ในช่วงที่ความขัดแย้งทางการเมืองกำลังพุ่งสูง สิ่งที่คนไทยทุกคนต้องการจะรู้คำตอบคงไม่พ้นว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะจบลงเมื่อไร และจบลงอย่างไร
บางคนอาจมีความเห็นว่าความขัดแย้งผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว วิกฤตการณ์นี้กำลังจะคลี่คลายลงในเวลาไม่นาน และกระบวนการฟื้นฟูความเสียหายของประเทศชาติ ไม่ว่าจะในแง่ของชีวิต ทรัพย์สิน ชื่อเสียงในระดับนานาชาติได้เริ่มขึ้น ก่อนที่ประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง แต่อีกหลายๆ คนกลับมีความเห็นต่างจากนั้นว่า ความขัดแย้งครั้งนี้ซับซ้อนกว่าที่เห็น ไม่จบลงง่ายๆ นี่เป็นแค่การ “พักรบ” สักระยะ แต่สุดท้ายแล้ว สังคมที่ประชาชนแตกแยกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจนจะพัฒนาไปสู่ “สงครามกลางเมือง” ขนาดใหญ่ในระยะยาว
บางคนอาจมีความเห็นว่าความขัดแย้งผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว วิกฤตการณ์นี้กำลังจะคลี่คลายลงในเวลาไม่นาน และกระบวนการฟื้นฟูความเสียหายของประเทศชาติ ไม่ว่าจะในแง่ของชีวิต ทรัพย์สิน ชื่อเสียงในระดับนานาชาติได้เริ่มขึ้น ก่อนที่ประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง แต่อีกหลายๆ คนกลับมีความเห็นต่างจากนั้นว่า ความขัดแย้งครั้งนี้ซับซ้อนกว่าที่เห็น ไม่จบลงง่ายๆ นี่เป็นแค่การ “พักรบ” สักระยะ แต่สุดท้ายแล้ว สังคมที่ประชาชนแตกแยกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจนจะพัฒนาไปสู่ “สงครามกลางเมือง” ขนาดใหญ่ในระยะยาว
ตามนิยามโดยทั่วไปแล้ว สงครามกลางเมือง (civil war) หมายถึงสงครามที่เกิดภายในขอบเขตของประเทศหรือรัฐเพียงแห่งเดียว ต่างจากสงครามปกติที่เป็นสงครามระหว่างรัฐ สงครามกลางเมืองนั้นเป็นสงครามที่ประชาชนในประเทศเดียวกัน หยิบอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกันเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อชิงอำนาจรัฐหรือขับเคลื่อนนโยบายตามที่ตัวเองต้องการ ความเสียหายของสงครามกลางเมืองนั้นมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงทั้งในแง่จำนวนผู้เสียชีวิต รวมไปถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล ประเทศที่เกิดสงครามกลางเมืองต้องใช้เวลายาวนานในการเยียวยา กว่าจะกลับเข้ามาแข่งขันในตลาดโลกได้อีกครั้งหนึ่ง
งานวิจัยของ Paul Collier อดีตหัวหน้าฝ่ายวิจัยของธนาคารโลก (ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด) และ Anke Hoeffler ศาสตร์จารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามกลางเมือง ได้ศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในโลกสมัยใหม่ และพบว่าฝ่ายต่อต้านอำนาจรัฐจะทำสงครามกลางเมือง ถ้าประเมินว่าผลประโยชน์ที่ได้รับหลังชนะสงคราม นั้นสูงกว่าต้นทุนในการเป็นฝ่ายต่อต้านและกบฎ บวกกับต้นทุนในแง่เศรษฐกิจที่ใช้ระหว่างการทำสงคราม
งานวิจัยของ Paul Collier อดีตหัวหน้าฝ่ายวิจัยของธนาคารโลก (ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด) และ Anke Hoeffler ศาสตร์จารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามกลางเมือง ได้ศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในโลกสมัยใหม่ และพบว่าฝ่ายต่อต้านอำนาจรัฐจะทำสงครามกลางเมือง ถ้าประเมินว่าผลประโยชน์ที่ได้รับหลังชนะสงคราม นั้นสูงกว่าต้นทุนในการเป็นฝ่ายต่อต้านและกบฎ บวกกับต้นทุนในแง่เศรษฐกิจที่ใช้ระหว่างการทำสงคราม
