โดย.พรชัย ยวนยี
หากพูดถึงสถานะการเมืองในหลายๆ พื้นที่ ในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ ที่ทุกคนล้วนอยากมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอำนาจ ยศ บรรดาศักดิ์ การงานที่ดีในอนาคต และผลประโยชน์ด้านรายได้ และการคุมพื้นที่อำนาจเสมือนมาเฟีย
เหล่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ฐานรากไปจนถึงระดับสูง เปรียบเสมือนพีระมิด ที่เหล่าผู้อยู่ใต้ฐานล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้อยู่ส่วนบนของฐานซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในการเชื่อมโยงถึงผู้มีอำนาจในเครือข่ายอื่นๆ ต่อไปในสังคม เช่น นักการเมือง ทหาร ตำรวจ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน
พื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ พื้นที่ ในสังคมไทย ที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจข้างต้นได้แพร่กระจายและมีผลประโยชน์มากมายในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องด้วยมีหลายๆ เงื่อนไขให้ดำรงซึ่งสภาพความสัมพันธ์ดังกล่าว
โดยเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้อำนาจดำรงซึ่งสภาพเช่นนี้ ดังเช่น สภาพความเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ที่ไม่จำกัดอายุของผู้เข้าศึกษา และรับไม่จำกัดของเหล่านักศึกษาที่อยากเข้าศึกษา และการพัฒนาเป็นชุมชนอย่างรวดเร็วในพื้นที่ดังกล่าว และอื่นๆ อีกมากมาย โดยจะอธิบายต่อไป

แน่นอนว่าหากกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจข้างต้น เป็นสิ่งที่ยากอธิบาย เนื่องด้วยไม่มีเอกสารอ้างอิงที่เป็นชิ้นเป็นอัน เสมือนงานวิจัยความรู้อื่นๆ ทั่วไป หากแต่ใช้ความใกล้ชิด และความคุ้นเคยในพื้นที่ดังกล่าว และเป็นเรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่ออธิบายให้กระจ่างชัด จึงขอแยกออกเป็นประเด็น ดังนี้
1. อำนาจที่แตกต่าง: การเมือง พื้นที่ นักศึกษา คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้านจำนวนนักศึกษา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีปริมาณนักศึกษาที่มากที่สุด กว่าสามแสนห้าหมื่นคน รวมทุกวิทยาเขต หากแต่ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งตั้งอยู่เขตหัวหมาก ก็มีนักศึกษากว่าแสนคน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แยกออกไปตั้งศูนย์ใหญ่อีกแห่ง คือ เขตบางนา ซึ่งเหล่านักศึกษาต้องเรียนทั้งสองแห่งตามรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน เนื่องด้วยปริมาณนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ด้านหนึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ทำให้ไม่จำกัดจำนวนนักศึกษา ไม่จำกัดอายุนักศึกษา และสามารถเรียนได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดจำนวนปีในการศึกษา แม้ว่าจะมีระเบียบให้ศึกษาได้แค่ 8 ปี แต่ก็สามารถโอนหน่วยกิตที่เรียนผ่านมาแล้วเข้าเรียนในปี 1 ใหม่ได้ เปรียบเสมือนเรียนปี 9 ก็สามารถทำได้ ทำให้มีคนทุกรุ่นเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้
ด้านการเมือง ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการเลือกตั้งอธิการบดีเอง ตามสัดส่วนประชาคมในมหาวิทยาลัย คือ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ในสัดส่วน 1:1:1 และมีการเลือกตั้งประธานองค์การนักศึกษาเฉกเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่มีความเข้มข้นมากกว่า ดังจะอธิบายต่อไป
ด้านนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดการโดยแยกออกเป็นองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา พรรคนักศึกษา ชมรมนักศึกษากว่า 60 ชมรมและซุ้มนักศึกษากว่า1,000 ซุ้ม โดยชมรมนักศึกษาและซุ้มนี้ อาจแบ่งตามความสนใจของเหล่านักศึกษา เช่น ซุ้มตามบ้านเกิดของต้น ซุ้มตามภูมิภาคของตน หรือแบ่งตามความเชื่อและความสนใจของตน เช่น ชมรมพัฒนาค่ายอาสามหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรุมมุสลิม หรืออาจเป็นซุ้ม เช่น ซุ้มสุราษฎร์ธานี ซุ้มกลุ่มคนรักศิลปะ เป็นต้น
