โดย.พงศ์เทพ เทพกาญจนา
สะท้อนท่ามกลางการเมืองขัดแย้งรุนแรงฝ่ายท่านเป็นคนเขียนกติกาเอง พวกผมไม่เคยทำเลย รัฐธรรมนูญปี50ที่พวกท่านยกร่าง นายกฯไม่เกี่ยวเลย
ท่ามกลางความสับสนอลหม่านทางการเมืองที่ขยับเข้าใกล้คำว่า "สงครามกลางเมือง" เข้าไปทุกที ดูเหมือนทุกฝ่ายจะมีถ้อยคำ วลี ที่เป็นเหตุผลสนับสนุนและอธิบายจุดยืนของฝ่ายตนมากมาย
บางเหตุผลก็พอฟังได้ แต่หลายเหตุผลก็บิดเบือน...
การรู้เท่าทันเหตุผลเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การจะรู้เท่าทันได้ ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานการณ์ ณ ปัจจุบันเสียก่อน
แต่ประวัติศาสตร์ก็มีหลายด้าน หลายมุมมอง วันนี้ลองมาฟังมุมมองของคนในรัฐบาลอย่าง พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับภาระหนักอึ้งในช่วงนี้ ทั้งงานด้านกฎหมายและการปฏิรูปประเทศ
เราไม่เคยร่างกติกา
ประเด็นที่ พงศ์เทพ ตั้งคำถามย้อนกลับก่อนที่จะตอบคำถามแรกเรื่องโมเดล "สภาปฏิรูปประเทศ" ก็คือ เขาไม่รู้ว่า "กติกาการเลือกตั้ง" ที่ผู้ชุมนุมโดยเฉพาะแกนนำ กปปส. หรือคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต้องการให้ปฏิรูปและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง ถึงขนาดยอมให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ไม่ได้นั้น หมายถึงอะไรกันแน่ เพราะแกนนำ กปปส.คือผู้ที่ยกร่างกติกาการเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
"ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รัฐธรรมนูญปี 50 นั้นพรรคเพื่อไทยไม่ได้ร่วมยกร่าง นักวิชาการที่ร่วมร่าง ซึ่งในรัฐธรรมนูญก็มีกติกาการเลือกตั้งด้วย วันนี้นักวิชาการเหล่านั้นบางส่วนก็ขึ้นเวที กปปส. บางส่วนก็อยู่ในองค์กรอิสระ เช่น ท่านจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"
"ตอนที่จะมีการยกร่างก็มีการเชิญผู้แทนพรรคการเมืองไปคุยในลักษณะขอรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกติกาการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคการเมืองทุกพรรคก็เสนอรูปแบบเขตเดียวคนเดียว ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ที่เสนอแบบพวง (เขตใหญ่ 3 คน) ปรากฏว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยกร่างกติกาการเลือกตั้งไปแบบนั้น รวมทั้งระบบบัญชีรายชื่อแบบใหม่ที่ไม่ได้เป็นบัญชีเดียวทั่วประเทศ แต่เป็นแบบสัดส่วนแยกรายภาค"
พงศ์เทพ อธิบายว่า กติกานี้ใช้ในการเลือกตั้ง 1 ครั้ง เมื่อ 23 ธ.ค.50 พรรคพลังประชาชน (พรรคใหม่ของสมาชิกพรรคไทยรักไทย) ก็ชนะการเลือกตั้ง ต่อมามีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งปี 54 ก็แก้รัฐธรรมนูญ กลับไปใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว และในระบบบัญชีรายชื่อก็กลับไปเป็นบัญชีเดียวทั่วประเทศ แต่เพิ่มเป็น 125 คน
"กติกาใหม่นี้เลขาธิการ กปปส. คือ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ นี่แหละเป็นคนแก้เอง ทีนี้พอมาพูดถึงการปฏิรูประบบเลือกตั้ง ผมก็เลยไม่เข้าใจว่าจะปฏิรูปอะไร ปฏิรูปไปเป็นแบบไหนอีก เพราะฝ่ายท่านเป็นคนเขียนกติกาทั้งหมด พวกผมไม่เคยทำเลย แม้แต่กติกาการเป็นรัฐบาลรักษาการหลังยุบสภาเราก็ไม่ได้เป็นคนยกร่าง แต่เป็นรัฐธรรมนูญปี 50 ที่พวกท่านยกร่าง ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลย"
