ซังซุง. ของเกาหลีใต้เคยเป็นแบรนด์ล้าหลังถูกวางซุกตามซอกมุม ท่ามกลางการอวดโฉมอย่างสง่างามของโซนี่ พลัน! เมื่อ ลี คุน ฮี ประธานบริษัท ซัมซุงไปพบสินค้าของเขาถูกซุกซ่อนอยู่อย่างเหนียมอาย แทนการสิ้นหวัง ท้อแท้ ห่อเหี่ยว เขาคิดกลับด้าน ถึงเวลาต้องผ่าตัดครั้งใหญ่
เขานำนวัตกรรมมาปลุกความอับเฉา เปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่ จากเดิมวิศวกรออกแบบวงจรเสร็จ ฝ่ายดีไซน์ต้องทำแพ็กเกจจิ้งครอบวงจรที่ถูกออก แบบมาเปลี่ยนเป็นฝ่ายดีไซน์ออกแบบก่อน แล้วให้วิศวกรหาทางนำวงจรมากมาย ยัดใส่เข้าไปในทีวีบางเฉียบให้ได้ ดีไซน์กลายเป็นจุดขายของซัมซุง พลิกแบรนด์ที่เกือบจะถูกลืมให้กลับมาผงาดอย่างยิ่งใหญ่ ประดุจนกฟีนิกซ์ฟื้นคืนชีพจากกองไฟ
นวัตกรรมคืออาวุธใหม่ที่จะถูกนำมาห้ำหั่นในสงครามการค้าแห่งศควรรษที่ 21 ใครมีนวัตกรรมเหนือกว่าคู่แข่ง คนนั้นคือผู้ชนะ
กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัด การใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า สินค้าอุตสาห-กรรมจะไม่ใช่แค่สินค้าพื้นฐาน (Commodity) ที่มีอยู่ทั่วไปอีกต่อไป แต่จะเป็นสินค้า ที่มีคุณสมบัติสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ การวิจัยและพัฒนาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เขายกตัวอย่างนวัตกรรมสินค้าและบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน อาทิ นวัตกรรมบ้านแห่งอนาคตที่ช่วยลดการใช้พลังงานในบ้าน ให้ความสบายด้วยระบบป้องกันและระบายความร้อนออกจากตัวอาคาร ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลัง งานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นแหล่งจ่ายกระแส ไฟให้กับบ้านในเวลาปกติ และมีระบบไฟฟ้า สำรองที่ผลิตจาก Fuel Cell ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าหลักดับ
นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในชีวิต เช่น พลาสติก สำหรับบรรจุภัณฑ์ช่วย เก็บรักษาคุณภาพสินค้าให้คงความสดสะอาดได้ยาวนานและปลอดภัยมากขึ้น ขวดน้ำที่มีส่วนผสมจากพืชสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง นวัตกรรม พลาสติกในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อการประหยัดพลังงาน ด้วยคุณสมบัติพิเศษคือน้ำหนักเบา เมื่อนำมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จึงทำให้ประหยัด น้ำมันได้มากขึ้น นวัตกรรมเม็ดพลาสติก PE สำหรับท่อทนแรงดันสูงใช้ในระบบขนส่งน้ำ ก๊าซ และแร่ ใช้งาน 100 ปี รีไซเคิลได้เอง พลาสติกผลิตท่อน้ำแรงดันสูงสามารถดักจับและยับยั้งเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีน้ำที่สะอาดมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ในงาน METALEX 2013 งานแสดงสินค้าเครื่องจักรระดับโลก ก็จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Innovation & Integration for Excellence นวัตกรรม และการบูรณาการสู่ความเป็นเลิศ" มีผู้ประกอบการต่างชาตินำสินค้ามาโชว์มากมาย หนึ่งในนั้นคือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งไต้หวัน
เบอร์ตัน ชิว ที่ปรึกษาอาวุโส สำนัก งานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) กล่าวว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา ไต้หวันคือผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และคาดว่าในปี 2558 ไต้หวัน จะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่อง จักรที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่ารวมกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองจากญี่ปุ่น และเยอรมนี
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือคำกล่าว ของ จัสติน ไต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทยที่บอกว่า "ในบรรดาประเทศแถบอาเซียน ทั้งหมด ประเทศไทยนับเป็นประเทศส่งออกหลักของไต้หวันในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องจักร"
เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ไทยปัจจุบันให้การส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีการค้า การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ล้วนส่งผลดีต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างเสริมให้ไทยคงความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภาคการผลิตของไทยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยความโดดเด่นทางด้านนวัตกรรมและอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