ด้านงบประมาณ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีงบประมาณมาก ทั้งจากการช่วยเหลือของรัฐบาลเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่อีกด้านหนึ่งได้จากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งมีปริมาณเยอะมากเมื่อเข้าศึกษาแต่ละภาคการศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
จากที่กล่าวมาข้างต้น ในอำนาจที่แตกต่างทั้งด้านการเมือง พื้นที่ นักศึกษา คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์เพื่อพึ่งพากัน เช่น ในการเหลือกตั้งอธิการบดี พรรคนักศึกษาที่ได้คุมองค์การนักศึกษาคือตัวแปรสำคัญในการหาเสียงให้กับผู้สมัครในตำแหน่งอธิการบดี
และในขณะเดียวกันหลังได้เป็นอธิการบดีก็ต้องช่วยเกื้อหนุนทั้งด้านงบประมาณลับและด้านอื่นๆ ต่อกลุ่มที่ช่วยเหลือหลังได้เป็นอธิการบดี เสมือนการคอรัปชั่น ในขณะเดียวกันชมรมและซุ้มที่ให้การช่วยเหลือองค์การนักศึกษา ก็ได้ผลประโยชน์โดยการได้งบประมาณเยอะขึ้นในการทำกิจกรรมของชมรมหรือซุ้ม ในปีงบประมาณที่พรรคนักศึกษาที่กลุ่มตนให้การสนับสนุนหลังได้ควบคุมองค์การนักศึกษา
สิ่งเหล่านี้ คือลูกโซ่เชิงอำนาจของการเมืองในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ที่กล่าวมายังไม่พอ ยังมีการเมืองภายนอกพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป

3. พีระมิดการเมือง: จากฐานรากสู่ปลายส่วนบน: การเมืองนักศึกษา-มาเฟียท้องถิ่น-การเมืองระดับชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นความสัมพันธ์ที่มีมิติของการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันสูง ผ่านการจัดการที่ลงตัว ที่แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างแต่ก็ยังถือว่าเล็กน้อย เช่น การเลือกพรรคเข้าควบคุมองค์การนักศึกษา ล้วนได้รับการสนับสนุนจากมาเฟียท้องถิ่น หรือนักการเมืองระดับชาติ
ซึ่งมาเฟียท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์โดยการควบคุมองค์การรามคำแหงอีกทอดหนึ่ง เช่น คนที่เป็นประธานองค์การรามคำแหง อายุมากเมื่อเทียบกับวัยศึกษา ซึ่งคนที่เลือกอาจเป็นมาเฟียก็เป็นได้(ทัศนะของผู้เขียน) ผ่านการจัดการการเลือกตั้งอธิการบดี ที่จะได้งบประมาณหรือเงินใต้โต๊ะ หรืองบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์หรือตึกภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
และฐานความถูกต้อง ปกป้องตัวเองจากกฎหมาย ของกลุ่มมาเฟีย ผ่านการให้การคุ้มครองโดยนักการเมืองท้องถิ่น หรือนักการเมืองที่เคยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงในอดีต และปัจจุบันใหญ่โต ซึ่งเอื้องบประมาณให้กับพรรคในมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัดในอดีตหรือชมรม ซุ้ม ซึ่งเอื้อผ่านการให้การสนับสนุนพรรคการเมืองตนในระดับชาติ
การควบคุมกันเป็นชั้นๆ อย่างมีนัยยะนี้ น่าสนใจที่ว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยทีมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติเกือบทุกเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมาระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายนถึง 1 ธันวาคม 2556 และเป็นสถาบันที่มีความใกล้ชิดทางการเมืองระดับชาติอย่างสูง เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสังคมไทย
แน่นอนว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีทั้งเป็นไปด้วยเจตนา บริสุทธิ์และน่าภาคภูมิใจ แต่บางกลุ่มบางพวกเจตนาแฝงไปด้วยผลประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเกื้อกูลกันเป็นลำดับชั้น เช่น ฐานพีระมิด ซึ่งคงสภาพปัญหาให้เป็นเช่นนี้ นี่คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรปฏิรูปเพื่อสร้างประชาสังคมมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทย
ที่มา.Siam Intelligence Unit
หากพูดถึงสถานะการเมืองในหลายๆ พื้นที่ ในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ ที่ทุกคนล้วนอยากมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอำนาจ ยศ บรรดาศักดิ์ การงานที่ดีในอนาคต และผลประโยชน์ด้านรายได้ และการคุมพื้นที่อำนาจเสมือนมาเฟีย
เหล่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ฐานรากไปจนถึงระดับสูง เปรียบเสมือนพีระมิด ที่เหล่าผู้อยู่ใต้ฐานล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้อยู่ส่วนบนของฐานซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในการเชื่อมโยงถึงผู้มีอำนาจในเครือข่ายอื่นๆ ต่อไปในสังคม เช่น นักการเมือง ทหาร ตำรวจ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน
พื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ พื้นที่ ในสังคมไทย ที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจข้างต้นได้แพร่กระจายและมีผลประโยชน์มากมายในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องด้วยมีหลายๆ เงื่อนไขให้ดำรงซึ่งสภาพความสัมพันธ์ดังกล่าว
โดยเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้อำนาจดำรงซึ่งสภาพเช่นนี้ ดังเช่น สภาพความเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ที่ไม่จำกัดอายุของผู้เข้าศึกษา และรับไม่จำกัดของเหล่านักศึกษาที่อยากเข้าศึกษา และการพัฒนาเป็นชุมชนอย่างรวดเร็วในพื้นที่ดังกล่าว และอื่นๆ อีกมากมาย โดยจะอธิบายต่อไป
แน่นอนว่าหากกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจข้างต้น เป็นสิ่งที่ยากอธิบาย เนื่องด้วยไม่มีเอกสารอ้างอิงที่เป็นชิ้นเป็นอัน เสมือนงานวิจัยความรู้อื่นๆ ทั่วไป หากแต่ใช้ความใกล้ชิด และความคุ้นเคยในพื้นที่ดังกล่าว และเป็นเรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่ออธิบายให้กระจ่างชัด จึงขอแยกออกเป็นประเด็น ดังนี้
1. อำนาจที่แตกต่าง: การเมือง พื้นที่ นักศึกษา คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้านจำนวนนักศึกษา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีปริมาณนักศึกษาที่มากที่สุด กว่าสามแสนห้าหมื่นคน รวมทุกวิทยาเขต หากแต่ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งตั้งอยู่เขตหัวหมาก ก็มีนักศึกษากว่าแสนคน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แยกออกไปตั้งศูนย์ใหญ่อีกแห่ง คือ เขตบางนา ซึ่งเหล่านักศึกษาต้องเรียนทั้งสองแห่งตามรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน เนื่องด้วยปริมาณนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ด้านหนึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ทำให้ไม่จำกัดจำนวนนักศึกษา ไม่จำกัดอายุนักศึกษา และสามารถเรียนได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดจำนวนปีในการศึกษา แม้ว่าจะมีระเบียบให้ศึกษาได้แค่ 8 ปี แต่ก็สามารถโอนหน่วยกิตที่เรียนผ่านมาแล้วเข้าเรียนในปี 1 ใหม่ได้ เปรียบเสมือนเรียนปี 9 ก็สามารถทำได้ ทำให้มีคนทุกรุ่นเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้
ด้านการเมือง ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการเลือกตั้งอธิการบดีเอง ตามสัดส่วนประชาคมในมหาวิทยาลัย คือ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ในสัดส่วน 1:1:1 และมีการเลือกตั้งประธานองค์การนักศึกษาเฉกเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่มีความเข้มข้นมากกว่า ดังจะอธิบายต่อไป
ด้านนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดการโดยแยกออกเป็นองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา พรรคนักศึกษา ชมรมนักศึกษากว่า 60 ชมรมและซุ้มนักศึกษากว่า1,000 ซุ้ม โดยชมรมนักศึกษาและซุ้มนี้ อาจแบ่งตามความสนใจของเหล่านักศึกษา เช่น ซุ้มตามบ้านเกิดของต้น ซุ้มตามภูมิภาคของตน หรือแบ่งตามความเชื่อและความสนใจของตน เช่น ชมรมพัฒนาค่ายอาสามหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรุมมุสลิม หรืออาจเป็นซุ้ม เช่น ซุ้มสุราษฎร์ธานี ซุ้มกลุ่มคนรักศิลปะ เป็นต้น
ด้านงบประมาณ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีงบประมาณมาก ทั้งจากการช่วยเหลือของรัฐบาลเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่อีกด้านหนึ่งได้จากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งมีปริมาณเยอะมากเมื่อเข้าศึกษาแต่ละภาคการศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
จากที่กล่าวมาข้างต้น ในอำนาจที่แตกต่างทั้งด้านการเมือง พื้นที่ นักศึกษา คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์เพื่อพึ่งพากัน เช่น ในการเหลือกตั้งอธิการบดี พรรคนักศึกษาที่ได้คุมองค์การนักศึกษาคือตัวแปรสำคัญในการหาเสียงให้กับผู้สมัครในตำแหน่งอธิการบดี