"วันนี้คุณสุเทพบอกว่ามีมวลมหาประชาชนสนับสนุนท่าน ถ้าหมายความว่าเป็นเสียงข้างมากที่เห็นด้วยกับท่าน ทำไมกลุ่มของท่านไม่ไปสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้ง จะได้ชนะเลือกตั้ง จากนั้นท่านจะทำอะไรก็ได้ ปฏิรูปอะไรก็ได้ แต่ก็น่าตั้งคำถามว่าพรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นรัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลชุดนี้ ได้ปฏิรูปอะไรบ้าง วันนี้ท่านบอกปฏิรูปได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ตอนนั้นท่านอยู่ในอำนาจ 2 ปีกว่าเกือบ 3 ปี ก็น่าจะทำเสร็จแล้วสิ"
ปฏิรูป...งานระยะยาว
พงศ์เทพ ซึ่งเคยรับราชการเป็นผู้พิพากษา เล่าว่า เรื่องปฏิรูปนั้น จริงๆ แล้วไม่สามารถทำให้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆ
"ผมเคยรับราชการในศาลยุติธรรม เคยผลักดันเรื่องปฏิรูปในองค์กรศาล ใช้เวลา 5-6 ปีกว่าจะเห็นผลบางส่วน เช่น ให้สามารถตรวจสอบ ก.ต. (คณะกรรมการตุลาการ) ได้ ตอนที่รับราชการอยู่ผมทำเรื่องนี้ แต่เสนอไปก็เงียบ มาเป็นผลในเวลาหลายปีต่อมา ซึ่งต้องใช้เวลานาน"
"หรืออย่างการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญปี 40 จากนั้นก็มีพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แต่วันนี้ผ่านมาสิบกว่าปีแล้ว ถามว่าการกระจายอำนาจเสร็จหรือยัง เพราะวันนี้ก็ยังพูดกันอยู่ แม้แต่บนเวทีของ กปปส.เอง"
"หรือการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน มีการตั้ง ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญปี 40 ทำไมวันนี้ยังต้องมาพูดถึงปัญหาการทุจริตกันอยู่ ทั้งๆ ที่เราเขียนกฎหมายให้อำนาจ ป.ป.ช.เยอะมาก สร้างกลไกที่ดีที่สุดให้ ผมว่าต้องย้อนกลับไปดูว่ากลไกมีปัญหาอะไรหรือเปล่า ทำไมเราให้อำนาจ ป.ป.ช.เต็มที่จึงยังมีการทุจริตกันอยู่ คดีค้างเก่าก็เยอะ และเยอะกว่านี้มากช่วงก่อนที่จะแยกตั้ง ป.ป.ท. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม) ซึ่งการที่มีคดีค้างเก่ามากย่อมมีผลต่อการปราบปรามการทุจริตด้วย"
พงศ์เทพ สรุปแนวคิดของเขาว่า การปฏิรูปประเทศไม่ว่าเรื่องอะไร ย่อมเนรมิตให้เสร็จไม่ได้ใน 1-2 ปี แต่บางอย่างบางประเด็นที่ทำได้ทันที ก็ได้ทำไปแล้ว
"จริงๆ การปรับระบบการเลือกตั้งผมว่าทำได้เร็ว แต่ไม่ใช่ปรับให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งชนะเลือกตั้งนะ เพราะคงไม่มีเหตุมีผลเพียงพอ ถ้าปรับเพื่อให้การเลือกตั้งสะท้อนเสียงของคนส่วนใหญ่ รับผิดชอบต่อคนที่ลงคะแนนให้ อย่างนี้พอทำได้ภายใน 1 ปี แต่ก็ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญด้วย ไม่รู้ต้องไปเชิญศาลรัฐธรรมนูญมาร่วมด้วยหรือเปล่า เพราะถ้าทุกคนเห็นตรงกันหมด แต่ศาลท่านไม่ให้แก้จะทำอย่างไร"
