ขณะที่นักวิชาการชี้ไม่ได้แก้ปัญหาประเทศ
ในที่สุด นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพูล) ว่าได้ตัดสินใจยุบสภา ซึ่งถือว่าพลิกความคาดหมายไม่น้อย เพราะหลายฝ่ายวิเคราะห์ว่ารัฐบาลยังยื้อสถานการณ์ต่อได้ และยังมีไพ่ให้เลือกเล่นอีกหลายใบ
งานนี้ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่รัฐบาลแสดงท่าที "ถอยสุดซอย"
แต่คำถามคือการยุบสภาในจังหวะเวลานี้ จะช่วยให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้นจริงหรือไม่?
นางสาวยิ่งลักษณ์ ให้เหตุผลของการตัดสินใจทูลเกล้าฯ ถวาย ร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 จำนวน 4 ข้อ คือ
1.การยุบสภาเป็นกระบวนการปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังที่ปรากฏอยู่ในหลายประเทศที่ใช้ระบอบนี้ ขณะที่ประเทศไทยก็มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรองรับ
2.ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เมื่อถึงจุดที่ความคิดขัดแย้งอาจนำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติ และมีความรุนแรงจนอาจเกิดความสูญเสียขึ้น การคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินด้วยการยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นวิถีทางที่เป็นไปตามหลักการแห่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าคนส่วนใหญ่ต้องการแนวทางใด และจะให้ใครมาบริหารประเทศตามแนวทางนั้น
3.เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะย่อมพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180 (2) แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งกำหนดไว้ด้วยว่า คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในมาตราดังกล่าว
4.ขอให้ประชาชนทั้งหลายให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ซึ่งจะได้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งถึงการกำหนดวันเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
ด้านความเห็นของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
นายเจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า การประกาศยุบสภาของนายกฯ ไม่สามารถสยบการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ออกมาชุมนุมได้ อีกทั้งยังเป็นการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งๆ ที่บ้านเมืองไม่มีความพร้อม อาจจะยิ่งทำให้เกิดปัญหา อีกทั้งข้อเสนอของ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) คือต้องการ "สภาประชาชน" แต่รัฐบาลเลือกที่จะยุบสภาเลือกตั้งใหม่ อาจทำให้การเมืองทั้ง 2 ขั้วไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน และส่งผลให้สังคมไม่สงบได้
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวว่า ขอถามไปยังนายกรัฐมนตรีว่า ทำไมถึงประกาศยุบสภาในช่วงที่มีการเดินขบวนของประชาชนแล้ว มองว่าสถานการณ์ตอนนี้ไปไกลกว่าที่จะมีการยุบสภาหรือเจรจาระหว่างแกนนำทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนทางออกของประเทศตอนนี้ยังไม่ทราบ แต่เมื่อพิจารณาดูรายละเอียดของสถานการณ์ เห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาฯ 2516 ซึ่งทางออกในตอนนั้นคือผู้นำรัฐบาลเผ่นออกจากประเทศ
นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า การยุบสภาไม่ใช่ทางออกของปัญหาทางการเมือง แต่เมื่อรัฐบาลเลือกจะยุบสภาแล้ว ฝ่ายทหารควรออกมามีบทบาทเรียกร้องให้มวลชนยุติการชุมนุม เพื่อยุติความเสียหายที่จะเกิดกับประเทศ และหลังจากนั้นต้องแก้ปัญหาการเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย เช่น ให้แกนนำตัวจริงมาคุยกัน โดยผ่านคนกลางที่ได้รับการยอมรับ หรือให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เจรจากับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เพื่อนำเสนอสิ่งที่ต้องการและให้ประชาชนเป็นสักขีพยาน
นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การยุบสภาถือเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดเพื่อเลี่ยงการนองเลือด แต่อาจไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด และหลังจากนี้มองว่ากลุ่มมวลชนควรจะถอยด้วย ไม่เช่นนั้นปัญหาจะไม่จบ อาจส่งผลให้สังคมเป็นอัมพาต เศรษฐกิจหยุดชะงัก รวมถึงทำให้เกิดสภาพของความตึงเครียดได้
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////
ในที่สุด นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพูล) ว่าได้ตัดสินใจยุบสภา ซึ่งถือว่าพลิกความคาดหมายไม่น้อย เพราะหลายฝ่ายวิเคราะห์ว่ารัฐบาลยังยื้อสถานการณ์ต่อได้ และยังมีไพ่ให้เลือกเล่นอีกหลายใบ
งานนี้ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่รัฐบาลแสดงท่าที "ถอยสุดซอย"
แต่คำถามคือการยุบสภาในจังหวะเวลานี้ จะช่วยให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้นจริงหรือไม่?