Paul Collier และ Anke Hoeffler ได้ศึกษาว่า “ต้นทุนทางเศรษฐกิจ” ตามสมมติฐานของพวกเขา 4 ชนิด มีอย่างใดบ้างที่มีผลทำให้เกิดสงครามได้ โดยเทียบกับสงครามกลางเมืองที่ผ่านๆ มาในอดีต ต้นทุนทั้ง 4 ชนิดได้แก่
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในชาติ ก่อนเริ่มสงคราม
ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติในชาติ ก่อนเริ่มสงคราม
จำนวนประชากรในชาติ ก่อนเริ่มสงคราม
ความแตกแยกทางเผ่าพันธุ์ในชาติ
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัย 3 ชนิดแรกนั้นมีผลต่อการเกิดภาวะสงครามกลางเมืองไม่ว่าจะในทางใดทางหนึ่ง คือถ้ารายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก โอกาสเกิดสงครามกลางเมืองจะมีต่ำลง ส่วนประเทศที่มีปริมาณทรัพยากรธรรมชาติมีมาก จะส่งผลให้สงครามกลางเมืองเกิดได้ง่ายขึ้นในระยะแรก และสุดท้ายยิ่งจำนวนประชากรในชาติมีมาก โอกาสเกิดสงครามกลางเมืองจะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
แต่สำหรับข้อสุดท้ายมีสิ่งที่น่าประหลาดใจ จากเดิมที่เคยเชื่อกันว่าถ้าภายในประเทศนั้นมีเผ่าพันธุ์จำนวนมากเท่าไร จะยิ่งเกิดสงครามการเมืองง่ายมากเท่านั้น การศึกษานี้พบว่าประเทศที่มีจำนวนเผ่าพันธุ์แตกต่างกันมาก กลับมีโอกาสเกิดสงครามกลางเมืองได้ไม่ต่างกับประเทศที่มีความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์น้อยกว่า
ทั้ง Paul Collier และ Anke Hoeffler ได้ศึกษาต่อไปและพบว่า สภาวการณ์ที่ประเทศจะเกิดสงครามกลางเมืองได้ง่ายที่สุด คือ สภาวะที่ประชาชนในประเทศแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน (ไม่ว่าจะเป็นในแง่ชาติพันธุ์ ศาสนา หรืออุดมการณ์) และแต่ละฝ่ายมีขนาดหรือจำนวนใกล้เคียงกัน สังคมที่มีลักษณะเป็นสองขั้วเช่นนี้จะมีโอกาสเกิดสงครามกลางเมืองได้ง่ายกว่าสังคมที่แบ่งออกเป็นขั้วเล็กๆ จำนวนมาก หรือสังคมที่ประชาชนทั้งประเทศมีชาติพันธุ์เดียวกันถึง 50%
สำหรับประเทศไทยนั้นเคยเกิดสงครามกลางเมืองสมัยใหม่ ตามนิยามของ Paul Collier และ Anke Hoeffler มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎร ซึ่งนิยมประชาธิปไตยตามอย่างตะวันตก กับกบฎบวรเดชที่ต้องการเปลี่ยนประเทศกลับไปเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ส่วนครั้งที่สองคือสงครามระหว่างรัฐบาลไทยที่กุมอำนาจโดยนายทหาร กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา สงครามครั้งแรกเป็นการต่อสู้แบบจำกัดวงเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำที่กุมกำลังทหาร แต่สงครามครั้งหลังนั้นมีผลกระทบต่อประชาชนสูงกว่ามาก ขับเคลื่อนโดยกำลังนักศึกษาที่หนีเข้าป่าหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม และกำลังชาวบ้านในต่างจังหวัด ทำให้การเจรจาหรือการเอาชนะสงครามแบบเบ็ดเสร็จทำได้ยากกว่า และเกิดสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า
ความขัดแย้งที่เป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมืองนั้น โดยทั่วไปมักมีหลายสาเหตุประกอบกัน แต่สาเหตุหลักคือความขัดแย้งทางความคิด วิถีชีวิต ความเชื่อ ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ (เช่น เผ่าทมิฬ-สิงหล ในศรีลังกา) ศาสนา (อิสลาม-ฮินดู ในแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย) หรืออุดมการณ์ทางการเมือง (เช่น ประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ในหลายๆ ประเทศช่วงสงครามเย็น) เดิมทีประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่จะเกิดสงครามกลางเมืองนั้นมีความกระทบกระทั่ง หรือความเกลียดชังกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ (เช่น ฝนแล้ง อาหารไม่เพียงพอ ความเป็นอยู่ยากลำบาก) หรือเหตุการณ์ระยะสั้นที่มีผลกระทบต่อสังคมสูง (เช่น รัฐประหาร ยุบสภา ลอบสังหาร ก่อการร้ายหรือวินาศกรรม) ความขัดแย้งเดิมจะพัฒนาขึ้นมาเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างของประเทศที่มีความขัดแย้งเดิมอยู่แล้ว และพัฒนามาเป็นสงครามกลางเมืองหลังจากพบกับปัญหาเศรษฐกิจได้แก่ ไอวอรี่โคสต์ (2002-2004) ซูดาน (2003-ปัจจุบัน) และรวันดา (1990-1994)
ลักษณะของสงครามกลางเมืองนั้นจะยืดเยื้อกว่าความขัดแย้งภายในประเทศรูปแบบอื่นๆ อย่างการเดินขบวนประท้วง หรือการจัดตั้งขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยของสงครามกลางเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปีครึ่ง ในขณะที่สงครามกลางเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะรุนแรงและยาวนานขึ้นถึง 4 ปีโดยเฉลี่ย สงครามกลางเมืองบางแห่งอาจยาวนานเกิน 20 ปี โดยหยุดต่อสู้กันเป็นระยะแต่ความขัดแย้งในภาพรวมยังคงอยู่ ตัวอย่างเช่น สงครามกลางเมืองในประเทศแองโกลา ซึ่งยาวนานถึง 28 ปี (1974-2002) หรือสงครามกลางเมืองในโมซัมบิก มีระยะเวลา 25 ปี (1977-2002)
ผลเสียหายที่เกิดจากสงครามกลางเมืองนั้นถือได้ว่ารุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าประเทศนั้นๆ มีความเกลียดชังในเชิงชาติพันธุ์อยู่ก่อนแล้ว สงครามกลางเมืองในประเทศคองโก ใช้เวลาเพียง 5 ปี (1998-2003) แต่มีผู้เสียชีวิตถึง 5 ล้าน 4 แสนคน ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา อีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวคนไทยมากคือ สงครามกลางเมืองในกัมพูชาระหว่างเขมรแดงที่นิยมคอมมิวนิสต์ กับรัฐบาลประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาหนุนหลัง สงครามครั้งนั้นใช้เวลา 8 ปี (1967-1975) ถึงแม้ว่าจะจบลงด้วยชัยชนะของเขมรแดง แต่ก็ต้องสังเวยชีวิตของประชาชนไปถึง 6 แสนคน และบาดเจ็บอีกกว่า 1 ล้านคน
สำหรับสงครามกลางเมืองที่เป็นที่จดจำมากที่สุดในด้านความโหดร้ายทารุณ คงไม่มีครั้งไหนเกินสงครามกลางเมืองในประเทศรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1990-1993 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างกองทหารติดอาวุธด้วยกัน และมีความเสียหายไม่มากนัก แต่หลังจากการเจรจาหยุดยิงไม่นาน ในปี 1994 ความเกลียดชังระหว่างสองฝ่ายหลังจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองครั้งนั้น ส่งผลกระทบให้เกิดการปลุกระดมจากสื่อต่างๆ ภายในเผ่า Hutu ที่มีจำนวนมากกว่าถูกกดขี่มานาน ให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ Tutsi ซึ่งเป็นชนชั้นสูงกลุ่มน้อย ผลจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1 ล้านคนในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ผลเสียหายทางเศรษฐกิจนั้นประเมินได้ยากกว่ามาก ในสงครามกลางเมืองของคองโก ศาลโลกได้ตัดสินให้ฝ่ายกบฎที่สนับสนุนโดยรัฐบาลอูกันดาแพ้คดี และทางรัฐบาลคองโกได้เรียกค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนเงิน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (4 แสนล้านบาท) ส่วนสงครามกลางเมืองในประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสงครามสั้นๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1922-1923 มีการประเมินความเสียหายรวมว่าอยู่ประมาณ 50 ล้านปอนด์ (4 พันล้านบาท) นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในแง่ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ ค่าเสียโอกาส การสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าหายาก ปัญหาผู้อพยพ และอื่นๆ อีกมาก
ประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมืองหรือไม่?
การเกิดสงครามการเมืองมักมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่สะสมมายาวนาน และไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดอยู่ในประเทศไทยนั้น เป็นการปะทะกันระหว่างอุดมการณ์ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ที่นำโดยรัฐบาลพลังประชาชน กับอุดมการณ์จารีตนิยมที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเข้าข่ายตามนิยามเรื่องความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ เช่นเดียวกับการปะทะกันของอุดมการณ์ทางศาสนาหรือการเมืองของประเทศอื่นๆ ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว
เมื่อนำหลักของ Collier และ Hoeffler มาพิจารณาประกอบ จะเห็นว่าจำนวนผู้สนับสนุนของทั้งฝ่ายรัฐบาล และพันธมิตรนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกัน ไม่มีฝ่ายใดที่มีจำนวนผู้สนับสนุนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเกิดสงครามกลางเมืองขนาดใหญ่ได้ นอกเหนือไปจากการปะทะกันในวงจำกัดระหว่างผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่ายที่มีให้เห็นบ้างแล้ว อย่างเช่นเหตุการณ์ที่อุดรธานี หรือเหตุการณ์ที่ถนนวิภาวดี ซอย 3
อย่างไรก็ตาม ประชาชนเสียงข้างมากในสังคมไทย ยังเป็นกลุ่มที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอยู่ ทำให้สังคมยังไม่แบ่งเป็นสองขั้วโดยสมบูรณ์ ยังมีฝ่ายเป็นกลางที่รักสันติและไม่ต้องการเข้าสนับสนุนทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั้งพันธมิตรและรัฐบาลต่างตระหนักถึงประชาชนกลุ่มนี้เป็นอย่างดี และพยายามเรียกร้องเชิญชวนให้ฝ่ายเป็นกลางนี้ไปเข้ากับฝ่ายตัวเองให้ได้มากที่สุด ถ้าฝ่ายเป็นกลางยังคงเกาะกลุ่มกันแน่นและไม่ไปเข้าร่วมกับฝ่ายใด ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามกลางเมืองลงได้
ในกรณีที่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมา มีความเป็นไปได้สูงว่าสงครามกลางเมืองจะยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี มีการหยุดปะทะเป็นระยะ โดยการเจรจาข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว แต่ความขัดแย้งในภาพรวมจะยังคงอยู่ และพร้อมจะปะทุขึ้นมาได้เสมอถ้ามีเหตุการณ์พลิกผัน เช่น การยุบพรรค หรือการลอบสังหารผู้นำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
มาตรการหนึ่งที่สามารถทำได้ทันทีเพื่อหยุดยั้งสงครามกลางเมือง หรืออย่างน้อยก็ลดความรุนแรงของมันลง คือการหยุดเผยแพร่สื่อที่ยุแหย่ ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังในสังคม มิฉะนั้นสงครามกลางเมืองที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต ก็อาจมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ฝ่ายตรงข้าม เหมือนกับที่เกิดมาแล้วในรวันดา
ที่มา.Siam Intelligence Unit
------------------------------------------
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในชาติ ก่อนเริ่มสงคราม
ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติในชาติ ก่อนเริ่มสงคราม
