ต่างชาติขายหุ้นกดดัชนีร่วง15จุด บาทอ่อนค่าสุดรอบ3เดือนแตะ32.33บาท นักค้าเงินระบุนักลงทุนกังวลการเมือง-สหรัฐฯถอนคิวอีเร็วขึ้น
สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ท่ามกลางภาวะซื้อขายเบาบาง โดยเฉพาะเงินบาท และเปโซร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เพราะนักลงทุนยังคงระมัดระวัง ก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (คิวอี) เมื่อใด
ขณะที่สถานการณ์การเมืองในประเทศ เริ่มกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง หลังเกิดการปาประทัด และยิงการ์ด จนได้รับบาดเจ็บในกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณกระทรวงการคลัง และบริเวณราชดำเนิน
นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า เงินบาทเทียบดอลลาร์เปิดตลาดที่ 32.24-32.26 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวขึ้นลงตามแรงซื้อขายที่เข้ามา โดยอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นอ่อนค่าสุดรอบ 3 เดือน จากก่อนหน้านี้ที่ทำระดับอ่อนค่าสุดที่ 32.47 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนจะมาปิดตลาดที่ 32.32-32.33 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทวานนี้ มาจากปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ทำให้เกิดความกังวลว่าเฟด จะปรับลดมาตรการคิวอีลงในเร็ววันนี้เป็นประเด็นที่ต้องจับตา และจะมีผลต่อความเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์หน้า
แนวโน้มเงินบาทสัปดาห์หน้า ต้องจับตาตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศ และการเมืองในประเทศ โดยมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้อีก และอาจไปทดสอบระดับการอ่อนค่าในระดับ 32.47-32.48 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นสถิติเดิมที่ทำไว้ก่อนหน้านี้
“ขณะนี้ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐว่าจะออกมาเท่าไร และดีกว่าที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ แต่ที่เห็นเงินบาทอ่อนค่าวานนี้ เป็นผลจากการเมืองในประเทศมากกว่า ที่เริ่มกลับมาชุมนุมต่อและดูเหมือนจะร้อนแรงขึ้น เห็นได้ว่าค่าเงินในภูมิภาคยังเคลื่อนไหวในทางแข็งค่า ซึ่งตลาดยังจับตาดูสถานการณ์การเมืองช่วงเสาร์อาทิตย์นี้ด้วยว่า จะพัฒนาการไปอย่างไร เพราะจะมีการนัดรวมตัวกันอีกครั้งของทั้งสองฝ่ายในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ด้วย”
ในสัปดาห์นี้ สกุลเงินส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย นำโดยรูปีพุ่งขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ ขณะที่ผลสำรวจ เอ็กซิทโพลล์คาดว่า พรรคฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในการเลือก ตั้งระดับรัฐเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งพรรคฝ่ายค้านถูกมองว่ามีความเป็นมิตรต่อภาคธุรกิจมากกว่า และตั้งใจที่จะทำการปฏิรูป ขณะที่การเลือกตั้งทั่วประเทศ จะมีขึ้นในต้นปีหน้า ในสัปดาห์นี้หยวนแข็งค่าขึ้น 0.2% และดอลลาร์สิงคโปร์ปรับตัวขึ้น 0.1% ขณะที่วอนและดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่าเช่นกัน แต่บาทร่วงลง 0.7% และเปโซอ่อนค่าลง 0.5%
ขณะเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าว ยังมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ดัชนีปรับลดลงอยู่ในแดนลบตลอดวัน และดัชนีปรับลดลงต่ำสุดที่ระดับ 1,355.02 จุด ปรับสูงสุดที่ระดับ 1,376.71 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 1,361.57 จุด ลดลง 15.06 จุด หรือ 1.09% มูลค่าการซื้อขาย 30,147 ล้านบาท โดยต่างชาติขาย 3,726.01 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขาย 815.11 ล้านบาท สถาบันซื้อสุทธิ 121.44 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 4,419.68 ล้านบาท
คิวอี-การเมืองกดหุ้นดิ่ง-บาทอ่อน
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัย เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่อ่อนค่า และตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงวานนี้ จะเป็นทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศผสมกัน เพราะปัจจัยนอกประเทศ ตัวเลขการว่างงานที่ดีขึ้นของสหรัฐ ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้กำหนดกรอบเวลาการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือคิวอี 3 ได้แล้ว ทำให้นักลงทุนมองการปรับลดมาตรการคิวอี น่าจะเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนนี้ รวมไปถึงปัจจัยการเมืองที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออกต่อเนื่อง หากยังยืดเยื้อส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกไปได้อีก