"จริงๆ แล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มี 3 คนที่ร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย แล้วก็มาเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ที่อำนาจบังคับบัญชาคนทั้งประเทศในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างนี้น่าจะเขียนเลยว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบก่อน แต่นี่ในรัฐธรรมนูญกลับไม่เขียนไว้ ซึ่งแตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติที่ระบุไว้ชัดว่าสามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไม่มีเขียนไว้ ก็แสดงว่าไม่ต้องส่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเหตุเป็นผล เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรเสียก็ต้องขัดกับรัฐธรรมนูญเดิมอยู่แล้ว"
"ทุกวันนี้มีการแสดงความเห็นที่ผมเองก็งงๆ อยู่เหมือนกัน เช่น บางท่านพูดแบบไม่เชื่อถือประชาชน ต่อต้านการเลือกตั้ง ส.ว.ด้วยซ้ำ แต่กลับจะให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด อย่างนี้มันจะขัดกันไหม"
สภาปฏิรูป...แค่ตุ๊กตา
กับโมเดลสภาปฏิรูปประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา และถูกวิจารณ์ในทางลบค่อนข้างมาก พงศ์เทพ บอกว่า ทุกฝ่ายต้องการเห็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปและเริ่มได้เร็ว รัฐบาลจึงให้ภาคราชการไปพิจารณารูปแบบหลังจากที่มีเครือข่าย 7 องค์กรภาคเอกชนเสนอประเด็นขึ้นมา ฝ่ายราชการก็ไปทำมาว่าสมาชิกสภาปฏิรูปจะมาจากไหน มีกระบวนการได้มาอย่างไรในแบบที่เป็นไปได้ แล้วก็เสนอขึ้นมา จากนั้นก็ส่งให้ภาคส่วนต่างๆ ได้พิจารณา รวมทั้งภาคเอกชนด้วย แต่ที่เสนอยังถือเป็นเพียงตุ๊กตาว่าถ้าเราตั้งตัวแทนสาขาอาชีพไว้ที่ 2,000 คน ที่มาจะเป็นอย่างไร แล้วสมาชิกสภาปฏิรูปจริงๆ ที่มี 499 คน จะมาอย่างไร
"ฝ่ายราชการก็เสนอมาให้มีคณะกรรมการสรรหา 11 คน ประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รวมทั้งกองทัพ ให้คนเหล่านี้มาวางกรอบตัวแทนสาขาอาชีพ มิฉะนั้นก็จะครหาว่ารัฐบาลเลือกเองอีก จะเห็นได้ว่ารูปแบบที่เสนอ รัฐบาลไม่ได้ยุ่งเลย"
"แต่พอเปิดเผยออกมาก็มีคนตั้งข้อสงสัย เราอยากจะชี้แจงว่านี่เป็นแค่ตุ๊กตา คณะกรรมการสรรหา 11 คน จะเพิ่มเป็น 12-13 คนก็ได้ หรือตัดเหลือ 9 คนก็ได้ ก็สามารถแสดงความเห็นเข้ามา แต่ไม่มีคนของรัฐบาลอยู่ด้วยแน่นอน สาเหตุที่เราต้องมีตุ๊กตา เพราะไม่อยากพูดลอยๆ ว่ามีสภาปฏิรูป แล้วแต่ละคนก็คิดไปคนละอย่าง"
"ที่ผ่านมามีผลการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปด้านต่างๆ มากมาย สิ่งไหนที่ทำได้เลยก็ทำไป ที่ทำไปแล้วก็มี เช่น ปฏิรูปการศึกษา แค่พูดคงไม่ได้ ต้องมีคนไปทำต่ออีกเยอะ อย่างการยกระดับความรู้เด็กไทย จะทำอย่างไร ไปอ่านรายงานดูได้ บางเรื่องก็เขียนไม่ชัดเจน ต้องศึกษาเพิ่มก็มี หรือให้คนไปทำต่อ แต่บางอย่างที่มีรายละเอียดก็ทำได้ทันที"
ส่วนที่มีการเสนอให้พรรคการเมืองลงสัตยาบันว่าจะเดินหน้าปฏิรูปประเทศไม่บิดพลิ้วนั้น พงศ์เทพ บอกว่า เมื่อคนไทยมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันว่าจะปฏิรูป ทุกพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งก็เห็นด้วย ก็ต้องมาขับเคลื่อนร่วมกัน ไม่ว่าใครจะชนะเลือกตั้งก็ตาม
