัน เหมือนอย่างที่เราทำกับประเทศรอบบ้านเราจนมีผลสำเร็จด้วยดีเสมอมาซึ่งก็รวมถึงกัมพูชาด้วย มาถึงตอนนี้วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย รวมทั้งประเทศไทยเองก็คือการเจรจาหารือ ไม่ใช่ใช้กำลังเข้าใส่กัน การยกเลิกเอ็มโอยูปี 2543 จึงไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สองประเทศถอยหลังกลับไปสู่ภาวะที่ตึงเครียดและเสี่ยงต่อการที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
การถอนตัวจากการเป็นกรรมการมรดกโลกก็เป็นสิ่งที่ไทยไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการชี้แจงเรื่องราวต่างๆให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และไทยก็ไม่ได้มีเรื่องปราสาทพระวิหารอยู่เพียงเรื่องเดียวที่ต้องอาศัยคณะกรรมการนี้ เรายังต้องร่วมมือกับนานาประเทศในเรื่องต่างๆอีกมาก ไทยเราจึงควรแสดงความมีวุฒิภาวะที่พร้อมจะร่วมมือแก้ปัญหาต่างๆอย่างอารยประเทศเขาทำกัน
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ข้อเสนอให้ทหารไทยผลักดันประชาชนกัมพูชาให้ออกจากพื้นที่พิพาทนั้น ฟังผิวเผินก็อาจหาเหตุผลมาโต้แย้งได้ยาก เพราะหากไม่ทำก็เหมือนกับยินยอมยกดินแดนตรงนั้นให้กัมพูชาไป แต่ความจริงการจะแก้ปัญหานี้ รัฐบาลไทยควรให้หลักการตามที่กำหนดไว้ในเอ็มโอยู ปี 2543 คือต้องใช้การเจรจาหารือบนพื้นฐานของการพยายามร่วมกันแก้ปัญหาอย่างมิตรต่อมิตรด้วยกัน จะดีกว่าการเผชิญหน้ากันด้วยกองกำลังทหารซึ่งอาจจะบานปลายเสียเปล่าๆ
"สรุปว่าผมไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 ข้อ ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลไทยจะทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร และขอเสนอให้รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยความรอบคอบ พยายามชี้แจงเหตุผลความเป็นมาให้ประชาชนเข้าใจ เคารพสิทธิของประชาชนในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น ไม่ใช้มาตรการหรือวิธีการใดๆที่รุนแรงเกินกว่าเหตุต่อประชาชนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม"นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า คิดว่าสังคมไทยควรมีการศึกษาทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกรณีของไทย-กัมพูชากันอย่างจริงจัง เพื่อจะได้มีทางแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ไม่ไปผสมโรงกับการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะคลั่งชาติ ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศและความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านไว้บนหลักการที่ถูกต้อง
นอกจากนั้นยังควรช่วยกันติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด บางทีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรในเรื่องนี้อาจไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุหาผลตามปรกติไม่ได้ก็ได้
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ส่งบทความเรื่อง ความเห็นต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยระบุว่า ตนได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ”และกลุ่มพันธมิตรฯในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามละเลยได้
มาถึงเวลานี้ก็ชัดเจนแล้วว่าการเคลื่อนไหวนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและต่อสถานะและเสถียรภาพของรัฐบาลไทยเองอย่างที่หลายฝ่ายอาจคาดไม่ถึงมาก่อน ล่าสุดกลุ่มพันธมิตรฯ นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อให้รัฐบาลดำเนินการภายใน 2 วัน มิฉะนั้นก็จะดำเนินการขั้นต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศด้วยว่า ไม่ชนะไม่เลิก(อีกแล้ว)
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อดั่งที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วนั้น เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลไทย ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ควรทำตาม เพราะเป็นข้อเรียกร้องที่มีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสียหายมากยิ่งขึ้น และอาจจะเสียหายมากถึงกับกลายเป็นการกระทบกระทั่งหรือการรบกันระหว่างทหารของทั้งสองประเทศ
"ในความเห็นผม สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับทั้งสองประเทศและสำหรับประเทศไทยเองด้วยก็คือ การมีสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศรวมทั้งกัมพูชาด้วย การมีความสัมพันธ์ที่ดีควรจะเกิดจากการพยายามของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมมือกันในด้านต่างๆให้มากขึ้น ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนฯลฯซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่ดีที่จะร่วมมือกันอยู่แล้ว รวมทั้งยังมีพื้นฐานที่ดีจากการที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีไว้แล้วด้วย"นายจาตุรนต์กล่าว
นายจาตุรนต์กล่าวว่า รัฐบาลไทยก่อนการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เคยมีนโยบายร่วมมือและช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้มากๆ ด้วยแนวความคิดว่ายิ่งประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นเท่าไร เราก็ดีขึ้นด้วยเท่านั้น ผ่านมาเพียง 4-5 ปีเท่านั้น เรากลับกำลังมีปัญหากับกัมพูชามากขึ้นๆ และกำลังมีความพยายามที่จะผลักดันให้ทั้งสองประเทศขัดแย้งกันจนถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันไปเสียแล้ว
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศนั้นควรแก้ด้วยการเจรจาหารือกัน เหมือนอย่างที่เราทำกับประเทศรอบบ้านเราจนมีผลสำเร็จด้วยดีเสมอมาซึ่งก็รวมถึงกัมพูชาด้วย มาถึงตอนนี้วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย รวมทั้งประเทศไทยเองก็คือการเจรจาหารือ ไม่ใช่ใช้กำลังเข้าใส่กัน การยกเลิกเอ็มโอยูปี 2543 จึงไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สองประเทศถอยหลังกลับไปสู่ภาวะที่ตึงเครียดและเสี่ยงต่อการที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
การถอนตัวจากการเป็นกรรมการมรดกโลกก็เป็นสิ่งที่ไทยไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการชี้แจงเรื่องราวต่างๆให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และไทยก็ไม่ได้มีเรื่องปราสาทพระวิหารอยู่เพียงเรื่องเดียวที่ต้องอาศัยคณะกรรมการนี้ เรายังต้องร่วมมือกับนานาประเทศในเรื่องต่างๆอีกมาก ไทยเราจึงควรแสดงความมีวุฒิภาวะที่พร้อมจะร่วมมือแก้ปัญหาต่างๆอย่างอารยประเทศเขาทำกัน
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ข้อเสนอให้ทหารไทยผลักดันประชาชนกัมพูชาให้ออกจากพื้นที่พิพาทนั้น ฟังผิวเผินก็อาจหาเหตุผลมาโต้แย้งได้ยาก เพราะหากไม่ทำก็เหมือนกับยินยอมยกดินแดนตรงนั้นให้กัมพูชาไป แต่ความจริงการจะแก้ปัญหานี้ รัฐบาลไทยควรให้หลักการตามที่กำหนดไว้ในเอ็มโอยู ปี 2543 คือต้องใช้การเจรจาหารือบนพื้นฐานของการพยายามร่วมกันแก้ปัญหาอย่างมิตรต่อมิตรด้วยกัน จะดีกว่าการเผชิญหน้ากันด้วยกองกำลังทหารซึ่งอาจจะบานปลายเสียเปล่าๆ
"สรุปว่าผมไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 ข้อ ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลไทยจะทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร และขอเสนอให้รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยความรอบคอบ พยายามชี้แจงเหตุผลความเป็นมาให้ประชาชนเข้าใจ เคารพสิทธิของประชาชนในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น ไม่ใช้มาตรการหรือวิธีการใดๆที่รุนแรงเกินกว่าเหตุต่อประชาชนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม"นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า คิดว่าสังคมไทยควรมีการศึกษาทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกรณีของไทย-กัมพูชากันอย่างจริงจัง เพื่อจะได้มีทางแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ไม่ไปผสมโรงกับการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะคลั่งชาติ ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศและความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านไว้บนหลักการที่ถูกต้อง
นอกจากนั้นยังควรช่วยกันติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด บางทีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรในเรื่องนี้อาจไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุหาผลตามปรกติไม่ได้ก็ได้
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ติดกับดักเสียเอง
นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ให้สัมภาษณ์ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในยุคการเปลี่ยนผ่าน ในวารสาร "ราชดำเนิน" ฉบับล่าสุด
มีหลายประเด็น แต่สะดุดอยู่ 1 ประเด็น
นายวันชัยระบุสื่อจำนวนมากติดกับดักความเชื่อของตัวเอง ไม่เชื่อว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลที่พบเห็นมากขึ้น
พร้อมยกตัวอย่างกรณี 6 ศพวัดปทุมวนารามว่าพอไปเจอหลักฐานชิ้นหนึ่ง ก็สรุปปักใจเชื่อว่าใช่แล้ว ต้องถูกทหารยิงแน่ ไม่คิดจะไปค้นหาต่อ
ยังระบุด้วยว่าสื่อมีหน้าที่เสนอความจริง แต่ไม่ควรติดกับดักความจริง
นั่นคือคำกล่าวของนายวันชัยที่ต้องนำมาขยาย
ในฐานะที่ "ข่าวสด" เกาะติดทำข่าวคดีฆ่า 6 ศพในวัดปทุมวนารามมาตั้งแต่ต้น
บอกได้เลยว่า สิ่งที่ "ข่าวสด" พบและเจอ ไม่ใช่แค่หลักฐานชิ้นเดียว แล้วคิดเอาเองว่าใช่แล้วๆ
แต่มีทั้งพยาน หลักฐานอื่นๆ อีกจำนวนมาก
ที่ยืนยันได้ว่ามีการระดมยิงจากบนรางรถไฟฟ้า บีทีเอสเข้ามาในเขตอภัยทานจริง จนมีการตายหมู่ เกิดขึ้น
แม้แต่ดีเอสไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานรับใช้รัฐบาล ซึ่งไปสอบสวนสืบสวน
จากการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการก็ให้การว่ามีการยิงเข้าไปในวัดจริง
ดีเอสไอของรัฐแท้ๆ ยังต้องยอมสรุปว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ยิง
ในสำนวนมีเจ้าหน้าที่กี่คน ยศอะไร ชื่ออะไร ปรากฏหมดเปลือกแล้ว แนวกระสุนจากบนราง ยิงแบบไหนกี่องศาลงตรงไหน และไม่มีการยิงตอบโต้จากข้างล่างขึ้นไป นี่อยู่ในสำนวนหมด
หลักฐานคดี 6 ศพขณะนี้ไปไกลมาก ถึงขั้นจะนำขึ้นฟ้องศาลโลกแล้ว
พูดกันตรงๆ นายวันชัยเองไม่ได้เข้าไปทำข่าวนี้หรอก
แม้แต่หลักฐานแค่ชิ้นเดียว นายวันชัยก็ไม่เคยได้สัมผัสด้วยตัวเองเยี่ยงนักข่าวจริงๆ
ที่สำคัญยังติดกับดัก จุดยืนและความเชื่อของตัวเองด้วย
เช่นเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นวิกฤตเผาบ้านเผาเมือง ไม่ใช่วิกฤตอำนาจรัฐปราบปรามประชาชน
เหมือนคนที่ห่วงตึกถูกเผามากกว่าชีวิตคน 80-90 ศพ
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม,เภรี กุลาธรรม
มีหลายประเด็น แต่สะดุดอยู่ 1 ประเด็น
นายวันชัยระบุสื่อจำนวนมากติดกับดักความเชื่อของตัวเอง ไม่เชื่อว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลที่พบเห็นมากขึ้น
พร้อมยกตัวอย่างกรณี 6 ศพวัดปทุมวนารามว่าพอไปเจอหลักฐานชิ้นหนึ่ง ก็สรุปปักใจเชื่อว่าใช่แล้ว ต้องถูกทหารยิงแน่ ไม่คิดจะไปค้นหาต่อ
ยังระบุด้วยว่าสื่อมีหน้าที่เสนอความจริง แต่ไม่ควรติดกับดักความจริง
นั่นคือคำกล่าวของนายวันชัยที่ต้องนำมาขยาย
ในฐานะที่ "ข่าวสด" เกาะติดทำข่าวคดีฆ่า 6 ศพในวัดปทุมวนารามมาตั้งแต่ต้น
บอกได้เลยว่า สิ่งที่ "ข่าวสด" พบและเจอ ไม่ใช่แค่หลักฐานชิ้นเดียว แล้วคิดเอาเองว่าใช่แล้วๆ
แต่มีทั้งพยาน หลักฐานอื่นๆ อีกจำนวนมาก
ที่ยืนยันได้ว่ามีการระดมยิงจากบนรางรถไฟฟ้า บีทีเอสเข้ามาในเขตอภัยทานจริง จนมีการตายหมู่ เกิดขึ้น
แม้แต่ดีเอสไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานรับใช้รัฐบาล ซึ่งไปสอบสวนสืบสวน
จากการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการก็ให้การว่ามีการยิงเข้าไปในวัดจริง
ดีเอสไอของรัฐแท้ๆ ยังต้องยอมสรุปว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ยิง
ในสำนวนมีเจ้าหน้าที่กี่คน ยศอะไร ชื่ออะไร ปรากฏหมดเปลือกแล้ว แนวกระสุนจากบนราง ยิงแบบไหนกี่องศาลงตรงไหน และไม่มีการยิงตอบโต้จากข้างล่างขึ้นไป นี่อยู่ในสำนวนหมด
หลักฐานคดี 6 ศพขณะนี้ไปไกลมาก ถึงขั้นจะนำขึ้นฟ้องศาลโลกแล้ว
พูดกันตรงๆ นายวันชัยเองไม่ได้เข้าไปทำข่าวนี้หรอก
แม้แต่หลักฐานแค่ชิ้นเดียว นายวันชัยก็ไม่เคยได้สัมผัสด้วยตัวเองเยี่ยงนักข่าวจริงๆ
ที่สำคัญยังติดกับดัก จุดยืนและความเชื่อของตัวเองด้วย
เช่นเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นวิกฤตเผาบ้านเผาเมือง ไม่ใช่วิกฤตอำนาจรัฐปราบปรามประชาชน
เหมือนคนที่ห่วงตึกถูกเผามากกว่าชีวิตคน 80-90 ศพ
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม,เภรี กุลาธรรม
เรื่องใหญ่กว่า?
บรรยากาศประชุมรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ
เป็นไปอย่างเรื่อยๆ มาเรียงๆ ไม่ได้ดุเดือดเลือดพล่าน หรือมีเค้าลาง 'แตกหัก' ตามที่โหมโรงกันไว้ก่อนหน้า
โดยเฉพาะประเด็นมาตรา 93-98 เกี่ยวกับสูตรที่มาส.ส.แบบแบ่งเขตกับแบบปาร์ตี้ลิสต์ ที่มีความเห็นแตกออกเป็น 2 สูตรใหญ่ คือ 375+125 กับ 400+100
ถึงจะมีความพยายามเสนอสูตร 400+125 ขึ้นมาเป็นการพบกันครึ่งทางแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
หลักๆ จึงยังเป็นการต่อสู้กันใน 2 สูตรแรก ระหว่างประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาล
หลายคนจับตาความเห็นที่แตกต่างกันในพรรคร่วมรัฐบาลนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเช่นการ 'ยุบสภา' หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างเคลียร์กันลงตัวตั้งแต่ก่อนการประชุมรัฐสภาจะเริ่ม
เนื่องจากมีการนัดพบปะระหว่างแกนนำประชาธิปัตย์กับแกนนำพรรคร่วมทั้ง 'ตัวจริง' และตัวแทน ทั้งแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย
รวมๆ คือประชาธิปัตย์อ้างว่าได้ถอยให้แล้ว ด้วยการยอมแก้ไขเขตเลือกตั้งกลับมาเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ตามความต้องการของพรรคร่วม
ดังนั้น พรรคร่วมจึงควรถอยให้ประชาธิปัตย์บ้าง คือยอมให้เพิ่มส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เป็น 125 คน
นอกจากนี้ แกนนำประชาธิปัตย์ยังยืนยัน ในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งหน้า ทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาลกันตอนนี้ จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลร่วมกันอีก
ทั้งยังจะให้โควตากระทรวงและเก้าอี้รัฐมนตรีตัวเดิม
นั่นคือประเด็นสำคัญหนึ่งที่ทำให้พรรคร่วมใจอ่อนยอมรับสูตร 375+125
อีกเรื่องที่น่าจะมีอิทธิพลกับพรรคร่วม คือกรณีที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ไป หมาดๆ 1 วันก่อนรัฐสภาจะประชุม
วงเงินทั้งสิ้น 2.25 ล้านล้านบาท
แยกเป็นงบรายจ่ายประจำ 1.82 ล้านล้านบาท รายจ่ายงบลงทุน 3.82 แสนล้านบาท และงบใช้หนี้เงินกู้ 4.71 หมื่นล้านบาท
เน้นไปยังเรื่องของงบลงทุน
ไม่นานมานี้โพลสำรวจความเห็นนักธุรกิจเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์
ยอมรับว่าต้องจ่าย 'ค่าหัวคิว' ให้นักการเมืองและข้าราชการถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการได้รับอนุมัติโครงการจากรัฐ
30 เปอร์เซ็นต์ของ 380,000 ล้านบาท
ตัวเลขทะลุหลักแสนล้านอย่างนี้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์จะ 100 คนหรือ 125 คน
กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ เหล็กใน
เป็นไปอย่างเรื่อยๆ มาเรียงๆ ไม่ได้ดุเดือดเลือดพล่าน หรือมีเค้าลาง 'แตกหัก' ตามที่โหมโรงกันไว้ก่อนหน้า
โดยเฉพาะประเด็นมาตรา 93-98 เกี่ยวกับสูตรที่มาส.ส.แบบแบ่งเขตกับแบบปาร์ตี้ลิสต์ ที่มีความเห็นแตกออกเป็น 2 สูตรใหญ่ คือ 375+125 กับ 400+100
ถึงจะมีความพยายามเสนอสูตร 400+125 ขึ้นมาเป็นการพบกันครึ่งทางแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
หลักๆ จึงยังเป็นการต่อสู้กันใน 2 สูตรแรก ระหว่างประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาล
หลายคนจับตาความเห็นที่แตกต่างกันในพรรคร่วมรัฐบาลนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเช่นการ 'ยุบสภา' หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างเคลียร์กันลงตัวตั้งแต่ก่อนการประชุมรัฐสภาจะเริ่ม
เนื่องจากมีการนัดพบปะระหว่างแกนนำประชาธิปัตย์กับแกนนำพรรคร่วมทั้ง 'ตัวจริง' และตัวแทน ทั้งแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย
รวมๆ คือประชาธิปัตย์อ้างว่าได้ถอยให้แล้ว ด้วยการยอมแก้ไขเขตเลือกตั้งกลับมาเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ตามความต้องการของพรรคร่วม
ดังนั้น พรรคร่วมจึงควรถอยให้ประชาธิปัตย์บ้าง คือยอมให้เพิ่มส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เป็น 125 คน
นอกจากนี้ แกนนำประชาธิปัตย์ยังยืนยัน ในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งหน้า ทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาลกันตอนนี้ จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลร่วมกันอีก
ทั้งยังจะให้โควตากระทรวงและเก้าอี้รัฐมนตรีตัวเดิม
นั่นคือประเด็นสำคัญหนึ่งที่ทำให้พรรคร่วมใจอ่อนยอมรับสูตร 375+125
อีกเรื่องที่น่าจะมีอิทธิพลกับพรรคร่วม คือกรณีที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ไป หมาดๆ 1 วันก่อนรัฐสภาจะประชุม
วงเงินทั้งสิ้น 2.25 ล้านล้านบาท