จากการสังเกต พบว่า ค่าเงินบาทมีการอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว กว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่มองว่าค่าเงินบาท จะอ่อนค่าแตะระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางเดือน แต่กลับอ่อนค่าในช่วงต้นเดือน แสดงให้เห็นถึงเงินทุนต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่อง ซึ่งฝั่งตลาดทุน นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มถือหุ้นสั้นลง เพราะคาดการณ์มาตรการคิวอี จะถูกปรับลดลงช่วงสั้น ทำให้การถือหุ้นไม่ยาวอย่างที่คาด
การชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่า 1 เดือน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้าง ทั้งความเชื่อมั่น และการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเริ่มปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ใช้เวลาในกรุงเทพฯน้อยลง และออกไปยังหัวเมืองอื่นๆ และหากการเมืองยืดเยื้ออาจจะกระทบถึงการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2557 ด้วย
ทั้งนี้มาตรการที่รัฐบาล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะทำออกมาตามบัญชาของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีมาตรการอย่างไรในการกระตุ้นเศรษฐกิจและจะช่วยการเติบโตในปีหน้าได้อย่างไรบ้าง
การเมืองไร้ข้อยุติกดหุ้นไทยดิ่ง
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้บริหารสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์และกลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดแรงช่วงบ่ายของวันกว่า 20 จุด ซึ่งมองเป็นการตอบสนองปัจจัยการเมืองล่วงหน้า โดยนักลงทุนกังวลว่าการชุมนุมทางการเมืองมีโอกาสที่จะปะทะกันได้อีก จึงสร้างแรงกดดันให้ตลาด และยังมีปัจจัยจากต่างประเทศคือ นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการลดขนาดมาตรการคิวอีของสหรัฐ
สอดคล้องกับ บล.ฟิลลิป วิเคราะห์ว่า หุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าภูมิภาค สาเหตุหลักมาจากปัจจัยการเมือง ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ รวมถึงปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้หลายตัว ก็กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะสั้นๆ จากความกังวลเรื่องการลดคิวอี จะเริ่มเร็วกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินว่า น่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงเดือนสุดท้ายของปี และมองว่าบทบาทต่างชาติในเดือนนี้ น่าจะน้อยลง หลังมีการขายอย่างหนักมาในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ตามสถิติย้อนหลัง พบว่าในเดือน ธ.ค. บทบาทการซื้อขายของต่างชาติต่อตลาดจะน้อยกว่าเดือนอื่นๆ ตรงกันข้ามกับทางนักลงทุนสถาบันที่จะมีบทบาทต่อตลาดในเดือน ธ.ค.มากกว่าเดือนอื่นๆ โดยเฉพาะแรงซื้อจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) จึงคาดว่าการปรับลงเป็นโอกาสให้ทยอยเข้าซื้ออยู่ โดยประเมินแนวรับเบื้องต้น ที่ 1,360 จุดก่อน
ลดเป้าดัชนีปี 2557 ตปท.ทิ้งตลาดเกิดใหม่
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า สมาคมฯ จะปรับเป้าดัชนีหุ้นไทยสิ้นปี 2557 ใหม่ เพราะปัจจัยที่เข้ามากระทบ มีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบมากขึ้น จึงส่งแบบสำรวจให้สมาชิกทบทวนทั้งอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กำไรบริษัทจดทะเบียนและดัชนีสิ้นปี 2557 ซึ่งคาดว่าสมาชิกจะปรับลดเป้าดัชนีลงจากเดิมที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมาว่าอยู่ที่ 1,700 จุดในสิ้นปี 2557
ส่วนดัชนีสิ้นปีนี้ คงไม่มีการทบทวนใดๆ โดยจะให้น้ำหนักไปที่ปีหน้ามากกว่า เพราะการชุมนุมทางการเมืองยืดเยื้อยาวนาน ทำให้มีผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปีนี้คาดเติบโตต่ำกว่า 3% ทำให้การลงทุนภาครัฐในหลายโครงการชะลอออกไป ยอดขายของเอกชนต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่งผลต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนและมูลค่าหุ้นลดลง