ปฏิรูปคน-ค่านิยม
ในฐานะที่คร่ำหวอดในแวดวงกฎหมาย และเคยผ่านงานปฏิรูปมา พงศ์เทพ บอกว่า การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดคือปฏิรูปคน ค่านิยม และทัศนคติ
"อย่างประเทศสิงคโปร์ เมื่อก่อนมีปัญหาทุจริตมาก แล้วเขาก็แก้ทั้งระบบ แล้วเอาคนดีเข้าไปทำงาน สุดท้ายก็แก้ทุจริตได้สำเร็จ ผมอยากถามว่าถ้าข้าราชการเงินเดือนไม่พอกิน จะไม่ให้โกงคงยาก เพราะฉะนั้นนอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ต้องปรับปรุงเรื่องเงินเดือนข้าราชการด้วย อย่างนี้เป็นต้น"
"นอกจากนั้นยังต้องปฏิรูปทัศนคติของคนในประเทศ ค่านิยมของคน เช่น การทุจริต มันมีทั้งผู้รับและผู้ให้ ผู้รับมีหลายส่วน เช่น นัการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหมด ทุกคนมีโอกาสใช้อำนาจอย่างบิดเบือนทั้งสิ้น ส่วนผู้ให้ก็อาจจะเป็นภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ประชาชนทั่วไป การทุจริตนั้น ถ้าไม่มีผู้ให้ก็ไม่เกิดขึ้น ขณะที่คนรับ แค่เรียกรับก็ผิดแล้ว ด้วยเหตุนี้จะแก้ทุจริตจึงต้องแก้ทั้ง 2 ด้าน เพราะมีด้านคนให้ด้วย เรื่องแบบนี้จึงอยู่ที่ค่านิยมด้วยเช่นกัน"
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลเสนอโมเดลปฏิรูปข้ามขั้น เพราะยังไม่ได้เปิดเวทีกลางให้คู่ขัดแย้งร่วมแสดงความคิดเห็นนั้น พงศ์เทพ บอกว่า เรื่อง "เวทีกลาง" เป็นประเด็นที่ภาคเอกชนเสนอขึ้นมา รัฐบาลไม่ได้เสนอเอง รัฐบาลแค่อำนวยความสะดวกและคิดรูปแบบเพื่อให้เดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งรูปแบบที่ว่านี้เป็นเพียงตุ๊กตา สามารถไปคิดรูปแบบอื่นมาก็ได้
"เราก็ช่วยคิดให้ ไม่อย่างนั้นเอกชนก็เหนื่อย คุณขับเคลื่อนเองทั้งหมดก็ได้ รัฐบาลไม่ยุ่ง แต่พอรัฐบาลเข้าไปช่วย ก็จะสามารถใช้เครื่องไม้เครื่องมือของรัฐได้ งบประมาณก็มีสนับสนุน ไม่ต้องเสียเงินเอง"
ในประเด็นที่มีนักกฎหมายหลายสำนักระบุว่า ข้อเสนอตั้งสภาปฏิรูปของรัฐบาลขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 181 เพราะมีการใช้งบกลางและผูกพันรัฐบาลชุดต่อไปนั้น พงศ์เทพ ยืนยันว่า เราไม่ได้ตั้งงบใหม่ ไม่ได้ใช้งบกลาง รัฐบาลดูรัฐธรรมนูญหมดแล้ว ส่วนกลไกที่จะทำงานก็ดูแล้วว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้เรื่องใดต้องขออนุญาต กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ก่อน เราก็ขอ
สำหรับเรื่องการผูกพันรัฐบาลชุดต่อไป เราไม่ได้ผูกพัน เราแค่ให้รัฐบาลชุดต่อไปพิจารณา ถ้าคิดว่าดีก็เดินต่อ ตอนนี้ทุกพรรคการเมืองเห็นด้วย เชื่อว่าจะเป็นน้ำหนักมากขึ้นในการสานงานต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------
สะท้อนท่ามกลางการเมืองขัดแย้งรุนแรงฝ่ายท่านเป็นคนเขียนกติกาเอง พวกผมไม่เคยทำเลย รัฐธรรมนูญปี50ที่พวกท่านยกร่าง นายกฯไม่เกี่ยวเลย
ท่ามกลางความสับสนอลหม่านทางการเมืองที่ขยับเข้าใกล้คำว่า "สงครามกลางเมือง" เข้าไปทุกที ดูเหมือนทุกฝ่ายจะมีถ้อยคำ วลี ที่เป็นเหตุผลสนับสนุนและอธิบายจุดยืนของฝ่ายตนมากมาย
บางเหตุผลก็พอฟังได้ แต่หลายเหตุผลก็บิดเบือน...