แยกเป็นงบรายจ่ายประจำ 1.82 ล้านล้านบาท รายจ่ายงบลงทุน 3.82 แสนล้านบาท และงบใช้หนี้เงินกู้ 4.71 หมื่นล้านบาท
เน้นไปยังเรื่องของงบลงทุน
ไม่นานมานี้โพลสำรวจความเห็นนักธุรกิจเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์
ยอมรับว่าต้องจ่าย 'ค่าหัวคิว' ให้นักการเมืองและข้าราชการถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการได้รับอนุมัติโครงการจากรัฐ
30 เปอร์เซ็นต์ของ 380,000 ล้านบาท
ตัวเลขทะลุหลักแสนล้านอย่างนี้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์จะ 100 คนหรือ 125 คน
กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ เหล็กใน
วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554
ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันร่วมร่างคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศของคนเสื้อแดง
ในกระบวนการตระเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ทำงานร่วมกับทีมงานขนาดใหญ่ในประเทศไทยและทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายที่มี่ชื่อเสียงอย่าง ศาสตราจารย์ดักลาสส์ คาสเซิล
ศาสตราจารย์คาสเซิลปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สิทธิพลเรือนและสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยนอทเทอร์ดาม และได้รับการเสนอชื่อให้เป็น “Norte Dame Presidential Fellow” ได้ทำงานร่วมกับนักกฎหมาย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ศาสตราจารย์คนูปส์ และทีมงาน ตั้งแต่เเริ่มมีการเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในนามของเหยื่อจากการสลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2554
บทความทางวิชาการทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาสเปนของศาสตราจารย์คาสถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้เขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมนาทั่วโลกหลายครั้ง รวมถึงมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร (amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกัวตานาโม และการรับผิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act (ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในนามของนักการทูตเอมริกันที่เกษียรแล้วและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทางด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้เขายังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลัมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซูเอล่า ในระหว่างการดำเนินคดีในศาลสิทธิมนุษยชนอเมริกันสากลและคณะกรรมการอเมริกันสากล และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรสิทธิมนุษยชนและนักฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร
ศาสตราจารย์คาสเซิลกล่าวถึงการยื่นคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศในวันที่ 31 มกราคมว่า “ผู้สังเกตการณ์บางท่านมองว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในไทย เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจศาลที่แน่ชัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าศาสลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีในประเทศที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น แม้ประเทศนั้นจะไม่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม”
“เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผมได้ทำงานร่วมศาสตราจาย์แคสเซิลในคดีประวัติศาสตร์นี้” โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว “ประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของศาสตราจารย์คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาลในการช่วยเหลือเราในการบรรลุจุดประสงค์เพื่อหยุดระบบภูมิคุ้มกันการรับผิดของผู้นำในประเทศไทย และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยใช้วิธีทางกฎหมายระหว่างประเทศทุกวิธีที่มีอยู่ ความคาดหวังของเราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และทุกคนควรเข้าใจว่าการต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากและยาวเวลานาน เราต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายกระบวนคุกคามทางการเมืองที่เป็นระบบและต่อเนื่องต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง”
โดยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟืเคยยื่นรายงานเบื้องต้นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว
ที่มา.ประเทศไทย Robert Amsterdam
บทความทางวิชาการทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาสเปนของศาสตราจารย์คาสถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้เขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมนาทั่วโลกหลายครั้ง รวมถึงมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร (amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกัวตานาโม และการรับผิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act (ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในนามของนักการทูตเอมริกันที่เกษียรแล้วและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทางด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้เขายังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลัมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซูเอล่า ในระหว่างการดำเนินคดีในศาลสิทธิมนุษยชนอเมริกันสากลและคณะกรรมการอเมริกันสากล และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรสิทธิมนุษยชนและนักฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร
ศาสตราจารย์คาสเซิลกล่าวถึงการยื่นคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศในวันที่ 31 มกราคมว่า “ผู้สังเกตการณ์บางท่านมองว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในไทย เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจศาลที่แน่ชัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าศาสลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีในประเทศที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น แม้ประเทศนั้นจะไม่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม”
“เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผมได้ทำงานร่วมศาสตราจาย์แคสเซิลในคดีประวัติศาสตร์นี้” โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว “ประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของศาสตราจารย์คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาลในการช่วยเหลือเราในการบรรลุจุดประสงค์เพื่อหยุดระบบภูมิคุ้มกันการรับผิดของผู้นำในประเทศไทย และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยใช้วิธีทางกฎหมายระหว่างประเทศทุกวิธีที่มีอยู่ ความคาดหวังของเราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และทุกคนควรเข้าใจว่าการต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากและยาวเวลานาน เราต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายกระบวนคุกคามทางการเมืองที่เป็นระบบและต่อเนื่องต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง”
โดยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟืเคยยื่นรายงานเบื้องต้นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว
ที่มา.ประเทศไทย Robert Amsterdam
บทเรียน จาก Wikileaks : จุดเปลี่ยนของโลก จริงหรือ !!!??
โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล
สถาบันบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ สมยศ อรรคฮาดสี นักวิชาการอิสระ
ข้อสังเกตต่อวัตถุประสงค์ ของ Wikileaks ที่ต้องการเปิดเผยข้อมูลลับต่างๆ จะเป็นการป้องกันความรุนแรง และสงครามนั้น ดูเหมือนว่าจะตรงข้ามกับความเป็นจริง เพราะการมีความลับต่างหาก ที่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ได้ ทว่าความลับต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญและทำให้การดำเนินการทางการทูตมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น แทนที่ Wikileaks จะยุติความรุนแรง กลับเป็นการเร่งให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ดังที่ได้กล่าวต่อไปนี้
จริงอยู่ที่ทุกประเทศต้องมีความลับด้วยเหตุผลหลายประการทั้งในด้านการทหาร ความมั่นคง รวมถึงเป็นข้อมูลที่ใช้ในการเจรจาเพื่อประโยชน์ของชาติ ความลับจึงมีประโยชน์กับทุกระดับในสังคม และความลับก็ทำให้การกระทำการใดๆ เนื่องจากความไม่รู้ เลือกที่จะใช้วิธีการเจรจา มากกว่าใช้ความรุนแรง