นอกจากนี้ ในปี 2557 สหรัฐจะเริ่มลดขนาดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) ทำให้เชื่อว่า นักลงทุนต่างชาติยังมีแรงขายออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นไทย แม้ตั้งแต่ต้นปีต่างชาติจะขายสุทธิหุ้นไทยแล้ว 170,000 ล้านบาท แต่คาดว่ายังมีแรงขายออกมาอีก เพราะที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสะสมหุ้นไทยในระดับดัชนีที่ต่ำประมาณ 300,000 ล้านบาท
"หวังช่วงกลางเดือนนี้ จะมีแรงซื้อจากกองทุนแอลทีเอฟ และอาร์เอ็มเอฟอีกหลายหมื่นล้านบาท คงจะมีส่วนช่วยดัชนีในช่วงปลายปีให้ปรับตัวขึ้นได้บ้าง"
ชะลอคิวอีเสี่ยงตลาดเกิดใหม่
นายศรชัย สุเนต์ตา รองกรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การชะลอมาตรการคิวอีเร็วกว่าเดือนมี.ค.นั้นแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้น แต่ก็ยังเป็นเสียงส่วนน้อย เพราะสหรัฐยังมีปัญหาเพดานหนี้ที่ต้องจัดการก่อนช่วงกลางเดือนม.ค. 2557 จึงจะสามารถชะลอมาตรการคิวอีได้ เพราะมิเช่นนั้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐได้ ดังจึงมองว่า การชะลอมาตรการคิวอี จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นก่อนแก้ปัญหาชะลอหนี้ ซึ่งควรจะปล่อยให้ประธานเฟดคนใหม่เป็นผู้จัดการปัญหา
เขายอมรับว่า การชะลอมาตรการคิวอี จะเป็นความเสี่ยงต่อตลาดใหม่โดยรวม แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว และดอลลาร์แข็งค่า จะทำให้ค่าเงินตลาดเกิดใหม่โดยรวมมีทิศทางอ่อนค่าลงจากการเกิดภาวะเงินทุนไหลออก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเงินทุนไหลออกมาสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ถ้ามองแรงซื้อหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มีการซื้อสุทธิ 188,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันได้ขายไปเกือบหมด หรือขายหุ้นไทยออกไปแล้ว 167,000 ล้าน โดยแรงขายรุนแรงตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. เป็นต้นมา โดยเดือนพ.ย. เดือนเดียวขายออก 63,000 ล้านบาท
"เหตุผลหลักที่ขายออกเพราะมีกำไรจากการลงทุนหุ้นไทย และหากคิดผลตอบแทน แม้ขายไปแล้ว ก็ยังมีกำไร 190% นับจากปี 2552 โอกาสจะขายหนักๆ หลังจากนี้เชื่อว่าจะเบาบาง เพราะหุ้นไทยปรับลดลงมาอยู่ในระดับน่าสนใจสำหรับนักลงทุนระยะยาว ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนระยะยาว ทยอยซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------
สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ท่ามกลางภาวะซื้อขายเบาบาง โดยเฉพาะเงินบาท และเปโซร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เพราะนักลงทุนยังคงระมัดระวัง ก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (คิวอี) เมื่อใด
ขณะที่สถานการณ์การเมืองในประเทศ เริ่มกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง หลังเกิดการปาประทัด และยิงการ์ด จนได้รับบาดเจ็บในกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณกระทรวงการคลัง และบริเวณราชดำเนิน
นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า เงินบาทเทียบดอลลาร์เปิดตลาดที่ 32.24-32.26 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวขึ้นลงตามแรงซื้อขายที่เข้ามา โดยอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นอ่อนค่าสุดรอบ 3 เดือน จากก่อนหน้านี้ที่ทำระดับอ่อนค่าสุดที่ 32.47 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนจะมาปิดตลาดที่ 32.32-32.33 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทวานนี้ มาจากปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ทำให้เกิดความกังวลว่าเฟด จะปรับลดมาตรการคิวอีลงในเร็ววันนี้เป็นประเด็นที่ต้องจับตา และจะมีผลต่อความเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์หน้า
แนวโน้มเงินบาทสัปดาห์หน้า ต้องจับตาตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศ และการเมืองในประเทศ โดยมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้อีก และอาจไปทดสอบระดับการอ่อนค่าในระดับ 32.47-32.48 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นสถิติเดิมที่ทำไว้ก่อนหน้านี้
“ขณะนี้ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐว่าจะออกมาเท่าไร และดีกว่าที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ แต่ที่เห็นเงินบาทอ่อนค่าวานนี้ เป็นผลจากการเมืองในประเทศมากกว่า ที่เริ่มกลับมาชุมนุมต่อและดูเหมือนจะร้อนแรงขึ้น เห็นได้ว่าค่าเงินในภูมิภาคยังเคลื่อนไหวในทางแข็งค่า ซึ่งตลาดยังจับตาดูสถานการณ์การเมืองช่วงเสาร์อาทิตย์นี้ด้วยว่า จะพัฒนาการไปอย่างไร เพราะจะมีการนัดรวมตัวกันอีกครั้งของทั้งสองฝ่ายในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ด้วย”
