ศักยภาพของเชียงรายไม่ใช่ "เพชรในตม" อีกต่อไป เมื่อเหลี่ยมคมได้ถูกเจียระไนให้ส่องประกายกับการเปิดสะพาน ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 "อำเภอเชียงของ-แขวงบ่อแก้ว" เมื่อวันที่ 11 เดือนธันวาคม 2013 หรือ 11-12-13 ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเชียงรายให้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของอาเซียน ระบายสินค้าไทย เข้าสู่สปป.ลาวออกจีนทะลุสู่ตลาดโลก ในขณะเดียวกันก็เป็นการผ่องถ่ายสินค้าจากจีนไปสู่อาเซียน
จึงไม่แปลกที่จะมีกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่เข้าไปกว้านซื้อที่ดินในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากจีนที่ได้ร่วมมือกับทุนไทย จัดตั้งบริษัทลอจิสติกส์ ภายใต้ชื่อ "เจี๋ยวฟงลอจิสติกส์" รวมถึงกลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีน ที่เข้าไปซื้อที่ดินไว้ในพื้นที่อำเภอเชียงของกว่า 3,000 ไร่ เพื่อจัดสร้างเป็นคลังและศูนย์กระจายสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยดำเนินในนามบริษัท ซินเซียง รับเบอร์ จำกัด กลุ่มสหฟาร์มที่เข้าไปตั้งโกดังซื้อข้าว โพดผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่ห้างโลตัส และไทวัสดุในเครือเซ็นทรัลก็ได้เข้า ไปสำรวจพื้นที่แล้ว
นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัท ดอยตุงขนส่ง จำกัด ได้มีการซื้อที่ดิน กว่า 15 ไร่ ในการสร้างสำนักงานแบบครบวงจร บริเวณเส้นทางหลวง หมายเลข 1020 เส้นทางเทิง-เชียงของ เพื่อเชื่อมต่อไปยังเส้นทาง R3A ซึ่งมุ่งสู่สปป.ลาวและเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน
"สยามธุรกิจ" มีโอกาสคุยกับ "ชไมพร เจือเจริญ" กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน อธิบายว่า เมื่อสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 สร้างเสร็จ จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน แนบแน่นขึ้น โดยเฉพาะจีนฝั่งตะวันตกอย่างนครคุณหมิง ซึ่งเป็นเมือง ชายแดนติดกับสปป.ลาว และสปป. ลาวใกล้ชิดกับไทยมาก จะพูดว่าไทยกับคุนหมิงมีพื้นที่ติดกันก็น่าจะได้ การขนส่งสินค้าจากไทยไปคุนหมิงจึงสะดวก โดยขนส่งผ่านอำเภอเชียง ของ จังหวัดเชียงราย ข้ามสะพานไป ยังบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป. ลาว จากนั้นวิ่งไปตามถนน R3A เข้า สิบสองปันนา-เชียงรุ่ง-คุนหมิง
"วันนี้สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชียงของ-บ้านห้วยทราย แขวงบ่อ แก้วสร้างเสร็จแล้ว และเปิดอย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา ทำให้การขนส่งสินค้าผ่านชายแดนด้านนี้รวดเร็วยิ่งขึ้น" กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง กล่าว
เชียงรายถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการลงทุน เนื่องจากมี ชายแดนสำคัญ 3 จุด นั่นคือที่อำเภอแม่สาย เขตติดต่อกับท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ที่อำเภอเชียงของติดกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และอำเภอเชียงแสนติดกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวเช่นดียวกัน
นอกจากมีจุดค้าชายแดนใหญ่ๆ ทั้ง 3 จุดแล้ว ยังมีปัจจัยเอื้ออื่นๆ อีก เช่น การคมนาคมในแม่ น้ำโขง บริเวณท่าเรือแห่งใหม่อำเภอ เชียงแสน ที่เปิดใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา รองรับเรือสินค้าจากจีน และประเทศเพื่อน บ้านใกล้เคียง
สำหรับการค้าชายแดนด้านจังหวัดเชียงรายกับจีนตะวันตกเฉียงใต้สหภาพเมียนมาร์ และสปป. ลาว ปี2555 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 35,977.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูลค่ารวม 29,771.81 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.84 นับได้ว่าเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ค่อนข้างสูง
หากโฟกัสไปในอำเภอเชียงของ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 พบว่ามีการจัดรูปแบบเมืองภายใต้สโลแกน "1 เมือง 2 แบบ" คือ เขตเมืองเก่าจะใช้เป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวเดิม ส่วนพื้นที่เขตเมืองใหม่จะเป็นพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและการขนส่งบนเส้นทางคมนาคมระดับภูมิภาค รองรับการเกิดของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4
หมายความว่าแม้จะมีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมยุคใหม่ ก็จะไม่ทิ้งวัฒนธรรมรากเหง้าเดิม
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม หัวหน้าคณะผู้วิจัยโครงการภูมิวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า เชียงรายเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งเปลี่ยนจากสังคมชาวนาแบบอยู่เป็นกลุ่มมีประเพณีของตัวเองมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ดีที่สุดในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีความอุดมสมบูรณ์ นายทุนอยากเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เราจึงต้องสนับสนุนให้คนท้องถิ่นตื่นตัว มิฉะนั้นจะกลายเป็นสังคมร้อยพ่อพันแม่ ไม่มีการสร้างสำนึกร่วมและบูรณาการทางวัฒนธรรม มีแต่คนเข้ามาขุดทอง เช่นเดียวกับการเข้าอาเซียนเราก็ต้องรู้จักตัวเองก่อน ให้ความสำคัญย้อนไปถึงบรรพบุรุษ ไม่ใช่แค่รู้แต่ภาษาอังกฤษ