การรู้เท่าทันเหตุผลเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การจะรู้เท่าทันได้ ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานการณ์ ณ ปัจจุบันเสียก่อน
แต่ประวัติศาสตร์ก็มีหลายด้าน หลายมุมมอง วันนี้ลองมาฟังมุมมองของคนในรัฐบาลอย่าง พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับภาระหนักอึ้งในช่วงนี้ ทั้งงานด้านกฎหมายและการปฏิรูปประเทศ
เราไม่เคยร่างกติกา
ประเด็นที่ พงศ์เทพ ตั้งคำถามย้อนกลับก่อนที่จะตอบคำถามแรกเรื่องโมเดล "สภาปฏิรูปประเทศ" ก็คือ เขาไม่รู้ว่า "กติกาการเลือกตั้ง" ที่ผู้ชุมนุมโดยเฉพาะแกนนำ กปปส. หรือคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต้องการให้ปฏิรูปและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง ถึงขนาดยอมให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ไม่ได้นั้น หมายถึงอะไรกันแน่ เพราะแกนนำ กปปส.คือผู้ที่ยกร่างกติกาการเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
"ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รัฐธรรมนูญปี 50 นั้นพรรคเพื่อไทยไม่ได้ร่วมยกร่าง นักวิชาการที่ร่วมร่าง ซึ่งในรัฐธรรมนูญก็มีกติกาการเลือกตั้งด้วย วันนี้นักวิชาการเหล่านั้นบางส่วนก็ขึ้นเวที กปปส. บางส่วนก็อยู่ในองค์กรอิสระ เช่น ท่านจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"
"ตอนที่จะมีการยกร่างก็มีการเชิญผู้แทนพรรคการเมืองไปคุยในลักษณะขอรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกติกาการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคการเมืองทุกพรรคก็เสนอรูปแบบเขตเดียวคนเดียว ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ที่เสนอแบบพวง (เขตใหญ่ 3 คน) ปรากฏว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยกร่างกติกาการเลือกตั้งไปแบบนั้น รวมทั้งระบบบัญชีรายชื่อแบบใหม่ที่ไม่ได้เป็นบัญชีเดียวทั่วประเทศ แต่เป็นแบบสัดส่วนแยกรายภาค"
พงศ์เทพ อธิบายว่า กติกานี้ใช้ในการเลือกตั้ง 1 ครั้ง เมื่อ 23 ธ.ค.50 พรรคพลังประชาชน (พรรคใหม่ของสมาชิกพรรคไทยรักไทย) ก็ชนะการเลือกตั้ง ต่อมามีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งปี 54 ก็แก้รัฐธรรมนูญ กลับไปใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว และในระบบบัญชีรายชื่อก็กลับไปเป็นบัญชีเดียวทั่วประเทศ แต่เพิ่มเป็น 125 คน
"กติกาใหม่นี้เลขาธิการ กปปส. คือ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ นี่แหละเป็นคนแก้เอง ทีนี้พอมาพูดถึงการปฏิรูประบบเลือกตั้ง ผมก็เลยไม่เข้าใจว่าจะปฏิรูปอะไร ปฏิรูปไปเป็นแบบไหนอีก เพราะฝ่ายท่านเป็นคนเขียนกติกาทั้งหมด พวกผมไม่เคยทำเลย แม้แต่กติกาการเป็นรัฐบาลรักษาการหลังยุบสภาเราก็ไม่ได้เป็นคนยกร่าง แต่เป็นรัฐธรรมนูญปี 50 ที่พวกท่านยกร่าง ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลย"