และในขณะเดียวกันหลังได้เป็นอธิการบดีก็ต้องช่วยเกื้อหนุนทั้งด้านงบประมาณลับและด้านอื่นๆ ต่อกลุ่มที่ช่วยเหลือหลังได้เป็นอธิการบดี เสมือนการคอรัปชั่น ในขณะเดียวกันชมรมและซุ้มที่ให้การช่วยเหลือองค์การนักศึกษา ก็ได้ผลประโยชน์โดยการได้งบประมาณเยอะขึ้นในการทำกิจกรรมของชมรมหรือซุ้ม ในปีงบประมาณที่พรรคนักศึกษาที่กลุ่มตนให้การสนับสนุนหลังได้ควบคุมองค์การนักศึกษา
สิ่งเหล่านี้ คือลูกโซ่เชิงอำนาจของการเมืองในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ที่กล่าวมายังไม่พอ ยังมีการเมืองภายนอกพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
2. อำนาจที่แตกต่าง: พื้นที่ย่อยล้อมรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง
หากพูดถึงการสร้างชุมชนในเขตหัวหมาก โดยเฉพาะถนนรามคำแหงนั้น ต้องยอมรับว่าสภาพความเป็นชุมชนใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นจุดหลัก ทำให้เกิดชุมชนใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านศูนย์กลางอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดถนนเส้นนี้มีปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ ด้าน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนธุรกิจ และวัฒนธรรม
ด้านภาครัฐ จะเห็นสภาพอำนาจที่เข้าไม่ถึงพื้นที่เขตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น การไม่สามารถจัดการกับทางเดินเท้า ในการเปิดให้มีร้านขายของตลอดเส้นทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้เกิดปัญหาการจราจร ที่ถือว่าเป็นเส้นที่รถติดมากที่สุด โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนเย็นในวันและเวลาทำงาน และเป็นเส้นที่มีรถเมล์ผ่านมากที่สุด
ด้านภาคธุรกิจเอกชน ด้วยความเป็นชุมชนใหม่ มีปฏิสัมพันธ์ของผู้คนมาก ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ แบบไม่เป็นระเบียบ เช่น การสร้างตึกรามบ้านช่อง วินมอเตอร์ไซด์ หรือจะเป็นการสร้างหอพักในการบริการนักศึกษาที่เข้าเรียนในพื้นที่มหาวิทยาลัย และธุรกิจขนาดใหญ่ที่ดำเนินแบบเสมือนตามใจตัวเอง
ด้านวัฒนธรรม ด้วยการสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีจุดประสงค์ให้คนมีรายได้น้อยได้ศึกษาเข้าเรียน ทำให้นักศึกษาส่วนมากมาจากต่างจังหวัด โดยเฉพาะจากภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งมีในปริมาณมากเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ทำให้มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมาก และมีการดูแลกลุ่มตนเองตามแบบฉบับของตน
จากความสัมพันธ์ทั้งสามด้านที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่าสภาวะที่ภาครัฐเข้าไม่ถึง และการโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเอกชน ทำให้ความสัมพันธ์ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดการจัดการโดยคนที่อาศัยล้อมรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการเกิดผู้เจรจา ตัวแทน จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของมาเฟีย ผ่านการจ่ายส่วย
เช่น การขายของริมฟุตบาท ที่ภาครัฐไม่สามารถเจรจาได้ จึงปล่อยเลยตามเลย และเป็นหน้าที่ของเหล่ามาเฟีย ในการจัดการ หรือจะเป็นการสร้างหอพัก ที่ถึงแม้จะขออนุญาตจากภาครัฐแล้วยังต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจในพื้นที่หรือมาเฟียนั้นเอง

หากพูดถึงการสร้างชุมชนในเขตหัวหมาก โดยเฉพาะถนนรามคำแหงนั้น ต้องยอมรับว่าสภาพความเป็นชุมชนใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นจุดหลัก ทำให้เกิดชุมชนใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านศูนย์กลางอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดถนนเส้นนี้มีปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ ด้าน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนธุรกิจ และวัฒนธรรม
ด้านภาครัฐ จะเห็นสภาพอำนาจที่เข้าไม่ถึงพื้นที่เขตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น การไม่สามารถจัดการกับทางเดินเท้า ในการเปิดให้มีร้านขายของตลอดเส้นทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้เกิดปัญหาการจราจร ที่ถือว่าเป็นเส้นที่รถติดมากที่สุด โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนเย็นในวันและเวลาทำงาน และเป็นเส้นที่มีรถเมล์ผ่านมากที่สุด