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------
จึงไม่แปลกที่จะมีกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่เข้าไปกว้านซื้อที่ดินในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากจีนที่ได้ร่วมมือกับทุนไทย จัดตั้งบริษัทลอจิสติกส์ ภายใต้ชื่อ "เจี๋ยวฟงลอจิสติกส์" รวมถึงกลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีน ที่เข้าไปซื้อที่ดินไว้ในพื้นที่อำเภอเชียงของกว่า 3,000 ไร่ เพื่อจัดสร้างเป็นคลังและศูนย์กระจายสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยดำเนินในนามบริษัท ซินเซียง รับเบอร์ จำกัด กลุ่มสหฟาร์มที่เข้าไปตั้งโกดังซื้อข้าว โพดผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่ห้างโลตัส และไทวัสดุในเครือเซ็นทรัลก็ได้เข้า ไปสำรวจพื้นที่แล้ว
นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัท ดอยตุงขนส่ง จำกัด ได้มีการซื้อที่ดิน กว่า 15 ไร่ ในการสร้างสำนักงานแบบครบวงจร บริเวณเส้นทางหลวง หมายเลข 1020 เส้นทางเทิง-เชียงของ เพื่อเชื่อมต่อไปยังเส้นทาง R3A ซึ่งมุ่งสู่สปป.ลาวและเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน
"สยามธุรกิจ" มีโอกาสคุยกับ "ชไมพร เจือเจริญ" กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน อธิบายว่า เมื่อสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 สร้างเสร็จ จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน แนบแน่นขึ้น โดยเฉพาะจีนฝั่งตะวันตกอย่างนครคุณหมิง ซึ่งเป็นเมือง ชายแดนติดกับสปป.ลาว และสปป. ลาวใกล้ชิดกับไทยมาก จะพูดว่าไทยกับคุนหมิงมีพื้นที่ติดกันก็น่าจะได้ การขนส่งสินค้าจากไทยไปคุนหมิงจึงสะดวก โดยขนส่งผ่านอำเภอเชียง ของ จังหวัดเชียงราย ข้ามสะพานไป ยังบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป. ลาว จากนั้นวิ่งไปตามถนน R3A เข้า สิบสองปันนา-เชียงรุ่ง-คุนหมิง
"วันนี้สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชียงของ-บ้านห้วยทราย แขวงบ่อ แก้วสร้างเสร็จแล้ว และเปิดอย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา ทำให้การขนส่งสินค้าผ่านชายแดนด้านนี้รวดเร็วยิ่งขึ้น" กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง กล่าว
เชียงรายถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการลงทุน เนื่องจากมี ชายแดนสำคัญ 3 จุด นั่นคือที่อำเภอแม่สาย เขตติดต่อกับท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ที่อำเภอเชียงของติดกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และอำเภอเชียงแสนติดกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวเช่นดียวกัน
นอกจากมีจุดค้าชายแดนใหญ่ๆ ทั้ง 3 จุดแล้ว ยังมีปัจจัยเอื้ออื่นๆ อีก เช่น การคมนาคมในแม่ น้ำโขง บริเวณท่าเรือแห่งใหม่อำเภอ เชียงแสน ที่เปิดใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา รองรับเรือสินค้าจากจีน และประเทศเพื่อน บ้านใกล้เคียง
สำหรับการค้าชายแดนด้านจังหวัดเชียงรายกับจีนตะวันตกเฉียงใต้สหภาพเมียนมาร์ และสปป. ลาว ปี2555 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 35,977.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูลค่ารวม 29,771.81 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.84 นับได้ว่าเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ค่อนข้างสูง
หากโฟกัสไปในอำเภอเชียงของ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 พบว่ามีการจัดรูปแบบเมืองภายใต้สโลแกน "1 เมือง 2 แบบ" คือ เขตเมืองเก่าจะใช้เป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวเดิม ส่วนพื้นที่เขตเมืองใหม่จะเป็นพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและการขนส่งบนเส้นทางคมนาคมระดับภูมิภาค รองรับการเกิดของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4
หมายความว่าแม้จะมีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมยุคใหม่ ก็จะไม่ทิ้งวัฒนธรรมรากเหง้าเดิม
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม หัวหน้าคณะผู้วิจัยโครงการภูมิวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า เชียงรายเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งเปลี่ยนจากสังคมชาวนาแบบอยู่เป็นกลุ่มมีประเพณีของตัวเองมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ดีที่สุดในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีความอุดมสมบูรณ์ นายทุนอยากเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เราจึงต้องสนับสนุนให้คนท้องถิ่นตื่นตัว มิฉะนั้นจะกลายเป็นสังคมร้อยพ่อพันแม่ ไม่มีการสร้างสำนึกร่วมและบูรณาการทางวัฒนธรรม มีแต่คนเข้ามาขุดทอง เช่นเดียวกับการเข้าอาเซียนเราก็ต้องรู้จักตัวเองก่อน ให้ความสำคัญย้อนไปถึงบรรพบุรุษ ไม่ใช่แค่รู้แต่ภาษาอังกฤษ
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น