การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของไทยยังถกเถียงกันไม่เลิก หลายกิจการโอดครวญว่า ผลประกอบการที่ตกต่ำวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลพวงจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบค่า แรงขั้นต่ำของไทยกับสิงคโปร์ ยังห่างกันหลายเท่าตัว โดยสิงคโปร์มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดในประเทศอาเซียนทั้งหมด จากการจัดอันดับของหน่วยงานด้านสถิติค่าจ้างแรงงานในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ผู้ใช้แรงงานในสิงคโปร์มีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่ 1,850 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 55,500 บาท โดยคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อวันคือ 61 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,830 บาท
มาเลเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำใกล้เคียงกับไทย คือประมาณ วันละ 300 บาท ส่วนกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เหลือ ยังมีค่าแรงขั้นต่ำค่อนข้างถูกคือ เวียดนาม/กัมพูชา/ลาว วันละประมาณ 100 บาท หรือเฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน พม่าค่าแรงขั้นต่ำวันละประมาณ 60-80 บาท หรือเฉลี่ย 2,400 บาทต่อเดือน
จากการสำรวจพบว่า ประเทศที่มีค่า จ้างขั้นต่ำถูก ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ ด้านฝีมือผลิตสินค้าสู้ประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าไม่ได้ เมื่อประเทศไทยปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จึงเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันให้สูงขึ้น ปัจจุบันธุรกิจใช้ฝีมือระดับกลางถึงสูงจ่ายค่าจ้างมากกว่า 500 บาทต่อวัน ประเทศไทยจึงเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการเข้ามาขุดทองของแรงงานไร้ฝีมือจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
ปัจจุบันมีแรงงานจากอาเซียน โดย เฉพาะกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV เข้ามาทำงานในเมืองไทยอย่างถูกกฎหมายประมาณ 1.4 ล้านคน ในโรงงานสิ่งทอ โรงงานฟอกย้อม โรง งานทำเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยผู้ประกอบการยอมรับว่า การรับแรงงานเหล่านี้เข้ามาทำงานช่วยลดปัญหาการโยกย้ายได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานไทย มีการย้ายงานบ่อยมาก แต่แรงงานต่าง ด้าวไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องดังกล่าว อย่างไร ก็ตาม เพื่อรักษาแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการฝึกฝนจนมีฝีมือทัดเทียมแรงงานไทย ไม่ให้โยกย้ายไปยังโรงงานอื่น ผู้ประกอบการได้มีการเพิ่มสวัสดิการให้เท่าเทียมกับแรงงานไทย รวมถึงมีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมด้านภาษารับการเป็นเออีซีให้ด้วย
สมพล รวยสว่างบุญ ผู้ประสานงานการลงทุนระหว่างประเทศ กล่าวในฐานะที่เดินทางเชื่อมนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในเมืองไทยว่า ไม่เกิน 5 ปีนับ จากนี้ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จะต้องปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับไทย เพื่อรักษา แรงงานเอาไว้ หากยังใช้ระบบค่าแรงขั้นต่ำเหมือนวันนี้ แรงงานจะเลือกมาอยู่ในเมืองไทยแน่นอน
สอดคล้องกับ ซันโตส คูมาร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสที มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ ดิสทริบูชั่น จำกัด ที่กล่าวในฐานะผู้เข้า ไปลงทุนหลายประเทศในอาเซียนว่า เริ่มมองเห็นค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีการปรับขึ้นในหลายอุตสาหกรรม เชื่อว่าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่ม CLMV จะต้องปรับเป็นวันละ 300 บาทเท่ากับไทย และบางบริษัทอาจจ่ายมากกว่านั้น เพื่อรักษาแรงงานเอาไว้
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------------------------
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบค่า แรงขั้นต่ำของไทยกับสิงคโปร์ ยังห่างกันหลายเท่าตัว โดยสิงคโปร์มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดในประเทศอาเซียนทั้งหมด จากการจัดอันดับของหน่วยงานด้านสถิติค่าจ้างแรงงานในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ผู้ใช้แรงงานในสิงคโปร์มีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่ 1,850 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 55,500 บาท โดยคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อวันคือ 61 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,830 บาท
มาเลเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำใกล้เคียงกับไทย คือประมาณ วันละ 300 บาท ส่วนกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เหลือ ยังมีค่าแรงขั้นต่ำค่อนข้างถูกคือ เวียดนาม/กัมพูชา/ลาว วันละประมาณ 100 บาท หรือเฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน พม่าค่าแรงขั้นต่ำวันละประมาณ 60-80 บาท หรือเฉลี่ย 2,400 บาทต่อเดือน
จากการสำรวจพบว่า ประเทศที่มีค่า จ้างขั้นต่ำถูก ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ ด้านฝีมือผลิตสินค้าสู้ประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าไม่ได้ เมื่อประเทศไทยปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จึงเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันให้สูงขึ้น ปัจจุบันธุรกิจใช้ฝีมือระดับกลางถึงสูงจ่ายค่าจ้างมากกว่า 500 บาทต่อวัน ประเทศไทยจึงเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการเข้ามาขุดทองของแรงงานไร้ฝีมือจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
ปัจจุบันมีแรงงานจากอาเซียน โดย เฉพาะกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV เข้ามาทำงานในเมืองไทยอย่างถูกกฎหมายประมาณ 1.4 ล้านคน ในโรงงานสิ่งทอ โรงงานฟอกย้อม โรง งานทำเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยผู้ประกอบการยอมรับว่า การรับแรงงานเหล่านี้เข้ามาทำงานช่วยลดปัญหาการโยกย้ายได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานไทย มีการย้ายงานบ่อยมาก แต่แรงงานต่าง ด้าวไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องดังกล่าว อย่างไร ก็ตาม เพื่อรักษาแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการฝึกฝนจนมีฝีมือทัดเทียมแรงงานไทย ไม่ให้โยกย้ายไปยังโรงงานอื่น ผู้ประกอบการได้มีการเพิ่มสวัสดิการให้เท่าเทียมกับแรงงานไทย รวมถึงมีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมด้านภาษารับการเป็นเออีซีให้ด้วย
สมพล รวยสว่างบุญ ผู้ประสานงานการลงทุนระหว่างประเทศ กล่าวในฐานะที่เดินทางเชื่อมนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในเมืองไทยว่า ไม่เกิน 5 ปีนับ จากนี้ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จะต้องปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับไทย เพื่อรักษา แรงงานเอาไว้ หากยังใช้ระบบค่าแรงขั้นต่ำเหมือนวันนี้ แรงงานจะเลือกมาอยู่ในเมืองไทยแน่นอน
สอดคล้องกับ ซันโตส คูมาร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสที มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ ดิสทริบูชั่น จำกัด ที่กล่าวในฐานะผู้เข้า ไปลงทุนหลายประเทศในอาเซียนว่า เริ่มมองเห็นค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีการปรับขึ้นในหลายอุตสาหกรรม เชื่อว่าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่ม CLMV จะต้องปรับเป็นวันละ 300 บาทเท่ากับไทย และบางบริษัทอาจจ่ายมากกว่านั้น เพื่อรักษาแรงงานเอาไว้
ที่มา.สยามธุรกิจ
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น