ด้วยนวัตกรรมเหล่านี้ คงพออุ่นใจได้บ้างว่า แม้จะมีปัญหาการ เมือง ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขีดความ สามารถของอุตสาหกรรมไทยน่าจะยังแข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------
เขานำนวัตกรรมมาปลุกความอับเฉา เปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่ จากเดิมวิศวกรออกแบบวงจรเสร็จ ฝ่ายดีไซน์ต้องทำแพ็กเกจจิ้งครอบวงจรที่ถูกออก แบบมาเปลี่ยนเป็นฝ่ายดีไซน์ออกแบบก่อน แล้วให้วิศวกรหาทางนำวงจรมากมาย ยัดใส่เข้าไปในทีวีบางเฉียบให้ได้ ดีไซน์กลายเป็นจุดขายของซัมซุง พลิกแบรนด์ที่เกือบจะถูกลืมให้กลับมาผงาดอย่างยิ่งใหญ่ ประดุจนกฟีนิกซ์ฟื้นคืนชีพจากกองไฟ
นวัตกรรมคืออาวุธใหม่ที่จะถูกนำมาห้ำหั่นในสงครามการค้าแห่งศควรรษที่ 21 ใครมีนวัตกรรมเหนือกว่าคู่แข่ง คนนั้นคือผู้ชนะ
กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัด การใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า สินค้าอุตสาห-กรรมจะไม่ใช่แค่สินค้าพื้นฐาน (Commodity) ที่มีอยู่ทั่วไปอีกต่อไป แต่จะเป็นสินค้า ที่มีคุณสมบัติสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ การวิจัยและพัฒนาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เขายกตัวอย่างนวัตกรรมสินค้าและบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน อาทิ นวัตกรรมบ้านแห่งอนาคตที่ช่วยลดการใช้พลังงานในบ้าน ให้ความสบายด้วยระบบป้องกันและระบายความร้อนออกจากตัวอาคาร ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลัง งานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นแหล่งจ่ายกระแส ไฟให้กับบ้านในเวลาปกติ และมีระบบไฟฟ้า สำรองที่ผลิตจาก Fuel Cell ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าหลักดับ
นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในชีวิต เช่น พลาสติก สำหรับบรรจุภัณฑ์ช่วย เก็บรักษาคุณภาพสินค้าให้คงความสดสะอาดได้ยาวนานและปลอดภัยมากขึ้น ขวดน้ำที่มีส่วนผสมจากพืชสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง นวัตกรรม พลาสติกในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อการประหยัดพลังงาน ด้วยคุณสมบัติพิเศษคือน้ำหนักเบา เมื่อนำมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จึงทำให้ประหยัด น้ำมันได้มากขึ้น นวัตกรรมเม็ดพลาสติก PE สำหรับท่อทนแรงดันสูงใช้ในระบบขนส่งน้ำ ก๊าซ และแร่ ใช้งาน 100 ปี รีไซเคิลได้เอง พลาสติกผลิตท่อน้ำแรงดันสูงสามารถดักจับและยับยั้งเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีน้ำที่สะอาดมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ในงาน METALEX 2013 งานแสดงสินค้าเครื่องจักรระดับโลก ก็จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Innovation & Integration for Excellence นวัตกรรม และการบูรณาการสู่ความเป็นเลิศ" มีผู้ประกอบการต่างชาตินำสินค้ามาโชว์มากมาย หนึ่งในนั้นคือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งไต้หวัน
เบอร์ตัน ชิว ที่ปรึกษาอาวุโส สำนัก งานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) กล่าวว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา ไต้หวันคือผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และคาดว่าในปี 2558 ไต้หวัน จะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่อง จักรที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่ารวมกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองจากญี่ปุ่น และเยอรมนี
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือคำกล่าว ของ จัสติน ไต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทยที่บอกว่า "ในบรรดาประเทศแถบอาเซียน ทั้งหมด ประเทศไทยนับเป็นประเทศส่งออกหลักของไต้หวันในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องจักร"
เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ไทยปัจจุบันให้การส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีการค้า การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ล้วนส่งผลดีต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างเสริมให้ไทยคงความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภาคการผลิตของไทยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยความโดดเด่นทางด้านนวัตกรรมและอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
ด้วยนวัตกรรมเหล่านี้ คงพออุ่นใจได้บ้างว่า แม้จะมีปัญหาการ เมือง ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขีดความ สามารถของอุตสาหกรรมไทยน่าจะยังแข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น