โดย. วีรพงษ์ รามางกูร
ในขณะที่บ้านเรากำลังร้อนระอุด้วยความแตกแยกทางความคิดจนไม่สามารถจะดูข่าวทางโทรทัศน์ได้ เพราะฝูงชนที่กำลังถูกปลุกปั่นจนลืมหลักการ ลืมเหตุผล กลายเป็นจิตวิทยาฝูงชน จะพูดจะเขียนอะไรก็คงจะไม่เป็นประโยชน์อะไรมากนักในยามนี้ นอกจากการสมัครเป็น "ไทยเฉย" หรือ "ไทยงง" น่าจะดีที่สุด เพราะไม่ทำให้เกิดอารมณ์เครียด ทำให้เสียสุขภาพ
ในขณะที่บ้านเรากำลังอยู่ในภาวะตึงเครียด ก้าวร้าว ดุดัน ราวกับกำลังเตรียมจะทำสงครามห้ำหั่นกันนั้น ก็มีข่าวที่น่าเศร้าสลดใจเกิดขึ้น คือข่าวการถึงอสัญกรรมของอดีตประธานาธิบดีของสหภาพแอฟริกาใต้ ที่ผู้นำทั่วโลกรวมทั้งอดีตคู่ต่อสู้เก่า คืออดีตประธานาธิบดีของชาวผิวขาว รัฐบาลของคนฝ่ายข้างน้อยที่ปกครองชาวผิวดำ เดอ เคลิร์ก ก็ได้ส่งสารมาแสดงความเสียใจ
ความยิ่งใหญ่ของนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เฉพาะคนผิวดำกับคนผิวขาวในแอฟริกาใต้เท่านั้น แต่รวมถึงมวลมนุษยชาติด้วย เขาเคยแสดงวิสัยทัศน์ว่าต้องการเห็นสหภาพแอฟริกาใต้เป็น "ชาติสายรุ้ง" ที่ประกอบด้วยคนหลายสีผิว หลายเชื้อชาติ หลายศาสนา มาร่วมอยู่ในชาติเดียวกัน
ในงานไว้อาลัยอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา ที่สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงโจฮันเนสเบิร์ก เป็นงานไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ เพราะมีผู้นำคนสำคัญๆ ทั่วโลก เช่น พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ประธานาธิบดีประเทศต่างๆ นายกรัฐมนตรีจากหลายประเทศ รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มุน ด้วย ซึ่งต้องถือว่าเป็นงานศพที่ยิ่งใหญ่อาจจะใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 นี้ก็ได้
แมนเดลา มีอายุยืนยาวถึง 95 ปี เกิดในปี 1918 ในแอฟริกาใต้ เริ่มงานทั้งบนดินและใต้ดิน ต่อสู้กับระบอบการปกครองแบ่งแยกผิวหรือที่เรียกว่า "Apartheid" อย่างรุนแรง แมนเดลาถูกจับติดคุกอยู่ถึง 27 ปีเต็ม
แอฟริกาใต้นั้นเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน โดยการอพยพเข้ามาของชาวอังกฤษและชาวยุโรปผิวขาวเมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว เพราะเป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่ทองคำและอื่นๆ มีภูมิศาสตร์ที่ตั้งเป็นแหลมยื่นไปในมหาสมุทรที่เป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างยุโรปกับเอเชีย ก่อนที่จะมีการขุดคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงย่นระยะทางเดินเรือเป็นอันมาก
เมื่อได้รับเอกราช คนผิวขาวซึ่งมีจำนวนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด เข้ายึดอำนาจการปกครอง สร้างรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แบ่งแยกผิว แยกกันอยู่ การสมสู่ระหว่างผิวถือเป็นความผิดทางอาญา รถไฟ รถเมล์ และยานพาหนะต่างๆ ก็แยกกัน ความผิดทางอาญาคนผิวขาวกับคนผิวดำก็ได้รับการปฏิบัติแตกต่างกัน เสมือนว่าคนผิวดำมิใช่มนุษย์ อย่าว่าแต่จะเป็นประชาชนเลย
เมื่อมีกระแสต่อต้านจากคนผิวดำ รัฐบาลของคนผิวขาวส่วนน้อยก็ใช้กำลังเข้าปราบปรามครั้งแล้วครั้งเล่า การถูกจองจำโดยคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต ไม่ได้ทำให้อิทธิพลการต่อสู้ของเขาเปลี่ยนไป จนในที่สุดรัฐบาลเสียงข้างน้อยของคนผิวขาวก็ต้องยอมปลดปล่อยให้ออกจากคุกในปี 1990 และรัฐบาลนายเดอ เคลิร์ก ก็ทนแรงกดดันจากสหประชาชาติและมหาอำนาจต่างๆ ไม่ไหว ต้องประกาศให้มีประชาธิปไตย และเนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของสหภาพแอฟริกาใต้
สิ่งที่ทั่วโลกยกย่องแมนเดลาอย่างล้นหลามก็เพราะมีความวิตกกังวลกันว่า เมื่อสหภาพแอฟริกาใต้ได้ถูกปลดปล่อยจากรัฐบาลคนผิวขาวแล้ว รัฐบาลคนผิวดำคงจะลุกฮือขึ้นเข่นฆ่าแก้แค้น บ้านเมืองคงจะลุกเป็นไฟ คนผิวขาวแอฟริกาใต้ก็คิดเช่นนั้น จึงพากันอพยพออกนอกประเทศไปออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้จำนวนมาก
แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ แมนเดลาเรียกร้องชาวแอฟริกาใต้ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ร่วมกันสร้าง "ชาติสีรุ้ง" ให้กับแอฟริกาใต้ และก็สามารถทำได้สำเร็จ การผ่องถ่ายอำนาจจากรัฐบาลเดอ เคลิร์ก มาเป็นรัฐบาลร่วมกันระหว่างผิวขาวกับผิวดำเพื่อดำเนินการเลือกตั้ง จนทั้งสองคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันในปี 1993 และต้องถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สวยงามอย่างยิ่งของมนุษยชาติ
ในที่สุดคนผิวขาวหลายคนก็อพยพกลับมาอยู่ที่แอฟริกาใต้ตามเดิม เมื่อเห็นว่าประเทศชาติภายหลังจากมีการโอนถ่ายอำนาจ จากรัฐบาลของคนผิวขาวส่วนน้อยมาเป็นรัฐบาลของประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนผิวดำ เหตุการณ์เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย บรรดาบริษัท ธุรกิจต่างๆ ของคนผิวขาวก็ยังอยู่ บรรดาข้าราชการทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจที่ระดับสูง ก็ยังเป็นชาวผิวขาวอยู่ การโยกย้ายก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป กว่าจะเป็นรัฐบาลของคนผิวดำจริงๆ หมดก็คงจะต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย ความเหลื่อมล้ำในทางการเมืองกำลังค่อยๆ หมดไป แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจก็คงจะดำรงอยู่ต่อไปอีกนาน
การที่ชาวโลกต่างให้เกียรติแก่อดีตประธานา ธิบดีเนลสัน แมนเดลา จึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมนานาชาติได้ก้าวพ้นความล้าหลังทางการเมืองไปอีกหนึ่งก้าว
อุดมการณ์ประชาธิปไตยอันเป็นพื้นฐานของสังคมโลก อันได้แก่ สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ ได้กลายเป็นโลกาภิวัตน์ทางการเมือง หรือ Political Globalization หรือ Democratic globalization ได้ก้าวมาอีกก้าวหนึ่งแล้ว
งานศพของท่านแมนเดลา ซึ่งจะมีประมุขของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน หรืออดีตเลขาธิการสหประชาชาติกว่า 70 ประเทศมาร่วมในพิธีศพ ย่อมเป็นสัญลักษณ์ของมวลมนุษยชาติที่ยืนยันอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ของความเท่าเทียมกัน อุดมการณ์ของการเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเดียวกัน สิทธิเสรีภาพทางการเมืองของทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ โลกาภิวัตน์ทางการเมืองจึงน่าจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมตะวันออกหรือในทวีปเอเชียก็มีวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่ง ยังห่างไกลกว่าสังคมในยุโรปและอเมริกา กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เป็นสังคมที่ใช้ความรู้สึกมากกว่าปัญญา ยังยึดตัวบุคคลมากกว่าระบบ ยึดเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนมากกว่าวิธีการ หลายครั้งก็ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป้าหมายคืออะไร และวิธีการที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นถูกต้องหรือไม่