"วันนี้คุณสุเทพบอกว่ามีมวลมหาประชาชนสนับสนุนท่าน ถ้าหมายความว่าเป็นเสียงข้างมากที่เห็นด้วยกับท่าน ทำไมกลุ่มของท่านไม่ไปสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้ง จะได้ชนะเลือกตั้ง จากนั้นท่านจะทำอะไรก็ได้ ปฏิรูปอะไรก็ได้ แต่ก็น่าตั้งคำถามว่าพรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นรัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลชุดนี้ ได้ปฏิรูปอะไรบ้าง วันนี้ท่านบอกปฏิรูปได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ตอนนั้นท่านอยู่ในอำนาจ 2 ปีกว่าเกือบ 3 ปี ก็น่าจะทำเสร็จแล้วสิ"
ปฏิรูป...งานระยะยาว
พงศ์เทพ ซึ่งเคยรับราชการเป็นผู้พิพากษา เล่าว่า เรื่องปฏิรูปนั้น จริงๆ แล้วไม่สามารถทำให้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆ
"ผมเคยรับราชการในศาลยุติธรรม เคยผลักดันเรื่องปฏิรูปในองค์กรศาล ใช้เวลา 5-6 ปีกว่าจะเห็นผลบางส่วน เช่น ให้สามารถตรวจสอบ ก.ต. (คณะกรรมการตุลาการ) ได้ ตอนที่รับราชการอยู่ผมทำเรื่องนี้ แต่เสนอไปก็เงียบ มาเป็นผลในเวลาหลายปีต่อมา ซึ่งต้องใช้เวลานาน"
"หรืออย่างการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญปี 40 จากนั้นก็มีพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แต่วันนี้ผ่านมาสิบกว่าปีแล้ว ถามว่าการกระจายอำนาจเสร็จหรือยัง เพราะวันนี้ก็ยังพูดกันอยู่ แม้แต่บนเวทีของ กปปส.เอง"
"หรือการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน มีการตั้ง ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญปี 40 ทำไมวันนี้ยังต้องมาพูดถึงปัญหาการทุจริตกันอยู่ ทั้งๆ ที่เราเขียนกฎหมายให้อำนาจ ป.ป.ช.เยอะมาก สร้างกลไกที่ดีที่สุดให้ ผมว่าต้องย้อนกลับไปดูว่ากลไกมีปัญหาอะไรหรือเปล่า ทำไมเราให้อำนาจ ป.ป.ช.เต็มที่จึงยังมีการทุจริตกันอยู่ คดีค้างเก่าก็เยอะ และเยอะกว่านี้มากช่วงก่อนที่จะแยกตั้ง ป.ป.ท. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม) ซึ่งการที่มีคดีค้างเก่ามากย่อมมีผลต่อการปราบปรามการทุจริตด้วย"
พงศ์เทพ สรุปแนวคิดของเขาว่า การปฏิรูปประเทศไม่ว่าเรื่องอะไร ย่อมเนรมิตให้เสร็จไม่ได้ใน 1-2 ปี แต่บางอย่างบางประเด็นที่ทำได้ทันที ก็ได้ทำไปแล้ว
"จริงๆ การปรับระบบการเลือกตั้งผมว่าทำได้เร็ว แต่ไม่ใช่ปรับให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งชนะเลือกตั้งนะ เพราะคงไม่มีเหตุมีผลเพียงพอ ถ้าปรับเพื่อให้การเลือกตั้งสะท้อนเสียงของคนส่วนใหญ่ รับผิดชอบต่อคนที่ลงคะแนนให้ อย่างนี้พอทำได้ภายใน 1 ปี แต่ก็ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญด้วย ไม่รู้ต้องไปเชิญศาลรัฐธรรมนูญมาร่วมด้วยหรือเปล่า เพราะถ้าทุกคนเห็นตรงกันหมด แต่ศาลท่านไม่ให้แก้จะทำอย่างไร"