ทั้งนี้ แม้ว่าความลับจะเป็นสิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็อยู่ที่การดำเนินการมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อวัตถุประสงค์ใด ลองนึกว่าหากไม่มีความลับในโลก ทุกประเทศสามารถรับรู้เรื่องเกี่ยวกับกำลังทหารของประเทศอื่นอย่างทะลุปรุโปร่ง จนทำให้ประเมินได้ว่าถ้าหากดำเนินการทางสงครามน่าเป็นผู้ชนะอย่างแน่นอน ก็เท่ากับว่าการไม่มีความลับก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เกิดสงครามมากกว่าการดำเนินการทางการทูต
จึงกล่าวได้ว่า ความลับต่างๆ เป็นประเด็นสำคัญของการดำเนินการทางการทูตโดยเฉพาะระหว่างประเทศในทุกระดับ ความสำเร็จในการดำเนินการทางการทูตโดยทั่วไป จึงต้องประกอบด้วยมีการดำเนินการในทางลับและทางสาธารณชนควบคู่กัน
ถ้าพิจารณาการดำเนินการในทางสาธารณะ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ ที่เป็นมาตรการในทางลับนำมาใช้เพื่อให้ผลการเจรจาออกมาสำเร็จ
ข้อสังเกตคือ เบื้องหลังความสำเร็จของการเจรจาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินการในทางลับ (Private) โดยที่ต้องมีการปกปิดโดยปราศจากการรับรู้ของสาธารณะ เพราะเป็นการดำเนินมาตรการกดดันด้านต่างๆ ทั้งกดดัน ขู่ บลั๊ฟฟ์ หรือ การหาทางออกในรูปแบบต่างๆ และเป็นช่องทางที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมา
จะเห็นได้ว่า หากกลไกในการเจรจาในทางลับ ไม่ได้ผลอันเนื่องมาจากไม่มีความลับที่เป็นส่วนสำคัญในการเจรจา ความสำเร็จในการทูตคงแทบเป็นไปไม่ได้ และเมื่อการเจรจาไม่เกิดผล อาจเกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งตรงข้ามกับวัตถุประสงค์ของ Wikileaks อย่างสิ้นเชิง
สำหรับประเทศในเอเชีย การดำเนินการทูตในทางลับเป็นการดำเนินการที่แพร่หลาย ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย โดยมีตัวอย่างพบได้อยู่เสมอเมื่อเกิดปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าเป็นกรณีใดก็ตาม ประเทศไทยมักส่งตัวแทนในระดับต่างๆ ทั้งทางทหาร หน่วยงานความมั่นคง ไปจนถึงระดับรัฐมนตรี เพื่อเข้าเจรจาในทางลับกับประเทศนั้นๆ การเจรจาดังกล่าวคงไม่สามารถเปิดเผยในทางสาธารณะได้ ซึ่งผลที่ออกมาส่วนใหญ่มักจะประสบผลสำเร็จทุกครั้ง
ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ การที่ Julian Assange อ้างว่า การเกิดขึ้นของ Wikileaks ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitic) ระหว่างประเทศ เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ชัดถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าผลที่ตามมา รวมถึงแนวทางการดำเนินการในเรื่องความลับและการทูตได้เปลี่ยนไปอย่างที่ Assange กล่าวอ้างหรือไม่
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ระบุว่าเป็นข้อมูลลับที่รั่วไหลออกมาทาง Wikileaks นั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและมีความสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางนโยบายสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กรณีทหารอเมริกาในอิรัก และอัฟกานิสถาน ที่มีการทำร้ายประชาชนบริสุทธิ์ วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความรุนแรงคือ ความพยายามยับยั้งไม่ให้เกิดสงครามนั่นเอง
ในแง่ของข้อมูลของ Wikileaks เชื่อว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมถึงสื่อมวลชนย่อมเข้าใจและทราบถึงข้อจำกัดดังกล่าวว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีอะไรใหม่ และเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผลต่อความรู้สึกของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารข้อมูลอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
นอกจากนี้ ความลับในเรื่องที่เกี่ยวทางการทูตและการต่างประเทศ ที่ทาง Wikileaks เผยแพร่ออกมาและอ้างว่าเป็นข้อมูลลับ อาทิ การที่นาโต้พยายามเข้าไปมีบทบาทในคาบสมุทรบอลข่าน ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับรัสเซียเป็นอย่างมาก หรือ การที่นายกรัฐมนตรีอิตาลี เบอร์ลุสโคนีมีความใกล้ชิดกับทางรัสเซียเป็นอย่างมาก ประเด็นเหล่านี้ต่างเป็นที่ทราบได้ในวงการทูตและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพราะมีเหตุผลในเรื่องของภูมิศาสตร์การเมือง
ข้อมูลที่รั่วไหลออกมานั้นจึงไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างด้านภูมิศาสตร์การเมืองของประเทศเหล่านั้นได้
ดังนั้น เมื่อพิจารณาข้อมูลที่อ้างว่าเป็นความลับที่รั่วออกมาทั้งหมดที่ปรากฏใน Wikileaks จึงไม่ได้เป็นข้อมูลลับที่มีอ่อนไหวอย่างมากต่อความมั่นคงและการทูตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือต้องติดตามข่าวสารทางการทูตต่างๆ แม้ว่าเอกสารอาจถูกจัดว่าเป็นเอกสารลับก็ตาม แต่อาจสร้างความตื่นตระหนกให้ผู้ที่ไม่ทราบเรื่องและไม่มีความเข้าใจในเรื่องภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศที่ดีพอ จึงไม่มีเรื่องใดเป็นเรื่องคอขาดบาดตายอย่างที่ Assange กล่าวอ้าง
ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากการที่เกิดขึ้นของ Wikileaks คงไม่ทำให้เกิดความตึงเครียดในระดับระหว่างประเทศหรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญระดับประเทศ แต่ผลกลับย้อนกลับไปกระทบถึงบุคคลที่ให้ข่าว ที่มีชื่อปรากฏในรายงานที่เผยแพร่โดย Wikileaks มากกว่า บางคนอาจกระทบถึงอาชีพในด้านการทูต ขณะเดียวกันข้อมูลที่ปรากฏใน Wikileaks อาจทำให้เกิดความอับอายกับประเทศที่ข้อมูลรั่ว แต่คงไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนโยบายใดๆ ของประเทศ เพราะนโยบายของแต่ละประเทศตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันของแต่ละประเทศอยู่แล้ว
ทว่าขณะนี้ Julian Assange อาจได้เรียนรู้การดำเนินการทางการทูตในทางลับ โดยใช้ข้อมูลที่เป็นความลับที่อ้างว่ายังอยู่ในมือเป็นจำนวนมหาศาล มาใช้ในการต่อรองกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อสู้ทางคดีที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองก็เป็นได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
----------------------------------------------------------
สถาบันบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ สมยศ อรรคฮาดสี นักวิชาการอิสระ
ข้อสังเกตต่อวัตถุประสงค์ ของ Wikileaks ที่ต้องการเปิดเผยข้อมูลลับต่างๆ จะเป็นการป้องกันความรุนแรง และสงครามนั้น ดูเหมือนว่าจะตรงข้ามกับความเป็นจริง เพราะการมีความลับต่างหาก ที่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ได้ ทว่าความลับต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญและทำให้การดำเนินการทางการทูตมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น แทนที่ Wikileaks จะยุติความรุนแรง กลับเป็นการเร่งให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ดังที่ได้กล่าวต่อไปนี้
จริงอยู่ที่ทุกประเทศต้องมีความลับด้วยเหตุผลหลายประการทั้งในด้านการทหาร ความมั่นคง รวมถึงเป็นข้อมูลที่ใช้ในการเจรจาเพื่อประโยชน์ของชาติ ความลับจึงมีประโยชน์กับทุกระดับในสังคม และความลับก็ทำให้การกระทำการใดๆ เนื่องจากความไม่รู้ เลือกที่จะใช้วิธีการเจรจา มากกว่าใช้ความรุนแรง
ทั้งนี้ แม้ว่าความลับจะเป็นสิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็อยู่ที่การดำเนินการมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อวัตถุประสงค์ใด ลองนึกว่าหากไม่มีความลับในโลก ทุกประเทศสามารถรับรู้เรื่องเกี่ยวกับกำลังทหารของประเทศอื่นอย่างทะลุปรุโปร่ง จนทำให้ประเมินได้ว่าถ้าหากดำเนินการทางสงครามน่าเป็นผู้ชนะอย่างแน่นอน ก็เท่ากับว่าการไม่มีความลับก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เกิดสงครามมากกว่าการดำเนินการทางการทูต
จึงกล่าวได้ว่า ความลับต่างๆ เป็นประเด็นสำคัญของการดำเนินการทางการทูตโดยเฉพาะระหว่างประเทศในทุกระดับ ความสำเร็จในการดำเนินการทางการทูตโดยทั่วไป จึงต้องประกอบด้วยมีการดำเนินการในทางลับและทางสาธารณชนควบคู่กัน
ถ้าพิจารณาการดำเนินการในทางสาธารณะ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ ที่เป็นมาตรการในทางลับนำมาใช้เพื่อให้ผลการเจรจาออกมาสำเร็จ
ข้อสังเกตคือ เบื้องหลังความสำเร็จของการเจรจาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินการในทางลับ (Private) โดยที่ต้องมีการปกปิดโดยปราศจากการรับรู้ของสาธารณะ เพราะเป็นการดำเนินมาตรการกดดันด้านต่างๆ ทั้งกดดัน ขู่ บลั๊ฟฟ์ หรือ การหาทางออกในรูปแบบต่างๆ และเป็นช่องทางที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมา
จะเห็นได้ว่า หากกลไกในการเจรจาในทางลับ ไม่ได้ผลอันเนื่องมาจากไม่มีความลับที่เป็นส่วนสำคัญในการเจรจา ความสำเร็จในการทูตคงแทบเป็นไปไม่ได้ และเมื่อการเจรจาไม่เกิดผล อาจเกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งตรงข้ามกับวัตถุประสงค์ของ Wikileaks อย่างสิ้นเชิง
สำหรับประเทศในเอเชีย การดำเนินการทูตในทางลับเป็นการดำเนินการที่แพร่หลาย ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย โดยมีตัวอย่างพบได้อยู่เสมอเมื่อเกิดปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าเป็นกรณีใดก็ตาม ประเทศไทยมักส่งตัวแทนในระดับต่างๆ ทั้งทางทหาร หน่วยงานความมั่นคง ไปจนถึงระดับรัฐมนตรี เพื่อเข้าเจรจาในทางลับกับประเทศนั้นๆ การเจรจาดังกล่าวคงไม่สามารถเปิดเผยในทางสาธารณะได้ ซึ่งผลที่ออกมาส่วนใหญ่มักจะประสบผลสำเร็จทุกครั้ง
ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ การที่ Julian Assange อ้างว่า การเกิดขึ้นของ Wikileaks ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitic) ระหว่างประเทศ เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ชัดถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าผลที่ตามมา รวมถึงแนวทางการดำเนินการในเรื่องความลับและการทูตได้เปลี่ยนไปอย่างที่ Assange กล่าวอ้างหรือไม่
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ระบุว่าเป็นข้อมูลลับที่รั่วไหลออกมาทาง Wikileaks นั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและมีความสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางนโยบายสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กรณีทหารอเมริกาในอิรัก และอัฟกานิสถาน ที่มีการทำร้ายประชาชนบริสุทธิ์ วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความรุนแรงคือ ความพยายามยับยั้งไม่ให้เกิดสงครามนั่นเอง
ในแง่ของข้อมูลของ Wikileaks เชื่อว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมถึงสื่อมวลชนย่อมเข้าใจและทราบถึงข้อจำกัดดังกล่าวว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีอะไรใหม่ และเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผลต่อความรู้สึกของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารข้อมูลอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
นอกจากนี้ ความลับในเรื่องที่เกี่ยวทางการทูตและการต่างประเทศ ที่ทาง Wikileaks เผยแพร่ออกมาและอ้างว่าเป็นข้อมูลลับ อาทิ การที่นาโต้พยายามเข้าไปมีบทบาทในคาบสมุทรบอลข่าน ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับรัสเซียเป็นอย่างมาก หรือ การที่นายกรัฐมนตรีอิตาลี เบอร์ลุสโคนีมีความใกล้ชิดกับทางรัสเซียเป็นอย่างมาก ประเด็นเหล่านี้ต่างเป็นที่ทราบได้ในวงการทูตและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพราะมีเหตุผลในเรื่องของภูมิศาสตร์การเมือง
ข้อมูลที่รั่วไหลออกมานั้นจึงไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างด้านภูมิศาสตร์การเมืองของประเทศเหล่านั้นได้
ดังนั้น เมื่อพิจารณาข้อมูลที่อ้างว่าเป็นความลับที่รั่วออกมาทั้งหมดที่ปรากฏใน Wikileaks จึงไม่ได้เป็นข้อมูลลับที่มีอ่อนไหวอย่างมากต่อความมั่นคงและการทูตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือต้องติดตามข่าวสารทางการทูตต่างๆ แม้ว่าเอกสารอาจถูกจัดว่าเป็นเอกสารลับก็ตาม แต่อาจสร้างความตื่นตระหนกให้ผู้ที่ไม่ทราบเรื่องและไม่มีความเข้าใจในเรื่องภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศที่ดีพอ จึงไม่มีเรื่องใดเป็นเรื่องคอขาดบาดตายอย่างที่ Assange กล่าวอ้าง
ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากการที่เกิดขึ้นของ Wikileaks คงไม่ทำให้เกิดความตึงเครียดในระดับระหว่างประเทศหรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญระดับประเทศ แต่ผลกลับย้อนกลับไปกระทบถึงบุคคลที่ให้ข่าว ที่มีชื่อปรากฏในรายงานที่เผยแพร่โดย Wikileaks มากกว่า บางคนอาจกระทบถึงอาชีพในด้านการทูต ขณะเดียวกันข้อมูลที่ปรากฏใน Wikileaks อาจทำให้เกิดความอับอายกับประเทศที่ข้อมูลรั่ว แต่คงไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนโยบายใดๆ ของประเทศ เพราะนโยบายของแต่ละประเทศตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันของแต่ละประเทศอยู่แล้ว
ทว่าขณะนี้ Julian Assange อาจได้เรียนรู้การดำเนินการทางการทูตในทางลับ โดยใช้ข้อมูลที่เป็นความลับที่อ้างว่ายังอยู่ในมือเป็นจำนวนมหาศาล มาใช้ในการต่อรองกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อสู้ทางคดีที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองก็เป็นได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
----------------------------------------------------------
ความจริงกรณี 7 คนไทยก็ปรากฏ
โดย.ชำนาญ จันทร์เรือง
จากกรณีที่คนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับตัวจนในที่สุด ศาลกัมพูชาพิพากษาจำคุก 5 คนไทยคนละ 9 เดือนและปรับเป็นเงินจำนวน 1 ล้านเรียล โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อนซึ่งก็มีความหมายว่ากระทำความผิดจริงแต่ยังไม่ต้องถูกติดคุกนั่นเอง เหตุการณ์ต่างๆที่สับสนในตอนแรกเริ่มกระจ่างขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังเป็นที่สงสัยว่า“ใครได้อะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร” ซึ่งใช้เป็นคำอธิบายว่า “การเมืองคืออะไร” (Politics is,who gets "What", "When", and "How") ของฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่โด่งดัง
ที่ผมยกนิยามศัพท์ของคำว่า “การเมืองคืออะไร” มากล่าวถึงกรณี 7 คนไทย ก็เนื่องเพราะว่ากรณีนี้เป็นกรณีการเมืองโดยแท้ ถึงแม้ว่าจะมีกรณีการบังคับใช้กฎหมายของศาลกัมพูชามาเกี่ยวข้องด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ฝ่ายการเมืองของกัมพูชาที่ใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางการเมืองกับไทยเช่นกัน
จุดเริ่มต้นของกรณีนี้เกิดขึ้นจากมีการพยายามที่จะใช้การปลุกกระแสชาตินิยมในกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มและรัฐบาลเองเพื่อสร้างคะแนนนิยมของกลุ่มการเมืองและกลบปัญหาความไม่เอาไหนของรัฐบาลเอง แต่่การณ์กลับไม่เป็นไปดังที่คาดหวัง เนื่องจากมีเข้าร่วมการชุมนุมจำนวนไม่มากนักและมิหนำซ้ำยังถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่ จึงได้มีการตัดสินใจยกระดับการจุดชนวนด้วยการเดินข้ามแดนเข้าไปให้ทหารกัมพูชาจับกุมตัว โดยหวังที่จะปลุกกระแสความรักชาติขึ้นมา
ในเบื้องแรกผู้ก่อการเรื่องดังกล่าวคงมิได้คาดหมายเหตุการณ์จะพลิกผันว่าจะมีการดำเนินคดีจนถึงกับมีการขึ้นโรงขึ้นศาลจนถึงต้องมีการขังคุก (ขี้ไก่) จนแมลงสาบแทะหัว กว่าจะได้ประกันตัวและตัดสินคดีก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด คณะดังกล่าวคงนึกแต่เพียงว่าหากมีการจับกุมในพื้นที่คงสามารถเจรจาได้เหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา แล้วค่อยนำข่าวไปสร้างกระแส
แต่เหตุไม่คาดฝันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะทหารกัมพูชาที่จับกุมเกิดจำนายวีระ สมความคิด ที่เคยถูกจับมาแล้วแต่ถูกปล่อยตัวพร้อมกับทำทัณฑ์บนไว้แล้วเมื่อไม่นานมานี้ กอปรกับนายวีระเองก็ถูกทางการกัมพูชาขึ้นบัญชีดำไว้แล้วเพราะด่าฮุนเซ็นไว้เยอะ การณ์จึงกลับไปเข้าล็อกทางฝ่ายกัมพูชา บุคคลทั้งเจ็ดจึงถูกส่งตัวไปยังพนมเปญพร้อมกับการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐบาลฮุุนเซ็น
การจงใจที่จะให้ถูกทางการกัมพูชาจับกุมนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นภาพจากวิดีโอที่ถูกบันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นการออกมาเรียกร้องในทันทีทันควันของขบวนการ คลั่งชาติที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปะทะกับกัมพูชาเพื่อให้บานปลายให้ได้ เป้าหมายก็เพื่อให้มีการตัดความสัมพันธ์ของสองประเทศ มีการเรียกร้องให้ปิดพรมแดนเพื่อตอบโต้ จากนั้นนำไปสู่การตัดสัมพันธ์ทางการทูต และที่ร้ายที่สุดมีการเรียกร้องจากทหารเก่าหลงยุคที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารออกมากดดันรัฐบาลกัมพูชาเพื่อให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา
แต่โชคดีที่ปลุกกระแสไม่ขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจจะได้เห็นการคืนชีพของพวกคลั่งชาติที่กลับมายิ่งใหญ่เป็นผู้นำประชาชนบนความหายนะของประเทศ เพราะชายแดนจะถูกแปรจากสนามการค้ากลายเป็นสนามรบ ประชาชนทั้งสองประเทศอพยพหลบหนีการสู้รบกันอย่างน่าเวทนาดังปรากฏในหลายประเทศแถบอาฟริกา เราอาจจะได้เห็นผู้คนและทหาร ชั้นผู้น้อยล้มตายด้วยเหตุผลเพียงว่าเพื่อรักษาผืนแผ่นดินที่พิพาท ตามแผนการกระหายอำนาจของกลุ่มล้าหลังคลั่งชาติพวกนี้