ในสังคมตะวันตกที่พากันยกย่องท่านเนลสัน แมนเดลา นั้นมีเป้าหมายและอุดมการณ์ที่ชัดเจน ประชาธิปไตยความเท่าเทียมกันและเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ อาจจะมากกว่าประชาชนชาวแอฟริกา
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น "กระแสโลกาภิวัตน์ทางการเมือง" จากตะวันตกก็คงจะเป็นกระแสกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิธีคิด วิธีปฏิบัติของคนในโลกตะวันออกได้
หลังจากปรากฏการณ์ "เทียน อัน เหมิน" ในจีน การสลายการชุมนุมในพม่า และเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อีก
เหตุที่ความคิดโลกาภิวัตน์ทางการเมืองจะถูกกระแสกดดันให้เกิดขึ้นก็เพราะ กระแสโลกาภิวัตน์ทางการค้าและการลงทุนได้เกิดขึ้นนำหน้าไปกว่า 2 ทศวรรษแล้ว ผลประโยชน์ของชาติต่างๆ ได้แทรกซึมอยู่ในชาติต่างๆ อย่างแน่นหนามากขึ้น ผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนที่ไม่มีพรมแดนจะบีบบังคับให้ชาติต่างๆ ต้องสถาปนาระบบการเมือง ระบบกฎหมาย ระบบตุลาการให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ทางการค้าและการลงทุนด้วย ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น AEC เท่านั้น
ทีแรกนึกว่าเราพร้อมกว่าพม่า บัดนี้ไม่แน่ใจเสียแล้ว
ที่มา:มติชนออนไลน์.
ในขณะที่บ้านเรากำลังร้อนระอุด้วยความแตกแยกทางความคิดจนไม่สามารถจะดูข่าวทางโทรทัศน์ได้ เพราะฝูงชนที่กำลังถูกปลุกปั่นจนลืมหลักการ ลืมเหตุผล กลายเป็นจิตวิทยาฝูงชน จะพูดจะเขียนอะไรก็คงจะไม่เป็นประโยชน์อะไรมากนักในยามนี้ นอกจากการสมัครเป็น "ไทยเฉย" หรือ "ไทยงง" น่าจะดีที่สุด เพราะไม่ทำให้เกิดอารมณ์เครียด ทำให้เสียสุขภาพ
ในขณะที่บ้านเรากำลังอยู่ในภาวะตึงเครียด ก้าวร้าว ดุดัน ราวกับกำลังเตรียมจะทำสงครามห้ำหั่นกันนั้น ก็มีข่าวที่น่าเศร้าสลดใจเกิดขึ้น คือข่าวการถึงอสัญกรรมของอดีตประธานาธิบดีของสหภาพแอฟริกาใต้ ที่ผู้นำทั่วโลกรวมทั้งอดีตคู่ต่อสู้เก่า คืออดีตประธานาธิบดีของชาวผิวขาว รัฐบาลของคนฝ่ายข้างน้อยที่ปกครองชาวผิวดำ เดอ เคลิร์ก ก็ได้ส่งสารมาแสดงความเสียใจ
ความยิ่งใหญ่ของนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เฉพาะคนผิวดำกับคนผิวขาวในแอฟริกาใต้เท่านั้น แต่รวมถึงมวลมนุษยชาติด้วย เขาเคยแสดงวิสัยทัศน์ว่าต้องการเห็นสหภาพแอฟริกาใต้เป็น "ชาติสายรุ้ง" ที่ประกอบด้วยคนหลายสีผิว หลายเชื้อชาติ หลายศาสนา มาร่วมอยู่ในชาติเดียวกัน
ในงานไว้อาลัยอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา ที่สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงโจฮันเนสเบิร์ก เป็นงานไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ เพราะมีผู้นำคนสำคัญๆ ทั่วโลก เช่น พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ประธานาธิบดีประเทศต่างๆ นายกรัฐมนตรีจากหลายประเทศ รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มุน ด้วย ซึ่งต้องถือว่าเป็นงานศพที่ยิ่งใหญ่อาจจะใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 นี้ก็ได้