ด้านภาคธุรกิจเอกชน ด้วยความเป็นชุมชนใหม่ มีปฏิสัมพันธ์ของผู้คนมาก ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ แบบไม่เป็นระเบียบ เช่น การสร้างตึกรามบ้านช่อง วินมอเตอร์ไซด์ หรือจะเป็นการสร้างหอพักในการบริการนักศึกษาที่เข้าเรียนในพื้นที่มหาวิทยาลัย และธุรกิจขนาดใหญ่ที่ดำเนินแบบเสมือนตามใจตัวเอง
ด้านวัฒนธรรม ด้วยการสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีจุดประสงค์ให้คนมีรายได้น้อยได้ศึกษาเข้าเรียน ทำให้นักศึกษาส่วนมากมาจากต่างจังหวัด โดยเฉพาะจากภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งมีในปริมาณมากเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ทำให้มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมาก และมีการดูแลกลุ่มตนเองตามแบบฉบับของตน
จากความสัมพันธ์ทั้งสามด้านที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่าสภาวะที่ภาครัฐเข้าไม่ถึง และการโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเอกชน ทำให้ความสัมพันธ์ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดการจัดการโดยคนที่อาศัยล้อมรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการเกิดผู้เจรจา ตัวแทน จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของมาเฟีย ผ่านการจ่ายส่วย
เช่น การขายของริมฟุตบาท ที่ภาครัฐไม่สามารถเจรจาได้ จึงปล่อยเลยตามเลย และเป็นหน้าที่ของเหล่ามาเฟีย ในการจัดการ หรือจะเป็นการสร้างหอพัก ที่ถึงแม้จะขออนุญาตจากภาครัฐแล้วยังต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจในพื้นที่หรือมาเฟียนั้นเอง
3. พีระมิดการเมือง: จากฐานรากสู่ปลายส่วนบน: การเมืองนักศึกษา-มาเฟียท้องถิ่น-การเมืองระดับชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นความสัมพันธ์ที่มีมิติของการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันสูง ผ่านการจัดการที่ลงตัว ที่แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างแต่ก็ยังถือว่าเล็กน้อย เช่น การเลือกพรรคเข้าควบคุมองค์การนักศึกษา ล้วนได้รับการสนับสนุนจากมาเฟียท้องถิ่น หรือนักการเมืองระดับชาติ
ซึ่งมาเฟียท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์โดยการควบคุมองค์การรามคำแหงอีกทอดหนึ่ง เช่น คนที่เป็นประธานองค์การรามคำแหง อายุมากเมื่อเทียบกับวัยศึกษา ซึ่งคนที่เลือกอาจเป็นมาเฟียก็เป็นได้(ทัศนะของผู้เขียน) ผ่านการจัดการการเลือกตั้งอธิการบดี ที่จะได้งบประมาณหรือเงินใต้โต๊ะ หรืองบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์หรือตึกภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
และฐานความถูกต้อง ปกป้องตัวเองจากกฎหมาย ของกลุ่มมาเฟีย ผ่านการให้การคุ้มครองโดยนักการเมืองท้องถิ่น หรือนักการเมืองที่เคยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงในอดีต และปัจจุบันใหญ่โต ซึ่งเอื้องบประมาณให้กับพรรคในมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัดในอดีตหรือชมรม ซุ้ม ซึ่งเอื้อผ่านการให้การสนับสนุนพรรคการเมืองตนในระดับชาติ
การควบคุมกันเป็นชั้นๆ อย่างมีนัยยะนี้ น่าสนใจที่ว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยทีมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติเกือบทุกเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมาระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายนถึง 1 ธันวาคม 2556 และเป็นสถาบันที่มีความใกล้ชิดทางการเมืองระดับชาติอย่างสูง เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสังคมไทย
แน่นอนว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีทั้งเป็นไปด้วยเจตนา บริสุทธิ์และน่าภาคภูมิใจ แต่บางกลุ่มบางพวกเจตนาแฝงไปด้วยผลประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเกื้อกูลกันเป็นลำดับชั้น เช่น ฐานพีระมิด ซึ่งคงสภาพปัญหาให้เป็นเช่นนี้ นี่คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรปฏิรูปเพื่อสร้างประชาสังคมมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทย
ที่มา.Siam Intelligence Unit
//////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น