ทางฝ่ายรัฐบาลเองนั้นเล่านอกจากจะดำเนินนโยบายทางการทูตแบบตีสองหน้ากับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว หลังจากที่เกิดปัญหาความกินแหนงแคลงใจกับกลุ่มการเมืองที่ส่งเสริมตัวเองให้ขึ้นสู่อำนาจ ก็พยายามเอาใจโดยการเล่นการเมืองแบบตีสองหน้าอีกเช่นกัน โดยแสร้งว่าไม่ยอมรับการกดดันทางนโยบายจากกลุ่มนี้ แต่กลับส่ง ส.ส.คนสนิทกับหัวหน้ารัฐบาลเข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวโดยหวังเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังมีไมตรีกันอยู่ และหวังผลทางการเมืองในเบื้องลึกคือการเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่บนสถานการณ์ความขัดแย้งในกระแสความรักชาติที่ดุเดือดเลือดพล่าน
นอกจากนั้นการพยายามปลุกกระแสคลั่งชาติโดยการยอมลงทุนให้คนของตัวเองถูกจับนั้นก็ยังหวังผลของการกลบกระแสของการเรียกร้องผลของการค้นหาความจริงกรณี 91 ศพให้เงียบลงอย่างน้อยก็ชั่วคราวในระยะเฉพาะหน้าชั่วคราวก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่เสียก่อนหลังจากนั้นค่อยว่ากันทีหลัง เป็นแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ และเผื่อฟลุ้กจุดกระแสติดก็จะได้เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากเด็ดขาดพรรคเดียวไปเลย
แต่ก็เป็นที่น่าดีใจที่คนไทยส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารด้วยสนใจและเห็นใจผู้ถูกจับ แต่ไม่หลงกลตกเป็นเหยื่อของอุบายอันซ่อนเร้นนี้ กระแสการปลุกความรักชาติจึงไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นกระแสความคลั่งชาติตามที่กลุ่มการเมืองและรัฐบาลมุ่งหวัง เหตุดังกล่าวนี้มิใช่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รักชาติ แต่คนไทยในยุค “2G ครึ่ง”นี้เข้าถึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้หลายทางนอกเหนือจากสื่อของกลุ่มการเมืองดังกล่าวและสื่อกระแสของรัฐบาล ทำให้คนไทยได้รู้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ถึงแม้ว่าจะรู้ไม่หมดทุกอย่างถึงเบื้องหลังอุบายดังกล่าวก็ตาม
แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดคนไทยเรารู้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา เราก็จะเป็นเหมือนกับอีกหลายๆ ประเทศที่ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ผู้คนบาดเจ็บล้มตายโดยไม่มีเหตุผล มีแต่ความอดอยากยากแค้น ดังปรากฏเป็นข่าวที่รับรู้กันโดยทั่วไป คนไทยเรารู้ว่าโลกยุคใหม่มิใช่ยุคชาตินิยมล้าหลังคลั่งชาติที่เมื่อเกิดความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่จำเป็นต้องสู้รบกันให้แตกหักกันไปข้างหนึ่งอีกต่อไปแล้ว
คนไทยรู้ว่าอย่างไรเสียเรากับประเทศเพื่อบ้านไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาวหรือพม่าและแม้แต่่มาเลเซียก็ตามเราไม่สามารถยกประเทศหนีกันไปได้ และก็หมดยุคที่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดครองประเทศอื่นมาเป็นของตนเองอีกต่อไป ที่สำคัญก็คือแน่ใจได้อย่างไรว่าหากเรารบแล้วจะชนะ เพราะแม้แต่สหรัฐอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจทางทหารยังรบแพ้ในสงครามเวียดนาม และกำลังแพ้อีกในสงครามอิรักจนโอบามาต้องออกนโยบายว่าจะถอนทหารเพื่อไม่ให้เสียหน้าการเป็นมหาอำนาจของตนเอง
อย่างไรก็ตามแม้ว่าไทยเราจะรบชนะแต่ก็คงหืดขึ้นคอ หรือสะบักสะบอม สูญเสียมาก แต่เราก็จะแพ้ในเวทีโลก แต่หากจะพูดแบบไม่เกรงใจละก็ทหารไทยเราห่างสมรภูมิไปนาน ต่างจากทหารกัมพูชาที่รบมาทั้งชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารเขมรแดงที่ฮุนเซ็นเอามาใช้งาน ว่ากันว่าทหารกัมพูชาเชื่อว่าหากสู้กันตัวต่อตัวแล้วล่ะก็ต้องใช้ทหารไทยถึง 3 หรือ 5 คน สู้กับทหารกัมพูชาเพียงคนเดียวจึงจะเอาชนะได้
การเจรจาด้วยสันติวิธี การตกลงผลประโยชน์ร่วมกัน การเป็นเพื่อนบ้านที่มีไมตรีต่อกันต่างหากที่เป็นนโยบายที่สมประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย การได้เปรียบเสียเปรียบกันบ้างเล็กๆน้อยๆอยู่ที่ฝีมือของกระทรวงการต่างประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งฝีมือทางด้านการต่างประเทศหรือทางการทูตของไทยก็ปรากฏเป็นเป็นที่เลื่องลือในความยอดเยี่ยมมาช้านาน ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือแม้แต่เราจะได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง เรายังไม่ตกเป็นประเทศที่เป็นฝ่ายแพ้สงครามเลย แต่ปัจจุบันเรากลับท้าตีท้าต่อยกับเขาไปทั่ว นับเป็นยุคที่ตกต่ำที่สุดของนโยบายการต่างประเทศของไทยเรา ซึ่งยังไม่รวมถึงการที่ให้เลขานุการรัฐมนตรีฯทำหน้าที่ให้ข่าวสำคัญๆต่อสื่อมวลชนแทนโฆษกกระทรวงฯ ทั้งๆที่ไม่มีแนวธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตแต่อย่างใด
ประเด็นสำคัญที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือการที่เรายอมรับคำพิพากษาของศาลกัมพูชาโดยไม่มีการอุทธรณ์ซึ่งทำให้คดีถึงที่สุด โดยความหมายก็คือเรายอมรับเขตอำนาจศาลกัมพูชาว่ามีอำนาจเหนือเขตแดนดังกล่าว ทำให้เราต้องเสียเปรียบหรืออำนาจต่อรองในการปักปันเขตแดนในภาพรวมต่อไปในอนาคต ซึ่งเข้าหลักกฎหมายปิดปากที่ทำให้เราแพ้คดีประสาทพระวิหารในศาลโลกมาแล้วในอดีต
ถึงแม้ว่านายอภิสิทธิ์จะพยายามชี้แจงว่าคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความก็ตาม แต่ก็เป็นการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวเพราะแม้ว่าในคำบังคับจะผูกพันเฉพาะคู่ความหรือคู่กรณี แต่หลักกฎหมายที่ศาลได้วางไว้ย่อมเป็นแนวที่ต้องปฏิบัติตาม ดังจะเห็นได้จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือคำพิพากษาของศาลปกครองที่ผ่านมา ที่สำคัญก็คือกรณีคำพิพากษา ฏีกาคดีอาชญากรสงครามหรือกรณีการยึดทรัพย์ของผู้นำรัฐบาลที่ถูกรัฐประหาร เป็นต้น
ฤาว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยว่าเป็นยุคที่เราต้องเสียดินแดนให้กัมพูชาเพราะความ “คลั่งชาติ” ของคนบางกลุ่มและความ “อ่อนหัด” ของผู้นำรัฐบาลนั่นเอง
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จากกรณีที่คนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับตัวจนในที่สุด ศาลกัมพูชาพิพากษาจำคุก 5 คนไทยคนละ 9 เดือนและปรับเป็นเงินจำนวน 1 ล้านเรียล โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อนซึ่งก็มีความหมายว่ากระทำความผิดจริงแต่ยังไม่ต้องถูกติดคุกนั่นเอง เหตุการณ์ต่างๆที่สับสนในตอนแรกเริ่มกระจ่างขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังเป็นที่สงสัยว่า“ใครได้อะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร” ซึ่งใช้เป็นคำอธิบายว่า “การเมืองคืออะไร” (Politics is,who gets "What", "When", and "How") ของฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่โด่งดัง
ที่ผมยกนิยามศัพท์ของคำว่า “การเมืองคืออะไร” มากล่าวถึงกรณี 7 คนไทย ก็เนื่องเพราะว่ากรณีนี้เป็นกรณีการเมืองโดยแท้ ถึงแม้ว่าจะมีกรณีการบังคับใช้กฎหมายของศาลกัมพูชามาเกี่ยวข้องด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ฝ่ายการเมืองของกัมพูชาที่ใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางการเมืองกับไทยเช่นกัน
จุดเริ่มต้นของกรณีนี้เกิดขึ้นจากมีการพยายามที่จะใช้การปลุกกระแสชาตินิยมในกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มและรัฐบาลเองเพื่อสร้างคะแนนนิยมของกลุ่มการเมืองและกลบปัญหาความไม่เอาไหนของรัฐบาลเอง แต่่การณ์กลับไม่เป็นไปดังที่คาดหวัง เนื่องจากมีเข้าร่วมการชุมนุมจำนวนไม่มากนักและมิหนำซ้ำยังถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่ จึงได้มีการตัดสินใจยกระดับการจุดชนวนด้วยการเดินข้ามแดนเข้าไปให้ทหารกัมพูชาจับกุมตัว โดยหวังที่จะปลุกกระแสความรักชาติขึ้นมา
ในเบื้องแรกผู้ก่อการเรื่องดังกล่าวคงมิได้คาดหมายเหตุการณ์จะพลิกผันว่าจะมีการดำเนินคดีจนถึงกับมีการขึ้นโรงขึ้นศาลจนถึงต้องมีการขังคุก (ขี้ไก่) จนแมลงสาบแทะหัว กว่าจะได้ประกันตัวและตัดสินคดีก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด คณะดังกล่าวคงนึกแต่เพียงว่าหากมีการจับกุมในพื้นที่คงสามารถเจรจาได้เหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา แล้วค่อยนำข่าวไปสร้างกระแส
แต่เหตุไม่คาดฝันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะทหารกัมพูชาที่จับกุมเกิดจำนายวีระ สมความคิด ที่เคยถูกจับมาแล้วแต่ถูกปล่อยตัวพร้อมกับทำทัณฑ์บนไว้แล้วเมื่อไม่นานมานี้ กอปรกับนายวีระเองก็ถูกทางการกัมพูชาขึ้นบัญชีดำไว้แล้วเพราะด่าฮุนเซ็นไว้เยอะ การณ์จึงกลับไปเข้าล็อกทางฝ่ายกัมพูชา บุคคลทั้งเจ็ดจึงถูกส่งตัวไปยังพนมเปญพร้อมกับการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐบาลฮุุนเซ็น