แมนเดลา มีอายุยืนยาวถึง 95 ปี เกิดในปี 1918 ในแอฟริกาใต้ เริ่มงานทั้งบนดินและใต้ดิน ต่อสู้กับระบอบการปกครองแบ่งแยกผิวหรือที่เรียกว่า "Apartheid" อย่างรุนแรง แมนเดลาถูกจับติดคุกอยู่ถึง 27 ปีเต็ม
แอฟริกาใต้นั้นเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน โดยการอพยพเข้ามาของชาวอังกฤษและชาวยุโรปผิวขาวเมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว เพราะเป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่ทองคำและอื่นๆ มีภูมิศาสตร์ที่ตั้งเป็นแหลมยื่นไปในมหาสมุทรที่เป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างยุโรปกับเอเชีย ก่อนที่จะมีการขุดคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงย่นระยะทางเดินเรือเป็นอันมาก
เมื่อได้รับเอกราช คนผิวขาวซึ่งมีจำนวนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด เข้ายึดอำนาจการปกครอง สร้างรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แบ่งแยกผิว แยกกันอยู่ การสมสู่ระหว่างผิวถือเป็นความผิดทางอาญา รถไฟ รถเมล์ และยานพาหนะต่างๆ ก็แยกกัน ความผิดทางอาญาคนผิวขาวกับคนผิวดำก็ได้รับการปฏิบัติแตกต่างกัน เสมือนว่าคนผิวดำมิใช่มนุษย์ อย่าว่าแต่จะเป็นประชาชนเลย
เมื่อมีกระแสต่อต้านจากคนผิวดำ รัฐบาลของคนผิวขาวส่วนน้อยก็ใช้กำลังเข้าปราบปรามครั้งแล้วครั้งเล่า การถูกจองจำโดยคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต ไม่ได้ทำให้อิทธิพลการต่อสู้ของเขาเปลี่ยนไป จนในที่สุดรัฐบาลเสียงข้างน้อยของคนผิวขาวก็ต้องยอมปลดปล่อยให้ออกจากคุกในปี 1990 และรัฐบาลนายเดอ เคลิร์ก ก็ทนแรงกดดันจากสหประชาชาติและมหาอำนาจต่างๆ ไม่ไหว ต้องประกาศให้มีประชาธิปไตย และเนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของสหภาพแอฟริกาใต้
สิ่งที่ทั่วโลกยกย่องแมนเดลาอย่างล้นหลามก็เพราะมีความวิตกกังวลกันว่า เมื่อสหภาพแอฟริกาใต้ได้ถูกปลดปล่อยจากรัฐบาลคนผิวขาวแล้ว รัฐบาลคนผิวดำคงจะลุกฮือขึ้นเข่นฆ่าแก้แค้น บ้านเมืองคงจะลุกเป็นไฟ คนผิวขาวแอฟริกาใต้ก็คิดเช่นนั้น จึงพากันอพยพออกนอกประเทศไปออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้จำนวนมาก
แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ แมนเดลาเรียกร้องชาวแอฟริกาใต้ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ร่วมกันสร้าง "ชาติสีรุ้ง" ให้กับแอฟริกาใต้ และก็สามารถทำได้สำเร็จ การผ่องถ่ายอำนาจจากรัฐบาลเดอ เคลิร์ก มาเป็นรัฐบาลร่วมกันระหว่างผิวขาวกับผิวดำเพื่อดำเนินการเลือกตั้ง จนทั้งสองคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันในปี 1993 และต้องถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สวยงามอย่างยิ่งของมนุษยชาติ
ในที่สุดคนผิวขาวหลายคนก็อพยพกลับมาอยู่ที่แอฟริกาใต้ตามเดิม เมื่อเห็นว่าประเทศชาติภายหลังจากมีการโอนถ่ายอำนาจ จากรัฐบาลของคนผิวขาวส่วนน้อยมาเป็นรัฐบาลของประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนผิวดำ เหตุการณ์เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย บรรดาบริษัท ธุรกิจต่างๆ ของคนผิวขาวก็ยังอยู่ บรรดาข้าราชการทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจที่ระดับสูง ก็ยังเป็นชาวผิวขาวอยู่ การโยกย้ายก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป กว่าจะเป็นรัฐบาลของคนผิวดำจริงๆ หมดก็คงจะต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย ความเหลื่อมล้ำในทางการเมืองกำลังค่อยๆ หมดไป แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจก็คงจะดำรงอยู่ต่อไปอีกนาน