ในสัปดาห์นี้ สกุลเงินส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย นำโดยรูปีพุ่งขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ ขณะที่ผลสำรวจ เอ็กซิทโพลล์คาดว่า พรรคฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในการเลือก ตั้งระดับรัฐเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งพรรคฝ่ายค้านถูกมองว่ามีความเป็นมิตรต่อภาคธุรกิจมากกว่า และตั้งใจที่จะทำการปฏิรูป ขณะที่การเลือกตั้งทั่วประเทศ จะมีขึ้นในต้นปีหน้า ในสัปดาห์นี้หยวนแข็งค่าขึ้น 0.2% และดอลลาร์สิงคโปร์ปรับตัวขึ้น 0.1% ขณะที่วอนและดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่าเช่นกัน แต่บาทร่วงลง 0.7% และเปโซอ่อนค่าลง 0.5%
ขณะเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าว ยังมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ดัชนีปรับลดลงอยู่ในแดนลบตลอดวัน และดัชนีปรับลดลงต่ำสุดที่ระดับ 1,355.02 จุด ปรับสูงสุดที่ระดับ 1,376.71 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 1,361.57 จุด ลดลง 15.06 จุด หรือ 1.09% มูลค่าการซื้อขาย 30,147 ล้านบาท โดยต่างชาติขาย 3,726.01 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขาย 815.11 ล้านบาท สถาบันซื้อสุทธิ 121.44 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 4,419.68 ล้านบาท
คิวอี-การเมืองกดหุ้นดิ่ง-บาทอ่อน
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัย เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่อ่อนค่า และตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงวานนี้ จะเป็นทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศผสมกัน เพราะปัจจัยนอกประเทศ ตัวเลขการว่างงานที่ดีขึ้นของสหรัฐ ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้กำหนดกรอบเวลาการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือคิวอี 3 ได้แล้ว ทำให้นักลงทุนมองการปรับลดมาตรการคิวอี น่าจะเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนนี้ รวมไปถึงปัจจัยการเมืองที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออกต่อเนื่อง หากยังยืดเยื้อส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกไปได้อีก
จากการสังเกต พบว่า ค่าเงินบาทมีการอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว กว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่มองว่าค่าเงินบาท จะอ่อนค่าแตะระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางเดือน แต่กลับอ่อนค่าในช่วงต้นเดือน แสดงให้เห็นถึงเงินทุนต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่อง ซึ่งฝั่งตลาดทุน นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มถือหุ้นสั้นลง เพราะคาดการณ์มาตรการคิวอี จะถูกปรับลดลงช่วงสั้น ทำให้การถือหุ้นไม่ยาวอย่างที่คาด
การชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่า 1 เดือน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้าง ทั้งความเชื่อมั่น และการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเริ่มปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ใช้เวลาในกรุงเทพฯน้อยลง และออกไปยังหัวเมืองอื่นๆ และหากการเมืองยืดเยื้ออาจจะกระทบถึงการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2557 ด้วย
ทั้งนี้มาตรการที่รัฐบาล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะทำออกมาตามบัญชาของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีมาตรการอย่างไรในการกระตุ้นเศรษฐกิจและจะช่วยการเติบโตในปีหน้าได้อย่างไรบ้าง
การเมืองไร้ข้อยุติกดหุ้นไทยดิ่ง
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้บริหารสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์และกลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดแรงช่วงบ่ายของวันกว่า 20 จุด ซึ่งมองเป็นการตอบสนองปัจจัยการเมืองล่วงหน้า โดยนักลงทุนกังวลว่าการชุมนุมทางการเมืองมีโอกาสที่จะปะทะกันได้อีก จึงสร้างแรงกดดันให้ตลาด และยังมีปัจจัยจากต่างประเทศคือ นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการลดขนาดมาตรการคิวอีของสหรัฐ