การจงใจที่จะให้ถูกทางการกัมพูชาจับกุมนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นภาพจากวิดีโอที่ถูกบันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นการออกมาเรียกร้องในทันทีทันควันของขบวนการ คลั่งชาติที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปะทะกับกัมพูชาเพื่อให้บานปลายให้ได้ เป้าหมายก็เพื่อให้มีการตัดความสัมพันธ์ของสองประเทศ มีการเรียกร้องให้ปิดพรมแดนเพื่อตอบโต้ จากนั้นนำไปสู่การตัดสัมพันธ์ทางการทูต และที่ร้ายที่สุดมีการเรียกร้องจากทหารเก่าหลงยุคที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารออกมากดดันรัฐบาลกัมพูชาเพื่อให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา
แต่โชคดีที่ปลุกกระแสไม่ขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจจะได้เห็นการคืนชีพของพวกคลั่งชาติที่กลับมายิ่งใหญ่เป็นผู้นำประชาชนบนความหายนะของประเทศ เพราะชายแดนจะถูกแปรจากสนามการค้ากลายเป็นสนามรบ ประชาชนทั้งสองประเทศอพยพหลบหนีการสู้รบกันอย่างน่าเวทนาดังปรากฏในหลายประเทศแถบอาฟริกา เราอาจจะได้เห็นผู้คนและทหาร ชั้นผู้น้อยล้มตายด้วยเหตุผลเพียงว่าเพื่อรักษาผืนแผ่นดินที่พิพาท ตามแผนการกระหายอำนาจของกลุ่มล้าหลังคลั่งชาติพวกนี้
ทางฝ่ายรัฐบาลเองนั้นเล่านอกจากจะดำเนินนโยบายทางการทูตแบบตีสองหน้ากับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว หลังจากที่เกิดปัญหาความกินแหนงแคลงใจกับกลุ่มการเมืองที่ส่งเสริมตัวเองให้ขึ้นสู่อำนาจ ก็พยายามเอาใจโดยการเล่นการเมืองแบบตีสองหน้าอีกเช่นกัน โดยแสร้งว่าไม่ยอมรับการกดดันทางนโยบายจากกลุ่มนี้ แต่กลับส่ง ส.ส.คนสนิทกับหัวหน้ารัฐบาลเข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวโดยหวังเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังมีไมตรีกันอยู่ และหวังผลทางการเมืองในเบื้องลึกคือการเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่บนสถานการณ์ความขัดแย้งในกระแสความรักชาติที่ดุเดือดเลือดพล่าน
นอกจากนั้นการพยายามปลุกกระแสคลั่งชาติโดยการยอมลงทุนให้คนของตัวเองถูกจับนั้นก็ยังหวังผลของการกลบกระแสของการเรียกร้องผลของการค้นหาความจริงกรณี 91 ศพให้เงียบลงอย่างน้อยก็ชั่วคราวในระยะเฉพาะหน้าชั่วคราวก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่เสียก่อนหลังจากนั้นค่อยว่ากันทีหลัง เป็นแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ และเผื่อฟลุ้กจุดกระแสติดก็จะได้เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากเด็ดขาดพรรคเดียวไปเลย
แต่ก็เป็นที่น่าดีใจที่คนไทยส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารด้วยสนใจและเห็นใจผู้ถูกจับ แต่ไม่หลงกลตกเป็นเหยื่อของอุบายอันซ่อนเร้นนี้ กระแสการปลุกความรักชาติจึงไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นกระแสความคลั่งชาติตามที่กลุ่มการเมืองและรัฐบาลมุ่งหวัง เหตุดังกล่าวนี้มิใช่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รักชาติ แต่คนไทยในยุค “2G ครึ่ง”นี้เข้าถึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้หลายทางนอกเหนือจากสื่อของกลุ่มการเมืองดังกล่าวและสื่อกระแสของรัฐบาล ทำให้คนไทยได้รู้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ถึงแม้ว่าจะรู้ไม่หมดทุกอย่างถึงเบื้องหลังอุบายดังกล่าวก็ตาม
แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดคนไทยเรารู้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา เราก็จะเป็นเหมือนกับอีกหลายๆ ประเทศที่ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ผู้คนบาดเจ็บล้มตายโดยไม่มีเหตุผล มีแต่ความอดอยากยากแค้น ดังปรากฏเป็นข่าวที่รับรู้กันโดยทั่วไป คนไทยเรารู้ว่าโลกยุคใหม่มิใช่ยุคชาตินิยมล้าหลังคลั่งชาติที่เมื่อเกิดความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่จำเป็นต้องสู้รบกันให้แตกหักกันไปข้างหนึ่งอีกต่อไปแล้ว
คนไทยรู้ว่าอย่างไรเสียเรากับประเทศเพื่อบ้านไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาวหรือพม่าและแม้แต่่มาเลเซียก็ตามเราไม่สามารถยกประเทศหนีกันไปได้ และก็หมดยุคที่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดครองประเทศอื่นมาเป็นของตนเองอีกต่อไป ที่สำคัญก็คือแน่ใจได้อย่างไรว่าหากเรารบแล้วจะชนะ เพราะแม้แต่สหรัฐอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจทางทหารยังรบแพ้ในสงครามเวียดนาม และกำลังแพ้อีกในสงครามอิรักจนโอบามาต้องออกนโยบายว่าจะถอนทหารเพื่อไม่ให้เสียหน้าการเป็นมหาอำนาจของตนเอง
อย่างไรก็ตามแม้ว่าไทยเราจะรบชนะแต่ก็คงหืดขึ้นคอ หรือสะบักสะบอม สูญเสียมาก แต่เราก็จะแพ้ในเวทีโลก แต่หากจะพูดแบบไม่เกรงใจละก็ทหารไทยเราห่างสมรภูมิไปนาน ต่างจากทหารกัมพูชาที่รบมาทั้งชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารเขมรแดงที่ฮุนเซ็นเอามาใช้งาน ว่ากันว่าทหารกัมพูชาเชื่อว่าหากสู้กันตัวต่อตัวแล้วล่ะก็ต้องใช้ทหารไทยถึง 3 หรือ 5 คน สู้กับทหารกัมพูชาเพียงคนเดียวจึงจะเอาชนะได้
การเจรจาด้วยสันติวิธี การตกลงผลประโยชน์ร่วมกัน การเป็นเพื่อนบ้านที่มีไมตรีต่อกันต่างหากที่เป็นนโยบายที่สมประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย การได้เปรียบเสียเปรียบกันบ้างเล็กๆน้อยๆอยู่ที่ฝีมือของกระทรวงการต่างประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งฝีมือทางด้านการต่างประเทศหรือทางการทูตของไทยก็ปรากฏเป็นเป็นที่เลื่องลือในความยอดเยี่ยมมาช้านาน ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือแม้แต่เราจะได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง เรายังไม่ตกเป็นประเทศที่เป็นฝ่ายแพ้สงครามเลย แต่ปัจจุบันเรากลับท้าตีท้าต่อยกับเขาไปทั่ว นับเป็นยุคที่ตกต่ำที่สุดของนโยบายการต่างประเทศของไทยเรา ซึ่งยังไม่รวมถึงการที่ให้เลขานุการรัฐมนตรีฯทำหน้าที่ให้ข่าวสำคัญๆต่อสื่อมวลชนแทนโฆษกกระทรวงฯ ทั้งๆที่ไม่มีแนวธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตแต่อย่างใด
ประเด็นสำคัญที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือการที่เรายอมรับคำพิพากษาของศาลกัมพูชาโดยไม่มีการอุทธรณ์ซึ่งทำให้คดีถึงที่สุด โดยความหมายก็คือเรายอมรับเขตอำนาจศาลกัมพูชาว่ามีอำนาจเหนือเขตแดนดังกล่าว ทำให้เราต้องเสียเปรียบหรืออำนาจต่อรองในการปักปันเขตแดนในภาพรวมต่อไปในอนาคต ซึ่งเข้าหลักกฎหมายปิดปากที่ทำให้เราแพ้คดีประสาทพระวิหารในศาลโลกมาแล้วในอดีต
ถึงแม้ว่านายอภิสิทธิ์จะพยายามชี้แจงว่าคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความก็ตาม แต่ก็เป็นการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวเพราะแม้ว่าในคำบังคับจะผูกพันเฉพาะคู่ความหรือคู่กรณี แต่หลักกฎหมายที่ศาลได้วางไว้ย่อมเป็นแนวที่ต้องปฏิบัติตาม ดังจะเห็นได้จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือคำพิพากษาของศาลปกครองที่ผ่านมา ที่สำคัญก็คือกรณีคำพิพากษา ฏีกาคดีอาชญากรสงครามหรือกรณีการยึดทรัพย์ของผู้นำรัฐบาลที่ถูกรัฐประหาร เป็นต้น
ฤาว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยว่าเป็นยุคที่เราต้องเสียดินแดนให้กัมพูชาเพราะความ “คลั่งชาติ” ของคนบางกลุ่มและความ “อ่อนหัด” ของผู้นำรัฐบาลนั่นเอง
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เด็กอมมือ
ปัญหา 7 คนไทยถูกทหารเขมรจับถึงตอนนี้นับว่าคลี่คลายไปแค่เปลาะแรก
หลังศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก 9 เดือน 5 คนไทยในข้อหารุกล้ำเขตแดนเขมร
โดยให้รอลงอาญาและส่งตัวทั้งหมดกลับเมืองไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามชูว่าเป็นผลงานรัฐบาลเจรจาจนช่วยเหลือคนไทยทั้ง 5 พ้นเรือนจำเปรซอว์ได้
ก่อนเปิดแถลงออกทีวีเป็นเรื่องเป็นราว
ตอบโต้กรณีทหารเขมรระบุว่าจับ 7 คนไทยหน้าวัดโจ๊กเจีย อยู่ในเขตแดนกัมพูชา
นายกฯอภิสิทธิ์ระบุว่าหลังโดนจับ 2 วัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปวัดพิกัด ทั้งที่เป็นจุดสิ้นสุดในวิดีโอที่คณะของนายพนิชถ่ายไว้ กับจุดที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวอ้าง
ปรากฏว่าทั้ง 2 จุดอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเรื่องเขตแดนยังไม่ชัดเจน มีเพียงเส้นประที่เป็นเส้นแนวปฏิบัติเท่านั้น
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่ารัฐบาลไม่เคยบอกว่า 7 คนไทยรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา!
