โดย เวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
ประเด็น ที่น่าจับตามองของกิจการ SMEs ไทยในอีกไม่ถึง 2 ปีข้างหน้า คงหนีไม่พ้นเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างแน่นอน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเสรีทางการค้าและลดอุปสรรคในด้านต่าง ๆ อาทิ การลดอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ การบริการ การลงทุน และแรงงาน เป็นต้น ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่พ้นSMEs มีส่วนสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทย โดยการสร้างผลผลิตและการจ้างงานของประเทศ
ในอดีตจุดแข็งของ SMEs ไทยคือการเข้าถึงในตลาดท้องถิ่นได้ดี มีทักษะและความเชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจบริการ หัตถกรรม ท่องเที่ยว และอาหารค่อนข้างสูง ประกอบกับค่าจ้างแรงงานมีอัตราที่ต่ำ ตลอดจนง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ แต่ทว่าในอนาคตข้างหน้าจุดแข็งดังกล่าวจะเริ่มไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง และยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งแรงงานราคาถูก กลุ่มประเทศเหล่านี้จึงเป็นทั้งแหล่งผลิตและตลาดใหม่ที่น่าสนใจของภูมิภาค
ดังนั้น สิ่งที่ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมและบริการจะต้องริเริ่มปรับกระบวนการเชิงกลยุทธ์ให้ขับ เคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อให้ตอบสนองกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต อาทิ
1) ผู้ประกอบการควรเริ่มมีการขายสินค้าในตลาดที่ใหญ่ขึ้น และเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ จากกลุ่มประเทศสมาชิก
2) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
3) การเปิดและเจาะตลาดกลุ่มประเทศสมาชิกและคู่ค้าของอาเซียน
4) ปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมองต่อกลุ่มประเทศ CLMV เสียใหม่
5) ลงทุนในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการบริการให้ได้มาตรฐาน
6) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation) หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็น "นวัตกรรม (Innovation)" ควบคู่ไปกับการชูนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม กิจการ SMEs ไทยก็ต้องมีกลยุทธ์ในการรับมือผลกระทบ หลังจากการเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน เช่น
1) การเปิดเสรีทางการค้าอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจบางสาขาที่มีความอ่อนไหว จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยการลดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง
2) ออกมาตรการรับมือ กรณีเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า
3) เรียนรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาประสิทธิภาพด้านภาษา เทคโนโลยี บริการ และระบบโลจิสติกส์
4) ขยายช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก จากการสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ และหน่วยงานของรัฐ
จะเห็นได้ว่า SMEs ไทยในอนาคต ยังสามารถเพิ่มบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้นได้อีก
ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันลดอุปสรรคและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการขยายตัวของ SMEs ตลอดจนออกกฎระเบียบต่าง ๆ
อย่าง รัดกุมและชัดเจน เพื่อปกป้องและส่งเสริมกิจการ SMEs ไทย และพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเพื่อสร้างสิ่งแปลกใหม่ให้กับตัวสินค้าและตอบสนอง ความต้องการความหลากหลายของผู้บริโภคให้สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเข้า สู่ AEC ในอนาคต
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-----------------------------------
ประเด็น ที่น่าจับตามองของกิจการ SMEs ไทยในอีกไม่ถึง 2 ปีข้างหน้า คงหนีไม่พ้นเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างแน่นอน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเสรีทางการค้าและลดอุปสรรคในด้านต่าง ๆ อาทิ การลดอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ การบริการ การลงทุน และแรงงาน เป็นต้น ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่พ้นSMEs มีส่วนสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทย โดยการสร้างผลผลิตและการจ้างงานของประเทศ
ในอดีตจุดแข็งของ SMEs ไทยคือการเข้าถึงในตลาดท้องถิ่นได้ดี มีทักษะและความเชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจบริการ หัตถกรรม ท่องเที่ยว และอาหารค่อนข้างสูง ประกอบกับค่าจ้างแรงงานมีอัตราที่ต่ำ ตลอดจนง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ แต่ทว่าในอนาคตข้างหน้าจุดแข็งดังกล่าวจะเริ่มไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง และยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งแรงงานราคาถูก กลุ่มประเทศเหล่านี้จึงเป็นทั้งแหล่งผลิตและตลาดใหม่ที่น่าสนใจของภูมิภาค
ดังนั้น สิ่งที่ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมและบริการจะต้องริเริ่มปรับกระบวนการเชิงกลยุทธ์ให้ขับ เคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อให้ตอบสนองกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต อาทิ
1) ผู้ประกอบการควรเริ่มมีการขายสินค้าในตลาดที่ใหญ่ขึ้น และเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ จากกลุ่มประเทศสมาชิก
2) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
3) การเปิดและเจาะตลาดกลุ่มประเทศสมาชิกและคู่ค้าของอาเซียน
4) ปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมองต่อกลุ่มประเทศ CLMV เสียใหม่
5) ลงทุนในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการบริการให้ได้มาตรฐาน
6) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation) หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็น "นวัตกรรม (Innovation)" ควบคู่ไปกับการชูนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม กิจการ SMEs ไทยก็ต้องมีกลยุทธ์ในการรับมือผลกระทบ หลังจากการเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน เช่น
1) การเปิดเสรีทางการค้าอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจบางสาขาที่มีความอ่อนไหว จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยการลดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง
2) ออกมาตรการรับมือ กรณีเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า
3) เรียนรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาประสิทธิภาพด้านภาษา เทคโนโลยี บริการ และระบบโลจิสติกส์
4) ขยายช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก จากการสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ และหน่วยงานของรัฐ
จะเห็นได้ว่า SMEs ไทยในอนาคต ยังสามารถเพิ่มบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้นได้อีก
ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันลดอุปสรรคและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการขยายตัวของ SMEs ตลอดจนออกกฎระเบียบต่าง ๆ
อย่าง รัดกุมและชัดเจน เพื่อปกป้องและส่งเสริมกิจการ SMEs ไทย และพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเพื่อสร้างสิ่งแปลกใหม่ให้กับตัวสินค้าและตอบสนอง ความต้องการความหลากหลายของผู้บริโภคให้สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเข้า สู่ AEC ในอนาคต
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น