"จริงๆ แล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มี 3 คนที่ร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย แล้วก็มาเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ที่อำนาจบังคับบัญชาคนทั้งประเทศในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างนี้น่าจะเขียนเลยว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบก่อน แต่นี่ในรัฐธรรมนูญกลับไม่เขียนไว้ ซึ่งแตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติที่ระบุไว้ชัดว่าสามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไม่มีเขียนไว้ ก็แสดงว่าไม่ต้องส่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเหตุเป็นผล เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรเสียก็ต้องขัดกับรัฐธรรมนูญเดิมอยู่แล้ว"
"ทุกวันนี้มีการแสดงความเห็นที่ผมเองก็งงๆ อยู่เหมือนกัน เช่น บางท่านพูดแบบไม่เชื่อถือประชาชน ต่อต้านการเลือกตั้ง ส.ว.ด้วยซ้ำ แต่กลับจะให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด อย่างนี้มันจะขัดกันไหม"
สภาปฏิรูป...แค่ตุ๊กตา
กับโมเดลสภาปฏิรูปประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา และถูกวิจารณ์ในทางลบค่อนข้างมาก พงศ์เทพ บอกว่า ทุกฝ่ายต้องการเห็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปและเริ่มได้เร็ว รัฐบาลจึงให้ภาคราชการไปพิจารณารูปแบบหลังจากที่มีเครือข่าย 7 องค์กรภาคเอกชนเสนอประเด็นขึ้นมา ฝ่ายราชการก็ไปทำมาว่าสมาชิกสภาปฏิรูปจะมาจากไหน มีกระบวนการได้มาอย่างไรในแบบที่เป็นไปได้ แล้วก็เสนอขึ้นมา จากนั้นก็ส่งให้ภาคส่วนต่างๆ ได้พิจารณา รวมทั้งภาคเอกชนด้วย แต่ที่เสนอยังถือเป็นเพียงตุ๊กตาว่าถ้าเราตั้งตัวแทนสาขาอาชีพไว้ที่ 2,000 คน ที่มาจะเป็นอย่างไร แล้วสมาชิกสภาปฏิรูปจริงๆ ที่มี 499 คน จะมาอย่างไร
"ฝ่ายราชการก็เสนอมาให้มีคณะกรรมการสรรหา 11 คน ประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รวมทั้งกองทัพ ให้คนเหล่านี้มาวางกรอบตัวแทนสาขาอาชีพ มิฉะนั้นก็จะครหาว่ารัฐบาลเลือกเองอีก จะเห็นได้ว่ารูปแบบที่เสนอ รัฐบาลไม่ได้ยุ่งเลย"
"แต่พอเปิดเผยออกมาก็มีคนตั้งข้อสงสัย เราอยากจะชี้แจงว่านี่เป็นแค่ตุ๊กตา คณะกรรมการสรรหา 11 คน จะเพิ่มเป็น 12-13 คนก็ได้ หรือตัดเหลือ 9 คนก็ได้ ก็สามารถแสดงความเห็นเข้ามา แต่ไม่มีคนของรัฐบาลอยู่ด้วยแน่นอน สาเหตุที่เราต้องมีตุ๊กตา เพราะไม่อยากพูดลอยๆ ว่ามีสภาปฏิรูป แล้วแต่ละคนก็คิดไปคนละอย่าง"
"ที่ผ่านมามีผลการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปด้านต่างๆ มากมาย สิ่งไหนที่ทำได้เลยก็ทำไป ที่ทำไปแล้วก็มี เช่น ปฏิรูปการศึกษา แค่พูดคงไม่ได้ ต้องมีคนไปทำต่ออีกเยอะ อย่างการยกระดับความรู้เด็กไทย จะทำอย่างไร ไปอ่านรายงานดูได้ บางเรื่องก็เขียนไม่ชัดเจน ต้องศึกษาเพิ่มก็มี หรือให้คนไปทำต่อ แต่บางอย่างที่มีรายละเอียดก็ทำได้ทันที"