จำนวนประชากรในชาติ ก่อนเริ่มสงคราม
ความแตกแยกทางเผ่าพันธุ์ในชาติ
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัย 3 ชนิดแรกนั้นมีผลต่อการเกิดภาวะสงครามกลางเมืองไม่ว่าจะในทางใดทางหนึ่ง คือถ้ารายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก โอกาสเกิดสงครามกลางเมืองจะมีต่ำลง ส่วนประเทศที่มีปริมาณทรัพยากรธรรมชาติมีมาก จะส่งผลให้สงครามกลางเมืองเกิดได้ง่ายขึ้นในระยะแรก และสุดท้ายยิ่งจำนวนประชากรในชาติมีมาก โอกาสเกิดสงครามกลางเมืองจะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
แต่สำหรับข้อสุดท้ายมีสิ่งที่น่าประหลาดใจ จากเดิมที่เคยเชื่อกันว่าถ้าภายในประเทศนั้นมีเผ่าพันธุ์จำนวนมากเท่าไร จะยิ่งเกิดสงครามการเมืองง่ายมากเท่านั้น การศึกษานี้พบว่าประเทศที่มีจำนวนเผ่าพันธุ์แตกต่างกันมาก กลับมีโอกาสเกิดสงครามกลางเมืองได้ไม่ต่างกับประเทศที่มีความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์น้อยกว่า
ทั้ง Paul Collier และ Anke Hoeffler ได้ศึกษาต่อไปและพบว่า สภาวการณ์ที่ประเทศจะเกิดสงครามกลางเมืองได้ง่ายที่สุด คือ สภาวะที่ประชาชนในประเทศแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน (ไม่ว่าจะเป็นในแง่ชาติพันธุ์ ศาสนา หรืออุดมการณ์) และแต่ละฝ่ายมีขนาดหรือจำนวนใกล้เคียงกัน สังคมที่มีลักษณะเป็นสองขั้วเช่นนี้จะมีโอกาสเกิดสงครามกลางเมืองได้ง่ายกว่าสังคมที่แบ่งออกเป็นขั้วเล็กๆ จำนวนมาก หรือสังคมที่ประชาชนทั้งประเทศมีชาติพันธุ์เดียวกันถึง 50%
สำหรับประเทศไทยนั้นเคยเกิดสงครามกลางเมืองสมัยใหม่ ตามนิยามของ Paul Collier และ Anke Hoeffler มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎร ซึ่งนิยมประชาธิปไตยตามอย่างตะวันตก กับกบฎบวรเดชที่ต้องการเปลี่ยนประเทศกลับไปเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ส่วนครั้งที่สองคือสงครามระหว่างรัฐบาลไทยที่กุมอำนาจโดยนายทหาร กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา สงครามครั้งแรกเป็นการต่อสู้แบบจำกัดวงเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำที่กุมกำลังทหาร แต่สงครามครั้งหลังนั้นมีผลกระทบต่อประชาชนสูงกว่ามาก ขับเคลื่อนโดยกำลังนักศึกษาที่หนีเข้าป่าหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม และกำลังชาวบ้านในต่างจังหวัด ทำให้การเจรจาหรือการเอาชนะสงครามแบบเบ็ดเสร็จทำได้ยากกว่า และเกิดสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า
ความขัดแย้งที่เป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมืองนั้น โดยทั่วไปมักมีหลายสาเหตุประกอบกัน แต่สาเหตุหลักคือความขัดแย้งทางความคิด วิถีชีวิต ความเชื่อ ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ (เช่น เผ่าทมิฬ-สิงหล ในศรีลังกา) ศาสนา (อิสลาม-ฮินดู ในแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย) หรืออุดมการณ์ทางการเมือง (เช่น ประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ในหลายๆ ประเทศช่วงสงครามเย็น) เดิมทีประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่จะเกิดสงครามกลางเมืองนั้นมีความกระทบกระทั่ง หรือความเกลียดชังกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ (เช่น ฝนแล้ง อาหารไม่เพียงพอ ความเป็นอยู่ยากลำบาก) หรือเหตุการณ์ระยะสั้นที่มีผลกระทบต่อสังคมสูง (เช่น รัฐประหาร ยุบสภา ลอบสังหาร ก่อการร้ายหรือวินาศกรรม) ความขัดแย้งเดิมจะพัฒนาขึ้นมาเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างของประเทศที่มีความขัดแย้งเดิมอยู่แล้ว และพัฒนามาเป็นสงครามกลางเมืองหลังจากพบกับปัญหาเศรษฐกิจได้แก่ ไอวอรี่โคสต์ (2002-2004) ซูดาน (2003-ปัจจุบัน) และรวันดา (1990-1994)