สอดคล้องกับ บล.ฟิลลิป วิเคราะห์ว่า หุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าภูมิภาค สาเหตุหลักมาจากปัจจัยการเมือง ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ รวมถึงปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้หลายตัว ก็กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะสั้นๆ จากความกังวลเรื่องการลดคิวอี จะเริ่มเร็วกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินว่า น่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงเดือนสุดท้ายของปี และมองว่าบทบาทต่างชาติในเดือนนี้ น่าจะน้อยลง หลังมีการขายอย่างหนักมาในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ตามสถิติย้อนหลัง พบว่าในเดือน ธ.ค. บทบาทการซื้อขายของต่างชาติต่อตลาดจะน้อยกว่าเดือนอื่นๆ ตรงกันข้ามกับทางนักลงทุนสถาบันที่จะมีบทบาทต่อตลาดในเดือน ธ.ค.มากกว่าเดือนอื่นๆ โดยเฉพาะแรงซื้อจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) จึงคาดว่าการปรับลงเป็นโอกาสให้ทยอยเข้าซื้ออยู่ โดยประเมินแนวรับเบื้องต้น ที่ 1,360 จุดก่อน
ลดเป้าดัชนีปี 2557 ตปท.ทิ้งตลาดเกิดใหม่
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า สมาคมฯ จะปรับเป้าดัชนีหุ้นไทยสิ้นปี 2557 ใหม่ เพราะปัจจัยที่เข้ามากระทบ มีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบมากขึ้น จึงส่งแบบสำรวจให้สมาชิกทบทวนทั้งอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กำไรบริษัทจดทะเบียนและดัชนีสิ้นปี 2557 ซึ่งคาดว่าสมาชิกจะปรับลดเป้าดัชนีลงจากเดิมที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมาว่าอยู่ที่ 1,700 จุดในสิ้นปี 2557
ส่วนดัชนีสิ้นปีนี้ คงไม่มีการทบทวนใดๆ โดยจะให้น้ำหนักไปที่ปีหน้ามากกว่า เพราะการชุมนุมทางการเมืองยืดเยื้อยาวนาน ทำให้มีผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปีนี้คาดเติบโตต่ำกว่า 3% ทำให้การลงทุนภาครัฐในหลายโครงการชะลอออกไป ยอดขายของเอกชนต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่งผลต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนและมูลค่าหุ้นลดลง
นอกจากนี้ ในปี 2557 สหรัฐจะเริ่มลดขนาดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) ทำให้เชื่อว่า นักลงทุนต่างชาติยังมีแรงขายออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นไทย แม้ตั้งแต่ต้นปีต่างชาติจะขายสุทธิหุ้นไทยแล้ว 170,000 ล้านบาท แต่คาดว่ายังมีแรงขายออกมาอีก เพราะที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสะสมหุ้นไทยในระดับดัชนีที่ต่ำประมาณ 300,000 ล้านบาท
"หวังช่วงกลางเดือนนี้ จะมีแรงซื้อจากกองทุนแอลทีเอฟ และอาร์เอ็มเอฟอีกหลายหมื่นล้านบาท คงจะมีส่วนช่วยดัชนีในช่วงปลายปีให้ปรับตัวขึ้นได้บ้าง"
ชะลอคิวอีเสี่ยงตลาดเกิดใหม่
นายศรชัย สุเนต์ตา รองกรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การชะลอมาตรการคิวอีเร็วกว่าเดือนมี.ค.นั้นแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้น แต่ก็ยังเป็นเสียงส่วนน้อย เพราะสหรัฐยังมีปัญหาเพดานหนี้ที่ต้องจัดการก่อนช่วงกลางเดือนม.ค. 2557 จึงจะสามารถชะลอมาตรการคิวอีได้ เพราะมิเช่นนั้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐได้ ดังจึงมองว่า การชะลอมาตรการคิวอี จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นก่อนแก้ปัญหาชะลอหนี้ ซึ่งควรจะปล่อยให้ประธานเฟดคนใหม่เป็นผู้จัดการปัญหา
เขายอมรับว่า การชะลอมาตรการคิวอี จะเป็นความเสี่ยงต่อตลาดใหม่โดยรวม แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว และดอลลาร์แข็งค่า จะทำให้ค่าเงินตลาดเกิดใหม่โดยรวมมีทิศทางอ่อนค่าลงจากการเกิดภาวะเงินทุนไหลออก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเงินทุนไหลออกมาสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ถ้ามองแรงซื้อหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มีการซื้อสุทธิ 188,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันได้ขายไปเกือบหมด หรือขายหุ้นไทยออกไปแล้ว 167,000 ล้าน โดยแรงขายรุนแรงตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. เป็นต้นมา โดยเดือนพ.ย. เดือนเดียวขายออก 63,000 ล้านบาท
"เหตุผลหลักที่ขายออกเพราะมีกำไรจากการลงทุนหุ้นไทย และหากคิดผลตอบแทน แม้ขายไปแล้ว ก็ยังมีกำไร 190% นับจากปี 2552 โอกาสจะขายหนักๆ หลังจากนี้เชื่อว่าจะเบาบาง เพราะหุ้นไทยปรับลดลงมาอยู่ในระดับน่าสนใจสำหรับนักลงทุนระยะยาว ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนระยะยาว ทยอยซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น