การที่ชาวโลกต่างให้เกียรติแก่อดีตประธานา ธิบดีเนลสัน แมนเดลา จึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมนานาชาติได้ก้าวพ้นความล้าหลังทางการเมืองไปอีกหนึ่งก้าว
อุดมการณ์ประชาธิปไตยอันเป็นพื้นฐานของสังคมโลก อันได้แก่ สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ ได้กลายเป็นโลกาภิวัตน์ทางการเมือง หรือ Political Globalization หรือ Democratic globalization ได้ก้าวมาอีกก้าวหนึ่งแล้ว
งานศพของท่านแมนเดลา ซึ่งจะมีประมุขของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน หรืออดีตเลขาธิการสหประชาชาติกว่า 70 ประเทศมาร่วมในพิธีศพ ย่อมเป็นสัญลักษณ์ของมวลมนุษยชาติที่ยืนยันอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ของความเท่าเทียมกัน อุดมการณ์ของการเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเดียวกัน สิทธิเสรีภาพทางการเมืองของทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ โลกาภิวัตน์ทางการเมืองจึงน่าจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมตะวันออกหรือในทวีปเอเชียก็มีวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่ง ยังห่างไกลกว่าสังคมในยุโรปและอเมริกา กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เป็นสังคมที่ใช้ความรู้สึกมากกว่าปัญญา ยังยึดตัวบุคคลมากกว่าระบบ ยึดเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนมากกว่าวิธีการ หลายครั้งก็ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป้าหมายคืออะไร และวิธีการที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นถูกต้องหรือไม่
ในสังคมตะวันตกที่พากันยกย่องท่านเนลสัน แมนเดลา นั้นมีเป้าหมายและอุดมการณ์ที่ชัดเจน ประชาธิปไตยความเท่าเทียมกันและเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ อาจจะมากกว่าประชาชนชาวแอฟริกา
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น "กระแสโลกาภิวัตน์ทางการเมือง" จากตะวันตกก็คงจะเป็นกระแสกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิธีคิด วิธีปฏิบัติของคนในโลกตะวันออกได้
หลังจากปรากฏการณ์ "เทียน อัน เหมิน" ในจีน การสลายการชุมนุมในพม่า และเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อีก
เหตุที่ความคิดโลกาภิวัตน์ทางการเมืองจะถูกกระแสกดดันให้เกิดขึ้นก็เพราะ กระแสโลกาภิวัตน์ทางการค้าและการลงทุนได้เกิดขึ้นนำหน้าไปกว่า 2 ทศวรรษแล้ว ผลประโยชน์ของชาติต่างๆ ได้แทรกซึมอยู่ในชาติต่างๆ อย่างแน่นหนามากขึ้น ผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนที่ไม่มีพรมแดนจะบีบบังคับให้ชาติต่างๆ ต้องสถาปนาระบบการเมือง ระบบกฎหมาย ระบบตุลาการให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ทางการค้าและการลงทุนด้วย ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น AEC เท่านั้น
ทีแรกนึกว่าเราพร้อมกว่าพม่า บัดนี้ไม่แน่ใจเสียแล้ว
ที่มา:มติชนออนไลน์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น