ลักษณะของสงครามกลางเมืองนั้นจะยืดเยื้อกว่าความขัดแย้งภายในประเทศรูปแบบอื่นๆ อย่างการเดินขบวนประท้วง หรือการจัดตั้งขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยของสงครามกลางเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปีครึ่ง ในขณะที่สงครามกลางเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะรุนแรงและยาวนานขึ้นถึง 4 ปีโดยเฉลี่ย สงครามกลางเมืองบางแห่งอาจยาวนานเกิน 20 ปี โดยหยุดต่อสู้กันเป็นระยะแต่ความขัดแย้งในภาพรวมยังคงอยู่ ตัวอย่างเช่น สงครามกลางเมืองในประเทศแองโกลา ซึ่งยาวนานถึง 28 ปี (1974-2002) หรือสงครามกลางเมืองในโมซัมบิก มีระยะเวลา 25 ปี (1977-2002)
ผลเสียหายที่เกิดจากสงครามกลางเมืองนั้นถือได้ว่ารุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าประเทศนั้นๆ มีความเกลียดชังในเชิงชาติพันธุ์อยู่ก่อนแล้ว สงครามกลางเมืองในประเทศคองโก ใช้เวลาเพียง 5 ปี (1998-2003) แต่มีผู้เสียชีวิตถึง 5 ล้าน 4 แสนคน ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา อีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวคนไทยมากคือ สงครามกลางเมืองในกัมพูชาระหว่างเขมรแดงที่นิยมคอมมิวนิสต์ กับรัฐบาลประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาหนุนหลัง สงครามครั้งนั้นใช้เวลา 8 ปี (1967-1975) ถึงแม้ว่าจะจบลงด้วยชัยชนะของเขมรแดง แต่ก็ต้องสังเวยชีวิตของประชาชนไปถึง 6 แสนคน และบาดเจ็บอีกกว่า 1 ล้านคน
สำหรับสงครามกลางเมืองที่เป็นที่จดจำมากที่สุดในด้านความโหดร้ายทารุณ คงไม่มีครั้งไหนเกินสงครามกลางเมืองในประเทศรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1990-1993 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างกองทหารติดอาวุธด้วยกัน และมีความเสียหายไม่มากนัก แต่หลังจากการเจรจาหยุดยิงไม่นาน ในปี 1994 ความเกลียดชังระหว่างสองฝ่ายหลังจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองครั้งนั้น ส่งผลกระทบให้เกิดการปลุกระดมจากสื่อต่างๆ ภายในเผ่า Hutu ที่มีจำนวนมากกว่าถูกกดขี่มานาน ให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ Tutsi ซึ่งเป็นชนชั้นสูงกลุ่มน้อย ผลจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1 ล้านคนในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ผลเสียหายทางเศรษฐกิจนั้นประเมินได้ยากกว่ามาก ในสงครามกลางเมืองของคองโก ศาลโลกได้ตัดสินให้ฝ่ายกบฎที่สนับสนุนโดยรัฐบาลอูกันดาแพ้คดี และทางรัฐบาลคองโกได้เรียกค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนเงิน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (4 แสนล้านบาท) ส่วนสงครามกลางเมืองในประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสงครามสั้นๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1922-1923 มีการประเมินความเสียหายรวมว่าอยู่ประมาณ 50 ล้านปอนด์ (4 พันล้านบาท) นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในแง่ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ ค่าเสียโอกาส การสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าหายาก ปัญหาผู้อพยพ และอื่นๆ อีกมาก
ประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมืองหรือไม่?
การเกิดสงครามการเมืองมักมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่สะสมมายาวนาน และไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดอยู่ในประเทศไทยนั้น เป็นการปะทะกันระหว่างอุดมการณ์ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ที่นำโดยรัฐบาลพลังประชาชน กับอุดมการณ์จารีตนิยมที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเข้าข่ายตามนิยามเรื่องความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ เช่นเดียวกับการปะทะกันของอุดมการณ์ทางศาสนาหรือการเมืองของประเทศอื่นๆ ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว
เมื่อนำหลักของ Collier และ Hoeffler มาพิจารณาประกอบ จะเห็นว่าจำนวนผู้สนับสนุนของทั้งฝ่ายรัฐบาล และพันธมิตรนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกัน ไม่มีฝ่ายใดที่มีจำนวนผู้สนับสนุนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเกิดสงครามกลางเมืองขนาดใหญ่ได้ นอกเหนือไปจากการปะทะกันในวงจำกัดระหว่างผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่ายที่มีให้เห็นบ้างแล้ว อย่างเช่นเหตุการณ์ที่อุดรธานี หรือเหตุการณ์ที่ถนนวิภาวดี ซอย 3
อย่างไรก็ตาม ประชาชนเสียงข้างมากในสังคมไทย ยังเป็นกลุ่มที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอยู่ ทำให้สังคมยังไม่แบ่งเป็นสองขั้วโดยสมบูรณ์ ยังมีฝ่ายเป็นกลางที่รักสันติและไม่ต้องการเข้าสนับสนุนทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั้งพันธมิตรและรัฐบาลต่างตระหนักถึงประชาชนกลุ่มนี้เป็นอย่างดี และพยายามเรียกร้องเชิญชวนให้ฝ่ายเป็นกลางนี้ไปเข้ากับฝ่ายตัวเองให้ได้มากที่สุด ถ้าฝ่ายเป็นกลางยังคงเกาะกลุ่มกันแน่นและไม่ไปเข้าร่วมกับฝ่ายใด ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามกลางเมืองลงได้
ในกรณีที่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมา มีความเป็นไปได้สูงว่าสงครามกลางเมืองจะยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี มีการหยุดปะทะเป็นระยะ โดยการเจรจาข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว แต่ความขัดแย้งในภาพรวมจะยังคงอยู่ และพร้อมจะปะทุขึ้นมาได้เสมอถ้ามีเหตุการณ์พลิกผัน เช่น การยุบพรรค หรือการลอบสังหารผู้นำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
มาตรการหนึ่งที่สามารถทำได้ทันทีเพื่อหยุดยั้งสงครามกลางเมือง หรืออย่างน้อยก็ลดความรุนแรงของมันลง คือการหยุดเผยแพร่สื่อที่ยุแหย่ ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังในสังคม มิฉะนั้นสงครามกลางเมืองที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต ก็อาจมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ฝ่ายตรงข้าม เหมือนกับที่เกิดมาแล้วในรวันดา
ที่มา.Siam Intelligence Unit
------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น