นางสาวยิ่งลักษณ์ ให้เหตุผลของการตัดสินใจทูลเกล้าฯ ถวาย ร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 จำนวน 4 ข้อ คือ
1.การยุบสภาเป็นกระบวนการปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังที่ปรากฏอยู่ในหลายประเทศที่ใช้ระบอบนี้ ขณะที่ประเทศไทยก็มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรองรับ
2.ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เมื่อถึงจุดที่ความคิดขัดแย้งอาจนำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติ และมีความรุนแรงจนอาจเกิดความสูญเสียขึ้น การคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินด้วยการยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นวิถีทางที่เป็นไปตามหลักการแห่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าคนส่วนใหญ่ต้องการแนวทางใด และจะให้ใครมาบริหารประเทศตามแนวทางนั้น
3.เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะย่อมพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180 (2) แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งกำหนดไว้ด้วยว่า คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในมาตราดังกล่าว
4.ขอให้ประชาชนทั้งหลายให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ซึ่งจะได้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งถึงการกำหนดวันเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
ด้านความเห็นของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
นายเจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า การประกาศยุบสภาของนายกฯ ไม่สามารถสยบการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ออกมาชุมนุมได้ อีกทั้งยังเป็นการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งๆ ที่บ้านเมืองไม่มีความพร้อม อาจจะยิ่งทำให้เกิดปัญหา อีกทั้งข้อเสนอของ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) คือต้องการ "สภาประชาชน" แต่รัฐบาลเลือกที่จะยุบสภาเลือกตั้งใหม่ อาจทำให้การเมืองทั้ง 2 ขั้วไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน และส่งผลให้สังคมไม่สงบได้
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวว่า ขอถามไปยังนายกรัฐมนตรีว่า ทำไมถึงประกาศยุบสภาในช่วงที่มีการเดินขบวนของประชาชนแล้ว มองว่าสถานการณ์ตอนนี้ไปไกลกว่าที่จะมีการยุบสภาหรือเจรจาระหว่างแกนนำทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนทางออกของประเทศตอนนี้ยังไม่ทราบ แต่เมื่อพิจารณาดูรายละเอียดของสถานการณ์ เห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาฯ 2516 ซึ่งทางออกในตอนนั้นคือผู้นำรัฐบาลเผ่นออกจากประเทศ
นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า การยุบสภาไม่ใช่ทางออกของปัญหาทางการเมือง แต่เมื่อรัฐบาลเลือกจะยุบสภาแล้ว ฝ่ายทหารควรออกมามีบทบาทเรียกร้องให้มวลชนยุติการชุมนุม เพื่อยุติความเสียหายที่จะเกิดกับประเทศ และหลังจากนั้นต้องแก้ปัญหาการเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย เช่น ให้แกนนำตัวจริงมาคุยกัน โดยผ่านคนกลางที่ได้รับการยอมรับ หรือให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เจรจากับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เพื่อนำเสนอสิ่งที่ต้องการและให้ประชาชนเป็นสักขีพยาน
นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การยุบสภาถือเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดเพื่อเลี่ยงการนองเลือด แต่อาจไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด และหลังจากนี้มองว่ากลุ่มมวลชนควรจะถอยด้วย ไม่เช่นนั้นปัญหาจะไม่จบ อาจส่งผลให้สังคมเป็นอัมพาต เศรษฐกิจหยุดชะงัก รวมถึงทำให้เกิดสภาพของความตึงเครียดได้
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น