ตรงนี้ขัดแย้งกับถ้อยแถลงของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช
นายพนิชบอกว่าคิดในแง่ดี การเดินทางเข้าไปถูกเขมรจับ อาจส่งผลประโยชน์ต่อฝ่ายไทย
ทำให้ทั้งไทยและเขมรต้องมาเจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนกันใหม่
ฟังตรงนี้ก็ถึงบางอ้อ
เข้าใจแล้วว่าทำไมนายพนิชต้องโทรศัพท์รายงานนายกฯ ตลอดเวลา
ทำไมต้องบอกด้วยว่านายกฯ รู้คนเดียว !?
แต่จะเข้าไปด้วยเหตุผลใดก็ตาม
นายกฯ และนายพนิชไม่ควรหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นความดีความชอบของรัฐบาล หรือของตัวเอง
เพราะมันเกิดผลเสียต่อประเทศไทยที่ค่อนข้างรุนแรง !!
ประการแรกยังมีคนไทยอีก 2 คนยังถูกจองจำอยู่ในคุกเปรซอว์
ยังไม่รู้ว่าจะโชคดีแบบ 5 คนไทยหรือเปล่า
เพราะโดนข้อหาหนักโจรกรรมข้อมูลด้านความมั่นคง
อีกประการ คดีพิพากษา 5 คนไทยนั้น
ทางการเขมรระบุว่าคนไทยทั้ง 5 ให้การสารภาพผิดในชั้นศาล
รับว่าเดินข้ามเข้าไปในดินแดนกัมพูชาโดยไม่ตั้งใจ
ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา !?
นายกฯ ไทยส่งส.ส.คนสนิทเดินดุ่มๆ เข้าไปให้เขมรจับ
เพื่อหวังผลให้เกิดการเจรจาเรื่องแนวเขตแดนที่ยังมีปัญหา
ยกระดับไปเจรจากันในเวทีโลก
นายกฯ เขมรก็ฉวยโอกาส จับยัดเรือนจำ ทำขึงขังขู่ขังลืม 7 คนไทย
สุดท้าย 5 คนไทยก็ต้องยอมสารภาพผิด
กลายเป็นหลักฐานสำคัญให้ฮุนเซนไปโชว์ในเวทีโลกว่าไทยรุกล้ำเขมรจริงๆ
นายอภิสิทธิ์จะอ้างว่าคำพิพากษาศาลเขมรเป็นเรื่องเฉพาะตัว
ไม่ผูกพันกับการเจรจาเขตแดนก็คงฟังไม่ขึ้นแล้ว
เจอความเขี้ยวลากดินของนายกฯ เขมร
นายกฯ ไทยกลายเป็นเด็กอมมือไปเลย!?
ที่มา.ข่าวสด.คอลัมน์ เหล็กใน
-----------------------------------------------------------
หลังศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก 9 เดือน 5 คนไทยในข้อหารุกล้ำเขตแดนเขมร
โดยให้รอลงอาญาและส่งตัวทั้งหมดกลับเมืองไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามชูว่าเป็นผลงานรัฐบาลเจรจาจนช่วยเหลือคนไทยทั้ง 5 พ้นเรือนจำเปรซอว์ได้
ก่อนเปิดแถลงออกทีวีเป็นเรื่องเป็นราว
ตอบโต้กรณีทหารเขมรระบุว่าจับ 7 คนไทยหน้าวัดโจ๊กเจีย อยู่ในเขตแดนกัมพูชา
นายกฯอภิสิทธิ์ระบุว่าหลังโดนจับ 2 วัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปวัดพิกัด ทั้งที่เป็นจุดสิ้นสุดในวิดีโอที่คณะของนายพนิชถ่ายไว้ กับจุดที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวอ้าง
ปรากฏว่าทั้ง 2 จุดอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเรื่องเขตแดนยังไม่ชัดเจน มีเพียงเส้นประที่เป็นเส้นแนวปฏิบัติเท่านั้น
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่ารัฐบาลไม่เคยบอกว่า 7 คนไทยรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา!
ตรงนี้ขัดแย้งกับถ้อยแถลงของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช
นายพนิชบอกว่าคิดในแง่ดี การเดินทางเข้าไปถูกเขมรจับ อาจส่งผลประโยชน์ต่อฝ่ายไทย
ทำให้ทั้งไทยและเขมรต้องมาเจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนกันใหม่
ฟังตรงนี้ก็ถึงบางอ้อ
เข้าใจแล้วว่าทำไมนายพนิชต้องโทรศัพท์รายงานนายกฯ ตลอดเวลา
ทำไมต้องบอกด้วยว่านายกฯ รู้คนเดียว !?
แต่จะเข้าไปด้วยเหตุผลใดก็ตาม
นายกฯ และนายพนิชไม่ควรหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นความดีความชอบของรัฐบาล หรือของตัวเอง
เพราะมันเกิดผลเสียต่อประเทศไทยที่ค่อนข้างรุนแรง !!
ประการแรกยังมีคนไทยอีก 2 คนยังถูกจองจำอยู่ในคุกเปรซอว์
ยังไม่รู้ว่าจะโชคดีแบบ 5 คนไทยหรือเปล่า
เพราะโดนข้อหาหนักโจรกรรมข้อมูลด้านความมั่นคง
อีกประการ คดีพิพากษา 5 คนไทยนั้น
ทางการเขมรระบุว่าคนไทยทั้ง 5 ให้การสารภาพผิดในชั้นศาล
รับว่าเดินข้ามเข้าไปในดินแดนกัมพูชาโดยไม่ตั้งใจ
ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา !?
นายกฯ ไทยส่งส.ส.คนสนิทเดินดุ่มๆ เข้าไปให้เขมรจับ
เพื่อหวังผลให้เกิดการเจรจาเรื่องแนวเขตแดนที่ยังมีปัญหา
ยกระดับไปเจรจากันในเวทีโลก
นายกฯ เขมรก็ฉวยโอกาส จับยัดเรือนจำ ทำขึงขังขู่ขังลืม 7 คนไทย
สุดท้าย 5 คนไทยก็ต้องยอมสารภาพผิด
กลายเป็นหลักฐานสำคัญให้ฮุนเซนไปโชว์ในเวทีโลกว่าไทยรุกล้ำเขมรจริงๆ
นายอภิสิทธิ์จะอ้างว่าคำพิพากษาศาลเขมรเป็นเรื่องเฉพาะตัว
ไม่ผูกพันกับการเจรจาเขตแดนก็คงฟังไม่ขึ้นแล้ว
เจอความเขี้ยวลากดินของนายกฯ เขมร
นายกฯ ไทยกลายเป็นเด็กอมมือไปเลย!?
ที่มา.ข่าวสด.คอลัมน์ เหล็กใน
-----------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)