ส่วนที่มีการเสนอให้พรรคการเมืองลงสัตยาบันว่าจะเดินหน้าปฏิรูปประเทศไม่บิดพลิ้วนั้น พงศ์เทพ บอกว่า เมื่อคนไทยมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันว่าจะปฏิรูป ทุกพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งก็เห็นด้วย ก็ต้องมาขับเคลื่อนร่วมกัน ไม่ว่าใครจะชนะเลือกตั้งก็ตาม
ปฏิรูปคน-ค่านิยม
ในฐานะที่คร่ำหวอดในแวดวงกฎหมาย และเคยผ่านงานปฏิรูปมา พงศ์เทพ บอกว่า การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดคือปฏิรูปคน ค่านิยม และทัศนคติ
"อย่างประเทศสิงคโปร์ เมื่อก่อนมีปัญหาทุจริตมาก แล้วเขาก็แก้ทั้งระบบ แล้วเอาคนดีเข้าไปทำงาน สุดท้ายก็แก้ทุจริตได้สำเร็จ ผมอยากถามว่าถ้าข้าราชการเงินเดือนไม่พอกิน จะไม่ให้โกงคงยาก เพราะฉะนั้นนอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ต้องปรับปรุงเรื่องเงินเดือนข้าราชการด้วย อย่างนี้เป็นต้น"
"นอกจากนั้นยังต้องปฏิรูปทัศนคติของคนในประเทศ ค่านิยมของคน เช่น การทุจริต มันมีทั้งผู้รับและผู้ให้ ผู้รับมีหลายส่วน เช่น นัการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหมด ทุกคนมีโอกาสใช้อำนาจอย่างบิดเบือนทั้งสิ้น ส่วนผู้ให้ก็อาจจะเป็นภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ประชาชนทั่วไป การทุจริตนั้น ถ้าไม่มีผู้ให้ก็ไม่เกิดขึ้น ขณะที่คนรับ แค่เรียกรับก็ผิดแล้ว ด้วยเหตุนี้จะแก้ทุจริตจึงต้องแก้ทั้ง 2 ด้าน เพราะมีด้านคนให้ด้วย เรื่องแบบนี้จึงอยู่ที่ค่านิยมด้วยเช่นกัน"
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลเสนอโมเดลปฏิรูปข้ามขั้น เพราะยังไม่ได้เปิดเวทีกลางให้คู่ขัดแย้งร่วมแสดงความคิดเห็นนั้น พงศ์เทพ บอกว่า เรื่อง "เวทีกลาง" เป็นประเด็นที่ภาคเอกชนเสนอขึ้นมา รัฐบาลไม่ได้เสนอเอง รัฐบาลแค่อำนวยความสะดวกและคิดรูปแบบเพื่อให้เดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งรูปแบบที่ว่านี้เป็นเพียงตุ๊กตา สามารถไปคิดรูปแบบอื่นมาก็ได้
"เราก็ช่วยคิดให้ ไม่อย่างนั้นเอกชนก็เหนื่อย คุณขับเคลื่อนเองทั้งหมดก็ได้ รัฐบาลไม่ยุ่ง แต่พอรัฐบาลเข้าไปช่วย ก็จะสามารถใช้เครื่องไม้เครื่องมือของรัฐได้ งบประมาณก็มีสนับสนุน ไม่ต้องเสียเงินเอง"
ในประเด็นที่มีนักกฎหมายหลายสำนักระบุว่า ข้อเสนอตั้งสภาปฏิรูปของรัฐบาลขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 181 เพราะมีการใช้งบกลางและผูกพันรัฐบาลชุดต่อไปนั้น พงศ์เทพ ยืนยันว่า เราไม่ได้ตั้งงบใหม่ ไม่ได้ใช้งบกลาง รัฐบาลดูรัฐธรรมนูญหมดแล้ว ส่วนกลไกที่จะทำงานก็ดูแล้วว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้เรื่องใดต้องขออนุญาต กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ก่อน เราก็ขอ
สำหรับเรื่องการผูกพันรัฐบาลชุดต่อไป เราไม่ได้ผูกพัน เราแค่ให้รัฐบาลชุดต่อไปพิจารณา ถ้าคิดว่าดีก็เดินต่อ ตอนนี้ทุกพรรคการเมืองเห็นด้วย เชื่อว่าจะเป็นน้ำหนักมากขึ้นในการสานงานต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น